“มหาบุรุษรัตนโนดม” บทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

 

 

การวิจัยเรื่อง “ มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ” เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ผลงานด้านการประพันธ์เพลง   เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยดิม   และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย   ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์   มีท่วงทำนองดนตรีไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิก

ผลงานการวิจัยเรื่องนี้   ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ  “ ดนตรีคลาสสิกของภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก “

 


 

“มหาบุรุษรัตนโนดม” บทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

Mahaburutratanodam” the Symphinic Poem of Somdet  Chaopraya‘s Honor

 

เอกชัย   พุหิรัญ

วิทยาลัยการดนตรี   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

             การวิจัยเรื่อง มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมด้านการประพันธ์เพลง  เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยเดิม โดยใช้วิธีการนำบทเพลงไทยเดิมมาปรับแต่งและเรียบเรียงให้เป็นลักษณะดนตรีสากล และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นี้ เป็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรีคลาสสิกคุณค่าทางภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางศิลปะด้านดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่สังเคราะห์ออกมาเป็นผลงานด้านการประพันธ์เพลงในรูปแบบซิมโฟนิกโพเอ็มเพื่อสร้างความตระหนักรู้ปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับการสืบสานและเผยแพร่ดนตรีสำเนียงไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิกสู่สากล ให้เกิดความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมและดนตรีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่มีต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม

 

             ส่วนที่ 1 “มหาบุรุษรัตโนดม” แนวคิดของการประพันธ์เพลงนี้เป็นวิธีการประพันธ์ภายใต้กรอบดนตรีคลาสสิคของดนตรีคลาสสิกที่ผนวกรวมเข้ากับสำเนียงดนตรีไทย ดนตรีตะวันออกกลางและดนตรีตะวันตกและนำเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ สอดแทรกเข้าไว้ในบทประพันธ์เพลง ทฤษฎีที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยการศึกษาดนตรี บันไดเสียงประสม (Mixed Scale) ระหว่างดนตรีไทยเดิมกับดนตรีตะวันตก อัตราจังหวะประสม (Mixed Meter) โพลีริธึม (Polyrhythm) โพลีโทนาลิตี (Polytonality) การคัดทำนอง (Quotation) และศึกษาผลงานและแนวคิดของนักประพันธ์ท่านอื่นๆ เป็นบทเพลงรูปแบบซิมโฟนิคโพเอ็มบรรยายเรื่องราว โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐานในการประพันธ์ โดยใช้เพลง “พระอาทิตย์ชิงดวง” เป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาขาย มีการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีไทยกับดนตรีตะวันตก ใช้การปรับเปลี่ยนเทคนิคการประพันธ์เพลง เนื่องจากในบทประพันธ์เพลงไทยเดิมทั่วไปจะมีลักษณะพื้นผิวแบบ Heterophonic และการพัฒนาบทเพลงในลักษณะยึดทำนองหลักเป็นแกนในการไปสร้างทำนองแปรในแต่ละเครื่องดนตรี ผู้ประพันธ์ได้ผสมการใช้พื้นผิวแบบ Biphonic โดยมีการใช้เทคนิค Drone ในแนวเสียงต่ำ โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐาน บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา

 

วีดีโอเพลง “มหาบุรุษรัตนโนดม” สำหรับวงออร์เคสตรา

 

             ส่วนที่ 2 เป็นการทดลองนำเทคนิคการประพันธ์ของดนตรีตะวันตกมาผสมผสานกับดนตรีไทย เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของเชื้อชาติกำเนิดและการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันระหว่างท่านกับชาวต่างชาติ ผู้ประพันธ์ได้ทดลองสร้างรูปแบบการประพันธ์แบบใหม่ที่เรียกว่า Hexagonal Form เฮกซาโกเนล ฟอร์ม คื สังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสม รูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และเซฟชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะบรรเลงถอยหลังทับซ้อนกับเพลงเดิมในท่อนที่สองเพื่อเป็นการขยายบทเพลงไทยเดิมรูปแบบใหม่ที่ผู้ประพันธ์ทดลองสร้างขึ้นมา การใช้โมดและบันไดเสียงโฮลโทน ซึ่งเป็นบันไดเสียงที่มีลักษณะการแบ่งเสียงเท่าๆ คล้ายๆ กับบันไดเสียงของไทยแต่ระดับเสียงที่แท้จริงยังไม่เท่ากัน เนื่องจากบันไดเสียงของไทยแบ่งออกเตฟเป็น 1 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบันไดเสียงโฮลโทนแบ่งเป็น 6 เสียง เท่าๆกัน การใช้บันไดเสียงเพนตาโทนิค โดยใช้การประสานเสียงแบบการประกอบขั้นคู่ซ้อนกันตามรูปแบบของบันไดเสียงที่ใช้บรรเลงโดยวงแชมเบอร์

กระบวนการ

             โดยปกติลักษณะของท่อนเพลงจะมีลักษณะอยู่ในแนวราบ การสร้างงานของผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะ 2 มิติ ผู้ศึกษาจึงได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่น ฟอร์มบนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนีโดยผู้ประพันธ์แต่งบทเพลงในท่อนแรก ซึ่งเรียก ท่อนปฐมก่อน จะสั้นหรือยาวก็ได้ ที่ศึกษาทดลองได้ใช้เพลงไทยเดิม 1 ท่อน 8 ห้องเพลงจากนั้นให้ทำเป็นรูปแบบวาริเอชั่นอีก 5 แบบ ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ข้อกำหนดมีอยู่ว่าต้องอยู่บทเวลาที่เท่ากัน เพราะตอนบรรเลงจะบรรเลงไปพร้อมๆกัน

ผู้ศึกษาได้ทดลองนำบทเพลงไทยเดิมสั้นๆ ประมาณ 8 ห้องเพลง เริ่มการสร้างให้มีองค์ประกอบดนตรี ทั้ง วลี ประโยคเพลง ประโยคถาม – ตอบ ไคลแมกซ์ เคเดนซ์ ต่างๆ เป็น 1 เซกชั่นแล้วสร้าง วาริเอชั่น อีก 5 เซกชั่น โดยจำกัดห้องเพลง และความยาวต้องเท่าๆกัน ได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่นฟอร์ม บนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนี จากนั้นนำวาริเอชั่นมาทับซ้อนกับแบบมีหลักการ จะได้เซกชั่นเพิ่มมาอีก 5 เซกชั่น รวมเป็น 6 เซกชั่น แล้วในแต่ละเซกชั่นที่นำมาซ้อนจะสร้างแกนเพลงโดยนำแนวทำนองมาประพันธ์แบบถอยหลังจากห้องสุดท้ายไปห้องแรกในแต่ละเซกชั่น จะทำให้เกิดแกนในมิติที่ 3 ซึ่งสร้างจากตัวของบทเพลงเอง

ผลการวิจัย

             Hexagonal Form ซึ่งเป็นสังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสมรูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และ เซกชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะมิติที่ 3

 

             ส่วนที่ 3 “ชงโค” สำหรับวงซิมโฟนิคแบนด์ ซึ่งจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการเชิดชูเกียรติในสมัยปัจจุบัน โดยใช้เพลง “ช่อชงโค” ที่เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์ในรูปแบบวงซิมโฟนิคแบนด์ที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่ากับเครื่องกระทบเป็นหลัก ซึ่งจะคล้ายกับรูปแบบวงเดิมที่บรรเลงเพลงช่อชงโค ที่บรรเลงจากวงบิ๊กแบนด์ เพลงนี้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ผู้ประพันธ์ได้นำมาเรียบเรียงประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยนำเอาโมทีฟบางส่วนของประโยคเพลง มาขยายให้เป็นลักษณะเซกชั่นเนลฟอร์ม ที่ฟังคล้ายๆรอนโดฟอร์ม ในส่วนท้ายท่อนนี้จะได้ยินประโยคเต็มของบทเพลง ช่อชงโค ทั้งเพลง บรรเลงโดยวงซิมโฟนิคแบนด์

วีดีโอเพลง “ชงโค” สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี

 

การเผยแพร่เพิ่มเติม

วีดีโอเพลง “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์​” สำหรับวงบิ๊กแบนด์(รายการโทรทัศน์ช่อง MONO 29)

 

 

 

 

 

 

การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ชื่อผู้วิจัย : รุ่งฤทัย  วงศ์จอม

สาขาวิชา : หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ดร. วิเชียร  อินทรสมพันธ์  

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สมหมาย  มหาบรรพต

ปีการศึกษา : 2554

 

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)  ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  2) เปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  แขวงดอนเมือง  เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  28 คน  โดยการแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย  ได้แก่   แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   และแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  (t-test  for  dependent  Sampling)  แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  จำนวน  28  คนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80 ทุกคน

2. ผลการเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Title : The  Development  of  Prathom  Suksa  4  Students’ Moral Reasoning by Using Co-operative Activities and Role Playing

Author : Rungruthai  Wongjom

Program : Curriculum and Instruction

Major Advisor : Dr.Wichian  Inratharasompun

Co-Advisor : Assistant Professor Sommai Mahabunphot

Academic Year : 2011

 

Abstract

       The  experimental  research objectives  were 1)  to  study  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students by using co-operative activities and role playing, and 2) to compare  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students before  and  after  using  co-operative activities  and  role  playing.  The cluster random samples  were 28  Prathom  Suksa 4 students from  Phraharuethai  Donmuang  School,  Bangkok,  in  the  first  semester  of  the  academic  year  2011.  The research instruments were co-operative activities and role playing lesson plans and a set of the  moral reasoning paper test. The data was analyzed by using the percentage, the average, the standard deviation and t-test for dependent sample.

The research result revealed that;

1.  The study on the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students after studying by using co-operative activities and role playing showed that all students passed the criteria of 80 percentage.

2.  The comparison of  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students after  using  co-operative activities and role playing was higher than before with statistic significance at  the  level  of  .01.

การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : Power Point การบรรยาย เรื่อง การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสาร , Power Point สรุปสาระการบรรยายของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : โครงสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ การปฏิรูปการศึกษาไทยสู่ผลลัพท์ Thailand 4.0 ” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 ของสมาคมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 – 22 เมษายน 2560 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ศูนย์การค้ารังสิต จังหวัดปทุมธานี

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารันต์ สรุปโดย รองศาสตราจารย์ ศรีมงคล เทพเรณู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสตรีวัดระฆัง และผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

 

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของเนื้อหา : มี 3 แนวคิด คือ

       แนวคิดที่ 1. การศึกษาไทย 4.0 : การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ หลักคิด คือ การแก้ปัญหาบริโภคนิยม เน้นที่ผลผลิต Productive Education/Produce Oriented Education

       แนวคิดที่ 2. การศึกษา 4.0 การพัฒนาเพื่อพัฒนานวัตกรรม To Take maximum advantage of the imagination , Knowledge , Production problem solving an apportunity generating protentials of children and youth together with their adult collaborators

       แนวคิดที่ 3. การศึกษา 4.0 การศึกษาเพื่อสนองตอบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อความต้องการใหม่ๆ ของเทคโนโลยีโดยผสมผสานความก้าวหน้าใหม่ๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรม

สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาการบรรยาย : แนวคิดที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

Creative and Productive Education (CPE)

หลักสูตร  – ภูมิปัญญาไทย

– กระบวนการแสวงหาความรู้

– นวัตกรรมใหม่

– ทางเลือก

คุณลักษณะผู้เรียน  – Thai Pride

– Social Concerned

– Break Through Thinker

– Smart Consumer

– Criticality Based

กระบวนการสอน  – Creativity Based

– Productivity Based

– Responsibility Based

การบริหารองค์กร  – บริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

– การเน้นผลผลิต

– การบริหารเชิงวิจัย

– วัฒนธรรมองค์กร

แนวคิดที่ 2. การพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มศักยภาพและสร้างนวัตกรรม

Moving from Education 1.0 to Education 4.0

การศึกษา 1.0 (ยุคดาวน์โหลด)

การศึกษา 2.0 (ยุค Open Access)

การศึกษา 3.0 (ยุคสร้างองค์ความรู้)

การศึกษา 4.0 (ยุคสร้างนวัตกรรม)

ความหมายของการศึกษา

ครูบอกให้เชื่อตาม

สร้างองค์ความรู้ร่วมกันด้วยความช่วยเหลือจากอินเตอร์เน็ต (ที่การเข้าถึงยังจำกัด)

สร้างองค์ความรู้ร่วมกันและสร้างความรู้เดิมขึ้นมาใหม่

สร้างความรู้จากความสนใจรายบุคคลและจากการรวมตัวของคนที่มีแรงผลักดันเป็นทีม เช่น ทีมที่มีนวัตกรรมเป็นจุดเน้น

บทบาทของเทคโนโลยี

 ยึดติดกับห้องเรียน (ผู้ลี้ภัยสู่โลกดิจิทัล)  เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวัง  เทคโนโลยีมีอยู่ทุกที่ (ชาวดิจิทัลโดยกำเนิดในจักรวาลดิจิทัล) เพื่อการสร้างองค์ความรู้และส่งผ่านองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนแห่ง  เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปตามผู้เรียนซึ่งผุ้เรียนเป็นแหล่งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรม

(ต่อ) Moving from Education 1.0 to Education 4.0

การศึกษา 1.0 (ยุคดาวน์โหลด)

การศึกษา 2.0 (ยุค Open Access)

การศึกษา 3.0 (ยุคสร้างองค์ความรู้)

การศึกษา 4.0 (ยุคสร้างนวัตกรรม)

บทบาทด้านการสอน

 ครูสอนนักเรียน  ครูสอนนักเรียน นักเรียนสอนกันเอง (พิพัฒนนิยม) อินเตอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้  ครูสอนนักเรียน นักเรียนสอนกันเอง นักเรียนสอนครู  : คณะเทคโนโลยี : คน (ร่วมกันสร้างความรู้โดย คนและเทคโนโลยี)  ขยายองค์ความรู้ โดยการให้วงจรผลสะท้อนกลับจากการสร้างนวัตกรรมเชิงบวก : ความรู้เกิดทุกที่ ทุกเวลา ทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียนและการทำงาน

ลักษณะโรงเรียน

เรียนในตึกอาคาร

เรียนในอาคารหรือออนไลน์ แต่มีการใช้เว๊บ เพื่อการเรียนการสอนแบบเต็มรูปแบบหรือแบบไฮบริดเพิ่มขึ้น

เรียนได้ในทุกๆ ที่ ในสังคมที่สร้างสรรค์ (สถานที่เรียนถูกผนวกอยู่ในสังคม เช่น ร้านกาแฟ บาร์ หรือตอนเล่นโบว์ลิ่ง)

เรียนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือที่ๆ มีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเรียนรู้

แนวคิดที่ 3. การคิดเพื่ออุตสาหกรรมยุคที่ 4

              ประเทศไทยมีเป้าหมายในทางเดียวกัน

Innovation แนว 1. การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ    Product Oriented
แนว 2. การพัฒนาผู้เรียนให้เติบโต ให้เต็มศักยภาพ    Innovation Development
 แนว 3. การศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปอุตสาหกรรมยุคที่ 4    New Products

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเนื้อหาการบรรยาย : นวัตกรรม คืออะไร ? …

Invention + Diffusion
(Market)
= Innovation

Product – car , Windows , Vista

Process – link gardening to home

Position – low – cost airline

Paradigm – maker to service

4 ขั้นตอนของนวัตกรรม

ขั้นที่ 1.

แสวงหาโอกาส (Search)

ทักษะคิด

วิเคราะห์

ทักษะคิด

สร้างสรรค์

ขั้นที่ 2.

ออกแบบ / เลือก (Select)

ทักษะคิด

ออกแบบ

ทักษะคิดคัดกรอง

ขั้นที่ 3.

นำไปปฏิบัติ (Implement)

ทักษะคิดผลิตภาพ

ทักษะคิดแก้ปัญหา

ขั้นที่ 4.

การหาผลประโยชน์ (Capture)

ทักษะคิด

ประกอบการ

ทักษะคิดผู้นำ

ทักษะเสริมประกอบด้วย ทักษะความรับผิดชอบและทักษะสำนึกทางสังคม

โมเดลเป้าหมายของการศึกษา 4.0

การนำเนื้อหาไปใช้ : สามารถนำเนื้อหาจากการบรรยาย , เอกสาร และ Power Point มาใช้กับการจัดการเรียนรู้ ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตครุศาสตร์และสามารถเป็นทิศทางการนำไปประกอบการจัดการทำเอกสารประกอบการสอนทางสายวิชาชีพครู ดังนี้

1) หลักคิดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

       ด้านปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          – เทคโนโลยี

          – การค้าขาย

          – การติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์

          – สังคมที่เปิดกว้าง

          – คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้

          – แต่ละคนในสังคมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง

       ด้านลักษณะของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21

          – Product – Oriented

          – Mass customization

          – Multicultural

          – Rationalization

          – Variety of Learning

          – Co – Independent

       ด้านเนื้อหาสาระสำหรับศตวรรษที่ 21

          – Technology and Brain

          – New Sciences and New Math

          – New roles of human being

          – Imagination and production

          – Rational ethic and Value

          – Alternative way of life

       ด้านทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

          ทักษะหลัก

              – Productive skills

              – Creative skills

              – Critical skills

              – Cooperative skills

              – Life – long Learning

              – Self / Other Understandable skills

          ทักษะคู่ขนาน

              – Quality skills

              – Design

              – Reasoning skills

              – Leadership skills

              – Scenario thinking skills

              – Respectable skills

       ด้านแนวการสอนแบบไม่สอน

              – ให้ผู้เรียนสร้าง Products เอง

              – ทำ Products นั้นใช้ชม

              – ฟังคำวิจารณ์จากเพื่อนและครู

              – ปรับ / แก้ / ทำความเข้าใจ / ทำใหม่

              – นำ Products ที่แก้ไขแล้วหรือ Draff 2 / งานรอบ 2 มาเขียนใหม่อีก

2) ภาพรวม : การศึกษาที่สามารถสร้างนวัตกรรม (ผลผลิต) ได้

ผลผู้เรียน 1. ผู้เรียน (ทุกคน) คิด / สร้าง / พัฒนาผลผลิตใหม่ (Innovation) ได้
2. ผู้เรียน (ส่วนใหญ่) พัฒนา Innovation ได้
คุณลักษณะ 1. มีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา (อย่างดี) ไม่เช่นนั้นจะผลิตไม่ได้
2. มีทักษะ(อย่างน้อย 10 ทักษะนวัตกรรม) ในการผลิตอย่างดีจนฝังเป็นนิสัย
กระบวนการ 1. รู้จักตนเองจะเอาดีทางไหน
2. ศึกษาฝึกฝนจนชำนาญในการผลิต
หลักคิด 1. CCPR วิเคราะห์คิดใหม่ / สร้างใหม่ใช้ประโยชน์ (ทำจนได้ผลงาน)
2. ทุกวิชา ทุกชิ้นงาน ทุกเทอม ต่อเนื่องยาวนานไม่มีข้อยกเว้น
ความสำเร็จ 1. ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
2. เมื่อต้นไม้ล้านต้นออกดอกบานล้านดวง
ผลสุดท้าย 1. ความยิ่งใหญ่อยู่ในมือของเราทุกคน
2. ความสำเร็จเป็นของทุกคน (ไม่ใช่ข้าใหญ่คนเดียว)

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบศูนย์การเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอนเครือข่ายสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Available online at www.sciencedirect.com

SciVerse ScienceDirect

Procedia – Social and Behavioral Sciences 00 (2013) 000–000

13th International Educational Technology Conference

A STUDY OF NETWORK LEARNING RESOURCE
CENTER FOR ELEMENTARY SCHOOLS OF BANGKOK METROPOLITAN

Ruaysup Deshchaisria*, Saroach Sopeerakb

ab Educational Technology Department, Faculty of Education, Kasetsart University, Thailand.


Abstract

       This research is aimed to study factors effecting network learning resource center for the elementary schools of Bangkok Metropolitan. Those factors studied must have influenced the provision of effective learning center in academic institutions and must have facilitated the contribution of learning experiences among the community people while the learning media are always developed and the communication are made through the learning network which link the local academic institutions and urban areas. The population used in this study is 96 people of administrators, instructors and school personnel from 24 primary schools of Bangkok Metropolitan. The data has been analyzed by descriptive statistic methods which are percentage, mean and standard deviation in order to describe the results derived from behaviors forecasting using the data multivariate analysis regression. The results found are that:- 1) The first factor studied is emphasized on instruments which should be provided in the network learning resource center for primary schools of Bangkok Metropolitan are actually served to the students entering the center for self-learning with the most value 3.97 of mean (S.D. = 0.71) and the least mean is derived from provision of computer units in the center for students to search information themselves and for the coordination among schools with its average value 3.40 of mean (S.D. = 0.78). 2) The second factor is emphasized on application of languages used in information technology and educational communication for the learning administration in network learning resource center. It is found that there has been searching information from websites for teaching and learning preparation and there has also been usage of applied software programs for teaching methods which effect to the highest 3.93 of the mean (S.D. = 0.76) and the least is derived from using of information technology and education communication for producing learning media with average value of 3.58 of mean (S.D. = 0.99). 3) The third factor is emphasized on media and instrument used in the network learning resource center. It is found that there has been adequate personal computers provided by the academic institutions and those computers are applicable and up-to-date and there has also been sufficient compact and applied programs that effect the highest value 3.93 of mean (S.D. = 0.76) and the least value was found on the audio-visual media which have been supplied adequately at the average value of 3.30 of mean (S.D. = 068). 4)The fourth factor is about the supportive actions derived from network learning resource center towards the information technology and educational communication through academic activities and skills for teachers in schools or school groups of Bangkok Metropolitan. It is found that learning activities prepared by school instructors result the highest value 3.95 of mean (S.D. =0.76) and the inferior value is deprived from listening the instructors’ comments and encouraging them for applying knowledge and skills in using media learnt from the network learning resource center to apply for further factual preparation of learning and teaching with its average value 3.93 of mean (S.D. = 0.76). From the study, it is clearly notified that the trend of network learning resource center for schools of Bangkok Metropolitan will be applicable under this convention:- Policy and Strategy Administration highly possible mean 3.93 (S.D. = 0.76) Building and Location Administration fairly possible mean 3.40 (S.D. = 0.78)Management and Finance Administration highly possible mean 3.79 (S.D. = 0.68) Personnel Administration highly possible mean 3.73 (S.D. = 0.69) Statistic and Reports Administration highly possible mean 3.97 (S.D. = 0.71) Public Relation Administration highly possible mean 3.58 (S.D. = 0.99)

© 2013 The Authors. Published by Elsevier Ltd.
Selection and peer-review under responsibility of The Association of Science, Education and Technology-TASET, Sakarya Universitesi, Turkey.

Keywords: Network Learning ; Resource center


Introduction

The required qualifications defined in item 3 of the purposes of Basic Education Standards issued in 2554 B.E. are hereto:-

“Learners need to be educated as well as international education levels are provided and they are required to realize all steps of global alternatives and technology development. It is very important for learners to be trained with skills, management capability, communication methods and usage of modern technology. Learners need to know how to revise their attitude and apply their working methods for appropriate areas and related parts of learning network resources of which the following basic procedures have been managed for related academic agencies:-

There has been provision or management of effective learning resources in academic institutions and community for being searching resources where experiences can be exchanged among academic institutions and with other communities.

The researcher has realized those problems occurring in those communities and has aimed to study factors affecting the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan. Hopefully, this study will be advantageous and can be an approach for further developing network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan.

Objective

To study factors which influence the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan.

Expected Outcomes

From this study, the factors influencing the format of net work learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan will be recognized and its outcome will be used as developing approach by management levels for supporting the network learning resources.

Study Concept

These following independent and dependent variables have been defined for the study concept:-

There are 3 types of inputs in independent variables:

Inputs which are

Inputs 1 include necessary information should be provided for network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan.

Inputs 2 are the application of Information technology and educational media for being learning services within network learning center.

Contributing factors are readiness of media materials and equipment in the learning center.

Supplementary factors are learning centers which provide information technology and educational communication through activities provided for increasing skills for teachers in elementary schools of Bangkok Metropolitan.

Dependent variables are the format of network learning resources provided in elementary schools of Bangkok Metropolitan.

To study those factors, related documents and research articles related have been studied including the National Education Act of 2542 B.E., computer network systems, library network process, organization management, personnel administration, physical services in learning center for network resources and other related foreign articles.

Study Methods

These following methods have been used in this study:-

Population used in this study is 96 people of 24 elementary schools of Bangkok Metropolitan including administration levels, teachers, academic personnel who have related responsibilities in learning services of each school where its format of the learning resource management is unclear.

Tools used in this study are questionnaire consisting of 6 parts:-

Part 1 – General information for the questionnaire respondents

Part 2 – Inputs

Part 3 – Contributing factors

Part 4 – Supplementary factors

Part 5 – Possible variables

Part 6 – Suggestions from the questionnaire respondents concerning possible formats for the network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan

To produce tools used in this study, these following processes were managed hereto:-

1. Studying document and research articles concerning the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan

2. Designing questionnaire following to the study concept and the objectives of the study

3. Proposing of the designed questionnaire to the advisor for her comments which will be used for revising the appropriate contents, statements and language used in the questionnaire of which its consistency was reviewed by the specialist

4. Trying out the designed questionnaire to search for reliability of the questionnaire

5. Reliabilities of all questions set in the questionnaire was 0.812

6. Revising and editing before the complete set of questionnaire was printed out

Data Information Collection Method

The researcher herself propagates the approved questionnaire to collect data information. The duration for between propagating and collecting the questionnaire is 3 weeks and the researcher herself collect the number of questionnaire as set following to the number of population.

Statistics used for data analysis

Descriptive statistics which are percentage , mean and standard deviation was used for analyzing the data characteristics. After that the regression was used to analyze the data information and to forecast behaviors herewith:-

1. Independent variables of inputs influence the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan showing the relationship between behavior forecast and information perception behavior with its statistic at .05.

2. Independent variables of contributing factors influence the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan showing the relationship between behavior forecast and information perception behavior with its statistic at .05.

3. Independent variables of supplementary factors influence the format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan showing the relationship between behavior forecast and information perception behavior with its statistic at .05.

4. Dependent variables of possible format: the relationship between format of network learning resources for elementary schools of Bangkok Metropolitan and information perception behavior showing its statistic at .05.

Comments and suggestions

Comments for this study

1. There has been limitation in the number of population used for this study. In addition, duration for collecting data needs to be expanded also.

2. Some parts of population used in this study lack knowledge of the study information because the schools used for the study are pilot schools which lack learning resource centers and some data information collected is only imagery and it is not collected from actual practice.

Suggestion for further studies

Connection between each type of learning media used in the network learning resources and satisfactory of users need to be further studied for further appropriation.

 

References

Atsumi Yamaguchi. 2011. Fostering Learner Autonomy as Agency: An Analysis of Narratives of a Student Staff Member Working at a Self-Access Learning Center. Degree Doctor. Japan: Kanda University of International Studies.

Benchaporn Smanmark. 2011. Learning Center Management Model (LCMM) to Develop Early Childhood as a Whole. Ph.D.Candidate Faculty of Education. Thailand: Khon Kaen University.

Elaine Bukowiecki. 2001. A Center for Academic Achievement: How Innovative Collaborations Between Faculty and Learning Center Administrators Built Model, Credit-Bearing, First-Year Courses with Embedded Support for At-Risk Students. Degree Doctor. Massachusetts USA: Bridgewater State College.

MARGARET E. KING-SEARS. 2007. Designing and Delivering Learning Center Instruction. PhD. USA: George Mason University.

Sampan Rittidet. 2009. Community Learning Center for Building Alternative Learning among the Youth. PhD. Thailand:Bandit Boriharnthurakit College.

การสร้างองค์ประกอบแห่งการเรียนรู้ : การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การสร้างองค์ประกอบแห่งการเรียนรู้ : การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิชาการจากการไปเข้าร่วม โครงการเสวนาทางวิชาการของสภามหาวิทยาลัย

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : โครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 – 2562

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู สาขาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผลงานบทความวิชาการนี้ ได้จากการเข้าร่วมโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทของสภากับแนวทางการกำกับนโยบายและพัฒนามหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยฟรอนติสต์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และมหาวิทยาลัยโรเซมไฮมด์ ประเทศเยอรมัน (Fontys University of Applied Science , Rosemheim University of Applied Science)

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ในปัจจุบันสังคมไทยเป็นสังคมฐานความรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ที่ต้องใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเสริมสร้างความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศชาติให้ทันกับภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ดังนั้น มนุษย์ทุกชาติทุกศาสนาต้องมีความสามารถปรับตัวให้มีความรู้เท่าทันไม่ให้ตกอยู่ในฐานะผู้เสียเปรียบ ตลอดจนสร้างสภาพการณ์ให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาคในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

       มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันมีหน้าที่ให้การสนับสนุนส่งเสริม การพัฒนาหลักสูตรและมีระบบการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เนื่องจากเป็นองค์กรที่ต้องจัดและสร้าง สังคมแห่งการเรียนรู้ให้กับนิสิตนักศึกษา เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้ต่างๆ จนสามารถสร้างองค์ความรู้ เกิดทักษะได้ ซึ่งระบบการจัดการความรู้และระบบการเรียนรู้ที่ดี มีการถ่ายทอดความรู้แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกันทุกภาคส่วนได้ในสังคมทำให้เกิดพลังสร้างสรรค์และเกิดภูมิปัญญา พร้อมบังเกิดความตระหนักถึงความสำคัญแห่งการเรียนรู้ของทุกคน ทุกภาคส่วนตลอดจนในสังคมโลกมีความใฝ่รู้ พร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดชีวิตจนสิ้นอายุขัย เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ ทุกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรม ทางด้านอารมณ์ สังคมและสติปัญญาในทางที่ดีขึ้น

       การที่มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งการเรียนรู้บทบาทหน้าที่นั้นจัดว่าเป็นแหล่งพัฒนามนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถพัฒนาตนเองได้ด้วยวิธีการแสวงหาความรู้อยู่เสมอ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยยังเป็นแหล่งความรู้ที่มนุษย์สามารถมาศึกษาค้นคว้าหาคำตอบ เนื่องจากมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งทอดความรู้ มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้และทำให้คนรู้จักวิธีแสวงหาความรู้และยิ่งสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้น กรณีเมื่อเกิดการเรียนรู้มากขึ้นก็สามารถสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ แล้วนำมาบูรณาการระหว่างความรู้เก่ากับความรู้ใหม่ก็จะเกิดความรู้ใหม่ ก็จะเกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้นอีกสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เพราะเป็นวงจรต่อเนื่องที่ไม่สิ้นสุด จึงเรียกว่า “วงจรแห่งการเรียนรู้”

สรุปสาระสำคัญของบทความทางวิชาการ : บทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเน้นที่ผลผลิต (Out Put) ของตนเองเป็นอันดับแรก จึงสามารถนำผลผลิตนั้นมาเป็นข้อกำหนดในการพัฒนาตนเองจากสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ เนื่องจากสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นมาตรฐานการกล่อมเกลาบุคคลให้สามารถเพิ่มพูนคุณภาพชีวิตตลอดเวลา มีผลทางเพิ่มคุณลักษณะด้านสมรรถภาพอย่างครบถ้วนให้บุคคลนั้นๆ จำเป็นต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย

       1) บุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นบุคคลที่มีความตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อให้มีทักษะ กระบวนการคิด การวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ปัญหา มีความใฝ่รู้สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และสามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องอย่างมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด

       2) แหล่งการเรียนรู้เป็นสถานที่ให้ความรู้และเพื่อให้มีแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอหลากหลายทั่วถึงทุกกลุ่มเป้าหมาย ต้องมีการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศของแหล่งเรียนรู้ทุกประเภท โดยการจัดระบบเครือข่ายเชื่อมโยงแหล่งการเรียนรู้มีการพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีในสังคมให้มีลักษณะเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีศักยภาพในการบริการการเรียนรู้ มีความพร้อมอำนวยความสะดวกต่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของสังคม

       3) องค์ความรู้ มีระบบการจัดหาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและค้นคว้าองค์ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเพราะบริบทของสังคมไทย โดยการพัฒนามาจากภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่กับฐานความรู้ นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับความสามารถของบุคคล กลุ่มหรือชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละชุมชน

       4) การจัดการความรู้เริ่มจากการพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนากลไก กระบวนการถ่ายทอดความรู้ให้ประชนสามารถเข้าถึงองค์ความรู้อย่างเสมอภาค พัฒนาระบบริหารจัดการ การใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการสร้างบรรยากาศเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ให้ประชาชนสามารถเข้าสู้องค์ความรู้ได้ตลอดเวลาและต้องมีการพัฒนาบุคคลให้เป็นผู้จัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของประชน พัฒนาทักษะความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ให้สามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ มีการบูรณาการใช้ความรู้เป็นฐานในการแก้ปัญหาและพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพชุมชน

       ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีบทบาทหน้าที่จัดการเรียนรู้หรือเป็นผู้จัดการเรียนรู้ ผลิตผู้จะต้องไปจัดการเรียนรู้ จำเป็นต้องมุ่งเน้นที่ผลลัพท์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวของนิสิตนักศึกษา เพราะกระบวนการจัดการเรียนรู้คือ การทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้เป็นไปตามลักษณะที่สังคมยอมรับว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยจัดให้ ดังนั้นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่

       1) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นเป็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเดิม หมายความว่า ก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้จะต้องแตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงไปทั้งทางที่ดีและไม่ดีก็เป็นได้

       2) พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นต้องเป็นพฤติกรรมที่มีลักษณะถาวร

       3) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้นจะต้องเนื่องจากประสบการณ์ ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงมาจากมูลเหตุอื่น เช่น วุฒิภาวะ ความพิการ ความคุ้นเคย จะไม่จัดว่าเป็นการเรียนรู้สืบเนื่องจากวุฒิภาวะ

       ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่เป็นพฤติกรรมใหม่ สืบเนื่องจากประสบการณ์ การฝึกหัด ทำซ้ำๆ บ่อยๆ จนกลายเป็นพฤติกรรมถาวร จึงเรียกว่า “เกิดการเรียนรู้”

       ในการศึกษาเล่าเรียนย่อมต้องมีการประเมินผลการเรียนรู้ด้วย (Learning Assessment) หมายถึง กระบวนการที่ก่อให้เกิดสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ จะเริ่มประเมินขณะเรียนรู้ของผู้เรียน ผลการประเมินจะสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพการเรียนรู้ทั้งของผู้เรียนและประสิทธิภาพของการสอนของผู้สอนในเวลาเดียวกัน เพราะข้อมูลจากการประเมินสามารถนำไปปรับการเรียนรู้และเปลี่ยนวิธีการสอนของผู้สอนใหม่ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเต็มศักยภาพพร้อมมีความสุข รวมทั้งสามารถกำหนดระดับคะแนนตามผลสัมฤทธิ์และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วย การประเมินการเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 3 ประการ คือ เพื่อบ่งชี้ว่าผู้เรียนมีความรู้ ความคิด ทักษะและคุณลักษณะที่สำคัญเพียงพอหรือไม่ เพื่อนำข้อมูลไปวินิจฉัยหาจุดเด่น จุดด้อยของผู้เรียนและเป็นตัวบ่งชี้ถึงระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ด้วย

       ผลลัพท์ที่เกิดจากผลการเรียนรู้สามารถจำแนกได้ 4 ด้าน ได้แก่ ความดี ความรู้ ความคิดและความสามารถที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะ   ด้าน คือ ด้านคุณธรรมและความเป็นพลเมือง โดยเฉพาะความฉลาดทางศีลธรรม ด้านแรงบันดาลใจและจินตนาการ ด้านความรู้เพื่อการดำรงชีวิตและศึกษาต่อ ด้านความคิดและเหตุผล ด้านทักษะ โดยเฉพาะการคำนวณ ภาษาและการสื่อสาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทักษะชีวิตและอาชีพ และด้านภาวะผู้นำที่ประกอบด้วย การจัดการและควบคุมตัวเองการเป็นผู้นำและการจัดระบบงาน นอกจากนั้น ผลลัพท์จากการเรียนรู้ ยังสามารถนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานและการประเมินการเรียนรู้ หลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนต้องให้บรรลุถึงผลลัพท์การเรียนการสอนและการจัดการกับบริบท สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาให้เอื้อต่อการเรียนรู้และความสุขของผู้เรียนให้มากที่สุด

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญของบทความและการนำไปใช้ประโยชน์ : จากการเข้าร่วมโครงการเสวนาทางวิชาการ เรื่อง บทบาทของสภากับแนวทางการกำกับนโยบายและพัฒนามหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยพรอนดิสต์ ของเนเธอร์แลนด์ กับมหาวิทยาลัยโรเซมไฮมด์ ของเยอรมัน (Fonty & University of Applied Science ; Resemheim University of Applied Science) นั้นพบว่ามหาวิทยาลัยของประเทศสาธารณรัฐเยอรมันนี เป็นรูปแบบที่เน้นวิธีการสอนและความรู้ในทางทฤษฎี การวิจัยและการสอนรวมอยู่ด้วยกัน จึงเรียกว่า มหาวิทยาลัยเต็มรูปแบบ “Full University” ที่มีการสอนทุกวิชา อาทิเช่น วิชากฎหมาย ศิลปะและมนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ การบริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ การฝึกอบรมครูและแพทย์ศาสตร์ จะเห็นได้ว่าโครงสร้างของมหาวิทยาลัยทั้ง 2 แห่งนั้น เป็นมหาวิทยาลัย วิทยาศาสตร์ประยุกต์หลักสูตรที่ใช้จัดการเรียนรู้จะเน้นการปฏิบัติจริงมากกว่าภาคทฤษฎี จึงทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องที่การลงมือปฏิบัติจริงตามที่ออกแบบหลักสูตรไว้ เพื่อสนองความต้องการของชีวิต ทำให้รูปแบบการศึกษาเป็นการนำมาบูรณาการระหว่างหลายสาขาวิชา มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย Fonty & University of Applied Science นั้นเป็นมหาวิทยาลัยก้าวหน้าทางด้าน Applied Science โดยเน้นให้นักศึกษานำหลักการเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ โดยมีการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีการติดต่อชุมชนภายนอกหน่วยธุรกิจอุตสาหกรรมและหน่วยบริการสังคมด้านต่างๆ มีการลงทุนในการทำวิจัยกับภาคธุรกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรมไปในเวลาเดียวกัน และสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นั้น มีการจัดทำแผนกลยุทธ์เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ สนับสนุน ส่งเสริม พัฒนาหลักสูตรและการจัดระบบการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพมาตรฐานของบัณฑิตเพื่อเข้าสู่สังคม

       จากองค์ประกอบและความสำคัญของสังคมแห่งการเรียนรู้นั้น เป็นลักษณะของหน่วยงานหรือชุมชนที่ดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องพร้อมๆ กัน เกี่ยวกับเรื่อง การอนุรักษ์บำรุงรักษา ฟื้นฟู ปกป้อง คุ้มครอง พิทักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยหาสื่อ สืบสาน พัฒนาเผยแพร่และปลูกจิตสำนึกให้กับสมาชิกได้เรียนรู้ด้วยวิธีการผ่านผู้รู้ สื่อเทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากความรู้ต่างๆ นั้นทำให้สมาชิกสามารถสร้างความรู้สร้างทักษะและมีระบบการจัดการความรู้ที่ดีรวมทั้งสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ร่วมกันทั้งภายในและภายนอกกลุ่มสมาชิก ตลอดจนสามารถใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการเลือกและตัดสินใจแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาการดำเนินชีวิตให้มีความเหมาะสมกับสภาพของหน่วยงานหรือชุมชนนั้นๆ เพราะกระบวนการการเรียนรู้เป็นกระบวนการพัฒนาคนที่มุ่งประโยชน์ของคนเป็นหลัก เน้นกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง โดยการเรียนรู้จากองค์ความรู้ต่างๆ ผ่านผู้รู้ สื่อ เทคโนโลยี สารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น อย่างสอดคล้องตามความสามารถ ความถนัดและความสนใจของคนนั้นๆ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ทำให้คนมีความสุขและสามารถนำสิ่งเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในการสร้างสรรค์

จุดเด่น / ความน่าสนใจของบทความทางวิชาการ : ดังสรุปเป็น 2 ประเด็น คือ

       1. กระบวนการจัดการเรียนรู้ เป็นสื่อกลางระหว่างผู้เรียนกับผู้จัดการเรียนรู้จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพราะการจัดการเรียนรู้ต้องทำตามระบบ มีทั้งระบบการทำงานระบบการสื่อสาร/ สื่อความหมายเพราะองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้มี 4 ส่วน คือ ผู้จัดการเรียนรู้ เนื้อหาสื่อการเรียนรู้และผู้เรียนรู้จึงเปรียบเสมือนกระบวนการ 3 เส้า เรียกว่า ไตรยางค์ การจัดการเรียนรู้ (OLE)

O = Objective จุดมุ่งหมาย

L = Learning Experience การจัดประสมการเรียนรู้

E = Evaluation การประเมินผล

แผนภูมิ ไตรยางค์การจัดการเรียนรู้

ที่มา : ไพฑูรย์ สินลารัตน์ , 2553.

จากแผนภูมิไตรยางค์การจัดการเรียนรู้สามารถวิเคราะห์จากองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ได้ 2 แนวทาง ดังนี้

       1) มองในภาพรวม องค์ประกอบของการเรียนรู้ทั่วไป เมื่อมีการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ ต้องมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผู้จัดการเรียนรู้ ผู้เรียน และหลักสูตร

       2) มองในสภาพของการปฏิบัติการจัดการเรียนรู้จริงจะสมบูรณ์ได้ต้องมีองค์ประกอบครบถ้วนอย่างน้อย 7 ส่วน คือ ผู้จัดการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้หลักสูตร จุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และการจัดประเมินผล

2. การจัดการเรียนรู้ต้องยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นผู้จัดการเรียนรู้ต้องคำนึงถึง

       2.1 สมองของมนุษย์มีศักยภาพในการเรียนรู้สูงสุด เพราะมนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ต้องอาศัยสมองและระบบประสาทสัมผัสซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ดังนั้นผู้จัดการเรียนรู้ต้องสนใจและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนรู้และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสมองจิตใจและสุขภาพองค์รวม

       2.2 ความหลากหลายของสติปัญญา ผู้เรียนรู้แต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกันและมีรูปแบบการพัฒนาเฉพาะตัวบุคคล การจัดการเรียนรู้จึงควรจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อส่งเสริมศักยภาพความสามารถของผู้เรียนเป็นรายบุคคล

       2.3 การเรียนรู้เกิดจากประสบการณ์ตรง แนวทางการจัดการเรียนรู้ ควรจัดให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ลดการถ่ายทอดเนื้อหาลงบ้างและช่วยยกระดับผู้เรียนโดยการปฏิบัติทดลองด้วยตนเอง

 

การนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์ : จากเนื้อหาในบทความนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการพัฒนาหลักสูตรการผลิตบัณฑิตครู ในการจัดการเรียนรู้ของผู้จัดการเรียนรู้ ได้ทุกสาขาวิชาและทุกคณะวิชากล่าวคือ

       ขั้นตอนสำคัญของกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด เพราะแต่ละหน่วยในการเรียนรู้จะประกอบด้วยขั้นตอนกางวางแผนการจัดการเรียนรู้ (Plan) ขั้นตอนการดำเนินงานจัดการเรียนรู้ (Do) ขั้นการประเมินการเรียนรู้ (Check) และขั้นตอนการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ (Action) ที่ดำเนินไปโดยต่อเนื่อง และในการจัดการเรียนรู้ทุกครั้ง ทุกเนื้อหา ต้องครบทุกขั้นตอน พร้อมรายงานผลการจัดการเรียนรู้ (Report) ซึ่งการจัดรายงานผล นิยมทำในรูปเอกสารมีแฟ้มการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ (ดังแผนภูมิ)

แผนภูมิแสดงการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนสำคัญที่สุด

ที่มา : ศรีมงคล เทพเรณู , 2553

       ในภาคส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นมหาวิทยาลัยที่มีมาตรฐานสากล จำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับสถาบันแห่งสังคมการเรียนรู้อย่างชัดเจน ซึ่งจะต้องปรากฏในนโยบายของมหาวิทยาลัย เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้แสดงถึงลักษณะของมหาวิทยาลัย เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่แสดงถึงลักษณะของมหาวิทยาลัยดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือหลายๆ เรื่องพร้อมๆ กัน เกี่ยวกับ การอนุรักษ์บำรุงรักษา ฟื้นฟู ปกป้อง คุ้มครอง พิทักษ์ ส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือสืบสาน พัฒนา เผยแพร่และปลูกจิตสำนึกให้แก่สมาชิกได้เกิดการเรียนรู้ด้วยวิธีการผ่านผู้รู้ สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ แหล่งการเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและจากองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งทำให้สมาชิกสามารถสร้างองค์ความรู้สร้างทักษะและมีระบบการจัดการความรู้ที่ดี รวมทั้งสามารถถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งภายในและภายนอก ตลอดจนสามารถใช้ความรู้เป็นเครื่องมือในการดำรงชีวิตในสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ควรมีบทบาทหน้าที่ของการเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีลักษณะ ดังนี้

       1) ไม่จำกัดขนาด และสถานที่ตั้ง

       2) เน้นการจัดการเรียนรู้เป็นปัจจัยหลัก

       3) ประชาชนได้รับโอกาสการพัฒนา (Key Individuals)

       4) สถาบันทางสังคมในพื้นที่เป็นตัวหลักในการริเริ่ม / ดำเนินการ (Key Institutions)

       5) มีกลุ่มภาคประชาชนเป็นแกนกลาง (Core Groups) เพื่อรวมตัวกันจัดกิจกรรมพัฒนาชุมชน

       6) มีการพัฒนานวัตกรรมและระบบการเรียนรู้

       7) มีภาคีเครือข่ายที่ร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

       8) การริเริ่ม / การเปลี่ยนแปลงมีอยู่ตลอดเวลา

       9) สถานศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแห่งการเรียนรู้

       10) มีความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของบุคคลและชุมชนร่วมกัน

       ทั้ง 10 ข้อดังกล่าวผู้บริหารมหาวิทยาลัยทุกภาคส่วนประกอบด้วย คณาจารย์ พนักงานบุคลากร ฯลฯ มีส่วนทำให้เกิดขึ้นได้ และมีส่วนสร้างมาตรฐานเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ทั้งนั้น ส่วนจะเป็นไปได้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่ที่นโยบายของมหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : สรุปเอกสารจากการประชุมสัมมนา ประธานการสถานศึกษาของ สพ.ฐ. ทั่วประเทศจัดโดยสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานการวิจัยการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษา เพื่อบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ผู้สรุปเนื้อหาและนำเนื้อหามาประยุกต์กับบริบทการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คือ รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู เนื่องจากผู้สรุปเป็นผู้เข้าร่วมประชุมด้วย

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานวิจัย : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีบทบาทภารกิจในการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยพัฒนากฎหมายการศึกษาและพัฒนากฎหมายการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในสังคมปัจจุบัน จึงได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศ

       การดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาและรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เหมาะสมในพื้นที่ โดยการกระจายอำนาจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีรูปแบบการจัดการศึกษาเฉพาะในพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป

       ตามที่รัฐบาลพยายามที่จะดำเนินการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยการมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการและขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนตามข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนและข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น รวมทั้งจากการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและมีนโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ

       โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษาจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำสาระสำคัญของกฎหมายการศึกษามาพิจารณา ทั้งนี้ในมาตรา 8 และมาตรา 15 ได้แก่

       1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

       2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

       3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้การจัดการศึกษาที่แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

       นอกจากนี้ยังให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง มาตรา 41 ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น ดังนั้นจะเห็นว่าจากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันต้องการให้ประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเพื่อให้การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นการจัดการศึกษาที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาหารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทและความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับใช้เป็นแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อันจะส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างและการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของประชาชนในเขตพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ใกล้เคียงในด้านการแข่งขัน และเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของการเตรียมความพร้อมในการวางราก ฐานการพัฒนาประเทศ

กรอบแนวความคิดการวิจัย

       การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่จะนำไปสู่การร่างกฎหมายที่เอื้อต่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำแนกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่

       1. การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       2. หลักการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       3. ทรัพยากรสำหรับใช้ในการบริหารจัดการการศึกษา

       4. กระบวนการการบริหารจัดการศึกษา

       5. คุณภาพการศึกษา

ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

       1) แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            1.1 กฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้มีการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นองค์กรมหาชน มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 สำหรับการจัดการศึกษาให้มีระบบและแนวการจัดตามระบบการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาของชาติ และควรมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ

            1.2 เขตพื้นที่การศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งองค์การมหาชนเรียกว่า ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน)

            1.3 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรมีสิทธิในการจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ ทุกประเภท ทุกรูปแบบ ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

            1.4 ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการตามศักยภาพและโอกาสของแต่ละเขต โดยเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวิชาการ การวิจัยและพัฒนาของสถานศึกษาในกำกับ ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษากับภาคีต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยยึดหลักประชารัฐและกำกับดูแลติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในกำกับของศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            1.5 ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                 1) ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สินต่างๆ

                 2) ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนนิติกรรมอื่น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรม

                 3) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกิจการ

                 4) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผู้เรียน และการดำเนินงานของศูนย์

                 5) บริหารจัดการศึกษา และทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

                 6) เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด

                 7) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ

                 8) ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนในสถานศึกษา มีบุคคลหรือทรัพย์ค้ำประกัน

                 9) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด

                 10) ให้ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองและเครื่องหมาย วิทยฐานะในกิจกรรมตามวัตถุประสงค์และอำนาจของศูนย์

                 11) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นและต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของศูนย์

            1.6 ความมุ่งหมายและหลักการในการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านตัวผู้เรียน มุ่งพัฒนาคุณภาพคนให้มีความสมบูรณ์ ด้านสังคม มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างให้สังคมของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ เน้นให้มีสาระการเรียนรู้ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตพัฒนาฯ

            1.7 หลักการจัดการศึกษาให้ยึดการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของเขตฯ การจัดต้องมีความเป็นอิสระในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาสำหรับใช้ประกันคุณภาพการศึกษาและมีอิสระในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล ไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการเรียนทุกคนมีความเสมอภาคกันและการจัดการศึกษาต้องมีเอกภาพ

            1.8 แนวทางการจัดการศึกษายึดศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตนเอง หลักสูตรและสาระการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ยึดศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งเน้นการวิจัยและเพื่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตฯ

            1.9 กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภทของเขตฯ สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามกฎหมาย มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

            1.10 คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารจัดการศึกษาของเขตฯ คำนึงถึงคุณภาพ ความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ กำหนดนโยบายการบริหารจัดการ ให้ความเห็นชอบแผนการจัดการศึกษา การอนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารศูนย์ฯ และสถานศึกษาของเขตฯ การบริหารงานทั่วไปและการจัดแบ่งส่วนงาน การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน

            1.11 การจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้สถานศึกษาในเขตฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยมีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาของเขตฯประกอบด้วย คณะกรรมการการศึกษาของเขตฯ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

            1.12 คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ในเขตฯ เป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการศูนย์ฯ และผู้บริหารสถานศึกษาในเขตฯ

            1.13 ผู้อำนายการศูนย์ฯ และผู้บริหารสถานศึกษาในเขตฯ ต้องสามารถทำงานได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สามารถได้รับแต่งตั้งไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน

            1.14 ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ฯ และสถานศึกษาเขตฯ มี 3 ประเภท คือ 1. เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง 2. ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว

            1.15 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของเขตฯ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก จัดให้มีระบบการประกันภายในและให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทำหน้าที่ประเมินภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

            1.16 ทุน รายได้ และทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษาของเขตฯ ประกอบด้วย เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับถ่ายโอนมา เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประกันและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้หรือองค์กรอื่น ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการหรือจากการดำเนินงาน ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของศูนย์ ที่ไม่เป็นรายได้ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมาย

            1.17 การจ่ายเงินของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ ให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ โดยเฉพาะ

            1.18 เขตฯ ควรเปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการณ์และสถาบันสังคม บริจาคเงินหรือทรัพยากรทางการศึกษา เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

            1.19 การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์ และสถานศึกษาในเขตฯ ต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบโดยเฉพาะ

            1.20 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารรายงานการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการ การศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีเนื้อหาสาระสรุปเป็นประเด็น ได้แก่

       ประเด็นที่ 1 แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ตลอดจนแผนบูรณาการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       ประเด็นที่ 2 ร่าง “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. … ” มีทั้งหมด 8 หมวด จำนวน 75 มาตรา ประกอบด้วย

            หมวดที่ 1 การจัดตั้งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่มีจำนวน 10 มาตรา

            หมวดที่ 2 ทุน รายได้และทรัพย์สินมีจำนวน 5 มาตรา

            หมวดที่ 3 การบริหารและการดำเนินกิจการมี 3 ส่วน ได้แก่

               ส่วนที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษามีจำนวน 6 มาตรา

               ส่วนที่ 2 แนวการจัดการศึกษามีจำนวน 32 มาตรา

            หมวดที่ 4 ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์และสถานศึกษามีจำนวน 4 มาตรา

            หมวดที่ 5 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มีจำนวน 4 มาตรา

            หมวดที่ 6 การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์และสถานศึกษามีจำนวน 5 มาตรา

            หมวดที่ 7 การกำกับดูแล มีจำนวน 1 มาตรา

            หมวดที่ 8 วุฒิบัตรและเครื่องหมายวิทยฐานะ มีจำนวน 3 มาตรา

       ประเด็นที่ 3 สรุปผลการวิจัย กลุ่มผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการจะทำศึกษาต่อยอด มีดังนี้

            1. ควรทำการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) พัฒนาความพร้อมในการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            2. ควรทำการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา ในลักษณะโครงการนำร่องการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบองค์การมหาชน

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานวิจัยและการนำไปใช้ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ความน่าสนใจของผลงานตรงที่เป็นบทอภิปรายผลการวิจัย ดังนี้

       1. กฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นองค์การมหาชน

มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการศึกษาภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

       2. เขตพื้นที่การศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาจัดตั้งองค์การมหาชนเรียกว่า ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน)

       3. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีสิทธิในการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับทุกประเภท ทุกรูปแบบ ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       4. ศูนย์การบริหารจัดการการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์

            4.1 บริหารจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการ

            4.2 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา

            4.3 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนาของสถานศึกษาในกำกับ

            4.4 ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษากับภาคีต่างๆ ทั้งของหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

            4.5 กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       5. ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่

            5.1 ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สิทธิต่างๆ

            5.2 ก่อตั้งสิทธิหรือนิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สินและนิติกรรมอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน

            5.3 ทำความตกลง ร่วมมือองค์การหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            5.4 จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผู้เรียนและการดำเนินงานของศูนย์

            5.5 บริหารจัดการศึกษาตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

            5.6 เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลในกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์

            5.7 กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด

            5.8 ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนของสถานศึกษา

            5.9 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานกิจการต่างๆ

            5.10 ให้ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองและเครื่องหมายวิทยฐานะในกิจกรรม

            5.11 กระทำการอื่นใดที่ไม่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

       6. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน เน้นพัฒนาคุณภาพ ด้านสังคม เน้นพัฒนาเพื่อสร้างให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

       7. ยึดหลักการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและตอบสนองความต้องการของแต่ละเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       8. แนวทางการจัดการศึกษา ยึดศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมความเป็นเลิศตามอัจฉริยะภาพ

       9. ให้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา

       10. คณะกรรมการบริหารศูนย์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคำนึงถึงคุณภาพ ความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ

       11. การจัดตั้งยุบรวมหรือเลิกสถานศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

       12. คณะกรรมการบริหารศูนย์มีอำนาจสรรหา แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการศูนย์ตามมติของคณะกรรมการ

       13. ผู้อำนวยการและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถทำงานได้เต็มเวลา มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบปฏิบัติของราชการ

       14. ผู้ปฏิบัติงานของมนุษย์และสถานศึกษามี 3 ประเภท คือ เจ้าหน้าที่/ลูกจ้าง ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมาช่วยปฏิบัติงานของศูนย์

       15. มาตรฐานและประกันคุณภาพของสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันภายในกับภายนอก โดยให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทำหน้าที่ประเมิน

       16. ทุน รายได้ และทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษาประกอบด้วย เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการถ่ายโอนมา เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรร เงินอุดหนุนจากสถานประกอบการภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการหรือรายได้จากการดำเนินการและดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของศูนย์

       17. การใช้จ่ายเงินของศูนย์และสถานศึกษาให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการของศูนย์และสถานศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับ พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542

       18. ควรเปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นบริจาคเงินหรือทรัพยากรทางการศึกษา

       19. การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์และสถานศึกษาจัดตามหลักสากล ตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารและต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

       20. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 

การนำไปใช้ประโยชน์ : จากผลการวิจัยทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based Management for Local Development : SBMLD) เกิดจากแนวคิด “การจัดการศึกษาต้องนำไปสู่การเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก

       การจัดการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนามีความเป็นเลิศทางวิชาการ สอดคล้องกับหลักธรรมชาติที่แตกต่างกัน มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพ หรืออัจฉริยภาพด้านวิชาการ ดังนั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนทุกคน เพื่อให้ผู้เรียนพบศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลสู่ความเป็นเลิศต่อไป

       โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีทรัพยากรจัดการศึกษาอย่างคุ้มค่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้แก่ เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น จัดการศึกษาตลอดชีวิตเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ หลักการสำคัญในการบริหารประกอยด้วย

       1) หลักการส่งเริมความเข้มแข็งให้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

       2) หลักการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของผู้เรียน

       3) รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

       4) แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

            4.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

            4.2 สนับสนุนให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี

            4.3 จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมจัดหาแหล่งเรียนรู้หลากหลายตามความต้องการของเด็ก

            4.4 สร้างวิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาคนในท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งกิจการของชุมชนเกิดจากการรวมตัวกันของประชาชนในท้องถิ่น ดำเนินการประกอบธุรกิจร่วมกันของประชาชนในท้องถิ่น ดำเนินการประกอบธุรกิจร่วมกัน นำไปสู่การสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชน

กรอบแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

นิยามศัพท์ :

การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายประเทศกำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ตเสร็จที่สอดคล้องกับระบบ ASEAN Single Window และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากรและผู้เรียบเรียง

บทบาทการศึกษากับการก้าวสู่ยุคประเทศไทย ๔.๐

ชื่อผลงานทางวิชาการ : เอกสารทางวิชาการ เรื่อง บทบาทของการศึกษากับการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสารและ Power Point สรุปสาระ การบรรยายของ ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : โครงการการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “การปฏิบัติการศึกษาไทยสู่ผลลัพท์ Thailand 4.0 ” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 ของสมาคมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20-22 เมษายน 2560 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ดร.กมล รอดคล้าย เลขาธิการสภาการศึกษา สรุปโดย รองศาสตราจารย์ ศรีมงคล เทพเรณู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสตรีวัดระฆัง กรุงเทพฯ และผู้นำร่วมประชุมสัมมนา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของเอกสารและ Power Point ประกอบการบรรยาย : การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 – 2551 แต่ผลการปฏิรูปการศึกษาพบว่า ระบบการศึกษาของประเทศไทยยังไม่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามที่ตั้งเป้าหมายไว้และปัจจุบันยังอยู่ในช่วงปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 หรือเรียกว่า “การปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่ 2 พ.ศ. 2552 – 2561 ” ซึ่งดำเนินการมาแล้วกว่า 8 ปี แต่ปัญหาคุณภาพการศึกษาในภาพรวมกล่าวว่ายังเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะด้านคุณภาพการศึกษา คุณภาพผู้เรียน ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านประสิทธิภาพและการบริหารจัดการ การเพิ่มและการกระจายโอกาสทางการศึกษายังไม่ทั่วถึง ไม่เท่าเทียม ในด้านการผลิตและพัฒนากำลังคนและการวิจัยที่สอดคล้องกับความต้องการของการพัฒนาประเทศที่จะพยายามสื่อสารองค์ความรู้ใหม่โดยการกำหนดนโยบายการบริหารการศึกษาไทย 4.0 กระทรวงศึกษาธิการต้องขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาไทยสู่ผลลัพท์ Thailand 4.0 ให้สำเร็จ

       ประเด็นของการปฏิรูปการศึกษาประกอบด้วยทิศทางการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมไทย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทักษะของประชากรในทศวรรษที่ 21 รัฐธรรมนูญ/แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560 -2579 และการศึกษากับการเปลี่ยนแปลง

       บริบทการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยและภาพคนไทยในทศวรรษที่ 21 ได้แก่

       1. แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก (Global Trend)

            – พลวัตการเปลี่ยนแปลงโลกจากก้าวผ่านจากทศวรรษที่ 20 เข้าสู่ทศวรรษที่ 21

            – แนวโน้มใหญ่ที่สำคัญของโลก (Mega Trend)

2. แรงขับเคลื่อนในระดับภูมิภาค เกิดจากการรวมตัว รวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ ของโลก โดยใช้กรอบความร่วมมือที่มีความสำคัญใกล้ชิดกับประเทศไทย

3. ประเด็นภายในประเทศไทย (Local Issues) ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นปัญหาภายในประเทศไทย (Local Issues) กับยุทธศาสตร์ของประเทศ (Country Strategy)

สรุปสาระสำคัญของการบรรยายและเอกสาร : ยุทธศาสตร์ชาติ : กรอบการพัฒนาระยะยาว (20 ปี) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างรายได้ระดับสูงเป็นประเทศพัฒนาแล้วและสร้างความสุขของคนไทย ความมั่งคั่ง เสมอภาคและเป็นรูปธรรม ประเทศสามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจ

1 = ความมั่นคง

2 = การสร้างความรู้สามารถการแข่งขัน

3 = การเสริมสร้างสมองเสริมสร้างศักยภาพ

4 = การสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในสังคม

5 = การสร้าง การเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

6 = การปรับสมดุลและพัฒนาระบบริหารจัดการภาครัฐ

       ความมั่งคง : คือ การมีความมั่นคงปลอดภัย จากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือนและปัจเจกบุคคล และมีความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง ประเทศไทยมีความมั่นคงเป็นเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ที่เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่อง โปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลสังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชน มีความเข้มแข็ง ครอบครัวมีความอบอุ่น ประชาชนมีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และฐานะทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีความมั่นคงของอาหาร พลังงานและน้ำ

       ความมั่งคั่ง :  ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยกระดับเป็นประเทศในกลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอก ประเทศสร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาค ทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิตการค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง และมีความสมบูรณ์ในทุนที่สามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนการเงิน ทุนเป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคมและทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

       ความยั่งยืน : การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช่ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์ การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎ ระเบียบของประชาคมโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพที่ดีขึ้นมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนร่วม มุ่งประโยชน์ส่วนรวมแบบยั่งยืนให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุลมีเสถียรภาพและยั่งยืนและประชาชนทุกภาคส่วนในสังคมยึดถือและปฏิบัติตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ไทยแลนด์ 4.0 มีวิวัฒนาการจาก : โมเดลเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา บูรณาการกับความมั่นคงของชาติ ดังนี้

1. โมเดลประเทศไทย 1.0 : เป็นเกษตรกรรม
: เป็นหัตกรรม
2. โมเดลประเทศไทย 2.0 : เป็นอุตสาหกรรมเบา
: เป็นการทดแทนการนำเข้า
: เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูก
3. โมเดลประเทศไทย 3.0 : เป็นอุตสาหกรรมหนัก
: เน้นส่งเสริมการส่งออก
: เน้นการลงทุนและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

       จะเห็นว่าทั้ง 3 โมเดลนั้น ประเทศเผชิญกับ 3 กับดัก คือ ความไม่สมดุล ความเหลื่อมล้ำและประเทศรายได้ปานกลาง การขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 หรือ New Engines for Growth (ดังภาพ)

ทักษะที่จำเป็นเพื่อพัฒนาไปสู่ Thailand 4.0 ทักษะที่ต้องพัฒนาสำหรับคนไทย เพื่อเข้าสู่ Thailand 4.0

1. Critical Thinking & Evaluation

2. Productivity & Innovation

3. Creativity & Imagination

4. Change & Problem Solving

5. Communication & Self Confident

6. Asian & International

7. Ethic & Responsibility

       ทักษะที่ต้องการพัฒนาสำหรับผู้เรียน เพื่อนำสู่ Thailand 4.0 ทักษะที่เป็นจุดเน้น

1. Critical Mind

2. Creative Mind

3. Productive Mind

4. Responsible Mind

       กรอบแนวคิดการพัฒนาการศึกษาระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579)

       Quick – Win เป็นการพัฒนา 5 กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วนระยะ 3 – 5 ปี

       Gifted / Thailand (1) ใช้ประโยชน์จากกลุ่ม Gifted โรงเรียนที่รับเด็กเก่งเฉพาะด้านให้คุ้มกับการลงทุนและใช้ทรัพยากรทางการศึกษาโดยส่งเสริมให้ศึกษาในสาขาที่ประเทศขาดแคลนและต้องการและจัดงานรองรับอย่างเหมาะสม (2) ส่งเสริมสนับสนุนผู้ที่มีความสามารถพอเศษให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

       อาชีวศึกษา : (1) เป็นการผลิตกำลังคนใน 5 กลุ่ม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม เป้าหมาย คือ สามารถทำงานได้จริงและทันที (2) รวมพลังประชารัฐด้วยการยกระดับวิชาชีพ (3) ขยายการศึกษาแบบ     ทวิภาคีปรับวุฒิเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน ที่มีทักษะในสาขาวิชาที่ตลาดต้องการ

       อุดมศึกษา : (1) พัฒนาและยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไปตามที่กำหนด (2) เพิ่มประสิทธิ ภาพการบริหารจัดการของสถาบัน (3) สร้างความเป็นเลิศในศาสตร์/สาขาวิชาที่แต่ละสถาบันมีความเชี่ยวชาญ

       กำลังแรงงาน : บัณฑิตที่ว่างงาน / แรงงานไร้ฝีมือ ต้องการยกระดับสมรรถนะกำลังแรงงานเพื่อรอง รับ 5 กลุ่ม เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

       ผู้สูงอายุ : ใช้ประโยชน์จากความรู้ ประสบการณ์ สร้างเสริมสนับสนุนการขับเคลื่อน Thailand 4.0 ในลักษณะคลังสมองและผู้ประกอบการ

       การดำเนินการ Reprofile ของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ การผลิตบัณฑิตและพัฒนาครู

ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคเหนือ : (1) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
(2) แหล่งผลิตอาหารปลอดภัย
(3) เศรษฐกิจพิเศษ
ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคตะวันตก : (1) วิทยาศาสตร์ประยุกต์และคุณภาพ
(2) อุตสาหกรรมบริการ การท่องเที่ยวธรรมชาติ การโรงแรมที่พัก
(3) อุตสาหกรรมการเกษตร เกษตรอินทรีย์ อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ
ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคใต้ : (1) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ
(2) เทคโนโลยีการเกษตรและอาหาร
ยุทธศาสตร์กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : (1) การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
(2) การพัฒนาอาหารสู่ครัวโลก
ยุทธศาสตร์ภาคกลาง : (1) การท่องเที่ยว
(2) การเกษตร
(3) สิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์กลุ่มกรุงเทพมหานคร : (1) อุตสาหกรรมการบริการ
(2) การดูแลผู้สูงอายุในเขตเมือง

       การดำเนินการ Reprofile ของสถาบันอุคมศึกษากลุ่มใหม่

       กลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง คือ การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เช่น ระบบการขนส่งทางอากาศ พัฒนาผู้ประกอบการใหม่ ฯลฯ เป็นต้น

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเนื้อหาการบรรยาย , เอกสารและ Power Point :

       (1) รัฐธรรมนูญกับทิศทางการศึกษาไทย หมวด 3 หน้าที่ของรัฐ

       มาตรา 54 รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลา 12 ปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับอย่างมคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

       รัฐต้องดำเนินการให้เด็กได้รับการดูแลก่อนเข้ารับการศึกษาตามวรรค  เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัยอารมณ์สังคมและสติปัญญาให้สมกับวัยเรียน โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

       การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดีมีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ตามความถนัดของตนและมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวชุมชน สังคมและประเทศชาติ

       (2) จุดเน้นการพัฒนาการศึกษา

            ก. ด้านการพัฒนาหลักสูตร การเรียน การสอน การวัดและการประเมินผล เช่น สร้างคนไทยให้เป็นคนดีมีวินัย รักชาติ มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ฯลฯ เป็นต้น

            ข. ด้านการบริหารจัดการ เช่น บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก เพิ่มอำนาจบริหารจัดการให้แก่สถานศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

            ค. ด้านการผลิตและพัฒนาครู เช่น จัดให้มีกองทุนพัฒนาครูที่สอดคล้องกับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ระบบการคัดเลือกครู ผู้บริหารเข้าสู่ตำแหน่งมีประสิทธิภาพ ฯลฯ เป็นต้น

            ง. ทรัพยากรทางการศึกษา เช่น ปรับระบบงบประมาณให้เข้าถึงผู้เรียนและสถานศึกษา ฯลฯ เป็นต้น

       (3) การศึกษากับการเปลี่ยนแปลง

            ก. กำหนดบทบาทการผลิตนักศึกษาของอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาใช้ชัดเจนตามความถนัดและความเป็นเลิศของแต่ละสถาบันเพื่อลดความซ้ำซ้อนและตรงกับทิศทางความต้องการของประเทศและประชาชนทุกช่วงวัย

            ข. กำหนดผลลัพท์ (Outcome) ของสถาบันอุดมศึกษา เช่น เป็นศูนย์วิจัยที่มีคุณภาพ มีการวิจัยและพัฒนาจนเกิดเป็นนวัตกรรมจากทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศ

            ค. จัดให้สถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้แก่สถานศึกษาในท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น

            ง. สร้างทักษะการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ การเรียนรู้ภาษา เทคโนโลยี STEM

            จ. ต้องมีหลักสูตรที่คล่องตัว ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ทักษะและความรู้ตามที่ต้องการได้

            ฉ. ต้องมีการเรียนรู้ที่น่าสนใจและสอดคล้องกับยุคสมัย ไม่ใช่การถ่ายทอดจากปาก แต่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาปรับจากครูห้องสี่เหลี่ยมเป็นครูจากสภาพแวดล้อมมีเครือข่ายความร่วมมือของครู

            ช. ครูเปลี่ยนสภาพจากผู้สอน เป็นครูฝึกหรือครูอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้หรือครูประเมิน

            ซ. ปรับระบบการเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เป็นเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ โดยการเรียนรู้แบบโครงงาน

            ฌ. ทำให้ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้มีความตื่นตัวในการเรียนรู้ สร้างกลยุทธ์การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : เนื่องจากเนื้อหาที่กล่าวมาข้างต้นพบว่า ในมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เรื่องการจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายนั้น ปัจจุบันพบว่าปัญหาการจัดการศึกษาเกิดจากความไม่เพียงพอ การศึกษาควรเริ่มตั้งแต่การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวให้สอดคล้องกับคำกล่าวถึงเอกลักษณ์คนไทย คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน โรงเรียนต้องสอนให้เกิดคุณค่าแห่งชีวิต แสดงกิริยาออกมาจากใจ ดังนั้นสถานศึกษาต้องดีพร้อมยอมรับในการปรับพฤติกรรมผู้เรียนให้เป็นรูปธรรมเน้นการปฏิบัติ ด้านความประพฤติควรมีจิตสำนึกมีการตัดสินใจอย่างถูกต้อง เสริมด้านหลักคุณธรรม จริยธรรม (Morality) เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและยั่งยืนสอนให้เกิดรูปธรรม โดยการนำอดีต    ปัจจุบัน    อนาคต เชื่อมโยงกัน ผู้สอนต้องปรับพฤติกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้ให้ทันสมัย เมื่อโลกเปลี่ยน การศึกษาก็ต้องเปลี่ยนตาม

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

แผนการศึกษาชาติ พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๗๙

ชื่อผลงานทางวิชาการ : แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือและเอกสารวิชาการ เรื่อง แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 -2579 ของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู เข้าร่วมประชุมเสวนาทางวิชาการด้วยในฐานะประธานคณะกรรมการสถานศึกษาการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมสวิสโฮเตล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เรียบเรียงและสรุปโดย รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาการในโครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามอัตลักษณ์ที่โดดเด่นของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2560 – 2562  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ประเทศไทยให้ความสำคัญด้านการศึกษาในฐานะกลไกหลักของการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่องพร้อมกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบันเสร็จเรียบร้อย ดังนั้นกระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จึงได้จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 เพื่อเป็นกรอบ เป้าหมายและทิศทางการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมุ่งการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคในการศึกษาที่มีคุณภาพ พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ พัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะในการทำงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ กระบวนการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2575 เน้นการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมและการยอมรับของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลให้การขับเคลื่อนการศึกษาแห่งชาติไปสู่การปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ


 

       แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 เป็นระยะยาว 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี บูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และกีฬากับการศึกษาทุกระดับ การจัดทำได้ทำการศึกษาสภาวการณ์และบริบทแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ ด้านความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตัลแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาคและโลก การเปลี่ยนแปลงโดยโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัย และทักษะของประชากรในศตวรรษที่ 21 ที่ทั่วโลกต่างต้องเผชิญกับความท้าทายและมุ่งพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยุค 4.0 และนำผลการตอดตามประเมินแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 – 2559 ซึ่งครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวกับบริบทการจัดการศึกษา โอกาสทางการศึกษา คุณภาพทางการศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการสถานศึกษาและการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งการพัฒนาการศึกษากับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาปัญหาและความท้าทายของระบบการศึกษา ทั้งที่เกิดจากปัญหาของระบบการศึกษาและจากสภาวการณ์โลกที่กำลังเผชิญอยู่ เพื่อนำมากำหนดแนวคิดของการจัดการศึกษา วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย การพัฒนาการศึกษา บทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ยุทธศาสตร์เป้าหมาย ตัวชี้วัด และแนวทางการทางพัฒนา รวมทั้งโครงการเร่งด่วนที่สำคัญ และการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ได้แก่

       1. ความจำเป็นการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ประเทศไทยประสบความสำเร็จหลายด้าน และหลายด้านจำเป็นต้องแก้ไขระยะต่อไป ประกอบด้วย ด้านโอกาสทางการศึกษา ด้านคุณภาพการศึกษา ด้านประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอน การบริหารจัดการและการใช้จ่ายงบประมาณทางการศึกษา

       2. แนวคิดการจัดการ ประกอบด้วยหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมกันและทั่วถึง (Inclusive Education) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy ) และหลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม (All for Education) อีกทั้งยึดตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs 2030) ประเด็นภายนอก (Local Issues) เช่น คุณภาพของคนทุกช่วงวัย ฯลฯ เป็นต้น โดยนำยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy) มาเป็นกรอบความคิดสำคัญในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ

       3. วิสัยทัศน์ จุดมุ่งหมาย เป้าหมาย ตัวชี้วัดและยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดการการศึกษา 4 ประการ คือ เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อการพัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณธรรม จริยธรรม รู้รักสามัคคีและร่วมมือผนึกกำลังมุ่งสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเพื่อนำประเทศไทยก้าวหน้าข้ามกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางและความเหลื่อมล้ำภายในประเทศลดลง

       แผนการศึกษาแห่งชาติวางเป้าหมายไว้ 2 ด้าน คือ ด้านผู้เรียน (Learner Aspirations) มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs)  3Rs = การอ่านออก (Reading) เขียนได้ (Writing) และการคิดเลข (Arithmetic) 8Cs = ทักษะการคิดอย่างมีวิจารญาณและทักษะในการแก้ไขปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์และนวัตกรรม ฯลฯ เป็นต้น

เป้าหมายของการจัดการศึกษา 5 ประการ คือ

       1) ประชากรทุกคนเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและมีมาตรฐานอย่างทั่วถึง

       2) ผู้เรียนทุกคน ทุกกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานอย่างเท่าเทียม

       3) ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุขีดความสามารถเต็มศักยภาพ

       4) ระบบการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการลงทุนทางการศึกษาที่คุ้มค่าและบรรลุเป้าหมาย

       5) ระบบการศึกษาที่สนองตอบและก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่พลวัตและบริบทที่เปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาภายใต้ 6 ยุทธศาสตร์หลักที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติบรรลุเป้าหมายตามจุดมุ่งหมาย วิสัยทัศน์ และแนวคิดการจัดการศึกษา

       ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงของสังคมและประเทศชาติ

              1.1 คนทุกช่วงวัยมีความรักในสถาบันหลักของชาติและยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

              1.2 คนทุกช่วงวัยในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่พิเศษได้รับการศึกษาและเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ

              1.3 คนทุกช่วงวัยได้รับการศึกษา การดูแลป้องกันจากภัยคุกคามในชีวิตรูปแบบใหม่

       ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การผลิตและการพัฒนากำลังคนการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ มีเป้าหมาย :

              2.1 กำลังคนที่ทักษะที่สำคัญ จำเป็นและมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

              2.2 สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่จัดการศึกษาผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญเป็นเลิศเฉพาะด้าน

              2.3 การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่สร้างผลผลิตและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

       ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ มีเป้าหมาย :

              3.1 ผู้เรียนมีทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานของพลเมืองไทย และทักษะและคุณลักษณะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21

              3.2 คนทุกช่วงวัย มีทักษะ ความรู้ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานวิชาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ตามศักยภาพ

              3.3 สถานศึกษาทุกระดับการศึกษาสามารถจัดกิจกรรม / กระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน

              3.4 แหล่งเรียนรู้ สื่อตำราเรียน นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้มีคุณภาพและมาตรฐานและประชาชนสามารถเข้าถึงโดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่

              3.5 ระบบและกลไกการวัด การติดตามและประเมินผลมีประสิทธิภาพ

              3.6 ระบบการผลิตครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ได้มาตรฐานระดับสากล

              3.7 ครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐาน

       ยุทธศาสตร์ที่ 4 : การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา มีเป้าหมาย :

              4.1 ผู้เรียนทุกคนได้รับโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ

              4.2 การเพิ่มโอกาสทางการศึกษาผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการศึกษาสำหรับทุกช่วงวัย

              4.3 ระบบข้อมูลรายบุคคลและสารสนเทศทางการศึกษาที่ครอบคลุม ถูกต้องเป็นปัจจุบัน เพื่อการวางแผนการบริหารจัดการศึกษา การติดตามประเมิน และรายงานผล

       ยุทธศาสตร์ที่ 5 : การจัดการศึกษาเพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมาย :

              5.1 คนทุกช่วงวัย มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมมีคุณธรรม จริยธรรม และนำแนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

              5.2 หลักสูตร แหล่งเรียนรู้และสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คุณธรรม จริยธรรมและการนำแนวความคิดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

              5.3 การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

       ยุทธศาสตร์ที่ 6 : การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารการจัดการการศึกษา มีเป้าหมาย :

              6.1 โครงสร้าง บทบาทและระบบการบริหารจัดการการศึกษามีความคล่องตัวชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้

              6.2 ระบบการบริหารจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา

              6.3 ทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนและพื้นที่

              6.4 กฎหมายและรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษารองรับลักษณะที่แตกต่างกันของผู้เรียน สถานศึกษาและความต้องการกำลังแรงงานของประเทศ

              6.5 ระบบบริหารงานบุคคลของครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจและส่งเสริมให้ปฏิบัติงานได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

       การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการศึกษาของชาติ แนวทางการขับเคลื่อนแผนการศึกษาชาติสู่การปฏิบัติ โดยการสร้างความเข้าใจกับหน่วยงาน องค์กรและภาคีทุกภาคส่วน การดำเนินการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ โดยการสร้างความเข้าใจกับหน่วยงาน องค์กร และภาคีทุกภาคส่วน การดำเนินการการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติสู่การปฏิบัติ โดยการนำของกระทรวงศึกษาธิการ และการติดตามประเมินผลแผนการศึกษาแห่งชาติ ทำด้วยการประเมินก่อนเริ่มโครงการ ระหว่างดำเนินการและหลังการดำเนินงานตามแผนเสร็จสิ้น ซึ่งต้องวางระบบตั้งแต่ระดับกระทรวงส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค จังหวัดและเขตพื้นที่เชื่อมโยงแผนปฏิบัติแต่ละระดับกับแผนการศึกษาของชาติ

การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว (An Evaluation of Attraction Site in Thonburi Area, Bangkok for Travelling Route of Physically Disabled)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์สุพรรณิการ์  ชาคำรุณ สาขาวิชาการท่องเที่ยว  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่อง การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ)สำรวจและประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เพื่อนำมาจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่าง คือ ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนท้องถิ่น จำนวน 22 คนและนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการบริหารและจัดการ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

       1. แหล่งท่องเที่ยวโดยภาพรวมมีศักยภาพในระดับมาก   โดยด้านที่มีความคิดเห็นต่อศักยภาพที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมและด้านการบริหารและจัดการ ตามลำดับ และเมื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจำแนกตามสถานที่ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ศิริราช รองลงมา คือ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ตามลำดับ

       2. การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในเขตธนบุรีฯnพบว่า สามารถจัดเส้นทางท่องเที่ยวได้เป็น 3 เส้นทาง คือ

          2.1 เส้นทางที่ 1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี   พิพิธภัณฑ์ศิริราชวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า

          2.2 เส้นทางที่ 2 อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ชุมชนกุฏีจีน ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ศิริราช

          2.3 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ป้อมวิไชยประสิทธิ์ วัดกัลยาณมิตรวรวิหารชุมชนกุฏีจีน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

       1. ได้ทราบศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ที่สามารถจัดเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

       2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

วงเครื่องสายไทย

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วงเครื่องสายไทย
ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความ
ปีที่พิมพ์ : 2555
มูลเพิ่มเติม : ลงในเอกสารรวบรวมบทความ มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ    สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง  คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


View Fullscreen