การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Computer-assisted Instruction on theInternet for Thai Subject of Prathomsuksa 5 Students atPrimary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University

บุรินทร์ อรรถกรปัญญา* รศ.ดร.อำนวย เดชชัยศรี** วรุตม์ พลอยสวยงาม***

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทยมีค่าเท่ากับ 80.11/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

Abstract

       The purposes of this research were 1) to develop and find the efficiency of the computer-assisted instruction (CAI) on the Internet for Thai Subject of Prathomsuksa 5 students at Primary Demonstration School of Bansomdejchaopraya Rajabhat University 2) to compare students’ learning achievement between before and after the experiment and 3) to study the students’ satisfaction towards learning through the developed CAI. The sample included thirty Prathomsuksa 5 students obtained through simple random sampling method.

       The research instruments involved 1) computer-assisted instruction (CAI) on the Internet 2) achievement test 3) CAI quality assessment and 4) a set of satisfaction questionnaire. Data were statistically analyzed in MEAN, standard deviation, and t-test.

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
** รองศาสตราจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*** อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of the developed computer-assisted instruction (CAI) measured 80.11/90.33, which was higher than the set criteria 80/80.
2. The students’ learning achievement after learning through the developed CAI was higher than that before the experiment at significance level .05.
3. The students’ satisfaction towards learning through the developed CAI was generally found at the high level.

Keywords: Computer-assisted Instruction, the Internet