สรุปสาระสำคัญของแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 :
ประเด็นที่ 1 สภาวการณ์และบริบทสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศ การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาคและของโลก ควบคู่กับการธำรงรักษาอัตลักษณ์ของประเทศ โดยให้ความสำคัญที่การจัดการศึกษา การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของคนไทยให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถและสมรรถนะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ ภายใต้แรงกดดันภายนอกจากกระแสโลกาภิวัฒน์และปัญหาวิกฤติที่ต้องเผชิญเพื่อให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี เพราะสังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งประกอบด้วย
1.1 ความก้าวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแบบก้าวกระโดดที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภูมิภาคและของโลก
ก. การปฏิวัติดิจิทัลต่อการเปลี่ยนแปลงสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ใช้ไฟ น้ำ เป็นพลังงานหลักในกระบวนการผลิตทั้งหมด อาศัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ผสมผสานกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรม โดยกำหนดรูปแบบหรือเปลี่ยนจากเกษตรแบบดั่งเดิม ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่เป็นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี เป็นเกษตรกรแบบผู้ประกอบการ เปลี่ยนจากธุรกิจขนาดย่อมแบบเดิม (SMEs) ไปสู่การเปลี่ยนแปลงธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Smart Enterprises) และผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่ ( Startups) ที่มีศักยภาพสูง เปลี่ยนแปลงจากธุรกิจบริษัทการคิดแบบเดิมที่มีการสร้างมูลค่าที่ค่อนข้างต่ำไปสู่ธุรกิจบริการที่มีมูลค่าสูงและเปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะสูง
ข. สัญญาประชาคมโลก : จากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ 2558 ไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ โดยการเน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาในสถานศึกษาไปสู่แนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงเด็กที่ด้อยโอกาสทุกกลุ่ม ต้องเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพเป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างหลักประกันทางการศึกษาที่มีคุณภาพเสมอภาคและเท่าเทียม สำหรับเด็กทุกคนตั้งแต่ระดับปฐมวัยถึงอุดมศึกษา เพิ่มจำนวนครูที่มีคุณภาพ เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานและการเป็นผู้ประกอบการ คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเป็นพลเมืองของโลก
ค. ผลกระทบของการเป็นประชาคมอาเซียนต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมและการเมืองและความมั่นคงประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ เสาที่ 1 ประชาคมการเมืองและความมั่นคง เสาที่ 2 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม และ เสาที่ 3 ประชาคมเศรษฐกิจ ปัจจุบันประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการจัดทำข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ 8 สาขาอาชีพ ได้แก่ วิศวกร สถาปนิก แพทย์ ทันตแพทย์ ช่างสำรวจ โลจิสติกส์ นักการบัญชี และการท่องเที่ยวและการโรงแรม ในด้านสังคมและวัฒนธรรม ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนสามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้สะดวกมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีมากขึ้นกลายเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม เปิดชายแดน เคลื่อนย้ายประชาชนข้ามแดน ภาษาอังกฤษจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เกิดความร่วมมือในการพัฒนาภายใต้กรอบข้อตกลงต่างๆ
ง. การปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจและสังคมให้พร้อมรองรับประเทศไทยยุค 4.0 ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560 – 2579) โดยกำหนดวิสัยทัศน์และสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ นำไปสู่การพัฒนาให้คนไทยมีความสุขและตอบสนองต่อการบรรลุ ซึ่งผลประโยชน์ของชาติ
จ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการมุ่งส่งเสริมสร้างกลไกการพัฒนาประเทศ เชิงบูรณาการกับหน่วยงานโดยยึดพื้นที่เป็นหลักและกำหนดให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
ประเด็นที่ 2 สภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโลก
2.1 การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ต้องสามารถถ่ายทอดกระบวนการเรียนรู้ไปสู่เด็กและเยาวชนให้รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถวิเคราะห์เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติ บริหารจัดการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.2 การเปลี่ยนแปลงด้านสาธารณสุข เป็นความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ระบบการบริการสาธารณสุขต้องเปลี่ยนมาเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและการดูแลสุขภาพ ระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับปรุงรูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
2.3 แนวโน้มความขัดแย้งและความรุนแรงในสังคม ระบบการศึกษาในฐานะกลไกหลักในการพัฒนาคุณภาพคนของประเทศจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้สามารถคิดวิเคราะห์ มีเหตุผล เข้าใจและยอมรับความคิดเห็น ความคิดที่แตกต่างกัน แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี
2.4 ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีดิจิทัลกับการดำรงชีวิต การเรียนการสอนในสถานศึกษาต้องให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้รู้เท่าทันและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง สังคมและประเทศชาติ