การเก็บรวบรวมข้อมูล

1.กำหนดแบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, .315)

ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design

การทดสอบก่อนเรียน (Pretest) การทดลอง การทดสอบหลังเรียน (Posttest)
T1 X  T2

ความหมายสัญลักษณ์

X คือ การสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

T1 คือ การทดสอบก่อนเรียน (Pretest)

T2 คือ การทดสอบหลังเรียน (Posttest)

2. ดำเนินการทดลองตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2557 – เมษายน 2558 ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคาร 30 ชั้น 7 ห้อง 5 กลุ่มตัวอย่างคือผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน มีขั้นตอนดังนี้

2.1 ติดตั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย ที่สร้างขึ้นไว้บนเว็บไซต์ของคณะครุศาสตร์

2.2 แจ้งกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน ทราบล่วงหน้าก่อนการทดลอง

2.3 จัดเตรียมห้องทดลอง โดยใช้คอมพิวเตอร์ 30 เครื่อง กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน

2.4 ผู้วิจัยแนะนำการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย และวิธีการการเริ่มเรียนบทเรียน วิธีการเรียน การควบคุมบทเรียน ลักษณะของการปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การนำเข้าสู่เนื้อหาย่อย วิธีการทำแบบทดสอบ และการคิดคะแนน

2.5 ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากนั้นเริ่มเรียนบทเรียน เมื่อเรียนจบแต่ละบทเรียนผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน จนครบทั้ง 2 มาตรฐาน ต่อจากนั้นผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการของการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย

2.6 ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย

2.7 ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบระหว่างเรียนท้ายบททุกหน่วยการเรียนรู้และแบบทดสอบหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาภาษาไทย โดยใช้สูตร E1/E2

2.8 ผู้วิจัยนำคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) มาวิเคราะห์หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร t-test

2.9 ผู้วิจัยนำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)