บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
ในการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติซึ่งผู้วิจัยมีวิธีดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน ดังนี้
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง แขวงดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 271 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง เขตดอนเมือง แขวงดอนเมือง กรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 28 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Group Sampling) โดยใช้ ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย
- 1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ จำนวน 6 แผน แผนละ 2 คาบ รวมเวลา 12 คาบ
- 2. แบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งวัดคุณลักษณะด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ จำนวนคุณลักษณะละ 10 ข้อ รวมเป็น 30 ข้อ
ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ
การสร้างแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติขั้นตอนการสร้างดังนี้
1. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมมี 5 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นเตรียมนำเข้าสู่บทเรียน 2.ขั้นแสดงบทบาทสมมุติ 3.ขั้นทำงานกลุ่มระดมสมอง 4.ขั้นทำงานกลุ่ม 5.ขั้นสรุป
2. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 หนังสือแบบเรียน คู่มือประกอบการจักกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะชีวิตของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาทักษะชีวิตตามหลักสูตรกนกลางศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ
3. สร้างแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ และครอบคลุมเนื้อหา เรื่อง ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ โดยแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละแผน ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับหัวข้อเรื่อง สาระ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระสำคัญ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมิน และแบบบันทึกการเรียนรู้ โดยให้ครบตามจำนวนที่ใช้จริงในการทดลอง ซึ่งมีจำนวน 6 แผน ดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความกตัญญูกตเวที
(ต่อพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) จำนวน 2 คาบ
2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความกตัญญูกตเวที
(ต่อพระมหากษัตริย์) จำนวน 2 คาบ
3. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต
(ต่อตนเอง ต่อหน้าที่ ต่อหมู่คณะ) จำนวน 2 คาบ
4. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความซื่อสัตย์สุจริต
(ทางกาย) จำนวน 2 คาบ
5. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความเสียสละ
(ทางกาย) จำนวน 2 คาบ
6. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ความเสียสละ
(ทางวาจา) จำนวน 2 คาบ
สำหรับแบบบันทึกการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ ประกอบไปด้วยขั้นต่างๆเพื่อให้นักเรียนใช้สำหรับดำเนินการให้มีเหตุผลเชิงจริยธรรมประกอบด้วยมี 5 ขั้นตอนคือ 1. ขั้นเตรียมนำเข้าสู่บทเรียน 2. ขั้นแสดงบทบาทสมมุติ 3.ขั้นทำงานกลุ่มระดมสมอง 4.ขั้นทำงานกลุ่ม 5. ขั้นสรุป
4. นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ แก้ไขปรับปรุง แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน (ดูรายนามผู้ทรงคุณวุฒิในภาคผนวก ก.) ตรวจพิจารณาความเหมาะสมทางด้านเนื้อหา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีความเหมาะสมมากที่สุดและความสอดคล้องของส่วนต่างๆ ของแผนได้ค่าความสอดคล้องทุกข้อเท่ากับ 1.00 เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีส่วนประกอบต่างๆ สอดคล้องกัน
5. นำข้อเสนอแนะที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำมาปรับปรุง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ
6. นำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบอีกครั้งก่อนนำไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้ากับกลุ่มตัวอย่าง
การสร้างแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม
ลักษณะของการสร้างแบบทดสอบวัดการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม เรื่อง ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ เรื่องละ 10 ข้อ เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ใช้ทดสอบก่อนและหลังการทดลองมีขั้นตอนการสร้างดังนี้
1. ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของ โคลเบิร์ก และแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมตามทฤษฎี โคลเบิร์ก เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเขียนเหตุผลเชิงจริยธรรม
2. ศึกษาแบบทดสอบการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมจากงานวิจัย ด้านการศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมเพื่อนำมาเป็นตัวอย่างในการสร้างแบบทดสอบการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. นำแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมให้ประธานและกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ตรวจสอบความถูกต้อง และมาปรับปรุงแก้ไข
4. นำแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบความถูกต้อง ความสอดคล้องด้านเนื้อหา และการใช้ภาษาได้ผลค่า IOC (0.66-1.00)
5. นำแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมพร้อมคำแนะนำปรึกษาประธานและกรรมการที่ปรึกษาสารนิพนธ์ แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เหมาะสม
6. นำแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมไปทดสอบกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 28 คน ใช้เวลาทำการทดสอบ 50 นาที นำแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ระดับที่ 1 ปฏิบัติในสิ่งที่หลบหลีกไม่ให้ตนเองถูกลงโทษ ให้คะแนน 1 คะแนน
ระดับที่ 2 ปฏิบัติในสิ่งที่ได้รางวัล ให้คะแนน 2 คะแนน
ระดับที่ 3 ปฏิบัติในสิ่งที่ทำตามผู้อื่นเห็นชอบ ให้คะแนน 3 คะแนน
ระดับที่ 4 ปฏิบัติในสิ่งที่เห็นเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมได้ ให้คะแนน 4 คะแนน
กำหนดการแปลความหมายของคะแนนดังนี้
คะแนน30-51 หมายถึง มีเหตุผลเชิงจริยธรรมระดับที่ 1
คะแนน 52-75 หมายถึง มีเหตุผลเชิงจริยธรรมระดับที่ 2
คะแนน 76-99 หมายถึง มีเหตุผลเชิงจริยธรรมระดับที่ 3
คะแนน 100-120 หมายถึง มีเหตุผลเชิงจริยธรรมระดับที่ 4
จากการตั้งเกณฑ์การให้คะแนนระดับเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยนำคะแนนตั้งแต่ 30 คะแนนลบด้วย 120 คะแนนหารด้วยระดับเหตุผลโดยแบ่งค่าการให้คะแนนเท่ากัน
7. วิเคราะห์เนื้อหาและผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ เรื่อง ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบให้เหตุผลเชิงจริยธรรม
8. สร้างแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม เรื่อง ด้านความกตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความเสียสละ
สร้างเกณฑ์การให้คะแนนพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. นำแบบทดสอบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบ แก้ไข แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ตรวจพิจารณาความเหมาะสมตรงตามเนื้อหา ความถูกต้องในการใช้ภาษา และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเกณฑ์การตรวจแบบทดสอบ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข แบบทดสอบและการตรวจให้คะแนน
2. นำแบบทดสอบวัดพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม ที่ปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2554 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง แล้วนำคะแนนจากการทำแบบทดสอบของนักเรียนมาวิเคราะห์หาคุณภาพของแบบทดสอบ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของข้อสอบมีความเที่ยงตรงใช้ได้ โดยนักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ค่าตั้งแต่ 80 ขึ้นไป
3. นำแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้วไปใช้เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และ แบบทดสอบหลังเรียนกับกลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ตามแบบแผนการทดลอง แบบหนึ่งกลุ่มสอบก่อน สอบหลัง ซึ่งมีแบบแผนการทดลอง ดังนี้
กลุ่มตัวอย่าง |
สอบก่อน |
การทดลอง |
สอบหลัง |
R |
T1 |
X |
T2 |
สัญลักษณ์ที่ใช้ในแบบแผนการวิจัย
T1 แทน การทดสอบก่อนการทดลอง
T2 แทน การทดสอบหลังการทดลอง
X แทน การจัดกิจกรรมพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม
R แทน กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่ม
การดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามขั้นตอนดังนี้
1. ผู้วิจัยนำหนังสือขอความร่วมมือในการทำวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อขอความร่วมมือในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ถึง ผู้อำนวยการโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่าง
2. ผู้วิจัยเก็บข้อมูลพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม กับกลุ่มตัวอย่าง ก่อนการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาในการทดสอบ 1 คาบ
3. ผู้วิจัยดำเนินการสอนด้วยตนเองตามแผนการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม จำนวน 12 ชั่วโมง
4. เมื่อผู้วิจัยสอนครบชั่วโมงตามที่กำหนดแล้ว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม กับกลุ่มตัวอย่าง หลังการทดลอง โดยใช้แบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมชุดเดิม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เวลาในการทดสอบ เท่าเดิม
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดการจัดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติของกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยมีการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
1. วิเคราะห์ข้อมูลหา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ของคะแนนเหตุผลเชิงจริยธรรม ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ และคำนวณค่าความถี่ ของจำนวนนักเรียนตามช่วงคะแนนเหตุผลเชิงจริยธรรม
2. เปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียนรู้เหตุผลเชิงจริยธรรมโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยการทดสอบค่าทีแบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน ( t – test for (dependent Group Sampling)