บทความวิจัย : การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี และ สื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Study of Instruction on The Master of Education Program in Educational Technology and Communication at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

รศ.ดร.อำนวย เดชชัยศรี *


บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินผลสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้วิจัยได้แก่นักศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา รุ่น ๑/๒๕๔๘ในปีการศึกษา๒๕๔๘ประกอบด้วยศูนย์บัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาจำนวน๑๔คนศูนย์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต ๒ (ตระการพืชผล) จำนวน๓๑คนรวมทั้งสิ้นจำนวน๔๕คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม๒ตอนตอนที่๑เป็นแบบอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามตอนที่๒เป็นแบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

   ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคือจำนวนประชากร ๔๕ คน ประกอบด้วย เพศหญิงคิดเป็นร้อยละ ๖๖.๖๗ เพศชายร้อยละ ๓๓.๓๓ มีอายุระหว่าง ๒๐๓๐ ปีคิดเป็นร้อยละ ๖๐.๐๐มีตำแหน่งครูคิดเป็นร้อยละ ๘๖.๖๗มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง ๑๑๐ ปี คิดเป็นร้อยละ ๙๙.๑๑ทำงานอยู่ในสังกัดรัฐบาลร้อยละ ๘๘.๘๙ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ด้านผู้เรียน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดี(.๑๐) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า การจัดสภาพการเรียนรู้ด้านผู้เรียนอยู่ในระดับดีทุกรายการ สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปประยุกต์กับงานในหน้าที่ได้ดี(.๒๓) รายการที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ ความพร้อมทางด้านการเงิน(.๙๑)

   ด้านผู้สอน อยู่ในระดับดี(.๓๖) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านผู้สอนอยู่ในระดับดีทุกรายการ สำหรับรายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น(.๕๐) รายการที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ วิธีการถ่ายทอดความรู้และดำเนินกิจกรรมหลากหลาย(.๒๐) ด้านวัสดุอุปกรณ์ มีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ(.๐๒) ด้านอาคารสถานที่ อยู่ในระดับดี(.๐๑) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ด้านบรรยากาศของห้องเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในระดับดี(.๒๕) ค่าเฉลี่ยตํ่าสุดได้แก่ศูนย์อาหารให้บริการเพียงพอ(.๘๖)

—————————————

* ประธานหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา