ผลของการงอกต่อปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัส กรดไฟติกและกรดแกมมา-แอมิโนบิวทิริก (กาบา) ของข้าวไทยพันธุ์กข ๔๑

ผลของการงอกต่อปริมาณอนินทรีย์ฟอสฟอรัส กรดไฟติกและ กรดแกมมา-แอมิโนบิวทิรกิ (กาบา) ของข้าวไทยพันธุ์กข 41

Effect of Germination on Inorganic Phosphorous, Phytic Acid and Gamma-aminobutyric Acid (GABA) Contents of RD41 Thai Rice

ธิดา อมร
Tida Amon
สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลยัราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

View Fullscreen

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน (Learning Management in Classroom)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชา การจัดการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่ โรงพิมพ์สหธรรมมิก จำกัด กรุงเทพมหานคร

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางจุติมา รัตนพลแสนย์ และคณะ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : การเรียนรู้จัดเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เน้นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เนื่องจากประสบการณ์และการฝึกหัดและจากสภาพแวดล้อม องค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม การเรียนรู้เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ อาทิเช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของฟาฟลอฟ สกินเนอร์ ธอรันไดด์ โคท์เลอร์และแบนดูรา

       รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีการจัดหมวดหมู่ของรูปแบบตามลักษณะ วัตถุประสงค์เฉพาะหรือเจตนารมณ์ของรูปแบบมี 5 หมวด อาทิเช่น เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัย ด้านจิตพิสัยและทักษะพิสัย ฯลฯ เป็นต้น รูปแบบการสอนที่เน้นการพัฒนาด้านพุทธิพิสัยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ การสอนมโนทัศน์ สอนตามแนวคิดของยาเย การสอนโดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า สอนเน้นความจำและสอนโดยใช้ผังกราฟฟิค รูปแบบการสอนตามแนวคิดของกานเย มีผลการเรียนรู้ที่มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่างๆ ของมนุษย์ เกิดจากทักษะทางปัญญา ภาษาหรือคำพูดและเจตคติ และการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์ ทักษะการเคลื่อนไหวและเจตคติ

       รูปแบบการสอน โดยการนำเสนอมโนทัศน์กว้างล่วงหน้า จะเกิดความคิดรวบยอดในสิ่งที่เรียนและสามารถจัดโครงสร้างความรู้ของตนเองได้ และพัฒนาทักษะอุปนิสัยในการคิดและเพิ่มพูนความรู้ รูปแบบการสอนเน้นความจำ ช่วยให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระที่เรียนแล้วสามารถนำไปใช้ได้กับการเรียนรู้สาระอื่น และรูปแบบการสอน โดยใช้ผังกราฟฟิคเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม และสร้างความหมาย ความเข้าใจเนื้อหาข้อมูล พร้อมจัดระเบียบข้อมูลที่เรียนรู้ด้วยผังกราฟฟิคเพื่อง่ายต่อการจำ

       รูปแบบการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจตนเอง เข้าใจความรู้สึกและพฤติกรรมของผู้อื่น เกิดการปรับตัว เปลี่ยนเจตคติ ค่านิยมและพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปในทางที่เหมาะสม รูปแบบการเรียนการสอนกระบวนการคิดสร้างสรรค์ มุ่งพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียน ช่วยให้เกิดแนวคิดแตกต่างจากเดิมและสามารถนำความคิดใหม่ให้เป็นประโยชน์ได้ สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนทางตรงมุ่งให้ผู้เรียนรู้ทั้งเนื้อหา สาระและมโนทัศน์ต่างๆ รวมทั้งฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ

       องค์ประกอบการเขียนแผนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อ แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและบันทึกผลการจัดการเรียนรู้

       รูปแบบของแผนการจัดการเรียนรู้ที่นิยมใช้มี

       การเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ต้องให้ครบ 3 ด้าน ประกอบด้วยคามรู้ (K : Knowledge) ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A : Attribute) และด้านทักษะกระบวนการ (P : Process)

       การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ คือ การกระทำให้สมบูรณ์นำหน่วยย่อยๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกลมกลืนกันเป็นหนึ่งเดียวให้ครบสมบูรณ์ในตัวเอง ลักษณะการบูรณาการ มีบูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้กับบูรณาการระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ สำหรับรูปแบบบูรณาการมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การสอนบูรณาการแบบทดลองรวมหรือแบบสอดแทรก บูรณาการแบบคู่ขนาน บูรณาการแบบสหวิทยาการ และบูรณาการแบบเชื่อมโยงข้ามวิชา ขั้นตอนการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ เริ่มจากการกำหนดหัวเรื่อง ทำเครือข่ายความคิด (Web) หรือผังความคิด (Concept Map) หรือผังกราฟฟิค และจัดเรียงลำดับเนื้อหาและทักษะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องเพื่อนำไปวางแผนการจัดการเรียนรู้

       การเลือกและการใช้สื่อการเรียนรู้ สื่อเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นตัวกลางที่ช่วยให้ผู้ทำได้ดีและประสบความสำเร็จในเวลาที่จำกัด และรูปแบบการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติของผู้เรียนในเรื่องที่เรียน และทักษะกระบวนการต่างๆ เช่น ทักษะการคิด ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และทักษะการแก้ปัญหา พร้อมทักษะการสื่อสาร

       รูปแบบการสอนตามวัฏจักรการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสได้ใช้สมองทุกส่วน ทั้งซีกซ้ายและซีกขวา ในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ตนเอง รูปแบบการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อนๆ และพัฒนาทักษะต่างๆ เช่น ทักษะการสื่อสาร ฯลฯ เป็นต้น

       การออกแบบการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญที่จะถ่ายทอดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร เป็นการทำความเข้าใจ การปรับปรุง การประยุกต์ใช้วิธีการสอนและตัดสินว่าจะใช้วิธีใดที่ดีที่สุดที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์ของความรู้ ทักษะและเจตคติในตัวผู้เรียนเป็นยุทธวิธีการสอนหลักก่อนและจัดเลือกเนื้อหา ให้เป็นสาระการเรียนรู้

ภาพ การวางแผนและการออกแบบการเรียนการสอน

จุดเด่น / ความน่าสนใจของหนังสือ : การออกแบบการเรียนการสอนใหม่ จะมีประสิทธิภาพ ต้องใช้วิธีการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design) โดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้ โดยการเชื่อมโยงสอดคล้องกันระหว่างกำหนดเป้าหมายที่พึงประสงค์ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก กำหนดเป้าหมายปลายทาง ขั้นสอง กำหนดการประเมินผล และขั้นสุดท้ายเป็นการออกแบบการเรียนรู้

       การออกแบบการจัดการเรียนรู้ จะต้องพิจารณาสื่อการสอนที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ข้างต้น ต้องพิจารณาของผลการออกแบบด้วย “Where To” W = วิธีใดช่วยให้นักเรียนรู้ว่าจะไปทิศทางใด   H = กระตุ้นและดึงดูดความสนใจ E= จะทำอย่างไรนักเรียนจะมีส่วนร่วม R = จัดกิจกรรมอย่างไรจึงจะทำให้เข้าใจ T = จะออกแบบเรียนรู้อย่างไรและ O = จัดระบบสิ่งที่ตนเรียนรู้จากความเข้าใจ

       แผนการจัดการเรียนรู้ที่ประมวลมาทั้งหมดในการจัดการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดให้จากแนวการจัดการเรียนรู้ของคู่มือครูหรือกรมวิชาการภายใต้กรอบที่ต้องการให้เกรดการเรียนรู้ โดยการกำหนดจุดประสงค์ วิธีการดำเนินการหรือกิจกรรม ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ สื่อ การเรียนรู้ และวิธีวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

       ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เรียนได้ศึกษาความรู้ เกิดปฏิสัมพันธ์กัน กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ การคิดแก้ไขปัญหา สามารถสร้างองค์ความรู้และเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง มี 4 ลักษณะ คือ แบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ แบ่งตามกระบวนการการพัฒนาความคิดตามทฤษฎีของบรูเนอร์ แบ่งตามประสบการณ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับและแบ่งตามโครงสร้างของสื่อ รูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์มี 3 รูปแบบ ได้แก่ การฟัง การดู และการกระทำ เกณฑ์การเลือกสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยความเหมาะสม ความน่าเชื่อถือได้ ความน่าสนใจ การรวบรวมและความสมดุล คุณภาพด้านเทคนิคและราคา การวางแผนการใช้สื่อการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ เริ่มจากการเตรียมตัวผู้สอน เตรียมสภาพแวดล้อม เตรียมความพร้อมผู้เรียน การใช้สื่อและการประเมิลผลการใช้สื่อการเรียนรู้

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือเล่มนี้มีสาระที่น่าสนใจ และสามารถนำไปประยุกต์ได้กับวิชาชีพครู ได้แก่ 1. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพ สามารถนำไปประยุกต์ได้ ตามแผนภาพ ดังนี้

ที่มา : ทิศนา แขมมณี และคณะ

       กระบวนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทักษะวิชาชีพนั้นประกอบด้วย กระบวนการเตรียมการด้วยการสร้างความเข้าใจและกำหนดช่วงเวลา สำหรับการจัดการเรียนรู้จะใช้วิธีสอนบูรณาการแบบคู่ขนาน หรือสอดแทรกและกระบวนการการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการทักษะวิชาชีพตามที่วางแผนไว้ ต้องให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมวางแผนด้วย

       ตัวอย่าง แสดงการบูรณาการอาเซียนศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้

สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นหลัก

       การสอนแบบบูรณาการ สามารถนำไปใช้สำหรับการเรียนการสอนได้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยผู้สอนอยู่ในระดับขั้นเดียวกัน ควรจะได้มีการประชุมปรึกษาหารือกัน พิจารณาเนื้อหาใดที่ซ้ำซ้อน หรือคล้ายคลึงกัน จะได้นำไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการให้แก่ผู้เรียน ซึ่งจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน

       2. การบริหารจัดการชั้นเรียน สามารถส่งเสริมการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น เป็นสิ่งสัมพันธ์กับการจัดเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู และเป็นกลยุทธ์ในการวางแผนการเรียนรู้ด้วย ทำให้ครูสามารถสร้างข้อกำหนดและข้นตอนการปฏิบัตินำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน หลัก การบริหารจัดการชั้นเรียนประกอบด้วย

       1) ต้องยืดหยุ่นตามความเหมาะสมกับชั้นเรียน

       2) ต้องจัดห้องเรียนเพื่อสร้างเสริมความรู้ทุกด้าน

       3) ต้องจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี เช่น สภาพแวดล้อมทางกาย สติปัญญา อารมณ์และสังคม มีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของผู้เรียนมาก

       4) ต้องจัดให้เอื้อต่อหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

ภาษาและวัฒนธรรม

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ภาษาและวัฒนธรรม

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชาภาษาและวัฒนธรรม

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2560

ข้อมูลเพิ่มเติม : กลุ่มวิชาชีพครู คระครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางประณีต ม่วงนวล และคณะ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ภาษา คือ วิธีที่มนุษย์แสดงความในใจสื่อความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายได้ ภาษาจำแนกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษาถ้อยคำ คือ ความหมายที่แสดงออกได้โดยวิธีตัวอักษรเป็นสัญญาลักษณ์ในการสื่อความหมายทางการพูดและการเขียนและภาษาท่าทางที่แสดงออกได้ โดยการแสดงอากัปกิริยา ได้แก่ สีหน้า แววตา ท่าทาง เช่น การใช้นิ้วมือในภาษาใบ้และการรำละคร เป็นต้น ภาษาเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของชาติ เพราะภาษาเป็นสื่อให้ติดต่อกันและทำให้วัฒนธรรมอื่นๆ เจริญขึ้น พร้อมทั้งยังเป็นศูนย์กลางยึดเหนี่ยวคนทั้งชาติ วัฒนธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์นับแต่เกิดจนตาย การใช้ภาษาอย่างมีวัฒนธรรม หรือวัฒนธรรมที่แสดงออกในภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ เป็นเครื่องมือสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการบันทึกเป็นเครื่องมือสร้างเอกภาพของชาติและเป็นเครื่องมือช่วยจรรโลงใจระดับภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร แบ่งได้ดังนี้ ภาษาระดับพิธีการ ภาษาระดับทางการ ระดังกึ่งทางการ ไม่เป็นทางการและระดับกันเอง มนุษย์ต้องใช้ภาษาจึงเกิดความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม อาทิเช่น ภาษาช่วยถ่ายทอดวัฒนธรรมไว้ไม่ให้สูญหาย เป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตคนไทย สำหรับวัฒนธรรมไทยแสดงถึงความรุ่งเรืองในประวัติศาสตร์ประเทศเอกลักษณ์ ศักดิ์ศรีและความสามัคคี นำมาซึ่งความเป็นปึกแผ่นมั่นคง โดยเฉพาะทักษะการฟัง คือ การรับรู้เรื่องราวข่าวสารจากการได้ยิน แล้วทำความเข้าใจจนสามารถนำสารนั้นไปใช้ประโยชน์ เป็นกระบวนการสื่อสารที่มนุษย์ใช้มาก่อนทักษะอื่น เพราะการฟังมีจุดมุ่งหมายฟังเพื่อให้เกิดความรู้ ฟังเพื่อความบันเทิงและผ่อนคลาย ฟังเพื่อให้เกิดความคิดและตัดสินใจ ฟังเพื่อสร้างความเข้าใจหรือฟังความคิดเห็น ฟังเพื่อได้คติสอนใจและฟังเพื่อพัฒนาสมองและรักษาสุขภาพจิต การฟังต้องมีมารยาทเพราะเป็นวัฒนธรรมประจำชาติต้องยึดถือความถูกต้องเหมาะสม อาทิเช่น มีความตั้งใจและพร้อมที่จะฟัง มีสมาธิ คิดตามเนื้อหาที่ฟังตลอด มีใจเป็นกลาง ให้เกียรติผู้พูด บันทึกการฟังอย่างถูกต้องและหากสงสัยให้ถามผู้พูด

       ทักษะการพูด เป็นพฤติกรรมการสื่อสารโดยการถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึกและความต้องการ การพูดจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ต่อทุกอาชีพ เสริมสร้างความเจริญก้าวหน้า การพูดแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การพูดโดยกะทันหัน การพูดโดยเตรียมมาก่อนและการอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ ทักษะการอ่านเป็นกระบวนการพัฒนาทักษะทางการรับรู้ความหมายของคำ สัญลักษณ์ ความคิด ความรู้สึกตามเจตนารมณ์ของผู้เขียน การอ่านเป็นการรับสาร ซึ่งเกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่สายตารับรู้ข่าวสารเป็นอักษรโดยผู้อ่านสามารถเข้าใจหน่วยงานต่างๆ ของภาษาผ่านตัวอักษรถูกต้อง เพราะการอ่าน คือ การแปลความหมายของตัวอักษรออกมาเป็นความคิดแล้วนำความคิดไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ส่วนตัวอักษรใช้สัญลักษณ์แทนคำพูด ซึ่งคำพูดเป็นเสียงใช้สื่อสาร การอ่านหนังสือหรือสิ่งตีพิมพ์แต่ละประเภท ผู้อ่านย่อมมีวิธีการอ่านแตกต่างกัน ดังนั้นลักษณะการอ่านมี 4 ประเภท คือ การอ่านแบบคราวๆ การอ่านปกติ การอ่านละเอียด ทักษะการเขียนเป็นทักษะการใช้ภาษาไทยที่สำคัญเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความรู้สึกนึกคิด เรื่องราวประสบการณ์ต่อๆ ไปสู่ผู้อื่น โดยใช้ตัวอักษรเป็นเครื่องมือ การเขียนภาษาไทยอย่างถูกต้องมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนไทย โดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทั้งทางการสื่อสาร การนำไปใช้เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมและพัฒนาทั้งด้านวิชาความรู้และอาชีพ การใช้ภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนไทยทุกคน

       ภาษาที่ใช้สื่อสารในกลุ่มประเทศอาเซียน นั้นภาษามาตรฐานที่ใช้สื่อสารกลุ่มอาเซียน คือ ภาษาอังกฤษ นอกจากนั้นยังมีภาษาทางการ ภาษาประจำชาติของประเทศในกลุ่มอาเซียนประกอบด้วย ภาษาไทย ภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม ภาษามาเลย์ ภาษาฮาซาอินโดนีเซีย ภาษามาลายู บรูไน และภาษาฟิลิปปิโน

       พลวัตของภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับสังคม วัฒนธรรมนั้นจะพบว่า ยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงภาษาเป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารของมนุษย์ทางสังคม เนื่องจากมนุษย์ทุกชาติทุกสังคมมีศักยภาพติดต่อสื่อสารแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นภาษาจึงเป็นรากฐานที่สำคัญ คือ ทุกอย่างมาจากสังคมและวัฒนธรรมไทยรวมทั้งต่างประเทศด้วย ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสังคมมนุษย์ตามลำดับ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของภาษา หมายถึง การที่ภาษาต่างยุคต่างสมัยกันจะมีรูปแบบภาษาที่แตกต่างกัน โดยมีการพัฒนามาจากการแปลภาษาจะเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของภาษามี 4 ประเภท ได้แก่ เปลี่ยนแปลงทางเสียง ทางไวยากรณ์ คำศัพท์ เปลี่ยนแปลงความหมายและอายุด้วย

       สำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนั้นจะเกิดขึ้นกับพฤติกรรมของบุคคลในสังคม สืบเนื่องมาจากการมีความสัมพันธ์ทางสังคมต่อกันมากกว่า นอกจากนั้นยังเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการจากสภาพดั้งเดิมอยู่ด้วยกันอย่างง่ายๆ ไปสู่ขั้นสลับซับซ้อน กลายเป็นวัฏจักรของความเจริญกับความเสื่อม ซึ่งมีทฤษฎีรองรับ เช่น ทฤษฎีความขัดแย้ง (Conflict theory) ทฤษฎีความทันสมัย (Modernization Theory) และทฤษฎีพึ่งพา (Dependency Theory) การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นในวัฒนธรรมของประชาชาติหนึ่งๆ แต่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เกิดขึ้นกับการเคลื่อนย้ายจากถิ่นหนึ่งไปยังแหล่งอื่นๆ เช่น การท่องเที่ยว การค้าขาย การเผยแพร่ศาสนา และการไปศึกษาหาความรู้ ฯลฯ เป็นต้น จะมีการทำนุวัฒนธรรมติดตัวไปด้วย พร้อมรับวัฒนธรรมจากสังคมที่ไปติดต่อกลับมา จัดว่าเป็นการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม เช่น อาหาร เครื่องมือ เครื่องใช้ ฯลฯ เป็นต้น

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือภาษาและวัฒนธรรมเล่มนี้สามารถสรุปสาระสำคัญๆ เชิงวิชาการได้หลายหัวเรื่อง อาทิเช่น

       หัวเรื่องที่ 1. ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม ได้แก่

          1.1 ภาษาเป็นเครื่องแสดงความเป็นชาติและวัฒนธรรมของชาติแสดงถึงความผูกพันของชนชาติเดียวกัน
1.2 ภาษาเป็นเครื่องมือแสดงปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในฐานะของผู้ส่ง ผู้รับภาษาและฐานะความสัมพันธ์ฉันท์เครือญาติ
1.3 ภาษาเป็นตัวแทนของพฤติกรรมและกิจกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นสังคมของมนุษย์
1.4 ภาษาเป็นเครื่องมือทางการเมืองและกิจกรรมที่ถ่ายทอดความเป็นสังคมของมนุษย์
1.5 ภาษาเป็นเครื่องช่วยบันทึกเรื่องราวประวัติศาสตร์จากอดีตถึงปัจจุบัน
1.6 ภาษาเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์สังคม

 

       หัวเรื่องที่ 2. การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ คือ 

          2.1 ทางสัญลักษณ์ (Symbols) ทั้งทางธรรมชาติและจากมนุษย์เป็นผู้สร้าง เช่น สัญญาณไฟ เป็นต้น
2.2 ทางด้านของระบบ (System) ภาษาทุกภาษามีระบบ เช่น ระบบหน่วยคำ ระบบไวยากรณ์ ฯลฯ เป็นต้น
2.3 ทางด้านอำนาจทางสังคมสะท้อนออกมาจากภาษา (The Reflection of Power in a society) เช่น อำแดง ฯลฯ เป็นต้น

 

       หัวเรื่องที่ 3. ลักษณะของวัฒนธรรม มีลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นหลายประการ เช่น

          3.1 การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
3.2 การมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
3.3 อักษรไทยและภาษาไทย
3.4 ประเพณีไทย
3.5 วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน เช่น เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย จรรยามารยาทของคนไทยและจิตใจ

 

       หัวเรื่องที่ 4. การสืบทอดวัฒนธรรมไทยให้ดำรงไว้เป็นมรดกไทยสืบไป ต้องพิจารณาถึงพัฒนาการของวัฒนธรรมของสังคมทั่วไปและสามารถถ่ายทอดได้จากสังคมหนึ่งไปอีกสังคมหนึ่ง พัฒนาการของวัฒนธรรมมี 3 ประการ คือ

          4.1 การสะสมวัฒนธรรม จากสิ่งแวดล้อมโดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือบอกเล่าและบันทึกวัฒนธรรม
4.2 การปรับปรุงวัฒนธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการดำเนินชีวิตตามยุคสมัย โดยการเลือกสรรค์
4.3 การสืบทอดวัฒนธรรม อย่างต่อเนื่องโดยการใช้ภาษา

 

หัวเรื่องที่ 5. กระบวนการสร้างทักษะสัมพันธ์ทางภาษาเป็นกระบวนการที่เป็นขั้นตอน หรือกลวิธีสร้างกระบวนการทักษะสัมพันธ์ทางภาษา ดังนี้

          5.1 การแปลความ เกี่ยวข้องกับทักษะการอ่าน การฟัง จัดว่ามีส่วนเสริมสร้างทักษะการรับสารเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
5.2 การถอดความ จะใช้กับบทประพันธ์ที่เป็นร้อยกรอง เรียกการถอดคำประพันธ์
5.3 การย่อความ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องต่างๆ แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่จากสำนวนภาษาหรือข้อความ
5.4 การจับใจความสำคัญ เป็นการอ่านเข้าถึงสาระสำคัญของข้อเขียนในแง่ต่างๆ เช่น เนื้อเรื่องสำคัญ เพราะใจความสำคัญ คือ ความคิดของผู้เขียนที่แสดงไว้
5.5 การสรุปความ เป็นการอ่านต่อเนื่องจากการอ่านจับใจความสำคัญ
5.6 การขยายความ อ่านเพื่อขยายความคิดของผู้อ่านให้ลึกซึ้ง กว้างไกล จากเหตุผลประกอบ

 

หัวข้อเรื่องที่ 6. ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประกอบด้วย

          6.1 สิ่งแวดล้อมทางสรีระธรรมชาติ (Physiological Environment) เช่น แถบทะเลทรายของทวีปแอฟริกา เคยเป็นพื้นที่เขียวชอุ่มเพาะปลูกดี ต่อมาดินถูกทำลายเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ทำความเสียหายให้แก่มนุษย์
6.2 การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากร (Population Change) เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมประชากรเพิ่มอย่างรวดเร็ว เพราะจากที่หนึ่งอพยพไปอีกที่หนึ่ง
6.3 การอยู่โดดเดี่ยวและการคิดต่อเกี่ยวข้อง (Isotact and Contact) สังคมใดการคมนาคมเจริญ ทันสมัยจะกลายเป็นศูนย์กลางการเปลี่ยนแปลง เช่น การค้นพบเส้นทางการเดินเรือ ฯลฯ เป็นต้น
6.4 โครงสร้างของสังคมและวัฒนธรรม (Structure of Society and Culture) มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น สังคมเกิดการแข่งขันกัน มีค่านิยมต่างกัน
6.5 ทัศนคติทางค่านิยม (Attitudes and Value) ช่วยให้รู้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นมากหรือน้อย
6.6 ความต้องการที่รับรู้ (Perceived Peers) ความต้องการรับรู้หรือมองเห็นได้ของสมาชิกในสังคม เช่น การคิดค้น การประดิษฐ์ใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
6.7 พื้นฐานทางวัฒนธรรม (Culture Base) เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์เกิดขึ้นจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ค่านิยมของคนแตกต่างกัน

 

หัวเรื่องที่ 7 พลวัตของภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับสังคมและวัฒนธรรม มีลักษณะสำคัญ ได้แก่ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางภาษา สาเหตุของการเปลี่ยนแปลง ประเภทของการเปลี่ยนแปลงและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ดังแผนภูมิ

ภาษา สื่อสาร / การใช้เสียง / การถ่ายทอดความรู้ / การถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนและสังคม

การเปลี่ยนแปลงของภาษา

สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของภาษา

ประเภทของการเปลี่ยนแปลง

– ทางเสียง , ทางไวยากรณ์ , ทางคำศัพท์ , ที่ไม่มีผลกระทบต่อจำนวนคำในคลัง

– สาเหตุการเปลี่ยนแปลงทางความหมาย

– ผลการเปลี่ยนแปลงความหมาย

– ผลการเปลี่ยนแปลของภาษา

– การลู่ออกจากคำและการลู่เข้าของคำ

การเปลี่ยนแปลงความหมาย (ภาษากับอายุ)

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

ความหมายการเปลี่ยนแปลทางสังคม

– ปัจจัยการเปลี่ยนแปลง

– ความหมายการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม

– การแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

– การล้าทางวัฒนธรรม

– ช่องว่างทางวัฒนธรรม

การสร้างสรรค์ระหว่างวัฒนธรรม

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : สาระของหนังสือเล่มนี้มีจุดเด่นที่สามารถนำไปใช้ประยุกต์ใช้ได้ทั้งผู้เป็นครูและทุกอาชีพเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษาการสื่อสารและวัฒนธรรม อาทิเช่น

หลักการฟังอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ได้รับความรู้เพลิดเพลิน ช่วยให้สติปัญญาเจริญงอกงามต้องมีหลักการ คือ หลักการฟังทั่วไป ต้องฝึกฝนตลอดเวลา สามารถเริ่มจากมีสมาธิในการฟัง พยายามจับประเด็นสำคัญ พิจารณาไตร่ตรองเรื่องที่ฟังด้วย หลักการฟังสารประเภทต่างๆ มี 3 ประเภท คือ เนื้อหามุ่งความรู้ ข้อเท็จจริง ต้องฟังแล้ววิเคราะห์ ตีความจากประเด็นสำคัญและทบทวนสิ่งที่ได้ฟัง และต้องพัฒนาทักษะการฟังต้องเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการฟัง ฝึกการจดบันทึกขณะฟังและสรุปใจความในขณะฟัง สำหรับหลักการฟังอย่างสร้างสรรค์นั้นต้องเลือกฟังสิ่งที่ดี เลือกสารที่จะฟังโดยการเข้าใจพื้นฐานทางภาษาก่อนและเลือกสื่อช่วยฟังอย่างเหมาะสม

       ทักษะการพูดเป็นพื้นฐานในการสร้างความเชื่อมั่น ความศรัทธาในบุคคล การพูดมี 3 ประเภท คือ การพูดโดยกระทันหันพูดโดยเตรียมมาก่อนและอ่านจากต้นฉบับที่เตรียมไว้ การฝึกพูดในโอกาสต่างๆ มี  3 ขั้นได้แก่

          ขั้นที่ 1 ขั้นฝึกทักษะพื้นฐานทางการพูด
ขั้นที่ 2 ขั้นเตรียมบทพูด
ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกพูด

       ทักษะการอ่าน คือ การรับรู้ความหมายของคำ สัญลักษณ์ ความคิด และความรู้สึกตามเจตนาของผู้เรียน วัตถุประสงค์ของการอ่านได้แก่ อ่านเพื่อความรู้ เพื่อความบันเทิงเพื่อความทันสมัยและฆ่าเวลา ฯลฯ เป็นต้น  ลักษณะการอ่าน คือ การอ่านคราวๆ อ่านเร็ว อ่านปกติและอ่านละเอียด สำหรับทักษะการเขียนจำเป็นและสำคัญเพราะเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความสามารถ ความต้องการอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน

       ประเภทของการเปลี่ยนแปลงทางภาษาเกิดจาก

          1) การเปลี่ยนแปลงทางเสียง
2) การเปลี่ยนแปลงทางไวยากรณ์
3) การเปลี่ยนแปลงทางคำศัพท์ เช่น การสูญคำ การสร้างคำใหม่และการยืมคำ

       ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ได้แก่

          1. ทฤษฎีความขัดแย้ง เป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ จะเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นสัญลักษณ์ธรรมชาติที่มีอยู่ในระบบสังคม
2. ทฤษฎีความทันสมัย เป็นการเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคม ประเพณี ไปสู่สังคมสมัยใหม่ที่มีลักษณะตามอย่างสังคมที่พัฒนาแล้ว เริ่มจากสภาพล้าหลัง
3. ทฤษฎีการพึ่งพา เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เกิดจากการพัฒนาหลายด้านหลายแนวคิดประกอบกัน

       ดังนั้นวัฒนธรรมย่อมเปลี่ยนแปลงเสมอ เนื่องจากความต้องการ  สามารถกำหนดจากการทำนุบำรุงส่งเสริมวัฒนธรรมให้เจริญงอกงาม คิดค้นใหม่หรือดัดแปลงของเดิมหรือเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ สภาพดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงจากความต้องการของมนุษย์ และเกิดจากพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดการแพร่กระจายทางวัฒนธรรมจากสังคมหนึ่งไปสู่สังคมหนึ่งถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงไม่เท่าเทียมกันจะเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรมได้ เช่น วัฒนธรรมทางวัตถุง่ายกว่าวัฒนธรรมทางความคิด ปรัชญา ลัทธินิยมและขนบธรรมเนียมประเพณี

การนำเอาไปใช้ประโยชน์ / อื่นๆ : หนังสือเล่มนี้เนื้อหาภาษาและวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อวิถีชีวิตมนุษย์ กล่าวคือ

       วัฒนธรรมการใช้ภาษาถิ่น เป็นภาษาย่อยๆ ที่ใช้พูดจากันในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารความหมาย ความเข้าใจกันระหว่างผู้คนที่อาศัยอยู่ตามท้องถิ่นนั้นๆ แตกต่างกันไปตามบริบท ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ถิ่นใหญ่ๆ ได้แก่ ภาษาถิ่นกลาง ภาษาถิ่นเหนือ ภาษาถิ่นอีสานและภาษาถิ่นใต้

       วัฒนธรรมครอบครัว ประกอบด้วยบุคคลมาอยู่ร่วมกันจากการสมรส ผูกพันมาจากสายโลหิต เป็นต้น สมาชิกอยู่ร่วมกันภายในครัวเรือนเดียวกัน บางครั้งแยกกันอยู่ ครอบครัวเป็นหน่วยของการกระทำระหว่างกัน เช่น สามีภรรยา พ่อแม่ลูก พี่น้อง สังคมและแต่ละแห่งจะกำหนดบทบาทของแต่ละครอบครัวไว้ขึ้นอยู่กับประเพณี ครอบครัวถ่ายทอดวัฒนธรรม แบบประพฤติปฏิบัติต่อกัน

       ดังนั้น ถ้าคนในสังคมปฏิบัติและยึดถือ ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมได้ ค่านิยมที่ควรแก้ไข ได้แก่

1. ให้ความสำคัญกับวัตถุ หรือเงินตรา
2. ยึดถือในตัวบุคคล ยกย่องผู้มีอำนาจมีตำแหน่งมีเงิน
3. รักความหรูหรา ฟุ่มเฟือย นิยมใช้สินค้ามีแบรนด์ดัง ราคาแพง
4. ไม่ตรงเวลา ขาดระเบียบวินัย ขาดความกระตือรือร้นและขาดความอดทน
5. เชื่อเรื่องโชคลาง อำนาจเหนือธรรมชาติ ชอบเล่นการพนัน
6. ขาดความเคารพผู้อาวุโส
7. นับถือวัตถุมากกว่าพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา ทำบุญเอาหน้า ทำบุญเพื่อหวังความสุขในชาติหน้า
8. นิยมตะวันตก สืบภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาของธรรมชาติจนทำให้ภาษาไทยผิดเพี้ยน
9. นิยมวัฒนธรรมการแต่งกาย ตามแฟชั่นและการบริโภคอาหารแบบตะวันตกและแบบเกาหลีญี่ปุ่น ทำให้หลงลืมละเลยอัตลักษณ์ความเป็นไทย

       เพื่อการเสริมสร้างประเทศไทยในอนาคต คนเป็นทรัพยากรที่สำคัญของธรรมชาติ ควรมีค่านิยม 12 ประการ เพื่อเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ เช่น กตัญญูพ่อแม่ ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ ใฝ่หาความรู้หมั่นศึกษา เล่าเรียนทางตรงและทางอ้อมและรักษาวัฒนธรรมประเพณีไทยอันงดงาม ฯลฯ เป็นต้น

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร


 

ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น

ชื่อผลงานทางวิชาการ : ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น (Foundation of Philosophy Education)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือประกอบการเรียนวิชา การศึกษา

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : จัดพิมพ์โดย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ที่โรงพิมพ์ บริษัทสหธรรมิก จำกัด กรุงเทพ.

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาวแฝงกมล เพชรเกลี้ยง และคณะ ตำแหน่งอาจารย์ คณะครุศาสตร์

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : ปรัชญาเป็นวิธีการมองปัญหาหรือความรู้ที่มีอยู่เพราะปรัชญานำมาประยุกต์ก่อนใช้ จึงเป็นการนำแนวความคิดหรือวิธีการรวมทั้งปัญหาพื้นฐานทางปรัชญามาวิเคราะห์วิชาต่างๆ ชัดจนขึ้น การเกิดปรัชญามาจากความแปลกใจ ความประหลาดใจ การหวนคิด มนุษย์มีสัญชาติญาณอยากรู้อยากเห็น ความสงสัยและลังเลใจ ปรัชญามีหลายประเภท โดยการแบ่งเป็น 4 แบบ โดยเฉพาะแบบที่เป็นสากลมากที่สุด อาทิเช่น ปรัชญาบริสุทธิ์และปรัชญาประยุกต์

       ปรัชญาการศึกษา คือ การนำเอาหลักบางประการของปรัชญาแม่บทมาดัดแปลงให้เป็นระบบเพื่อประโยชน์ในการศึกษา ปรัชญาการศึกษามีความสำคัญมากสำหรับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เพราะมนุษย์ต้องเข้าใจเรื่องชีวิตของโลกและสิ่งแวดล้อม นักการศึกษาสามารถแบ่งสาขาปรัชญาออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 3 สาขา ได้แก่ อภิปรัชญา ญาณวิทยาและคุณวิทยา ลัทธิปรัชญาการศึกษาประกอบด้วยปรัชญาการศึกษากลุ่มสารัตถนิยม กลุ่มนิรันตรนิยม กลุ่มพิพัฒนาการนิยม กลุ่มปฏิรูปนิยม กลุ่มอัตถินิยมและกลุ่มพุทธปรัชญาการศึกษา

       ทฤษฎีการศึกษา เป็นสมมติฐานหรือหลักการที่ได้ผ่านการทดสอบมาแล้ว สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลสามารถแบ่งทฤษฎีทางการศึกษาของไทยเป็น 4 กลุ่ม คือ ทฤษฎีการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนา เกี่ยวข้องกับปัญหาและความคิด เกี่ยวข้องกับสังคม และเกี่ยวข้องกับเสรีภาพทางวิชาการ

       วิวัฒนาการของการศึกษาไทยและต่างประเทศซึ่งการศึกษาไทยมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เพราะเชื่อว่าการศึกษาช่วยกำหนดทิศทางของชาติ พัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นกำลังของชาติมี 3 ยุคสมัย คือ ยุคสุโขทัยจนถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 และสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึงปัจจุบัน

จุดเด่น/ความน่าสนใจของเอกสารประกอบการสอน : วิวัฒนาการของการศึกษาไทยเป็นกระบวนการสร้างและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศให้มีความสามารถเพื่อพัฒนาประเทศชาติ ในยุค

       1. ยุคสมัยสุโขทัยถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีปราชญ์หลายสาขา เช่น ด้านการก่อสร้าง หัตถกรรม ศิลปกรรม ประติมากรรมและแพทย์แผนโบราณ แบ่งออกเป็นสมัยสุโขทัย พ.ศ. 1781 – พ.ศ. 1921 จัดการศึกษาเป็น 2 ฝ่าย การศึกษาสมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2310 ชาติตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้การศึกษาเจริญมากขึ้น แบ่งการศึกษาออกเป็น 5 รูปแบบ สมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น พ.ศ. 2311 – พ.ศ. 2411 มีลักษณะคล้ายอยุธยา มีการเก็บรวบรวมสรรพตำราจากแหล่งต่างๆ ให้รอดพ้นจากการทำลาย เน้นการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะวรรณคดี

       2. ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การศึกษาเริ่มเป็นแบบแผน มีระเบียบแบบแผน จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎร์ทั่วไป รับแนวคิดวิทยาการต่างๆ ของชาติตะวันตกมาใช้ ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความสามารถจัดตั้งโรงเรียน รับคนเข้ารับราชการ สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เน้นการพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ จัดตั้งกองเสือป่า กองลูกเสือ ปลูกฝังความรักชาติ แปลวรรณคดีต่างประเทศเป็นภาษาไทย วางโครงการศึกษาใหม่ส่งเสริมให้หาเลี้ยงชีพนอกเหนือรับราชการบังคับเด็กทุกคนมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ ย่างเข้าปีที่ 8 ต้องเข้ารับการศึกษาพื้นฐานจนครบอายุ 14 ปีบริบูรณ์ โดยไม่เสียค่าเล่าเรียน สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ยกเลิกการเก็บเงินศึกษาพลีใช้เงินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติอุดหนุนการศึกษาแทน ปรับปรุงกระทรวงธรรมการให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจ ยุบกรมสามัญศึกษา และยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมีแผนการศึกษาชาติและการศึกษาแห่งชาติเกิดขึ้นหลายฉบับ ทั้งหมดมี 9 ฉบับ อาทิเช่น แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 มี 3 ส่วน คือ จริยธรรมศึกษา เป็นการอบรมศีลธรรมอันดีงาน พุทธิศึกษาให้มีปัญญาความรู้และพลศึกษา เป็นการฝึกหัดให้เป็นผู้มีร่างกายสมบูรณ์ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2479 กำหนดระยะเวลาของการเรียนชั้นประถมศึกษา เพียง 4 ปี เร่งรัดให้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับโดยเร็ว และแผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2479 สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เพิ่ม หัตถกรรม คือ การฝึกหัดอาชีพและการประกอบอาชีพ รวมเป็น 4 ส่วน มีการจัดการศึกษาพิเศษและผู้ใหญ่ด้วย ยกฐานะกองโรงเรียนประชาบาลในกรมสามัญเป็นกรมประชาศึกษา เพื่อจัดการศึกษาพิเศษ และขยายการศึกษาภาคบังคับเป็น 7 ปี ฯลฯ เป็นต้น

       แนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต เพื่อพัฒนาคนพัฒนาสังคมเป็นพลังขับเคลื่อนและเป็นภูมิคุ้มกันให้คนไทยมีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการดำรงชีวิตอยู่ในโลกของการแข่งขันได้อย่างเท่าเทียมกัน แนวโน้มแนวบวกนั้นเกิดหลักสูตรใหม่จำนวนมาก มีหลักสูตรนานาชาติมากขึ้น การศึกษามีความเป็นสากลมากขึ้น ฯลฯ เป็นต้น ส่วนแนวโน้มทางลบ ด้านคุณภาพการจัดการศึกษา การผลิตบัณฑิตล้นตลาดและคุณธรรมจริยธรรม ฯลฯ

       บทบัญญัติว่าด้วยการศึกษาในรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (กฎหมายการศึกษา) จุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาของไทยเพื่อพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ โดยมีหลักการการจัดการศึกษา 3 ประการ คือ การศึกษาตลอดชีวิต สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับการศึกษา ประกอบด้วยกฎหมายที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาทุกระดับ รวมทั้งพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวงและระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กฎหมายรองรับการปฏิรูปการศึกษา คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545 เกิดจากข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 81 ที่กำหนดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สิทธิทางการเรียน สิทธิผู้เรียน ให้ความสำคัญการศึกษานอกระบบและจัดสรรทรัพยากร เน้นความเสมอภาคและจัดสรรค่าเล่าเรียนเป็นรายบุคคล

       วัตถุประสงค์และนโยบายเป็นแผนยุทธศาสตร์ชั้นนำสำหรับการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในแต่ละแผนงานแต่ละโครงการ อาทิเช่น พัฒนาคนอย่างรอบด้านและสมดุลเพื่อเป็นรากฐานหลักของการพัฒนา สร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญาและการเรียนรู้และพัฒนาสภาพแวดล้อมของสังคมเพื่อเป็นฐานในการพัฒนาคนและสร้างสังคมคุณภาพภูมิปัญญาและการเรียนรู้ การบริหารแผนไปสู่การปฏิบัติเชื่อมโยงกันตามแนวนโยบาย 11 ประการ เช่น หน่วยงานและองค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯเป็นต้น

       ระบบการศึกษา การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบมี 2 ระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา กับการศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญาตรีและระดับปริญญาตรี ส่วนสถานศึกษาที่จัดการศึกษา มี

       1. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ฯลฯ เป็นต้น
2. โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชนและโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนา หรือศาสนาอื่น
3. ศูนย์การเรียนรู้ ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน ฯลฯ เป็นต้น

       สำหรับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามกฎหมายเกี่ยวกับสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กฎหมายที่ว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา 19) และการจัดการศึกษาอาชีวศึกษา การฝึกอบรมอาชีพให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ ของเอกชน สถานประกอบการหรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (มาตรา20) ซึ่งสถานศึกษาต้องพัฒนากระบวนการการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพและส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (มาตรา30)

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ประกอบด้วย

       หมวดที่ 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
หมวดที่ 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
หมวดที่ 3 ระบบการศึกษา
หมวดที่ 4 แนวทางการจัดการศึกษา
หมวดที่ 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
หมวดที่ 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา
หมวดที่ 7 ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
หมวดที่ 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา   และ
หมวดที่ 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

การนำไปใช้ประโยชน์และอื่นๆ ตามความเหมาะสม : หนังสือปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น สามารถนำสาระเนื้อหาไปใช้กับการศึกษาทุกวิชาชีพ โดยเฉพาะอาชีพครู เนื่องจาก

       ประเด็นที่ 1 การนำเนื้อหา สาระไปพัฒนาการศึกษาของประเทศไทย ควรทำเชิงรุกรัฐบาลควรลงทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มากขึ้น มุ่งการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการวิจัย สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบัน

       ประเด็นที่ 2 กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาประเทศให้ชัดเจนทันต่อสภาพยุคโลกาภิวัฒน์ สร้างความเจริญที่ยั่งยืนควบคู่กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ประเด็นที่ 3 กำหนดทิศทางการพัฒนากำลังคนบนความต้องการของประเทศ เช่น การเปิดหลักสูตรต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น

       ประเด็นที่ 4 ด้านการพัฒนาครู ให้ความสำคัญบทบาทครูและงานของครูให้มากขึ้น

       ประเด็นที่ 5 พัฒนาหลักสูตร พัฒนาผู้เรียน ควบคู่กับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม พัฒนาทักษะการอ่าน ความคิดวิเคราะห์คิดอย่างมีวิจารณญาณ โดยการจัดการศึกษาให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยเฉพาะพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีทักษะ มีความสามารถหลากหลาย

       ในส่วนแผนการศึกษาชาติเป็นแผนกลยุทธ์ เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการศึกษาสอดคล้องกันทั้งประเทศ บูรณาการคุณภาพชีวิตทุกๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ นโยบาย มาตรการ บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และกฎหมายอื่นๆ ทิศทางในการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ ต้องกำหนดกรอบแนวความคิดและเจตนารมณ์ ดังนี้

          1) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2) ยึดคนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา
3) เป็นแผนบูรณาการแบบองค์รวม
4) เป็นแผนที่พัฒนาชีวิตให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

       หลักการและแนวคิดในการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดจากแนวคิด 3 ประการ ได้แก่ ความต้องการของมนุษย์ ขีดจำกัดของสิ่งแวดล้อมและความยุติธรรมในสังคม ควรนำแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิดเชิงพุทธศาสตร์ของท่านพระธรรมปิฎก (ประยุทธ ปยฺตโต) มาปรับใช้ คือ การพัฒนาหรือการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ต้องอยู่ในภาวะที่สิ่งแวดล้อมรองรับได้ ซึ่งหมายถึง การพัฒนาที่สัมพันธ์กับโลกและสิ่งแวดล้อม เป็นการรักษามรดกโลก และมนุษย์เป็นองค์ประกอบที่เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา ซึ่งครอบคลุมและสมดุลกับการพัฒนา 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีสาระสำคัญ 4 ส่วน คือ

       ส่วนที่ 1 มิติทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 2 การอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร
ส่วนที่ 3 การส่งเสริมบทบาทของกลุ่มต่างๆ ที่สำคัญ
ส่วนที่ 4 วิธีการในการดำเนินงาน

แนวทางการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนนั้นมีแนวทางดำเนินการ 4 ประการ คือ

       1) การส่งเสริมและการปรับปรุงการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) การทบทวนการศึกษาที่เป็นอยู่ในทุกระดับต้องสอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
3) การพัฒนาความเข้าใจสาธารณะ ความตระหนักเรื่องความยั่งยืน และการพัฒนาความก้าวหน้าไปสู่สังคมที่ยั่งยืน
4) การฝึกอบรม ต้องเกิดขึ้นทุกภาคส่วน เพื่อทำให้ทุกภาคส่วนด้านทรัพยากรแรงงานมีความรู้ มีทักษะเพราะสำคัญมากต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

       การจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นต้องแทรกอยู่ในหลักสูตรและสาระการเรียนรู้ในห้องเรียนต้องมีกระบวนการหล่อหลอมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถูกต้อง มีความเชื่อมั่นและเห็นประโยชน์สามารถนำหลักการไปประยุกต์ใช้ประจำวัน บูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตลอดจนสอดแทรกในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

       เครื่องมือสำคัญที่มีบทบาทและอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ต้องครอบคลุมประเด็น ต่อไปนี้

       1) เครือข่ายองค์ความรู้สร้างสรรค์ของบุคลากรทางการศึกษา
2) การผลิตสื่อออนไลน์ เช่น เกม VDO Clip และสื่ออื่นๆ นำเสนอผ่านอินเตอร์เน็ตให้สอดคล้องกับความสนใจของเด็กและเยาวชน
3) จัดการความรู้ผ่านระบบภายในโรงเรียน ผสมผสานกับบริษัทต่างๆ เข้าด้วยกันแบบบูรณาการทั้งโรงเรียน บ้านและชุมชน
4) กระตุ้นเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมในการผลิตสื่อสีขาวออกสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นกลยุทธ์ในการเข้าถึงเด็ก

 

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร


 

สะตือ : พรรณไม้สำคัญที่ควรรู้

สะตือ : พรรณไม้สำคัญที่ควรรู้

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

สะตือ เป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีความสำคัญทั้งทางด้านพฤกษศาสตร์ และประวัติศาสตร์ของชาติไทยจึงเห็นสมควรเผยแพร่เรื่องของสะตือให้ผู้สนใจได้รู้จัก

สะตือ เป็นต้นไม้ที่มีคนรู้จักน้อยมาก เนื่องจากหาดูยาก เป็นไม้ใหญ่ที่ต้องใช้พื้นที่กว้าง  มักปลูกในวัดเพื่อให้ร่มเงาเพราะแผ่ทรงพุ่มให้ร่มเงาได้กว้างในรัศมี 10-15 เมตร

สะตือ ถูกจัดให้ขึ้นบัญชีพรรณไม้หายากของกรมป่าไม้ สมควรจะช่วยกันปลูกเพื่อเพิ่มจำนวนให้แพร่หลาย ให้ประชาชนในรุ่นต่อไปเห็นคุณค่า

สะตือ จะออกดอกดกมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และติดฝักจำนวนมาก ซึ่งจะแก่และให้เมล็ดช่วงกลางฤดูฝน เมล็ดจะงอกง่ายมากเนื่องจากเป็นพืชตระกูลถั่ว แต่ต้นกล้ามักถูกพัดพาให้เสียหาย ทำให้แทบไม่มีต้นกล้าใต้ต้นเดิม ควรที่มนุษย์จะช่วยกันนำไปเพาะขยายพันธุ์เพื่อปลูกแพร่พันธุ์ต่อไป

ในส่วนที่ “สะตือ” เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ก็คือ สะตือเป็นไม้เก่าโบราณ เป็นหมุดหมายแห่งประวัติศาสตร์ต้นหนึ่ง มีชื่อวัดตามต้นสะตือหลายแห่งเช่น วัดสะตือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระพุทธไสยาสน์ ซึ่งเป็นพระนอนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยวัดนี้เป็นหนึ่งในเก้าวัดของการไหว้พระเก้าวัดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดนี้มีต้นสะตือขนาดใหญ่อายุเป็นร้อยปี เป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับหลวงพ่อโตหรือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) จึงมีประชาชนมาไหว้พระขอพรกันไม่ขาดสายส่วนวัดลุ่ม หรือวัดลุ่มมหาชัยชุมพล ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยองนั้น ก็มีต้นสะตืออายุกว่า 300 ปี เป็นต้นสะตือที่สมเด็จพระเจ้าตากสิน พาทหารและพลเรือนอพยพมาผูกช้าง ม้า และพักแรมที่โคนต้นสะตือที่มีร่มเงาแผ่กว้างมาก แล้วจึงเดินทัพบุกไปจังหวัดจันทบุรีเพื่อกอบกู้เอกราชคืนจากพม่า

ประโยชน์ของสะตือ ก็มีทั้งด้านการใช้เนื้อไม้ และด้านสมุนไพร   เนื้อไม้สีน้ำตาลถึงน้ำตาล

ดำ แข็งและเหนียวของสะตือ นิยมใช้ทำด้ามเครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เครื่องเรือนและงานก่อสร้างทั่วไป ใช้ต้นทำครก  สาก  กระเดื่อง  และเครื่องใช้ต่าง ๆในชีวิตประจำวัน   สะตือเป็นไม้ร่มเงาได้ดี เพราะแผ่ทรงพุ่มและใบเป็นพุ่มกว้าง ควรปลูกในวัด สวนสาธารณะ หรือสถานศึกษา   สะตือมีสรรพคุณทางสมุนไพร คือ   ใช้ได้ทั้งต้น  เอาทั้งต้นซึ่งเรียกว่าทั้งห้า  ปรุงต้มเป็นยาแล้วเอาน้ำกินและอาบ  รับประทานครั้งละ  1  ถ้วยชา  แก้ไข้หัว  หัดหลบลงลำไส้  เหือด  ดำแดง  สุกใส  ฝีดาษ  แก้ไข้หัวทุกชนิด ต้มใบใช้อาบแก้โรคอีสุกอีใส โรคหัด ใช้เปลือกต้นปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง

สะตือ

ชื่อสามัญ     Crudia  chrysantha,  (Pierre) K. Schum

ชื่ออื่นๆ    เดือยขาว ดู่ไก่  ประดู่ขาว  แห้

ชื่อวงศ์     LEGUMINOSAE  – CAESALPINIOIDAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่  ผลัดใบ สูง 15-30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ

รูปเจดีย์ต่ำ   ใบเป็นพุ่มกว้างทึบมาก เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาวลำต้นยอดอ่อนมีกาบหุ้มแน่นคล้ายกระสวย ใบเดี่ยวออกสลับ ขนาดกว้าง 4.5 5 ซม. ยาว 7 11 ซม. ผลัดใบในช่วงเดือนธันวาคม ถึง มกราคม แล้วแตกใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดง รูปร่างใบมน รูปไข่ ปลายใบแหลมเรียวสอบเป็นติ่งยาว โคนใบสอบป้านถึงหยักเว้า ขอบหยักถี่มีตุ่มสีน้ำตาลแดงตามปลายหยัก เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง ออกดอกเป็นช่อแบบหางกระรอกตามปลายกิ่ง ยาว 5-10 ซม. กว้าง  4  ซม.  แต่ละช่อมีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกย่อยสีชมพูอมน้ำตาล ขนาด  2 -5  มม.   ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม ทั้งดอกและผลดกมาก ผลเป็นฝักแบนรูปไข่มน สีเขียวอมน้ำตาล เปลือกฝักเป็นคลื่น เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาลแดง ขนาดกว้าง 4-5 ซม. ยาว 6-8 ซม. มี 1 เมล็ด เมื่อแห้งแล้วแตกเมล็ดกระเด็นออกมา เปลือกฝักยังติดคู่กันแต่ม้วนงอเป็นหลอดกลมแข็ง และติดค้างอยู่บนกิ่งอีกนานหลายเดือนจึงจะร่วงลงมา

หมายเหตุ ผู้สนใจที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร สามารถไปดูต้นสะตือขนาดใหญ่ได้ที่วัดสังข์กระจาย ถนนอิสรภาพ ซอย 21 เขตบางกอกใหญ่  วัดทองธรรมชาติ ใกล้โรงพยาบาลตากสิน  วัดราชาธิวาส ถนนสามเสน ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย 

น้อยหน่าครั่ง : ผลไม้กลายพันธุ์

น้อยหน่าครั่ง : ผลไม้กลายพันธุ์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

ได้รับคำถามอยู่เสมอว่า

1. น้อยหน่าครั่ง มันมีมาได้อย่างไร

2. “น้อยหน่าครั่ง” กินได้ไหม อร่อยไหม

3. “น้อยหน่าครั่ง” อยากปลูกบ้าง ปลูกยากไหม มีต้นพันธุ์ขายที่ไหน

4. “น้อยหน่าครั่ง” มีคุณสมบัติพิเศษอย่างไรหรือไม่

จากคำถามเหล่านี้จึงนำมาสู่การเขียนบทความทางวิชาการเรื่องนี้

 

น้อยหน่าครั่ง

สรุปประเด็นสำคัญของน้อยหน่าครั่งเป็นข้อๆ ดังนี้

1. น้อยหน่าครั่ง เป็นน้อยหน่าชนิดเดิมที่มีสีเขียวที่คุ้นเคยกัน เพียงแต่เปลือกผลเป็นสีม่วงเข้ม

2. น้อยหน่าครั่ง เกิดจากการกลายพันธุ์ตามธรรมชาติของน้อยหน่าพันธุ์เดิมที่มีสีเขียว ซึ่งปลูกด้วยเมล็ด ไม่ได้เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ของมนุษย์แต่อย่างใด

3. น้อยหน่าครั่ง อาจมีจำนวนผลบนต้นมากน้อยไม่แน่นอนในแต่ละปี เพราะว่ามีน้อยหน่าทั้ง2แบบปนกันอยู่บนต้นเดียวกัน สัดส่วนของทั้ง2ชนิดไม่แน่นอน ซึ่งบ่งบอกให้ทราบว่าการกลายพันธุ์แบบนี้เป็นแบบไม่ถาวร หมายความว่าน้อยหน่าครั่งอาจกลับกลายมาเป็นชนิดเขียวแบบเดิมได้อีก ซึ่งลักษณะแบบนี้พบเห็นในพืชหลายชนิด เช่น ไทรด่าง สาคูด่าง

4. น้อยหน่าครั่ง มีทั้งชนิด “เนื้อ” และ “หนัง” รสชาติเหมือนน้อยหน่าชนิดเดิมทุกประการ

5. น้อยหน่าครั่ง มีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น “น้อยหน่าสีม่วง”  น้อยหน่าสีแดง”

6. น้อยหน่าครั่ง มีเนื้อสีขาวเช่นเดิม เพียงแต่ส่วนที่อยู่ติดเปลือกอาจมีสีชมพูหรือม่วงปนอยู่

7. เปลือกผลของน้อยหน่าครั่ง มีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นรงควัตถุที่พบในพืชทั้งในดอกและในผลของพืช ที่มีสีแดง น้ำเงิน หรือม่วง เป็นสารที่ละลายในน้ำได้ดี มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของลิโปโปรตีน และการตกตะกอนของเกล็ดเลือด ทำให้แอนโทไซยานินมีบทบาทในการป้องการการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน จากเหตุผลนี้ทำให้เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมาผู้บริโภคนิยมบริโภคผักผลไม้ที่มีสีม่วง ทำให้หลายสวนหันมานิยมปลูกน้อยหน่าครั่ง แต่ก็ชั่วระยะเวลาสั้นๆผู้บริโภคก็ลืมเรื่องแอนโทไชยานิน เมื่อได้เวลาน้อยหน่าครั่งออกผลผลิตมามากก็ขายได้ยาก อีกทั้งผู้บริโภคเพิ่งมาทราบภายหลังว่าเนื้อของน้อยหน่าครั่งไม่ได้เป็นสีครั่งหรือสีม่วงเข้มเหมือนเปลือกของมัน แล้วเปลือกมันก็กินไม่ได้

8. น้อยหน่าครั่ง อยู่ในวงศ์เดียวกันกับน้อยหน่าชนิดเดิม และมีชื่อวิทยาศาสตร์เหมือนกันทุกประการ คือ   วงศ์ ANNONACEAE  และชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Annona squamosa Linn.

9.น้อยหน่าครั่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกับต้นน้อยหน่าทั่วไปทุกประการบ่อยครั้งที่น้อยหน่าครั่งเกิดอยู่บนต้นเดียวกันกับน้อยหน่าพันธุ์เดิมโดยที่เจ้าของไม่ทราบ

10. การปลูกน้อยหน่าครั่งก็เหมือนการปลูกน้อยหน่าชนิดเดิม เติบโตได้ในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี ชอบแดดจัด ชอบที่ดอน น้ำไม่ท่วมขัง  ใช้ปุ๋ยตามอัตราที่เหมาะสม ต้องการการตัดแต่งอย่างหนัก(heavy pruning) เพื่อกระตุ้นการออกดอกติดผล ป้องกันกำจัดศัตรูของผลอย่างพิถีพิถัน มิฉะนั้นจะไม่ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ

11. หากต้องการซื้อต้นกล้าของ “น้อยหน่าครั่ง”ไปปลูก ก็ค้นหาแหล่งจำหน่ายในอินเตอร์เน็ตได้เลย  หรือทำได้ง่ายๆด้วยการซื้อน้อยหน่าครั่งมารับประทาน แล้วนำเมล็ดไปเพาะกล้าเอง จะประหยัดเงินได้มาก

………………………………………

นมแมวซ้อน : ไม้สวยดอกหอมหาดูยาก

นมแมวซ้อน : ไม้สวยดอกหอมหาดูยาก

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ นมแมวซ้อน เป็นพรรณไม้ดอกหอม วงศ์เดียวกันกับน้อยหน่า กระดังงา ลำดวน จำปี จำปา

การเวก เป็นต้น พรรณไม้ในวงศ์นี้มีมากชนิด ทุกชนิดจะมีดอกที่มีกลิ่นหอม  มีหลายชนิดที่หาดูยาก รวมทั้ง

“นมแมวซ้อน” ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบได้ไม่กี่แห่งในประเทศไทย เคยพบที่อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เมื่อปี พ.ศ. 2551 ครั้งล่าสุดมาพบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2557 เมื่อนำเรื่องและภาพออกเผยแพร่ ปรากฏว่าได้รับความสนใจจากนักวิชาการและประชาชนทั่วไปที่สนใจพรรณไม้เป็นจำนวนมาก จึงพิจารณาเห็นว่าสมควรจะนำรายละเอียดทั้งหมดของ“นมแมวซ้อน”มาเผยแพร่สู่สาธารณะชนให้ครบถ้วนกว่าที่ได้เผยแพร่ไปแล้ว เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและอื่นๆต่อไป

 

นมแมวซ้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์  Anomianthus dulcis (Dunal) J.Sinclair

ชื่อวงศ์ ANNONACEAE

ชื่ออื่น ๆ ตบหู ตีนตั่งน้อย (นครพนม) ตีนตั่ง (อุบลราชธานี)  นมวัว

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มรอเลื้อยที่อาศัยไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียงพยุงตัวขึ้นไปที่สูงกิ่งก้านจะยาวได้ประมาณ 4-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ เป็นสีเทาดำ เปลือกเหนียว เนื้อไม้แข็ง ปลายกิ่งมีหนามแข็งกระจายห่างๆอยู่ทั่วลำต้น กิ่งอ่อนใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับสองด้านในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลับแกมขอบขนาน หรือรูปหอกกลับแกมขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมนหรือเว้าเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบ ส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบจะมีขนาดกว้างกว่าส่วนที่ค่อนมาทางโคนใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-7 ซม. และยาวประมาณ 12-18 ซม. หน้าใบเกลี้ยง ท้องใบมีขน ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. พองเล็กน้อยและมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบอ่อนมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกเดี่ยวหรือออกเป็นกระจุกตามซอกใบและปลายยอด ประมาณ 2-4 ดอก ก้านช่อดอกเรียว ดอกเป็นสีเหลือง สีชมพูอ่อน หรือสีเหลืองอมชมพู ดอกมีลักษณะห้อยลง กลีบดอกมี 6 กลีบ แบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกบางเป็นรูปไข่ ปลายกลีบดอกแหลม ขอบกลีบดอกบิดเป็นลอนหรือเป็นคลื่น มีขนาดกว้างประมาณ 2 ซม. ยาวประมาณ 2.5-3.5 ซม. ด้านนอกกลีบมีขนนุ่ม กลีบเลี้ยงสีเขียวรูปไข่ มี 3 กลีบ มีขนาดกว้างและยาวประมาณ 0.5 ซม. มีขนนุ่มสีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น ออกดอกในช่วงปลายฤดูร้อนถึงต้นฤดูฝน ดอกจะบานวันเดียว มีกลิ่นหอมมากในตอนเย็นจนถึงกลางคืน ผลเป็นผลกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 8-15 ผล ผลย่อยมีลักษณะเป็นรูปกระสวยหรือรูปทรงกระบอกมี 1-3 กระเปาะ ผิวผลเรียบ ผลสดเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองจนถึงสีส้มแดง มีรสหวาน ภายในมีเมล็ดขนาดเล็ก 1-2 เมล็ด

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด  ตอนกิ่ง  และแยกเอาไหลที่ขึ้นรอบๆต้นเดิมมาปลูก

สรรพคุณ ลำต้นหรือรากนำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงน้ำนมขณะอยู่ไฟของสตรี

ประโยชน์ ผลสุกมีรสหวาน ใช้รับประทานได้

นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับในสวนไม้หอม โดยทำรั้วหรือซุ้มให้อยู่เป็นเอกเทศ

ฝาง : สมุนไพรหลายร้อยสรรพคุณ

ฝาง : สมุนไพรหลายร้อยสรรพคุณ

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

“ฝาง” เป็นสมุนไพรที่เป็นที่ยอมรับของแวดวงนักการแพทย์แผนไทยมานาน สรรพคุณของ

“ฝาง”นั้น หากสรุปออกมาจะพบว่าสามารถแก้หรือบรรเทาโรคของมนุษย์ได้ทุกระบบในร่างกาย ทั้งของบุรุษและสตรี ตำราแพทย์แผนไทยทุกเล่มจะมีสูตรยาสมุนไพรนับร้อยสูตรที่มีฝางเป็นส่วนผสม อาจบอกได้ว่า “ฝาง”เป็นสมุนไพรครอบจักรวาล  เชื่อว่าหลายคนรู้จัก “น้ำยาอุทัย”ที่นำมาเจือน้ำดื่มแก้กระหายที่มีมานมนานนั้นมีส่วนผสมของ “แก่นฝาง”ด้วย นอกจากนั้น “ฝาง”ยังถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ว่าเป็นเครื่องบรรณาการระหว่างประเทศ และเป็นสินค้าออกของไทยด้วย แสดงว่า “ฝาง”มีความสำคัญมานานในอดีต

บทความทางวิชาการเรื่องนี้ มุ่งให้รู้จักสรรพคุณของ “ฝาง” และเห็นภาพโดยละเอียดของฝางทุกส่วนประกอบ รวมทั้งภาพการนำเอาแก่นฝางมามาใช้ประโชน์ด้วย

 

ฝาง

ชื่อวิทยาศาสตร์  Caesalpinia sappan L.

ชื่อสามัญ  Sappan  , Sappan tree

ชื่อวงศ์ FABACEAE  (CAESALPINIACEAE)

ชื่ออื่น ๆ ขวาง  ฝางแดง หนามโค้ง ฝางส้ม ฝางเสน เป็นต้น

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่ม ทรงพุ่มแผ่กว้าง สูง 4 – 8 เมตร ลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งและโค้งสั้น ๆ อยู่ทั่วไป แก่นเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มหรือส้มแดง ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นออกเรียงสลับ แกนช่อใบยาวประมาณ 20-40 ซม. ใบย่อย 8-15 คู่ ออกเรียงตรงข้าม ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน มีขนาดกว้างประมาณ 5-10 มม.ยาว 8-20 มม. แผ่นใบบางคล้ายกระดาษ ใบเกลี้ยงหรือมีขนบ้างประปรายทั้งสองด้าน ก้านใบมีขนาดสั้นมากหรือไม่มี หูใบยาวประมาณ 3-4 มม. หลุดร่วงได้ง่าย ดอกออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนง ยาว20-30 ซม. ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-3 ซม. ขอบกลีบดอกย่น ออกดอกในช่วงต้นฤดูฝนเป็นต้นไป ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ฝักแบนแข็งเป็นจะงอยแหลมสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ มีขนาดกว้าง 3-4 ซม. ยาว 6-8 ซม. โคนฝักแคบกว่าปลายฝัก มีเมล็ด 2-4 เมล็ด เมล็ดรูปรี กว้าง 0.8-1 ซม.

หมายเหตุ หากแก่นเนื้อไม้เป็นสีแดงเข้มจะมีรสขมหวานเรียกว่า “ฝางเสน” แต่ถ้าแก่นเนื้อไม้เป็นสีเหลืองส้มจะมีรสฝาดขื่นเรียกว่า “ฝางส้ม”

สรรพคุณของฝาง  มีมากมายหลายประการ เช่น

1. แก่นเนื้อไม้เป็นยาแก้ธาตุพิการ

2. เมล็ดแห้งนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยารักษาโรคความดันโลหิตสูงหรืออาจบดเป็นผงกินก็ได้

3. เปลือกลำต้นและเนื้อไม้ ต้มรับประทานเป็นยารักษาวัณโรค

4. แก่นฝาง แก่นไม้แดง รากเดื่อหอมอย่างละเท่ากัน ต้มกินเป็นยาบำรุงร่างกายทั้งบุรุษและสตรี

5. แก่นฝางตากแห้งผสมกับสมุนไพรอื่น นำมาต้มกับน้ำดื่ม เป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย

6. แก่นฝาง ต้มกับเถาวัลย์เปรียง และรากเตยอย่างละเท่ากัน แก้กษัย

7. แก่นฝางมีรสฝาด ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิตและใช้ปรุงเป็นยาบำรุงโลหิตของสตรี

8. แก่นฝางช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก แก้เส้นเลือดอุดตัน จุกเสียดแน่นและเจ็บหน้าอก

9. แก่นฝางช่วยแก้โลหิต แก้ไข้กำเดา แก้กำเดา ทำให้โลหิตเย็น

10. แก่นฝางใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ไข้ตัวร้อน แก้ไข้ตัวร้อน

11. แก่นฝางแก้ไข้ทับระดู

12. น้ำต้มแก่นฝางเสนช่วยแก้อาการร้อนใน แก้กระหายน้ำได้ดี

13. แก่นฝางมีสรรพคุณแก้เสมหะ ขับเสมหะ

14. แก่นฝางช่วยแก้อาการไอ แก้หวัด

15. แก่นฝางช่วยแก้ปอดพิการ

16. แก่นฝางช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน

17. แก่นช่วยแก้บิด

18. แก่นใช้เป็นยาสมานลำไส้

19. แก่นนำมาต้มกินเป็นยารักษาโรคนิ่วร่วมกับสมุนไพรอื่น

20. แก่นช่วยแก้ปัสสาวะขุ่นข้น

21. แก่นช่วยแก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา ช่วยแก้โลหิตตกหนัก

22. แก่นฝางใช้เข้าตำรับยาบำรุงโลหิต ฟอกโลหิตในกลุ่มยาสตรี ทำให้เลือดดี ช่วยขับโลหิตระดูของสตรี

23. แก่นฝางช่วยลดอาการปวดมดลูกของสตรีหลังการคลอดบุตร

24. แก่นฝางช่วยคุมกำเนิด

25. แก่นฝางช่วยแก้ดีและโลหิต

26. แก่นฝางช่วยขับหนอง ขับหนองในฝีอักเสบ

27. แก่นฝางช่วยแก้คุดทะราด

28. แก่นฝางช่วยรักษามะเร็งเพลิง

29. แก่นและเปลือกฝางใช้เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล

30. แก่นฝางใช้เป็นยาทารักษาโรคผิวหนังบางชนิดและฆ่าเชื้อโรคได้

31. แก่นฝางช่วยแก้น้ำกัดเท้า ช่วยฆ่าเชื้อและสมานแผล

32. แก่นฝางใช้เป็นยาแก้ปวด แก้บวม ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว แก้ช้ำใน

33. แก่นฝางช่วยแก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

34. กิ่งนำมาตัดเป็นท่อน ๆ นำไปตากแห้ง แล้วนำไปต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้อาการปวดหลังปวดเอว

35. เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนผสมหลักในตำรับยาบำรุงหลังการคลอดบุตรของสตรี

36. เนื้อไม้ผสมกับปูนขาวแล้วบดทาหน้าผากสตรีหลังการคลอดบุตรจะช่วยทำให้เย็นศีรษะลดอาการเจ็บปวด

37.ฝางช่วยรักษา โรคประดง โรคไต ไข้หวัด แก้ไอ หอบหืด ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิตของสตรี

 

ประโยชน์ของฝางโดยสรุป มีดังนี้

1. ชาวเมี่ยนจะใช้กิ่งแก่นำไปต้มกินเป็นน้ำชา

2. เป็นน้ำดื่มสมุนไพรฝาง ช่วยบรรเทาอาการร้อนใน แก้เสมหะ บำรุงโลหิต แก้เลือดกำเดา

3. แก่นไม้เมื่อนำมาต้มกับน้ำดื่มผสมกับใบเตยหรือผลมะตูม จะช่วยให้มีสีสันสวยงาม

4. น้ำต้มจากแก่นฝางแดงจะให้สีแดงที่เรียกว่า Sappanin ใช้เป็นส่วนผสมหลักของน้ำยาอุทัย

5. ใช้เป็นสีผสมอาหาร และนิยมนำมาย้อมสีผ้าไหม ผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์

6. ส่วนฝางส้มจะนำมาต้มสกัดสาร Haematexylin ใช้ย้อมสีนิวเคลียสของเซลล์

7. ทำเป็นสีทาตัวสำหรับงานเทศกาลในอินเดีย

8. ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเนื้อไม้ของต้นฝางถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ

9. ไม้ฝางถูกใช้เป็นเครื่องบรรณาการอย่างหนึ่ง รวมทั้งเคยเป็นสินค้าผูกขาดของรัฐด้วย

10. ภูมิปัญญาชาวบ้านจะใช้แก่นของต้นฝางเสี้ยมให้แหลม ตอกลงบนต้นขนุนจนถึงเนื้อไม้ จะไปกระตุ้นให้ขนุนติดลูกบริเวณที่ตอกลงไป

11. เนื้อไม้ฝางทำเป็นเครื่องเรือนชั้นดี ตกแต่งชักเงาได้ดี โดยสีของเนื้อไม้จะออกแดงหรือสีน้ำตาลเข้ม

12.ปลูกเป็นไม้ประดับหรือปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา ดอกดกสีเหลืองสดสวยสดุดตา

อ้างอิง    ขอขอบคุณข้อมูลเว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

อินทนิลมี 2 อย่าง…ต่างกันอย่างไร

อินทนิลมี 2 อย่าง…ต่างกันอย่างไร

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ 

อินทนิล”ในธรรมชาติมี 2 ชนิด คือ อินทนิลบกกับอินทนิลน้ำ แต่ที่พบเห็นอยู่เสมอไม่ว่าจะ

เป็นที่ริมถนน ที่ปลูกประดับในสวนสาธารณะหรืออาคารบ้านเรือนทั่วไปคือ “อินทนิลน้ำ”  ส่วน “อินทนิลบก” นั้นจะหาดูได้ยากกว่า ทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกันมาก ผู้พบเห็นมักจะสับสนมองไม่เห็นความแตกต่าง บทความนี้จะให้ความชัดเจนอย่างละเอียด โดยมีภาพประกอบเปรียบเทียบให้เห็นทุกส่วนทั้งใบ ดอก และผล

   

อินทนิลน้ำ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Lagerstroemia speciosa Pers.

ชื่อสามัญ  Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India

วงศ์  LYTHRACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

      ไม้ต้นผลัดใบ สูง 10-25 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง คลุมต่ำ เปลือกลำต้นค่อนข้างเรียบและมีรอยด่าง ใบออกเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ใบเดี่ยวรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 6-10 ซม. ยาว 11-26 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยง เป็นมันทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย ปลายใบแหลม โคนใบกลมมนหรือเบี้ยว ออกดอกในฤดูร้อน เป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบใกล้ ๆ ปลายกิ่ง ดอกรวมกันเป็นช่อโต ยาวถึง 30 ซ.ม. จะบานจากโคนช่อไล่ขึ้นไปถึงปลายช่อ  กลีบดอกสีม่วงสด ม่วงปนชมพู หรือชมพู กลีบดอก 6 กลีบ ดอกเมื่อบานเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลาง 6.0-7.5 ซม. กลีบเลี้ยงรูปถ้วย มีสันนูนตามยาวเห็นชัดเจน และมีขนสั้นประปราย กลีบดอกบาง ปลายกลีบพลิ้ว ผิวกลีบเป็นคลื่นเล็กน้อย เกสรผู้จำนวนมาก  ผลเกือบกลม ผิวเกลี้ยง แข็ง ยาว 2-3 ซม. ผลแห้งแล้วแตกตามยาว 5 พู เมล็ดลักษณะแบนจำนวนมาก มีปีกซีกหนึ่งทำให้สามารถแพร่กระจายไปขยายพันธุ์ได้ในรัศมีกว้างไกล

ประโยชน์ใช้สอย

1. เนื้อไม้ นิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนและเครื่องมือการเกษตรต่าง ๆ

2. ใบ รสจืดขมฝาดเย็น ต้มหรือชงน้ำร้อนดื่ม แก้โรคเบาหวาน ขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดัน

3. ปลูกประดับอาคารสถานที่ สวนสาธารณะ และทางเดินริมถนน

 


 

อินทนิลบก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Lagerstroemia  macrocarpa  Wall.

ชื่อวงศ์ LYTHRACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

     ไม้ต้นผลัดใบ ขนาดกลาง สูง 8 -15 เมตร เรือนยอดทรงสูง กิ่งก้านคลุมต่ำ เปลือกลำต้นขรุขระ เป็นเกล็ด   ใบเดี่ยว ออกเป็นคู่หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 6-18 ซม. ยาว 14-40 ซม. โคนใบมน ปลายใบมน แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบเกลี้ยงมันวาว ดอกออกเป็นช่อสั้นๆ ยาว 10-20 ซม.กลีบดอก 6 กลีบ กลีบหนา เป็นสีชมพูอมม่วง ถึงม่วงแดง ดอกตูมเป็นรูปลูกข่าง ส่วนบนมีรอยบุ๋มตามยาว ดอกบานเต็มที่กว้าง 7-12 ซม.  เกสรผู้จำนวนมาก เป็นกระจุกสีเหลืองอยู่กลางดอก ผลเป็นผลแห้งขนาดใหญ่ รูปไข่หรือป้อมรี ยาว 3-4 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 6 แฉก เมล็ดขนาดเล็กสีน้ำตาล จำนวนมาก มีปีกบางโค้งทางด้านบนของปีก ทำให้สามารถแพร่กระจายไปขยายพันธุ์ได้ในรัศมีกว้างไกล

ประโยชน์ใช้สอย

ดอกสวยสะดุดตา นิยมปลูกประดับอาคารสถานที่ สวนสาธารณะ และทางเดินริมถนน

อัญชันสมุนไพรหลายประโยชน์กับความหลากหลายทางชีวภาพ

อัญชันสมุนไพรหลายประโยชน์กับความหลากหลายทางชีวภาพ

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

น้อยคนที่จะไม่รู้จัก“อัญชัน”เพราะอัญชันขึ้นอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งเพราะขยายพันธุ์ง่าย ติดฝักง่าย มีเมล็ดที่สมบูรณ์จำนวนมาก จึงสามารถพบได้ทั้งริมรั้วบ้าน ในสวนหย่อม สวนสาธารณะ ที่รกร้างว่างเปล่า  ในสวนสมุนไพรทุกแห่ง และ แม้กระทั่งในป่า ซึ่งอาจพบว่ามีลักษณะดอกที่แตกต่างกันทั้งรูปแบบและสีสัน ทั้งนี้เพราะอัญชันเป็นพืชปลูกง่ายผสมข้ามได้ง่ายทำให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ ที่สำคัญคือมีสรรพคุณเป็นสมุนไพร และเป็นอาหารได้หลายรูปแบบ  บทความนี้จะให้รายละเอียดทั้งสองด้าน

อัญชัน

ชื่อสามัญ     Blue Pea , Butterfly Pea

ชื่ออื่นๆ    แดงชัน  อัญชัน  เอื้องชัน อังจัน

ชื่อวิทยาศาสตร์     Clitoria ternatea L.

ชื่อวงศ์    LEGUMINOSAE – PAPILIONIOIDEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  

   ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาวได้ถึง 5 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่(odd pinnate leaf) เรียงสลับ ใบย่อย 5-7 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายมน กว้าง 2-3.5 ซม. ยาว 3.5-5.5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ก้านดอกมีใบเกล็ดขนาด 6 มม. จำนวน 2 อันประกบที่ฐานนดอก โคนกลีบและหลังกลีบจะเป็นสีขาวหรือสีขาวหม่น มีทั้งชนิดกลีบดอกซ้อนและกลีบดอกชั้นเดียว(ดอกลา) ชนิดดอกซ้อนจะมี 5 กลีบขนาดใกล้เคียงกัน เบียดกันแน่นเป็นดอกสวยงาม ชนิดดอกลามี 1 กลีบใหญ่ และ 2 กลีบเล็กประกบกันอยู่ตรงกลางดอก  ผลเป็นฝักแบน  รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย  กว้าง 1 ซม. ยาว 7-9 ซม. เมื่อแก่เป็นสีฟางแห้ง แห้งแล้วไม่แตก  เมล็ดรูปไต จำนวน 5-7 เมล็ดต่อฝัก

การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ง่ายด้วยเมล็ด แต่อาจกลายพันธุ์ หากเปลี่ยนมาปักชำด้วยลำต้นเก่าขนาดหลอดดูดน้ำอัดลมก็จะได้พันธุ์เดิม

ประโยชน์ของอัญชัน มีหลายด้าน ดังนี้

1. เป็นสีแต่งอาหารดอกสีน้ำเงินใช้เป็นสีแต่งอาหารและขนมตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมช่อม่วง ขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ข้าวเหนียวสังขยา

2. เป็นอาหาร เช่น ดอกสดของอัญชันในจานสลัด   ดอกอัญชันชุบแป้งทอด ต้มน้ำเป็นเครืองดื่มสีสวย

3. เป็นสมุนไพร ดอกอัญชันสีน้ำเงินมีสารแอนโธไซยานิน (Anthocyanin) มีฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็ง ต้านสารอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ ต้านเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีมากขึ้น  เมล็ดเป็นยาระบาย รากช่วยบำรุงตาแก้ตาฟาง ถูฟันแก้ปวดฟัน ตาแฉะ และปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ นำรากมาถูกับหินผสมกับน้ำฝนใช้หยอดหูและหยอดตา โดยเฉพาะส่วนดอก เป็นต้น

4. เป็นเครื่องสำอาง มีแชมพูสระผมดอกอัญชันวางขายในตลาดหลายตรา โดยระบุว่าผมจะดกดำไว้ในสลาก ในสมัยก่อนหญิงสาวมักนำดอกอัญชันมาเขียนคิ้วให้ดำขลับ ซึ่งมีหลักฐานในนิราศธารโศก และมหาชาติคำหลวง ปัจจุบันก็นิยมนำดอกอัญชันชนิดสีน้ำเงินมาขยำทาคิ้วทารกเพื่อให้คิ้วดกดำและมีรูปร่างตามที่ได้นำก้านพลูมาร่างแบบไว้ก่อนทา

5. เป็นอุปกรณ์การเรียนในห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้กลีบดอกอัญชันสดมาตำให้แหลกแล้วเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง บีบคั้นเอาน้ำออกมา จะได้น้ำสีน้ำเงินซึ่งเป็นสาร Anthocyanin ใช้เป็นตัวทดสอบความเป็นกรด( indicator) แทนกระดาษลิตมัส(lithmus) ถ้าเติมน้ำมะนาว หรือก้นมดแดงซึ่งมีฟอร์มิคแอสิดลงไปเล็กน้อย น้ำสกัดนั้นจะกลายเป็นสีม่วง

6. เป็นพืชทดลองการผสมพันธุ์พืช  อัญชันเป็นพืชที่ผสมเกสรได้ง่าย และมีอายุให้ดอกเร็ว เหมาะสำหรับนำมาผสมข้ามหาลูกผสมประกอบการเรียน

7. ปลูกเป็นไม้ประดับ ด้วยอัญชันมีดอกที่สวยงามหลายสี ปลูกง่ายออกดอกเร็วและออกดอกทั้งปี

ความหลากหลายทางชีวภาพของอัญชัน

เนื่องจากอัญชันเป็นพืชที่ผสมข้ามกันตามธรรมชาติได้ง่าย  ทำให้เกิดความหลากหลายของรูปร่างและสีของดอกปรากฏให้เห็นหลายแบบ พอสรุปได้ดังนี้

1. สีน้ำเงิน ชนิดกลีบดอกชั้นเดียว  พบว่าความเข้มของสีดอกมีหลายระดับ

2. สีน้ำเงิน ชนิดกลีบดอกซ้อน

3. สีม่วง ชนิดกลีบดอกชั้นเดียว  พบว่าความเข้มของสีดอกมีหลายระดับ

4. สีม่วง ชนิดกลีบดอกซ้อน

5. สีขาว ชนิดกลีบดอกชั้นเดียว

6. สีขาวชนิดกลีบดอกซ้อน

ขอขอบคุณ    โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และ วิกิพีเดีย