Category Archives: การท่องเที่ยว การบัญชี ธุรกิจบันเทิง และคหกรรมศาสตร์

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของเว็บโอเมตริกซ์ (July 2018)

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของเว็บโอเมตริกซ์ (July 2018) 

Webometrics Ranking of World Universities July 2018

 

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณุศณี   มีแก้วกุญชร


 

เว็บโอเมตริกซ์ได้ทำการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากทั่วโลกโดยเป็นการวัดความสามารถและคุณสมบัติของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในการเป็น “มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์” โดยอันดับของ Webometrics จะบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ในเว็บไซต์ของสถาบัน จัดทำโดย Cybermetrics Lab (Spanish National Research Council, CSIC) ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัย ณ กรุงแมดดริต ประเทศสเปน Webometricsเริ่มจัดอันดับตั้งแต่ปี พศ. ๒๕๔๗ และจะจัดอันดับมหาวิทยาลัยปีละ ๒ ครั้ง ได้แก่ทุกๆ เดือนมกราคมและเดือนกรกฎาคม ข้อมูลจะถูกรวบรวมระหว่างวันที่ ๑ – ๒๐ ของเดือนมกราคม หรือกรกฎาคม วัตถุประสงค์ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยไม่ใช่เพื่อประเมินรูปแบบหรือความนิยมของเนื้อหาบนเว็บไซต์จากจำนวนครั้งของผู้เยี่ยมชม (Visitors) ดัชนีคอมโพสิตที่เว็บโอเมตริกซ์นำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาเชิงลึกของผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับโลกประกอบด้วย

  • Visibility (คะแนน ๕๐%): Impact(๕๐%)คุณภาพของเนื้อหาจะถูกประเมินผ่านทาง “Virtual referendum” ซึ่งเป็นการให้คะแนนจำนวนเว็บเพจทั้งหมดของสถาบันที่ได้รับการเชื่อมโยง linkจากเว็บไซต์ภายนอก ข้อมูลจำนวนเครือข่ายภายนอกที่มีการเชื่อมโยง “backlinks” มายังเว็บของมหาวิทยาลัยนี้ จะถูกรวบรวมจากผู้จัดส่งข้อมูลที่สำคัญ ๒ รายได้แก่ Majestic SEO และ Ahrefs
  • Activity (คะแนน ๕๐%)ซึ่งแบ่งเป็น ๓ องค์ประกอบย่อยดังนี้
    • PRESENCE (๕%) เป็นการให้คะแนนจากปริมาณเนื้อหาที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยวัดจากดัชนีตามเครื่องมือของGOOGLE search engine ดัชนีของ google นี้จะนับจำนวนหน้าเว็บเพจแบบstatic และ dynamic ทั้งหมดโดยจะนับรวมจำนวน ของ rich files เช่น pdfด้วย
    • TRANSPARENCY or OPENNESS (๑๐%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนการอ้างอิงงานวิจัยโดยใช้ข้อมูลจาก Google Scholar Citations Institutional Profiles ที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจากTransparency Ranking
    • EXCELLENCE or SCHOLAR (๓๕%) ดัชนีตัวนี้จะเป็นการให้คะแนนจากจำนวนเอกสารทางวิชาการ/ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยเฉพาะสิ่งพิมพ์ที่มีความเป็นเลิศ๑๐% แรกที่มีการอ้างอิงถึงมากที่สุดในสาขาทางวิทยาศาสตร์ ๒๖ สาขา ที่เผยแพร่ในช่วง ๕ ปี (๒๐๑๒ – ๒๐๑๖) ของเอกสารที่ตีพิมพ์ต้องได้รับการอ้างอิงในงานของสาขาวิทยาศาสตร์ของตนเอง ซึ่งมีแหล่งข้อมูลจาก Scimago group  รายละเอียดดัง ภาพที่ ๑

ผลการจัดอันดับ Ranking Web of Universities ครั้งที่ ๒ ปี ค.ศ. ๒๐๑๘ เดือน กรกฎาคม ผลปรากฏว่า จำนวนสถาบันการศึกษาที่ถูกจัดอันดับ ๒๘,๐๗๓ แห่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อยู่ในอันดับที่ ๗๕๕๘ ของโลก อันดับที่ ๒๖๑๗ ของเอเชีย อันดับที่ ๓๒๘ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ ๒๑ ในกลุ่มของมหาวิทยาลัยราชภัฏ

ภาพที่ ๑ องค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ที่มา:  www.webometrics.info/en

 

เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในภาพรวมทุกองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตระหว่าง เดือนมกราคม ปี พ.ศ.๒๕๖๑ – กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ มีอันดับที่เพิ่มขึ้นในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลก มหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยในประเทศไทย และในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ

เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิตพบว่า มีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับลดลงเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑ (Presence Rank และ Openness Rank) และมีจำนวน ๒ องค์ประกอบที่มีอันดับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับอันดับในเดือนมกราคม ๒๕๖๑  (Impact Rank และ ExcellenceRank)ดังภาพที่ ๒ และ ๓

ภาพที่ ๒  แสดงผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาระหว่างปี พศ.๒๕๕๗ – ๒๕๖๑ และจำแนกตามองค์ประกอบของดัชนีคอมโพสิต

ภาพที่ ๓ ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภูมิภาคเอเชีย

ที่มา : http://www.webometrics.info

 

ผลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละทวีป พบว่า

๑.Harvard University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกและในทวีปอเมริกาเหนือ

๒.Universidade de São Paulo  (USP) อยู่ในอันดับที่ ๑ ของลาตินอเมริกา อันดับ ๗๐ ของโลก

๓.University of Oxford อยู่ในอันดับที่ ๑ ของยุโรป อันดับ ๗ ของโลก

๔.Tsinghua Universityอยู่ในอันดับ ๑ ของเอเชียแปซิฟิก อันดับที่ ๔๓ ของโลก

๕.University of Cape Town อยู่ในอันดับ ๑ ของทวีปแอฟริกา อันดับที่ ๒๘๐ ของโลก

๖.University of Melbourneอยู่ในอันดับที่ ๑ ของประเทศที่ติดทะเล (Oceana) อันดับ ๖๐ ของโลก

๗. King Suad University อยู่ในอันดับที่ ๑ ของโลกอาหรับ อันดับที่ ๔๑๘ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทย ๑๐ อันดับแรกเรียงตามลำดับได้ดังนี้

๑.Chulalongkorn University อันดับที่ ๕๑๕ ของโลก

๒.Mahidol University  อันดับที่ ๕๖๒ของโลก

๓.Chiang Mai University อันดับที่ ๗๒๓ ของโลก

๔.Kasetsart University อันดับที่ ๗๗๑ ของโลก

๕.Khon Kaen University อันดับที่ ๗๘๔ ของโลก

๖.Suranaree University of Technology อันดับที่ ๙๓๘ ของโลก

๗.Prince of Songkla University อันดับที่ ๑๐๑๔ ของโลก

๘.King Mongkut’s University of Technology Thonburi อันดับที่ ๑๐๖๑ ของโลก

๙.Thammasat University อันดับที่ ๑๑๒๕ ของโลก

๑๐.Naresuan University อันดับที่ ๑๑๗๗ ของโลก

 

ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๑๐ อันดับแรก เรียงลำดับได้ดังนี้

๑.Buriram Rajabhat อันดับที่ ๗ ของประเทศไทย

๒.Suan Sunandha Rajabhat Universityอันดับที่ ๒๔ ของประเทศไทย

๓.Chiang Mai Rajabaht University อันดับที่ ๒๖ ของประเทศไทย

๔.Nakhon Pathom Rajabhat University อันดับที่ ๓๒ ของประเทศไทย

๕.Pibulsongkram Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๔ ของประเทศไทย

๖.Nakhon Ratchathani Rajabhat Universityอันดับที่ ๓๘ ของประเทศไทย

๗.Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University อันดับที่ ๔๐ ของประเทศไทย

๘.Nakhon Si Thammarat Rajabhat University อันดับที่ ๔๒ ของประเทศไทย

๙.Chandrakasem Rajabhat Universityอันดับที่ ๔๔ ของประเทศไทย

๑๐.Chiang Rai Rajabhat University อันดับที่ ๔๗ ของประเทศไทย

….

๒๑.Bansomdejchaopraya Rajabhat University อันดับที่ ๗๔ ของประเทศไทย

 

 

การจัดทำระบบการควบคุมภายในสินค้าส้มโอขาวใหญ่ สมุทรสงครามและลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดทำระบบการควบคุมภายในสินค้าส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามและลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิชาการเพื่อสังคม 

ปีที่พิมพ์ : 2556

ข้อมูลเพิ่มเติม : ผลงานชิ้นนี้ ปรากฏอยู่ภายใต้โครงการควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินกิจกรรมในการจัดทำระบบการควบคุมภายในสินค้า ส้มขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อม สมุทรสงคราม โดยได้งบประมาณจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์อาภา วรรณฉวี  สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรณจิตร แก้วศรีมล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

การจัดทำระบบการควบคุมภายในสินค้าส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม   และลิ้นจีค่อม สมุทรสงคราม ผู้ศึกษา คือ อาจารย์อาภา วรรณฉวี  สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรณจิตร แก้วศรีมล สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นโครงการภายใต้โครงการควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์  โดยมีวัตถุประสงค์ คือ  ๑. เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจผลิตภัณฑ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงครามที่ขึ้นทะเบียนแล้ว มีระบบการควบคุมตรวจสอบคุณภาพกระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา  ๒. เพื่อพัฒนาผู้ผลิต/ผู้ประกอบการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ให้สามารถบริหารจัดการในการตรวจสอบควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้าตามมาตรฐานที่ขึ้นทะเบียนไว้ ทำให้สินค้าจากชุมชนนั้นคงความมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และมีความพร้อมในการจดทะเบียนคุ้มครองในต่างประเทศ

 

ความเป็นมา/บทนำ

            สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication: GI) คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง โดยมีชื่อ หรือเครื่องหมายใดๆ ที่ใช้กับแหล่งกำเนิดของสินค้ามีความเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานแล้ว มีปัจจัยธรรมชาติที่เป็นสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของแหล่งผลิตผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาของคนในพื้นที่สั่งสมกันมาทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ลักษณะเฉพาะ จนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วไป GI เป็นสิทธิชุมชน (Community Rights) อยู่ภายใต้การดูแลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ชื่อสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่แสดงบนฉลากสินค้าของผู้ผลิตในพื้นที่  เปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ชุมชน (Community Brand) ของสินค้าดังกล่าว สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สินค้าเกษตร สินค้าหัตถกรรมและสินค้าอุตสาหกรรม

Geographical Indication (GI) is an intellectual property right that protects name, symbol or any other things used for calling or representing a geographical origin. It ensures that the goods have certain qualities or characteristics that can be attributed to their origin or production methods. GI is a Community Right under the authority of the Department of Intellectual Property. The GI name on the label of goods that produced in the geographical area is equal to a Community Brand. GI goods can be things that exist naturally, agricultural products, handicrafts and industrial products.

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ของจังหวัดสมุทรสงคราม ประเทศไทย คือ ชื่อหรือสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่บอกแหล่งผลิตของสินค้า โดยสามารถสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ว่าสินค้านั้นมีคุณภาพหรือคุณลักษณะพิเศษแตกต่างจากสินค้าที่ผลิตในแหล่งผลิตอื่น

Samutsongkhram Province Geographical Indication, Thailand, is a name or symbol or other indicators which represents the origin of a good and which conveys to the consumer the special quality or features of that good vis-à-vis goods that are produced elsewhere.

กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยแล้ว ๓๕ สินค้า พ.ศ. ๒๕๕๔ สินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร (Agricultural Based Products) และสินค้าหัตถกรรมที่ผู้ผลิตในชุมชนได้ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและลักษณะพิเศษที่เป็นผลมาจากปัจจัยธรรมชาติ      สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ของแหล่งผลิต       ผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาของคนในพื้นที่ที่สั่งสมกันมาจนมีชื่อเสียงเป็นที่กล่าวขานทั่วไป การใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์กับสินค้านี้เปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ (Brand) ของชุมชนที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า ดังนั้น การสร้างความเชื่อมั่นในด้านคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้าชุมชนเหล่านี้จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง

สิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วเหล่านี้ จะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิต และแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ควรมีส่วนร่วมในการรักษาชื่อเสียงของสินค้าชุมชนไว้ โดยการร่วมกันจัดระบบควบคุมการตรวจสอบและการบริหารจัดการที่เหมาะสม ทั้งกระบวนการผลิตให้เป็นมาตรฐานที่ยอมรับได้ในระดับสากล ซึ่งจำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการค้าที่มีสิทธิใช้สิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์นั้น การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) ในระดับผู้ผลิตและระดับพื้นที่ทั้งกระบวนการผลิต ซึ่งรับรองได้ว่าการผลิตสินค้าเป็นไปตามข้อกำหนดที่ขึ้นทะเบียนไว้ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถึงแหล่งที่มาของสินค้าได้ ตั้งแต่ต้นน้ำคือการเตรียมวัตถุดิบ จนถึงปลายน้ำคือการจัดจำหน่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อคนในชุมชนในการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีประสบการณ์การดำเนินงานพัฒนาเชิงพื้นที่ในจังหวัดสมุทรสงคราม โดยการสร้างความร่วมมือที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง  ผ่านโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจึงได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาโครงการการจัดทำระบบควบคุมภายในสินค้าส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามและลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ภายใต้โครงการควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อดำเนินกิจกรรมในการจัดทำระบบการควบคุมภายในสินค้าส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม ภายใต้โครงการควบคุมตรวจสอบสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

สาระสำคัญของโครงการ

          คณะทำงานได้ดำเนินงานตามโครงการจนประสบผลสำเร็จ โดยมีขั้นตอน/กระบวนการ ดังนี้

๑. จัดทำระบบการควบคุม ตรวจสอบภายใน (Internal Control System) สำหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

๒. จัดประชุมหารือร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อวางแนวทางการควบคุมสินค้าที่เหมาะสมในระดับผู้ผลิตและระดับจังหวัดสำหรับสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม เพื่อศึกษาและจัดทำระบบการควบคุมภายใน (Internal Control System) ของแต่ละสินค้า รวมถึงการจัดทำแบบบันทึกต่างๆ ที่จำเป็นในการผลิต การบรรจุ การสอบย้อนกลับ ตลอดจนแผนการควบคุมตรวจสอบ

๓. ให้คำปรึกษาและนำกับกลุ่มผู้ผลิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จนสามารถดำเนินการควบคุมภายในได้

๔. จัดระบบการขึ้นทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการค้าที่พึงประสงค์จะขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่ และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

๕. สรุปผลและจัดทำรายงานการวางระบบการควบคุมภายในสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

๖. จัดทำบัญชีรายชื่อ จำนวนสมาชิกผู้ประสงค์ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงครามดังกล่าวที่ได้รับการตรวจสอบและผ่านเกณฑ์ประเมินตามระบบดังกล่าว

 

จุดเด่น/ความน่าสนใจ/การนำไปใช้ประโยชน์

ผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว พบว่าคณะทำงานได้จัดทำระบบการควบคุมตรวจสอบภายใน (Internal Control System) สำหรับสมาชิกผู้ขอใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่และลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม

ผลพิจารณาการตรวจแปลงเกษตรกรที่สมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม โดยแปลงผลไม้ที่มีคุณสมบัติ และการปฏิบัติตามคู่มือฯ พร้อมมีการบันทึกคู่มือประจำแปลง จากการขึ้นทะเบียนทั้งหมด ๕๒ ราย มีคุณสมบัติครบถ้วนในการพิจารณาตรวจสอบรอบแรกจำนวน ๑๔ ราย  และในรอบที่ ๒ จำนวน ๑๔ ราย  ดังนั้นมีเกษตรกรส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามที่มีผลการพิจารณาผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานฯ รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๘ ราย

ผลพิจารณาการตรวจแปลงเกษตรกรที่สมัครขอใช้ตราสัญลักษณ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม จากจำนวน ๒๘ ราย คณะทำงานฯ ได้ลงพื้นที่ตรวจแปลงผลไม้ทั้งหมด โดยในการตรวจสอบเบื้องต้น พบสภาพแปลงผลไม้ที่มีการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน แต่ทั้งนี้ไม่สามารถตรวจผลผลิตลิ้นจี่ได้ อันเนื่องมาจากไม่มีผลผลิตลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงครามในปีนี้ ซึ่งอาจมีผลมาจากสภาพแวดล้อมด้านอากาศ กล่าวคือ เนื่องจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่ไม่แน่นอนในช่วงการติดดอก ทำให้กระทบต่อการติดดอกของลิ้นจี่ จึงทำให้ปี พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ ไม่มีผลผลิตลิ้นจี่ค่อมออกสู่ตลาด ด้วยข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเลื่อนการตรวจสอบผลผลิตลิ้นจี่ค่อมออกไปในฤดูกาลผลิตในปีถัดไป

เกษตรกรส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามสามารถนำตราสัญลักษณ์สินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามไปใช้ โดยเกษตรกรสามารถใช้ตราสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “GI THAI Geographical Indication” ไปติดที่สินค้าส้มโอขาวใหญ่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของตนเอง และกระทรวงพาณิชย์ยังเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่ได้ตรา GI ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำของเมืองไทยอีกหลายแห่งอีกด้วย

เกษตรกรสามารถใช้ตราสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ “GI THAI”

ไปติดที่สินค้าส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงครามเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

ตัวแทน GI นานาชาติกว่า 100 ประเทศ มาเยี่ยมชมสินค้า GI ของไทย

ที่สวนส้มโอขาวใหญ่ จังหวัดสมุทรสงคราม

ภาพการทำงานในพื้นที่ของคณะทำงานฯ

การประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

 จังหวัดสมุทรสงคราม

        ร่วมกับตัวแทนจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คณะทำงานระดับพื้นที่ควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้า

สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดสมุทรสงคราม ลงพื้นที่ตรวจแปลงส้มโอขาวใหญ่

       คณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

ร่วมกับตัวแทนจากกระทรวงพาณิชย์ และตัวแทน

จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลงพื้นที่ตรวจแปลงส้มโอขาวใหญ่

 

AMAZING LOCAL THAILAND “เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต”

ชื่อผลงานทางวิชาการ : AMAZING  LOCAL THAILAND “เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต”

ประเภทผลงานทางวิชาการ : การประกวดแข่งขันพากย์ทัวร์ลีลา

ปีที่พิมพ์ : 2561

ข้อมูลเพิ่มเติม : นิสิตสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2 จากการประกวดแข่งขันพากย์ทัวร์ลีลา  ณ   มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2561

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์ มนชนก จุลสิกขี อาจารย์อภิญญา นุชนารถ และอาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ สาขาวิชาการท่องเที่ยว  คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

           

สาชาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างชื่อเสียง ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2   จากการเข้าร่วมประกวดแข่งขันพากย์ทัวร์ลีลา ในหัวข้อ   “Amazing Local Thailand”    เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต   ณ  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน 2561

ในการแข่งขันในครั้งนี้ จัดโดย สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ ภาควิชาสังคมสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามโครงการแนวทางส่งเสริมศักยภาพและทักษะในด้านการท่องเที่ยว เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ในหัวข้อ SSRU Tourism Competition 2018 โดยได้เชิญชวนนักศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว เข้าร่วมการแข่งขัน เพื่อแสดงศักยภาพในการพากย์ทัวร์ลีลา  มีผู้สมัครจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วไประเทศ จำนวน 11 ทีม  รางวัลที่ 1  มูลค่า  3,000 บาท  รางวัลที่ 2 มูลค่า 2,000 บาท รางวัลที่ 3 มูลค่า 1,000 บาท

 

สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ ได้ส่งนิสิตเข้าประกวดแข่งขันพากย์ทัวร์            ในหัวข้อ “Amazing local Thailand เที่ยวท้องถิ่นไทย ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต” ณ ลานกิจกรรมอาคาร35 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในวันพฤหัสบดีที่  5 เมษายน พ.ศ. 2561 ทางสาขาวิชาการท่องเที่ยวได้มีการเตรียมพร้อมนักศึกษา จำนวน 1 ทีม เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน โดยสมาชิกในทีมเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 6 คน ดังนี้

ผู้พากย์  คือ  น.ส.ศศิทร วรรณทอง

นักแสดงประกอบการพากย์ ประกอบด้วย   1.นายวรุจ จันทร์รวม       2.น.ส.นภสร ปิ่นเมือง 3.น.ส.จิราภรณ์ พรมชาติ  4.น.ส.พลอยไพลิน ศิริมานิตย์  5.น.ส.กุลวดี หงันเปี่ยม

โดยได้รับรางวัลจากการแข่งขันคือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้รับโล่รางวัล เงินรางวัล และประกาศนียบัตรสำหรับนักศึกษาในทีมทุกคน    ซึ่งก่อนการแข่งขันทางสาขาวิชาฯได้มีการจัดการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมโดยใช้แนวคิด       “ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”     และที่เกี่ยวข้องกับ

ทฤษฎีและเทคนิคที่ใช้ในการสอนนักศึกษาและฝึกซ้อมก่อนการแข่งขัน       อนึ่ง ในการสอนนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 นั้น วิจารณ์ พานิช (2555) กล่าวไว้ว่าครูผู้สอนไม่ใช่แค่    มีการเอาใจใส่ศิษย์เท่านั้น ยังต้องมีทักษะในการ “จุดไฟ” ในใจศิษย์ให้รักการเรียนรู้ให้สนุกกับการเรียนรู้หรือให้การเรียนรู้สนุกและกระตุ้นให้อยากเรียนรู้ต่อไปตลอดชีวิต ครูจึงต้องยึดหลัก “สอนน้อย เรียนมาก” คือ        ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ครูต้องตอบได้ว่าศิษย์ได้เรียนอะไร และเพื่อให้ศิษย์ได้เรียนสิ่งเหล่านั้น          ครูต้องทำอะไร ไม่ทำอะไร ในสภาพเช่นนี้ ครูยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น และท้าทายครูทุกคนอย่างที่สุด ที่จะไม่ทำหน้าที่ครูผิดทางคือทำให้ศิษย์เรียนไม่สนุก หรือเรียนแบบขาดทักษะสำคัญ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ต้อง   “ก้าวข้ามสาระวิชา” ไปสู่การเรียนรู้ “ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21” ( 21st Century Skills)    ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง ความหมายคือครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning)

Trilling and Fadel (2009, อ้างถึงใน วิจารณ์ พานิช, 2555) ได้ระบุหลักการหรือปัจจัยสำคัญด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ไว้ 5 ประการคือ

  1. Authentic learning

การเรียนรู้ที่แท้จริงอยู่ในโลกจริงหรือชีวิตจริง การเรียนวิชาในห้องเรียนยังไม่ใช่การเรียนรู้ที่แท้จริง         ยังเป็นการเรียนแบบสมมติ ดังนั้นครูจึงต้องออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์ได้เรียนในสภาพที่ใกล้เคียงชีวิตจริงที่สุดกล่าวในเชิงทฤษฎีได้ว่า การเรียนรู้ขึ้นอยู่กับบริบทหรือสภาพแวดล้อมในขณะเรียนรู้ ห้องเรียนไม่ใช่บริบทที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกเพราะห้องเรียนไม่เหมือนสภาพในชีวิตจริง การสมมติโจทย์ที่คล้ายจะเกิดในชีวิตจริงก็ได้ความสมจริงเพียงบางส่วนแต่หากไปเรียนในสภาพจริงก็จะได้การเรียนรู้ในมิติที่ลึกและกว้างขวางกว่าสภาพสมมติการออกแบบการเรียนรู้ให้ศิษย์เกิด “การเรียนรู้ที่แท้” (authentic learning) เป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ ในสภาพที่มีข้อจำกัดด้านเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือ การอบรมบ่มนิสัยหรือการปลูกฝังความเชื่อหรือค่านิยมในถ้อยคำเดิมของเรา

  1. Mental model building

ความหมายข้อนี้เป็นการเรียนรู้วิธีการนำเอาประสบการณ์มาสั่งสมจนเกิดเป็นกระบวนทัศน์             (หรือความเชื่อ ค่านิยม) และที่สำคัญกว่านั้นคือ สั่งสมประสบการณ์ใหม่ เอามาโต้แย้งความเชื่อหรือ            ค่านิยมเดิม ทำให้ละจากความเชื่อเดิมหันมายึดถือความเชื่อหรือกระบวนทัศน์ใหม่ นั่นคือเป็นการเรียนรู้   (how to learn, how to unlearn/ De learn, how to relearn) ไปพร้อม ๆ กัน ทำให้เป็นคนที่มีความคิดเชิงกระบวนทัศน์ ชัดเจน และเกิดการเรียนรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้ แต่การจะมีทักษะหรือความสามารถขนาดนี้ จำต้องมีความสามารถรับรู้ข้อมูลหลักฐานใหม่ ๆ และนำมาสังเคราะห์เป็นความรู้เชิงกระบวนทัศน์ใหม่ได้

  1. Internal motivation

การเรียนรู้ที่แท้จริงขับดันด้วยฉันทะ ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ภายในตัวคนไม่ใช่ขับดันด้วยอำนาจของครูหรือ พ่อ-แม่ เด็กที่เรียนเพราะไม่อยากขัดใจครูหรือพ่อแม่จะเรียนได้ไม่ดีเท่าเด็กที่เรียนเพราะอยากเรียนเมื่อเด็กมีฉันทะและได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครู วิริยะ จิตตะและวิมังสา (อิทธิบาทสี่) ก็จะตามมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ในมิติที่ลึกซึ้งและเชื่อมโยง

  1. Multiple intelligence

เวลานี้เป็นที่เชื่อกันทั่วไปแล้วว่า มนุษย์เรามีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และเด็กแต่ละคนมีความถนัดหรือปัญญาที่ติดตัวมาแต่กำเนิดต่างกัน รวมทั้งสไตล์การเรียนรู้ก็ต่างกัน ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายต่อครูเพื่อศิษย์ในการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความแตกต่างของเด็กแต่ละคนและจัดให้การเรียนรู้ส่วนหนึ่งเป็นการเรียนรู้เฉพาะตัว (personalized learning) เรื่องนี้มีการวิจัยและการออกแบบการเรียนรู้ได้มากมาย ดังตัวอย่าง Universal Design for Learning ซึ่งก็คือ เครื่องมือสร้างความยืดหยุ่นหลากหลายในการออกแบบการเรียนรู้นั่นเอง

  1. Social learning

การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคม หากยึดหลักการนี้ครูเพื่อศิษย์ก็จะสามารถออกแบบกระบวนการทางสังคมเพื่อให้ศิษย์เรียนสนุก และเกิดนิสัยรักการเรียน เพราะการเรียนจะไม่ใช่กิจกรรมส่วนบุคคลที่          หงอยเหงา น่าเบื่อ ซึ่งเราสามารถนำทฤษฎีของต่างชาติมาใช้ได้แต่ไม่ควรเชื่อตามหนังสือมากเกินไปจนไม่กล้าทดลองวิธีคิดใหม่ ๆ ที่อาจจะเหมาะสมต่อศิษย์ของเรามากกว่าแนวคิดแบบต่างชาติ เราอาจคิดหลักการเรียนรู้ตามแบบของเราที่เหมาะสมต่อบริบทสังคมไทยขึ้นมาใช้เองก็ได้

ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนและการฝึกซ้อมก่อนการแข่งขันของสาขาวิชาการท่องเที่ยวที่ใช้แนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ครูผู้สอนจึงไม่เน้นการเป็นผู้สอน แต่เน้นการได้เรียนรู้ของผู้เรียนจากการลงมือ         ทำจริงเพื่อให้เกิดทักษะ เนื่องจากทักษะเกิดขึ้นได้จากการฝึกฝน ลงมือปฏิบัติจริงยังสถานการณ์จริงการเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) โดยที่ครูจะทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบและอำนวยความสะดวก มากกว่าเป็นผู้สอน เพราะการเป็นผู้สอนในอดีตจะเป็นลักษณะของการสื่อสารทางเดียว แต่เมื่อผู้เรียนได้ลงมือทำจะเกิดการเรียนรู้และจดจำได้ดีกว่าการบังคับให้ท่องจำแบบในอดีต และเมื่อผู้เรียนถูกกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกสนุกและท้าทายการเรียนและกิจกรรมต่าง ๆ จะเป็นเรื่องไม่น่าเบื่ออีกต่อไป และด้วยนักศึกษากลุ่มดังกล่าวได้เคยมีประสบการณ์ในการทำกิจกรรมและการแข่งขันมาแล้วภายในมหาวิทยาลัยคือโครงการประกวดสุนทรพจน์เฉลิมพระเกียรติฯ (รอบคัดเลือกภายใน) จัดโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้รับรางวัลชมเชย เงินรางวัล พร้อมเกียรติบัตรในการเข้าร่วมประกวด ทำให้นักศึกษามีความกล้าที่จะแสดงออกในทางที่ดี และได้ทำในสิ่งที่ตนเองรัก ซึ่งทุกครั้งเมื่อมีการมอบหมายงาน หรือโครงการให้ จะให้นักศึกษาเป็นผู้ออกแบบกิจกรรมด้วยตนเองโดยมีครูทำหน้าที่โค้ช ควบคุม ดูแล คอยสนับสนุน อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และทุกครั้งที่จบงานหรือจบโครงการครูและนักศึกษาจะร่วมทำการทบทวน ไตร่ตรอง (Reflection) ว่าเราได้รับอะไรจากการทำโครงการดังกล่าว ครูตั้งคำถามที่ให้เด็กคิดหาคำตอบที่มีได้หลายคำตอบ จะทำให้นักศึกษาเกิดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มพูนขึ้นเรื่อย ๆ

จากกิจกรรมการแข่งขันดังกล่าว ถือว่าเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศ ความภาคภูมิใจที่คณาจารย์ในสาขาวิชาการท่องเที่ยว ได้พร่ำสอน ทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์ โดยเฉพาะเน้นการฝึกปฏิบัติ จนนิสิตสามารถบูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษาภายในมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประกวดการแข่งระดับประเทศจนได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ซึ่งผลของความสำเร็จ และชัยชนะในครั้งนี้ สามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย ต้องขอชื่นชมไว้ ณ โอกาสนี้ นอกจากนั้น นิสิตยังสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันไปประยุกต์ ต่อยอดเพื่อการประกอบอาชีพในสายของมัคคุเทศก์ต่อไป

 

 

 

อ้างอิง

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ตถาตา พับลิเคชั่น

จำกัด.

Bernie Trilling, Charles Fadel. (2009). 21st Century Skills: Learning for Life in Our Times.                   San Francisco: Jossey-Bass.

  

 

ภาพกิจกรรมการแข่งขันพากย์ทัวร์ลีลา

 

 

 

 

 

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน 

ชื่อผลงานทางวิชาการ  : การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน 

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์  : ฉบับปรับปรุง 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม :  _

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์ 

อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์ อาจารย์โสภณ  สระทองมา

สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   

 

บทนำเข้าสู่ความสนใจ

ตำรา  เรื่อง    “การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน” เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์  อาจารย์รัชนก ปัญญาสุพัฒน์ อาจารย์โสภณ สระทองมา สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาการจัดการ   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนและผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการพัฒนาตนนำไปสู่การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน    และเพื่อพัฒนาให้ทุกคนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (ม.6) ยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคน/ผู้เกี่ยวข้องมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ (ม.22) เน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม และกระบวนการเรียนรู้ ให้มีความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและดำรงตนอย่างมีความสุข (ม.23) จัดเนื้อหาและกิจกรรมโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะและประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดการเรียนการสอนผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ม.24) มีการประเมินผู้เรียน โดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอน (ม.25) โดยมีเนื้อหาทั้งที่เป็นวิชาการและวิชาชีพ ที่มุ่งพัฒนาคนให้มีความสมดุลทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงามและความรับผิดชอบต่อสังคม (ม.28) จึงได้มีการให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาไปพร้อมกับฝึกปฏิบัติเพื่อความเข้าใจได้รวดเร็ว โดยในปี 2557 ได้มีการปรับปรุง เพิ่มเติมเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิตของผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน ทำให้ตำราเล่มนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

สรุปสาระของตำรา เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน

การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน เป็นทางแห่งความเจริญก้าวหน้า คนต้องพัฒนาตนจึงอยู่รอด แล้วเจริญก้าวหน้า คนต้องพัฒนาเท่าการเปลี่ยนแปลงของสังคมจึงเข้ากับคนในสังคมนั้นได้ มิฉะนั้นจะเป็นคนที่ถูกเรียกว่าตกรุ่น ในฐานะคนทำงานก็ต้องพัฒนาหรือปรับปรุงตนเองอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยี วิธีการทำงานเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การปฏิบัติงานในองค์การต้องตอบรับวัตถุประสงค์เป้าหมายขององค์การ ของหน่วยธุรกิจที่ตนรับใช้อยู่ การจะตอบสนองเป้าหมายขององค์การได้ต้องอาศัยสมรรถนะของตนเอง อันได้แก่ความรู้ ทักษะ เจตคติ ที่ต้องแสวงหา ฝึกฝน ฝึกตนให้มีขีดความสามารถตรงกับที่องค์การหรือหน่วยงานต้องการ รากฐานของการพัฒนาตนเริ่มที่การรู้จักตนเอง รู้ว่าตนมีจุดแข็งจุดอ่อนอะไรบ้าง โดยต้องมีเจตคติด้านบวก มีการตั้งเป้าหมาย และตนเตือนตน ยึดหลักการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เนื้อหาเริ่มจากการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในการพัฒนาตนเอง ปรับแต่งบุคลิกภาพ เข้าใจความต้องการของมนุษย์ ค่านิยม การสำรวจและแลกเปลี่ยนค่านิยม วัฒนธรรมในการทำงาน การตั้งเป้าหมายในชีวิตและการทำงาน การสำรวจความรู้สึก ปัญหาอุปสรรคและวิธีการพิชิตอุปสรรคในการทำงาน สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง พัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ซึ่งตำราเล่มนี้ ประกอบด้วย 12 บท แต่ละบทจะประกอบด้วย เนื้อหาที่สำคัญ  บทสรุป กิจกรรมท้ายบท คำถามทบทวน และเอกสารอ้างอิง  ดังนี้

บทที่ 1  ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง         ประกอบด้วย ความหมายของการพัฒนาตน การรู้จักตนเอง          แนวคิดและหลักการพัฒนาตน ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง       ขอบเขตของเอกสารประกอบการสอน          ทดสอบก่อนเรียน คุณค่าแห่งฉัน   รู้จักกันมากขึ้น

สัญญาการเรียนรู้

บทที่ 2  ผลิตภาพ        ประกอบด้วย     ความหมายของคำว่า ผลิตภาพ     การวัดผลิตภาพ  การใช้ผลิตภาพวิเคราะห์บริษัท   กระบวนการของผลิตภาพ องค์ประกอบและการแบ่งสรรของผลิตภาพ  ผลิตภาพในฐานะกุญแจสู่มาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น

บทที่ 3 คุณภาพ ประกอบด้วย    ความหมายของคุณภาพ   ความเป็นมาของ “คุณภาพ”สายโซ่คุณภาพ การปฏิบัติงานเป็นกระบวนการ คุณภาพของสินค้าและคุณภาพการบริการ วงล้อคุณภาพ      แนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพ

บทที่ 4 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ประกอบด้วย   ความหมายของความมีประสิทธิผลและความมีประสิทธิภาพ       ทำไมคุณภาพจึงสำคัญ   4 C  ของคุณภาพ เป้าหมายขององค์การ   มาตรฐานการปฏิบัติงาน  การสร้างประสิทธิภาพในการทำงาน

บทที่ 5  การตั้งเป้าหมายของชีวิตและการทำงาน  ประกอบด้วย ความหมายของเป้าหมาย   ความสำคัญของเป้าหมาย    อุปสรรคขวางกั้นการบรรลุเป้าหมาย     หลักการบรรลุเป้าหมาย  ลักษณะของเป้าหมายที่ดี  หลักการกำหนดเป้าหมายการทำงาน    ทวีตัวขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ

บทที่ 6 เจตคติ ประกอบด้วย     ความหมายของคำว่า เจตคติ องค์ประกอบ ที่มา หน้าที่ ประโยชน์และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเจตคติ การปรับเจตคติ การพูดกับตนเองด้านบวก การมองภาพ

บทที่ 7  ค่านิยม ประกอบด้วย  ความหมายของค่านิยม องค์ประกอบของค่านิยม ประเภทของค่านิยม  กระบวนการเกิดและพัฒนาการของค่านิยม  ค่านิยมองค์การและค่านิยมส่วนตัว ค่านิยมร่วม ค่านิยมกับการทำงาน

บทที่ 8 วัฒนธรรมในองค์การ    ประกอบด้วย     ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ แนวคิดของวัฒนธรรมองค์การ          การบ่งชี้วัฒนธรรม         องค์ประกอบของวัฒนธรรมองค์การวัฒนธรรมองค์การของดีลและเคเนดี้  การเข้าใจและบริหารวัฒนธรรมbรูปแบบการแสดงออกของวัฒนธรรมองค์การ  วัฒนธรรมองค์การมีผลต่อผู้บริหาร

บทที่ 9   บุคลิกภาพ      ประกอบด้วย  ความหมายของบุคลิกภาพ  ความสำคัญของบุคลิกภาพการจำแนกบุคลิกภาพ          องค์ประกอบของบุคลิกภาพ  สภาพการควบคุมบุคลิกภาพการปรับปรุงบุคลิกภาพ ลักษณะของคนที่มีบุคลิกภาพที่ดี

บทที่ 10  การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ประกอบด้วย    ความหมายของการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง          แนวคิดของความเชื่อมั่นในตนเอง   หลักการในการพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  การ

เผชิญหน้าความจริงกับความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง วิธีการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง วิธีเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเอง

บทที่ 11 ความต้องการของมนุษย์   ประกอบด้วย  ความหมายของการจูงใจ ทฤษฎีคืออะไร ทำไมจึงเป็นทฤษฎี  ทฤษฎีจูงใจแบบความจำเป็น       ลักษณะความจำเป็น  ทฤษฎีอนามัย-แรงงจูงใจของเฮอร์สเบอร์  ทฤษฎีจูงใจแบบพฤติกรรมและความรู้  การปรับขยายพฤติกรรม

บทที่ 12 การพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ประกอบด้วย  ความหมายของปัญหา  ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับปัญหา  กระบวนการในการแก้ปัญหา ความแตกต่างระหว่างการแก้ปัญหากับการตัดสินใจ         หลักการในการแก้ปัญหา วงจร PDCA เพื่อการบรรลุผล ปรับปรุง แก้ไข

 

 จุดเด่น/การนำไปใช้ประโยชน์   

ตำรา เรื่อง การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานนี้ สิ่งที่จำเป็นและสำคัญลำดับแรกของการพัฒนา คือ ปรัชญาและอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเอง เป็นความมุ่งมั่นไขว่คว้าเพื่อเพิ่มสมรรถนะ ขีดความสามารถของตนอันก่อเกิดประโยชน์แก่ตนเองและองค์การที่ทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางเศรษฐกิจของประเทศ ดังนี้

 

จุดเด่นที่ 1 การพัฒนาตน

การพัฒนาตน (Personal Development) เป็นการเพิ่มขีดความสามารถ ขยายความเฉลียวฉลาด สติปัญญาเพื่อให้มีความก้าวหน้าในชีวิตส่วนตัวและการงาน ให้ชีวิตมีความหมายและความพึงพอใจ อาจพัฒนาโดยตนเองนำตนเอง หรือมีคนอื่นมานำให้พัฒนาด้วยการให้การกระตุ้นจูงใจ ให้การสนับสนุน แต่ในท้ายที่สุดก็คือเพิ่มความสามารถให้แก่ตน

จุดเด่นที่ 2 การรู้จักตนเอง

ผู้มีการพัฒนาตนต้องรู้จักตน วิเคราะห์ตนเองให้เห็นชัดว่าตนเป็นใคร มาจากไหน ทำอะไร มีอะไรเป็นเป้าหมายของชีวิต โสกราติส นักปราชญ์ชาวกรีกกล่าวว่า “ชีวิตที่ไม่ได้ตรวจสอบ เป็นชีวิตที่ไร้ค่า” คนที่หวังความก้าวหน้า ควรกำหนดจุดหมายปลายทางชีวิตของตน พิจารณาว่าจะนำตนไปสู่จุดหมายของชีวิตได้อย่างไร ต้องทำตนอย่างไรจึงเผชิญสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม การรู้จักตนเองจึงเป็นรากฐานแห่งการนำชีวิตไปสู่จุดหมายได้อย่างราบเรียบ

 จุดเด่นที่ 3 ความสมดุลระหว่างชีวิต การงานและสังคม

เพื่อเป็นคนที่มีพัฒนาการสมดุลทั้งชีวิตส่วนตัวและการงาน วงล้อแห่งชีวิตมีความจำเป็นและสำคัญสำหรับการจะเป็นคนสมบูรณ์  คนต้องพัฒนาชีวิตทั้งหกด้านควบคู่กันไปให้ได้ดุลกัน คือ

  1. สุขภาพและร่างกาย มีร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี จึงดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ คนตายไม่อาจทำงานได้ คนป่วยก็ไม่อาจทำงานได้เต็มที่
  2. สติปัญญาและการศึกษา การเรียนรู้และพัฒนาตนตลอด ทำให้เติบโตทั้งความคิดและจิตใจ พร้อมเผชิญหน้าสิ่งท้าทายในงานอาชีพ ทำให้มีทักษะฝ่าฟันสร้างสรรค์
  3. การเงินและอาชีพ การเงินดี ทำให้มีเจตคติบวกและสภาพคล่องในการดำรงชีวิต เป็นส่วนสำคัญในการจัดการงานอาชีพ การมีอาชีพเหมาะกับทักษะก็ทำให้ทำงานอย่างมีความสนุก มีรายได้
  4. ครอบครัวและบ้านเรือน ครอบครัวที่อยู่ครบพร้อมหน้าใกล้ชิด บ้านเรือนที่น่าอยู่ สร้างสัมพันธ์ภาพของคนให้แน่นเหนียว มีจิตใจมั่นคง เป็นแรงใจแก่กัน
  5. จริยธรรมและจิตวิญญาณ ปรัชญาความเชื่อ ศีลธรรม จรรยามารยาท ความเชื่อที่อยู่นอกเหนือสภาพทางวัตถุ เป็นแหล่งแห่งพลังและการสร้างสรรค์ในการเพิ่มการเกื้อหนุนให้แก่คนอื่น
  6. สังคมและวัฒนธรรม ความสามารถในการเข้ากันได้กับผู้อื่น อยู่ร่วมกับคนอื่นในชุมชน ในสังคมโลกได้อย่างกลมเกลียว ทักษะความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมจำเป็นในการสร้างความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น

จุดเด่นที่ 4 เส้นทางอาชีพ

การรู้เส้นทาง ช่วยให้เดินทางรวดเร็ว ถูกต้อง เส้นทางอาชีพก็ช่วยให้ผู้ประกอบอาชีพมีความเจริญก้าวหน้า เส้นทางอาชีพ คือ โอกาสในการเจริญเติบโตในงานอาชีพ นักขายอาจเริ่มจากการเป็นนักขายฝึกหัด นักขายผู้น้อย นักขายอาวุโส ผู้จัดการฝ่ายขาย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด ผู้จัดการฝ่ายการตลาด รองประธานบริษัทฝ่ายการตลาด และเป็นประธานบริษัท หรืออาจจากการเป็นผู้จัดการฝ่ายขายไปรับผิดชอบงานด้านค้าปลีก หรือ งานโฆษณาก็ได้

การรู้เส้นทางอาชีพว่าจะเจริญเติบโตไปได้ในทางใด ทำให้มีการวางแผนชีวิตของตนเองได้ ทำให้มีการตั้งเป้าหมายให้ไปสู่จุดหมายสูงสุดที่ตนต้องการเป็น การรู้เส้นทางอาชีพจึงเป็นทางพัฒนาตนเองอีกทางหนึ่งเปรียบเสมือนรู้จักแผนที่เพื่อเดินทางไปถึงจุดหมายปลายทาง

ดังนั้น ทุกคนต้องมีอุดมการณ์ในการพัฒนาตนเองก่อนเป็นลำดับแรก

จุดเด่นที่ 5 เป้าหมายในการพัฒนาตนเอง เป็นการปรับปรุงผลิตภาพส่วนตัว คือทำงานได้ผลผลิตมากกว่าปัจจัยนำเข้า เนื่องจากผลิตภาพส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานมีผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ผลิตภาพเกิดจากความมีประสิทธิผล ความมีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำงานได้ตามเป้าหมาย รู้จักใช้นวัตกรรม เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีสมรรถนะ คือ ความรู้ ทักษะและเจตคติ กับทั้งทำงานมีประสิทธิภาพ คือ ทำงานได้งานตามปริมาณ ตรงคุณภาพ   โดยใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด ประกอบด้วยเจตคติและการตั้งเป้าหมาย เจตคติเป็นความคิดจิตใจ เป็นฝ่ายนำของการปฏิบัติ มีเจตคติเช่นใดก็จะแสดงท่าทีและพฤติกรรมออกมาเช่นนั้น เจตคติที่ควรมีคือเจตคติด้านบวก  ส่วนการตั้งเป้าหมาย เป็นการกำหนดทิศทางที่ต้องการไปให้ถึง เป็นป้ายบอกทางให้การดำเนินงาน ดำเนินชีวิตได้ตรงความตั้งใจ คาดหวัง หรือมุ่งมาดปรารถนา

จุดเด่นที่ 6 ความเจริญก้าวหน้าของประเทศ อยู่ที่ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้เกิดมาตรฐานการครองชีพสูง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น เนื่องจากได้รับเงินค่าจ้างสูงขึ้น มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น คุณภาพชีวิตดีขึ้น ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดจากการผลิตที่ได้ผลผลิตต่อหน่วยมากกว่าทรัพยากรที่เป็นปัจจัยนำเข้า มีความแกร่งทางการแข่งขันสูงขึ้น ผลิตภาพของประเทศเป็นตัวชี้วัดอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ ในตำราเล่มนี้เริ่มด้วยผลิตภาพ เพื่อให้ทราบแนวคิดว่าการพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานล้วนเสริมผลิตภาพของประเทศเกิดจากผลรวมของผลิตภาพระดับอุตสาหกรรมหรือบริษัท ซึ่งเป็นผลรวมมาจากผลิตภาพของผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมหรือบริษัท ดังนั้นการเพิ่มผลิตภาพของประเทศจึงอยู่ที่การเพิ่มผลิตของคนทำงานแต่ละคน  มีส่วนโดยตรงต่อการเพิ่มผลิตภาพของประเทศ การทำงานอย่างมีประสิทธิผลคือทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย ได้ผลลัพธ์ดังที่กำหนดไว้ ส่วนการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเป็นการทำงานที่ใช้ปัจจัยผลิต คือ แรงงาน วัสดุ เครื่องจักร ได้อย่างประหยัด ในอีกด้านหนึ่ง เชื่อว่า เจตคติ เป็นส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดการทำงานเพิ่มผลิตภาพ การมีเจตคติด้านบวก การตั้งเป้าหมายจึงมีผลต่อการทำงานที่มีประสิทธิผลและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ โดยที่การทำงานให้ได้ผลตรงตามความต้องการของลูกค้าเป็นการทำงานมีคุณภาพ ดังนั้นคุณภาพของงานหรือผลผลิตทำให้ลูกค้าพึงพอใจ

ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ปฏิบัติงานที่จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากมีเจตคติด้านบวกแล้ว ยังมีค่านิยม ที่ส่งเสริมการทำงานอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานในองค์การต้องมีกาวผนึกความเป็นปึกแผ่นของคนทำงานเข้าด้วยกัน วัฒนธรรมองค์การ เป็นตัวเชื่อมประสานจิตใจของผู้คนให้เป็นอันหนึ่งน้ำใจเดียวกัน

ผู้ปฏิบัติงานคนใด หากขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จะทำงานไม่ค่อยได้ผลมากนัก การสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตนเองจึงมีความสำคัญ  แต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน การรู้ความต้องการของมนุษย์ จะช่วยในการจูงใจให้คนทำงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ส่วนบุคลิกภาพ เป็นส่วนทำให้เข้ากับคนอื่นได้ การทำความเข้าใจต่อกันและกันอาศัยการสื่อสาร  หากไม่เข้าใจหรือมีข้อขัดแย้งก็ต้องอาศัยเรื่องการพิชิตปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน

จะเห็นได้ว่า ตำราเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานนี้ ผู้ที่สนใจทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพทุกศาสตร์ ทุกองค์กรของภาครัฐและภาคเอกชน เช่น การบริหารงานบุคคล การตลาด การบัญชี การท่องเที่ยว และธุรกิจบันเทิง   เป็นต้น

บรรณานุกรม

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 8, ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

พุทธทาส อินทปัญญา (2540). ข้อหัวธรรมในคำกลอน. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

ระเด่น   ทักษณา. (2542).  มาดต้องตา วาจาต้องใจ ภายในต้องเยี่ยม. กรุงเทพฯ : แว่นแก้ว.

วารินทร์  สินสูงสุด และวันทิพย์ สินสูงสุด. (2544). กิจกรรม 5 ส. สร้างสรรค์มาตรฐานงาน. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตบัณฑิตธรรม.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: พิมพ์ครั้งที่ 4, ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.

สมชาติ กิจยรรยง. (2539).  เกมและกิจกรรมเพื่อพัฒนาบุคลากร.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุพจน์  รัตนาพันธุ์. (2552). พฤติกรรมองค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท็อป จำกัด.

Aldag, R. J., & Kuzahara, L. W. (2001). Organizational behavior and management        : An integrated skills approach. OH: South-Western.

Brinkerhoff, R. O., & Dressler, D.E. (1990). Productivity measurement : A guide for       managers and evaluators. New Burly Park: Sage.

Capon, C. (2000).  Understand organizational context. Harlow: Prentice Hall.

Champous, J. E. (2000). Organizational behavior: essential tenets for a new    millennium. Cincinnati: South-Western College.

Crosby, P. B. (1986).  Quality is free. Boston: McGraw-Hill.

Drennan, D. (1999). 12 Ladders to world class performance. London: Kogan Page.

Dubrin, A.J. (2002). Fundamentals of organizational behavior. OH:

South- Western.

Ducker, P. (1997). Productivity concepts and their applications. Singapore:

Prentice Hall.

Griffin, M. (2001). Organizational behavior. New York: Houghton Mifflin.

Guideline on concept and use of the process approach for management system

(2005). ISO 9000:2000. (Online). Available:

http://www.ISO.ch/  (2005, Septembers 8).

Han K. H. (1990). Productivity in transition. Singapore:  McGraw-Hill.

Hodgetts, R. M.(1966). Modern human relations at work. (4th ed.).: Dryden.

Juran, J. M. (1999). Quality control handbook. New York: McGraw-Hill.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The strategy-focused organization. Massachusetts:            Harvard Business School.

Kotter, J. P. (2003). Leading change. Boston: Harvard Business School.

Leman, C. M., & Dufrene, D.D. (2002). Business communication. (13th ed.).OH:

South – Western.

Maslow, A. (1970). Motivation and personality. New York: Harbera Row.

National Productivity and Standard Board (1999). Productivity measurement.

Singapore: Author.

Oakland, J. (2000). Total Quality Management. (2nd ed.). Oxford:

Butterworth Heinemann.

Robbins,S. P. (2001). Organizational behavior, (9th ed.). NJ: Prentice Hall.

Robbins S. P., & Mary C. (2003). Management. (7th ed.) Pearson Education.

Rouillard, L. A. (1993). Goals and goal setting. London: Kogan Page.

Saiyadain, M. S. (2003). Organizational behavior. New Delhi: Tata. McGraw-Hill.

Smith, P. R. (2005). Practice management digest. New York: AIA.

Waters, M. (1996). Dictionary of personal development. Shaftsbury Dorset: Element Books.

etc.

 

สำนักพิมพ์วันทิพย์ พิมพ์ที่สยามมิตรการพิมพ์ กทม.

ผศ.ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์  โทร. 089-7468850

จำนวน   ๓๙๖   หน้า

 

เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อผลงานทางวิชาการเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี

ประเภทผลงานทางวิชาการ หนังสือคู่มือการท่องเที่ยว

ปีที่พิมพ์ :  ม.ป.ป.

ข้อมูลเพิ่มเติม คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวนี้ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ปี 2560, 196 หน้า

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ ผศ.ดร.วิทยา วิสูตรเรืองเดช  ดร.เพียรพิทย์ โรจนปุณยา อ.นราธร สายเส็ง อ.อาทิตย์ อินธาระ และ อ.ตุลย์ จิรโชคโสภณ , สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือคู่มือเส้นทางท่องเที่ยว

คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีเล่มนี้ สำเร็จขึ้นด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจของ ผศ.ดร.วิทยา วิสูตรเรืองเดชและคณะ ที่ได้ร่วมมือสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าให้ท้องถิ่นและสังคม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานตามพระบรมราโชบายของสมเด็จเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์ บดินทร เทพยวรางกูร ที่พระราชทานไว้ ดังใจความตอนหนี่งว่า “…..ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ ให้ทำงานให้เข้าเป้าในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องถิ่น….” กอปรมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้มีศูนย์การศึกษาอู่ทองทวารดีที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จึงนับได้ว่างานชิ้นนี้ ได้สนองพระบรมราโชบายของพระองค์อย่างแท้จริง  ซึ่งคู่มือเส้นทางนี้ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไปของจังหวัดสุพรรณบุรี  อำเภออู่ทอง การสังเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละตำบล ตามประเภทการท่องเที่ยว (ตำบลบ้านโข้ง ตำบลพลับพลาไชย ตำบลดอนคา ตำบลหนองโอ่ง ตำบลอู่ทอง ตำบลจระเข้สามพัน  ตำบลสระยายโสม ตำบลยุ้งทะลาย ตำบลกระจัน  ตำบลเจดีย์ ตำบลบ้านดอน ตำบลสระพังลาน ตำบลดอนมะเกลือ  เจดีย์โบราณเมืองอู่ทอง การท่องเที่ยวอู่ทอง และแผนที่เส้นทางปั่นจักรยานเมืองอู่ทอง

 

สรุปสาระสำคัญของคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี :

          จังหวัดสุพรรณบุรี มีคำขวัญประจำจังหวัดคือ “ เมืองยุทธหัตถี วรรณคดีขึ้นชื่อ เลืองลือพระเครื่อง  รุ่งเรืองเกษตรกรรม สูงล้ำประวัติศาสตร์ แหล่งปราชญ์ศิลปิน ภาษาถิ่นชวนฟัง” เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ภาคกลาง มีพื้นที่ 5,358,.01 9 ตารางกิโลเมตร อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล ปานกลาง3-10 เมตร มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แบ่งเขตการปกครองเป็น 10 อำเภอ คือ เมืองสุพรรณบุรี ดอนเจดีย์ ด่านช้าง เติมบางนางบวช บางปลาม้า ศรีประจันต์ สองพี่น้อง สามชุก หนองหญ้าไซ และอู่ทอง

อำเภออู่ทอง  มีคำขวัญคือ “แหล่งรอยพระพุทธบาท เกียรติประกาศเรื่องทอผ้า เจ้าพ่อพระยาจักร ถิ่นรักไทยทรงดำ ถ้ำเสือพระดี มีคอกช้างดิน ถิ่นเก่าน้ำตก” อำเภอนี้ เป็นอำเภอที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นแหล่งศูนย์รวมของประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ประมาณ  641 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 13 ตำบล  155 หมู่บ้าน ภูมิประเทศแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ แบบภูเขาและที่สูง แบบลูกเคลื่อนลอนลาด แบบที่ราบลุ่มแม่น้ำจรเข้สามพัน

ในการสังเคราะห์แหล่งท่องเที่ยวในแต่ละตำบลตามประเภทของการท่องเที่ยว มีสถานที่น่าใจทั้งด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และอื่น ๆ ดังนี้

  1. ตำบลบ้านโข่ง          — วัดบ้านดงน้อย
  2. ตำบลพลับพลาไชย — ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร  กลุ่มทอผ้าบ้านขามผ้าไทย
  3. ตำบลดอนคา               — วัดเขาดีสลัก วัดเขากำแพง วัดโพคาราม กลุ่มทอผ้าบ้านหนองดอนคา
  4. ตำบลหนองโอ่ง  – อุทยานพระฤาษีนารอด  NPJ Fantasy วัดเขาถ้ำโกปิดทอง
  5. ตำบาลอู่ทอง – สวนหินธรรมชาติพุหางนาค โรงหล่อวิเชียร ชุมชนบ้านดงเย็น พิพิธภัณฑ์

สถานแห่งชาติอู่ทอง  วิถีชีวิตชาวบ้านโคก วัดเขาทำเทียม

พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร

วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม

  1. ตำบลจรเข้สามพัน  – วนอุทยานพุม่วง วัดถ้ำเขาเสือ วัดโพธาราม กลุ่มทอผ้าวังทอง
  2. ตำบลสระยายโสม – วัดสระยายโสม ศาลยายโสม ศาลเจ้าพ่อสระยายโสม
  3. ตำบลยุ้งลาย – วัดใหม่สิทธาวาส
  4. ตำบลกระจัน – วัดจันทราวาส
  5. ตำบลเจดีย์  – สวนน้ำ C&Y Water Park
  6. ตำบลบ้านดอน  – วัดยางไทยเจริญผล ศูนย์ฟื้นฟูวัฒนธรรมไตดำโบราณ

กลุ่มทอผ้ากี่กระตุกบ้านยางลาว

  1. ตำบลสระพังลาน  – วัดสระพังลาน ศาลปู่สิงหา
  2. ตำบลดอนมะเกลือ  – วัดดอนมะเกลือ ศูนย์วัฒนธรรมชาวไทยทรงดำ

กลุ่มทอผ้าบ้านดอนมะเกลือ

วัดเขาดีสลัก

พระพุทธปุษยคิรีศรีสุวรรณภูมิ     

 

อุทยานพระฤาษีนารอด


 

จุดเด่น/ความน่าสนใจของเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี : มีหลายจุดเด่น เช่น

จุดเด่นที่ 1 คู่มือเส้นทางท่องเที่ยวเล่มนี้ ได้รวบรวมสถานที่ เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ ของอำเภออู่ทอง รวมทั้งสิ้น 13 ตำบล ประกอบด้วยสถานที่เชิงประวัติศาสตร์  16 แห่ง วัฒนธรรมและประเพณี 15 รายการ ทรัพยาการธรรมชาติ  3 แห่ง และอื่น ๆ 3 แห่ง ด้วยภาพสี สวยสด งดงาม ทั้งเล่ม พร้อมคำอธิบายย่อๆ เพื่อผู้ที่ต้องการศึกษาได้มีความรู้

จุดเด่นที่ 2 เส้นทางการท่องเที่ยวอู่ทอง โดยจักรยาน 2 วัน

วันแรก

9.00 -12.00 น. ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร  พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอู่ทอง

12.00 น. พักรับประทานอาหาร

13.30-17.00 น. วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ วัดเขาทำเทียม

 

วันที่สอง

9.00-12..00 น. – วัดเขาดีสลัก

12.00  น. – รับประทานอาหาร

13.30-16.00 น  – วัดเขากำแพง วัดเขาถ้ำเสือ สวนหินธรรมชาติพุหางนาค

 

เส้นทางการท่องเที่ยวอู่ทอง โดยจักรยาน 3 วัน

วันแรก

9.00-12.00 น. – ศาลเจ้าพ่อพระยาจักร พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอู่ทอง

12.00 น. – รับประทานอาหาร ร้านครัวผู้ใหญ่เงาะ

13.30-17.30 น. – วิถีชีวิตบ้านโคก วิถีชีวิตบ้านดงเย็น พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ

วัดเขาทำเทียม

วันที่สอง

9.00 -12.00 น  – ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร (พันธุ์พืชเพาะเลี้ยง) วัดเขาตีสลัก

12.00 น. –รับประทานอาหาร

13.00–16.00 น.– วัดเขากำแพง สวนหินธรรมชาติพุหางนาค

วันที่สาม

9.00 -12.00 น.- วัดเขาถ้ำเสือ อุทยานพระฤาษีนารอด

12.00 น.–รับประทานอาหาร

13.00-15.00 น.–วัดเขาถ้ำโกปิดทอง  วัดเขาพระศรีสรรเพชญาราม

 

จุดเด่นที่ 3 : แผนที่แสดงเส้นทางการท่องเที่ยวโดยจักรยาน ระยะทาง 13 กิโลเมตร

และ 41 กิโลเมตร

จุดเด่นที่ 4 : หนังสือคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ฯ  จะมีบาร์โค๊ตเพื่อให้ผู้สนใจสามารถใช้โทรศัพท์มือถือโหลดรายละเอียดของสถานที่ทุกแห่งที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้

 

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม :

คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี นอกจากจะเป็นคู่มือเส้นทางการท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวสามารถศึกษาประวัติและรายละเอียดพอสังเขป เกี่ยวกับสถานที่เชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังมีส่วนสำคัญยิ่งในการส่งเสริมการท่องเที่ยวและสามารถเพิ่มรายได้การท่องเที่ยวให้แก่ชุมชน นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ซึ่งภายในอำเภออู่ทองยังมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติที่น่าสนใจอยู่อีกมากมาย เนื่องจากเป็นพื้นที่เมืองโบราณและมีเรื่องราวในพื้นที่ที่ยาวนาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์     บรรณากร

คู่มือเส้นทางการท่องเที่ยวฯฉบับสมบูรณ์

เศรษฐศาสตร์มหภาค 1 (Macroeconomics 1)

ชื่อผลงานทางวิชาการเศรษฐศาสตร์มหภาค 1 (Macroeconomics 1)

ประเภทผลงานทางวิชาการ หนังสือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค 1

ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2560 (ฉบับปรับปรุงใหม่)

ข้อมูลเพิ่มเติม :  สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ ผศ.ดร..กัมพล เชื้อแถว , อาจารย์นเรศ นิภากรพันธ์ , อาจารย์ธีรวีร์

เอี่ยมสุวรรณ และอาจารย์อรรถวิทย์ เฉลียวเกรียงไกร สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : เนื้อหาสาระของหนังสือประกอบด้วย

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นทางเศรษฐศาสตร์ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ ระบบเศรษฐกิจ ข้อแตกต่างระหว่างวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์

บทที่ 2 รายได้ประชาชาติ ประเภทของรายได้ประชาชาติ วิธีการจัดทำบัญชีรายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติที่แท้จริงและเป็นตัวเงิน รายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัว ประโยชน์และข้อควรระวังหรือข้อบกพร่องของบัญชีรายได้ประชาติ

บทที่ 3 องค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ การลงทุน การใช้จ่ายของรัฐบาล การส่งออกสุทธิ

บทที่ 4 การกำหนดรายได้ประจำชาติดุลยภาพในระบบเศรษฐกิจ ความต้องการใช้จ่ายมวลรวม การกำหนดระดับรายได้ประชาชาติดุลยภาพ ทฤษฎีตัวทวี ทฤษฎีว่าด้วยตัวเร่งความขัดแย้งของการประหยัด ช่วงห่างการเฟ้อและช่วงห่างการฝืด

บทที่ 5 การเงินและนโยบายการเงิน ความเป็นมาและวิวัฒนาการของการเงิน หน้าที่ของเงิน คุณลักษณะของเงิน ค่าของเงิน อุปทานของเงิน การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงิน ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเงินกับราคาสินค้าและบริการ อุปสงค์ของเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ การเปลี่ยนแปลงระดับอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ

บทที่ 6 สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ การสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเฉพาะกิจ สถาบันการเงินประเภทอื่นๆ

บทที่ 7 การคลังของรัฐบาล งบประมาณแผ่นดิน รายรับของรัฐบาล รายจ่ายของรัฐบาล หน้าที่สาธารณะ นโยบายการคลัง การวิเคราะห์ผลการใช้นโยบายการคลังด้วยตัวทวี

บทที่ 8 การค้าระหว่างประเทศ สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ ดุลการค้า ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศ

บทที่ 9 วัฏจักรธุรกิจ เงินเฟ้อและการว่างงาน วิธีการสร้างเส้นวัฏจักรธุรกิจและการวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรธุรกิจ เงินเฟ้อ ประเภทของเงินเฟ้อ สาเหตุของการเกิดเงินเฟ้อ ผลของภาวะเงินเฟ้อ การแก้ปัญหาเงินเฟ้อ การว่างงาน ประเภทของการว่างงาน ผลกระทบของการว่างงานต่อระบบเศรษฐกิจ แนวทางการแก้ปัญหาการว่างงาน

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ :

วิชาเศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเลือกในการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด โดยตัดสินในว่าจะเลือกผลิตอะไร อย่างไร เพื่อใคร เพื่อสนองความต้องการของมนุษย์โดยไม่จำกัดเกิดประโยชน์สูงสุด แบ่งเป็น 2 แขนง คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาค โดยที่เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเศรษฐกิจหน่วยย่อย ส่วนเศรษฐศาสตร์มหภาค ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมเศรษฐกิจโดยรวม

รายได้ประชาชาติ หมายถึง มูลค่ารวมของสินค้าและการบริการที่ประชาชาติผลิตขึ้นได้ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยหักค่าใช้จ่ายที่เกินทุนและภาษีทางงอ้อมมีหลายประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น ผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้นและผลิตภัณฑ์ประชาชาติสุทธิ รายได้ประชาชาติ รายได้ส่วนบุคคลและรายได้ที่สามารถใช้จ่ายได้จริง

องค์ประกอบของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมในระบบเศรษฐกิจ มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของความต้องการใช้จ่ายมวลรวมที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย การเปลี่ยนแปลงการบริโภคและการออม เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการออม เช่น สินทรัพย์ของผู้บริโภค โดยกำหนดให้รายได้ที่จ่ายได้จริงคงที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงในลักษณะทำให้เส้นการบริโภคหรือการออมเคลื่อนย้ายไปจากเส้นเดิม การลงทุน หมายถึง การใช้จ่ายในการซื้อสินทรัพย์ต่างๆ เพื่อการผลิตสินค้าที่มิใช่ซื้อสินค้าเพื่อการบริโภค แต่เป็นการซื้อสินค้าประเภททุนที่ก่อให้เกิดการผลิตสินค้าและบริการในอนาคต

เงิน (Money) คือ สิ่งใดก็ได้ที่ทุกคนในสังคมยอมรับโดยทั่วไปในฐานะที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ โดยใช้ชำระสินค้าและบริการ การชำระหนี้ในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งยังเป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าสินค้าและบริการทั่วไปอีกด้วย วิวัฒนาการของเงินเริ่มจาก เงินในระยะแรกสังคมเริ่มมีการใช้วัตถุหรือสิ่งของบางชนิดเป็นเงิน เช่น หนังสัตว์ ยาสูบ วัว ควาย ฯลฯ เงินโลหะ เงินเหรียญ เงินกระดาษและระบบใช้เครดิต นโยบายการเงิน หมายถึง นโยบายของธนาคารกลางในการกำกับดูแลปริมาณเงิน และสินเชื่อโดยธนาคารกลางเพื่อบรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การรักษาเสถียรภาพของระดับราคาสินค้า การส่งเสริมให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น การรักษาองค์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การรักษาดุลยภาพของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม นโยบายการเงินที่สำคัญ มี 3 ประเภท ได้แก่

  1. การลดหรือการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ
  2. การปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย
  3. การปรับเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

บทบาทและหน้าที่ของสถาบันการเงินประเภทต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย อาทิเช่น

– ธนาคารแห่งประเทศไทย (The Bank of Thailand : BOT) ทำหน้าที่ดูแลกำกับ เรื่อง การเงินของประเทศ โดยการออกกฎเกณฑ์และควบคุมการเงิน นำธนบัตรไทยออกใช้หมุนเวียน ซึ่งรวมถึงการควบคุมการจ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศและเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

ภาวะของธนาคารแห่งประเทศไทย

  1. ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นองค์การของรัฐสังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485
  2. มีอำนาจในการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจกรรมธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
  3. มีบทบาทในการออกและพิมพ์ธนบัตรควบคุมธนาคารพาณิชย์ เสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันการเงิน

สถาบันการเงินในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมี 14 สถาบัน โดยสถาบันการเงินเหล่านี้อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานแตกต่างกันได้แก่ บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โรงรับจำนำ สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์การเกษตร บริษัทประกันชีวิต บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม ฯลฯ เป็นต้น

งบประมานแผ่นดิน หมายถึง แผนการเงินของรัฐบาลที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายรับรายจ่ายของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ คือ วางแผนโครงการต่างๆ ที่จะดำเนินการล่วงหน้า การบริหารการคลังมีประสิทธิภาพและจัดทำงบประมาณทำให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือทางนโยบายการคลัง รัฐบาลแต่ละประเทศรวมทั้งประเทศไทย จะมีรายรับนำไปใช้จ่ายสาธารณะส่วนใหญ่มาจากรายได้ ภาษีอากร หมายถึง เงินที่รัฐบาลบังคับด้วยกฎหมายเพื่อเก็บจากประชาชนทั้งภาคครัวเรือนและภาคเอกชนและนำไปใช้จ่ายสาธารณะประโยชน์ต่อส่วนรวม

 

จุดเด่น/ความน่าสนใจของผลงานทางวิชาการ : มีหลายจุดเด่น เช่น

จุดเด่นที่ 1 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติ สามารถทำได้ 3 วิธี ตามหลักของ UNSNA ประกอบด้วย การคำนวณด้านการผลิต การคำนวณด้านรายได้ การคำนวณด้านรายจ่าย ซึ่งตามหลักการถ้าจัดทำได้อย่างถูกต้องทั้ง 3 ด้าน ยอดจะสมดุลกัน

1.1 วิธการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านการผลิต (Production Approach)

1.2 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายได้ (Income Approach)

1.3 วิธีการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่าย (Expenditure Approach)

สำหรับการคำนวณรายได้ประชาชาติทางด้านรายจ่ายของระบบเศรษฐกิจใด เศรษฐศาสตร์ มี 2 ระยะ คือ ระบบเศรษฐกิจแบบปิด (Close Economic System) และระบบเศรษฐกิจแบบเปิด (Open Economic System) และโยชน์และข้อควรระวังในการใช้บัญชีรายได้ประชาชาติ มีดังนี้

  • ประโยชน์จากบัญชีรายได้ประชาชาติ

1) ประโยชน์ในการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจของประเทศ

2) ประโยชน์ด้านการกำหนดเป้าหมายทางเศรษฐกิจของประเทศ

3) ประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือวางนโยบายในการเก็บภาษีอากร

4) ประโยชน์ในการใช้เป็นเครื่องมือเทียบเคียงฐานะทางเศรษฐกิจ

ข้อควรระวังหรือข้อบกพร่องของบัญชีรายได้ประชาชาติ

1) การนับซ้ำ

2) สินค้าหรือบริการที่บันทึกจะเป็นแค่สินค้าและบริการที่ผ่านระบบเท่านั้น ส่วนสินค้าให้เปล่าหรือไม่ผ่านระบบตลาดจะไม่นำมาคิด

3) ไม่ได้แสดงวัตถุประสงค์หรือประเภทของสินค้าและบริการที่ผลิตเพิ่มขึ้น

4) บัญชีรายได้ประชาชาตินั้นเพียงแค่ทำให้รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลเพิ่มขึ้น

5) บัญชีรายได้ประชาชาติแสดงเพียงแค่การเปลี่ยนแปลงในมูลค่าและปริมาณของสินค้าและบริการขั้นสุดท้าย

จุดเด่นที่ 2 การเปลี่ยนแปลงการลงทุน การลงทุน หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระดับการลงทุน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของตัวกำหนดอื่นๆ เปลี่ยนแปลง เช่น อัตราดอกเบี้ย  ในขณะที่รายได้ประชาชาติคงที่โดยการเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้จะทำให้เส้นการลงทุนเคลื่อนย้ายไปจากเส้นเดิมทั้งเส้น ดังภาพ

 

การเปลี่ยนแปลงการบริโภคหรือการออม

 

จากภาพ : แกนตั้งแทนการลงทุนและแกนนอนแทนรายได้ประชาชาติ ณ รายได้ประชาชาติ  การลงทุน คือ  ณ จุด A บน เส้น I เมื่อมีการลงทุนเพิ่มขึ้น เส้น I จะย้ายออกจากเส้นเดิม โดยเลื่อนสูงขึ้น เส้น  แต่ถ้าการลงทุนลดลง เส้น I ย้ายออกจากเส้นเดิม โดยเลื่อนต่ำลงเป็นเส้น  การย้ายจากจุด A ไปจุด B หรือ การย้ายจากจุด A ไป C เรียกว่า การเคลื่อนที่ไปตามเส้น

จุดเด่นที่ 3 หน้าที่ของเงิน (Function of Money) ในระบบเศรษฐกิจแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

3.1  หน้าที่มีสภาพนิ่ง (Static Function) หมายถึง การที่เงินทำหน้าที่ในการช่วยให้การดำเนินงานของระบบเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี

3.2 หน้าที่อันมีสภาพเคลื่อนที่ (Dynamic Function) หมายถึง การที่เงินมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ กล่าวคือ เมื่อปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น แต่ปริมาณของเงินในระบบเศรษฐกิจน้องลงย่อมจะทำให้ระดับราคาสินค้าและบริการถูกลง

หน้าที่อันมีสภาพนิ่งที่สำคัญมี 4 อย่างได้แก่

  1. เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
  2. เป็นมาตรฐานในการวัดมูลค่าของสินค้าและบริการ
  3. เป็นตัวกลางในการรักษามูลค่า
  4. เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ในอนาคต

ค่าของเงิน หมายถึง อำนาจซื้อของเงินแต่ละหน่วยในการซื้อสินค้าและบริการ ค่าของเงินจะคงที่เมื่ออำนาจซื้อคงที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ค่าของเงินมี 2 ชนิด ค่าของเงินภายในและค่าของเงินภายนอก ลักษณะของเงินในประเทศไทย เงินที่ใช้หมุนเวียนเป็นเงินที่มีมูลค่าไม่เต็มตัว (Fiat Money)  โดยเป็นเงินที่ไม่มีมูลค่าแท้จริง แต่ถูกกำหนดให้เป็นเงินตามคำสั่งของรัฐบาลแบ่งเป็น เหรียญกษาปณ์ (Coins) ธนบัตร (Bank Note) เงินฝากเผื่อเรียก (Demand Deposits) หรือเงินฝากกระแสรายวัน (Current Deposit) คือ เงินฝากที่เจ้าของบัญชีเบิกถอนโดยใช้เช็คได้

 

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : ผลงานทางวิชาการเล่มนี้ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจสำหรับบุคคลทั่วไป นอกจากนักวิชาการ นิสิต นักศึกษา เช่น โครงสร้างอัตราภาษี

หลักในการเก็บภาษีที่สำคัญ คือ อยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพในการจัดสรรทรัพยากร ความเป็นธรรมและส่งเสริมกระจายรายได้ ภาษีแต่ละชนิดจึงมีโครงสร้างอัตราภาษีที่ใช้ในการจัดเก็บในแต่ละฐานภาษีที่แตกต่างกัน โครงสร้างภาษีมี 3 แบบ ดังนี้

 

  ลักษณะอัตราภาษีเมื่อฐานภาษีเพิ่ม ภาษีที่จัดเก็บ
แบบก้าวหน้า Progressive() เพิ่มขึ้น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา , ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (ใหม่)
แบบตามสัดส่วน (Proportional) คงที่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม , ภาษีเงินได้บุคคล นิติบุคคล ฯลฯ
แบบถดถอย (Regressive) ลดลง ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ใช้กรณีที่ต้องการส่งเสริมการผลิตนั้นให้ขยายตัว ภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ (เดิม)

 

โครงสร้างอัตราภาษีแบบก้าวหน้า หมายถึง ภาษีชนิดเมื่อฐานภาษีของบุคคล หรือนิติบุคคลนั้นเพิ่มขึ้น จะต้องเสียภาษีในอัตราสูงขึ้น เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อบุคคลมีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะเสียอัตราสูงขึ้น

 

เงินได้สุทธิ อัตราภาษี (ร้อยละ)
ไม่เกิน 150,000 บาท ยกเว้น
150,001 – 500,000 บาท 5
300,001 – 500,000 บาท 10
500,001 – 750,000 บาท 15
750,001 – 1,000,000 บาท 20
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25
2,000,001 – 4,000,000 บาท 30
4,000,001 ขึ้นไป 35

 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล สุ่นสวัสดิ์     บรรณากร

แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา : บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ชื่อผลงานทางวิชาการ : แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา : บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ปีที่พิมพ์ : 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม – ธันวาคม) 2560

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทความวิจัย เรื่อง  แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม กรณีศึกษา : บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น Guideline for the development of cultural tourism  amphoe chonnabot ,  khonkaen province ผู้ศึกษาคือ อาจารย์สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ และนักศึกษา ชื่อ เทียนวัน แนบตู้ สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของการท่องเที่ยวและสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มคณะบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน และ กลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโนนข่า

จุดเน้นของบทความนี้ จะกล่าวถึง

๑. สิ่งดึงดูดสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของหมู่บ้าน ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นทั้งแบบวิถีชนบทและประเพณีวัฒนธรรมที่ควรจะส่งเสริมการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

๒. แหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชาวชนบทของบ้านโนนข่ามีเอกลักษณ์ความโดดเด่นด้านการทอผ้าไหม การทอเสื่อ การสานสวิง การสานกระติบข้าว เพื่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว

๓. แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมประเพณี ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม ของบ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

๔.  สภาพปัญหาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของบ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ประโยชน์ที่ได้รับบทความวิจัยนี้

๑. ทราบถึงแนวทางและสภาพปัญหาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท   จังหวัดขอนแก่น

๒. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนสามารถนำเอาข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ใช้ในการวางแผนปรับปรุง และพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า  ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ที่ยังคงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ทั้งแบบวิถีชนบทและประเพณีวัฒนธรรม ที่ควรจะส่งเสริมการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป

 

แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

กรณีศึกษา : บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

 Guideline for the development of cultural tourism 

amphoe chonnabot ,  khonkaen province

สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์ / Sunate Thaveethavornsawat[1]

เทียนวัน แนบตู้ / Tienwon  Nabtu[2]

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น และศึกษาถึงสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๓ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคณะบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้นำชุมชน และ กลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโนนข่า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า

             ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่า มีเอกลักษณ์ความโดดเด่นด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี การทอผ้าไหม การทอเสื่อ การสานสวิง การสานกระติบข้าว และการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้านวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ให้ความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์แก่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม ลักษณะการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่ามีการท่องเที่ยวแบบวิถีชนบทกับการท่องเที่ยวแบบประเพณีวัฒนธรรม ปัจจุบันการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านโนนข่า ทำให้คนในชุมชนได้รับรายได้เสริมจากการท่องเที่ยวและกระจายรายได้ภายในชุมชนของตนซึ่งเป็นธุรกิจอีกอย่าง ได้แก่ การทอผ้าด้วยเส้นใยไหม การทอเสื่อ การสานสวิง และการสานกระติบข้าว กิจกรรมดังกล่าวทำให้นักท่องเที่ยวชื่นชอบในวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในชุมชนทำให้นักท่องเที่ยวกลับมาเที่ยวซ้ำอีกครั้ง แต่การท่องเที่ยวของชุมชนยังไม่มีการจัดการการท่องเที่ยว เพราะปัญหาการการคมนาคมไม่สะดวกในการเดินเข้ามาเที่ยวชม รวมถึงคนภายนอกไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในชุมชน ทำให้นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่กลับมาเที่ยวซ้ำอีกครั้ง เป็นนักท่องเที่ยวคนเดิมๆ ไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวคนใหม่ๆ นอกจากนี้พบว่าปัญหาที่สำคัญของการท่องเที่ยวในบ้านโนนข่าคือด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ ที่พัก สถานที่จอดรถ ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก ห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว และศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว

             จากผลการศึกษานี้ได้แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่า คือ สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านโนนข่านั้นมีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นทั้งแบบวิถีชนบทและประเพณีวัฒนธรรมที่ควรจะส่งเสริมการอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และควรพัฒนาเรื่องการคมนาคมการเข้าถึงหมู่บ้านได้อย่างสะดวก ควรจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวของหมู่บ้านที่ช่วยจัดการเรื่องการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมด้วย

คำสำคัญ :  แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม, อำเภอชนบท

[1] อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

[1] นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

Abstract

 

             The purpose of this research is to study the cultural tourism at Ban Nonka, Wangsang subdistrict, Chonnabot district, Khon Kaen province and to examine the problems in cultural tourism by conducting qualitative research which collects information from three main groups; Subdistrict Administrative Organization officers, community leaders, and the locals. The data collected is analyzed by triangulation method.

             The study shows that the cultural tourism at Ban Nonka is eminent in the preservation of traditional culture, e.g. silk weaving, mat weaving, hand net making, bamboo rice container plaiting, and the conception of folk wisdom to pass on knowledge and experience to tourists. The cultural tourism of Ban Nonka consists of countryside tourism and heritage tourism. Nowadays, locals at Ban Nonka benefit from the tourism and income distribution from their trades which are silk weaving, mat weaving, hand net making, bamboo rice container plaiting. Tourists enjoy these activities and local way of life; therefore, they revisit the place. However, there have not been tourism management at the moment due to inconvenient transportation. In addition, the local tourism is not widely known to the public. As a result, there are not many new tourists to the region. Additionally, the main problem of tourism at Ban Nonka is the lack of facilities such as accommodations, car park, restaurants, souvenir shops, toilets, and tourist information center

             The guideline for the development of cultural tourism at Ban Nonka is formed from the finding. Firstly, the attraction of cultural tourism of Ban Nonka is the countryside tourism and heritage tourism which should be preserved in order to encourage cultural tourism. Secondly, the transportation to the village should be improved. Lastly, a local tourism board should be established to oversee tourism management.

Keywords : Guideline for the development, Cultural tourism, Chonnabot district

 

บทนำ

             ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่ง ที่มีศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลาย ทั้งด้านของทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทรัพยากรการท่องเที่ยวของประเทศไทยสร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙  มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมเยือนประเทศไทยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ ๙.๓๕ ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ จำนวน ๑๔๕,๕๗๘,๒๖๙ คนแต่ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ มีนักท่องเที่ยวจำนวน ๑๕๙,๑๙๑,๓๕๒  คน (กรมการท่องเที่ยว, ๒๕๕๙, ออนไลน์) นอกจากนี้การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบหนึ่งที่สร้างความโดดเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และกิจกรรมที่มีความแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่นับว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม สามารถสร้างภาพลักษณ์และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ปัจจุบันแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ พัฒนากันอย่างต่อเนื่องเพื่ออรองรับกับการท่องเที่ยวของประเทศ (จุฑามาศ คงสวัสดิ์, ๒๕๕๐: ๑)

             บ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น เป็นอีกพื้นที่หนึ่งของประเทศไทยที่มีการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ซึ่งมีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่สืบต่อกันมานาน มีการประกอบอาชีพเกษตร การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ซึ่งสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลาหลายร้อยปีนับเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่น และมีขนบธรรมเนียมประเพณี นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์ศาลาไหมไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชน (ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ, ๒๕๕๙)  แต่ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้กับบ้านโนนข่าก็คือ ยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวที่บ้านโนนข่าไม่มากนัก มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับไม่มากและมีการประชาสัมพันธ์น้อย จึงทำให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาจะเป็นนักท่องเที่ยวที่เคยมาเยี่ยมเยือนแล้วไม่กลับมาอีก อีกทั้งในบ้านโนนข่ายังไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐที่จะจัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ดังนั้นผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง จังหวัดขอนแก่น และจากศักยภาพของทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ควรจะมีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ให้เป็นการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของจังหวัดขอนแก่นได้  จึงศึกษาหาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อนำข้อมูลที่ได้นี้พัฒนาบ้านโนนข่าให้มีการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศอีกต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑. เพื่อศึกษาลักษณะการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

๒. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบท  จังหวัดขอนแก่น

ประโยชน์ที่คาดว่าได้รับ

๑. ทราบถึงแนวทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในบ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น

๒. ทราบถึงสภาพปัญหาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม บ้านโนนข่า ตำบลวังแสง อำเภอชนบทจังหวัดขอนแก่น

๓. สามารถนำเอาข้อมูลที่ได้จากแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในบ้านโนน ข่าตำบลวังแสง อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

วิธีดำเนินการวิจัย

             การศึกษาวิจัยครั้งนี้คัดเลือกประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากกลุ่มตัวอย่าง ๓ กลุ่มโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) และ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก (In deph – Interview) จากกลุ่มคณะบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล  ผู้นำชุมชน และกลุ่มชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านโนนข่าจัดเก็บข้อมูลที่อ้างอิงจากใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับลักษณะที่สำคัญของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ๙ ประการ ได้แก่ การอนุรักษ์ การสืบถอด จุดดึงดูด ผลกระทบ จิตสำนึก การมีส่วนร่วม การบริการ ความพึงพอใจ และ  ความปลอดภัย ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวบมาจากแหล่งข้อมูลหลายแหล่งทั้งการศึกษาจากเอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์เพื่อใช้วิเคราะห์ตีความ เปรียบเทียบเพื่อจัดหาคุณสมบัติร่วมกันในประเด็นต่างๆ ที่ต้องการศึกษา  (สุภางค์  จันทวานิช, ๒๕๕๖:๓๒)

             ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล โดยเก็บข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ และสังเกตผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนแล้วนำมาหาประเด็นหลักและข้อสรุปร่วม จากนั้นทำการจำแนกข้อมูลตามประเด็นต่างๆ แล้วนำข้อมูลมาทำการเปรียบเทียบกันและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาเพื่อตอบปัญหาการวิจัย

ผลการศึกษา

๑. ลักษณะการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

๑.๑ แหล่งท่องเที่ยววิถีชีวิตชาวชนบทของบ้านโนนข่ามีเอกลักษณ์ความโดดเด่นด้านการทอผ้าไหม การทอเสื่อ การสานสวิง การสานกระติบข้าว เพื่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว

             การทอผ้าไหมการนำเอาไหมดิบที่จะใช้เป็นเส้นพุ่งและเส้นยืนมาล้างเพื่อทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมให้หลุดออกจากส่วนของเส้นใยโดยการนำเส้นไหมดิบ ไปต้มในน้ำเดือดเพื่อลอกกาวไหมออกโดยใช้สารเคมีการย้อมสีไหมเริ่มต้นจากการนำเอาไหมที่ผ่านการฟอกขาวแล้วนำมาย้อมสี หลังจากย้อมเสร็จแล้วนำเส้นไหมไปซักล้างในน้ำร้อนและน้ำเย็นให้สะอาดนำไปตากให้แห้ง ใช้เวลารอประมาน ๑ -๒ วัน แล้วนำมาผ้ามาใส่กี่กระตุกเพื่อการทอผ้าไหม โดยใช้เส้นไหมยืน ๑ ชุด และไหมพุ่ง ๑ ชุด โดยการใช้เส้นไหมพุ่งสอดเข้าไประหว่างเส้นยืนที่ถูกแยกออกเป็นช่องด้วยการเหยียบตะกอแล้วใช้ฟันฟืมกระทบ   เส้นไหมพุ่งให้ติดกันทีละเส้นจนกลายเป็นผืนผ้า

ภาพที่ ๑ การทอผ้าไหม

(ที่มา: สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์, ๒๕๖๐)

             การทอเสื่อ นำต้นกกมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ ๑ อาทิตย์ เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ จากนั้นนำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อ ให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม แล้วนำต้นกกสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ เมื่อสอดต้นกกเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้ต้นกกแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ ลายเสื่อที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ จากนั้นก็นำเสื่อที่ทอแล้วมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น เสื่อพับ หมอนสามเหลี่ยม

ภาพที่ ๒ การทอเสื่อ

(ที่มา: สุเนตร ทวีถาวรสวัสดิ์, ๒๕๖๐)

             การสานสวิง นำด้ายไนล่อนมาใส่ไว้ในไม้กีม คล้ายกับลักษณะของกระสวยทอผ้า แต่วิธีการนั้น แตกต่างกันนิดหน่อย ซึ่งเรามักจะเรียกจอมนี้ว่าปมเพื่อให้ฐานแข็งแรงจะต้องให้ได้ขนาด ๒ – ๓ นิ้ว จากนั้นก็สานไปเรื่อยๆ จนได้ความลึกประมาณ ๕๐ – ๖๐ เซนติเมตรหรือได้ตามขนาดที่ต้องการ นำไม้ไผ่มาเหลาให้ได้ ๒ อัน อันแรกเป็นด้ามสวิงส่วนอันที่สองเหลาให้มีขนาดเล็กพอประมาณ นำไปสอดกับสวิงที่สานไว้และใช้เป็นตัวกำหนดขนาดของช่องแล้วนำไม้ไผ่อันแรกที่เหลาแล้วมาเฉือนปลายสองด้านให้ได้รูปและนำมาประกบกันจนเป็นทรงกลม จากนั้นก็มัดด้วยเชือกฟางไว้ก่อน แล้วค่อยตอกตะปูเข็มให้แน่น เสร็จแล้วนำสวิงที่สานเสร็จเรียบร้อยมาสอดกับไม้ไผ่อันที่สองที่เหลาไว้และนำมามัดติดกับไม้ไผ่อันแรกด้วยเชือกฟาง หลังจากนั้นก็เย็บติดกับขอบไม้ไผ่ด้วยการตอกตะปูเข็มอย่างประณีต เรียบร้อยแล้ว ก็นำมีดมาตัดเอาเชือกฟางออก พร้อมทั้งเก็บลายละเอียดของสวิงเล็กน้อย

              การสานกระติบข้าว กระติบข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุดต้องทำจากไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ ๑๐ เดือน ถึง ๑ ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดี ไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาว วัตถุดิบที่นำใช้คือ ปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอกกว้างประมาณ ๒-๓ ม.ม. ขูดให้เรียบและบางจากนั้นนำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี ๒ ฝา มาประกอบกัน แล้วกระติบข้าวที่ได้มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กัน เรียกว่า ๑ ฝา ทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง ๑ นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัดนำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้ายนำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว เพื่อกันแมลงเจาะ และเพื่อความสวยงาม ทนทาน ไม่เกิดราดำ จากนั้นนำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอก กลมยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒-๓ ม.ม. ความยาวรอบบางเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน เมื่อเสร็จแล้วเจาะรูที่เชิงกระติบข้าว ด้วยเหล็กแหลม   ๒ รู ให้ตรงข้ามกัน แล้วทำหูที่ฝาด้านบน ตรงกับรูที่เจาะเชิงไว้ ใช้ด้ายไนล่อนสอดเข้าเป็นสายไว้สะพายไปมาได้สะดวก จะได้กระติบข้าวที่สำเร็จเรียบร้อย สามารถนำมาใช้และจำหน่ายได้

                         ๑.๒ แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมประเพณี มีการจัดประเพณีขึ้นในทุก ๆ เดือนและมีบางเดือนที่มีช่วงเวลาสำคัญ เช่น ๒๙ เดือนพฤศจิกายน ถึง วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี มีการจัดงานเทศกาลไหม เป็นงานที่จังหวัดขอนแก่นได้จัดขึ้นทุกปีเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๒๒ จนถึงปัจจุบัน โดยมีประเพณีที่สำคัญดังต่อไปนี้

                         เดือนมกราคม (เดือนยี่) ทำบุญขึ้นปีใหม่  ในวันที่ ๑ ของเดือนมกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตกบาตรและอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก ไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป และจะเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือนที่พักอาศัย

                         เดือนกุมภาพันธ์ (เดือนสาม) ทำบุญข้าวจี่,บุญข้าวกุ้มข้าวใหญ่  บุญข้าวจี่ เป็นงานบุญประเพณี ของชาวอีสานที่กระทำกันในเดือนสาม จนเรียกว่า บุญเดือนสาม บุญข้าวจี่เป็นบุญประเพณีสำคัญ ที่มีกำหนดอยู่ในฮีตสิบสอง ดังรู้จักกันทั่วไปว่า เดือนสามคล้อยจั่วหัวปั้นข้าวจี่ เดือนสี่คล้อยจัวน้อยเทศน์มะที (มัทรี)  ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว เอาไม้เสียบย่างไฟเหมือนไก่ย่าง เมื่อข้าวสุกเกรียมแล้วก็เอาไข่ซึ่งตีไว้แล้วทาแล้วย่างซ้ำอีกกลายเป็นไข่เคลือบข้าวเหนียว เสร็จแล้วถอดไม้ออกเพื่อถวายพระเณรฉันตอนเช้า บุญข้าวกุ้มข้าวใหญ่ หรือบุญคูนลาน เป็นประเพณีทำบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวแล้วจะนำมานวดที่ลาดนวดข้าว ก่อนนำข้าวไปเก็บในยุ้งฉาง เรียกว่า บุญคูนลาน โดยเชิญญาติพี่น้องมาร่วมทำบุญเพื่อร่วมบูชาแม่โพสพ โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ โยงด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าว ถวายอาหาร บิณฑบาต เลี้ยงญาติมิตร พระสงฆ์อนุโมทนาประพรมน้ำพระพุทธมนต์ผู้ร่วมพิธีตลอดจนประพรมลาดข้าว วัว ควาย เจ้าของนาเพื่อเป็นศิริมงคล

                         เดือนมีนาคม (เดือนสี่) บุญผะเหวด หรืองานบุญมหาชาติ คืองานมหากุศลให้รำลึกถึงการบำเพ็ญบุญความดีที่ยิ่งยวดอันมีการสละความเห็นแก่ตัวเพื่อผลประโยชน์สุขอันไพศาลของมวลชนมนุษย์ชาติ เป็นสำคัญ ดังนั้นบรรพชนชาวไทยอีสานแต่โบราณจึงถือเป็นเทศกาลที่ประชาชนทั้งหลาย พึงสนใจร่วมกระทำบำเพ็ญและได้อนุรักษ์สืบทอดเป็นวัฒนธรรมสืบมา จนถึงอนุชนรุ่นหลังที่ควรเห็นคุณค่าและอนุรักษ์เป็นวัฒนธรรมสืบไป นอกจากนี้ยังเป็นการสังสรรค์ ระหว่างญาติพี่น้องจากแดนไกลสมกับคำกล่าวที่ว่า “กินข้าวปุ้น เอาบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ”

                         เดือนเมษา (เดือนห้า) บุญสงกานต์ เป็นประเพณีการสงน้ำพระพุทธรูป มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอพรจากญาติผู้ใหญ่ และมีการทำบุญตักบาตรก่อทรายภายในวัด

                     เดือนพฤษภาคม (เดือนหก) บุญบั้งไฟประจำปี เป็นการจัดขบวนแห่บั้งไฟ และการจุดบั้งไฟตามวิถีความเชื่อ ของชาวบ้านที่ว่า ผาแดงนางไอ่  พระยาคันคาก  ล้วนกล่าวถึงการจุดบั้งไฟ ถวายแด่พญาแถน  เพื่อเป็นการขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล

                         เดือนมิถุนายน  (เดือนเจ็ด) บุญชำฮะ คือการชำระล้าง สิ่งสกปรก รกรุงรังให้สะอาดหมดจด เมื่อถึงเดือน ๗ ชาวบ้านจะรวมกันทำบุญโดยยึดเอา “ผาม หรือศาลากลางบ้าน” เป็นสถานที่ทำบุญ ชาวบ้านจะเตรียมดอกไม้ธูปเทียน โอน้ำ ฝ้ายใน ไหมหลอด ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายมารวมกันที่ผามหรือศาลากลางบ้าน ตอนเย็นนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ตอนเช้าถวายอาหาร เมื่อเสร็จพิธีทุกคนจะนำน้ำพระพุทธมนต์ ฝ้ายผูกแขน แห่ทรายของตนกลับบ้าน นำน้ำมนต์ไปรดลูกหลาน ทรายนำไปหว่านรอบบ้าน ฝ้ายผูกแขนนำไปผูกข้อมือลูกหลานเพื่อให้เกิดสวัสดิมงคลตลอดปี ถ้ามีการเจ็บไข้ได้ป่วยต้องมีการสวดถอด

                     เดือนกรกฎาคม  (เดือนแปด) บุญเข้าพรรษา เป็นประเพณี ทางพุทธศาสนาคล้ายคลึง กับทางภาคกลาง คือจะมีงานทำบุญตักบาตร การถวายผ้าอาบน้ำฝน สงบ จีวรและเทียนพรรษา มีการประกวดความสวยงามของเทียนจากแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งตกแต่งสลักเสลาเทียนเป็นลวดลาย เรื่องราวทางพุทธศาสนาอย่างสวยงาม เมื่อแห่เทียนมาถึงวัด ชาวบ้านจะรับศีล รับพรฟังธรรม ตอนค่ำจะเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ

                         เดือนสิงหาคม (เดือนเก้า) บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวประดับดิน คือ บุญที่ทำในวันแรมสิบสี่ค่ำ เดือนเก้าประมาณเดือนสิงหาคมเป็นการนำข้าวปลาอาหารคาวหวาน ผลไม้ หมาก พลู บุหรี่ อย่างละเล็กอย่างละน้อยแล้วห่อด้วยใบตองทำเป็นห่อเล็กๆ นำไปวางตามโคนต้นไม้ใหญ่หรือตามพื้นดินบริเวณรอบๆ เจดีย์หรือโบสถ์ เป็นการทำบุญที่ชาวบ้านจัดขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

                         เดือนกันยายน (เดือนสิบ) บุญข้าวสาก คือบุญที่ให้พระเณรทั้งวัด จับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าวที่ญาติโยมนำมาถวายและบุญนี้จะทำกันในวันเพ็ญเดือนสิบ จึงเรียกชื่ออีกอย่างว่า บุญเดือนสิบ

                         เดือนตุลาคม (เดือนสิบเอ็ด) บุญออกพรรษา เป็นการเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ได้มีโอกาสว่ากล่าวตักเตือนกันได้ พระภิกษุสงฆ์สามารถเดินทางไปอบรมศีลธรรม หรือไปเยี่ยมถามข่าวคราว ญาติพี่น้องได้ และภิกษุสงฆ์สามารถหาผ้ามาผลัดเปลี่ยนได้ เมื่อถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตั้งแต่เช้ามืดจะมีการตีระฆังให้พระสงฆ์ไปรวมกันที่โบสถ์แสดงอาบัติเช้า จบแล้วมีการปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้

                         เดือนพฤศจิกายน   (เดือนสิบสอง) บุญมหากฐิน เป็นการใช้ผ้าที่ใช้สดึง ทำเป็นกรอบเย็บจีวร เรียกว่าผ้ากฐิน ผู้ใดศรัทธา ปรารถนาจะถวายผ้ากฐิน ณ วัดใดวัดหนึ่งให้เขียนสลาก (ใบจอง) ไปติดไว้ที่ผนังโบสถ์หรือศาลาวัด ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ผู้อื่นจองทับ เมื่อถึงวันกำหนดก็บอกญาติโยมให้มาร่วมทำบุญ มีมหรสพสมโภช และฟังเทศน์ รุ่งเช้าก็นำผ้ากฐินไปทอดถวายที่วัดเป็นอันเสร็จพิธี

                         เดือนธันวาคม (เดือนอ้าย) งานประเพณีลอยกระทง จัดขึ้นเพื่อขอขมาเจ้าแม่คงคา และปล่อยสิ่งที่ไม่ดีให้ลอยไปกับน้ำ

                         แหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมและประเพณีเป็นการจัดงานประเพณีของจังหวัดขอนแก่นที่จัดขึ้นในช่วงเดือนต่างๆ ที่นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมได้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ที่น่าสนใจของบ้านโนนข่า ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านโนนข่า ที่ได้เปิดการเรียนรู้ในรูปแบบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้วย

 

๑. สภาพปัญหาของการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น

ในการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่นนี้ยังพบว่า นักท่องเที่ยวที่เข้าไปท่องเที่ยวในหมู่บ้านมีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวจะเข้ามาเพื่อที่จะซื้อผ้าไหม เนื่องจากได้ทราบถึงชื่อเสียงของการทอผ้าไหม จึงแวะเข้ามาเที่ยวชมการทอผ้าและทอเสื่อ ดังนั้นหากต้องการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มจำนวนมากขึ้นก็ต้องพิจารณาถึงปัญหาดังนี้

๑.๑ ปัญหาการคมนาคมไม่สะดวก การเดินทางเข้ามาเที่ยวชมจึงค่อนข้างยากลำบาก        การกระจายไฟฟ้าในบางส่วนยังเข้ามาไม่ถึง จึงยังไม่มีการจัดที่พักอาศัยสำหรับนักท่องเที่ยว

๑..๒ นักท่องเที่ยวไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวภายในชุมชน เพราะไม่มีสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลการท่องเที่ยวของชุมชน ไม่มีบุคคลเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ในการท่องเที่ยว จึงมีจำนวนนักท่องเที่ยวน้อย และไม่มีป้ายโฆษณาหรือชักชวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม

๑.๓ ความปลอดภัยในการเดินทางมีความเสี่ยงสูงเพราะการเดินทางเข้ามามีป่าทึบและขาดแสงไฟตลอดเส้นทาง หากนักท่องเที่ยวจะมาเที่ยวชมต้องมาในเวลากลางวัน

๑.๔ ปัญหาขยะเพิ่มมากขึ้นชุมชนเนื่องจากมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นจึงต้องมีการจัดเก็บขยะทุกอาทิตย์โดยเก็บขยะอาทิตย์ละ ๑ – ๓ วัน

 

การอภิปรายผล

ได้พบประเด็นข้อมูลที่สำคัญดังนี้

๑. ลักษณะการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เที่ยวชมถึงวิถีชีวิตได้แก่ การทอผ้าด้วยเส้นใยไหม การทอเสื่อ การสานสวิง และการสานกระติบข้าว ซึ่งวิถีชีวิตความเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญของหมู่บ้านในเรื่องการทอผ้าไหมที่มีลวดลายสวยงามกว่าที่หมู่บ้านอื่น และการทอเสื่อที่มีความเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นประกอบกับการสานสวิงและกระติบข้าวที่นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเรียนรู้และซึมซับกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานที่สำคัญ รวมถึงงานประเพณีที่ทางจังหวัดได้จัดขึ้นทุกเดือนอีกด้วย กิจกรรมดังกล่าวทำให้นักท่องเที่ยวชื่นชอบในวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของคนในชุมชน จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวมาท่องเที่ยวจำนวนมากขึ้น จะส่งผลกับชุมชนที่จะได้รับรายได้เสริมจากการท่องเที่ยว และก่อให้เกิดการกระจายรายได้ภายในชุมชนของตน สามารถทำเป็นธุรกิจของชุมชนที่สำคัญ แต่การท่องเที่ยวของชุมชนนี้เมื่อศึกษาแล้วพบว่า ไม่มีกระบวนการจัดการการท่องเที่ยวในชุมชนนี้โดยเฉพาะกับรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้าน ซึ่งปัญหาหนึ่งที่สำคัญในองค์ประกอบของการท่องเที่ยวคือ ปัญหาการเข้าถึงในแหล่งท่องเที่ยว เนื่องจากมีการคมนาคมที่ไม่สะดวก นักท่องเที่ยวมีความยากลำบากกับเดินทางเข้ามาเที่ยวชม รวมถึงเรื่องของการประชาสัมพันธ์กับคนภายนอก ทำให้ไม่ค่อยได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับชุมชนและการท่องเที่ยวภายในชุมชน นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเพื่อนำผ้าไหมไปจำหน่าย มีนักท่องเที่ยวที่ได้ยินชื่อเสียงจากการทอผ้าไหมจึงแวะเข้ามาเที่ยวชม นักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ๆ จะมีน้อยที่ได้เข้ามาเที่ยวชมในบ้านโนนข่าและไม่มีความพร้อมของบุคคลากรที่รองรับการท่องเที่ยวในชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง, ๒๕๔๕) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย พบว่าพื้นที่มีศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการพัฒนาทางการท่องเที่ยว แต่ต้องปรับปรุงในด้านความพร้อมของบุคลากร และสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ประพัทธ์ชัย ไชยนอก, ๒๕๕๓) ศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ที่พบว่า สภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยมีการท่องเที่ยวดังนี้ ๑) ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว บ้านด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และสถานที่สำคัญต่างๆ ทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่เช่น พระธาตุศรีสองรัก วัดป่าเนรมิตปัสสนา วัดโพนชัย และ พิพิธภัณฑ์ผีตา มีวัฒนธรรมและประเพณีบางอย่างที่ได้มีปฏิบัติสืบต่อกัน เช่น ประเพณีฮิตสิบสองคลองสิบสี่ ประเพณีบุญหลวง ประเพณีสงกรานต์ รดน้ำดำหัว และงานประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นต้นเหมาะสมกับการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ ในพื้นที่บ้านโนนข่าเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่เหมาะกับการดำเนินการเรื่องการท่องเที่ยว แต่ประสบปัญหาในหลายด้านที่ต้องพัฒนาให้รองรับกับการท่องเที่ยว ซึ่งเมื่อพัฒนาในปัญหาด้านต่างๆ แล้ว พื้นที่บ้านโนนข่าก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจของจังหวัดขอนแก่น

๒. ปัญหาท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมบ้านโนนข่า อำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น พบว่า ปัญหาการคมนาคมไม่สะดวกสอดคล้องกับงานวิจัยของ (อรวิชญ์ กันตะยา, ๒๕๕๖) แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในหมู่บ้านธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา พบว่า การที่หมู่บ้านมีเส้นทางคมนาคมที่ดีสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวแห่งอื่น ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างสะดวกสบาย และนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในระดับมากดังนั้นถ้าจะให้หมู่บ้านโนนข่านี้มีการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมต้องพัฒนาเรื่องการคมนาคมการเข้าถึงหมู่บ้านได้อย่างสะดวก และสอดคล้องกับงานวิจัยของ (ภูสวัสดิ์ สุขเลี้ยง, ๒๕๔๕) ศึกษาเรื่อง การพัฒนาการแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม: กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วยโป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย พบว่าพื้นที่มีศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการพัฒนาทางการท่องเที่ยว แต่ต้องปรับปรุงในด้านความพร้อมของบุคลากรและด้านสาธารณูปโภค เช่น ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก ห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว และศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว โดยผู้วิจัยได้เสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ ดำเนินการทางการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดการพัฒนาหมู่บ้านให้เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยว และให้หน่วยงานของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผน ดังนั้นบ้านโนนข่าจะพัฒนาการท่องเที่ยวโดยใช้แนวทางจากงานวิจัยนี้ดังกล่าวจะช่วยให้พัฒนาการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในหมู่บ้านได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพที่จะนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

 

ข้อเสนอแนะ

๑. ข้อเสนอแนะจากการวิจัย

 ๑.๑ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านโนนข่านั้นมีแหล่งท่องเที่ยวที่ยังคงถึงความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นทั้งแบบวิถีชนบทและประเพณีวัฒนธรรมที่ควรส่งเสริมให้มีอนุรักษ์เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม

๑.๒ ควรพัฒนาเรื่องการคมนาคมการเข้าถึงหมู่บ้านได้อย่างสะดวก เนื่องจากการศึกษาพบว่าเส้นทางการคมนาคมยังมีความเสี่ยงโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน

๑.๓ ควรจัดตั้งคณะกรรมการการท่องเที่ยวภายในหมู่บ้านโนนข่า เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีความพร้อมทั้งทรัพยากรทางการท่องเที่ยวซึ่งประกอบด้วย วัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และวิถีการดำเนินชีวิต มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่เพียงพอสามารถให้บริการนักท่องเที่ยวและไม่มีศักยภาพในด้านคุณค่าทางการศึกษา ความปลอดภัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และไม่มีศักยภาพของพื้นที่ในด้านคุณค่าทางการศึกษา ความปลอดภัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และไม่มีศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับการพัฒนาทางการท่องเที่ยวและไม่มีศักยภาพในด้านความพร้อมของบุคลากร

๑.๔ ควรมีการปรับปรุง นอกจากนี้ต้องการเพิ่มเติมศักยภาพทางด้านสาธารณูปโภคขั้นสูงในสิ่งต่างๆ เช่น ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าที่ระลึก ห้องสุขาสำหรับนักท่องเที่ยว และศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว

๒. ข้อเสนอแนะการทำวิจัยครั้งต่อไป

จากการศึกษาวิจัยผู้วิจัยควรเก็บข้อมูลนักท่องเที่ยวในเรื่องของการท่องเที่ยวด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อตอบรับความต้องการของนักท่องเที่ยวที่จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านโนนข่าอย่างยั่งยืน

 

เอกสารอ้างอิง

 

กรมการท่องเที่ยว. (๒๕๕๙). สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศไทยปี พ.ศ.๒๕๕๘. ค้นเมื่อวันที่ ๒๕

พฤศจิกายน ๒๕๕๙. จาก  http://tourism2.tourism.go.th/home/details/11/221/25767.

จุฑามาศ  คงสวัสดิ์. (๒๕๕๐). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัด

       นครปฐม.  นครปฐม :  ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา.  มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประพัทธ์ชัย  ไชยนอก. (๒๕๕๓). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา

       อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย.  วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต.  บัณฑิตวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ไทยตำบลดอดคอม. (๒๕๕๘). กลุ่มสตรีทอผ้าไหม.  ออนไลน์  สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐.

จาก http://www.thaitambon.com/shop/02516102414

หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนต้นแบบบ้านโนนข่า. (๒๕๖๐).  รูปการทอผ้าไหมและทอเสื่อ.  ออนไลน์

สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๐. จาก https://www.facebook.com/%E0%B8%AB%

%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B

ภูสวัสดิ์  สุขเลี้ยง. (๒๕๔๕). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม :  กรณีศึกษาหมู่บ้านห้วย

       โป่งผาลาด อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย.  การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต

สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศูนย์บริการข้อมูลอำเภอ. (๒๕๕๗). ที่ทำการปกครองอำเภอชนบท.  ค้นเมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน

๒๕๕๙. จาก http://www.amphoe.com/menu.php?mid=1&am=63&pv=5.

สุภางค์  จันทวานิช. (๒๕๕๖). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ :

โครงการตำราพื้นฐานคณะรัฐศาสตร์.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรวิชญ์  กันตะยา. (๒๕๕๖). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของหมู่บ้าน

       ธาตุสบแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา.  การค้นคว้าโดยอิสระ  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

การจัดซื้อในโซ่อุปทาน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดซื้อในโซ่อุปทาน 

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์ : 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : เป็นตำราที่ผ่านการพิจารณาขอตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา มณีวงศ์  สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกฺส์   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

          …………………………………………………………………………….

          ตำรา เรื่อง “ การจัดซื้อในโซ่อุปทาน”  เรียบเรียงขึ้น โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์นิตยา มณีวงศ์   สาขาวิชาการจัดการโลจีสติกฺส์   คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นตำราที่ใช้ในการเรียนการสอนที่เป็นวิชาเอกบังคับ รายวิชา การจัดซื้อในโซ่อุปทาน ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและสำหรับผู้สนใจทั่วไป  จุดเน้นของตำรานี้ สำหรับศึกษาหาความรู้เบื้องต้นของการจัดซื้อ ที่เป็นกิจกรรมของโลจิสติกส์อันดับแรกในโซ่อุปทาน  นักจัดซื้อที่ดีต้องมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจในวัตถุดิบ สินค้าที่แสวงหาความต้องการเพื่อตอบสนองให้แก่ผู้ใช้ในองค์กรและผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มสุดท้าย สำหรับเนื้อหาในตำราเล่มนี้จะครอบคลุมภาพรวมของจัดซื้อเบื้องต้น มีทั้งหมด 10 บท  ประกอบด้วย แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดซื้อในโซ่อุปทาน วิธีปฏิบัติในการจัดซื้อ การจัดองค์กรจัดซื้อ การจัดซื้อในภาครัฐ การบริหารงานจัดซื้อ            คุณภาพของวัตถุดิบ สินค้า บริการ การสร้างความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์ กลยุทธ์การจัดซื้อ และการเจรจาต่อรอง  ซึ่งในแต่ละบทจะมีภาพและตารางแสดงข้อมูลเพื่อความชัดเจนมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปที่ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการจัดซื้อในโซ่อุปทานเบื้องต้นและนำประยุกต์ใช้ในแนวทางที่สอดคล้องกับบริบทของแต่ละองค์กร หรือประกอบกิจการของตนเอง ดังรายละเอียดสรุปของแต่ละบทดังนี้

 

บทที่  1

แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา

          การจัดซื้อ  จัดหา  ถือว่าเป็นกิจกรรมแรก  (Inbound Logistics)   ในโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน ฝ่ายจัดซื้อ จัดหา ต้องทราบความต้องการของผู้ใช้ที่อยู่ทั้งภายในและลูกค้าภายนอก การให้ความสำคัญของทั้งสองกลุ่มถือว่าเป็นการรับผิดชอบเบื้องต้น การจัดซื้อ มีความสำคัญต่อธุรกิจภาคเอกชนและองค์กรของรัฐ ระบบการบริหารงานด้านการจัดซื้อ มีผลที่ดีต่อการสร้างกำไรให้แก่รัฐและองค์กรภาคเอกชน วัตถุประสงค์ของการจัดซื้อ เพื่อทราบแนวทางและให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ตามด้วยนโยบายการจัดซื้อที่กล่าวถึง เช่น คุณภาพ ราคาที่เหมาะสม ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้  เป้าหมายของการจัดซื้อจัดหาในด้านวัตถุดิบหรือบริการที่ประกอบด้วย ความถูกต้องของลักษณะวัตถุดิบ สินค้า ปริมาณที่ถูกต้อง สถานที่ถูกต้อง ราคาถูกต้อง เวลาถูกต้อง ผู้ขายที่ตรงตามวัตถุประสงค์ของการซื้อ การบริการที่ถูกต้อง  นอกจากนี้  การจำแนกสินค้าที่มีการซื้อ ทั้งที่เป็นสินค้าอุปโภค บริโภค และสินค้าอุตสาหกรรม รูปแบบของการจัดซื้อและสุดท้ายเป็นการเข้าใจวงจรชีวิตของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ที่ทำให้นักจัดซื้อได้เข้าใจ วางแผน และตัดสินใจอย่างเหมาะสมในเรื่องของช่วงชีวิตของวัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูปในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม

 

บรรณานุกรม

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์.  (2550).  การจัดการลอจิสติกส์.  กรุงเทพฯ : เอ็กซปอร์เน็ท.

ปราณี ตันประยูร.  (2556).  การจัดซื้อเบื้องต้น.  ค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2558  จาก

http://www.nsru.ac.th/e-learning/sonthaya/lesson% 208/lesson%208.html.

รังสรรค์ ศรีวรศาสตร์.  (2557).  ปลัดคลังเผยใต้โต๊ะพุ่ง 30% ดันกฎหมาย จัดซื้อจัดจ้าง สกัด

คอร์รัปชั่น.  ค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2558 จาก  www.tdir.orth/tag/รังสรรค์-ศรีวรศาสตร์/

วิทยา สุหฤทดำรง.  (2546).  งานบริหารงานโลจิสติกส์อุปทานและอุปสงค์การจัดการวัสดุการส่ง

          บำรุง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุมนา อยู่โพธิ์.  (2540).  การซื้อและการบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หทัยวรรณ ทวีเมือง.  (2540).  แนวทางการจัดซื้อ.  ค้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2558.  จาก

http:/thawimumng.blog.com/2008/09/blog-post_9821.html.

________.  (2556).  ผลิตภัณฑ์ – Marketing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 จากข้อมูล

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ elearning.bu.ac.th/mua/course/mk212/ch7.htm MK212: chapter 7.

________.  (2555).  แนวคิดเกี่ยวกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2557 จาก

ข้อมูล  www.stou.ac.th/stouonline/data/sms/market/Unit 4/…/U431-1.htm

Betts, S.C. and Taran, Z.  (2003).  Leveraging  Brand Equity: A Life cycle Approach to

          sharing   Economic Rents,  International Business & Economics Research journal

2(7). 67-70.David J. ( 2007).   International Thomson Publishing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 14

เมษายน 2557 จาก ข้อมูล

https://plus.google.com/105946574826885250469/…/Xbbn6uQc4v1  QFD

Jim Pregler, C.P.M,. (2003).  Specification Development: An Overview, NIGP Technical

Bulletin4.

Monczka, et al.  (2555).  Purchasing.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2558  จาก

www.logisticscorner.com/index.php?option=com_conten&view=artical&id=194:-

purchasing-process & catid=37:procurement&Itemid=88).

Pooler H. Victor & Pooler.  (2012).  Purchasing and Supply Management: Creating the

          Vision.  Springer, Softcover.

 

 

บทที่ 2

โซ่อุปทานกับงานจัดซื้อ

          การได้เข้าใจภาพรวมของโซ่อุปทาน เห็นการเชื่อมโยงของการทำงานทุกฝ่ายเพื่อการเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์การและภายนอกองค์กร ด้วยการใช้บริการภายนอกในเรื่องการขนส่ง คลังสินค้า การใช้เทคโนโลยีมาประสานข้อมูลข่าวสารทั่วองค์กรธุรกิจเกิดความสมบูรณ์แบบมากขึ้น  การเข้าใจในเรื่องของความสำคัญการจัดซื้อที่มีการจำแนกเป็นกลุ่มวัตถุดิบ กลุ่มอะไหล่สำรอง กลุ่มสินค้าซื้อมาขายไป กลุ่มบริการ และที่จะนำพาให้ธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น ต้องเข้าใจการทำงานทั้งกระบวนการของโซ่อุปทานที่ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพในด้านการจัดซื้อ และบุคคลในกลุ่มจัดซื้อที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญในแต่ละส่วนได้ด้วย อย่างไรก็ตาม การคำนึงถึงโซ่คุณค่า เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ จากกิจกรรมพื้นฐานที่ประกอบด้วย โลจิสติกส์ขาเข้า (Inbond Logistics) การปฏิบัติการ (Operations) โลจิสติกส์ขาออก (Outbound Logistics) การตลาด&การขาย (Marketing and Sales)  บริการ (Service)  และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะสนับสนุนการทำงานของกิจกรรมหลัก ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานขององค์กร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยี การจัดซื้อจัดหาปัจจัยการผลิต เพื่อประโยชน์สูงสุด มิใช่เรื่องของกำไรของแต่ละกิจกรรมแต่เป็นการได้กำไรให้องค์กรทั้งหมด

 

บรรณานุกรม

ธนัญญา วสุศรี.  (2550).  การจัดการโซ่อุปทาน: กรณีศึกษา ปฏิบัติการจากภาคธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 1)

กรุงเทพฯ: ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

ยรรยง ศรีสม.  (2011).  ห่วงโซ่คุณค่า ในงานโลจิสติกส์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557.  จาก https://ifuselife.wordpress.com/2011/05/12.

วสันต์ กาญจนมุกดา. (2555).  แบบจำลองโซ่คุณค่า (Value Chain Model). สืบค้นเมื่อวันที่  25

วิศวกรรมอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์.

เอกกมล เอี่ยมศรี.  (2555).  การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า: Value Chain Analysis.  สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2557.  จาก :http://www.oknation.net/blog/print.php?id=887739.

__________.  (2557).   สำนักพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558. จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2016/pdf/ac06.pdf.

Benton W.C.  (2007).  Purchasing and Supply Management.  McGraw-Hill International

Edition.

Murray Martin.  (2011).  Introduction To Supply Chain Management.  สืบค้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2559.  จาก http://Logisitics/Supply Chain.about.com.

Michael E. Porter. (1985).  Competitive Advantage.  สืบค้นหาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2559. จาก

Logitics.about.com./od/supply chain introduction/a/ainto_scm.htm.

 

บทที่ 3

วิธีปฏิบัติในงานจัดซื้อ

          การดำเนินงานของแผนกจัดซื้อ มีผลต่อการลดต้นทุนและสร้างกำไรให้กับองค์กรธุรกิจ เนื่องด้วย แผนกจัดซื้อเป็นผู้ที่อำนวยความสะดวกในการคัดเลือก คัดสรรวัสดุ วัตถุดิบ สินค้าสำเร็จรูป ฯลฯ ให้กับผู้ใช้ทุกแผนกในองค์กร  และถือว่าเป็นกิจกรรมแรกในการลำเลียงวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต หรือสินค้าซื้อและขายไปก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดี การสื่อสารที่เข้าใจตรงกันระหว่างแผนกจัดซื้อและแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ยิ่งทำให้องค์กรได้เปรียบต่อการแข่งขัน หน้าที่รับผิดชอบของแผนกจัดซื้อ ในเรื่องของความเข้าใจในความต้องการ การกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ การเลือกแหล่งขาย การกำหนดราคา การออกคำสั่งซื้อ การติดตามคำสั่งซื้อ การตรวจสอบการเรียกเก็บเงิน การดำเนินกรรมวิธีที่เกี่ยวกับการปฏิเสธ การรับของ การยกเลิกคำสั่ง การบันทึกของผลการจัดซื้อ การทำวิจัย การดำเนินการในเอกสารทั่วไปที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดหา ทำให้ได้รู้กระบวนการดำเนินการจัดซื้อเป็นลำดับขั้นตอน แบบฟอร์มของการจัดซื้อ และสุดท้ายคือเงื่อนไขในการซื้อขายที่จะระบุไว้ในด้านหลังของใบสั่งซื้อที่มีความสำคัญต่อการซื้อขายกับซัพพลายเออร์ด้วยเช่นกัน

 

บรรณานุกรม

จุลศิริ ศรีงามเมือง.  (2536).  การจัดองค์การและการบริหารงานอุตสาหกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ : ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี

พระจอมเกล้าธนบุรี.

สรวิช รัตนพิไชย.  (2554).  กระบวนการจัดซื้อ. บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม สาขาการ

จัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม

  1. จาก www.logisticscorner.com.

 

สุมนา อยู่โพธิ์.  (2538).  การจัดซื้อและบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์.

____________.  ความสัมพันธ์ของโซ่อุปทาน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2558. จาก

http:///www.slidesshare.net และ www.pantavanij.com

อดุลย์ จาตุรงคกุล.  (2547).  การจัดซื้อ.  ปรับปรุงครั้งที่ 6.  โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

___________ . ใบขอซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก http:///

www.freesampletemplages.com.

_______________ . ใบสั่งซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก

http://www.mindphp.com/forums/viewtopic.php?f=140&t=27672.

วิวัฒน์ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2558).  การจัดการต้นทุน.  วารสารข่าวสารเพื่อการปรับตัวก้าวทัน

เทคโนโลยีอุตสาหกรรม.  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

 

 

บทที่ 4

การจัดองค์กรในจัดซื้อ

            การจัดองค์การฝ่ายจัดซื้อ ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะการทำงานเป็นทีม ประสานงานให้เข้ากับฝ่ายต่าง ๆ ได้ดี มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด การกระจายอำนาจหน้าที่เพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน โครงสร้างองค์การฝ่ายจัดซื้อ แบ่งความรับผิดชอบการบริหารเป็น 3 ระดับ ที่เป็นผู้บริหารระดับต้น กลาง และระดับสูง พร้อมทั้งได้เข้าใจ โครงสร้างของฝ่ายจัดซื้อขนาดเล็ก      ที่มีบุคลกรเพียง 2 – 4 คนในการดูแลเรื่องจัดซื้อ แต่ละบุคคลมีความรู้ ความชำนาญเฉพาะด้านและรายงานตรงกับหัวหน้าฝ่ายจัดซื้อ โครงสร้างขนาดกลางเกิน 2 – 4 คน จะแบ่งหน้าที่รับผิดชอบตามแต่ละสินค้าของแต่ละองค์กร และอาจมีรับผิดชอบย่อย ๆ กว่านี้อีก ส่วน โครงสร้างฝ่ายจัดซื้อขนาดใหญ่ จะมีลักษณะการกระจายอำนาจมากขึ้น เพราะมีขนาดการจัดซื้อที่ใหญ่กว่า นอกจากนี้การดำเนินงานของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อที่มีภาระหน้าที่ความสามารถ การวางแผน การประสานงาน การเจรจาต่อรอง การติดตามงานและยังต้องมีความถี่ในการติดต่อประสานงานกับฝ่ายอื่น ๆ เป็นทั้งที่เป็นไตรมาส เดือน สัปดาห์และวัน ด้วย นอกจากนี้ยังกล่าวถึงระบบการจัดซื้อแบบกระจายอำนาจ แบบรวมอำนาจที่ขึ้นอยู่กับการนำไปประยุกต์ใช้แต่ละองค์กรแต่ปัจจุบันได้ปรับมาใช้เป็นการผสมผสานระหว่างระบบแบบกระจายสินค้าและแบบรวมอำนาจ

 

บรรณานุกรม

คำนาย อภิปรัชญาสกุล.  (2553).  หลักการจัดซื้อ. กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.  ธิดารัตน์ ภัทราดุลย์. (2555).   เกณฑ์การตัดสินใจในการจัดซื้อ (Criteria in purchasing

               Decisions).    สืบค้นเมื่อวันที่  20 ตุลาคม 2555.  แหล่งที่มา

http://www.logisticscorner.com/index.php/2009- 05-25-00-45- 43/procurement/1426อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547). การจัดซื้อ.  (ปรับปรุงครั้งที่ 4).    กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์.  (2550) กรณีศึกษา: การบริหารงานจัดซื้อในประเทศไทย.  (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ:ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

Arjan J. Van Weele,  (2005).   Purchasing & Supply Chain Management: Analysis, Strategy

Planning  and Practice.  (4 th ed.).   Thomson, London.

Michiel R. Leenders, P. Fraser Johnson, Anna E. Flynn and Harold E. Fearon, 2006.

Purchasing and Supply Management with 50 Supply Chain Cases. (13 th ed).

McGraw-Hill,  Singapore.

 

บทที่ 5 การจัดซื้อภาครัฐ

          การจัดซื้อภาครัฐ     เป็นการบริหารพัสดุ  (วัสดุ ครุภัณฑ์)  สิ่งก่อสร้าง     กระบวนการบริหารพัสดุนั้น ประกอบด้วย การกำหนดความต้องการพัสดุ การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง  การควบคุมพัสดุ การจำหน่ายพัสดุ วงจรของการบริหารพัสดุที่วางแผนของการจัดโครงการ แล้วดำเนินข้อกำหนดความต้องการพัสดุที่สอดคล้องกับการบริหารพัสดุ นอกจากนั้นยังกล่าวถึงวิธีการจัดซื้อของภาครัฐ ประกอบด้วย 6 วิธี 1) วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท 2) วิธีสอบราคา เป็นการกำหนดที่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท 3) วิธีประกวดราคา ต้องเกิน 2,000,000 บาท 4) วิธีพิเศษ ต้องเกิน 100,000 บาท เฉพาะกรณี ตามข้อ 23 5) วิธีกรณีพิเศษ เป็นการซื้อหรือการจ้างจากส่วนราชการหน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจในกรณีตามข้อ 26  6) วิธีประมูลด้วยระบบอีเล็กทรอนิกส์ที่เกินกว่า 2,000,000 บาท  นอกนั้น จะกล่าวถึง ลักษณะของดำเนินงานแบบ  e- Procurement ที่ปัจจุบันองค์กร    ต่าง ๆ ได้ให้ความสนใจไม่ต่างกับการประมูลสินค้าและการบริการออนไลน์ ที่ผู้ใช้และผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้นและเข้าใจมากขึ้น เปิดโอกาสให้เกิดธุรกิจใหม่ ๆ ตามมา

 

บรรณานุกรม

เกศอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์.  (2557).  การพัฒนาระบบติดตามการจัดซื้อภาครัฐ.  วิทยาศาสตร์บัณฑิต

สาขาวิชาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ภาควิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะ           เทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

คำนาย อภิปรัชญาสกุล.  (2558).  หลักการจัดซื้อ.  กรุงเทพฯ : โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด.

พรวิลัย เดชอมรชัย.  ( 2556).   เอกสารการอบรม เรื่องแนวทางการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของทางราชการ. สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง.

วนิดา วรรณรัตน์.  (2548).   ปัญหาการปฏิบัติงานบัญชีขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต

หนองบัวลำภู. การค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (การบริหารธุรกิจ).  เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิริเกียรติ์ บุญวรเศรษฐ์.  (2547).  การจัดซื้อเชิงกลยุทธ์.  วารสาร logistics Thailand, 2(17), 50-52.

สุนันทา บุญญกิตติกุล.  (2547).  การศึกษาเปรียบเทียบระบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบเดิมกับระบบ e-       Procurement.  สารนิพนธ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2547).  การจัดซื้อ, ปรับปรุงครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณ บริรักษ์.  (2550).  กรณีศึกษา: การบริหารงานจัดซื้อในประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 1).

กรุงเทพฯ :ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

 

 

บทที่ 6

การบริหารงานจัดซื้อ

          ทุกองค์กรได้ให้ความสนใจ การบริหารจัดซื้อในเรื่องของการสั่งซื้อวัตถุ เพื่อการผลิต หรือการสั่งซื้อเพื่อการบริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า การที่ทำให้ลูกค้าพอใจได้นั้น เกิดจากหน่วยงานที่มีความเกี่ยวข้องกับฝ่ายจัดซื้อ ประกอบด้วย ผู้ใช้ ผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้จำหน่ายและบัญชี ต้องประสานงานกันในเรื่องข้อมูลต่าง ๆ อันส่งผลให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ นอกจากนี้ 7Rs’ เป็นหัวใจสำคัญของการจัดซื้อที่ต้องคำนึง คุณภาพตรงความต้องการ (Right Quality) ปริมาณที่เหมาะสม/ต้องการ (Right Quantity) การส่งของได้ถูกสถานที่ (Right Place) ต้องมีการคำนึงถึงส่วนของการขนส่งหลายรูปแบบที่เหมาะสม การได้ในเวลาที่ต้องการ (Right Time) ตามความต้องการด้านการผลิตและตามความต้องการของลูกค้า การซื้อจากแหล่งเชื่อถือได้ (Right Source) ด้วยการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและมีการประเมินผู้ขายว่าไว้ใจได้อย่างไร ด้วยราคาที่ดีที่ยุติธรรม (Right Price) เรื่องราคาเป็นส่วนที่กระทำได้ยากที่สุด เนื่องจากนักจัดซื้อต้องการซื้อในราคาที่ถูกที่สุดต่อหน่วยหรือต่อปริมาณ แต่ไม่ได้คำนึงถึงมองภาพรวมของต้นทุนทั้งหมด และการส่งให้ลูกค้าที่ถูกต้อง (Right Service/Customer) เป็นส่วนปลายทางที่มีผลต่อการจัดซื้อที่จะทำให้ลูกค้าประทับใจด้วยการส่งให้ถูกต้อง  และต้องไม่ลืมว่านักจัดซื้อต้องให้ความสำคัญทั้งลูกค้าภายในและภายนอก

 

บรรณานุกรม

เชี่ยวชาญ ชำนาญการ.  (2551).  ทำอย่างไรจึงจะลดต้นทุนได้อย่างยั่งยืน.  เอกสารการเรียนรู้เคล็ด

ลับการจัดซื้อสืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2557 (www.thai.org/amc) สืบค้นเมื่อวันที่ 25            เมษายน 2557.

บูรณะศักดิ์ มาดหมาย.  (2552).  ซัพพลายเชนในกระบวนการเติมเต็มสินค้าคงเหลือให้เพียงพอ ตลอดเวลา.  ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอม.

นงลักษณ์ บุญสุข.  (2557).  ผู้ที่เกี่ยวข้องในงานจัดซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2559.  จาก

http:///factoryguide.com.

พรธิภา องค์คุณารักษ์.  (2553).  การจัดการโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมเกษตรเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สุชาติ ศุภมงคล.  (2552).  Lean Organization by reduced Inventory Cost.

ThailandIndustry.com

สุชาติ ศุภมงคล.  (2009).  การหาค่าของการสั่งซื้อ (Cost of Order).  ไทยแลนด์อินดัสตรี้ดอทคอ

หทัยวรรณ ทวีเมือง.  การจัดซื้อ.  สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2559.  จาก       http://thawimuang.blogspot.com/2008/09/blog-post_9821.html.
Alen Rushton, John Oxley, PhillCrocher.  (2000).  The Handbook of Logistics and Distribution

Arjan J. Van Weele.  (2005).  Purchasing& Supply Chain Management: Analysis Strategy,          Planning and Practice. 4thed.  London: Thomson Learning.

Daniel Hultreng. (2014).  The B2B Pricing & Sales Blog.  สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559.

จาก http:///www.pricingleadership.com

Deming, Juran, Crosby, Feigenbaum, Ishikawa.  (2010).  A reflection of different TQM Approaches: Deming, Juran, Crosby, Feigenbaum, and Ishikawa. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558.  จาก http:///www.twostepaheadtoday.com.

Michiel R Leenders, and others.  (2006).  Purchasing and Supply Management with 50 Supply           Chain Cases. 13th ed. Singapore: McGraw-Hill.

 

บทที่ 7

คุณภาพของวัตถุดิบสินค้าและบริการ

          นักจัดซื้อต้องให้สำคัญ คุณภาพของวัตถุดิบ สินค้า และบริการ องค์ประกอบของคุณภาพที่ดีคือ มีข้อกำหนดของสเปค (Conform to Spec.) และความเหมาะสมต่อวัตถุประสงค์ (Fit for Purpose) บทบาทของฝ่ายจัดซื้อในการออกข้อกำหนด ต้องได้รับความร่วมมือกับผู้ใช้ทุกแผนกขององค์กร  การใช้เครื่องมือ เทคนิค วิธีปฏิบัติสำหรับนักจัดซื้อในโซ่อุปทาน ที่มิได้มองเฉพาะแค่ในองค์กรแต่ต้องมองในภาพรวมทั้งภายในและภายนอกที่มีผลต่อการดำเนินงานของโซ่อุปทาน เช่น การจัดการเรื่อง การใช้เงินในการจัดซื้อ (Spend Analysis) และการใช้ กฎ 20/80 และการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ ABC เพื่อรับทราบการใช้เงินของกลุ่มจัดซื้อและการบริการจัดการ ตามกลุ่มงบประมาณของแต่ละซัพพลายเออร์ รวมถึงการเขียนข้อกำหนดของการบริการที่ยากต่อการเขียนเพราะที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้ เพราะอาศัยความรู้สึกของผู้ใช้และลูกค้า ประเภทของการให้บริการจำแนกตามความสำคัญของการบริการในฐานะที่เป็นผลิตภัณฑ์ของหน่วยงาน และตามระดับความคาดหวังของผู้รับบริการ

 

บรรณานุกรม

กิตติกร โชติสกุลรัตน์. (2550).  การศึกษาและการจัดการข้อมูลรายจ่าย (Spend Analysis) วารสาร

อิเล็กทรอนิกส์ ฉบับที่ 41 ประจำเดือน กุมภาพันธ์ www.pantavanij.com.

รวีวรรณ โปรยรุ่งโรจน์. (2551).  จิตวิทยาการบริการ. กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์, หน้า 15-18.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2550). เคล็ดไม่ลับการตลาดบริการ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:ยูบีซีแอลบุ๊คส์        Prepareto principles: http://iamia.wordpress.com.

Gelderman, C. J., & Van Weele, A. J. (2003).  Handling measurement issuesand strategic

            directions in Kraljic’s purchasing portfolio model. Journal of purchasing and supply          management, 9(5), 207-216.

Juran J.M.  (1998).  Juran’sQuality.  Handbook: McGraw Hill.

Kraljic, P. (1983). Purchasing must become supply management. Harvard business review, 61(5), 109-117.

Kotler, P., &Aderson, A.R. (1987).  Strategic Marketing of Behavior: A Meta Analysis of the            Empirical Literature.  “ Personally and Social Psychology Bulletin 21 (No. 1, January)

Render B, Stair Jr R, Hanna M.E.  (2015). Quantitative Analysis for Management (12/E).

Prentice Hall.

Zeithaml, V.A. Parasuraman, &Berry. (1985).  Problem and Strategic in Service Marketing. Journal of Marketing 49 (6) ,12 – 14.

 

บทที่ 8

ความสัมพันธ์ระหว่างจัดซื้อกับซัพพลายเออร์

          การบริหารความสัมพันธ์ซัพพลายเออร์ (Supplier Relationship Management) ที่ผู้บริหารต้องให้ความสนใจเพราะเป็นการสร้างความมั่นใจและร่วมมือการทำงานระหว่างองค์กรและคู่ค้า ในดำเนินการด้วยความราบรื่น แต่การสร้างความสัมพันธ์นั้นจะขาดไม่ได้คือ ต้องมีการจัดกลุ่มพัสดุ สินค้า บริการ (Supply Position Model) เพื่อได้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มการทำงานได้อย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันยังต้องเข้าใจระดับความน่าสนใจในสายตาของซัพพลายเออร์ (Supply Perception Model) ที่พิจารณาถึงองค์กรฯ จัดซื้อในด้านชื่อเสียง ขนาดของบริษัท การสั่งซื้อสม่ำเสมอ การชำระเงินด้วยความยุติธรรม ฯลฯ นอกจากนั้น ระดับความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรจัดซื้อกับซัพพลายเออร์ที่ต้องพิจารณาเข้าใจ และการพัฒนาซัพพลายเออร์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

 

บรรณานุกรม

เชี่ยวชาญ รัตนามนัทธนะ.  (2557).  เจาะลึกกลุยทธ์ของนักจัดซื้อมืออาชีพ.  เอกสารประกอบการ

บรรยาย ในวันที่ 12 กันยายน 2557.  ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 15 โรงแรมเมเปิล บางนา.

ไชยยศ ไชยมั่นคง.  (2556).  กลยุทธ์โลจิสติกส์และซัพพลายเชนเพื่อการแข่งขันในตลาดโลก.

(พิมพ์ครั้งที่ 7).  นนทบุรี: ดวงกมลสมัย.

ชนิดา พงษ์พานารัตน์.  (2554).  การพัฒนาและทดสอบความตรงของตัวชี้วัดกระบวนการบริหาร

ซัพพลายเชนในอุตสาหกรรมบริการ.  สถาบันวิจัยและคำให้ปรึกษา

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ธนัญญา วสุศรี.  (2550).  การจัดการโซ่อุปทาน กรณีศึกษาปฏิบัติการภาคธุรกิจ.  Logistics Book.

กรุงเทพฯ: น. 80.

ธนิต โสรัตน์.  (2550).  การประยุกต์ใช้โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน.  กรุงเทพ: ประชุมทอง พริ้นติ้ง

กรุ๊ป.

วีรวิชญ์ เลิศไทยตระกูล.  (2553).  Supplier Relationship Management.เอกสารประกอบการสอน

สถาบันไทย-เยอรมัน www.east.spu.ac.th/business/depart…/Open_knowledge_count.php?

อดุลย์ จาตุรงคกุล.  (2552).  การจัดซื้อ.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bernard Burnes & Barrie Dale.  (1998).  Working in Partnership.  Sloan Management Review         Summer.

Fitzgerald, Kevin R.,  (2000).  Purchasing Occupies Key Position in Supply Chain, Supply

            Chain   Yearbook 2000. Cahners: New York.

Kraljic, P. (1983).  Purchasngmus become supply management.  Harvard Business Review.

Tennyson, R. & Wilde L.  (2000). The guiding hand: brokering partnerships for sustainable        development (ed. S. McManus).  United Nations Department of Public Information.

 

บทที่ 9

กลยุทธ์การจัดซื้อ

          ในการดำเนินต่างๆ ของการวางแผนกลยุทธ์จัดซื้อ ต้องทราบขั้นตอนการเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ การเตรียมความพร้อม ดำเนินการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ การประเมินผลและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เมื่อดำเนินการตามการวางแผนกลยุทธ์จัดซื้อแล้ว ต้องพิจารณาถึง กลยุทธ์จัดซื้อที่จะนำมาใช้  ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงปริมาณ กลยุทธ์เชิงต้นทุน และกลยุทธ์เชิงคุณภาพ การดำเนินกลยุทธ์ใดก็ตามขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรและปัจจัยที่เกื้อหนุนการดำเนินการ เพราะกลยุทธ์ที่นำประยุกต์มีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จะมีประโยชน์ต่อการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ แต่ไม่สามารถกล่าวว่าประยุกต์ใช้กลยุทธ์ใดที่ดีที่สุด และที่สำคัญการวางแผนกลยุทธ์ที่ดีนั้น ต้องทราบถึงกลยุทธ์ด้านราคาของผู้ขายเพื่อเตรียมความพร้อมทั้งการวางแผนกลยุทธ์การจัดซื้อและกลยุทธ์ด้านราคาขายของซัพพลายเออร์

 

บรรณานุกรม

โทมัส, ที. เอ็น.  (2551).  กลยุทธ์การตั้งราคา [The Strategy and Tactics of Pricing]

(สุวินัย ต่อศิริสุข, ผู้แปลและเรียบเรียง).  กรุงเทพฯ: :ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธวัชชัย มงคลสกลฤทธิ์.  (2550).  คัมภีร์การตั้งราคาสินค้า: Power pricing.

กรุงเทพฯ: ไอ เอ็ม บุ๊คส์.

ธิดา ชีวศรีพฤฒา.  (2548).  การเพิ่มประสิทธิภาพองค์กรด้วยการจ้างงานภายนอก กรณีศึกษาเทศโก้ โลตัส

ภาคนิพนธ์ (ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุมนา  อยู่โพธิ์, 2538.  การจัดซื้อและบริหารพัสดุ.  กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

Pantavanij.  (2550).  วารสารอิเล็กทรอนิคส์. ฉบับที่ 44 ประจำเดือนพฤษภาคม 2550.  สืบค้น 21

มิถุนายน 2559.  จาก http://www.pantavanij.com.

อรุณ บริรักษ์.  (2550).  กรณีศึกษาการบริหารงานจัดซื้อ ในประเทศไทย.  เล่มที่ 2: 134-136

กรุงเทพฯ : ไอทีแอล เทรด มีเดีย.

Michael E. Porter.  (1985).  Competitive Advantage: Creating and Sustaining

Performer อ้างใน การจัดการเชิงกลยุทธ์กรณีศึกษา จาก ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ.

กรุงเทพฯ:ธรรมสาร ปี 2546.

Robert E. Speakman  & Michiel R. Leenders.  (2550).  Purchasing  Strategies

(1st ed.). McGraw-Hill.pp.

 

บทที่ 10

การเจรจาต่อรอง ข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณของนักจัดซื้อ

                ในกระบวนการทำงานด้านการจัดซื้อ วิธีการซื้อ เป็นสิ่งสำคัญที่นักจัดซื้อต้องแสวงหาแหล่งขายที่สามารถตอบสนองความต้องการและได้ประโยชน์สูงสุด วิธีการจัดซื้อที่นิยมมากที่สุด คือ การเจรจาต่อรองรวมถึงเงื่อนไขต่าง ๆ กับผู้ขาย  และนักจัดซื้อต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรองอย่างชาญฉลาดด้วยความเข้าใจหลักการ เพิ่มทักษะ และความมีเหตุผลการเจรจาต่อรอง ผู้เจรจาต่อรองต้องรู้จักการพูด การฟัง ต้องศึกษาข้อมูลทั้งสองฝ่ายให้มาก รู้ต่อรอง อย่ารีบร้อนหรือตัดสินใจเร็ว ไม่เปิดเผยความลับหรือจุดอ่อนของตนเอง มีความยืดหยุ่น มีข้อมูลหลายประเภท รวมทั้งมีพื้นฐานในเรื่องของกฎหมายลักษณะการซื้อขายหลักฐานเพื่อการฟ้องร้องบังคับคดีและเรื่องจรรยาบรรณในการซื้อขาย

 

บรรณานุกรม

กองบรรณธิการ.  (2553).  Winning Negotiation. กรุงเทพฯ: ไอ เอ็มบุ๊คส์.

กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์.  (2556).  ทักษะเพื่อการสื่อสาร.  (พิมพ์ครั้งที่ 5).  กรุงเทพฯ:

โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

เกียรติกศักดิ์ วัฒนศักดิ์.  (2553).  การเจรจาต่อรอง.  วารสารนักบริหาร 30 (1): 74-75. มหาวิทยาลัย

กรุงเทพ.

ขนบพันธุ์ เอี่ยมโอกาส.  (2543).  การจัดการบริการลูกค้า.  (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี.  (2558). การสื่อสารในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 3).  กรุงเทพฯ:   มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ไพโรจน์ บาลัน.  (2549).  การเจรจาต่อรอง.  กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.

สร้อยตระกูล อรรถมานะ.  (2541).  พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฏีและการประยุกต์.  กรุงเทพฯ:    มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 201 -205.

วารุณี ผสมบุญ.  (2553).  การเจรจาต่อรองของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาลประจำการ

            โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ศรีบุรินทร์.  การศึกษาค้นคว้าอิสระ.  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วิชัย ปิติเจริญธรรม.  (2548).  การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ.  กรุงเทพฯ: วันเนส มีเดีย.

เคน ลองดอน.  (2551).  การเจรจาต่อรองทางธุรกิจ[Succeed of Negotiation].วรินดา อลอนโซ,

ผู้แปลและเรียบเรียง).  กรุงเทพฯ: กู๊ดมอร์นิ่ง.

AkanitSamitabindu.  (2558).  Essential Knowledge for Purchasing Professional #1.

Purchasing and Supply Chain Management Association of Thailand.

Prinkley, Robin L.  (1990).  Dimension of conflict frame: Disputant interpretations of

            conflict.  Journal of Applied Psychology, Vol 75(2), Apr 1990: 117.

 

สนใจติดต่อ

ผศ.นิตยา  มณีวงศ์  สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะวิทยาการจัดการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โทร.062-1985669

การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด “การอยู่ร่วมกัน” 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด “การอยู่ร่วมกัน”

ปีที่พิมพ์ : 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทีทัศน์วัฒนธรรม สำนักศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (มกราคม – ธันวาคม 2560)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์ ธนกร สรรย์วราภิภู  อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

 

          บทความวิจัย เรื่อง  การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด “การอยู่ร่วมกัน ”The creation of contemporary dance from the question of creation to contemporary dance composition “Kan Yuu Ruam Gun” ผู้ศึกษา คือ อาจารย์ธนกร สรรย์วราภิภู  อาจารย์ประจำสาขาวิชานาฏยศิลป์  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย จากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย  การอยู่ร่วมกัน ของกลุ่มคนที่นับถือศาสนาอิสลาม ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาขงจื้อ โดยต้องคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดง การออกแบบการเคลื่อนไหว การออกแบบเสียงและดนตรีประกอบ การออกแบบเครื่องแต่งกาย และการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง  กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแขกมุสลิมบ้านสมเด็จ

          สาระสำคัญของบทความวิจัยนี้ 

          การดำเนินการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด เราอยู่ร่วมกัน มีการคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดงที่นำลักษณะเด่นของคำสอน  ด้านการอยู่ร่วมกันมาใช้วางโครงเรื่อง การคำนึงถึงการออกแบบการเคลื่อนไหว ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญ ในการเลือกใช้ท่าทางที่สามารถสื่อความหมายของโครงเรื่องที่ได้ถูกวางไว้ให้เกิดความชัดเจนมากที่สุด  ตามข้อมูลที่ได้ศึกษา การคำนึงถึงการออกแบบเสียงและดนตรีประกอบ ที่มุ่งเน้นการกระตุ้นจินตนาการและสร้างบรรยากาศการแสดงให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความคล้อยตามทางอารมณ์ การคำนึงถึงการออกแบบเครื่องแต่งกายที่เรียบง่ายสอดคล้องกับแนวคิดทางศาสนา และการคำนึงถึงการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สามารถนำมาใช้พัฒนา สนับสนุนการแสดงให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย

          การนำไปใช้ประโยชน์

          เห็นได้ว่าการตั้งประเด็นคำถามในแต่ละองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีเป้าหมายในการดำเนินการ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการศึกษาหาข้อมูลที่จะมุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานที่มีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างออกไปจากการแสดงนาฏยศิลป์ชิ้นอื่น ๆ

 

 

การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด “การอยู่ร่วมกัน”

The creation of contemporary dance from the question of creation to contemporary dance composition “Kan Yuu Ruam Gun”

ธนกร สรรย์วราภิภู / Tanakorn Sunvaraphiphu[1]

บทคัดย่อ

          ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยมีแนวความคิดที่จะสะท้อนคุณค่าทางผลงานการสร้างสรรค์ที่ปรากฏให้เห็นถึงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้คนในชุมชน และใช้แนวคิดในการหาข้อมูลเฉพาะพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่เป็นปัจจุบัน เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์      ร่วมสมัยโดยเลือกกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มประชากรในชุมชนบ้านแขกมุสลิมบ้านสมเด็จใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์จากประชากรในชุมชน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์สำหรับจัดวางองค์ประกอบทางการแสดงอย่างมีเหตุผล จากการดำเนินงานทำให้ได้องค์ประกอบการแสดงต่าง ๆ สู่ผลงานการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด “การอยู่ร่วมกัน” ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ

คำสำคัญ: นาฏยศิลป์ร่วมสมัย, องค์ประกอบ, การสร้างสรรค์

 

Abstract

          Contemporary dance works have the concept to reflect on the value of creative work that is reflected in the promotion of art and culture. The participation in community activities and use the concept of site-specific research to create contemporary dance work in present time to find a way to create contemporary dance work from the question of creation to contemporary dance compositions by selecting the target from population in Bansomdej Islamic Communities, document, interview, and non-participant observation non-participatory observation. To create contemporary dance works by setting the dictation question for the production of theatrical compositions. From this performance, the elements of the show are transformed into a unique contemporary dance performance “Kan Yuu Ruam Gun”.

Keywords: Contemporary dance, Composition, Creative

 

บทนำ

          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งในงานวิจัยเรื่อง “การยอมรับบุคคลภายนอกชุมชนบ้านแขกสะท้อนผ่านนาฏยศิลป์ร่วมสมัย” ผู้วิจัยค้นคว้าข้อมูลพร้อมได้รับคำสัมภาษณ์ถึงปัญหาว่า “คนทั่วไปมักเหมากลัวรวมคนอิสลามโดยไม่สามารถแยกแยะวิเคราะห์สิ่งที่เกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ชาวมุสลิมบางคนถูกมองว่าเป็นบุคคลน่ากลัวไม่น่าเข้าใกล้” (ชนัญรักฒ์ สุวรรณวัฒน์, ๒๕๖๐) ผู้วิจัยเห็นว่าจากกรณีดังกล่าวอาจส่งผลไม่ดีโดยตรงต่อผู้คนในชุมชนบ้านแขกมุสลิมบ้านสมเด็จที่ก่อตั้งอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถูกมองเป็นที่ไม่ยอมรับและเป็นหวาดกลัวต่อผู้คนภายนอกชุมชนเนื่องจากผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนนี้เป็นชาวมุสลิมร้อยละ ๙๐ ของประชากรทั้งหมดในชุมชน อาจเกิดเกิด “โรคหวาดกลัวอิสลาม (Islamophobia)” เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นสำหรับผู้ที่ต่อต้านชาวมุสลิมและนับวันจะมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ (Faliq, ๒๐๑๐ : ๖) ผู้วิจัยเห็นว่าเป็นปัญหาสําคัญที่จําเป็นจะต้องแสดงให้เห็นว่าผู้คนภายในชุมชนบ้านแขกเป็นมิตรและพร้อมที่จะต้อนรับบุคคลภายนอกชุมชนที่จะเข้ามาชื่นชมตามหลักคำสอนในศาสนาเช่นเดียวกับความเชื่อในศาสนาอื่น ๆ ผ่านการวิจัยที่ผู้วิจัยได้ศึกษาและรวบรวมเก็บข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพและรูปแบบการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มประชากรในชุมชนบ้านแขกมุสลิมบ้านสมเด็จใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์จากประชากรในชุมชน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) จากนั้นตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในการกำหนดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบการแสดงเพื่อให้ได้ข้อมูลการสร้างสรรค์ตามหลักเหตุและผลของการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยมีแนวความคิดที่จะสะท้อนคุณค่าทางผลงานการสร้างสรรค์ที่ปรากฏให้เห็นถึงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้คนในชุมชน และใช้แนวคิดในการหาข้อมูลเฉพาะพื้นที่ในการสร้างสรรค์ผลงานทางนาฏยศิลป์ร่วมสมัยที่เป็นปัจจุบัน

 

วัตถุประสงค์

          เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย

 

วิธีการดำเนินงานวิจัย

          ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการดำเนินงานวิจัยตามขั้นตอน โดยเลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างใช้เครื่องมือในการวิจัยโดยการสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สำรวจข้อมูลภาคสนาม จากนั้นเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูล และสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยร่วมกับการค้นคว้าหาข้อมูลสำหรับการสร้างสรรค์การแสดงโดยใช้แนวคิดด้านความแตกต่างทางความเชื่อของผู้คนที่นับถือศาสนาอิสลาม        ในชุมชนซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนมากที่อาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแขกกับผู้ที่นับถือศาสนาที่แตกต่างออกไป และบุคคลภายนอกชุมชนในการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ เพื่อค้นหาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ผู้วิจัยจึงได้ตั้งประเด็นคำถามตามองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด การอยู่ร่วมกัน ดังต่อไปนี้

          การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์

                    ผู้วิจัยได้คำถามในการวิจัยโดยยึดตามผู้เชี่ยวชาญในการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ นราพงษ์    จรัสศรี ได้ให้ความเห็นว่า “การสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ควรประกอบด้วยองค์ประกอบ ๗ ประการ คือ โครงเรื่องการแสดง การเคลื่อนไหว เครื่องแต่งกาย เสียงและดนตรีประกอบ อุปกรณ์ประกอบการแสดง พื้นที่และฉากการแสดง และแสง ถึงแม้ว่าจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่กล่าวมาหากผู้สร้างสรรค์เล็งเห็นว่าองค์ประกอบใดมีความสำคัญที่น้อยผู้สร้างสรรค์ผลงานสามารถนำไปไว้ในส่วนท้ายของลำดับการสร้างสรรค์ได้ เนื่องจากการสร้างสรรค์ทางนาฏยศิลป์ไม่ได้มีกฎเกณฑ์ตายตัว สามารถดำเนินงานได้ตามบริบทที่ผู้สร้างสรรค์เห็นสมควร” (นราพงษ์ จรัสศรี, ๒๕๖๐) ผู้วิจัยได้จำแนกออกตามองค์ประกอบของนาฏยศิลป์เพื่อสรุปให้เห็นถึงหลักคิด พื้นฐานการออกแบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ ลักษณะของการแสดงเพื่อหาคำตอบในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในการวิจัยฉบับนี้

  1. การคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดง
  2. การคำนึงถึงการออกแบบการเคลื่อนไหว
  3. การคำนึงถึงการออกแบบเสียงและดนตรีประกอบ
  4. การคำนึงถึงการออกแบบเครื่องแต่งกาย
  5. การคำนึงถึงการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง

เห็นได้ว่างานวิจัยฉบับนี้ผู้วิจัยไม่ได้ใส่หัวข้อการคำนึงถึงการออกแบบพื้นที่ และแสง เนื่องจากงานวิจัยฉบับนี้เป็นงานวิจัยภาคสนามที่ลงพื้นที่ชุมชน เพื่อเก็บข้อมูลจากชุมชนบ้านแขกมุสลิม     บ้านสมเด็จ โดยเก็บข้อมูล และนำมาวิเคราะห์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัย ได้เล็งเห็นว่า       การแสดงชุด “การอยู่ร่วมกัน” เป็นการแสดงเฉพาะพื้นที่ที่ถูกสร้างสรรค์จากประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจ     ในพื้นที่ชุมชนบ้านแขกมุสลิมบ้านสมเด็จ ดังนั้น การแสดงสร้างสรรค์จึงมีความเหมาะสมในการแสดงเฉพาะพื้นที่ซึ่งสอดคล้องกับการออกแบบแสงที่มุ่งเน้นการใช้แสงจากธรรมชาติ

 

          การคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดง

          มีการดำเนินการแสดง โดยแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก จะแสดงถึงสัญลักษณ์ของแต่ละศาสนา เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างของแต่ละศาสนา ขั้นตอนที่สอง นำเสนอหลักคำสอนของแต่ละศาสนา ขั้นตอนที่สาม นำเสนอการอยู่ร่วมการของทุกศาสนาโดยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

          ขั้นตอนแรก เป็นการนำท่ารำเข้ามาผสมผสานกัน และนำสัญลักษณ์ของแต่ละศาสนามาใช้ในการแสดง

          ขั้นตอนที่สอง นำเสนอหลักคำสอนของแต่ละศาสนา โดยแบ่งออกเป็น ๔ ศาสนา อันได้แก่

ศาสนาอิสลาม ห้ามกระทำความชั่ว ห้ามเอาเปรียบผู้อื่นทั้งกายและใจ

ศาสนาพุทธ ใช้หลักธรรมเพื่อดำเนินชีวิต คือ อิทธิบาท 4 ได้แก่ ฉันทะ (ความพอใจ) วิริยะ (ความเพียร) จิตตะ(ความคิดฝักใฝ่) วิมังสา (การสอบสวนตรวจตรา) พรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา คือความปรารถนาดี กรุณา คือความสงสาร มุทิตา คือชื่นชมยินดี อุเบกขา คือความวางใจเป็นกลาง

ศาสนาคริสต์ นิกายโปรเตสแตนต์ สอนให้รักทุกคน และอภัยแก่ผู้ทำผิด

ลัทธิขงจื้อ ให้ตอบแทนความชั่วด้วยความดี

          ขั้นตอนที่สาม เป็นการรวมทุกศาสนาเข้ามาอยู่ด้วยกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สะท้อนวิถีชีวิตการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนบ้านแขก

 

          การคำนึงถึงการออกแบบการเคลื่อนไหว

          เลือกจากท่าพื้นฐานทางนาฎยศิลป์ไทยและนาฏยศิลป์สากล โดยใช้แนวคิด        จากผลการวิจัยแนวคิดในการออกแบบนาฏยศิลป์จากประสบการณ์การแสดงประกอบกับแรงบันดาลใจของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ โดยใช้หลักการออกแบบการเคลื่อนไหว ๔ ประการได้แก่ ๑) ใช้หลักการจินตนาการ ๒) ใช้หลักการตีบทผสมผสานท่าทางธรรมชาติ ๓) ใช้หลักการนำท่ารำเก่ามาพัฒนาใหม่ ๔) ใช้หลักการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำใหม่ในรูปแบบการรำตีบทตามคำร้องและทำนองเพลง (ณัฏฐนันท์           จันนินวงศ์, ๒๕๕๖ : ออนไลน์) อภิธรรม กำแพงแก้ว ได้กล่าวเสริมว่า ความสามารถในการเป็นนักออกแบบ  ท่าเต้นจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ กระบวนการคิดและการนำเสนอ อาจเป็นหนทางที่นำไปทดลองเพียงให้ตระหนักว่างานการแสดงประเภทนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้สร้างงานและของผู้รับชม ที่สำคัญที่สุดคือ    ความลงตัวที่เกิดขึ้นต่อผลงานการออกแบบท่าเต้น (อภิธรรม กำแพงแก้ว, ๒๕๔๔ : ๒๑-๒๘) การสร้างงานทางด้านนาฏยศิลป์มีกระบวนการสร้าง  แบ่งออกเป็น  ๓  แนวทาง  คือ  ๑) สร้างขึ้นจากประสบการณ์ที่สั่งสมมา  ๒) ดัดแปลงจากงานของผู้อื่น  ๓) จินตนาการท่ารำขึ้นใหม่ ซึ่งท่าที่ใช้ในการแสดงมีท่าหลักของแต่ละศาสนาดังต่อไปนี้

ภาพที่ ๑ ท่าทางแสดงสัญลักษณ์ของแต่ละศาสนา

(ที่มา : ผู้วิจัย)

ท่าที่ ๑ การพนมมือไหว้แสดงถึงศาสนาพุทธ นำมาจาก ท่าทางการไหว้ของชาวพุทธในประเทศไทย

ท่าที่ ๒ การนำมือทั้งสอง ประกบกันบริเวณหน้าผาก และผายมือที่ด้านหน้าของตนเอง เป็นท่าการละหมาด ที่ผู้สร้างสรรค์แสดงถึงศาสนาอิสลาม นำมาจากท่าทางการละหมาดของชาวอิสลาม

ท่าที่ ๓ การมือทั้งสองข้างผสานกันที่บริเวณหน้าอกแสดงถึงศาสนาคริสต์ นำมาจากท่าทางการสวดอ้อนวอนขอพรพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาคริสต์

ท่าที่ ๔ การนั่งคุกเขาและนำมือประสานกันบริเวณด้านหน้าพร้อมก้มศรีษะแสดงถึงลัทธิขงจื้อ นำมาจากท่าทางการเคารพบรรพชนหรือเทพเจ้าในศาลเจ้า

          การออกแบบท่า คือ การนำท่าทางนาฏยศิลป์ไทยที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ร่วมกับท่าทางนาฏยศิลป์สากล เพื่อให้เกิดท่าขึ้นใหม่และสื่อถึงการแสดงที่นำเสนอ ซึ่งมีหลักการในการออกแบบท่าส่วนหนึ่งมาจากทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ ของ ผุสดี หลิมสกุล ดังเช่นภาพต่อไปนี้

          ผู้วิจัยนำรูปร่างของรูปหัวใจที่แสดงถึงความรักในศาสนาคริสต์เข้ามาเป็นโครงสร้างในการออกแบบท่าทาง โดยให้นักเต้นทั้งสองผสานกันและขยายออกโดยมีช่วงตัวที่ซ้อนกัน

ภาพที่ ๒ การออกแบบท่าทางแสดงแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาคริสต์

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          ผู้วิจัยนำท่าทางการรำของภาคใต้เข้ามาใช้ในช่วงการแสดงอิสลามเนื่องจากภาคใต้เป็นพื้นที่ที่มีประชากรชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมการพันผ้าในรูปแบบของหญิงสาวชาวมุสลิม

ภาพที่ ๓ การออกแบบท่าทางแสดงแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาอิสลาม

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          ผู้วิจัยนำท่าทางการละหมาด จัดรูปแบบที่มีระดับไม่เท่ากันซึ่งแสดงให้เห็นถึงระดับชั้นในสังคมพร้อมกับให้หน้ามาหาผู้ชมและแสดงความเคารพโดยใช้ท่าละหมาด ผู้วิจัยต้องการแสดงให้ผู้ชมเห็นว่าชาวอิสลามถูกสอนให้รักและเคารพทุกคนไม่ว่าผู้นั้นจะอยู่ระดับใดก็ตาม

ภาพที่ ๔ การออกแบบท่าทางแสดงแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาอิสลาม

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          ผู้วิจัยได้นำผ้าวางไว้สามผืน และเลือกให้นักเต้นชายเดินบนผืนกลางเนื่องจากหลักคำสอนของชาวพุทธที่ยึดถือปฏิบัติคือการเดินทางสายกลาง ส่วนนักเต้นที่เหลือแสดงให้เห็นถึงความเคารพในศาสนาของตน

ภาพที่ ๕ การออกแบบท่าทางแสดงแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศาสนาพุทธ

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          ผู้วิจัยนำผ้าไขว้กันในแนวตั้ง ออกแบบให้ได้สัญลักษณ์ไม้กางแขนที่แสดงถึงสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์

ภาพที่ ๖ การออกแบบท่าสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          ผู้วิจัยออกแบบให้นักเต้นยืนซ้อนกันและเห็นเพียงมือที่มีมากมาย ตามแบบรูปปั้นในลัทธิขงจื้อ

ภาพที่ ๗ การออกแบบท่าทางแสดงแนวคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจจากลัทธิขงจื้อ

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          การคำนึงถึงการออกแบบเสียงและดนตรีประกอบ

          การใช้ดนตรีเพื่อค้นหาการเคลื่อนไหว อาศัยประสบการณ์เพื่อความเข้าใจในเครื่องดนตรี เสียง และจังหวะ ดนตรีถือเป็นเครื่องกระตุ้นวัตถุดิบการเคลื่อนไหวให้ออกมาได้เป็นอย่างดี “ดนตรีเป็นส่วนสำคัญสำหรับตนเองที่จะกระตุ้นให้เกิดจินตนาการและรูปแบบการสร้างสรรค์การสร้างเคลื่อนไหว”      (ธนกร สรรย์วราภิภู, ๒๕๕๘ : ๒๒)

          การคำนึงถึงการออกแบบเครื่องแต่งกาย

          การแต่งกายจะเป็นชุดสีขาวรัดสะเอวด้วยผ้าสีเหลืองอ่อน มัดข้อมือด้วยผ้าสีเหลืองอ่อนเช่นกัน และใช้ผ้าชีฟองสีเหลืงอ่อน แสดงสื่อถึงเรื่องราวที่นำจะเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์ร่วมสมัย โดยใช้หลักการใช้สี ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัจฉรา สโรบล โดยสีสามารถแสดงถึงอารมณ์และความรู้สึกได้เช่น สีแดง สีส้ม สีเหลือง จะให้ ความรู้สึกถึงความกระตือรือร้น ความตื่นเต้น ทําให้เกิดความรู้สึก สดใส แจ่มใส ส่วนสีนํ้าเงิน สี เขียว สีม่วง ทําให้มีความรู้สึกสุขุม เคร่งขรึม สงบสบาย ความรู้สึกและคุณภาพของสีมีความสําคัญต่อการวางแผนตกแต่งบ้านหรือที่ ทํางาน และเช่นเดียวกับการเลือกสีเกี่ยวกับเสื้อผ้าด้วย เช่น ในห้องอาหารหรือฟาสท์ฟู๊ด ( fast – food )  ส่วนมากจะใช้สีที่สดใส สบาย ๆ เพื่อจะชักชวนให้ลูกค้าเข้ามาสั่งอาหารและทานอาหารได้ มาก ๆ  ส่วนสีที่ออกไปทางนํ้าเงินหรือสีเขียว ส่วนมากจะใช้กับที่ที่ต้องการจะให้ความรู้สึกสบาย ๆ พักผ่อน  ร้านหมอหรือโรงพยาบาล ส่วนมากจะเป็นสีขาวหรือสีอ่อน ๆ ให้ความรู้สึกว่าสะอาด       นักธุรกิจในระดับผู้บริหารชั้นผู้ใหญ่ ส่วนมากจะใช้เสื้อสูทสี deep blue หรือสีนํ้าเงินเข้มเพราะดูแล้วจะมีลักษณะน่าเกรงขาม สุขุม

          สำหรับการแสดงชุดนี้ เป็นการแสดงที่เกี่ยวข้องกับศาสนาที่อยู่ร่วมกันในชุมชนบ้านแขก จึงเลือกใช้ชุดสีขาวซึ่งเป็นสีที่มองแล้วรู้สึกเงียบสงบ และใช้ผ้าสีไข่ให้เกิดความแตกต่างยึดสีที่มองแล้วเรียบกลมกลืนกับชุดสีขาวเพื่อให้เกิดความลงตัว ซึ่งประกอบด้วยชุดการแสดงมีดังต่อไปนี้

  • เสื้อแขนยาวสีขาว
  • กางเกงแม้วสีขาว
  • ผ้าคาดเอวสีเหลืงอ่อน

 

เครื่องแต่งกาย  

          เครื่องแต่งกายผู้วิจัยเลือกใช้โทนสีขาว เนื่องจากนำความหมายจากสีขาวในธงชาติไทยเป็นหลักในการเลือกสี โดยให้ความหมายไว้ว่าสีขาวคือสีแทนศาสนา ความบริสุทธิ์ โดยผู้วิจัยได้เลือกใช้เครื่องแต่งกาย ดังนี้

  • เสื้อแขนยาวสีขาว เพื่อมุ่งเน้นสีขาวมากกว่าผิวกายของผู้แสดง
  • กางเกงแม้วสีขาว ให้ความรู้สึกในวัฒนธรรมของเอเชีย เนื่องจากการแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในครั้งนี้มีการใช้ท่าทางประกอบการแสดงที่นำมาจากวัฒนธรรมจากภูมิภาคเอเชียเป็นส่วนมาก
  • ผ้าคาดเอวสีเหลืงอ่อน เพื่อเน้นสรีระของนักเต้นไม่ให้ดูแข็งจนเกิดไปและเลือกใช้สีไข่ไก่เพื่อให้เกิดมิติในการแต่งกายไม่เป็นสีเดียวกันไปทั้งหมด

ภาพที่ ๘ : เครื่องแต่งกาย

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

          การคำนึงถึงการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง

          ผู้วิจัยนำผ้าชีฟองสีเหลืองเข้ามาประกอบการแสดงเนื่องจากผ้าชีฟองให้ความรู้สึกที่เบา สบายสอดคล้องกับความเชื่อในศาสนาที่ไม่ข้องเกี่ยวกับความรุนแรง และสามารถเปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบต่าง ๆ ได้ นอกจากนั้นผู้วิจัยเลือกใช้สีเหลืองเนื่องจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าชาวบ้านในชุมชนและนอกชุมชนจะเข้าร่วมทำกิจกรรมร่วมกันในวันพ่อ โดยในขณะนั้นสีประจำพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ คือสีเหลือง อีกทั้งผู้วิจัยต้องการสร้างลักษณะที่แตกต่างในแต่ละศาสนาโดยการนำมาพันกายในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

ภาพที่ ๙ อุปกรณ์ประกอบการแสดง

(ที่มา : ผู้วิจัย)

 

ศาสนาอิสลาม

          ผู้หญิงในศาสนาอิสลาม จะมีการโพกผ้าคลุมศรีษะหรือที่เรียกว่าการ “คลุมฮิญาบ”เปรียบเสมือนเครื่องหมายที่บ่งบอกความเป็นมุสลิม โดยมีความเชื่อในการปิดร่างกายให้มิดชิดโดยเฉพาะในผู้หญิงมุสลิม

ภาพที่ ๑๐ การแต่งกายศาสนาอิสลาม

(ที่มา : ด้านซ้าย ผู้วิจัย, ด้านขวา http://darkroom.baltimoresun.com/wp-content/uploads/2013/07/AFPGetty-521239254.jpg)

ศาสนาพุทธ

          ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการพันผ้าสไบของผู้หญิงไทยเข้ามาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อแสดงออกถึงศาสนาพุทธ

 

ภาพที่ ๑๑ การแต่งกายศาสนาพุทธ

(ที่มา : ด้านซ้าย ผู้วิจัย, ด้านขวา http://topicstock.pantip.com/camera/topicstock/ 2009/02/O7514399/O7514399-11.jpg)

 

ศาสนาคริสต์

          ผู้วิจัยได้นำรูปแบบการคล้องผ้าด้านหน้าให้อยู่บริเวณหน้าอกและปล่อยชายทั้งสองไว้ด้านหลัง จากภาพจิตรกรรมในโบสถ์ของศาสนาคริสต์

ภาพที่ ๑๒ การแต่งกายศาสนาคริสต์

(ที่มา : ด้านซ้าย ผู้วิจัย, ด้านขวา https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons /9/98/Aachen_cathedral_009.JPG)

 

ลัทธิขงจื้อ

          ผู้วิจัยได้ออกแบบให้นำผ้าคล้องไว้ที่บริเวณข้อพับแขน โดยปล่อยชายผ้าทั้งสองด้านไว้ด้านหน้า ผู้วิจัยได้รับการคล้องผ้าในรูปแบบนี้จากจิตรกรรมภาพวาดในศิลปะจีน

 

ภาพที่ ๑๓ การแต่งกายลัทธิขงจื๊อ

(ที่มา : ด้านซ้าย ผู้วิจัย, ด้านขวา https://www.adssell.net/storage/content_image/ 58/287222/287222_4_2075536657.jpg)

สรุป

          การดำเนินการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย ชุด เราอยู่ร่วมกัน ผู้วิจัยได้ดำเนินการค้นหา            แนวทางการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยจากการตั้งประเด็นคำถามในการสร้างสรรค์สู่องค์ประกอบ     การสร้างสรรค์การแสดงนาฏยศิลป์ร่วมสมัยตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยในด้านต่าง ๆ ทั้งการคำนึงถึงการออกแบบโครงเรื่องการแสดงที่นำลักษณะเด่นของคำสอนด้าน      การอยู่ร่วมกันมาใช้วางโครงเรื่อง การคำนึงถึงการออกแบบการเคลื่อนไหวที่ผู้วิจัยได้ให้ความสำคัญ            ในการเลือกใช้ท่าทางที่สามารถสื่อความหมายของโครงเรื่องที่ได้ถูกวางไว้ให้เกิดความชัดเจนมากที่สุดตามข้อมูลที่ได้ศึกษา การคำนึงถึงการออกแบบเสียงและดนตรีประกอบที่มุ่งเน้นการกระตุ้นจินตนาการและสร้างบรรยากาศการแสดงให้ผู้ที่ได้รับชมเกิดความคล้อยตามทางอารมณ์ การคำนึงถึงการออกแบบเครื่องแต่งกายที่เรียบง่ายสอดคล้องกับแนวคิดทางศาสนา และการคำนึงถึงการออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดงที่สามารถนำมาใช้พัฒนา สนับสนุนการแสดงให้เกิดรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เห็นได้ว่าการตั้งประเด็นคำถามในแต่ละองค์ประกอบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ร่วมสมัยเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้สร้างสรรค์ผลงานมีเป้าหมายในการดำเนินการ อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยในการศึกษาหาข้อมูลที่จะมุ่งเน้นไปยังประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการสร้างสรรค์ให้เกิดผลงานที่มีลักษณะเฉพาะและมีความแตกต่างออกไปจากการแสดงนาฏยศิลป์ชิ้นอื่น ๆ

 

เอกสารอ้างอิง

ชนัญรักฒ์ สุวรรณวัฒน์.  (๒๕๖๐, ๑๗ กุมภาพันธ์).  อาจารย์ ประจำสาขาธุรกิจอิสลามศึกษา

                    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.  สัมภาษณ์.

ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์. (๒๕๖๐). การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ

                    ปี พ.ศ.๒๕๓๓. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนกร สรรย์วราภิภู.  (๒๕๕๘). กระบวนการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ร่วมสมัย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,

                    (๒), ๑๗-๒๙.

นราพงษ์ จรัสศรี. (๒๕๖๐, ๗ กุมภาพันธ์).  ศาสตราจารย์ ประจำภาวิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

                    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.  สัมภาษณ์.

อภิธรรม กำแพงแก้ว. (๒๕๔๔). งานออกแบบท่าเต้น. วารสารศิลปกรรมศาสตร์, (๑), ๒๑-๒๘.

Abdullah Faliq. (2010). Islamophobia and Anti-Muslim. Hatred: Causes&Remedies.

                    Arches Quarterly.  London: The Cordoba Foundation.

การประกวด ไอโออิ ไวรัล วิดีโอ คอนเทส

ชื่อผลงานทางวิชาการ การประกวด ไอโออิ ไวรัล วิดีโอ คอนเทส

ข้อมูลเพิ่มเติม : ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 2 (ที่ 3)  ณ โรงภาพยนตร์เซนจูรี่ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ในวันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา สาขาวิชาการการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บ้านสมเด็จฯ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ที่ 3)  ไอโออิ ไวรัล วิดีโอ คอนเทส จากการประกวด ไอโออิ ไวรัล วิดีโอ คอนเทส  “Aioi Viral Video Contestในวันศุกร์ที่  17 พฤศจิกายน 2560  ณ โรงภาพยนตร์เซนจูรี่ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) รายละเอียดของคลิปวิดีโอ(หนังสั้น) นี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประกันภัยใส่ใจความสุข เป็นรางวัลแห่งชัยชนะ ความภาคภูมินี้ สำเร็จได้ ต้องขอชมเชย อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญาและทีมงาน อาจารย์สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่ปรึกษา ได้ส่งทีมนักศึกษาในสาขาเข้าประกวดหลายทีม และทีมที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 (ที่ 3) คือ ทีม “ไฟลอยคอยรัก” ได้รับเงินรางวัล 20,000 บาท ประกอบด้วย

  1. 1. นายพงศกร เปี่ยมสะอาด
  2. 2. นายเอกชัย เรืองศรีเต้ย
  3. 3. นายธิติสรร ชุณหะชา

อนึ่ง ในการประกวดครั้งนี้ อาจารย์ณัฏฐ์ เดชะปัญญา ได้ทุ่มเทสรรพทั้งกำลังกาย กำลังใจ เสียสละเวลา  เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์ รวมทั้งฝึกปฏิบัติทีมที่เข้าประกวดอย่างเข้มข้น จนได้รับรางวัลรองชนะเลิศในครั้งนี้ ถือเป็นเกียรติประวัติอันนำชื่อเสียงมาสู่อาจารย์ผู้สอน ที่ปรึกษา สาขาวิชา  คณะ     และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

การประกวด ไอโออิ ไวรัล วิดีโอ คอนเทส ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ของประเทศ

ติดตามรายละเอียดได้ที่  

https://www.facebook.com/NuttNexus/media_set?set=a.10210943016391156.1073741833.1225794799&type=3