อภิปรายผล

       การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา เมื่อได้วิเคราะห์ผลการวิจัยแล้ว พบว่า ผู้เข้ารับการศึกษาส่วนใหญ่ประกอบอาชีพครู ร้อยละ ๘๖.๖๗ ประกอบอาชีพอิสระ ได้แก่ ลูกจ้างบริษัทธุรกิจทางการค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ร้อยละ ๑๓.๓๓ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์การทำงานอยู่ระหว่าง ๑๑๐ ปี ร้อยละ ๙๑.๑๑ รองลงมาระหว่าง ๑๑๒๐ ปี ร้อยละ ๘.๘๙ อายุของนักศึกษาอยู่ระหว่าง ๓๑๔๐ ปี ร้อยละ ๖๐.๐๐ รองลงมา อายุระหว่าง ๔๑๕๐ ปี ร้อยละ ๔๐.๐๐ หน่วยงานที่สังกัดเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ร้อยละ ๘๘.๘๙ เป็นหน่วยงานเอกชน ร้อยละ ๑๑.๑๑ นักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น ๔๕ คน จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ ๓๓.๓๓ เพศหญิง ร้อยละ ๖๖.๖๗ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และตอบคำถามปลายเปิดพบว่าหลังปฏิรูปการศึกษาผู้มีอาชีพครูเริ่มมีความต้องการเพิ่มวุฒิการศึกษาและพัฒนาตนเองให้มีมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพครูหรือวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามากขึ้นเนื่องจากครูจะต้องมีความรู้ความสามารถเทียบวิทยฐานะครูทุกคน

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

. ควรจะมีการส่งเสริมให้ครูผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาได้มีโอกาสเข้าเรียนในระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้นจะเป็นการเสริมศักยภาพของตนเองเพื่อยังประโยชน์ต่อส่วนรวมต่อไปในอนาคต

. จากการวิจัยพบว่าสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับดีจึงควรที่จะต้องผดุงไว้ซึ่งมาตรฐานและการดำเนินการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

. ควรมีการศึกษาถึงศักยภาพของบัณฑิตที่ได้รับการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเมื่อภายหลังสำเร็จการศึกษาแล้วประสบความสำเร็จในวิชาชีพมากน้อยเพียงใด

. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ระหว่างผู้ที่สำเร็จการศึกษาตามแผน ก () วิทยานิพนธ์ กับแผน ข. ภาคนิพนธ์ว่าภายหลังสำเร็จการศึกษาไปแล้วประสบความสำเร็จในวิชาชีพแตกต่างกันหรือไม่