Category Archives: วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า

ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า 

The   Model  for  Six  Sigma  Software  Development

นัยนพัศ  อินจวงจิรกิตต์*  สมชัย  ชินะตระกูล**

จารึก  ชูกิตติกุล**  วจี  ชูกิตติกุล** 

*สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

**คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


 

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย  เพื่อสร้างและประเมินการยอมรับตัวแบบเชิงแนวคิด

สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์คุณภาพซิกซ์ซิกม่าที่มีชื่อรียกว่า ตัวแบบพาดิท  และคู่มือการใช้งาน

       ขั้นตอนการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่าของตัวแบบพาดิทประกอบด้วย 5 ขั้นตอน  ผลการวิจัย   ทำให้ได้นวัตกรรมใหม่ทางเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ  ได้แก่ตัวแบบพาดิท  สำหรับใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อให้ได้คุณภาพระดับซิกซ์ซิกม่า  พร้อมคู่มือการใช้งาน

       ศึกษารายละเอียดได้ในวารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

      นัยนพัศ  อินจวงจิรกิตต์. (2556).  ตัวแบบสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ซิกซ์ซิกม่า.

                                           วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์ 13(2): 118 – 130

       วารสารวิชาการ            ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

       ลิงค์ที่เข้าถึงได้              http://sci.bsru.ac.th/sciweb/eMagazine-13-2.php

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องอสมการ  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

พงศ์รัศมิ์  เฟื่องฟู 1*   สมภพ  แซ่ลี้ 1

ปรวีณ์  โชติพิทยสุนนท์1    นันทพร  ชื่นสุพันธรัตน์1

กฤษฏา  สังขมงคล1    วีรภัทร  เผ่าพงศ์ประเสริฐ2

1สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ( ค.บ.5 ปี) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  กรุงเทพฯ

2สาขาวิชาคณิตศาสตร์   คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  กรุงเทพฯ

*Corresponding  author email  address: [email protected]


 

       การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ  (1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  75/75   (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  กับเกณฑ์ร้อยละ  70  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2557  โรงเรียนสวนอนันต์  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1จังหวัดกรุงเทพมหานคร  จำนวน 18 คน  ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม 

       เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   ประกอบด้วย  (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  จำนวน 3 แผน  รวม 8 คาบ(2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  จำนวน 3 ชุด และ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้  เรื่องอสมการ  เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก  จำนวน  20 ข้อ  มีค่าความยากตั้งแต่ 0.30 ถึง 0 .65  มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่  0.20 ถึง 0.60  และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.819  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที ( t-test )

ผลการวิจัยพบว่า 

       (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  มีค่าประสิทธิภาพ (E1 / E2 )  เท่ากับ85.65 / 81.40  ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ  75/75    

       (2) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์  สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

       (3) ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์  เรื่องอสมการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 81.40  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ  70 ที่ตั้งไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

———————————————————————

  

ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า เพื่อการบริหารและการประมวลผลงานทะเบียน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร

ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่าเพื่อการบริหารและการประมวลผลงานทะเบียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏ เขตกรุงเทพมหานคร

The   Six  Sigma  Quality Information Models  for  Administering  and Processing  in Registration  of Rajabhat  Universities, Bangkok

 

ปวิช  ผลงาม*  สมชัย  ชินะตระกูล**

จารึก  ชูกิตติกุล**  วจี  ชูกิตติกุล** 

*สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคุณภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

**คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี


      ปวิช  ผลงาม. (2556).  ตัวแบบสารสนเทศคุณภาพซิกซ์ซิกม่า  เพื่อการบริหารและ การประมวลผล

                                           งานทะเบียนในมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตกรุงเทพมหานคร.   

                                           วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.  13(2): 131- 142

       วารสารวิชาการ          ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์

       ลิงค์ที่เข้าถึงได้            http://sci.bsru.ac.th/sciweb/eMagazine-13-2.php

ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสมุนไพรในอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ประโยชน์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสมุนไพรในอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

Local Wisdom Benefits of Aganonerion polymorphum Pierre ex Spire in Amphoe Moei, Wadi Roi Et Province, Thailand

เย็นหทัย แน่นหนา


View Fullscreen

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การใช้โปรแกรมวาดภาพ Paint Brush กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนซางตาครู้สศึกษา

นส.ภัสสร โชติสุกานณ์

View Fullscreen

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

บทความวิจัย : การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี และ สื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Study of Instruction on The Master of Education Program in Educational Technology and Communication at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

รศ.ดร.อำนวย เดชชัยศรี *


บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยได้แก่นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รุ่น ๑/๒๕๔๘ในปีการศึกษา๒๕๔๘ประกอบด้วยศูนย์บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน๑๔คนศูนย์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒ (ตระการพืชผล) จำนวน๓๑คนรวมทั้งสิ้นจำนวน๔๕คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม๒ตอนตอนที่๑เป็นแบบอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่๒เป็นแบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

   ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคือจำนวนประชากร ๔๕ คน ประกอบด้วย เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ เพศชายร้อยละ ๓๓.๓๓ มีอายุระหว่าง ๒๐๓๐ ปีคิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐มีตำแหน่งครูคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๗มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ๑๑๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๑๑ทำงานอยู่ในสังกัดรัฐบาลร้อยละ ๘๘.๘๙ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ด้านผู้เรียน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี(.๑๐) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การจัดสภาพการเรียนรู้ด้านผู้เรียนอยู่ในระดับดีทุกรายการ สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์กับงานในหน้าที่ได้ดี(.๒๓) รายการที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ ความพร้อมทางด้านการเงิน(.๙๑)

   ด้านผู้สอน อยู่ในระดับดี(.๓๖) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านผู้สอนอยู่ในระดับดีทุกรายการ สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น(.๕๐) รายการที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ วิธีการถ่ายทอดความรู้และดำเนินกิจกรรมหลากหลาย(.๒๐) ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ(.๐๒) ด้านอาคารสถานที่ อยู่ในระดับดี(.๐๑) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านบรรยากาศของห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับดี(.๒๕) ค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ศูนย์อาหารให้บริการเพียงพอ(.๘๖)

—————————————

* ประธานหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Computer-assisted Instruction on theInternet for Thai Subject of Prathomsuksa 5 Students atPrimary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University

บุรินทร์ อรรถกรปัญญา* รศ.ดร.อำนวย เดชชัยศรี** วรุตม์ พลอยสวยงาม***

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทยมีค่าเท่ากับ 80.11/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Abstract

       The purposes of this research were 1) to develop and find the efficiency of the computer-assisted instruction (CAI) on the Internet for Thai Subject of Prathomsuksa 5 students at Primary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University 2) to compare students’ learning achievement between before and after the experiment and 3) to study the students’ satisfaction towards learning through the developed CAI. The sample included thirty Prathomsuksa 5 students obtained through simple random sampling method.

       The research instruments involved 1) computer-assisted instruction (CAI) on the Internet 2) achievement test 3) CAI quality assessment and 4) a set of satisfaction questionnaire. Data were statistically analyzed in MEAN, standard deviation, and t-test.

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
** รองศาสตราจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*** อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of the developed computer-assisted instruction (CAI) measured 80.11/90.33, which was higher than the set criteria 80/80.
2. The students’ learning achievement after learning through the developed CAI was higher than that before the experiment at significance level .05.
3. The students’ satisfaction towards learning through the developed CAI was generally found at the high level.

Keywords: Computer-assisted Instruction, the Internet

การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ชื่อเรื่อง : การพัฒนาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ

ชื่อผู้วิจัย : รุ่งฤทัย  วงศ์จอม

สาขาวิชา : หลักสูตรและการสอน

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก : ดร. วิเชียร  อินทรสมพันธ์  

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม : ผู้ช่วยศาสตราจารย์  สมหมาย  มหาบรรพต

ปีการศึกษา : 2554

 

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1)  ศึกษาเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  2) เปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  แขวงดอนเมือง  เขตดอนเมือง  กรุงเทพมหานคร  ปีการศึกษา  2554  จำนวน  28 คน  โดยการแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย  ได้แก่   แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้   และแบบทดสอบวัดเหตุผลเชิงจริยธรรม   สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที  (t-test  for  dependent  Sampling)  แบบสองกลุ่มสัมพันธ์กัน

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4   โรงเรียนพระหฤทัยดอนเมือง  จำนวน  28  คนหลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ  80 ทุกคน

2. ผลการเปรียบเทียบเหตุผลเชิงจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการแสดงบทบาทสมมุติ  หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Title : The  Development  of  Prathom  Suksa  4  Students’ Moral Reasoning by Using Co-operative Activities and Role Playing

Author : Rungruthai  Wongjom

Program : Curriculum and Instruction

Major Advisor : Dr.Wichian  Inratharasompun

Co-Advisor : Assistant Professor Sommai Mahabunphot

Academic Year : 2011

 

Abstract

       The  experimental  research objectives  were 1)  to  study  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students by using co-operative activities and role playing, and 2) to compare  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students before  and  after  using  co-operative activities  and  role  playing.  The cluster random samples  were 28  Prathom  Suksa 4 students from  Phraharuethai  Donmuang  School,  Bangkok,  in  the  first  semester  of  the  academic  year  2011.  The research instruments were co-operative activities and role playing lesson plans and a set of the  moral reasoning paper test. The data was analyzed by using the percentage, the average, the standard deviation and t-test for dependent sample.

The research result revealed that;

1.  The study on the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa  4  Students after studying by using co-operative activities and role playing showed that all students passed the criteria of 80 percentage.

2.  The comparison of  the  moral  reasoning  of  Prathom  Suksa 4 students after  using  co-operative activities and role playing was higher than before with statistic significance at  the  level  of  .01.