Category Archives: การผลิตบัณฑิตครู

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา
ปีที่พิมพ์ : 1 สิงหาคม 2561
ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (ด้วยทุนส่วนตัวของผู้เขียนเอง)
ชื่อเจ้าของผลงาน : รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์คเรศ ประกอบผล

เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามีความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอน  การศึกษาทุกระดับ ตื่นตัวที่จะนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนจากที่เคยเป็นอยู่ไปสู่การสอนแนวใหม่ ที่สามารถสร้างคุณลักษณะของผู้เรียนให้เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์ในยุคไทยแลนด์4.0ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตำราเล่มนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน  ในรายวิชาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รหัสวิชา 1104101ระดับปริญญาตรี ตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และใช้สำหรับการศึกษาค้นคว้าของ นิสิต  นักศึกษา  รวมทั้งผู้ที่สนใจทางการศึกษาทั่วไป

สาระสำคัญของเนื้อหาภายในเล่มแบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย

ตอนที่ 1 : พื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นเรื่องของความหมาย

ความสำคัญ องค์ประกอบ พัฒนาการ ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และแนวคิดทางการศึกษากับการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ตอนที่ 2 : หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นเรื่องของหลักการและทฤษฎีที่สำคัญที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาได้แก่ หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับการรับรู้ การเรียนรู้ สื่อการสอน การสื่อสาร และวิธีระบบ

ตอนที่ 3 : แนวโน้มการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อพัฒนาการศึกษา เป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามาใช้ในลักษณะ คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา อินเทอร์เน็ตเพื่อการศึกษา   เว็บเพื่อการศึกษา และการศึกษาทางไกล

ตอนที่ 4 : การประเมินเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เป็นเรื่องของวิธีการประเมินนวัตกรรมที่ผลิตขึ้น ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามแนวทางการประเมินแบบบูรณาการ

 

 

จุดเด่น/ความน่าสนใจจากสาระสำคัญของผลงานวิชาการนั้นๆ / การนำไปใช้ประโยชน์

จุดเด่นของตำราเล่มนี้ เป็นการปูพื้นฐานความรู้ให้กับ นิสิต นักศึกษา รวมทั้งผู้ที่สนใจทางการศึกษาทั่วไป    ได้ทำความรู้จักความหมาย ความสำคัญ องค์ประกอบ พัฒนาการ ของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สามารถนำ แนวคิด หลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียน    การสอน และสามารถนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสมัยใหม่มาพัฒนาการศึกษา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถประเมินเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาได้

 

ปก/คำนำ/สารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บทที่ 6บทที่ 7บทที่ 8บทที่ 9บทที่ 10บทที่ 11บรรณานุกรม

การถ่ายภาพดรามาติก

 

รศ.ดร.ศักดิ์คเรศ ประกอบผล


 

การถ่ายภาพดรามาติก เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อต้องการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านที่รักในการถ่ายภาพ ได้ทาความรู้จักการ ถ่ายภาพดรามาติกว่าเป็นการถ่ายภาพลักษณะใด มีหลักการและแนวคิดในการถ่ายอย่างไร เพื่อนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานการถ่ายภาพ ดรามาติกให้แพร่หลายต่อไป

หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น 2 ตอน ตอนแรก“การถ่ายภาพดรามาติก”เป็นการปูพื้นฐานเพื่อให้ผู้อ่านรู้ความหมายของการถ่ายภาพดรามาติก รู้หลักการและแนวคิดในการถ่ายภาพดรามาติก ตอนที่สอง “ภาพถ่ายดรามาติก (แนวคิดในการถ่าย)” เป็นการนำเสนอ แนวคิดและเทคนิคในการสร้างสรรค์ ผลงานภาพถ่ายดรามาติกของแต่ละภาพที่ผู้เขียนนำมาเสนอให้ดู ซึ่งเป็นภาพถ่ายขนาดใหญ่ดูเต็มตา ภาพถ่ายเหล่านี้ผู้เขียนเป็นผู้ถ่ายเองและใช้เวลาในการคัดสรรเก็บรวบรวมมานานหลายปี

จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ“การถ่ายภาพดรามาติก”เล่มนี้คงจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านหันมาสนใจและคดิสร้างสรรค์ ผลงานภาพถ่ายดรามาติกอย่างมีความสุขตลอดไป

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์คเรศ ประกอบผล

กุมภาพันธ์ 2562

 

View Fullscreen

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะเรื่องการหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดบางปะกอก

ธัญวี  พรมมา

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดบางปะกอก สำนักงานเขตราษฎ์บูรณะ กรุงเทพมหานคร จำนวน 35 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกทักษะเรื่อง การหาร จำนวน 2 ชุด แผนจัดการเรียนรู้เรื่อง การหาร จำนวน 11 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าประสิทธิภาพ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)

บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ

บัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์  ปีการศึกษา 2558
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ ปัญหา การบวกลบและคูณทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนวิชากร ระหว่างการสอนโดยใช้กลวิธี STAR กับการสอนแบบปกติ

ชื่อผลงานทางวิชการ           การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  โจทย์

ปัญหา  การบวกลบและคูณทศนิยม  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕

โรงเรียนวิชากร ระหว่างการสอนโดยใช้กลวิธี STAR  กับการสอนแบบปกติ

ประเภทผลงานทางวิชาการ    งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย                     ๒๕๕๘

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ    ภัณฑิรา     หมั่นเหมาะ   ครุศาสตรบัณฑิต    สาขาวิชาคณิตศาสตร์

คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า

  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์   เรื่องโจทย์ปัญหาการบวก ลบ และคูณทศนิยมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  ที่ได้รับการสอนโดยใช้กลวิธีSTAR  สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  ๐.๕
  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก ลบ และคูณทศนิยม  ของ

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  หลังได้รับการสอนโดยใช้กลวิธี STAR  สูงกว่าก่อนได้รับการสอน

โดยใช้กลวิธี STAR อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ท่านที่ต้องการรายละเอียดสามารถสืบค้นจาก Web-online มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี บรรณากร  (โครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย)

ปกบทคัดย่อสารบัญบทที่1บทที่2บทที่3บทที่4บทที่5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ความสัมพันธ์

ชื่อผลงานทางวิชาการ            การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง  ความสัมพันธ์

ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติ  โดยการสอนแบบสื่อจริง  ของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนวัดโพธิทอง

ประเภทผลงานทางวิชาการ     งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย                     ๒๕๕๘

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ            โสภิตา   อินทองสี  ครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาคณิตศาสตร์

คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัย พบว่า

  • ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง  ความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติหลังเรียน  โดยการสอนแบบสื่อจริงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕
  • สื่อจริงวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนวัดโพธิ์ทองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทดลองแล้วได้ค่าประสิทธิภาพ ๙๐.๐๐/๙๐.๙๐  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ๗๐ /๗๐

รายละเอียดมีให้ค้นคว้าจาก Web-online มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร   (โครงการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัย)

ปกบทคัดย่อสารบัญบทที่1บทที่2บทที่3บทที่4บทที่5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง มุม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา (CIPPA Model)

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  มุม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา  (CIPPA   Model)  ก่อนเรียนและหลังเรียน  และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  มุม  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา  ( CIPPA Model )

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่    5   ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2558  โรงเรียนวัดราชบูรณะ  สังกัดสำนักงานพระนคร  กรุงเทพมหานคร   จำนวน  19  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  มุม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา  (CIPPA Model)  จำนวน  6  แผน  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  มุม   ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  โดยการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา  (CIPPA Model)  แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ  4  ตัวเลือก  จำนวน  20  ข้อ  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบโมเดลซิปปา  (CIPPA Model)  วิชาคณิตศาสตร์  เรื่อง  มุม  ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5  จำนวน  10  ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่   ค่าเฉลี่ยเลขคณิต  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบค่าสถิติด้วย  t–test  for  dependent sample

ปกบทคัดย่อสารบัญบทที่1บทที่2บทที่3บทที่4บทที่5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เวลา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง (ขวัญโรจน์ราษฏ์รังสฤษฏ์) โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ เทคนิค STAD

กิตติกรรมประกาศ

     บัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ได้ด้วยความช่วยเหลือ แนะนำ และให้คำปรึกษาอย่างดียิ่งจาก อาจารย์โกสุมภ์ จันทร์แสงกระจ่าง อาจารย์ที่ปรึกษาบัณฑิตนิพนธ์ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ แนวคิด วิธีการ และตรวจสอบแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ ด้วยความเอาใจใส่ ผู้วิจัยรู้สึกซาบซึ้งและขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบพระคุณ คณาจารย์ทุกท่านในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาทุกท่าน ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ผู้วิจัยจนทำให้สามารนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และวิชาชีพ
ขอขอบพระคุณ คุณครูมนูญ ทนารี ครูชำนาญการพิเศษ คุณครูสุพล ทองเหลือง ครูชำนาญการพิเศษ และคุณครูสถาพร ทองเหลือง ครูชำนาญการพิเศษ ที่ได้กรุณาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ตลอดจนให้คำแนะนำในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างดี
ขอขอบพระคุณ ผอ.อติพร นิลขำ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดโพธิ์ทอง (ขวัญโรจน์ราษฏ์รังสฤษฏ์) สำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร ขอขอบพระคุณคณาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ และคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ในการทดลองและขอขอบใจนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง (ขวัญโรจน์ราษฎร์รังสฤษฏ์) ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดียิ่งในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล
ขอขอบพระคุณคณะกรรมการสอบบัณฑิตนิพนธ์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทัย แดงแสงส่ง อาจารย์โกสุมภ์ จันทร์แสงกระจ่าง และอาจารย์นันทพร ชื่นสุพันธรัตน์ ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการทำวิจัยครั้งนี้
ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา และสมาชิกในครอบครัวทุกท่าน ที่ให้การสนับสนุนและส่งเสริมในการเรียน รวมทั้งขอบคุณเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ทุกคน ที่ให้ความช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ในการทำวิจัยในครั้งนี้

พรรณปพร แฝงเชียงเหียน
มีนาคม 2559

ปกบทคัดย่อสารบัญบทที่1บทที่2บทที่3บทที่4บทที่5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

บัณฑิตนิพนธ์ ผลของการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารและโจทย์ปัญหาการหาร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสารอด

บัณฑิตนิพนธ์
ผลของการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การหารและโจทย์ปัญหาการหาร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดสารอด

กวินนา เนตรทิพย์

บัณฑิตนิพนธ์ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์
ปีการศึกษา 2558
ลิขสิทธิ์เป็นของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดโดยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ โรงเรียนวัดโพธิทอง

ชื่อผลงานทางวิชาการ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดโดยการจัด กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ ๒ โรงเรียนวัดโพธิทอง
ประเภทผลงานทางวิชาการ งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ พฤกษา มัญจกาเภท ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

หน้าปกบทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม

ชื่อผลงานทางวิชาการ การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมวัดดุสิตาราม
ประเภทผลงานทางวิชาการ งานวิจัย
ปีที่ทำการวิจัย ๒๕๕๘
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ กิตติพงษ์ พรมโสภา ครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

หน้าปกบทคัดย่อสารบัญบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวกประวัติผู้วิจัย