บทที่ 1

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

       การศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและในด้านคุณภาพจริยธรรมให้รู้จักใช้เหตุในการคิดและการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเพื่อในการดำรงชีวิตที่ถูกต้องและไม่ให้เกิดปัญหาทางสังคมโดยได้มีการจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่รัฐเป็นผู้จัดให้ประชาชนทุกคนพัฒนาพฤติกรรม  บุคลิกภาพ  และสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม  เนื่องจากในปัจจุบันทางสังคมได้มีปัญหามากขึ้นต้องทำให้ผู้ปกครองต้องคอยมาแก้ปัญหาให้โดยไม่รู้จักการแยกแยะการใช้เหตุผลในการตัดสินใจเพราะขาดคุณธรรมจริยธรรมในการไม่นำไปใช้ให้ถูกต้องซึ่งเป็นหัวใจของการพัฒนาประเทศเพื่อให้จริยธรรมทำให้มีอิทธิพลต่อมนุษย์ในยุคปัจจุบันเห็นความสำคัญของวัตถุมากกว่าจิตใจเป็นสังคมที่ทุกคนต้องดิ้นรนเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสภาพแวดล้อมทำให้จิตใจของมนุษย์เปลี่ยนไปในทางที่ไม่ดี  เนื่องจากสังคมขาดคุณธรรมจริยธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ  เพราะทำให้เยาวชนของชาติได้รับรู้และนำไปปฏิบัติโดยไม่สามารถแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกหรือสิ่งไหนผิดจึงทำให้ขาดด้านคุณธรรมจริยธรรมที่หดหายไปจากสังคมนั้นเองโดยสอดคล้องกับ ศักดิ์ชัย มโนวงศ์ (2547:1)

       เนื่องจากการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนนักเรียนยังต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจในสิ่งที่ถูกต้องและนำไปปฏิบัติจึงจะต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของผู้เรียนทั้งภายในโรงเรียน และสนับสนุนให้ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมแก่ผู้เรียน โดยแนวคิดของประภาศรี  สีหอำไพ(2540 : 40) ได้กล่าวไว้ว่าการปลูกฝังพฤติกรรมเชิงจริยธรรมนั้นจึงต้องใช้วิธีการฝึกให้เด็กใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมในการตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยสอนให้เด็กรู้จักคิดว่าคุณธรรมต่างๆ   มีคุณต่อผู้ประพฤติและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

       จากสภาพปัญหาเด็กและเยาวชนไทยในปัจจุบันที่กล้าคิด กล้าทำ มากกว่าอดีต แต่ปัจจุบันการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชนยังไม่ได้ผล ไม่ได้เกิดพฤติกรรมเชิงจริยธรรมในตัวผู้เรียน ความจริงที่ปรากฏและกำลังเป็นปัญหาโคลเบอร์ก (Kohlberg.1976:4-5) ได้เสนอแนะว่า พฤติกรรมด้านจริยธรรมที่สำคัญที่สุดในตัวมนุษย์ คือ การให้เหตุผลเชิงจริยธรรม เพราะเหตุผลเชิงจริยธรรมเป็นจิตลักษณะที่สำคัญต่อการแสดงพฤติกรรมมากที่สุด

       ปัจจุบันโลกมีการพัฒนาการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  ส่งผลให้มนุษย์จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ  โดยอาศัยการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นประชากรที่มีประสิทธิภาพจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. ๒๕๕๑  ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษาในมาตรา ๒๒ กล่าวว่า  การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้  และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด  โดยกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ ในด้านของการจัดกระบวนการเรียนรู้กล่าวว่าจะต้องจัดให้มีการฝึกทักษะกระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์  และประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา  รวมถึงมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินภายนอกและจึงได้สรุปเหตุผลเชิงจริยธรรมทั้งหมด  6 ขั้นซึ่งมีดังนี้  ขั้นที่ 1. บุคคลใช้เกณฑ์ทางจริยธรรม ขั้นที่ 2. บุคคลใช้กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน  ขั้นที่ 3. บุคคลทำตามความคาดหวังและการยอมรับในสังคม  ขั้นที่ 4. บุคคลยึดกฎและระเบียบ ขั้นที่ 5. บุคคลยึดหลักสัญญาประชาคม ขั้นที่ 6. บุคคลยึดหลักการคุณธรรมสากล

       นอกจากนี้  ดวงเดือน  พันธุมนาวิน (2548 : 77)  ได้กล่าวว่า  ช่วงเด็กแรกเกิดจนถึงอายุก่อน 10 ปีนี้เป็นช่วงที่เด็กมีความไวต่อการปลูกฝังและส่งเสริมจริยธรรมและวัฒนธรรมเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเด็กยังเป็น ไม้อ่อนที่ดัดง่าย ฉะนั้นการปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการทางจิตใจของเด็กเล็กและเด็กโตจะเป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ได้มาก ดังนั้นโรงเรียนในฐานะเป็นสถาบันทางการศึกษา  ถือเป็นหน้าที่หลักที่จะพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กพัฒนาการคิดเชิงเหตุผลด้านจริยธรรมได้มากขึ้น  โดยเฉพาะเหตุผลเชิงจริยธรรมเรื่องความอดทน ความซื่อสัตย์สุจริต  ความเมตตากรุณา  ความกตัญญูกตเวทีและความสามัคคีมาสอดแทรกเข้าไปในนิทานเพื่อให้เด็กเกิดทักษะและความเข้าใจ  พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม  เพราะคุณธรรม  จริยธรรม  5  ประการนี้  เป็นคุณธรรมจริยธรรมที่ควรปลูกฝังให้แก่เด็กซึ่งสอดคล้องกับที่ได้กำหนดคุณธรรม 8 ประการ คือ ความมีวินัย ความมีสติ ความกตัญญู ความเมตตา ความอดทน ความซื่อสัตย์   การประหยัด   ความขยันและพึ่งตนเอง เพราะเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น

       การจัดการเรียนการสอนตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2551 ที่จะทำให้ผู้เรียนสามารถค้นพบความรู้ ต้องใช้ เทคนิค วิธีการสอนที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียน เรียนอย่างมีความสุข เทคนิคการสอน ที่น่าสนใจ คือ การเรียนแบบร่วมมือ ( Cooperative Learning) เป็นวิธีที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางซึ่งนักเรียนจะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเล็กๆ ทุกคนทำงานร่วมกัน สมาชิกทุกคนในกลุ่มสามารถแสดงความคิดเห็นมีความรับผิดชอบต่องานกลุ่ม สามารถตรวจสอบการทำงานร่วมกันซึ่งผู้เรียนจะบรรลุตามเป้าหมายของการเรียนได้ดี ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มบรรลุเป้าหมายของการเรียนได้ดี หรือสมาชิกทุกคนในกลุ่มบรรลุเป้าหมายเดียวกัน ดังนั้นสมาชิกทุกคนต้องช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อนๆ ทุกคนให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกันซึ่งตรงกับงานวิจัยของนิตยา เจริญนิเวศนุกูล (2541 : 2)และยังได้สอดคล้องกับอินสวน  สาธุเม  (2549 :บทคัดย่อ) ได้พัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ  สรุปได้ว่าประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม  สามารถใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้  ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  มีความพึงพอใจต่อการเรียน  และมีความคงทนในการเรียนรู้

       การเรียนการสอนแบบบทบาทสมมุติ  สามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดทักษะความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องอย่างเหมาะสม  ตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนให้นักเรียนใช้ในการสถานการณ์จำลองแบบบทบาทสมมุติและสามารถยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและรู้จักในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างถ่วงทีและยังสามารถส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ตามสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่พึงมี ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมร่วมกันซึ่งได้สอดคล้องกับเรืองศักดิ์   ภาคีพร (2548 : บทคัดย่อ) ที่พบว่า  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบบทบาทสมมุติ  ทำให้นักเรียนมีความสุข สนุกสนาน  ทำให้ผู้เรียนมีความคิดอย่างมีระบบ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อน นอกจากนี้สมฤดี  เชยสอาด (2547 : บทคัดย่อ)ที่พบว่า วิธีสอนแบบบทบาทสมมุติ  ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาความกล้าแสดงออก  ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือกันและรู้จักบทบาทของตนเองเมื่ออยู่ในกลุ่ม  ทำให้ผู้เรียนเกิดความสำนึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคมมากขึ้น  ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

       จากเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจการใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติจะสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมมากขึ้นจึงต้องหานวัตกรรมใหม่ๆ  เพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติเพื่อให้นักเรียนมีความสุขต่อการเรียนและมีเหตุผลเชิงจริยธรรมในทางที่ดีและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำไปใช้กับการจัดการเรียนรู้ได้ทุกวิชาและทุกระดับชั้นโดยการวิจัยในครั้งนี้จะช่วยให้ทราบถึงเหตุผลเชิงจริยธรรมและความคิดเห็นของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในวิชาทักษะชีวิตให้บรรลุจุดประสงค์  และสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์การวิจัย

  1. 1. เพื่อศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ
  1. 2. เพื่อเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

 

สมมุติฐานการวิจัย

เหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 หลังจากที่ได้รับกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติสูงกว่าก่อนเรียน

 

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  เขตดอนเมือง  แขวงสีกัน  กรุงเทพฯ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน  271 คน  จากนักเรียน  7  ห้อง                 

กลุ่มตัวอย่าง

       กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  เขตดอนเมือง แขวงดอนเมือง  กรุงเทพฯ  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง  28  คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม  (Group  Sampling) โดยใช้ ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม

2. ตัวแปรการวิจัย

ตัวแปรต้น    ได้แก่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ตัวแปรตาม   ได้แก่การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรม

3.  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย

      ระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าโดยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา  2554  โดยใช้เวลาในการศึกษาค้นคว้าทั้งหมด  12 คาบ  คาบละ  50 นาที

4.  เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย

                  เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเนื้อหาเรื่องด้านความกตัญญูกตเวที  ด้านความซื่อสัตย์สุจริต  ด้านความเสียสละ   ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.  เหตุผลเชิงจริยธรรม  หมายถึง  ความสามารถของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ในการใช้เหตุผล เลือกที่จะกระทำพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อตัดสินปัญหาทางด้านจริยธรรมตามสถานการณ์ที่อยู่ในแบบทดสอบได้จากคะแนนการทำแบบทดสอบ การให้เหตุผลเชิงจริยธรรม แบ่งเป็น 4 ระดับคือ

ระดับที่ 1  เลือกพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยยึดหลักเคารพเชื่อฟังและหลบหลีกการลงโทษ

ระดับที่ 2  เลือกพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยยึดหลักแสวงหาผลประโยชน์หรือสิ่งตอบแทน

ระดับที่ 3 เลือกพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยยึดหลักการทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบตาม  แบบแผนที่คนส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติ

ระดับที่ 4 เลือกพฤติกรรมที่พึงประสงค์โดยยึดหลักการทำตามกฎและรักษาระเบียบของสังคมซึ่งถือว่ามีความสำคัญในตัวมันเอง

2. แบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม  หมายถึง  แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเพื่อวัดพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งของนักเรียน

3.  การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  หมายถึง สมาชิกทุกคนในกลุ่มมีเป้าหมายเดียวกัน และสมาชิกทุกคนต้องช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อนๆ ทุกคนให้บรรลุเป้าหมายไปด้วยกันและนำทักษะความกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสม  ตามบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย จากสถานการณ์จำลองแบบบทบาทสมมุติและสามารถยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น  โดยมีขั้นตอน  5  ขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้

      1. ขั้นเตรียมนำเข้าสู่บทเรียน  เป็นการจัดกิจกรรมโดยให้นักเรียนนั่งสมาธิเพื่อระลึกถึงความดีที่เราควรปฏิบัติพร้อมแจ้งจุดประสงค์ให้นักเรียนทราบในการทำกิจกรรมแล้วให้นักเรียนฟังเพลงเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมแล้วถามเหตุผลของการฟังว่ามีความรู้สึกอย่างไร

     2. ขั้นแสดงบทบาทสมมุติ   เป็นการจัดกิจกรรมโดยครูเป็นผู้ชี้แจงเรื่องที่จะให้นักเรียนแสดงว่ามีบทบาทอะไรบ้างและครูอธิบายพร้อมให้นักเรียนแบ่งกลุ่มเป็น  2  กลุ่มโดยเป็นกลุ่มผู้แสดงบทบาทตามเนื้อเรื่องที่กำหนด พร้อมให้นักเรียนจับสลากกลุ่มนักเรียนที่ไม่ได้แสดงบทบาททำหน้าที่สังเกตการณ์ผู้แสดง

     3. ขั้นทำงานกลุ่มระดมสมอง  เป็นการจัดกิจกรรมโดยนักเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมุติที่ได้รับ

     4. ขั้นทำงานกลุ่ม  เป็นการจัดกิจกรรมโดยนักเรียนเป็นผู้จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงบทบาทสมมุติที่ได้รับพร้อมนักเรียนเป็นผู้แสดงบทบาทสมมุติที่ได้รับ

     5. ขั้นสรุป  เป็นการจัดกิจกรรมโดยครูและนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ในด้านผลดีต่อผู้ปฏิบัติ

4.  นักเรียน หมายถึง  นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่  4   ของโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  ปีการศึกษา  2554

ประโยชน์ที่ได้รับจากวิจัย

1.  ทำให้ทราบถึงการพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

2.  ทำให้ทราบถึงผลเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4 ก่อนและหลังที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

3.  เป็นแนวทางในการนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนเพื่อความเข้าใจในระดับอื่นๆ

กรอบแนวคิดในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้  ใช้กรอบแนวคิดการวิจัยพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง

แผนภูมิที่  1  กรอบแนวคิดในการวิจัย