การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับกิจการฟาร์มกล้วยไม้ในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร (Environmental Management for Orchid Farming in Bangkok Suburb Area)

การจัดการสิ่งแวดล้อมสำหรับกิจการฟาร์มกล้วยไม้ในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร (Environmental Management for Orchid Farming in Bangkok Suburb Area)

สรายุทธ์ คาน และคณะ


View Fullscreen

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์

รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2559 

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดยชุมชนมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านศรีสรรเพชญ์

Community Participation to the Management of Natural Resource and Environment:
A Case Study of Ban Sri Sanphet Community Forest


จรัญ ประจันบาล และคณะ

 

View Fullscreen

การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย” ครั้งที่ 3” วันที่ 20 22 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

 

       ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่องการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies modified) นี้ ผู้ศึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบัน และศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  ที่คาดหวังให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้างานและผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 410 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test) และทำการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตรการคำนวณค่าดัชนีจัดเรียงลำกับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI modified)

ผลการศึกษา พบว่า สมรรถะของผู้กำกับศิลป์ มี 3 ด้าน รวม 16 สมรรถนะ ดังนี้

       ด้านที่ 1 สมรรถนะด้านความรู้ ประกอบด้วย 1)ความรู้ด้านการออกแบบ 2)ความรู้ด้านการตลาด 3)ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และ 4)ความรู้รอบตัว

       ด้านที่ 2สมรรถนะด้านทักษา ประกอบด้วย 1)ทักษะในการออกแบบสื่อ 2)ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3)ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 5) ทักษะการนำเสนอ 6)ทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ 7)ทักษะการควบคุมกระบวนการผลิต 8)ทักษะการควบคุมตรวจสอบการออกแบบของทีมงาน

       ด้านที่ 3 สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 1)ความคิดสร้างสรรค์ 2)รสนิยม 3)การมุ่งผลสำเร็จ และ 4)คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

ผลการวิจัยพบว่า

       1. ระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันที่มีค่ามากที่สุดและต่ำที่สุด ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ในปัจจุบันมากที่สุด คือ ความรู้ด้านการตลาด น้อยที่สุด คือ ความรู้รอบตัว

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะในปัจจุบันมากที่สุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ น้อยที่สุดคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

          ด้านที่ 3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะในปัจจุบันมากที่สุด คือ คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ น้อยที่สุด คือรสนิยม

       2. ผลการวิจัยระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาที่คาดหวังให้มี ที่มีค่ามากสุดและต่ำสุดในแต่ละด้านมี ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความรู้รอบตัว    น้อยที่สุด  คือความรู้ด้านการออกแบบ

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือ ทักษะการออกแบบสื่อน้อยที่สุด คือทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ

          ด้านที่3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความคิดสร้างสรรค์น้อยที่สุด คือการมุ่งผลสำเร็จ

       3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ด้วยค่าดังนี้ จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Nedds : PNI modified)ที่มีระดับสมรรถนะต่ำและมีลำดับความต้องการจำเป็นสูง จำนวน 6 สมรรถนะ เรียงลำดับดังนี้ คือ 1) ความรู้รอบตัว    2)รสนิยม 3)ความคิดสร้างสรรค์ 4)ทักษะการออกแบบสื่อ 5)ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และ 6)ความรู้ภาษาอังกฤษ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

1.   ทราบระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันและที่คาดหวังให้มี และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา

2.   บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาเพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในการเปิดประชาคมอาเซียน

3. บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการสรรหาและคัดเลือกผู้กำกับศิลบริษัท

4. ตัวแทนโฆษณา รวมถึงจัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อรับนิสิตนักศึกษามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโครงการสหกิจศึกษา เป็นต้น

5. บริษัทตัวแทนโฆษณาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การตั้งเกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร 

6. สถาบันการศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร สาขาวิชาการโฆษณา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน เพื่อการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้มีความสามารถตามความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อให้เกิดโอกาสการได้งานทำมากขึ้นในสภาวการณ์การแข่งขันที่สูงของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร

สิริพิมพ์ พุ่มไสว และ ณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ นิสิตสาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา

แขนงวิชานาฏศิลป์ สารนิพนธ์เชิงวิจัย

โดยการควบคุมของ

อาจารย์ ดร. ปัทมา วัฒนพานิช และอาจารย์เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร 

ที่ปรึกษาพิเศษได้แก่

ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และอาจารย์ประพัฒน์พงศ์ ภูวธน

ใน

“กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร”

 


 

กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร

The Study of Dancing Postures on Surpanakha Praising Forest

สิริพิมพ์  พุ่มไสว / Siripim Pumsawai

และณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ / Nutthatadhanai Hongsawat

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง กระบวนท่ารำนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุด สำมนักขาชมไพร กรณีศึกษาท่ารำของดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ในครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนท่ารำของนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุดสำมนักขาชมไพร การนำไปใช้ องค์ประกอบทางการแสดง ตลอดจนวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ หลักและกลวิธีในการรำตีบทของนางสำมนักขา โดยมุ่งเน้นกระบวนท่ารำของ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก เป็นหลักในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร คำบอกเล่า บุคคล งานศิลปะ โดยใช้วิธีค้นคว้าข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนา การสังเกตการณ์รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2556 ถึง เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงได้เห็นถึงความสำคัญของนางสำมนักขาที่มีต่อการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์จึงได้รวบรวมข้อมูลและศึกษากระบวนท่ารำที่มีลีลาของนางยักษ์ที่มีความงดงามตามแบบแผนในราชสำนักและอีกทั้งยังเป็นการสืบทอดการรำ ชุด สำมนักขาชมไพร เพื่อเป็นการอนุรักษ์กระบวนท่ารำสำมนักขาชมไพร ให้คงไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการในการค้นคว้าวิจัยเป็นองค์ความรู้ต่อไป

       จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลได้ว่า มีการวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ การใช้ลีลาอารมณ์ วิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง รวมทั้งการใช้พื้นที่ในการแสดง ชุดสำมนักขาชมไพร และพบว่ามีข้อมูลที่ต้องการจะเสนอแนะให้ผู้อื่นทำการศึกษาเพื่อเติม เช่น กระบวนท่ารำของนางอดูลปิศาจ นางผีเสื้อสมุทร นางวรณี และนางกากนาสูร เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูล โขนตัวนาง ในรามเกียรติ์

 

Abstract

       The study of Dancing Postures on Surpanakha in the Khon performance, the episode of Surpanakha Praising Forest: A case study of dancing postures according to Dr. Pairot Thongkhamsuk is qualitative research aimed at realising the importance of dancing postures of Surpanakha in the Khon performance in the episode of Surpanakha Praising Forest; applying components of performance; as well as analyse the styles of dancing postures. The principles and strategies of the dance of Surpanakha are focused on dancing postures of Dr. Pairot Thongkhamsuk for analysis. Furthermore, the researcher also studied and searched for information from many different sources, such as documents, anecdata, people, art work by searching, interviewing, having conversation, observing, and self-practising. The procedure and methodology starts from June 2013 to October 2014, and the data show the importance of Surpanakha towards the Khon performance in Ramakian. Therefore, the researcher had collected the data and studied the dancing postures that consist the styles of Demon that is magnificent with regard to the Royal tradition, and also carry on the dance on Surpanakha Praising Forest in order to maintain the dancing postures of Surpanakha Praising Forest and to be academic evidence for the next research.

       From the research, it can be discussed that there was the analysis of dancing postures, style and emotion, the differences of costumes, props of the performance, and area used for performing Surpanakha Praising Forest. It found that there is some useful information needed to suggest other people who are interested in to study further to be a guideline of the study of female Khon in Ramakian, such as dancing postures of Devil Adul, Nang Phisua Samut (Ocean Giant), Nang Vorani, and Nang Kaknasul.

การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

Development of Classroom Action Research Practice Model to Enhance Classroom Action Research Competency for Early Childhood Education Program’s Student Teachers

รัศมี ตันเจริญ*

*สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*Corresponding author. Email : [email protected]

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติ การวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย โดยมีวิธี ดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) สร้างรูปแบบ และทดลองประเมินโครงร่างรูปแบบ 2) สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ 3) ทดลองนำร่องและตรวจสอบคุณภาพ รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 แห่ง และ 5) ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบให้เป็นฉบับสมบูรณ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1. ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นรูปแบบที่ประกอบ ด้วยสาระซึ่งจัดเป็นชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุด คือ ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรม

            สำหรับการแก้ปัญหา ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียน โครงร่างการวิจัย ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล และชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I) ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (Research Plan = R) ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P) ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบ ให้คำชี้แนะ (Coaching=C) ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P) ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลองนำร่อง พบว่า เป็นไปตามสภาพบ่งชี้การ บรรลุเป้าหมาย และผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ ประกอบของโครงร่างรูปแบบว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและสอดคล้องกัน และประเมิน ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและมีองค์ประกอบ สอดคล้องกัน

            2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ และด้านเจตคติที่มี ต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่า เกณฑ์ที่ก􀄬ำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อ การใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

คำสำคัญ: พัฒนาสมรรถนะ วิจัยในชั้นเรียน การศึกษาปฐมวัย

 

Abstract

            The purposes of this research were to develop a model and study the outcome of a classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers. The research procedures were composed of 5 steps; namely, 1)construct the framework and evaluate the constructed model 2) construct the instrument incorporated with the model usage, 3) conduct a pilot study and have the model validated by the experts, 4) try out the constructed model with the samples from 149 4 Rajabhat University student teachers, and 5) revise and finalize the complete model. The findings were as follows:

            1. The gained classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers developed the student teachers in 3 areas: 1) knowledge in a classroom action research, 2) skills in conducting a classroom action research, and 3) the attitudes towards a classroom action research. The model was composed of 7 practice modules for a classroom action research. The first module : an introduction to a classroom action research ; the second module : identification of a classroom action research statement problems; the third module : review of related literature and specify the innovation for problem resolution; the fourth module : planning the classroom action research and writing of the research proposal ; the fifth module : development of educational innovation and research instrument for data collection; the sixth module : data analysis and data interpretation; and the seventh module : research conclusion and research report writing. The classroom action research activities involved 5 steps classifying as stage 1 : informing (I) the teacher students with the knowledge prior to conducting the classroom action research; stage 2 : research planning (R)) ; stage 3 : peer assist (P) ; stage 4 coaching (C); and stage 5 practice (P) by putting into action of the classroom action research. Based on the quality review from the pilot project, the results indicated that the performances were in compliance with the prescribed goal attainment performance indicators. According to the model appraisal, the experts reported that the appropriateness and the model framework congruity were at a high level and were in compliance, while the evaluation result of the action research modules were as well at a high level and the components were also in consistence.

            2. The outcome of the model implementation revealed the Early Childhood Program’s student teachers possessed a higher competency of classroom action research at a statistically significant level of 0.01, while the competency of classroom action research knowledge as well as the attitudes towards the classroom action research increased at a statistically significant level of 0.01. Additionally, the Early

 

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่าน การนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ปรึกษาหารือ ช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและ ควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วย แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษา จะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมี ปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่ สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ตระหนักถึงความสำคัญของ กระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัย และตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัย จึงสนใจที่จะ พัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ วิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริง ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โดยนักศึกษา มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเอง ได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศ อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย จะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะ ทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

Keywords : Enhancing Competency, Classroom Research, Early Childhood Education

 

บทนำ

            วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทโดยตรงในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ บุคลากรที่เข้าสู่วิชาชีพครูจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและ คุณลักษณะที่เหมาะสม โดยเฉพาะสมรรถนะการเป็นครู ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะครูได้รับการกำหนดแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษามาตรา 30 ที่กำหนดไว้ว่า ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 14) จึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินอกจากจะระบุให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพแล้วยังระบุให้ครูต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

            การผลิตครูในปัจจุบันต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูครอบคลุมตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.. 2556 (2556 : 67-70) ที่กำหนดมาตรฐานความรู้จำนวน 11 เรื่องโดยมีสาระความรู้ทางด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสาระหนึ่งที่ถูกกำหนดไว้และกำหนดมาตรฐานบัณฑิตว่าต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่

น้อยกว่าหนึ่งปีโดยต้องสามารถทำวิจัยใน ชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะทางการวิจัยจึงเป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งที่ครูจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งคำว่าสมรรถนะ (Competency) หมายถึง กลุ่มของความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่เกี่ยวข้องกัน (พิมพันธ์ เดชะคุปต์; และพรทิพย์ แข่งขัน.2551: 2; อ้างอิงจาก Parry. 1997) โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ

ตนเอง 4) บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล 5) แรงจูงใจ/เจตคติ (เทื้อน ทองแก้ว. 2556: ออนไลน์; อ้างอิงจาก David C. McClelland. 1973) ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะทางการวิจัยจึงควรพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติซึ่งรวมถึงลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านการนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำช่วยเหลือ ปรึกษาหารือช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษาจะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมีปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัยและตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริงควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาโดยนักศึกษา

มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศอย่างเหมาะสมซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยจะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

2. เพื่อศึกษาสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความพึงพอใจจากการใช้รูปแบบของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

วิธีการดำเนินการวิจัย

การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดังนี้

           ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้วยการดำเนินการ 3 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์ ข้อค้นพบที่ได้ นำมากำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัย โดยสอบถามอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 49 คน

                ขั้นที่ 2 เขียนโครงร่างรูปแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบเป็น 8 ส่วน ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ ลักษณะสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ และสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย กำหนดเนื้อหาสาระเป็น 3 ด้านคือ

                1. สมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                2. สมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                3. สมรรถนะด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดขอบเขตเนื้อหาจัดลาดับความต่อเนื่องของเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบ

ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุดได้แก่

                ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหา

                ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียนโครงร่างการวิจัย

                ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                ชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยการกำหนดวิธีการจัดกิจกรรม และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ

                ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I)

                ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (ResearchPlan = R)

                ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P)

                ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching=C)

                ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P)

กำหนดวิธีการประเมินผลคือ

1) ประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

2) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบ

3) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการทดลองด้วยการประเมินจากการทำใบงานในแต่ละชุดและประเมินจากรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

4) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

           กำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย คือ หลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง มีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านโดยมีผลการประเมิ นการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไปขั้นที่ 3 เขียนร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 และ ชุดที่ 3 โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนขั้นที่ 4 ทดลองประเมิน

โครงร่างรูปแบบด้วยการศึกษาจากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษา

ปฐมวัย จำนวน 3 คน โดยทดลองจัดกิจกรรมตามขั้นตอนของรูปแบบ 5 ขั้นตอนและใช้

ร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุดที่ผู้วิจัยเขียนไว้

           ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดย 1) สร้างคู่มือการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 2) สร้างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3) สร้างเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้แก่แบบประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียน แบบประเมินการทำใบงานในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบประเมินรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย 4) สร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบและคุณภาพของเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ

                ขั้นที่ 2 หาคุณภาพเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบ (เครื่องมือแต่ละชุดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.8-1.00, แบบประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีค่าความเชื่อมั่น ( α ) เท่ากับ .98, แบบทดสอบความรู้มีค่าความเชื่อมั่น (KR 20) เท่ากับ .98)

           ขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำร่อง และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ทดลองนำร่องเพื่อหาคุณภาพของรูปแบบกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 20 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลอง 2 ลักษณะคือ

                1) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กำหนดแบบแผนการทดลองด้วยการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) 2) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัย ใช้แบบแผนการทดลองแบบวัดผลเฉพาะหลังการ ทดลอง (One – Group Posttest only Design) โดยดำเนินการทดลองตามขั้นตอนการ จัดกิจกรรมของรูปแบบ 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้จากนั้นนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้มาแก้ไขและปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                ขั้นที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน และชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบด้านต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 ลักษณะคือค่าคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสม และค่าดัชนีความสอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบทุกส่วนมีความเหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60–4.80) โดยมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ (IOC เท่ากับ 1.00) 2) จุดประสงค์การเรียนรู้กับเนื้อหาและการประเมินผลที่กำหนดไว้ในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนฉบับร่างมีความสอดคล้องกัน (IOC เท่ากับ 1.00)

           ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

                ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ในปีการศึกษา 2557 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 31 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลองเช่นเดียวกับขั้นทดลองนำร่อง ดำเนินการทดลองตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยกิจกรรม 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้

           ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยฉบับสมบูรณ์โดยนำข้อมูลที่ได้จากตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบในขั้นทดลองใช้รูปแบบมาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์และจัดทำรูปแบบที่ได้ปรับปรุงแล้วเพื่อใช้ในการสำเนาและเผยแพร่ต่อไป

ผลการวิจัย

           1. ผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1)ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ส่วนมีขอบเขตเนื้อหาเป็นชุดฝึกปฏิบัติการ

วิจัยในชั้นเรียน จำนวน 7 ชุด ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนและกำหนดแนวทางการประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยกำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมายคือหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านและมีผลการประเมินการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป

           ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบพบว่ามีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการทดลองนำร่อง พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลการประเมินสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุด อยู่ในระดับดีมาก และมีผลคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนพบว่าทั้งสองรายการมีความเหมาะสมและความสอดคล้อง

           2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลการประเมินทักษะการวิจัยที่ประเมินจากแบบฝึกหัดใน

ใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ( X = 72.58% – 100%) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุดอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.96%) มีผลการประเมินสมรรถนะในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.83%) และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.51)

อภิปรายผลการวิจัย

           รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเป็นรูปแบบที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยและนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมากที่สุดสามารถอภิปรายผลได้ว่า

           1. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ และอยู่ในสภาวการณ์ที่พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในชั้นเรียนจริง และผลงานการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้นักศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่ว่าผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ที่จำเป็น และสนใจว่าการเรียนรู้จะทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างไร (Knowles; Holton;&Swanson. 2005: 39) ในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอนเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่ และอยู่ในบริบทที่ฝึกประสบการณ์ในชั้นเรียนจริง ส่งผลให้นักศึกษามีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ 1) นักศึกษามีชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการศึกษา 2) นักศึกษาได้

มีโอกาสเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ถ่ายโยงความรู้ เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและวิธีการจัดกิจกรรมแบบต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ในบางเรื่องเพิ่มเติมจากเพื่อน 3) การวางแผนและการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งการดำเนินการทั้งในขั้นการวางแผนการวิจัยและขั้นการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนนักศึกษาต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อดำเนินการวางแผนและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณตรง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ (Experiential Learning) ที่มีแนวคิดสำคัญที่ถือว่าประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นทรัพยากรหลักของการเรียนรู้ จึงเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนประสบการณ์ไปสู่ความรู้ (Kolb, 1984: 384) การนิเทศแบบให้คำชี้แนะโดยอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ให้คำปรึกษาตรวจแก้ไขงานและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวางแผนการวิจัยและการปฏิบัติการวิจัยในแต่ละขั้นตอนช่วยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบดังที่กล่าวมาจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้

           2. ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เพราะในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกระบวนการทำวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งนักศึกษาสามารถศึกษาได้ทุกช่วงเวลา และใบงานที่เป็นแบบฝึกหัดในแต่ละชุดก็เป็นแนวทางให้นักศึกษาทำวิจัยได้ง่ายขึ้น ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนจึงช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยเพิ่มมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุนทรา โตบัว (2554: 1) ที่ศึกษาพบว่านิสิตวิชาชีพครูที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีสมรรถนะวิจัยอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม

ข้อเสนอแนะ

           1. ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

                1.1 การนำกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบไปใช้ควรมีการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนใช้กำกับดูแลให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนและชี้แจงให้อาจารย์พี่เลี้ยงเข้าในบทบาทในการนิเทศแบบชี้แนะ

                1.2 การใช้ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนควรให้นักศึกษาได้ศึกษาและทำแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดส่งตามระยะเวลาที่กำหนดแต่สามารถยืดหยุ่นได้เช่นในกรณีที่นักศึกษาบางคนทำงานเสร็จเร็วก็สามารถศึกษาเอกสารในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดต่อไปได้ก่อนเวลาที่กำหนดไว้

                1.3 การนิเทศแบบชี้แนะอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงควรศึกษาคู่มือรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้เข้าใจก่อนและสามารถให้คำปรึกษาโดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเช่นการเข้าพบเพื่อปรึกษาการโทรศัพท์การใช้สื่อสังคมออนไลน์

           2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนกับนักศึกษาครูในสาขาอื่นๆให้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

                2.2 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูด้านอื่นๆ

                2.3 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยหรือการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ..2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ..2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130. หน้า 6

เทื้อน ทองแก้ว. (2556). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2556 จาก http://www.competency.mju.ac.th/doc/22141.doc.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข่งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการ พัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาการศึกษา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สุนทรา โตบัว. (2554). “การพัฒนาสมรรถนะวิจัยของนิสิตวิชาชีพครูด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา,วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2554, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knowles, M.S., Holton, E.F., & Swanson, R.A. (2005). The adult learner: the defnitive classic in adult education and human resource development. 6 th edition, Boston: Elesvier.

Kolb, David A. (1984). Experiential learning : experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, N.J. : Pretice-Hall.

การประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The  Curriculum  Evaluation  on  Bachelor Degree  of  Education  Program  in  Music   Education  Faculty  of  Education, Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University

สุพัตรา   วิไลลักษณ์*

วิโฬฏฐ์   วัฒนานิมิตกูล**

                              *สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

             **สาขาวิชาบริหารการจัดการศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*Corresponding  author.  E- mail: [email protected]

บทคัดย่อ

   การวิจัยเรื่องการประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  ) เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   โดยใช้รูปแบบซิปป์  ( CIPP  Model )  ในด้านบริบท  ( Context  Evaluation )  ด้านปัจจัยนำเข้า  ( Input  Evaluation )   ด้านกระบวนการ ( Process  Evaluation )  และด้านผลผลิต  ( Product   Evaluation )  ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   โดยใช้การสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง  ประกอบด้วยอาจารย์สาขาสาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   จำนวน  ๑๕  คน   นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่๒/๒๕๕๘    จำนวน  ๓๓๗  คน  และผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษาที่นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘    จำนวน  ๕๖  คน  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล   ได้แก่ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์เนื้อหา         

 

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ผลการประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภาพรวม   อาจารย์   นิสิตและผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า   หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  ผลการประเมินด้านบริบท  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก  รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การกำหนดวิชาเอกเป็น วิชาเอกดนตรีไทย  และ วิชาเอกดนตรีตะวันตก   มีความเหมาะสม  ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก   รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  อาจารย์มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่สอน  ผลการประเมินด้านกระบวนการ  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก   รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสม กับเนื้อหาวิชา   ผลการประเมินด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก     รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ  ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต/ ผู้เรียนมีคุณภาพ

๒. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี

ศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  มีดังนี้

๒.๑  ด้านบริบทพบว่า  จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรมีมากเกินไป  รายวิชาบางวิชามีการกำหนดรายวิชา  จำนวนวิชา  เนื้อหาวิชาไม่เหมาะสม  การกำหนดแผนการศึกษาไม่เหมาะสม   จึงควรปรับลดจำนวนหน่วยกิต  และพัฒนา /ปรับปรุงรายวิชา  รวมทั้งแผนการศึกษาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น    ด้านปัจจัยนำเข้า  พบว่า  เครื่องดนตรีมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนิสิต  ห้องซ้อมและห้องปฏิบัติการดนตรีมีไม่เพียงพอ  อาจารย์ผู้สอนควรมีความเฉพาะทางและหลากหลาย  เพื่อการเรียนปฏิบัติแบบตัวต่อตัว  จึงมีการสร้างความร่วมมือกับวิทยาลัยการดนตรี   เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในส่วนของเครื่องดนตรี   ห้องซ้อมห้องปฏิบัติการดนตรี และอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   และจัดซื้อจัดหาเครื่องดนตรีให้มีความเพียงพอต่อจำนวนนิสิต   รวมทั้งจัดจ้างอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรที่มีความเฉพาะทางเพิ่มขึ้น  ด้านกระบวนการพบว่า  การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่เป็นระบบ ขาดความชัดเจนในการปกิบัติ  จึงควรมีการกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของนิสิตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานให้นิสิตทราบล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติ   ด้านผลผลิตพบว่า  นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา  จึงควรมีการจัดแผนการศึกษา  และชี้แนวทางการศึกษาให้แก่นิสิตทราบล่วงหน้า  เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมแก่นิสิต   รวมทั้งควรมีการศึกษาปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา  เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่าตรงประเด็น

คำสำคัญ:  การประเมินหลักสูตร   หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา

Abstract

The  purpose  of   this  research  were  to  evaluate  bachelor  of  Education  Curriculum  in  Music  Education  Program  of  Faculty  of  Education  at  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  through  CIPP Model  in  four  components:  context,  input,  process  and  product,  and  to  investigate  the  problems  and  approach  to  development   of  the  assessed  were  .  The  data  were  collected  by  using  questionnaire  and  interview  the  people  who  involved  in  the  curriculum  using  for  their  opinions  on  the  matter.  They  were  15  teaching  staff  in  Music  Education , Faculty  of  Education,  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University,  337  undergraduate  students  majoring  in  Music Education,  Faculty  of  Education,  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  and  56  employers,  or  mentors  at  the  school  where  pre –service  teachers  were  working  in  the  2nd  semester  of  academic  year  2015.  Data  was  statistically  analyzed  in  percentage,  mean,  and  standard  deviation.  Also, content  analysis was   employed  in  this  study.  The  findings  revealed  as  follows.

1. In  the  overview, the  Bachelor  of  Education  Curriculum  in Music  Education  Program  of  Faculty  of  Education  at  Bansomdejchaopraya  Rajabhat  University  was evaluated  by teaching  staff,  students,  and employer  at  the  high  level.

     1.1  Context  was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  specification  of  majoring program as “Thai Music”  and  “Western Music”.

     1.2  Input  was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  the teachers’ knowledge  and  proficiency related to  their capacity.

     1.3  Process was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in congruence among  measurement, evaluation, and course contents.

    1.4  Product was  found  at  the high  level.  The  highest  mean  was  reported  in  outcome of  pre – service performance/ learners’ quality

2. The problems and approach to development of  the assessed curriculum involved the followings.

     2.1  Regarding context, the  course  credits were  exceeding: the  specification of  some courses,

in  terms of  numbers  and contents, as  well  as the  educational  plan  was  inappropriate. Henceforth, these domains, including  credits, courses,  and  educational  plan  should  be  revised for  better  appropriateness.

                  2.2  Regarding input,  the  music  instruments, music  rehearsal  room, and  laboratory  were  insufficient, compared  to  the  existing  numbers  of  learners. Teachers’ areas  of  specialization should  be  ing the music  College  for  resource  sharing, e.g., music  instruments, music  rehearsal  room, laboratory,

music instruments, and  employment of  equivalent  teaching staff,  or  specialists were suggested.

  2.3  Regarding process, pre-service  teacher  training  was not  systematic and  lacked  clarity in  implementation. The  suggestions  included  specification of  requirements and  qualifications of  pre-service  teachers, and  explanation of  training processes  in  advance for  practical  preparation.

                 2.4  Regarding product,   the students’ graduation was  delayed. The educational  plan  should  be  provided, including the explanation  to  the  students  in advance for  their preparation. Also, the causes  of  delayed  graduation  should  be  examined  for  accurate  problem  solving.

Keyword:  The  Curriculum  Evaluation,  Bachelor  Degree of  Education,   Program  in Music  Education

 

  

การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

Designing  Traditional Thai  Music Teacher  Training Course toEnhance Vocal Attribute on Basic  of Traditional Thai  Music Standards

สุพัตรา   วิไลลักษณ์

                              สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

           การวิจัยเรื่องการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  ) ศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒)  สร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   โดยมีการดำเนินการวิจัย    ขั้นตอน  คือ

            ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   กลุ่มตัวอย่าง  คือครูสอนดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล   จำนวน  ๒๒๒  คน  (สถาบันการศึกษาละ    คน )   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

               ขั้นตอนที่ ๒  การสร้างหลักสูตร  เป็นการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ประกอบกับข้อมูลตามขอบเขตของเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๓  นำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน    ท่าน ประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร  และประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  ผลการการประเมิของผู้เชี่ยวชาญพบว่า  ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม  สอดคล้องกัน  รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  มีความเหมาะสม เที่ยงตรง

              ขั้นตอนที่ ๓  การทดลองใช้หลักสูตร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง  คือครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล จำนวน  ๑๕  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่

  ๑)  แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทย   เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒) แบบประเมินคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  ก่อนและหลังการฝึกอบรม  ๓) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  และ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทย  เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบที  ( t – test )  2 กลุ่มสัมพันธ์กัน  ผลการทดลองพบว่า  การกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นในแต่ละเนื้อหาของแต่ละหน่วยย่อย  ระยะเวลาสำหรับการทดลองใช้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ควรปรับให้เหลือ ๒0  ชั่งโมง  และปรับเพิ่มกิจกรรมในการขับร้องร่วมกับวงดนตรีไทย  

              ขั้นตอนที่ ๔ การประเมินผลหลักสูตร  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ    และมีคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากเข้ารับการอบรม    และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ( =  ๔.๖๐   SD. = .๕๔ )  รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมาก  ( =  ๔.๔๖   SD. = .๖๑

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณลักษณะปัจจุบันด้านการขับร้องตามเกณฑ์

มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติในระดับปานกลาง  ( = ๓.๑๔  SD. = .๙๓  และ  = ๒.๙๗   SD. = ๑.๐๑  ตามลำดับ) และมีความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระดับมาก   ( = ๓.๙๔   SD. = .๘๕  และ  = ๓.๙๕   SD. = .๘๕  ตามลำดับ )

๒)  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น  หลักการของหลักสูตร  เป้าหมายของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร    เนื้อหาของหลักสูตร    กิจกรรมและระยะเวลา  สื่อการฝึกอบรม   ผู้เข้ารับการอบรม   แนวทางการฝึกอบรม    การประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้   หลักสูตรมี    หน่วยการเรียนรู้ คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคทฤษฎี  ประกอบด้วย    หน่วยย่อย  ได้แก่  ประวัติการขับร้อง   องค์ประกอบด้านกายภาพของผู้ขับร้อง   ประวัติศิลปินต้นแบบที่สำคัญ  ระบบการขับร้อง  แบบแผนการเรียนรู้และแบบแผนกระบวนการฝึกฝน / ฝึกซ้อม  การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเสริมสร้างพัฒนาการ   แบบแผนและจรรยาบรรณวิชาชีพ  และศัพท์สังคีต   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคปฏิบัติ  ประกอบด้วย 

หน่วยย่อย  ได้แก่  การฝึกหัดขับร้องเพลงตับมโหรีเรื่องนางนาคสองชั้น การฝึกหัดขับร้องเพลงสุดสงวนเถา  และการฝึกหัดขับร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงสองชั้น    

———————————————————

  

สุพัตรา  วิไลลักษณ์. (2557).  การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมครูดนตรีไทย เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้อง ตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย.   ศิลปกรรมสาร.  9(1) :  171 – 192.

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระย

วรินธร สีเสียดงาม และสุพัตรา วิไลลักษณ์

   ศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และ อาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาหน้าที่ของอาจารย์ทีปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาหน้าที่และบทบาท ตลอดจนการสร้างปฏิสัมพันธ์ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่พึงมีต่อนิสิต  โดยใช้ประชากรที่เป็นนิสิตทั้งสิ้นจำนวน 336 คน และอาจรย์ที่ปรึกษาทั้งสิ้นจำนวน 9 คน

 

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

โดย

วรินธร สีเสียดงาม และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัตรา วิไลลักษณ์

ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 


 

ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษาที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Opinions of Students and Teachers Towards Advisory Roles of Teachers in Music Education Programme, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University.

วรินธร สีเสียดงาม *

สุพัตรา วิไลลักษณ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  2) เพื่อนำเสนอแนวทางที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1-4 และอาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา รวม 345 คน

   ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 4 ด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2)  แนวทางที่มีต่อหน้าที่บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ขอเสนอออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้ ด้านวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตร ช่วยให้นิสิตลงเรียนได้ครบถ้วนตามหลักสูตร และแนะนำกำหนดเป้าหมายในการเรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านการพัฒนานิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นิสิต กิริยามารยาท ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขา และคนรอบข้าง ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรมีอัธยาศัยดี มีการพบปะสนทนาสร้างความเป็นกันเอง ให้ความมั่นใจกับนิสิตเมื่อมาขอคำปรึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ  ด้านการให้ความช่วยเหลือ อาจารย์ที่ปรึกษาควรติดตามนิสิตที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการเรียกพบนิสิต ช่วยเหลือหาข้อมูล หรือแก้ปัญหาให้นิสิต เมื่อต้องประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ

คำสำคัญ: บทบาทหน้าที่, อาจารย์ที่ปรึกษา, ดนตรีศึกษา

Abstract

   This study aimed to 1) investigate the opinions of students and advisors towards the roles of advisors in Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, and 2) provide guidelines on the roles of advisors in Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The sample group of the study was comprised of the first-to-forth-year students and the lecturers of Music Education Program, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University in total of 345 participants.

   The findings revealed that firstly in the aspect of the roles of advisors in Academic Affairs, Student Development, Interaction with Students, and Student Assistance, students were satisfied with the roles of advisors in the high level in every aspect. Secondly, guidelines for the roles of advisors were categorized into 4 aspects: in the aspect of Academic Affairs, advisors were able to explain the structures of curriculum, and advisors could help students enroll their courses correctly and advise them how to set their goals before internship and for their future. For Student Development, advisors should be good role models for students in the aspects of personality, manner, responsibility, and self-recognition. Also, advisors should possess good attitudes towards the program and people. In the aspect of Interaction with Students, advisors should create a good atmosphere, such as friendliness, and confidence to students when needing consulting. Advisors critically gave knowledge, advice and guidelines for solving problems. Finally in the aspect of Student Assistance, advisors should care for all students they had been assigned closely, call students for meeting when there was a problem or when they encountered difficulties individually to find out the solution of a problem, and cooperate with otsher organizations in order to help solve problems of students.

Keywords: Role, Teachers, Music Education

 

บทนำ

   การศึกษาของประเทศไทย มีจุดมุ่งหมาย คือเป็นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน สร้างสังคมคุณธรรม ภูมิปัญญา และการเรียนรู้ในระดับ อุดมศึกษาเรื่องของการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุดในกระบวนการจัดการศึกษาทั้งในระบบ และนอกระบบการศึกษา

   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันระดับอุดมศึกษา เป็นแหล่งให้การศึกษาทั้งทางวิชาการและวิชาชีพขั้นสูง มีการศึกษาทั้งภาคปกติ และภาคพิเศษ กระบวนการจัดการศึกษานั้นต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่ผู้เรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย เช่นเดียวกับผู้เรียนในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในด้านการเงิน การเลือกรายวิชาเรียน การใช้ชีวิตในสถาบัน การปรับตัว การเตรียมตัวสู่อาชีพ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการความช่วยเหลือจากมหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นบุคคลที่มีความสำคัญ เพราะสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียน และเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด

   สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ เป็นสาขาวิชาหนึ่งของคณะครุศาสตร์ ที่มีหน้าที่หลักในการพัฒนานิสิตให้มีความรู้ ความสามารถ รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดี สามารถออกไปพัฒนาเยาวชนของชาติ ดังนั้นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนิสิต ได้แก่ ผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากร จะมีบทบาทในการพัฒนานิสิตให้มีคุณภาพ ซึ่งอาจารย์นอกจากมีภารกิจหลักในการสอนแล้ว บทบาทสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่เป็นทั้งอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา ดูแลความประพฤติ ให้กำลังใจ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเรียนอย่างเป็นระบบทันกับการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมไปถึงปัญหาส่วนตัวและกิจกรรมต่างๆ ในการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีความสำคัญต่อนิสิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นผู้ให้ข้อมูลและคำแนะนำได้ทั้งด้านบุคลิกภาพ ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านคุณธรรม ความประพฤติด้านความรู้ และประสบการณ์ อาจารย์ที่ปรึกษาต้องทำให้นิสิตเกิดความไว้วางใจได้ มีเหตุผลที่ดี มีความรับผิดชอบ จึงทำให้นิสิตอยากเข้าพบ และอยากเข้ารับคำปรึกษา เพื่อช่วยเหลือให้นิสิตประสบผลสำเร็จทางการศึกษา ซึ่งจะทำให้บัณฑิตที่จบไปมีคุณภาพและส่งผลต่อคุณภาพโดยส่วนรวมของมหาวิทยาลัยอีกด้วย

   ถึงแม้บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาจะมีความสำคัญ แต่ก็ยังพบปัญหาการดำเนินงานให้คำปรึกษาแก่นิสิต ได้แก่ นิสิตในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา 1 คนมีมากเกินไป เวลาของนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ตรงกัน อีกทั้ง นิสิตละเลยไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้วิจัยจึงเล่งเห็นความสำคัญของบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ว่ามีส่วนอย่างมากในการพัฒนานิสิตในสาขาได้เรียนอย่างมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งงานอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นภารกิจที่สำคัญของอาจารย์อีกงานหนึ่งนอกจากงานสอนเพราะช่วยให้นิสิตมีประสิทธิภาพสามารถสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ ต่อบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา จึงได้ทำการวิจัยในเรื่องนี้เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาให้ดียิ่งขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของ          อาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อนำเสนอแนวทาง ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ทราบความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. ได้แนวทางในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านเนื้อหา

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาเฉพาะบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อได้ความคิดเห็นจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อเสนอแนวทางและพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อประโยชน์ต่อนิสิตในสาขาวิชาดนตรีศึกษา           คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งการศึกษาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

1.1 บทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ

1.2 บทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนานิสิต

1.3 บทบาทหน้าที่ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต

1.4 บทบาทหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือ

2. ขอบเขตด้านประชากร

2.1 นิสิตชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2558 จำนวนทั้งหมด 336 คน

2.2 อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย          ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่มีหน้าที่ให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนทั้งหมด 9 คน

 

ระเบียบวิจัย

   งานวิจัยเรื่องนี้ เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) ประเภทการศึกษาสำรวจ (Survey Studies) เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม (Questionnaire) จำนวน 2 ฉบับ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิต และ แบบสอบถามความคิดเห็นของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งในแบบสอบถามแต่ละฉบับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)

ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของผู้ตอบ ที่มีต่อบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของไลเคิร์ท (Likert’s scale)

ตอนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ตอบ มีต่อบทบาทหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Checklist)  และมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของไลเคิร์ท (Likert’s scale)

 

ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1. ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา การสร้างแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ ตามแบบของ       ไลเคิร์ท (Likert’s scale)

2. สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นในส่วนของบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาทั้ง 2 ฉบับที่ใช้ในการวิจัย

3.  นำเครื่องมือที่สร้างไปตรวจสอบความตรง (Validity) ของแบบสอบถาม โดยให้ผู้เชี่ยวชาญการวิจัยตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหาของข้อคำถาม

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

ผู้วิจัยจะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการคำนวณหาค่า ดังนี้

1. การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

2. การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 2 และตอนที่ 3 โดยการหาค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

 

ผลการวิจัย

ผลการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของนิสิตและอาจารย์

ผู้ตอบแบบสอบถามในการวิจัยในครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 345 คน แบ่งเป็น นิสิตชั้นปีที่ 1-4 สาขาวิชาดนตรีศึกษา จำนวน 336 คน และอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 9 คน นิสิตส่วนใหญ่เป็นนิสิตชั้นปีที่ 4 คิดเป็นร้อยละ 34.23 ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่เป็นอาจารย์วิชาเอกดนตรีตะวันตก คิดเป็นร้อยละ 55.56 โดยอาจารย์มีประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษามาแล้ว เฉลี่ย 4 ปี

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์เกี่ยวกับกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาในปัจจุบัน

จากการวิเคราะห์ข้อมูลบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาในปัจจุบันตามความคิดเห็นของนิสิตและอาจารย์ที่ปรึกษา สรุปผลได้เป็นภาพรวมตามบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาออกเป็น 4 ด้าน คือ

1. บทบาทหน้าที่ด้านวิชาการ

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.19, SD = 0.78) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การให้คำแนะนำนิสิตก่อนเตรียมตัวฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (M= 4.35, SD = 0.72) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การแนะนำการลงทะเบียน online และปฏิทินวิชาการ ให้นิสิตทราบอย่างชัดเจน (M = 3.97, SD = 0.85)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.38, SD = 0.68)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ การให้คำปรึกษากับนิสิตในด้านการปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้น (M = 4.67, SD = 0.50) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ การให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องหลักสูตรละแผนการเรียน (M = 4.11, SD = 0.93)

2. บทบาทหน้าที่ด้านการพัฒนานิสิต

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.30, SD = 0.73) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อบรมนิสิตให้รู้จักหน้าที่ และความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อผู้อื่น (M= 4.43, SD = 0.68) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การจัดทำสมุดบันทึกให้นิสิตกรอกข้อมูลด้านการเรียน กิจกรรม และสภาพส่วนตัว (M= 4.06, SD = 0.80)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.48, SD = 0.65)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีระดับความคิดเห็นมากที่สุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาส่งเสริมนิสิตให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขาวิชาดนตรีศึกษา (M = 4.78, SD = 0.41) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ การจัดทำสมุดบันทึกให้นิสิตกรอกข้อมูลด้านการเรียน กิจกรรม และสภาพส่วนตัว (M = 4.00, SD = 0.85)

3. บทบาทหน้าที่ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.32, SD = 0.74) ซึ่งทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษามีวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหาต่างๆ (M= 4.40, SD = 0.63) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ การพบปะพูดคุยกับนิสิตอย่างเป็นกันเองในโอกาสต่างๆทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย (M= 4.23, SD = 0.83)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมากสุด (M = 4.78, SD = 0.41)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาให้ความรู้และคำปรึกษาด้วยความเต็มใจ  (M = 5.00, SD = 0.00) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาเข้าร่วมกิจกรรมกับนิสิตในความดูแลอย่างสม่ำเสมอ (M = 4.33, SD = 0.50)

4. บทบาทหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือ

นิสิตมีความคิดเห็นว่าอาจารย์ที่ปรึกษาในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M= 4.28, SD = 0.76) โดยทุกรายการนิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M= 4.32, SD = 0.68) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M= 4.22, SD = 0.68)

ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นในด้านนี้โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (M = 4.31, SD = 0.64)  เมื่อพิจารณารายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ อาจารย์ที่ปรึกษาพบนิสิต เมื่อพบว่ามีเรื่องเกี่ยวข้องกับนิสิต (M = 4.44, SD = 0.53) ส่วนรายการที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของด้านนี้ คือ อาจารย์ที่ปรึกษาเสนอข่าวสารต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยให้นิสิตทราบ (M = 4.11, SD = 0.78)

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ในสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   จากผลการวิจัย ผู้วิจัยขอเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งควรมีการเตรียมความพร้อมให้อาจารย์ที่ปรึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยสามารถแบ่งออกเป็นด้านต่างๆ ได้ดังนี้

1. ด้านวิชาการ อาจารย์ที่ปรึกษานั้นสามารถให้ความรู้ความเข้าใจ อธิบายเกี่ยวกับโครงสร้างของหลักสูตร แผนการเรียน การวางแผนการศึกษาที่ชัดเจน ตามความสนใจ หรือความถนัด ขั้นตอนการลงทะเบียนในระบบของแต่ละภาคเรียนจนครบหลักสูตรการศึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาในการเรียนวิชาต่างๆ เมื่อนิสิต นักศึกษาเกิดปัญหา เป็นช่วยให้นิสิต นักศึกษาลงเรียนได้ครบถ้วนตามหลักสูตร และการแนะนำนิสิต นักศึกษาให้รู้จักกำหนดเป้าหมายในการเรียนก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และการประกอบอาชีพในอนาคต

2. ด้านการพัฒนานิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรประพฤติปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นิสิต นักศึกษา ในด้านบุคคลิกภาพ กิริยามารยาท ความรับผิดชอบ การรู้หน้าที่ของตนเอง การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ส่งเสริมให้มีทัศนคติที่ดีต่อสาขา และคนรอบข้าง ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นิสิต นักศึกษาเกิดการพัฒนาทักษะการใช้ชีวิต และการดำรงชีวิตในภายภาคหน้า

3. ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษาควรสร้างบรรยากาศเป็นกันเองให้ความเป็นกัลยาณมิตร มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มอยู่เสมอ มีการพบปะสนทนาสร้างความคุ้นเคย ความเป็นกันเอง ระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษากับนิสิต นักศึกษา เรื่องความมั่นใจกับผู้เรียนเมื่อมาขอคำปรึกษา โดยมีวิจารณญาณในการให้ความรู้ คำปรึกษา รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆ และพร้อมเป็นผู้รับฟังที่ดีเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ อีกทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาต้องรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้เรียนเพื่อให้คำปรึกษาคำแนะนำเป็นไปอย่างราบรื่นระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและนิสิต นักศึกษา

4. ด้านการให้ความช่วยเหลือ อาจารย์ที่ปรึกษาควรติดตามนิสิต นักศึกษาที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลอย่างใกล้ชิด มีการเรียกพบนิสิต นักศึกษาเมื่อพบว่ามีปัญหาหรือมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนิสิตบุคคลนั้นๆ และช่วยเหลือหาข้อมูล หรือแก้ปัญหาให้นิสิตนักศึกษา เมื่อต้องประสานงาน ติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ

 

อภิปรายผลการวิจัย

1. นิสิต และอาจารย์ของสาขาวิชาดนตรีศึกษา มีความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ของการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทั้งด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานิสิต ด้านการปฏิสัมพันธ์นิสิต และด้านการช่วยเหลือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับ ณัฐมน พันธชาตร ที่พบว่า บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษาตามความต้องการของนักศึกษา 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับความต้องการในระดับมาก คือ บทบาทด้านวิชาการ บทบาทด้านวิชาชีพ บทบาทด้านการพัฒนานักศึกษา บทบาทด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษา บทบาทด้านการบริการและสวัสดิการ อาจเป็นเพราะ นิสิตต้องการให้สาขาวิชาช่วยเหลือนิสิตนักศึกษาให้ได้รับความรู้และความช่วยเหลืออย่างดีที่สุด อาจารย์ที่ปรึกษาจึงมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญให้มีโอกาสประสบผลสำเร็จในการศึกษามากยิ่งขึ้น

2. ด้านการปฏิสัมพันธ์กับนิสิตที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด อาจเป็นเพราะอาจารย์ที่ปรึกษาในสาขาวิชาดนตรีศึกษาให้ความเป็นกันเอง ให้ความเป็นกัลยาณมิตร มีอัธยาศัยดี มีความเป็นกันเองกับนิสิต โดยให้ความรู้และคำปรึกษาด้วยความเต็มใจ มีวิจารณญาณในการแก้ไขปัญหา และให้นิสิตได้แสดงออกทางความคิดเห็นได้อย่างอิสระ สอดคล้องกับ ณรุทธ์ สุทธจิตต์ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จาชัยนิวัฒน์ ที่เห็นด้วยว่า เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น และเป็นกันเองเพื่อให้นิสิตกล้าเข้าพบและปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษา

3. ปัญหาและอุปสรรคการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ปรึกษา เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า เรื่องของอาจารย์ที่ปรึกษามีงานสอนมากเกินไป จึงทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ให้คำปรึกษาได้อย่างเต็มที่นั้น นิสิตให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และอาจารย์ที่ปรึกษาให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก อาจจะเป็นปัญหาที่สำคัญของการปฏิบัติบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา จึงทำให้การจัดเวลาที่พบกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยาก สอดคล้องกับ สุมาลัย วงศ์เกษม กล่าวว่า ปัญหาของอาจารย์ที่ปรึกษาการมีภาระอื่นมาก จึงทำให้ปฏิบัติงานไม่ได้อย่างเต็มที่ ทำให้ไม่มีเวลาพบนักศึกษา และไม่สามารถช่วยเหลือนักศึกษาได้อย่างทั่วถึง

 

ข้อเสนอแนะการวิจัย

1. สาขาวิชาดนตรีศึกษา ควรมีการจัดประชุมเพื่อให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคของบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อนำข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้มาใช้เป็นแนวทางดำเนินระบบอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกัน และจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นของระบบอาจารย์ที่ปรึกษา

2. การจัดทำคู่มือของบทบาทและหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษาของสาขาวิชาดนตรีศึกษา เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบถึงบทบาทในด้านต่างๆ เช่น ด้านวิชาการ ด้านการพัฒนานิสิต ด้านการปฏิสัมพันธ์ และด้านการช่วยเหลือ

 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง การเปรียบเทียบความคาดหวัง กับการปฏิบัติจริงของอาจารย์ที่ปรึกษาต่อบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา

2. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง การประเมินการปฏิบัติงานของระบบอาจารย์ที่ปรึกษาของสาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาอื่น หรือระดับคณะ

3. ควรมีการทำวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษา เช่น ภาระงานของอาจารย์ที่ปรึกษา จำนวนนิสิต นักศึกษาที่อาจารย์ที่ปรึกษาต้องดูแล

 

การสนับสนุนทุนวิจัย

งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากกองทุนของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำปีงบประมาณ 2559 ซึ่งผู้วิจัยขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

 

บรรณานุกรม

คณะครุศาสตร์. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษาวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2557.

ณัฐมน พันธชาตร. การศึกษาบทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา: กรณีศึกษา วิทยาลัยราชพฤกษ์.สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2552.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์ อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ และปัทมศิริ ธีรานุรักษ์ จารุชัยนิวัฒน์.ความคิดเห็นของนิสิต และอาจารย์ที่ปรีกษาเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ทุนวิจัยคณะครุศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

ธงชัย วงศ์เสนา. บทบาทอาจารย์ที่ปรึกษา.วารสารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 4, 4 (2552): 36-37.

ประเสริฐศรี ธรรมวิหาร. การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและสภาพที่ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับบทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษา สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2546.

พิชิต ทองประยูร. บทบาทและสภาพของการปฏิบัติงานอาจารย์ที่ปรึกษาตามความคิดเห็นของนักศึกษาและปัญหาการปฏิบัติงานที่ปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, 2547.

พนิดา ประเทือง. บทบาทที่เป็นจริงและที่คาดหวังของอาจารย์ที่ปรึกษาในทักศนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา. กองพัฒนานักศึกษา. สำนักงานอธิการบดี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2555.

สุมาลัย วงศ์เกษม. บทบาทของอาจารย์ที่ปรึกษาสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.” ทุนวิจัยจากสถาบันราชภัฏอุบลราชธานี, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2546.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542.

The delineation of Thai performing arts works in ASEAN Class by Dr.Sathaporn Sonthong

Dr.Pattama Wattanapanich  try to present this research in order to analyze the factors of performing and the process of creating Thai  performing arts  in ASIAN class.  The research found out that the 10 performances have creative performing arts and Thai contemporary art styles.

The delineation of Thai performing arts works in ASIAN Class byDr. Sathaporn Sonthong

โดย

อาจารย์ ดร. ปัทมา วัฒนพานิช

ประธานสาขาวิชานาฏยศิลปศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

มหาวิยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The delineation of Thai performing arts works in ASEAN Class by Dr.Sathaporn Sonthong

Dr.Pattama Wattanapanich


ABSTRACT

   Researcher applied the Choreography, the objectives are to research and analyze the factors of performing and the process of creating Thai performing arts in ASEAN class.  Thai Performing Arts in ASEAN is the work of Dr.Sathaporn Sonthong that appears in ASEAN Arts and Culture organized by The Association of Southeast Asia Nations, established on August 8th 1967. The members are Thailand, Indonesia, Malaysia, The Philippines, Brunei, Vietnam,  Cambodia and Myanmar. From the researching of the delineation of Thai performing arts in ASEAN class from 1984 to 1996, found out that most of the works belong to Dr.Sathaporn Sonthong. The delineation was done by high level choreography aimed to specially study 10 shows of Thai performing arts of Dr.Sathaporn Sonthong on ASEAN performing stage, which are very outstanding, have perfect composition and creating process by compiling and analyzing the information by the process of researching. Thus the data compiling, data studying, data synthesis, data analyzing and conclusion as a report. Which in data analyzing, researcher had planned the additional research procedure, divided into 2 steps as follow.     1. Step of experiment by using the principles from compiling data to be trial in teaching about grace directing 2.Step of evaluation by assigning students to present the creating dance posture works for 4 times, classified and divided for the use of analyzing the structure of dance posture to be the procedure of researching afterwards.  10 performing works are consisted of Loy Kratong Festival, Trilogy Tropic, Blissful Garden, The Forest Life, New year Celebration on The Hill, The Jubilation, Brave and Beauty of The North, Incredible Isan, Roong Leela and Manorah. The creator spilt the point into 2 subjects, which are:

   1.The composition of performance, consisted of style and the way of performing, dancing posture, deploying, music and costume.  2.Creative process, consisted of inspiration and the concept of thinking, technique, grace, property and value of works.  The research found out that these 10 performannces have creative performing arts and Thai contemporary performing arts styles. The method of creating is to compose the materials, performing reinterpret, literature interpreting, creating imagination and story to be related and connected, having background in connecting stories. Dancing posture are designed by using Thai dancing arts pattern, local performing arts, western performing arts and of Thai drama performance as the base and concept in designing by inventing new dance posture with the method of creating and developing the role play dance posture, human natural gesture, toe dancing, dance from the meaning of the song, dance from arrangement of the show, dance from the way of life and living, movement of mountain tribes and Thai local dancing in of north and northeast regions. Moreover, the designs of deploying are new and several. The process of creating has its standard and is universal. The method of making inspiration in each performance depends mainly on the ability of the creator and the conditions of ASEAN to control performing direction. In order to make the works creation in ASEAN class succeed and be internationally accepted, the creator need to have experience , knowledge about creating art from making and consuming various performances and understand the main point of high level performing arts. That way they can perfectly convey performing arts works.  10 Thai performing arts in ASEAN class indicated the identity and unique. The quality of Dr.Sathaporn Sonthong’s works is widely accepted and well known in public as she is known as a professor in creating performing arts and was invited to be an performance invention instructor at Chulalongkorn University, expertise in creating dancing posture at Srinakharinwirot University and expertise in creating works at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Dr.Sathaporn Sonthong is likewise the pioneer of new method for performing arts industry by applying the knowledge from working with artists in ASESN for decades, and consistency in learning new knowledge. For example drawing, western dancing and speaking foreign languages. These made Dr.Sathaporn Sonthong become the professor in creating. Students who have got to study with Dr.Sathaporn Sonthong would apply her method till her method become the model of creating works in the  performing arts industry until now.

1  THE IMPORTANCE AND THE SOURCE OF RESEARCH

   Thai performing art is a type of performing which combined one’s national culture and convey by dancing in different ways and combined as unique to reflect and show the way of living, philosophy and point of view of every social class. As time passed, Thai performing art has been gradually disappear as each period of generation changed. This causes the evolution and development regularly. In each development and change aimed to occur new knowledge discovering method of pushing Thai performing arts to move ahead to international class The Association of Southeast Asia Nations have the objective to coordinate in helping each other in agriculture, industry, commerce and also support peace to provoke economic growth to progress in social, art and culture. Which can get help and support in funding, managing, as well as being proceed byJapanese government. ASEAN runs the activity under the management of the board of ASEAN whilst the ASEAN Committee on Culture and Information or COCI has board to coordinate culture national and information responsible for related projects in different sections as follow;

1.Project of Visual Arts and Art of Performing
2.Project of ASEAN Studies and Literature
3.Project of Print Media and Personal Media
4.Project of Radio, Television (electronic Media), Video and Movie

   In art of performing, they organized ASEAN art and culture, in order to make bond of culture connection, it is the development of works quality to produce performing work in ASEAN Performing Arts Festival. Works that are invited to show in this ASEAN class festival are classified as international level of high work quality which consisted of procedures and methods which are universal. For instance, the procedure of creating an inspiration, the placement of idea and process of creating, designing dance posture and the presentation of the show as well as procedure of making performance and professional working. Each part is according to the standard principle and work creator must have experience and not attached to the same old limit. The deftness of Dr.Sathaporn Sonthong in creating Thai performing art works can develop the pattern of performing, quality of performers and alsocreate different techniques which can be used to present the works to international level in ASEAN Art and Culture Festival from 1980 onwards, under the Office of Performing Arts. Fine Arts Department of the Ministry of Culture is responsible directly for producing art works, developing Thai performing arts and spread it internationally which have performing artist who are expertise, famous and well accepted among the field of educating thai performing arts in national level in creating creative performing arts works.  Dr.Sathaporn Sonthong is one of the pupils that is trusted by her ladyship Phoe Sanitwongseni, the national artist in the branch of performing arts in 1985. To be her assistant in directing the performance, planning dance posture, controlling and training as well as getting delivered the knowledge and pattern of dance posture along with the method of creating many types of works. This made Dr.Sathaporn Sonthong succeed in creating ASEAN performing arts works till her works are accepted by International Arts and Culture Organization and was invited to present her ASEAN performing arts works from 1980 to 1996. The method in creating is inherited the knowledge in studies in each subject of Choreography and making research. Moreover, Dr.Sathaporn Sonthong also took responsibility in teaching and giving special lecture for many institutions and announced as the Artist in Residence of Chulalongkorn University in 2012. Many education institutions for example Chulalongkorn University, Srinakharinwirot Prasanmit University, Bunditpatanasilpa Institute, Ministry of Culture, Naresuan University and Bansomdejchaopraya Tajabhat University had invited Dr.Sathaporn Sonthong to lay the foundation for teaching the subjects which are related to the creating of Thai performing arts.  Nowadays, this field of studies is found to have document and textbook in studying, while the researching of data is very rare, especially the textbook and study materials of the subject of creating dance posture, dance invention and subjects that are related with grace. In the past, educating in performing arts was the face to face type of conveying knowledge. Teacher and pupil can only memorized, no lecture nor textbook in studying. So ones would lost the contents and detail. Researcher can see the problem in researching, so would like to research more and analyze to find method of recording academic document to be the evident and hope to make the good use for education in this field as we have more source of knowledge and make it the same direction of understanding in universal academic. Researcher will compile as class materials for student in performing arts field majoring in Fine Arts Studies and Faculty of Education for Bansomdejchaopraya Tajabhat University, as well as compiling it as the source of information to support Thai performing arts to enter international level in the future

.

2  THE OBJECTIVE OF THE RESEARCH

   To study the works and analyze performing factors along as well as the creating of Thai performing arts works in ASEAN class.

3 EXPECTING RESULT

1. get Choreography study materials
2.To get the method of creating Thai performing arts works as universal standard
3.To get the information in studies in the subjects of Dance Invention, Choreography and Contemporary Dance for students in performing arts field, majoring in Fine Arts Studies and Performing Arts Studies, Faculty of Education of Bansomdejchaopraya Tajabhat University
4.To get information to researching and studying for pushing Thai performing arts to international level

4  SCOPE OF THE RESEARCH

   Researcher aimed to study and analyze Thai performing arts works of Dr.Sathaporn Sonthong who was invited to be the representative of Thailand to join ASEAN Performing Arts Festival from 1980 to 1969. 10 performances for case study as follows 1.Loy Kratong Festival 2.Trilogy Tropic 3.Blissful Garden 4.The Forest Life 5.New Year Celebration on The Hills 6.The Jubilation 7.Brave and Beauty of The North 8.Incredible Isan 9.Roong Leela 10.Manorah

5 METHOD OF MAKING RESEARCH

1.Tools in collecting data For tools in collecting data , researcher had designed and make the following tools    

1.1 Non-Participant Observation
1.2 Interview
1.3 Experiment

2.Collecting the Data Researcher had planned the collecting of data and analyzing ASEAN class performing arts works of Dr.Sathaporn Sonthong by the following ways of compiling data

2.1 Collecting Elementary Data -study paper data from books, academic document and related research
2.2 Fieldwork Collecting Data -Non-participant observation such as watching VCD of the 10 ASEAN performance  arts works of Dr.Sathaporn Sonthong -Interview: researcher used the tool which was designed and made for open-end  interview about her biography, performing work, work experience in national class and international class as well as her principle of creating works by interviewing.
2.3 Data Synthesis  -Dividing group: researcher classified and divided the collected data, and divided dance  postures into 2 types.
2.4 Recording Data Researcher record data collected from fieldwork as follow -Take not in notebook and computer -Record voice with digital voice recorder -Taking photo with digital camera

3.Data Analyzing – Researcher analyzed the collected data as follows

3.1 Creation Works 

3.1.1 Factors of Performance Analyzed by watching VCD of VCD of the 10 ASEAN performance arts works,  using computer to capture the photos and classified in groups in topics of photo and method of performing, dance posture, deploying, music and costume.
3.1.2 Creating Process Analyzed by using digital voice recorder, digital camera and test the collected  data from the interview to analyze, then divide the analyzed result into the following topics; inspiration and concept, technique, grace, unique and value of works. Once one get all the data needed, take writing note. 

4.Conclude Step To resent the result of analyzing, researcher chose descriptive analysis together with the picture to get the result of the method of creating Thai performing arts in ASEAN class by Dr.Sathaporn Sonthong, and spread in academic document in the subjects of Dance Invention and Choreography for performing arts students majoring in Fine Arts Studies and Faculty of Education students at Bansomdejchaopraya Tajabhat University.

 

6 RESEARCH

The result of analyzing of The Analysis of Thai Performing Arts of Dr.Sathaporn Sonthong in ASEAN Class. Conclude the research and analyze 10 performances, which are Loy Kratong Festival, Trilogy Tropic, Blissful Garden, The Forest Life, New year Celebration on The Hill, The Jubilation, Brave and Beauty of The North, Incredible Isan, Roong Leela and Manorah. From the research, researcher found out that the creator applied high level of  choreograph principle to create her work, by divided into 2 parts, as follows

1.The composition of the show, divided into 5 points:

1.1 Style and technique
1.2 Dance Posture
1.3 Deploying
1.4 Music
1.5 Costume

2.Creating Process, divided into 5 points:

2.1 Inspiration and Concept
2.2 Technique
2.3 Grace
2.4 Unique of Performing
2.5 Works

   Value The element of dancing performance appears to have main method as the style and technique of performing, dance posture, deploying, music and costume. Researcher found out that these 10 Performances are creative and Thai contemporary performing arts, had been composed and perform reinterpreted. The interpreting of literature, imagining in making the related and have background to connect the stories. Dance postures are designed by applying the pattern of Thai dancing posture, local performing arts, western performing arts, Myanmar-Mon performing arts and Thai drama performing. Invented new dancing postures by creating and developing fromrole play dance posture, human natural gesture, toe dancing, dance from the meaning of the song, dance from arrangement of the show, dance from the way of life and living, movement of mountain tribes and Thai local dancing in of north and northeast regions. Moreover, there are the variety of new deploy pattern, for example line formation, zigzag line, slant line, parallel lines, semicircle line and arched entrance. For the music, using only the rhythm as 5 notes (fa, do, sol, la, do) to compose and make new song, emphasize in playing fast and slow beat, using northern musical band and Thai orchestra. Costume base on the former costume of each performance combine with the contemporary style in some of them, for instance Manorah, using the wings and tail of King Ka La bird from the combination of Myanmar-Mon and Thai performing arts costumes.  In the creating process, found out that there are universal method of creating, specified as Inspiration and Concept, technique, grace, unique of performing and works value. Making inspiration in each performance depends mainly on the creator and ASEAN conditions which control the direction and concept of the show. The important point is that creator must be experienced and have knowledge of creating arts works and have watched variety of the show, thus one can perfectly convey the performance works to interest the audiences and make them focus on the show all along.  10 performances have their specialty which is called ‘performing unique’ which obviously belong to Dr.Sathaporn Sonthong. For using performing technique, the combination of foreign countries’ performing arts or reinterpreting different types of performance and present in more interesting way, especially the dance postures have the grace of role play, expressing the feeling as if it’s the real situation, as well as creating personal performing unique. Make it more splendid and interesting by applying western performing style. Above research results are all important in creating Thai performing arts works of Dr.Sathaporn Sonthong not only make her become accepted in performing arts field, but also cause the equality of work quality as universal standard.

 

7  RESULT DISCUSSION

The result of this research visualized the method of creating Thai performing arts works of Dr.Sathaporn Sonthong in ASEAN class. Researcher have conclude in points as follows

1.Use the method of dance invention, as follows: 

1.1Preparing procedure has set the specification of the themes, specification of dance  frame work, specification of the form and style and specification of the element of dance presentation of each performance.
1.2 Performing procedure has selecting the dance posture, must consider transition, dance  continuity, progression, harmony of dance posture, unity and diversity, have show’s highlight and dancer’s interaction. Dr.Sathaporn Sonthong’s principles correspond to Surapon Virunrak’s basic dance invention principles. 

2.Have the same creating of performing arts direction as Professor Narapong Jarassri. In performing procedure, it is totally different from the reference principle. Because Dr.Sathaporn Sonthong’s style of performance is Thai contemporary performing style, created base on Thai performing arts pattern, local performing arts and combine with other category of arts along with unique style concept, choreograph technique, as well as consistently searching for new inspiration. So the identity of creator or artist make one’s works interesting, valuable and be have honor to be presented in ASEAN class.  3.This research is considered to be valuable and useful in making academic document for Choreography subject and subjects which are related to gracing. To be the path of studying about creating Thai performing arts work and add more academic document for students or people who are interested.  4.All 10 performance works of Dr.Sathaporn Sonthong that have been analyzed be researcher, show the identities and unique of Dr.Sathaporn Sonthong, which can learn from the perform works that applied Thai contemporary performing style by combining Thai performing style with western and Myanmar Mon  style. Composing stories, making new inspiration, reinterpreting old literatures and creating new dance gestures beyond former dancing style. These make her become accepted, known as a professor of creating performing arts and was invited to be an instructor for Choreograph subject at Chulalongkorn University, Dance gesture Invention subject at Srinakharinwirot University, Creation of Arts Works subject at Bunditpatanasilpa Institute, Rajabhat Suansunandha University and Choreograph Directing subject at Naresuan University and Bansomdejchaopraya Tajabhat  University.  Dr.Sathaporn Sonthong could be considered as the forerunner of the new method of performing arts field by applying the accumulated knowledge and experience from working with ASEAN class artists for decades, and always learning new knowledge, for example drawing, western dancing, using foreign languages. These make Dr.Sathaporn Sonthong become highly talented in creating performing works. Students who have learnt with Dr.Sathaporn Sonthong have principle in creating, and are able to perfectly create the performing arts works.

 

8  SUGGESTION

   Other than high dance invention principle, there is also performance managing and management of performing abroad, which depend on the specific experience and creator must have creativity, high imagination as well as leadership and reason in making decision, and well capable for facing problem. Because to maintain performing arts, those who related must have deep knowledge, in order to efficiently preserve, develop and spread performing arts in the right way.

 

REFERENCE

Fine Arts Department, (2529). Memento of  Performing Arts Pupil Association. Bangkok. Charin Promrak. Interviewed on January 9th 2011.

Narapong Jarassri, Professor. (2005). Western Performing Arts. Bangkok. Chulalongkorn University Bookshop.

Pichet Klunchun. (2007). Changing Of Magnetic Field of Thinking. Bangkok.

Sathaporn Sonthong. Interviewed on October 13th 2011.

Sathaporn Sonthong. Interviewed on November 24th 2011.

Sathaporn Sonthong. Interviewed on December 18th 2011.

Sathaporn Sonthong. Interviewed on December 1st 2016.

Sathaporn Sonthong. Interviewed on February 3rd 2017.

Suchart Thaothong. (1993). Visual Arts Principle. 1st publishing. Bankok: Wittayapat Limited Company.

การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต : กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

จากการใช้หลักการทางด้านมนุษยดุริยางคศาตร์(Ethnomusicoloy) เป็นฐานในการวิเคราะห์   

    ถาวร วัฒนบุญญา ศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต : กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี  พบว่า รูปแบบรูปแบบการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในด้านของจังหวะแล้วใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี(Sibelius) เขียนและบันทึกเป็นโน้ตได้ถึง 6 จังหวะ และเครื่องดนตรีหลักที่ใช้บรรเลงนั้นมีอยู่ 3 ชนิด  ที่ส่งเสริมอารมณ์ให้คนเชิดสิงโตสามารถแสดงออกได้อย่างเหมาะสมกลมกลืน และส่งอารมณ์ถึงผู้ชมได้อย่างแนบเนียน

 

การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต : กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

The study music of Lion Dance : Case study lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province

โดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ถาวร วัฒนบุญญา

ประจำสาขาวิชาดนตรีตะวันตก วิทยาลัยการดนตรี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


 

บทคัดย่อ

การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต : กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี. ผู้วิจัยใช้หลักการวิจัยทางด้านมานุษย   ดุริยางควิทยา(Ethnomusicology) มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต และเพื่อศึกษาเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อ  กวนอู จังหวัดราชบุรี

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี  มีรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต มีทั้งหมด 4 แบบ โดยจะต้องมีจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบทุกครั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่คณะสิงโตทุกคณะจะต้องใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต แต่ละคณะจะต้องบรรเลงรูปแบบดังกล่าวซึ่งเป็นมาตรฐานของคณะสิงโต ส่วนลักษณะจังหวะดนตรีจะแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่การบรรเลงของแต่ละคณะสิงโต รูปแบบจังหวะดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์รูปแบบจังหวะดนตรีแล้วนำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้

1.1 จังหวะเริ่มต้น เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้เริ่มต้นทุกครั้งก่อนที่จะบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะบรรเลงในจังหวะต่อไป

1.2 จังหวะเดิน เป็นรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเดินของสิงโต เป็นจังหวะที่มีการบรรเลงย้อนไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่หมาย และจะลงด้วยจังหวะลงจบ

1.3 จังหวะพลิ้ว เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินแล้วทำท่าเคลื่อนไหวไปมา แสดงอากัปกิริยาดีใจ ตื่นเต้น มีความสุข เป็นต้น

1.4 จังหวะจ้อง เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังยืนจ้อง แสดงอากัปกิริยาสงสัย หรือหยอกล้อ ล้อเล่น ขี่เล่น เป็นต้น

1.5 จังหวะไหว้ เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินเข้าไปไหว้ศาลเจ้า หรือเดินเข้าไปหาเจ้าภาพในการจัดงานเพื่อรับอังเปา เป็นการคารวะแสดงความเคารพ

1.6 จังหวะลงจบ เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้ลงจบทุกครั้งหลังจากบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะจบการแสดงการเชิดสิงโต

   รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง 4 รูปแบบ รวมทั้งจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบ เมื่อทำการแสดงเต็มรูปแบบจะบรรเลงรูปแบบจังหวะดนตรีต่อกันทั้งหมด โดยแต่ละแบบนักดนตรีจะนัดกันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบจังหวะตอนไหนขึ้นอยู่กับระยะของการแสดงว่าใกล้หรือไกลมากแค่ไหน โดยจะมีคนกลางที่ยืนอยู่ระหว่างวงมโหรีกับนักแสดงสิงโต เป็นคนส่งสัญญาณมือบอกการเปลี่ยนจังหวะดนตรีแต่ละแบบ ซึ่งทั้งนักดนตรีและคนเชิดสิงโตจะต้องประสานกันตลอดเวลา

2. เครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

2.1 กลองสิงโต มีลักษณะของกลองหนังดำ เป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

2.2 แฉหรือฉาบ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเสริมเข้ากับกลองสิงโต ทำให้มีจังหวะที่ตื่นเต้นเร้าใจ

2.3 เม้ง (มีลักษณะเหมือนฆ้องแต่ไม่มีปุ่มตรงกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกำกับจังหวะให้กับกลอง และแฉหรือฉาบ เม้งจะมีที่แขวนเพื่อตีได้ถนัดเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า วงมโหรี

   เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เป็นอุปกรณ์ที่นักดนตรีให้ความเคารพเหมือนเป็นครู เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีไทย  ก่อนที่จะทำการแสดงหรือออกงานทุกครั้งจะต้องมีการไหว้ครู โดยจะไหว้ครูด้วย ผลไม้ต่างๆ 3 อย่าง ดอกไม้ บุหรี่ ธูปเทียน และเหล้าสี เป็นต้น

 

Abstract

The study music education engages in manipulating the Lion Show : case study of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province. The researcher uses the research principle of the Ethnomusicology , fix the goal of 2 researches , as follows

1. To study music play format engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province.

2. To study the musical instrument engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province.

The research result indicates ;

1. The play format engages in manipulating the Lion show of Lion show group of God Father Kuanwu’s student in Ratchaburi  have 4 formats  ;  must have initial rhythm and the end rhythm everytime  which  is the format that every lion shows group  must use.  the researcher uses data to study and analyse the melody format  making the note by use computer music program , (Sibelius) in writing the universal notes for written record keeping as follows

1.1 The initial rhythm ; use initial rhythm everytime  for preparation  to play other rhythms

1.2 The rhythm of walks , format that use to express the walk of lion rhythmically until to reach the target and finish by the end rhythm

1.3 The rhythm of flutters , be rhythm format that use to express the movement, showing  glad behavior , excitement , happiness , etc.

1.4 The rhythm of starring, be rhythm format that stands to stare , show the behavior suspects , kidding ,playful etc.

1.5 The rhythm of respect , be rhythm format that use to express the respect to the host or the spirit

1.6 The rhythm of down ends , rhythmically the music that use to express the end of the show.

   The above-mentioned 4 the formats and the initial rhythm and the end rhythm of The play format engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratburi Province will be continuously and fully played with the perfect cooperation of the musician and a person manipulating the lion figure.

2. The musical instrument engages in manipulating the Lion show of lion Dance Sit Jow Po Guanyu Ratbury Province have 3 types ;

2.1 Drums is made of black skin and used to be the main instrument of the show

2.2 Cymbals , be the musical instrument that play to make the excitement with the Drums

2.3 Meng (the character likes the gong but, have no a button in the middle) , be the musical instrument that use to control  the rhythm of a drum and  cymbals , have the hang for convenient playing.

   The musical instrument that use to engage in manipulating the lion show, when playing at the same time called “Thai grand orchestra”. The musical instrument that used to engage in  manipulating the lion show is the equipment that a musician gives the respect like a teacher as same as the musical Thai instrument. We have to pay respect to the teachers before the first performance by 3 kings of fruits, flowers, cigarettes, candle sticks and color liquor etc.

 

ความสำคัญและความสำคัญของปัญหา

   ชนทุกชาติในโลกนี้ล้วนมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง แต่ละวัฒนธรรมก็มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนในแต่ละชนชาติที่มีความศรัทธาต่อวัฒนธรรมของตน สิ่งที่น่าสังเกตก็คือ แต่ละวัฒนธรรมนั้นโดยส่วนใหญ่มักจะมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้วัฒนธรรมนั้นๆมีความศักดิ์สิทธิ์ น่าเคารพนับถือยิ่งขึ้น  วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติจะมีประเพณีต่างๆมากมายที่มีความสำคัญต่อผู้คนนั้นๆ เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คน โดยมีวัตถุประสงค์ต่างๆตามแต่ความเชื่อและความศรัทธา แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆมีเหมือนกันก็คือ ต้องการให้มนุษย์ทุกคนมีชีวิตที่ดีมีความสุข จึงทำให้วัฒนธรรมต่างๆกระทำสืบต่อกันมาจนกลายมาเป็นประเพณีที่ยอมรับของสังคมนั้นๆ

   ชาวจีนมีประเพณีที่สำคัญมากประเพณีหนึ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันก็คือ เทศกาลตรุษจีน ซึ่งเป็นเทศกาลแห่งการแสดงความยินดีของชาวจีนทั้งหลาย ธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่แสดงออกก็คือ การไปไหว้เจ้าและคารวะญาติผู้ใหญ่ เพื่อไปขอศีลขอพรให้เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต บรรยากาศในช่วงตรุษจีนทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าหากัน เวลาพบปะเจอหน้ากันก็จะกล่าวแต่วาจาไพเราะเสนาะหู แม้แต่ผู้ที่เคยเคืองกันก็พร้อมที่จะอโหสิไม่ถือโทษโกรธกัน บรรยากาศในชุมชนจีนช่วงนั้นจะเต็มไปด้วยกลิ่นธูปควันเทียนหอมตลบอบอวล อีกทั้งยังมีเสียงอึกทึกกึกก้องของล่อโก๊ว (ฆ้องกลอง) ของสิงโตคณะต่างๆที่เดินสายมาตามบ้านเรือน เพื่อที่จะเชิดอวยพรให้ผู้คนที่อาศัยอยู่ในครอบครัวมั่งมีศรีสุขตลอดปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง (เจริญ ตันมหาพราน. 2541:7)

   การเชิดสิงโตในประเทศไทยเข้าใจว่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ไม่ใช่จีนนำเข้ามา กลายเป็นญวนเป็นผู้นำเข้ามา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวว่าเมื่อครั้งองค์เชียงสือ เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯได้คิดฝึกหัดญวนให้เล่นสิงโตอย่างหนึ่ง ญวนยก (พะบู๊) อย่างหนึ่ง แล้วนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทอดพระเนตร ด้วยเป็นประเพณีในเมืองญวนว่า ถ้าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จออกเวลากลางวัน พวกทหารเล่นเต้นสิงโตถวายทอดพระเนตร ถ้าเสด็จออกกลางคืน มีพวกระบำแต่งเป็นเทพยดามารำโคมถวายพระพร (สมบัติ พลายน้อย. 2542:17)

   การเชิดสิงโตไม่ได้มีไว้สำหรับเล่นถวายพระเจ้าแผ่นดินอย่างเดียว แต่การเชิดสิงโตถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลต่างๆที่แสดงถึงความโชคดีมีสุข ร่ำรวย ไม่ว่าจะเป็น พิธีแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน วันสารจีน เทศกาลกิเจ  หรือทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่คู่กับการเชิดสิงโตอยู่ตลอดเวลาและมีความสำคัญกับการเชิดสิงโตก็คือ ดนตรีประกอบการเชิดสิงโต ได้แก่ การตีกลอง ตีฉาบ ตีเม้ง เป็นต้น เพื่อประกอบท่าทางการเชิดสิงโตทำให้การเชิดสิงโตมีความสนุกสนาน คึกครื้น น่าสนใจและน่าชมเป็นอย่างยิ่ง แต่เนื่องจากมีคณะสิงโตมากมายหลายคณะในประเทศไทย แต่ละคณะก็จะมีวิธีการเล่นดนตรีประกอบการเชิดสิงโตที่เหมือนหรือแตกต่างกันตามรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคณะตัวเอง ทำให้ดนตรีประกอบการเชิดสิงโตมีความหลากหลายน่าสนใจ  ในการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโตนั้น การฝึกซ้อมดนตรีจะใช้วิธีการฝึกโดยการสอนแบบมุขปาฐะ คือการบอกปากเปล่า ไม่มีการจดบันทึก จึงไม่มีหลักฐานมากนัก ทำให้ผู้ที่สนใจอยากจะศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโตมีข้อมูลไม่มากมัก และสำหรับการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาดนตรีในมหาวิทยาลัยนั้น มุ่งเน้นให้นิสิตนักศึกษาได้เรียนดนตรีที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในดนตรีที่มีความแตกต่างกันมากขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด เนื่องจากคณะสิงโตในประเทศไทยมีมากมายหลายคณะ ผู้วิจัยได้เจาะจงเลือกคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี เป็นที่ศึกษาข้อมูลวิจัย เพราะเป็นคณะสิงโตที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ มีรูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโตที่ดี ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ แชมป์ 4 ภาค ประเภทสิงโตดอกเหมย ถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉลองพระชนมายุ 80 พรรษา ที่จังหวัดชัยภูมิ, พ.ศ. 2552 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับหนึ่ง แชมป์ 4 ภาค ที่จังหวัดชัยภูมิ และล่าสุดพ.ศ. 2553ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ประเภทสิงโตดอกเหมย งานราชบุรีไชน่าทาวน์ ที่จังหวัดราชบุรี

   ปัจจุบันยังไม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรูปแบบการบรรเลงดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ในลักษณะองค์ความรู้รวมไว้เป็นมรดกแก่คนรุ่นหลังได้ศึกษา การวิจัยเรื่องการศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี เกิดขึ้นเพื่อรวบรวมรูปแบบการบรรเลงดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโตให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  รวมถึงเป็นแนวทางในการศึกษาดนตรี  เพื่อมุ่งสู่การอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรม ให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษารูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

2. เพื่อศึกษาเครื่องดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต ของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อ กวนอู จังหวัดราชบุรี

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

1. ทำให้ทราบถึงเครื่องดนตรีและลักษณะจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

2. ทำให้ทราบถึงประวัติและผลงานของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

3. เป็นแนวทางในการศึกษาและที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาค้นคว้าทางดนตรี ของนิสิตสาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา แขนงดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย     ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ขอบเขตของงานวิจัย

   ศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี โดยมีขอบเขตในการศึกษาวิจัยดังนี้ เครื่องดนตรีที่ใช้ในการตีประกอบการเชิดสิงโต จังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ประวัติและผลงานของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

วิธีดำเนินการวิจัย

1. เครื่องมือและอุปกรณ์

เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ออกแบบและสร้างเครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ดังต่อไปนี้

1.1 แบบสำรวจ

1.2 แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม 

1.3 แบบสัมภาษณ์

2. วิธีดำเนินการวิจัย

2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น

2.1.1 ศึกษาข้อมูลเอกสารจากหนังสือ บทความ วารสาร เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง 2.1.2 การสัมภาษณ์ผู้รู้เกี่ยวกับดนตรีประกอบการเชิดสิงโตจากหัวหน้าคณะสิงโต

       2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม

2.2.1 การสำรวจ (Inventory) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่สร้างขึ้นเพื่อสำรวจเครื่องดนตรี วงดนตรี เครื่องแต่งกายและอุปกรณ์การแสดงการเชิดสิงโต และรูปแบบของดนตรี

2.2.2 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-Participant Observation) เพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงและการแสดงการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต

2.2.3 การสัมภาษณ์ (Interview) ผู้วิจัยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยที่ได้สร้างขึ้น ในการสัมภาษณ์ประวัติ และรูปแบบการเชิดสิงโต ด้วยแบบสัมภาษณ์   

2.3 การบันทึกข้อมูล ผู้วิจัยทำการบันทึกข้อมูลจากการดำเนินงานภาคสนาม มีลักษณะการบันทึกดังนี้

2.3.1 บันทึกลงสมุดบันทึก และบันทึกลงคอมพิวเตอร์

2.3.2 บันทึกเสียงด้วยเครื่องบันทึกเสียงระบบดิจิตอล

2.3.3 บันทึกภาพนิ่งด้วยกล้องดิจิตอล

2.3.4 บันทึกภาพเคลื่อนไหวด้วยกล้องวีดีโอระบบดิจิตอล

2.4. การจัดกระทำข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูล โดยนำมาวิเคราะห์ ดังต่อไปนี้

2.4.1 ส่วนของดนตรี

2.4.1.1 รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต วิเคราะห์โดยการใช้กล้องวีดีโอถ่ายเก็บข้อมูล เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้รูปแบบจังหวะดนตรีแล้ว ก็นำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

2.4.1.2เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต วิเคราะห์โดยใช้กล้องถ่ายรูปเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เพื่อนำมาแยกแยะว่ามีเครื่องดนตรีชนิดใดบ้าง

2.4.2 ส่วนของประวัติและผลงานของ คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี วิเคราะห์โดยการสัมภาษณ์กับหัวหน้าคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี (คุณสุนันท์  เทียมสุวรรณ์) และสมาชิกของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี โดยสัมภาษณ์แบบสุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลครบตามวัตถุประสงค์แล้ว จึงนำมาบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

2.5 ขั้นสรุป

   การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ประกอบรูปภาพ  และจัดทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางดนตรี (Sibelius) บันทึกเป็นโน้ตสากล เพื่อไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

 

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัยสรุปว่า การศึกษาดนตรีประกอบการเชิดสิงโต กรณีศึกษาคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรีซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการบรรเลงดนตรีประกอบการเชิดสิงโต และเครื่องดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี  สรุปผลได้ดังนี้

1 รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

   คณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต มีทั้งหมด  4 แบบ โดยจะต้องมีจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบทุกครั้ง ซึ่งเป็นรูปแบบที่คณะสิงโตทุกคณะจะต้องใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโต แต่ละคณะจะต้องบรรเลงรูปแบบดังกล่าวซึ่งเป็นมาตรฐานของคณะสิงโต ส่วนลักษณะจังหวะดนตรีจะแตกต่างกันบ้าง แล้วแต่การบรรเลงของแต่ละคณะสิงโต รูปแบบจังหวะดนตรีของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ผู้วิจัยได้นำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์รูปแบบจังหวะดนตรีแล้วนำมาทำเป็นโน้ตดนตรีโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sibelius) เขียนเป็นโน้ตสากล เพื่อบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ดังนี้

1.1. จังหวะเริ่มต้น เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้เริ่มต้นทุกครั้งก่อนที่จะบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะบรรเลงในจังหวะต่อไป ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตในกรอบสี่เหลี่ยมด้านล่างนี้ โดยตีจังหวะที่ขอบกลองสิงโตเป็นการเริ่มต้น

1.2 จังหวะเดิน เป็นรูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเดินของสิงโต เป็นจังหวะที่มีการบรรเลงย้อนไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่หมาย และจะลงด้วยจังหวะลงจบ ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

1.3 จังหวะพลิ้ว เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินแล้วทำท่าเคลื่อนไหวไปมา  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

1.4 จังหวะจ้อง  เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังยืนจ้อง  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

1.5 จังหวะไหว้ เป็นรูปแบบจังหวะที่ใช้บรรเลงประกอบการเชิดสิงโตในขณะที่สิงโตกำลังเดินเข้าไปไหว้ศาลเจ้า หรือเดินเข้าไปหาเจ้าภาพในการจัดงานเพื่อขออังเปา เพื่อเป็นการคารวะแสดงความเคารพ  ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

1.6 จังหวะลงจบ เป็นจังหวะดนตรีที่ใช้ลงจบทุกครั้งหลังจากบรรเลงรูปแบบจังหวะใดๆก็ตาม เพื่อเป็นการเตรียมตัวที่จะจบการแสดงการเชิดสิงโต ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

   รูปแบบจังหวะดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้ง 4 รูปแบบ รวมทั้งจังหวะเริ่มต้นและจังหวะลงจบ เมื่อทำการแสดงเต็มรูปแบบจะบรรเลงรูปแบบจังหวะดนตรีต่อกันทั้งหมด โดยแต่ละแบบนักดนตรีจะนัดกันว่าจะเปลี่ยนรูปแบบจังหวะตอนไหนขึ้นอยู่กับระยะของการแสดงว่าใกล้หรือไกลมากแค่ไหน ซึ่งทั้งนักดนตรีและคนเชิดสิงโตจะต้องประสานกันตลอดเวลา เมื่อนำรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอูทั้งหมดมาบรรเลงต่อกัน ผู้วิจัยพบว่ามีรูปแบบจังหวะดังโน้ตด้านล่างนี้

รูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี

2 เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต 

     เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

2.1 กลองสิงโตมีลักษณะของกลองหนังดำ เป็นเครื่องดนตรีหลักในการบรรเลงประกอบการเชิดสิงโต

2.2 แฉหรือฉาบ เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเสริมเข้ากับกลองสิงโต เพื่อให้มีจังหวะที่ตื่นเต้นเร้าใจ

2.3 เม้ง (มีลักษณะเหมือนฆ้องแต่ไม่มีปุ่มตรงกลาง) เป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกำกับจังหวะให้กับกลองและแฉ หรือฉาบ เม้งจะมีที่แขวนเพื่อตีได้ถนัดเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เมื่อบรรเลงพร้อมกันจะเรียกว่า วงมโหรี

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเชิดสิงโต เป็นอุปกรณ์ที่นักดนตรีให้ความเคารพเหมือนเป็นครู เช่นเดียวกับเครื่องดนตรีไทย  ก่อนที่จะทำการแสดงหรือออกงานทุกครั้ง  จะต้องมีการไหว้ครู  โดยจะไหว้ครูด้วย ผลไม้ต่างๆ 3 อย่าง ดอกไม้ บุหรี่ ธูปเทียน และเหล้าสี เป็นต้น

การอภิปรายผล

ผลจากการวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึง รูปแบบจังหวะดนตรีที่ประกอบการเชิดสิงโต ของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ซึ่งมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานของคณะสิงโต และสร้างความเป็นเอกลักษณ์รูปแบบจังหวะดนตรี ได้เป็นอย่างดี ประกอบกับการมีความรับผิดชอบ มารยาทในการแสดง ความมีวินัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย จนเป็นที่นิยมทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ หลักการทางวิชาการ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้นับว่ามีคุณค่าในการที่จะนำไปใช้ประกอบการศึกษา ค้นคว้าและทางด้านการเรียนการสอนในโอกาสต่อๆไป สำหรับ นักเรียน นิสิต นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจอีกด้วย

ข้อเสนอแนะ

นอกจากรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตศิษย์เจ้าพ่อกวนอู จังหวัดราชบุรี ยังมีรูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตของคณะสิงโตอื่นๆอีกมากมายที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคณะสิงโต และยังมีบทบาทและความสำคัญตามเทศกาลต่างๆในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์และเผยแพร่รูปแบบจังหวะดนตรีประกอบการเชิดสิงโตต่างๆที่มีคุณค่าต่อสาธารณชนสืบไป

 

เอกสารอ้างอิง

ชลอ  บุญช่วย. (2532). ความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมชาวไทยเชื้อสายจีนในอำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. ถ่ายเอกสาร

เจริญ  ตันมหาพราน. (2541). ชมประเพณีพิสดาร.กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์ธารบัวแก้ว.

ณัชชา  โสคติยานุรักษ์. (2542). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงใจ  อมาตยกุล. (2533). ดนตรีตะวันออก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ  อมาตยกุล. (2529). ดนตรีวิจักษ์.  พิมครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ: บริษัทรักษ์ศิลป์ จำกัด.

เรวดี  อึ้งโพธิ์. (2545). การศึกษาดนตรีในพิธีกงเต๊กแบบอนัมนิกาย กรณีศึกษาคณะดนตรีของวัดโลกานุเคราะห์ ปริญญานิพนธ์ ศป.ม. (มานุษยดุริยางควิทยา) สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา. ถ่ายเอกสาร.

เรืองรอง  รุ่งรัศมี. (2541). มังกรซ่อนลาย. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์. 

วีเกียรติ  มารคแมน. (2539). “งิ้วแต้จิ๋ว กับภาพสะท้อนทางวัฒนธรรมดนตรี กรณีศึกษาคณะเหล่าบ่วงนี้ชุงปัง. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. (ดนตรี) นครปฐม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. ถ่ายเอกสาร.

สมบัติ  พลายน้อย. (2542). ประเพณีจีน. กรุงเทพฯ : บริษัทเยลโล่การพิมพ์ (1988) จำกัด.

สำเร็จ  คำโมง, รองศาสตราจารย์. (2552). รู้รอบครอบจักรวาลดนตรี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.