การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

An Evaluation of Attraction Site in Thonburi Area, Bangkok for Travelling Route of Physically Disabled

Ms. Supannikar Charkhamrun

สุพรรณิการ์  ชาคำรุณ

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจและประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อนำมาจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวโดยแบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านศิลปวัฒนธรรม และด้านการบริหารและจัดการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่น จำนนวน 22 คน และนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 18 คน วิธีการและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลจากการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร ใน 7 แห่ง พบว่าแหล่งท่องเที่ยวโดยภาพรวมมีศักยภาพในระดับมาก เพื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีความคิดเห็นต่อศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.60 ด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.01 ด้านการบริหารและจัดการ มีค่าเฉลี่ย 4.00 ด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.94 และด้านการรักษาสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 3.83 เมื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวโดยจำแนกตามสถานที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ศิริราช รองลงมา ได้แก่ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ป้อมวิไชยประสิทธิ์ วัดกัลยาณมิตรวรวิหารและชุมชนกุฏีจีน ตามลำดับ จากนั้นนำผลการศึกษามาจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวจำนวน 3 เส้นทาง โดยอาศัยหลักการจัดทำเส้นทางและกำหนดรูปแบบที่เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว คือรายการท่องเที่ยวแบบไปเช้า-เย็นกลับ โดยทำการทดลองศึกษาเส้นทางที่ 1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี-พิพิธภัณฑ์ศิริราช-วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า พบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวมีความคิดเห็นต่อศักยภาพด้านการมีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ย 4.04 ด้านศิลปวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ย 4.03 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย 4.02 ด้านการบริหารและจัดการ มีค่าเฉลี่ย 3.98 และด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ย 3.89 ตามลำดับ สำหรับเส้นทางที่ 2 อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่าชุมชนกุฎีจีน-ป้อมวิไชยประสิทธิ์-พิพิธภัณฑ์ศิริราช และเส้นทางที่ 3 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร-ป้อมวิไชยประสิทธิ์-วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร-ชุมชนกุฎีจีน ผลการวิเคราะห์พบว่า เส้นทางที่ 1 แหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ มีความโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นเส้นทางที่เดินทางสะดวก ตลอดจนมี สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เช่น ทางเข้าสู่ตัวอาคาร ทางลาด ทางเชื่อมระหว่างอาคารและระเบียง ห้องสุขา ทางสัญจร ความปลอดภัย เป็นต้น สำหรับเส้นทางที่ 2 และ 3 พบว่ามีข้อบกพร่องแตกต่างกันไปตามลักษณะ เช่น ทางสัญจรเข้าออกไปยังสถานที่แคบ ไม่มีที่จอดรถโค้ชปรับอากาศต้องจอดริมทางเท้า ป้ายบอกแหล่งท่องเที่ยวมีน้อย บางจุดยังขาดรายละเอียดโดยเฉพาะความปลอดภัยเกี่ยวกับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวยังมีน้อย บุคลากรในแหล่งท่องเที่ยวขาดความเข้าใจเรื่องการให้บริการแก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหว รวมทั้งขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ คือ 1) การจัดเตรียมการจัดการพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวให้มีความพร้อมสำหรับนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว 2) ห้องสุขา ห้องน้ำ ภายในแหล่งท่องเที่ยวจะต้องสร้างเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว 3) สภาพแวดล้อมภายในแหล่งท่องเที่ยวต้องมีการจัดการดูแลเพื่อให้นักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวได้ชมภายในบริเวณ เช่น ให้มีทางเข้าและทางออกสำหรับเก้าอี้เข็นคนพิการ 4) หน่วยงานภาครัฐ หรือภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรมีการส่งเสริมและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและปรับปรุงในหลายๆ ด้าน

Abstract

       The objective of this study was to explore and assess the potential of tourist attractions in Thon Buri area, Bangkok for travelling route of physically Disabled. The research instrument was the assessment form on the potential of tourist attractions in five areas including physical nature, environmental maintenance, participation, arts & culture, and management.  The sample of this study included 22 officials of public and private sectors and local people as well as 18 physically disabled tourists. Data were analyzed through statistics including content analysis, internal and external environment analysis, mean, percentage, and standard deviation.

       The results of this study showed as follows. In terms of the potential of 7 tourist attractions in Thon Buri area, Bangkok, overall tourist attractions had high mean score. By considering each aspect, the potential of arts & culture had mean score of 4.60; participation had mean score of 4.01, management had mean score of 4.00, physical nature had mean score of 3.94; and environmental maintenance had mean score of 3.83. Based on location classification, overall tourist destination had high mean score. The most potential tourist destination was Siriraj museum. It was followed Somdet Phra Sri Nagarindra The Princess Mother Memorial Park; National Museum of Royal Barges, Wat Arun Ratchawararam Ratchawaramahawihan; Wichai Prasit Fort-Kalayanamitwarawihan Temple and Kudi Chin Community, respectively.  The results were then analyzed to prepare three tourist routes to meet physically disabled tourists’ need, i.e., to prepare one-day trip. A National Museum of Royal Barges-Siriraj Museum-Wat Arun- Somdet Phra Sri Nagarindra The Princess Mother Memorial Park route was tested and overall was rated at high level. By considering each aspect, participation had mean score of 4.04; arts & culture had mean score of 4.03; environmental maintenance had mean score of 4.02; management had mean score of 3.98; and physical nature had mean score of 3.89, respectively. The second route was Somdet Phra Sri Nagarindra The Princess Mother Memorial Park-Kudi Chin Community-Wichai Prasit Fort-Siriraj Museum. The third route was Wat Arun-Wichai Prasit Fort-Kalayanamitwarawihan Temple and Kudi Chin Community. The analysis showed that the first route was interesting, unique, and comfortable through facilities for physically disabled tourists such as facilitated entrance to the building, ramps connecting the building and terrace, the provision of toilet, traffic way and safety. The second and third routes had different drawbacks such as narrow entrance ways; lack of parking lots for coach (coach had to park on the sidewalk); few signs; lack of details on safety for physically disabled tourists; personnel’s lack of understanding about service for physically disabled tourists; and lack of support from government and related agencies. Suggestions of this study are 1) tourist attractions that are available for physically disabled tourists should be prepared and managed, 2) proper toilets inside the tourist attractions in sufficient amount should be provided to meet physically disabled tourists’ need, 3) effective internal environment of the tourist attractions should be managed for physically disabled tourists such as provision of entrance and exit for wheelchair, and       4) involving government agencies or private sector should be encouraged and given priority to the development and improvement in many areas.