ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ชื่อผู้วิจัย : รุ่งฤทัย  วงศ์จอม

สาขาวิชา : หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ดร. วิเชียร  อินทรสมพันธ์  

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สมหมาย  มหาบรรพต

ปีการศึกษา : 2554

 

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)  ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  2) เปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  แขวงดอนเมือง  เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  28 คน  โดยการแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย  ได้แก่   แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   และแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  (t-test  for  dependent  Sampling)  แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  จำนวน  28  คนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80 ทุกคน

2. ผลการเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Title : The  Development  of  Prathom  Suksa  4  Students’ Moral Reasoning by Using Co-operative Activities and Role Playing

Author : Rungruthai  Wongjom

Program : Curriculum and Instruction

Major Advisor : Dr.Wichian  Inratharasompun

Co-Advisor : Assistant Professor Sommai Mahabunphot

Academic Year : 2011

 

Abstract

       The  experimental  research objectives  were 1)  to  study  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students by using co-operative activities and role playing, and 2) to compare  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students before  and  after  using  co-operative activities  and  role  playing.  The cluster random samples  were 28  Prathom  Suksa 4 students from  Phraharuethai  Donmuang  School,  Bangkok,  in  the  first  semester  of  the  academic  year  2011.  The research instruments were co-operative activities and role playing lesson plans and a set of the  moral reasoning paper test. The data was analyzed by using the percentage, the average, the standard deviation and t-test for dependent sample.

The research result revealed that;

1.  The study on the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students after studying by using co-operative activities and role playing showed that all students passed the criteria of 80 percentage.

2.  The comparison of  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students after  using  co-operative activities and role playing was higher than before with statistic significance at  the  level  of  .01.