ชื่อผลงานทางวิชาการ : แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : สรุปเอกสารจากการประชุมสัมมนา ประธานการสถานศึกษาของ สพ.ฐ. ทั่วประเทศจัดโดยสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2560 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอคองคอร์ด กรุงเทพฯ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : รายงานการวิจัยการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษา เพื่อบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ผู้สรุปเนื้อหาและนำเนื้อหามาประยุกต์กับบริบทการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คือ รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู เนื่องจากผู้สรุปเป็นผู้เข้าร่วมประชุมด้วย

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจของผลงานวิจัย : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา มีบทบาทภารกิจในการศึกษาวิเคราะห์และวิจัยพัฒนากฎหมายการศึกษาและพัฒนากฎหมายการศึกษาให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ในสังคมปัจจุบัน จึงได้จัดทำโครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารประเทศ

       การดำเนินการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาและรูปแบบการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เหมาะสมในพื้นที่ โดยการกระจายอำนาจในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมีรูปแบบการจัดการศึกษาเฉพาะในพื้นที่ ตอบสนองความต้องการของประชาชนและผู้ประกอบการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของชาติต่อไป

       ตามที่รัฐบาลพยายามที่จะดำเนินการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้น โดยการมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ไปดำเนินการและขับเคลื่อน เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนของประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงด้านคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเซียนตามข้อตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียนและข้อตกลงภายใต้กรอบเศรษฐกิจอื่น รวมทั้งจากการค้าบริเวณพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและมีนโยบายในการสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ

       โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ การศึกษาจะต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553 ซึ่งมีกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้นำสาระสำคัญของกฎหมายการศึกษามาพิจารณา ทั้งนี้ในมาตรา 8 และมาตรา 15 ได้แก่

       1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน

       2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

       3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องภายใต้การจัดการศึกษาที่แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

       นอกจากนี้ยังให้กระทรวงศึกษาธิการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรง มาตรา 41 ได้บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น ดังนั้นจะเห็นว่าจากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันต้องการให้ประชาชนในเขตพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเพื่อให้การจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเป็นการจัดการศึกษาที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาหารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพบริบทและความต้องการของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สำหรับใช้เป็นแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ อันจะส่งผลให้เกิดการเสริมสร้างและการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของประชาชนในเขตพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและพื้นที่ใกล้เคียงในด้านการแข่งขัน และเพื่อรองรับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ของการเตรียมความพร้อมในการวางราก ฐานการพัฒนาประเทศ

กรอบแนวความคิดการวิจัย

       การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้จากการเก็บข้อมูลในพื้นที่และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่จะนำไปสู่การร่างกฎหมายที่เอื้อต่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำแนกเป็น 5 ประเด็น ได้แก่

       1. การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       2. หลักการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       3. ทรัพยากรสำหรับใช้ในการบริหารจัดการการศึกษา

       4. กระบวนการการบริหารจัดการศึกษา

       5. คุณภาพการศึกษา

ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้

       1) แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            1.1 กฎหมายการศึกษาเพื่อบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ให้มีการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นองค์กรมหาชน มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติองค์กรมหาชน พ.ศ. 2542 สำหรับการจัดการศึกษาให้มีระบบและแนวการจัดตามระบบการศึกษาและแนวการจัดการศึกษาของชาติ และควรมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ

            1.2 เขตพื้นที่การศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งองค์การมหาชนเรียกว่า ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน)

            1.3 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรมีสิทธิในการจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับ ทุกประเภท ทุกรูปแบบ ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการของเขตเศรษฐกิจพิเศษ ให้มีคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนและกระทรวงศึกษาธิการร่วมกันกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ

            1.4 ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการ กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการตามศักยภาพและโอกาสของแต่ละเขต โดยเชื่อมโยงกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวิชาการ การวิจัยและพัฒนาของสถานศึกษาในกำกับ ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษากับภาคีต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้เกิดการพัฒนาอย่างบูรณาการโดยยึดหลักประชารัฐและกำกับดูแลติดตามประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในกำกับของศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            1.5 ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

                 1) ถือกรรมสิทธิ์มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สินต่างๆ

                 2) ก่อตั้งสิทธิ หรือทำนิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สิน ตลอดจนนิติกรรมอื่น เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจกรรม

                 3) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกิจการ

                 4) จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผู้เรียน และการดำเนินงานของศูนย์

                 5) บริหารจัดการศึกษา และทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน

                 6) เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลอื่นในกิจการที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด

                 7) กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ

                 8) ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนในสถานศึกษา มีบุคคลหรือทรัพย์ค้ำประกัน

                 9) เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการกำหนด

                 10) ให้ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองและเครื่องหมาย วิทยฐานะในกิจกรรมตามวัตถุประสงค์และอำนาจของศูนย์

                 11) กระทำการอื่นใดที่จำเป็นและต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของศูนย์

            1.6 ความมุ่งหมายและหลักการในการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านตัวผู้เรียน มุ่งพัฒนาคุณภาพคนให้มีความสมบูรณ์ ด้านสังคม มุ่งพัฒนาเพื่อสร้างให้สังคมของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ เน้นให้มีสาระการเรียนรู้ที่มุ่งตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตพัฒนาฯ

            1.7 หลักการจัดการศึกษาให้ยึดการจัดการศึกษาตลอดชีวิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของเขตฯ การจัดต้องมีความเป็นอิสระในการกำหนดมาตรฐานการศึกษาสำหรับใช้ประกันคุณภาพการศึกษาและมีอิสระในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคล ไม่เก็บค่าใช้จ่ายในการเรียนทุกคนมีความเสมอภาคกันและการจัดการศึกษาต้องมีเอกภาพ

            1.8 แนวทางการจัดการศึกษายึดศักยภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมศักยภาพสู่ความเป็นเลิศตามอัจฉริยภาพของตนเอง หลักสูตรและสาระการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ ยึดศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญมุ่งเน้นการวิจัยและเพื่อสร้างและพัฒนาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการในเขตฯ

            1.9 กระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่ส่งเสริม กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับทุกประเภทของเขตฯ สนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาและราชการอื่นตามกฎหมาย มีคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ

            1.10 คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารจัดการศึกษาของเขตฯ คำนึงถึงคุณภาพ ความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ กำหนดนโยบายการบริหารจัดการ ให้ความเห็นชอบแผนการจัดการศึกษา การอนุมัติแผนการลงทุนและแผนการเงิน ควบคุมดูแลการดำเนินงานและบริหารศูนย์ฯ และสถานศึกษาของเขตฯ การบริหารงานทั่วไปและการจัดแบ่งส่วนงาน การจัดสวัสดิการและสิทธิประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ตรวจสอบภายใน

            1.11 การจัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษา ต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ให้สถานศึกษาในเขตฯ มีสถานะเป็นนิติบุคคลโดยมีคณะกรรมการบริหารสถานศึกษาของเขตฯประกอบด้วย คณะกรรมการการศึกษาของเขตฯ โดยมีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง

            1.12 คณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ ในเขตฯ เป็นผู้มีอำนาจสรรหา แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการศูนย์ฯ และผู้บริหารสถานศึกษาในเขตฯ

            1.13 ผู้อำนายการศูนย์ฯ และผู้บริหารสถานศึกษาในเขตฯ ต้องสามารถทำงานได้เต็มเวลา และต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบปฏิบัติของทางราชการ มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี สามารถได้รับแต่งตั้งไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน

            1.14 ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์ฯ และสถานศึกษาเขตฯ มี 3 ประเภท คือ 1. เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง 2. ที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ 3. เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานชั่วคราว

            1.15 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของเขตฯ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก จัดให้มีระบบการประกันภายในและให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาทำหน้าที่ประเมินภายนอกตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา

            1.16 ทุน รายได้ และทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษาของเขตฯ ประกอบด้วย เงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับถ่ายโอนมา เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประกันและเงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้หรือองค์กรอื่น ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการหรือจากการดำเนินงาน ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของศูนย์ ที่ไม่เป็นรายได้ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมาย

            1.17 การจ่ายเงินของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ ให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ โดยเฉพาะ

            1.18 เขตฯ ควรเปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการณ์และสถาบันสังคม บริจาคเงินหรือทรัพยากรทางการศึกษา เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

            1.19 การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์ และสถานศึกษาในเขตฯ ต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในทำหน้าที่ตรวจสอบโดยเฉพาะ

            1.20 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการของศูนย์ฯ และสถานศึกษาในเขตฯ ให้เป็นไปตามกฎหมาย

 

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : เอกสารรายงานการศึกษาแนวทางพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการ การศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีเนื้อหาสาระสรุปเป็นประเด็น ได้แก่

       ประเด็นที่ 1 แนวทางการพัฒนากฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นไปตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579 ตลอดจนแผนบูรณาการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       ประเด็นที่ 2 ร่าง “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) พ.ศ. … ” มีทั้งหมด 8 หมวด จำนวน 75 มาตรา ประกอบด้วย

            หมวดที่ 1 การจัดตั้งวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่มีจำนวน 10 มาตรา

            หมวดที่ 2 ทุน รายได้และทรัพย์สินมีจำนวน 5 มาตรา

            หมวดที่ 3 การบริหารและการดำเนินกิจการมี 3 ส่วน ได้แก่

               ส่วนที่ 1 ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษามีจำนวน 6 มาตรา

               ส่วนที่ 2 แนวการจัดการศึกษามีจำนวน 32 มาตรา

            หมวดที่ 4 ผู้ปฏิบัติงานของศูนย์และสถานศึกษามีจำนวน 4 มาตรา

            หมวดที่ 5 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา มีจำนวน 4 มาตรา

            หมวดที่ 6 การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์และสถานศึกษามีจำนวน 5 มาตรา

            หมวดที่ 7 การกำกับดูแล มีจำนวน 1 มาตรา

            หมวดที่ 8 วุฒิบัตรและเครื่องหมายวิทยฐานะ มีจำนวน 3 มาตรา

       ประเด็นที่ 3 สรุปผลการวิจัย กลุ่มผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะสำหรับการจะทำศึกษาต่อยอด มีดังนี้

            1. ควรทำการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) พัฒนาความพร้อมในการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

            2. ควรทำการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา ในลักษณะโครงการนำร่องการบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบองค์การมหาชน

 

จุดเด่น / ความน่าสนใจของผลงานวิจัยและการนำไปใช้ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ความน่าสนใจของผลงานตรงที่เป็นบทอภิปรายผลการวิจัย ดังนี้

       1. กฎหมายการศึกษาเพื่อการบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้มีการจัดตั้งศูนย์การบริหารจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นองค์การมหาชน

มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการศึกษาภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย

       2. เขตพื้นที่การศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรมีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยให้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษาจัดตั้งองค์การมหาชนเรียกว่า ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน)

       3. เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษควรมีสิทธิในการจัดการศึกษาในการจัดการศึกษาระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับทุกประเภท ทุกรูปแบบ ตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       4. ศูนย์การบริหารจัดการการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีวัตถุประสงค์

            4.1 บริหารจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนและสถานประกอบการ

            4.2 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา

            4.3 ส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาด้านวิชาการ การวิจัยและพัฒนาของสถานศึกษาในกำกับ

            4.4 ประสานความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษากับภาคีต่างๆ ทั้งของหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

            4.5 กำกับดูแล ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานและสถานศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       5. ศูนย์การบริหารจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (องค์การมหาชน) มีอำนาจหน้าที่

            5.1 ถือกรรมสิทธิ์ มีสิทธิครอบครองและมีทรัพย์สิทธิต่างๆ

            5.2 ก่อตั้งสิทธิหรือนิติกรรมทุกประเภทผูกพันทรัพย์สินและนิติกรรมอื่นใด เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงาน

            5.3 ทำความตกลง ร่วมมือองค์การหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

            5.4 จัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ผู้เรียนและการดำเนินงานของศูนย์

            5.5 บริหารจัดการศึกษาตลอดจนทรัพย์สินทางปัญญาและสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง

            5.6 เข้าร่วมทุนกับนิติบุคคลในกิจกรรมที่เกี่ยวกับวัตถุประสงค์

            5.7 กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกำหนด

            5.8 ให้กู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาแก่ผู้เรียนของสถานศึกษา

            5.9 เรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทนหรือค่าบริการในการดำเนินงานกิจการต่างๆ

            5.10 ให้ปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร หนังสือรับรองและเครื่องหมายวิทยฐานะในกิจกรรม

            5.11 กระทำการอื่นใดที่ไม่จำเป็นหรือต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์

       6. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านผู้เรียน เน้นพัฒนาคุณภาพ ด้านสังคม เน้นพัฒนาเพื่อสร้างให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้และด้านสาระการเรียนรู้และกระบวนการเรียนรู้ ตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ

       7. ยึดหลักการจัดการศึกษาตลอดชีวิตและตอบสนองความต้องการของแต่ละเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

       8. แนวทางการจัดการศึกษา ยึดศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมความเป็นเลิศตามอัจฉริยะภาพ

       9. ให้กระทรวงศึกษาธิการมีหน้าที่ส่งเสริมและกำกับดูแลการศึกษาทุกระดับ ทุกประเภทและสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการศึกษา

       10. คณะกรรมการบริหารศูนย์ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคำนึงถึงคุณภาพ ความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพ

       11. การจัดตั้งยุบรวมหรือเลิกสถานศึกษาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง

       12. คณะกรรมการบริหารศูนย์มีอำนาจสรรหา แต่งตั้งและถอดถอนผู้อำนวยการศูนย์ตามมติของคณะกรรมการ

       13. ผู้อำนวยการและผู้บริหารสถานศึกษาสามารถทำงานได้เต็มเวลา มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามระเบียบปฏิบัติของราชการ

       14. ผู้ปฏิบัติงานของมนุษย์และสถานศึกษามี 3 ประเภท คือ เจ้าหน้าที่/ลูกจ้าง ที่ปรึกษา/ผู้เชี่ยวชาญ และเจ้าหน้าที่ของรัฐมาช่วยปฏิบัติงานของศูนย์

       15. มาตรฐานและประกันคุณภาพของสถานศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา ประกอบด้วย ระบบการประกันภายในกับภายนอก โดยให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทำหน้าที่ประเมิน

       16. ทุน รายได้ และทรัพย์สินเพื่อจัดการศึกษาประกอบด้วย เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการถ่ายโอนมา เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรร เงินอุดหนุนจากสถานประกอบการภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ค่าธรรมเนียม ค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการหรือรายได้จากการดำเนินการและดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของศูนย์

       17. การใช้จ่ายเงินของศูนย์และสถานศึกษาให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการของศูนย์และสถานศึกษาเป็นไปตามข้อบังคับ พระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542

       18. ควรเปิดโอกาสให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันการศึกษา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่นบริจาคเงินหรือทรัพยากรทางการศึกษา

       19. การบัญชี การตรวจสอบและการประเมินผลงานของศูนย์และสถานศึกษาจัดตามหลักสากล ตามแบบและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการบริหารและต้องมีเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายใน

       20. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกิจการเป็นไปตามกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

 

การนำไปใช้ประโยชน์ : จากผลการวิจัยทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น (School Based Management for Local Development : SBMLD) เกิดจากแนวคิด “การจัดการศึกษาต้องนำไปสู่การเป็นคนดี มีอาชีพสุจริตเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข” ทั้งสังคมไทยและสังคมโลก

       การจัดการศึกษามุ่งเน้นการพัฒนามีความเป็นเลิศทางวิชาการ สอดคล้องกับหลักธรรมชาติที่แตกต่างกัน มุ่งเน้นสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการตอบสนองความต้องการเฉพาะกลุ่มผู้เรียนที่มีศักยภาพ หรืออัจฉริยภาพด้านวิชาการ ดังนั้นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนทุกคน เพื่อให้ผู้เรียนพบศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของผู้เรียนแต่ละบุคคลสู่ความเป็นเลิศต่อไป

       โรงเรียนเป็นสถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องมีทรัพยากรจัดการศึกษาอย่างคุ้มค่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้แก่ เด็ก เยาวชนและประชาชนในท้องถิ่นในระดับใดระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น จัดการศึกษาตลอดชีวิตเรียนรู้เต็มตามศักยภาพ หลักการสำคัญในการบริหารประกอยด้วย

       1) หลักการส่งเริมความเข้มแข็งให้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

       2) หลักการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสู่ความเป็นเลิศตามศักยภาพหรืออัจฉริยภาพของผู้เรียน

       3) รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

       4) แนวทางการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

            4.1 เสริมสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

            4.2 สนับสนุนให้โรงเรียนจัดการเรียนการสอน ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดี

            4.3 จัดการศึกษาตามอัธยาศัย ส่งเสริมจัดหาแหล่งเรียนรู้หลากหลายตามความต้องการของเด็ก

            4.4 สร้างวิสาหกิจชุมชน โดยการพัฒนาคนในท้องถิ่น ด้วยการจัดตั้งกิจการของชุมชนเกิดจากการรวมตัวกันของประชาชนในท้องถิ่น ดำเนินการประกอบธุรกิจร่วมกันของประชาชนในท้องถิ่น ดำเนินการประกอบธุรกิจร่วมกัน นำไปสู่การสร้างรายได้และการพึ่งพาตนเองของครอบครัวและชุมชน

กรอบแนวคิดการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น

นิยามศัพท์ :

การพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง บริเวณพื้นที่ที่คณะกรรมการนโยบายประเทศกำหนดให้เป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งรัฐจะสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาระบบการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ตเสร็จที่สอดคล้องกับระบบ ASEAN Single Window และการดำเนินการอื่นที่จำเป็นเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากรและผู้เรียบเรียง