สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

1. สถิติพื้นฐาน

1.1 ค่าเฉลี่ย (Mean) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, .284)

1.2 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, .296)

2. วิเคราะห์คุณภาพของแบบทดสอบ

2.1 หาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหาหรือค่าความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์กับแบบทดสอบ (Index of Item-objective Congruence: IOC) (มนต์ชัย เทียนทอง, 2554, .194)

ค่า IOC จะต้องเกินกว่า 0.5 ขึ้นไป แสดงว่าข้อสอบข้อนั้นคัดเลือกไว้ใช้ได้ถ้าค่า IOC ต่ำกว่า 0.5 ควรพิจารณาปรับปรุงหรือตัดทิ้ง

2.2 หาค่าความยากง่าย (มนต์ชัย เทียนทอง, 2554, .207-208)

โดยที่ P แทน ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ

   R แทน จำนวนผู้เรียนที่ตอบข้อคำถามข้อนั้นถูกต้อง

   N แทน จำนวนผู้เรียนทั้งหมด

ขอบเขตของค่ายากง่าย หรือค่า P มีค่าระหว่าง 0 ถึง 1

P ≥0.81 หมายถึง เป็นข้อสอบที่ง่ายมาก

P 0.61-0.80 หมายถึง เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างง่าย (ใช้ได้)

P 0.41-0.60 หมายถึง เป็นข้อสอบที่ยากง่ายปานกลาง (ดี)

P 0.21-0.40 หมายถึง เป็นข้อสอบที่ค่อนข้างยาก (ใช้ได้)

P≤0.20 หมายถึง เป็นขอสอบที่ยากมาก

ดังนั้น การเลือกความยากง่ายของข้อสอบแต่ละข้อควรอยู่ระหว่าง 0.20-0.80

2.3 หาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) (มนต์ชัย เทียนทอง, 2554, .208-209)

โดยที่ D แทน ค่าอำนาจจำแนก

   RH แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบถูกในกลุ่มเก่ง

   RL แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ตอบผิดในกลุ่มอ่อน

   N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

เกณฑ์ของอำนาจจำแนกมีดังนี้

D >0.40 ขึ้นไป หมายถึง มีอำนาจจำแนกดีมาก

D 0.30-0.39 หมายถึง มีอำนาจจำแนกดี

D 0.20-0.29 หมายถึง มีอำนาจจำแนกพอใช้ แต่ควรนำไปปรับปรุงใหม่อีกครั้งหนึ่ง

D <0.19 หมายถึง มีอำนาจจำแนกไม่ดี ต้องตัดทิ้งไป

2.4 หาค่าความแปรปรวน (บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร, 2555, .285)

2.5 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ (Reliability) โดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR -20) (วาโร เพ็งสวัสดิ์, 2551, .240)

แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่นใกล้ +1. 00 โดยค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบที่เชื่อถือได้

แบบทดสอบที่มีความเชื่อมั่น 0.00 หรือใกล้เคียง -1.00 แสดงว่าแบบทดสอบนั้นไม่มีความเชื่อมั่น คะแนนที่ได้จากแบบทดสอบเชื่อถือไม่ได้