บทที่  4

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

       เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ใช้สัญลักษณ์ในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้

n แทน จำนวนนักเรียนในกลุ่มตัวอย่าง

x̅ แทน  ค่าเฉลี่ย

S.D แทน ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

t แทน ค่าสถิติที่ใช้ในการพิจารณา t-test

** แทน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรายงานผลการวิจัย รายงานผลตามลำดับ ดังนี้

1. ผลการทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

2. ผลการเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

3. พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

    ตอนที่  1  ผลการทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

       ผลการทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนในคุณลักษณะความกตัญญูกตเวที  ความซื่อสัตย์สุจริต  และความเสียสละ  โดยนำคะแนนของนักเรียนที่ได้จากการทำแบบวัดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมหลังเรียน  มาหาค่าเฉลี่ยและเทียบกับเกณฑ์การแปลความระดับเหตุผลเชิงจริยธรรม  ได้ผลดังตารางที่  2

ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละของจำนวนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4

แผนการจัดการเรียนรู้ คะแนนเต็ม (120) หลังเรียน จำนวนนักเรียน (n=28) ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
S.D. ระดับ 4 (34-40)
จำนวน ร้อยละ
ความกตัญญูกตเวที 40 39.18 0.90 0.90 100
ความซื่อสัตย์ 40 37.92 1.56 1.56 100
ความเสียสละ 40 39.39 1.17 1.17 100
รวม 120 38.83 0.33 28 100

จากตารางที่ 2 พบว่าการศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติมีโดยรวมมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 100 เมื่อพิจารณาตามแผนการจัดการเรียนรู้พบว่าเหตุผลเชิงจริยธรรมเกี่ยวกับ ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ มีนักเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ทุกคน ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการแสดงบทบาทสมมุติก่อนและหลังผู้วิจัยได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือกับการแสดงบทบาทสมมุติปรากฏผลในตารางที่ 3 ดังนี้ ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและ หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

การทดลอง n S.D. t Sig.
ก่อนเรียน 28 109.04 7.73 6.03** .00
หลังเรียน 28 116.50 2.54

**   มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

       จากตารางที่  3  พบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนนักเรียนมีเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติหลังเรียนสูงกว่าก่อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 แสดงว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติแล้วทำให้นักเรียนมีเหตุผลเชิงจริยธรรมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ตอนที่  3  พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน

จากการทดลองจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติจำนวน 6  แผน ใช้เวลา 12 คาบ ผลการสังเกตพฤติกรรม  การเรียนรู้ของนักเรียนโดยสรุปเป็นภาพรวมในแต่ละขั้นของการสอนดังนี้

       1. ขั้นเตรียมนำเข้าสู่บทเรียน    นักเรียนนั่งสมาธิด้วยความตั้งใจเป็นอย่างดีแต่มีนักเรียนบางคนยังไม่มีสมาธิในการฟังเนื่องจากมีเสียรบกวนจากนอกห้องเรียนครูจึงเปิดเพลงให้นักเรียนฟังเพื่อให้นักเรียนมีสมาธิมากขึ้นจากการนั่งสมาธิครูได้บอกนักเรียนให้ระลึกถึงความดีที่เราปฏิบัติระหว่างนั่งสมาธินักเรียนตั้งใจมากยิ่งขึ้นเพื่อดึงดูดความสนใจไปที่เพลงให้กับนักเรียนและครูพูดคุยและบอกจุดประสงค์ให้นักเรียนทราบในการทำกิจกรรมแล้วครูถามเหตุผลของการฟังว่ามีความรู้สึกอย่างไรกับเพลงที่ได้ฟัง  นักเรียนแย่งกันตอบครูจึงให้นักเรียนตอบทีละคนเพื่อความเป็นระเบียบและครูคอยชี้แนะจากการตอบคำถามจากนักเรียนสามารถร่วมกันอภิปรายและตอบคำถามจากบทเพลงได้ถูกต้องให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นอย่างมีเหตุผล

       2. ขั้นแสดงบทบาทสมมุติ   ครูได้ชี้แจงเรื่องว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่นักเรียนจะต้องแสดงและได้รับบทบาทอะไรของแต่ละกลุ่มโดยแบ่งกลุ่มเป็น  2  กลุ่มโดยเป็นกลุ่มผู้แสดงบทบาทตามเนื้อเรื่องที่กำหนดและส่วนที่เหลือจะเป็นผู้ทำหน้าที่สังเกตการณ์ของผู้แสดงโดยเป็นการให้คะแนนของกลุ่มนั้นๆ เพื่อให้นักเรียนตั้งใจดูกลุ่มเพื่อนที่แสดง ครูให้นักเรียนจับสลากกลุ่มโดยครูนำร้องเพลงให้นักเรียนมีความสนุกสนานต่อเรื่องที่นักเรียนจะแสดงทำให้นักเรียนสามารถลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและสามารถที่จะให้เหตุผลได้ดียิ่งขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อม

       3.  ขั้นทำงานกลุ่มระดมสมอง  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มกำหนดชื่อเรื่องที่จะแสดงโดยให้นักเรียนยกมือขึ้นแล้วตอบและช่วยกันคิดเรื่องที่จะแสดงนักเรียนบางคนยังไม่รู้ว่าจะคิดเรื่องใดครูจึงได้ให้คำแนะนำกับนักเรียน ทำให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดโดยการให้เหตุผลกับเพื่อนได้อย่างมีความสุขนักเรียนจึงได้แนวคิดเรื่องได้มากขึ้นระหว่างที่คิดเรื่องนักเรียนมีความสนุกสนานกล้าที่จะแสดงออกมีความสุขกับการจัดกิจกรรม

       4.  ขั้นทำงานกลุ่ม  หลังจากที่นักเรียนทราบชื่อเรื่องนักเรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะแสดงครูให้นักเรียนตั้งประธานกลุ่มพร้อมจดชื่อเพื่อนในกลุ่มเพื่อครูจะมีการให้คะแนนกลุ่มดูว่ากลุ่มไหนนักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานของกลุ่มและประธานกลุ่มเป็นผู้คอยติดตามสมาชิกในกลุ่มโดยให้ทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิด ครูให้เวลาจัดเตรียมอุปกรณ์ เสื้อผ้า สิ่งที่ต้องใช้ในการแสดงให้เป็นอย่างดีโดยมีความคิดสร้างสรรค์ครูสังเกตว่านักเรียนมีความสุข สนุกสนาน ตื่นเต้น กล้าในการแสดงออกที่จะได้แสดงให้เพื่อนๆ ในห้องดู นักเรียนได้กล้าแสดงความคิดกล้าแสดงออกได้ร่วมมือกันกับเพื่อนโดยแบ่งปันให้เพื่อนได้ทราบเหตุผลนักเรียนบางกลุ่มยังไม่เข้าใจในการจัดเตรียมนักเรียนก็ได้มาปรึกษาครู  ครูให้คำแนะนำกับนักเรียนให้เข้าใจมากยิ่งขึ้นและเมื่อนักเรียนพร้อมที่จะแสดงให้นักเรียนแนะนำตัวละครว่าเป็นใครบ้าง ชื่อเรื่องที่จะแสดง  เพื่อให้เพื่อนทราบว่าจะแสดงเรื่องอะไรนักเรียนก็ลงมือในการแสดงได้เลยโดยแต่ละกลุ่มให้ความร่วมมือในการแสดงได้ดีกันทุกคนระหว่างที่เพื่อนแสดงมีกลุ่มเพื่อที่เหลือครูบอกให้นักเรียนเป็นผู้สังเกตการณ์โดยให้คะแนนกลุ่มเพื่อนโดยมีนักเรียนบางคนคุยกันบ้างครูจึงบอกให้นักเรียนตั้งใจดูว่าเพื่อนแสดงเรื่องอะไรแล้วจะมีการถามโดยให้นักเรียนช่วยกันตอบอย่างมีเหตุผลของเรื่องที่เพื่อนแสดงนักเรียนจึงตั้งใจดูมากยิ่งขึ้น

       5. ขั้นสรุป  หลังจากที่นักเรียนแสดงจบแล้วครูได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่เพื่อนแสดงโดยอย่างมีเหตุผลนักเรียนช่วยกันตอบโดยให้นักเรียนทำใบตอบคำถามโดยให้เหตุผลเชิงจริยธรรมครูจึงชี้แนะจากการตอบคำถามให้มีเหตุผลที่ดีมากขึ้นหลังจากนั้นครูและนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ในด้านผลดีต่อผู้ปฏิบัติเพื่อสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องทำให้นักเรียนสามารถแบ่งปันประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับนักเรียนพร้อมทั้งครูยังให้นักเรียนช่วยกันสรุปหาเหตุผลในการปฏิบัติ