3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย

3.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินคุณภาพบทเรียน กำหนดรูปแบบของแบบประเมินเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ (2541, .167) มีเกณฑ์ดังนี้

ระดับ 5 หมายถึง คุณภาพดีมาก
ระดับ 4 หมายถึง คุณภาพดี
ระดับ 3 หมายถึง คุณภาพปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง คุณภาพน้อย
ระดับ 1 หมายถึง คุณภาพน้อยที่สุด

การวิเคราะห์ของค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้จากแบบประเมินคุณภาพบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญ ตามแบบของบุญชม ศรีสะอาด (2535, .162) มีเกณฑ์ดังนี้

4.51 – 5.00 หมายถึง คุณภาพดีมาก
3.51 – 4.50 หมายถึง คุณภาพดี
2.51 – 3.50 หมายถึง คุณภาพปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง คุณภาพน้อย
1.00 – 1.50 หมายถึง คุณภาพน้อยที่สุด

3.2 ร่างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้

3.2.1 ร่างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีเกณฑ์การประเมินออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาวิชา ด้านการดำเนินเรื่อง ด้านการใช้ภาษาด้านแบบทดสอบ

3.2.2 ร่างแบบประเมินคุณภาพบทเรียนของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค มีเกณฑ์การประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านภาพ ภาษา และเสียง ด้านตัวอักษร และสี ด้านแบบทดสอบ และด้านการจัดการบทเรียน

3.3 นำแบบประเมินคุณภาพบทเรียนปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความเหมาะสมของการเขียน ข้อคำถามความครอบคลุมของเนื้อหา สิ่งที่ต้องการวัด ใช้ แล้วนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามที่ได้รับคำแนะนำ

3.4 พิมพ์แบบประเมินคุณภาพบทเรียนฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้ประเมินคุณภาพบทเรียนสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค