การวิจัยเรื่อง “ มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ” เป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ผลงานด้านการประพันธ์เพลง   เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยดิม   และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย   ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์   มีท่วงทำนองดนตรีไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิก

ผลงานการวิจัยเรื่องนี้   ได้นำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติ  “ ดนตรีคลาสสิกของภูมิภาคอาเซียนบนเวทีโลก “

 


 

“มหาบุรุษรัตนโนดม” บทเพลงเทิดพระเกียรติ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

Mahaburutratanodam” the Symphinic Poem of Somdet  Chaopraya‘s Honor

 

เอกชัย   พุหิรัญ

วิทยาลัยการดนตรี   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

             การวิจัยเรื่อง มหาบุรุษรัตนโนดม  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมด้านการประพันธ์เพลง  เพื่อเป็นการอนุรักษ์บทเพลงไทยเดิม โดยใช้วิธีการนำบทเพลงไทยเดิมมาปรับแต่งและเรียบเรียงให้เป็นลักษณะดนตรีสากล และเพื่อเป็นการเชิดชูเกียรติในช่วงปีวันครบรอบวันพิราลัย ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์  บทเพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์นี้ เป็นงานสร้างสรรค์เกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ด้านดนตรีคลาสสิกคุณค่าทางภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ทางศิลปะด้านดนตรีไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติที่สังเคราะห์ออกมาเป็นผลงานด้านการประพันธ์เพลงในรูปแบบซิมโฟนิกโพเอ็มเพื่อสร้างความตระหนักรู้ปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับการสืบสานและเผยแพร่ดนตรีสำเนียงไทยผสมผสานกับดนตรีคลาสสิกสู่สากล ให้เกิดความภาคภูมิใจทางวัฒนธรรมและดนตรีไทยที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่มีต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม

 

             ส่วนที่ 1 “มหาบุรุษรัตโนดม” แนวคิดของการประพันธ์เพลงนี้เป็นวิธีการประพันธ์ภายใต้กรอบดนตรีคลาสสิคของดนตรีคลาสสิกที่ผนวกรวมเข้ากับสำเนียงดนตรีไทย ดนตรีตะวันออกกลางและดนตรีตะวันตกและนำเทคนิคดนตรีคลาสสิกศตวรรษที่ยี่สิบ สอดแทรกเข้าไว้ในบทประพันธ์เพลง ทฤษฎีที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยการศึกษาดนตรี บันไดเสียงประสม (Mixed Scale) ระหว่างดนตรีไทยเดิมกับดนตรีตะวันตก อัตราจังหวะประสม (Mixed Meter) โพลีริธึม (Polyrhythm) โพลีโทนาลิตี (Polytonality) การคัดทำนอง (Quotation) และศึกษาผลงานและแนวคิดของนักประพันธ์ท่านอื่นๆ เป็นบทเพลงรูปแบบซิมโฟนิคโพเอ็มบรรยายเรื่องราว โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐานในการประพันธ์ โดยใช้เพลง “พระอาทิตย์ชิงดวง” เป็นวัตถุดิบหลักที่นำมาขาย มีการผสมผสานระหว่างดนตรีไทยกับดนตรีไทยกับดนตรีตะวันตก ใช้การปรับเปลี่ยนเทคนิคการประพันธ์เพลง เนื่องจากในบทประพันธ์เพลงไทยเดิมทั่วไปจะมีลักษณะพื้นผิวแบบ Heterophonic และการพัฒนาบทเพลงในลักษณะยึดทำนองหลักเป็นแกนในการไปสร้างทำนองแปรในแต่ละเครื่องดนตรี ผู้ประพันธ์ได้ผสมการใช้พื้นผิวแบบ Biphonic โดยมีการใช้เทคนิค Drone ในแนวเสียงต่ำ โดยมีการนำทำนองเพลงไทยเดิมมาเป็นพื้นฐาน บรรเลงโดยวงออร์เคสตรา

 

วีดีโอเพลง “มหาบุรุษรัตนโนดม” สำหรับวงออร์เคสตรา

 

             ส่วนที่ 2 เป็นการทดลองนำเทคนิคการประพันธ์ของดนตรีตะวันตกมาผสมผสานกับดนตรีไทย เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของเชื้อชาติกำเนิดและการติดต่อปฏิสัมพันธ์กันระหว่างท่านกับชาวต่างชาติ ผู้ประพันธ์ได้ทดลองสร้างรูปแบบการประพันธ์แบบใหม่ที่เรียกว่า Hexagonal Form เฮกซาโกเนล ฟอร์ม คื สังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสม รูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และเซฟชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะบรรเลงถอยหลังทับซ้อนกับเพลงเดิมในท่อนที่สองเพื่อเป็นการขยายบทเพลงไทยเดิมรูปแบบใหม่ที่ผู้ประพันธ์ทดลองสร้างขึ้นมา การใช้โมดและบันไดเสียงโฮลโทน ซึ่งเป็นบันไดเสียงที่มีลักษณะการแบ่งเสียงเท่าๆ คล้ายๆ กับบันไดเสียงของไทยแต่ระดับเสียงที่แท้จริงยังไม่เท่ากัน เนื่องจากบันไดเสียงของไทยแบ่งออกเตฟเป็น 1 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบันไดเสียงโฮลโทนแบ่งเป็น 6 เสียง เท่าๆกัน การใช้บันไดเสียงเพนตาโทนิค โดยใช้การประสานเสียงแบบการประกอบขั้นคู่ซ้อนกันตามรูปแบบของบันไดเสียงที่ใช้บรรเลงโดยวงแชมเบอร์

กระบวนการ

             โดยปกติลักษณะของท่อนเพลงจะมีลักษณะอยู่ในแนวราบ การสร้างงานของผู้ประพันธ์ส่วนใหญ่เป็นในลักษณะ 2 มิติ ผู้ศึกษาจึงได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่น ฟอร์มบนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนีโดยผู้ประพันธ์แต่งบทเพลงในท่อนแรก ซึ่งเรียก ท่อนปฐมก่อน จะสั้นหรือยาวก็ได้ ที่ศึกษาทดลองได้ใช้เพลงไทยเดิม 1 ท่อน 8 ห้องเพลงจากนั้นให้ทำเป็นรูปแบบวาริเอชั่นอีก 5 แบบ ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ข้อกำหนดมีอยู่ว่าต้องอยู่บทเวลาที่เท่ากัน เพราะตอนบรรเลงจะบรรเลงไปพร้อมๆกัน

ผู้ศึกษาได้ทดลองนำบทเพลงไทยเดิมสั้นๆ ประมาณ 8 ห้องเพลง เริ่มการสร้างให้มีองค์ประกอบดนตรี ทั้ง วลี ประโยคเพลง ประโยคถาม – ตอบ ไคลแมกซ์ เคเดนซ์ ต่างๆ เป็น 1 เซกชั่นแล้วสร้าง วาริเอชั่น อีก 5 เซกชั่น โดยจำกัดห้องเพลง และความยาวต้องเท่าๆกัน ได้ทดลองการวางรูปแบบสังคีตลักษณ์รูปแบบใหม่ที่พัฒนามาจาก วาริเอชั่น และ เซกชั่นฟอร์ม บนพื้นผิวแบบ เฮทเธอโรโฟนี จากนั้นนำวาริเอชั่นมาทับซ้อนกับแบบมีหลักการ จะได้เซกชั่นเพิ่มมาอีก 5 เซกชั่น รวมเป็น 6 เซกชั่น แล้วในแต่ละเซกชั่นที่นำมาซ้อนจะสร้างแกนเพลงโดยนำแนวทำนองมาประพันธ์แบบถอยหลังจากห้องสุดท้ายไปห้องแรกในแต่ละเซกชั่น จะทำให้เกิดแกนในมิติที่ 3 ซึ่งสร้างจากตัวของบทเพลงเอง

ผลการวิจัย

             Hexagonal Form ซึ่งเป็นสังคีตลักษณ์ในลักษณะ 6 ตอน ที่มีความสมดุลกัน โดยมีลักษณะผสมรูปแบบ รอนโดฟอร์ม วาริเอชั่นฟอร์ม และ เซกชั่นฟอร์ม และมีแกนย้อนกลับในลักษณะมิติที่ 3

 

             ส่วนที่ 3 “ชงโค” สำหรับวงซิมโฟนิคแบนด์ ซึ่งจะเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการเชิดชูเกียรติในสมัยปัจจุบัน โดยใช้เพลง “ช่อชงโค” ที่เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์ในรูปแบบวงซิมโฟนิคแบนด์ที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่ากับเครื่องกระทบเป็นหลัก ซึ่งจะคล้ายกับรูปแบบวงเดิมที่บรรเลงเพลงช่อชงโค ที่บรรเลงจากวงบิ๊กแบนด์ เพลงนี้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ผู้ประพันธ์ได้นำมาเรียบเรียงประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยนำเอาโมทีฟบางส่วนของประโยคเพลง มาขยายให้เป็นลักษณะเซกชั่นเนลฟอร์ม ที่ฟังคล้ายๆรอนโดฟอร์ม ในส่วนท้ายท่อนนี้จะได้ยินประโยคเต็มของบทเพลง ช่อชงโค ทั้งเพลง บรรเลงโดยวงซิมโฟนิคแบนด์

วีดีโอเพลง “ชงโค” สำหรับวงวินด์ซิมโฟนี

 

การเผยแพร่เพิ่มเติม

วีดีโอเพลง “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์​” สำหรับวงบิ๊กแบนด์(รายการโทรทัศน์ช่อง MONO 29)