3.5 ผลการวิจัย

       จากการวิจัยนั้นผลจากการการประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร เพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวทำให้ทราบผลดังต่อไปนี้

             3.5.1 สำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

              จากการสำรวจสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่าทรัพยากรการท่องเที่ยวในเขตธนบุรี มีความหลากหลายในรูปแบบของการกิจกรรมทางการท่องเที่ยว โดยมีสถานที่จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑ์  ศิริราช วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร ชุมชนกุฏีจีน ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า จากการประเมินศักยภาพทางการท่องเที่ยวด้วยแบบสังเกตการณ์ที่มีเค้าโครงกำหนดไว้ล่วงหน้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ผู้ศึกษาใช้เป็นแนวทางเพื่อการสังเกตการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว โดยใช้แบบสำรวจโครงสร้างและ         สิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว 15 ความต้องการพื้นฐาน ได้แก่ ทางเข้าสู่ตัวอาคาร ทางลาด ทางเชื่อมระหว่างอาคารและระเบียง ประตู บันได ห้องสุขา สถานที่จอดรถ ที่นั่งสำหรับคนพิการ ทางสัญจร ทางเข้าออกที่มีเครื่องกั้นหรือช่องรับบริการ ป้ายหรือผัง สถานที่ติดต่อสอบถาม โทรศัพท์สาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวและความปลอดภัย สถานที่ท่องเที่ยวทั้ง 7 แห่ง แสดงให้เห็นว่ามีความพร้อมในการรองรับการเดินทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางเคลื่อนไหว จะสังเกตเห็นได้ว่าโครงสร้างความต้องการพื้นฐานทุกสถานที่มีทางเชื่อมระหว่างอาคารให้มีพื้นผิวเรียบเสมอกัน ไม่ขรุขระ ไม่มีสิ่งกีดขวาง ตำแหน่งทางเข้าสู่ตัวอาคารมีขนาดใหญ่ถูกต้อง ตามมาตรฐานสามารถนำรถเข็นของผู้พิการเข้าได้ มีทางลาดในแต่ละจุด มีสุขาที่สะอาดและเพียงพอต่อการใช้งานสำหรับผู้พิการ มีที่จอดรถคนพิการให้จัดไว้ใกล้ทางเข้าอาคารและพื้นที่ลานจอดรถให้มีผิวเรียบเสมอกัน มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวก ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวมีเอกลักษณ์โดดเด่น มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับเส้นทางคมนาคมต่างๆ

              3.5.2 การวิเคราะห์ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร

              1) ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่น

              ผลจากการประเมินผู้ตอบแบบสอบถามภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง การศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่น จำนวน 7 แห่ง ตามแหล่งที่องเที่ยวในเขตฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 22 คน ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า เพศ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง โดยอยู่ในช่วงอายุ ระหว่าง 25-34 ปี มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ นักเรียน/นักศึกษามากที่สุด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-15,000 บาท และแบบสอบถามความคิดเห็นของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่น พบว่าศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี อันดับที่ 1 คือ   ด้านศิลปวัฒนธรรม อันดับที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 3 ด้านลักษณะทางกายภาพ อันดับที่ 4 ด้านการบริหารและจัดการ และอันดับที่ 5 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม เมื่อพิจารณาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า

อันดับที่ 1 ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ มีความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรม ดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่สืบค้นได้  มีความเอกลักษณะเฉพาะตน เปิดโอกาสให้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมด้วยความยินดี และมีความผูกพันต่อท้องถิ่น

อันดับที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและวัฒนธรรม ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กรเพื่อดูแลการท่องเที่ยว สำหรับการมีส่วนร่วม พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ การได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของชุมชน การเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกเข้ามามีบทบาทสนับสนุนและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและด้านความคุ้มค่าของการเที่ยวชมพบว่าระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ คือพอใจในมิตรไมตรีของชุมชนท้องถิ่น พอใจในการบริการพอใจในการบริหารจัดการพอใจในความสะอาดและความปลอดภัย และพอใจในคุณค่าของสถานที่

อันดับที่ 3 ด้านลักษณะทางกายภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความพร้อมและความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การมีคุณค่าหรือมีความเอกลักษณ์พิเศษทางการท่องเที่ยว ระดับความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีคุณค่าทางการศึกษาและเรียนรู้ ความสมบูรณ์ของสภาพดั้งเดิม ความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม หรือวัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจและมีความดึงดูดใจ และด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ สามารถเยี่ยมชมได้ทุกฤดูกาล ความปลอดภัยในการเดินทาง คุณภาพของถนนหรือเส้นทางน้ำใช้ได้ และความชัดเจนของป้ายบอกเส้นทาง

อันดับที่ 4 ด้านการบริหารและจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีป้ายอธิบายข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ห้องน้ำ ลาดจอดรถ ถนน สำหรับการให้ข้อมูล พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และการจัดเตรียมเอกสารเผยแพร่ให้กับนักท่องเที่ยว และด้านความปลอดภัย พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวก มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว เช่น มาตรการอพยพ เส้นทางหนีไฟ เป็นต้นมีการติดตั้งป้าย สัญญาณเตือนภัยอย่างเหมาะสมและมีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล

อันดับที่ 5 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดการสภาพแวดล้อมของเสียง พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ ปราศจากเสียงรบกวน และห่างไกลจากย่านอุตสาหกรรม ชุมชนเมืองหรือกิจกรรมที่เสียงดัง สำหรับด้านการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีถังขยะเพียงพอตามจุดต่างๆ มีการออกแบบถังขยะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และมีป้ายเตือนขยะให้ถูกที่ ด้านการจัดการสภาพอากาศ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ คือ ไม่มีกลิ่นฟุ้งกระจายและสร้างความรำคาญในแหล่งท่องเที่ยวและอากาศปราศจากฝุ่นและควัน

       ผู้ตอบแบบสอบถามภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนท้องถิ่นที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามแหล่งท่องเที่ยว        7 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑ์ศิริราช วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร ชุมชนกุฏีจีน ป้อมวิไชยประสิทธิ์ โดยการวิเคราะห์สามารถจำแนกตามแหล่งท่องเที่ยวได้ดังนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือราชพิธี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือราชพิธีมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 คือ ด้านการมีส่วนร่วม และอันดับที่ 3 ด้านลักษณะทางกายภาพ

พิพิธภัณฑ์ศิริราช พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ศิริราชมีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านการบริหารและจัดการ และอันดับที่ 3 ด้านศิลปวัฒนธรรม

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม และอันดับที่ 3 ด้านการบริหารและจัดการ

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่ามีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านการมีส่วนร่วม และอันดับที่ 3 ด้านการบริหารและจัดการ

วัดกัลยาณมิตร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าวัดกัลยาณมิตรมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านลักษณะทางกายภาพ และอันดับที่ 3 ด้านการมีส่วนร่วม

ชุมชนกุฎีจีน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าชุมชนกุฎีจีนมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านลักษณะทางกายภาพ และอันดับที่ 3 การรักษาสภาพแวดล้อม 

ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าชุมชนกุฎีจีนมีศักยภาพด้านการมีส่วนร่วม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านศิลปวัฒนธรรม และอันดับที่ 3 ด้านลักษณะทางกายภาพ

              2) ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

              ผลจากการประเมินผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง พบว่า การศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 4 แห่ง ในแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน ส่วนใหญ่เพศเพศชาย โดยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 35-44 ปี    มีสถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพอื่นๆ และรายได้เฉลี่ยต่อต่ำกว่า 5,000 บาท และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี อันดับที่ 1 คือ ด้านการมีส่วนร่วม อันดับที่ 2 ด้านศิลปวัฒนธรรม  อันดับที่ 3 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม อันดับที่ 4 ด้านการบริหารและจัดการ และอันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ เมื่อพิจารณาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นรายด้าน โดยเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า

อันดับที่ 1 คือ ด้านการมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเข้มแข็งของชุมชนและวัฒนธรรม พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีการจัดตั้งกลุ่ม/องค์กรเพื่อดูแล        การท่องเที่ยว และมีกลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ การได้รับประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของชุมชน การเปิดโอกาสให้องค์กรภายนอกเข้ามามีบทบาทสนับสนุน และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และความคุ้มค่าของการเที่ยวชม พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ พอใจในมิตรไมตรีของชุมชนท้องถิ่น พอใจในการบริการ พอใจในความสะอาดและความปลอดภัย พอใจในการบริหารจัดการ และพอใจในคุณค่าของสถานที่

อันดับที่ 2 ด้านศิลปวัฒนธรรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ ได้แก่ มีความเป็นมาทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่สืบค้นได้ มีความเอกลักษณะเฉพาะตน มีความงดงามด้านศิลปวัฒนธรรม มีความผูกพันต่อท้องถิ่น และโอกาสให้เรียนรู้วิถีชีวิต วัฒนธรรมด้วยความยินดี

อันดับที่ 3 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดการสภาพแวดล้อมของเสียง พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือปราศจากเสียงรบกวน ห่างไกลจากย่านอุตสาหกรรม ชุมชนเมืองหรือกิจกรรมที่เสียงดัง สำหรับด้านการจัดการขยะมูลฝอย พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีถังขยะเพียงพอตามจุดต่างๆ มีการออกแบบถังขยะกลมกลืนกับสภาพแวดล้อม และมีป้ายเตือนขยะให้ถูกที่ และด้านการจัดการสภาพอากาศ พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ อากาศปราศจากฝุ่นและควัน และไม่มีกลิ่นฟุ้งกระจายและสร้างความรำคาญในแหล่งท่องเที่ยว

อันดับที่ 4 ด้านการบริหารและจัดการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความปลอดภัย พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีเจ้าหน้าที่ดูแลความเรียบร้อยและอำนวยความสะดวก มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาล มีมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยวจากอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว เช่น มาตรการอพยพ เส้นทางหนีไฟ เป็นต้น และมีการติดตั้งป้าย สัญญาณเตือนภัยอย่างเหมาะสม สำหรับการให้ข้อมูล พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ การจัดเตรียมเอกสารเผยแพร่ให้กับนักท่องเที่ยว และมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ มีป้ายอธิบายข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ห้องน้ำ ลาดจอดรถ ถนน

อันดับที่ 5 ด้านลักษณะทางกายภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ สามารถเยี่ยมชมได้ทุกฤดูกาล ความปลอดภัยในการเดินทาง คุณภาพของถนนหรือเส้นทางน้ำใช้ได้ และความชัดเจนของป้ายบอกเส้นทาง และสำหรับด้านความพร้อมและความมีชื่อเสียงของแหล่งท่องเที่ยว พบว่า ระดับความคิดเห็นที่อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ คือ ความสมบูรณ์ของสภาพดั้งเดิม  มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรม มีคุณค่าทางการศึกษาและเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจและมีความดึงดูดใจ และการมีคุณค่าหรือมีความเอกลักษณ์พิเศษทางการท่องเที่ยว

ผู้ตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหวที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตาม แหล่งท่องเที่ยว 4 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑ์ศิริราช วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า โดยการวิเคราะห์สามารถจำแนกตามแหล่งท่องเที่ยวได้ดังนี้

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือราชพิธี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือราชพิธีมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 คือ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม และอันดับที่ 3 ด้านการมีส่วนร่วม

พิพิธภัณฑ์ศิริราช พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าพิพิธภัณฑ์ศิริราชมีศักยภาพด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านการบริหารและจัดการ และอันดับที่ 3 ด้านการมีส่วนร่วม

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารมีศักยภาพ ด้านการมีส่วนร่วม เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมและอันดับที่ 3 ด้านการบริหารและจัดการ

อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่ามีศักยภาพด้านลักษณะทางกายภาพ เป็นอันดับที่ 1 อันดับที่ 2 ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม และอันดับที่ 3 ด้านการบริหารและจัดการ

              3.5.3 การนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

              จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรีจังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดกัลยาณมิตรวรวิหาร พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ชุมชนกุฏีจีน พิพิธภัณฑ์ศิริราช ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ผู้ศึกษาได้นำมาจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวแต่ละแห่งเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เนื่องจากในจำนวน 7 แห่งของแหล่งท่องเที่ยวในเขตพื้นที่ฝั่งธนบุรีของแต่ละแห่งมีความพร้อม และบางสถานที่ท่องเที่ยวยังไม่พร้อมกับการรองรับนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ด้วยปัจจัยทางภูมิประเทศที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนไม่สามารถปรับและเปลี่ยนได้ ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาใช้ประกอบกับการเรียนการสอนในวิชาการวางแผนและการจัดรายการนำเที่ยวมีความมุ่งหมายให้นักศึกษาได้มีความรู้ความสามารถในการวางแผนและสามารถจัดรายการนำเที่ยวได้ ตลอดจนมีแนวคิดในการออกแบบโปรแกรมรายการนำเที่ยวให้เหมาะสมกับแหล่งท่องเที่ยวนั้นๆ ได้ นอกจากการเรียนการสอนภายในห้องเรียนแล้วทางผู้สอนมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นิสิตได้มีความสามารถในการวางแผนและออกแบบโปรแกรมการจัดรายการนำเที่ยวสามารถปฏิบัติงาน และเรียนรู้การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า พร้อมกับการเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานจริงพร้อมทั้งให้นิสิตได้ใช้ศักยภาพในการทำงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการบริการแก่ชุมชนในการให้บริการแก่ผู้พิการได้มีโอกาสได้ออกไปเดินทางท่องเที่ยวไปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้พิการเพื่อให้ปราศจากอุปสรรคในการท่องเที่ยว หลุดพ้นจากการเป็นคนชายขอบของสังคม มีสิทธิเข้าถึงในสิ่งอำนวยความสะดวก และใช้ประโยชน์จากบริการด้านการ ท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวได้อย่างเท่าเทียมกับคนทุกคนในสังคม  จึงดำเนินการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวผู้พิการ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยวให้มีความรู้ ความสามารถในการวางแผนและจัดสถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้พิการ โดยเลือกเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวที่มีระดับศักยภาพมาก และศักยภาพระดับปานกลางของแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนคำนึงถึงความเป็นไปได้และความต้องการของนักท่องเที่ยว ระยะเวลา ค่าใช้จ่าย รายได้ของนักท่งเที่ยว และสภาพความพร้อมของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว การเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวด้วยการจัดเส้นทางท่องเที่ยวที่มีหลากหลายรูปแบบตามประเภทของแหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางโบราณสถาน เป็นต้น ผู้ศึกษาได้นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้พิการทางการเคลื่อนไหวโดยมีการเสนอชื่อสถานที่และแผนที่ของแต่ละเส้นทางดังนี้

เส้นทางที่ 1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี–พิพิธภัณฑ์ศิริราช–วัดอรุณราชวรารามมหาราชวรวิหารอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า

เส้นทางที่ 2 อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่าชุมชนกุฎีจีน-ป้อมวิไชยประสิทธิ์พิพิธภัณฑ์ศิริราช

เส้นทางที่ 3 วัดอรุณราชวรารามมหาราชวรวิหาร-ป้อมวิไชยประสิทธิ์-วัดกัลยาณมิตรวรวิหารชุมชนกุฎีจีน

              3.5.4 ผลการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน ปัญหา และอุปสรรคเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร

              ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อให้ทราบถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยสรุปได้ดังนี้

จุดแข็ง ของเส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 3 เส้นทาง คือ แหล่งท่องเที่ยวมีความสะดวกในการเข้าถึง มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เช่น ทางเข้าสู่ตัวอาคาร ทางลาด ทางเชื่อมระหว่างอาคารและระเบียง ห้องสุขา ทางสัญจร ทางเข้าออกที่มีเครื่องกั้นหรือช่องรับบริการ ความปลอดภัย เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวมีความน่าสนใจ มีความโดดเด่นเฉพาะตัว นอกจากนี้ได้รับความรู้และความเพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่มีความหลากหลาย และที่สำคัญสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดฤดูกาล

จุดอ่อน เส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 3 เส้น คือ ทางสัญจรเข้าออกไปยังสถานที่แคบ ถนนบางช่วงแคบ และไม่มีที่จอดรถโค้ชปรับอากาศ ต้องจอดรถริมทางเท้าทำให้ไม่สะดวก ป้ายบอกแหล่งท่องเที่ยวมีน้อย เจ้าหน้าที่ดูแลให้การดูแลแก่นักท่องเที่ยวผู้พิการไม่มีทักษะการรองรับผู้พิการ

โอกาส เส้นทางท่องเที่ยวทั้ง 3 เส้นสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งท่องเที่ยวแห่งอื่นๆ ได้และเป็นแหล่งศึกษาและเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์

อุปสรรค แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งยังขาดบุคลากรและความเข้าใจในเรื่องการให้บริการผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เพราะยังขาดการสนับสนุนในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว แหล่งท่องเที่ยวบางแห่งมีข้อจำกัดในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว เช่น ถนนแคบ สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการมีน้อยมาก ขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและงบประมาณที่มีจำกัด ตลอดจนความล่าช้าทำให้เกิดการพัฒนาในแหล่งท่องเที่ยวบางแห่งไม่ต่อเนื่อง