จุดเด่น / ความน่าสนใจของแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560- 2579 : ในด้านแนวคิดการจัดการศึกษา (Conceptual Design) ยึดหลักการเป้าหมายและแนวคิด ดังนี้

1. หลักการจัดการศึกษา

       1.1 หลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน

1.2 หลักการจัดการศึกษาเพื่อความเท่าเทียมและทั่วถึง

1.3 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

1.4 หลักการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนของสังคม

    • เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่

มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

    • ประเด็นภายในประเทศ เน้นความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้
    • ยุทธศาสตร์ชาติ ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนให้สอดคล้องบูรณาการ เกิดการผลักดันสู่เป้าหมาย

2. วิสัยทัศน์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ (Vision) “คนไทยทุกคนได้รับการศึกษาและเรียนรู้ตลอด ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการเปลี่ยนแปลงของโลก ศตวรรษที่ 21”

3. พันธกิจ พัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษาให้คนไทยทุกคนเข้าถึงโอกาสในการศึกษาและเรียนรู้ตลอดชีวิต และสามารถพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย

4. วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อพัฒนาระบบและกระบวนการจัดการศึกษา พัฒนาคนไทยให้เป็นพลเมืองที่ดี มีคุณลักษณะ ทักษะและสมรรถนะที่สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ชาติ พัฒนาสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สู่การพัฒนาประเทศตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ เป็นต้น

5. เป้าหมายด้านตัวผู้เรียน แผนการศึกษาแห่งชาติมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (3Rs 8Cs)

       ระยะเวลาของการดำเนินงานตามแผนการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้แผนการศึกษาแห่งชาติได้รับการตอบสนองจากทุกภาคส่วนของสังคม นำไปสู่การปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายตามเจตนารมณ์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ของแผนการศึกษาแห่งชาติไว้ 6 ด้าน 5 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน 2560 – 2561 การดำเนินงานตามแผนกำหนดเป็น 4 ระยะ คือ 2560 – 2564 , 2565 – 2569 , 2570 – 2574 และ 2575 – 2579 สำหรับบทบาทผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้นเมื่อนำแนวคิด การจัดการศึกษาตามแผนการศึกษาแห่งชาติยึดหลักการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for All) และทุกภาคส่วนในสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บทบาทย่อมเปลี่ยนไปสามารถพัฒนาผู้เรียนตามเป้าหมายและความมุ่งหวังของทุกภาคส่วนต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต้องเข้ามามีบทบาทร่วมกันจัดการศึกษาสนับสนุนช่วยเหลือเด็กที่ตามความพร้อม และบทบาทหน้าที่ของตน ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารสถานศึกษา/ครู ผู้เรียน ผู้ปกครอง ภาคเอกชน/สื่อมวลชน ชุมชน พื้นที่ ประชาชน