ชื่อผลงานทางวิชาการ : Power Point การบรรยาย เรื่อง การศึกษาไทย 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : เอกสาร , Power Point สรุปสาระการบรรยายของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : โครงสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “ การปฏิรูปการศึกษาไทยสู่ผลลัพท์ Thailand 4.0 ” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 ของสมาคมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 – 22 เมษายน 2560 ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต ศูนย์การค้ารังสิต จังหวัดปทุมธานี

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ สินลารันต์ สรุปโดย รองศาสตราจารย์ ศรีมงคล เทพเรณู ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสตรีวัดระฆัง และผู้เข้าร่วมประชุมสัมมนา

 

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของเนื้อหา : มี 3 แนวคิด คือ

       แนวคิดที่ 1. การศึกษาไทย 4.0 : การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ หลักคิด คือ การแก้ปัญหาบริโภคนิยม เน้นที่ผลผลิต Productive Education/Produce Oriented Education

       แนวคิดที่ 2. การศึกษา 4.0 การพัฒนาเพื่อพัฒนานวัตกรรม To Take maximum advantage of the imagination , Knowledge , Production problem solving an apportunity generating protentials of children and youth together with their adult collaborators

       แนวคิดที่ 3. การศึกษา 4.0 การศึกษาเพื่อสนองตอบต่อการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุค 4.0 เป็นการจัดการศึกษาเพื่อสนองต่อความต้องการใหม่ๆ ของเทคโนโลยีโดยผสมผสานความก้าวหน้าใหม่ๆ เพื่อพัฒนานวัตกรรม

สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาการบรรยาย : แนวคิดที่ 1 การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ

Creative and Productive Education (CPE)

หลักสูตร  – ภูมิปัญญาไทย

– กระบวนการแสวงหาความรู้

– นวัตกรรมใหม่

– ทางเลือก

คุณลักษณะผู้เรียน  – Thai Pride

– Social Concerned

– Break Through Thinker

– Smart Consumer

– Criticality Based

กระบวนการสอน  – Creativity Based

– Productivity Based

– Responsibility Based

การบริหารองค์กร  – บริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

– การเน้นผลผลิต

– การบริหารเชิงวิจัย

– วัฒนธรรมองค์กร

แนวคิดที่ 2. การพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มศักยภาพและสร้างนวัตกรรม

Moving from Education 1.0 to Education 4.0

การศึกษา 1.0 (ยุคดาวน์โหลด)

การศึกษา 2.0 (ยุค Open Access)

การศึกษา 3.0 (ยุคสร้างองค์ความรู้)

การศึกษา 4.0 (ยุคสร้างนวัตกรรม)

ความหมายของการศึกษา

ครูบอกให้เชื่อตาม

สร้างองค์ความรู้ร่วมกันด้วยความช่วยเหลือจากอินเตอร์เน็ต (ที่การเข้าถึงยังจำกัด)

สร้างองค์ความรู้ร่วมกันและสร้างความรู้เดิมขึ้นมาใหม่

สร้างความรู้จากความสนใจรายบุคคลและจากการรวมตัวของคนที่มีแรงผลักดันเป็นทีม เช่น ทีมที่มีนวัตกรรมเป็นจุดเน้น

บทบาทของเทคโนโลยี

 ยึดติดกับห้องเรียน (ผู้ลี้ภัยสู่โลกดิจิทัล)  เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีอย่างระมัดระวัง  เทคโนโลยีมีอยู่ทุกที่ (ชาวดิจิทัลโดยกำเนิดในจักรวาลดิจิทัล) เพื่อการสร้างองค์ความรู้และส่งผ่านองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนแห่ง  เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปตามผู้เรียนซึ่งผุ้เรียนเป็นแหล่งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีที่สำคัญในการสร้างนวัตกรรม

(ต่อ) Moving from Education 1.0 to Education 4.0

การศึกษา 1.0 (ยุคดาวน์โหลด)

การศึกษา 2.0 (ยุค Open Access)

การศึกษา 3.0 (ยุคสร้างองค์ความรู้)

การศึกษา 4.0 (ยุคสร้างนวัตกรรม)

บทบาทด้านการสอน

 ครูสอนนักเรียน  ครูสอนนักเรียน นักเรียนสอนกันเอง (พิพัฒนนิยม) อินเตอร์เน็ต เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนรู้  ครูสอนนักเรียน นักเรียนสอนกันเอง นักเรียนสอนครู  : คณะเทคโนโลยี : คน (ร่วมกันสร้างความรู้โดย คนและเทคโนโลยี)  ขยายองค์ความรู้ โดยการให้วงจรผลสะท้อนกลับจากการสร้างนวัตกรรมเชิงบวก : ความรู้เกิดทุกที่ ทุกเวลา ทั้งในชีวิตประจำวัน การเรียนและการทำงาน

ลักษณะโรงเรียน

เรียนในตึกอาคาร

เรียนในอาคารหรือออนไลน์ แต่มีการใช้เว๊บ เพื่อการเรียนการสอนแบบเต็มรูปแบบหรือแบบไฮบริดเพิ่มขึ้น

เรียนได้ในทุกๆ ที่ ในสังคมที่สร้างสรรค์ (สถานที่เรียนถูกผนวกอยู่ในสังคม เช่น ร้านกาแฟ บาร์ หรือตอนเล่นโบว์ลิ่ง)

เรียนในโลกไร้พรมแดนที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายหรือที่ๆ มีการส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเรียนรู้

แนวคิดที่ 3. การคิดเพื่ออุตสาหกรรมยุคที่ 4

              ประเทศไทยมีเป้าหมายในทางเดียวกัน

Innovation แนว 1. การศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ    Product Oriented
แนว 2. การพัฒนาผู้เรียนให้เติบโต ให้เต็มศักยภาพ    Innovation Development
 แนว 3. การศึกษาเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปอุตสาหกรรมยุคที่ 4    New Products

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของเนื้อหาการบรรยาย : นวัตกรรม คืออะไร ? …

Invention + Diffusion
(Market)
= Innovation

Product – car , Windows , Vista

Process – link gardening to home

Position – low – cost airline

Paradigm – maker to service

4 ขั้นตอนของนวัตกรรม

ขั้นที่ 1.

แสวงหาโอกาส (Search)

ทักษะคิด

วิเคราะห์

ทักษะคิด

สร้างสรรค์

ขั้นที่ 2.

ออกแบบ / เลือก (Select)

ทักษะคิด

ออกแบบ

ทักษะคิดคัดกรอง

ขั้นที่ 3.

นำไปปฏิบัติ (Implement)

ทักษะคิดผลิตภาพ

ทักษะคิดแก้ปัญหา

ขั้นที่ 4.

การหาผลประโยชน์ (Capture)

ทักษะคิด

ประกอบการ

ทักษะคิดผู้นำ

ทักษะเสริมประกอบด้วย ทักษะความรับผิดชอบและทักษะสำนึกทางสังคม

โมเดลเป้าหมายของการศึกษา 4.0

การนำเนื้อหาไปใช้ : สามารถนำเนื้อหาจากการบรรยาย , เอกสาร และ Power Point มาใช้กับการจัดการเรียนรู้ ปรับหลักสูตรการเรียนการสอน การผลิตบัณฑิตครุศาสตร์และสามารถเป็นทิศทางการนำไปประกอบการจัดการทำเอกสารประกอบการสอนทางสายวิชาชีพครู ดังนี้

1) หลักคิดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

       ด้านปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

          – เทคโนโลยี

          – การค้าขาย

          – การติดต่อสัมพันธ์ของมนุษย์

          – สังคมที่เปิดกว้าง

          – คนรุ่นใหม่ที่มีความรู้

          – แต่ละคนในสังคมมีลักษณะเฉพาะของตนเอง

       ด้านลักษณะของสังคมไทยในศตวรรษที่ 21

          – Product – Oriented

          – Mass customization

          – Multicultural

          – Rationalization

          – Variety of Learning

          – Co – Independent

       ด้านเนื้อหาสาระสำหรับศตวรรษที่ 21

          – Technology and Brain

          – New Sciences and New Math

          – New roles of human being

          – Imagination and production

          – Rational ethic and Value

          – Alternative way of life

       ด้านทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21

          ทักษะหลัก

              – Productive skills

              – Creative skills

              – Critical skills

              – Cooperative skills

              – Life – long Learning

              – Self / Other Understandable skills

          ทักษะคู่ขนาน

              – Quality skills

              – Design

              – Reasoning skills

              – Leadership skills

              – Scenario thinking skills

              – Respectable skills

       ด้านแนวการสอนแบบไม่สอน

              – ให้ผู้เรียนสร้าง Products เอง

              – ทำ Products นั้นใช้ชม

              – ฟังคำวิจารณ์จากเพื่อนและครู

              – ปรับ / แก้ / ทำความเข้าใจ / ทำใหม่

              – นำ Products ที่แก้ไขแล้วหรือ Draff 2 / งานรอบ 2 มาเขียนใหม่อีก

2) ภาพรวม : การศึกษาที่สามารถสร้างนวัตกรรม (ผลผลิต) ได้

ผลผู้เรียน 1. ผู้เรียน (ทุกคน) คิด / สร้าง / พัฒนาผลผลิตใหม่ (Innovation) ได้
2. ผู้เรียน (ส่วนใหญ่) พัฒนา Innovation ได้
คุณลักษณะ 1. มีความรู้ในเรื่องที่ศึกษา (อย่างดี) ไม่เช่นนั้นจะผลิตไม่ได้
2. มีทักษะ(อย่างน้อย 10 ทักษะนวัตกรรม) ในการผลิตอย่างดีจนฝังเป็นนิสัย
กระบวนการ 1. รู้จักตนเองจะเอาดีทางไหน
2. ศึกษาฝึกฝนจนชำนาญในการผลิต
หลักคิด 1. CCPR วิเคราะห์คิดใหม่ / สร้างใหม่ใช้ประโยชน์ (ทำจนได้ผลงาน)
2. ทุกวิชา ทุกชิ้นงาน ทุกเทอม ต่อเนื่องยาวนานไม่มีข้อยกเว้น
ความสำเร็จ 1. ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน
2. เมื่อต้นไม้ล้านต้นออกดอกบานล้านดวง
ผลสุดท้าย 1. ความยิ่งใหญ่อยู่ในมือของเราทุกคน
2. ความสำเร็จเป็นของทุกคน (ไม่ใช่ข้าใหญ่คนเดียว)

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร