การนำไปใช้ประโยชน์จากสาระของแผนการศึกษาแห่งชาติ : การขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 สู่การปฏิบัตินั้นจะเห็นว่า การจัดทำแผนขึ้นมาเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอน โดยมุ่งเพิ่มโอกาสและความเสมอภาคในการเข้าถึงบริหารการศึกษาที่มีคุณภาพและมาตรฐานของประชาชนทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพของการบริหารจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนา

       กำลังคนที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศและสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน ความสำเร็จของการขับเคลื่อนแผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579 สู่การปฏิบัติขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญหลายประการ ประกอบด้วย สาระของแผนฯ ที่มีความชัดเจนครบถ้วนและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายและทุกระดับการศึกษาต้องผลักดันให้ระบบการจัดสรรงบประมาณไปตามทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาของแผนการศึกษาแห่งชาติ แนวทางในการขับเคลื่อน อาทิเช่น

       1) สร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงความสำคัญในการขับเคลื่อนผลักดันไปสู่การปฏิบัติโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานหรือองค์การและภาคีทุกภาคส่วนและสร้างเครือข่ายให้ข้อมูลข่าวสารกระจายไปยังพื้นที่ต่างๆ จัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ฉบับประชาชน ดังนี้

 

       2) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579 ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล แผนพัฒนาการศึกษาระยะ 5 ปี แผนปฏิบัติรายการ ระยะ 4 ปี และแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน องค์กร โดยผลักดันให้แนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์บูรณาการกับตัวชี้วัด

       3) ปรับปรุงกฎหมาย กฎ และระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาในระดับต่างๆ ปรับปรุงกฎหมายให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ ลดความซ้ำซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการจัดการศึกษา เช่น กฎหมายการพัฒนาเด็กปฐมวัย ฯลฯ เป็นต้น

       4) สร้างช่องทางให้ประชาสังคมมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วม ทุกระดับนโยบายและพื้นที่

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : จากสาระของแผนการศึกษาแห่งชาติ 2560 – 2579 นี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยเฉพาะในส่วนบทบาทหน้าที่ของคณะครุศาสตร์ที่มีหน้าที่ผลิตบัณฑิตสานวิชาชีพครู จำเป็นต้องนำสาระดังกล่าวไปกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการผลิตบัณฑิตครูเพราะครูคือบุคคลที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้เป็นครูที่ดีให้ได้กล่าว คือ

       ครูต้องรู้จักแผนการศึกษาแห่งชาติทุกฉบับ โดยเฉพาะปัจจุบัน เพราะสถาบันผลิตครูมุ่งผลิตครูตามศักยภาพและความต้องการของผู้เรียนที่ให้ความสำคัญในปริญญามากกว่าความรู้และสมรรถนะที่ตอบสนองความต้องการของแรงงาน ส่งผลให้เกิดปัญหาครูเกินและขาดแคลนในบางสาขาวิชาโดยเฉพาะสาขาวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และภาษาไทย การที่สถาบันผลิตครูมุ่งผลิตในเชิงพาณิชย์ย่อมส่งผลต่อคุณภาพของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาขาดทักษะ ความรู้ ความสามารถและสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครู ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล ผู้เรียนจึงส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียน

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร