Category Archives: วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การสร้างหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่วิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พล หิรัณยศิริ มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์     มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ถึงแม้ว่าในยุคของดิจิทัลมีสื่อประเภทมัลติมีเดียหลากหลายก็ตาม สิ่งที่พบในสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือที่มีมาแต่โบราณก็ยังใช้ได้สะดวกทุกสถานที่ เก็บรักษาง่าย  มีอายุการใช้งานได้นาน  เป็นสื่อที่ช่วยพัฒนาทักษะในการอ่าน  รวมทั้งช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้เด็กอีกด้วย งานวิจัยเรื่องดังกล่าวนี้ค้นพบว่า หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  ได้ผ่านการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านเนื้อหา และสื่อการเรียน ผลปรากฏว่าด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมากมีระดับคะแนนเฉลี่ย  ๓.๗๕  และด้านสื่อการเรียนอยู่ในระดับดีมีคะแนนเฉลี่ย  ๓.๒๗ นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรม  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๕  นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมทั้ง ๔ ด้านได้แก่  เนื้อหา   รูปภาพ  ภาษา และประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับดีมากโดยมีระดับคะแนนเฉลี่ย ๓.๖๖ ผลของการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการผลิตหนังสืออ่านเสริมภาพการ์ตูนนิทานเสริมคุณธรรมใช้ประกอบการเรียนทุกวิชาและทุกระดับชั้นเรียนต่อไป รายละเอียดติดตามได้ที่ web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา    

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร   

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์

วิโรจน์ ชาญสถิตโกศล


ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์

ชื่อผู้วิจัย วิโรจน์  ชาญสถิตโกศล

สาขาวิชา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย เดชชัยศรี

อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกียรติขร โสภณาภรณ์

ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

   การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ 2) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พนักงานของร้านสหกรณ์จำนวน 8 คนและสมาชิกของร้านสหกรณ์ 67 คนรวมทั้งสิ้น 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด 2) แบบประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด 3) แบบประเมินความพึงพอใจ ระบบสหกรณ์ร้านค้า มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1)  ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบ ในภาพรวมมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความปลอดภัยของระบบ ด้านความถูกต้องในการทำงาน
ของระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการทำงานของระบบด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานของระบบ

2)  ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบสหกรณ์ร้านค้ามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำกัด ผ่านเว็บไซต์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ส่วนของพนักงานสหกรณ์ด้านของการประมวลผลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ
ด้านการแสดงผล และด้านการรับข้อมูล ส่วนของสมาชิกสหกรณ์ด้านของการแสดงผลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการรับข้อมูลและการประมวลผล

คำสำคัญ : ระบบสหกรณ์ร้านค้า ประสิทธิภาพ ความพึงพอใจ


 

Title The Development of Systems on Website of

BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE

Author Wirote Chanstidkosol

Program Computer and Information Technology

Major Advisor Associate Professor (Adjunct) Dr.Amnuay Deshchaisri

Co – Advisor Kiatikhorn Sobhanabhorn

Academic Year 2016

ABSTRACT

   The research were to objective for The development , efficiency and contentment of      Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE. The sample included 50 customer assistant and customers. This research is a quantitative research.  Tool in use is satisfaction questionnaire to use Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE. Data were collected using 5-point rating scale and statistically analyzed in arithmetic mean, and standard deviation.

   The research findings revealed that. 1) The development of system was generally found at the highest level. After item analysis, all of them could be rate by arithmetic mean in descending order as follows: security, the correct operation, the capabilities and convenient easy-to-use.       2) The results of the study level of satisfaction of user with the development of Systems on Website of BANSOMDEJCHAOPHRAYA RAJABHAT UNIVERSITY COOPERATIVE was generally found at the highest level. After item analysis, all of them could be rate by arithmetic mean in descending order as follows: output, input and the central processing unit.


การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม : ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑​ โรงเรียนสุวรรณาราม

ศุทธนุช ผาสุข

View Fullscreen

วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ครั้งที่ 4 โดยสำนักพิมพ์  21 เซ็นจูรี่ จำกัด กทม. จัดจำหน่ายโดย ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นางสาววันทนี สว่างอารมณ์ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และคณะ

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : เน้นทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ตั้งแต่มนุษย์กำเนิดขึ้นมาบนโลก การค้นพบสิ่งใหม่ๆ ในปรากฏการณ์ธรรมชาติ เริ่มจากความสงสัยที่เป็นคำถาม What How และ Why ส่วนเทคโนโลยีเป็นความรู้ทางเทคนิค / กระบวนการผลิตที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ฯลฯ เป็นต้น ส่วนนวัตกรรมนั้นเป็นการนำความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นกลยุทธ์หรือวิธีการทำงานของนักวิทยาศาสตร์ทางความคิดทางปัญญา นำไปสู่การแก้ปัญหาที่มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะการวัด ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการใช้ตัวเลข เป็นต้น การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ในการสื่อสารและอยู่ร่วมกับผู้อื่นนั้น วิทยาศาสตร์มีอิทธิพลต่อคุณค่าของมนุษย์และต่อความเข้าใจของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ ทำให้มีเหตุผล เทคโนโลยีที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เทคโนโลยีนาโน เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีอวกาศ เป็นต้น

มาตรฐานและตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสังคมไทยมีทั้งหมด 20 ดัชนี อาทิเช่น เครื่องชี้ภาวะสังคม ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน ดัชนีการศึกษา เป็นต้น สำหรับมิติของคุณภาพชีวิตมีมิติทางด้านการศึกษา มิติทางด้านสุขภาพอนามัย มิติด้านการทำงานและการประกอบอาชีพ เป็นต้น สุขภาพและคุณภาพชีวิตมีปัจจัย 3 ด้าน คือ ร่างกาย สภาพแวดล้อมและระบบบริการสุขภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการ สืบเนื่องจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ทางด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม สำหรับความเชื่อที่ผิดเกี่ยวกับสุขภาพมีความเชื่อเกี่ยวกับอาหารและเรื่องเพศ

การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพนั้น เพื่อให้คนไทยออกกำลังกายจนเป็นวิถีชีวิตและส่งเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายด้วย ผู้ที่มีสมรรถภาพทางกายดีจะมีลักษณะ คือ สมรรถภาพทางจิต อารมณ์มั่นคง อวัยวะในร่างกายทำงานได้ดี เป็นต้น ร่างกายควรมีการทำกิจกรรมนันทนาการสม่ำเสมอเพื่อประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : หนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิตนั้น มีประโยชน์และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในยุคปัจจุบัน เพราะมนุษย์ต้องการความอยู่รอดปลอดภัย ในทรัพยากรเกินความจำเป็น ทำลายสิ่งแวดล้อม เสื่อมถอยทางคุณธรรมและจริยธรรม ถึงแม้จะมีหลักการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ตาม ซึ่งสอนให้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านจิตใจให้มีคุณธรรมความซื่อสัตย์ เห็นคุณค่าของสิ่งของเครื่องใช้ มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงไม่ล้มเหลวในชีวิต จึงมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อคุณภาพชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน ประกอบด้วย เทคโนโลยีพลังงานสะอาด ระบบเกษตรอินทรีย์ การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงเศรษฐกิจนิเวศ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และนโยบายสาธารณะ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : หนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต มีจุดเด่นที่น่าสนใจ อาทิเช่น

1) รูปแบบของผลกระทบของเทคโนโลยีที่มีต่อคุณภาพชีวิตมีการพัฒนาขึ้น พบว่ามีทั้งทางบวกและทางลบ กล่าวคือ การพัฒนาเทคโนโลยีโดยไม่คำนึงสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิต กลายเป็นการทำลาย เช่น การใช้ยาฆ่าศัตรูพืช เป็นต้น

2) การใช้เทคโนโลยีควรคำนึงถึงปัญหาการสูญเสียวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงานของคนไทย เพราะการพัฒนาที่รวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิต เช่น การแต่งกาย ความประพฤติ การบันเทิงเริงรมย์ ฯลฯ เป็นต้น มีลักษณะเป็นสากลมากขึ้น คุกคามเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ดีงามหมดสิ้น

3) ปรากฏการณ์เรือนกระจก การเพิ่มขึ้นของแก๊สซึ่งเกิดจากการใช้เทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมของมนุษย์ เช่น การปล่อยแก๊สคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากยานพาหนะ จากโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งเหล่านี้เป็นเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น สะท้อนกลับทำให้ผิวโลกร้อนอุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ เศรษฐกิจ สังคม และต่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลก

สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัย : จากรายละเอียดเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน ได้แก่

1) ด้านการผลิตบัณฑิตทุกสาขาวิชา ควรเน้นการกระจายความรู้ด้านเทคโนโลยีให้ทั่วถึง อย่าทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ สามารถทำได้ด้วยวิธีการจัดทำโครงการ เรียนรู้เทคโนโลยีสู่การประยุกต์ในชีวิตประจำวัน หรือ การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยการจัดค่ายเพื่อชีวิต

2) ด้านการบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยควรร่วมมือกับบุคลากรทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองเศรษฐกิจ ผู้ใดครองเทคโนโลยี ผู้นั้นครองอำนาจ” วิธีนี้จะช่วยให้บุคลากรทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยพัฒนามหาวิทยาลัยก้าวไปข้างหน้าควบคู่กับเอกลักษณ์ทางวิชาการนั่นคือ เป็นการรู้จักปรับปรุงพัฒนาด้านเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของงานแต่ละส่วนๆ

3) มหาวิทยาลัยให้สวัสดิการแก่บุคลากรทุกภาคส่วนให้นิสิตนักศึกษาอย่างทั่วถึง โดยมุ่งหวังผลสำเร็จของงาน แต่ในความเป็นจริงความสุขที่ได้ลักษณะสวัสดิการนั้นหมายรวมถึง จริยธรรมด้วย และความสุขมิใช่เพิ่มขึ้นจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน เพราะเกิดจากการเปรียบเทียบจากคนรอบข้างระหว่างตนเองกับเพื่อนร่วมงาน ดังนั้นในปัจจุบันมหาวิทยาลัยควรเน้นด้านสุขภาพมากกว่าสวัสดิการด้านผลประโยชน์ เช่น การจัดเสริมการออกกำลังกายในเวลาช่วง 15 – 17 นาฬิกาทุกวันศุกร์ เป็นต้น

อื่นๆ ตามความเหมาะสม : ในด้านการจัดกิจกรรมนันทนาการของหนังสือวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพนี้ กล่าวว่าจะต้องเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกาย อารมณ์ จิตใจเป็นพื้นฐาน พร้อมประโยชน์ต่อครอบครัวและสังคม

การคิดและการตัดสินใจ

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การคิดและการตัดสินใจ

ประเภทผลงานทางวิชาการ : หนังสือเรียนวิชา การคิดและการตัดสินใจ

ปีที่พิมพ์ : พ.ศ. 2556 (ปรับปรุงใหม่)

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่ โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์ กทม. นายประสิทธิ์ สันติวัฒนา ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา

ชื่อเจ้าของผลงาน : ดร. มณีนาถ แก้วเนียม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และคณะ

บทนำเข้าสู่ความน่าสนใจ : หลักการและกระบวนการคิดของมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสารตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล กระบวนการตัดสินใจ กำหนดการเชิงเส้นและคณิตศาสตร์พื้นฐานสำหรับชีวิตประจำวัน

สรุปสาระสำคัญของผลงาน : การคิดและกระบวนการคิด ข้อมูลข่าวสารและค่าสถิติที่สำคัญ ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล กำหนดการเชิงเส้น กระบวนการตัดสินใจและพื้นฐานการคำนวณร้อยละ ดอกเบี้ย การผ่อนชำระและภาษีเงินได้

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : หนังสือวิชาการคิดและการตัดสินใจนี้ มีจุดเด่นเพราะกระบวนการคิดเป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง เนื่องมาจากการใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ เหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เนื่องจากสมองเป็นศูนย์รวมระบบประสาทเป็นศูนย์กลางในการควบคุม ซึ่งสมองซีกซ้ายจะทำหน้าที่ควบคุมพฤติกรรมในเรื่อง คิดวิเคราะห์คิดทางเดี่ยวหรือการใช้ภาษา ส่วนสมองซีกขวาควบคุมพฤติกรรมการคิดสร้างสรรค์ คิดแบบเส้นขนาน คิดสังเคราะห์ ซึ่งการคิดมี 2 ประเภท คือ การคิดประเภทสัมพันธ์กับการคิดโดยตรงที่ใช้ในการแก้ปัญหา

การนำไปใช้ประโยชน์ : วิชาการคิดและการตัดสินใจ สามารถนำไปฝึกทักษะนิสิต นักศึกษาทุกสาขาทุกคณะวิชา เพราะการคิดจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้ มหาวิทยาลัยสามารถจัดการในรูปของโครงการพัฒนาผู้เรียนโดย เฉพาะทางด้านการคิดและตัดสินใจ สามารถทำได้โดย

วิธีที่ 1 ประยุกต์แนวการสอนทุกวิชาให้บูรณาการเนื้อหาเป็นการฝึกคิดหลายรูปแบบซึ่งสามารถพัฒนาได้ สอนจากกรณีศึกษาให้คิดวิเคราะห์หาคำตอบสามารถบูรณาการได้

วิธีที่ 2 จัดการสอนด้วยการทำงานกลุ่ม ระดมสมองซึ่งผู้สอนต้องกำหนดหัวข้อ กำหนดเวลาและการอภิปราย จะส่งเสริมกระบวนการคิด วิเคราะห์ได้ดี การสอนก็สนุก ผู้สอนสามารถช่วยกระตุ้นกระบวนการคิดได้ดี

วิธีที่ 3 ในด้านการบริหารงานบุคคลของมหาวิทยาลัยควรจัดโครงการเข้าค่ายระดมสมองของบุคลากรแต่ละฝ่ายตามรายละเอียดของบริบทแต่ละหน่วยงาน จะช่วยลดปัญหาการเห็นแตกต่าง การแตกแยกได้ เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้

การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

THE DEVELOPMENT OF E-LEARNING LESSON ON DATA COMMUNICATION AND COMPUTER NETWORKING IN ACADEMY FOR THE 2ND YEAR BACHELOR OF EDUCATION STUDENTS MAJORING IN COMPUTER EDUCATION OF BANSOMDEJCHAOPRAYA RAJABHAT UNIVERSITY

นภา แซ่กั๊ว* รองศาสตราจารย์ ดร.อำนวย เดชชัยศรี** อาจารย์นิธิวดี เพ็งใย***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความสอดคล้อง ค่าประสิทธิภาพและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3) ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

คำสำคัญ: บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop e-learning lesson on Data Communication and Computer Networking in Academy for the 2nd Year Bachelor of Education students majoring in Computer Education of Bansomdejchaopraya Rajabhat University 2) to compare

learning achievement between before and after using the developed e-learning lesson and 3) to study the students’ satisfaction towards the developed e-learning lesson. The sample included 80 students in academic year 2014. The research instruments involved e-learning lesson, achievement test, and questionnaire. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, coefficient correlation, efficiency, and t-test.

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of e-learning lesson on Data Communication and Computer Networking in Academy measured 81.47/82.75, which was higher than the criteria 80/80.

2. The students’ learning achievement after using the developed e-learning lesson was higher at significance level .05.

3. The students’ satisfaction towards the developed e-learning lesson was generally found at the high level (A= 4.20)

Keyword: e-learning Lesson, Computer Network

1. บทนำ

ปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากการศึกษามิใช่จำกัดอยู่เพียงในห้องเรียนหรือในโรงเรียน แต่เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ทุกคนมีโอกาสเรียนรู้ในทุกเรื่องทั้งที่เป็นความรู้วิชาการทั่วไป ความรู้ด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ได้ในทุกที่และทุกเวลา การที่จะให้ทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีคุณภาพนั้น เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญ จึงได้กำหนดเป้าหมายและแนวนโยบายในการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อการศึกษาและการพัฒนาประเทศ โดยสนับสนุนให้มีการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการแสวงหาและเผยแพร่ความรู้ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตสื่อเพื่อการศึกษาที่มีคุณภาพ รวมทั้งพัฒนาผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถศึกษาค้นคว้าข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ มีการจัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นการศึกษาในระบบ นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษาและสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2545, น.85-88)

ในสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งได้เห็นความสำคัญในการให้นักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและมีการสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยพัฒนาระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ด้วยเช่นกันจึงได้มีการจัดทำแผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan) ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็อยู่ในแผนนี้ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยและนิสิตนักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา จากระบบบริหารจัดการด้านการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายแบบออนไลน์ (Learning Management System ; LMS) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทางไกล (สำนักคอมพิวเตอร์, 2552, ออนไลน์)

วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Data Communication and Computer Networking in Academy) เป็นหนึ่งในวิชาบังคับของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การจัดการเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนโดยอาศัยตำราและครูเป็นหลักเสียส่วนใหญ่ ซึ่งผู้เรียนไม่มีโอกาสได้เรียนรู้และแก้ปัญหาด้วยตนเองจากการสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนหลายท่านแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหาพบว่า วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาเป็นวิชาว่าด้วยทฤษฎีซึ่งยากต่อการทำความเข้าใจและภาคปฏิบัติที่ต้องใช้

ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน แต่ด้วยเวลาที่จำกัดใน 1 ภาคการศึกษา ดังนั้น ในหลักสูตรจึงมีเฉพาะพื้นฐานและเนื้อหาที่เป็นส่วนสำคัญ ทำให้นักศึกษาไม่ได้เรียนลึกถึงรายละเอียดจึงขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงส่งผลกระทบต่อการเรียนของผู้เรียนทำให้ผู้เรียนไม่สามารถวิเคราะห์โจทย์และแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง ส่งผลให้ขาดความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานและเมื่อพิจารณาดูผลการเรียนของนักศึกษา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนปานกลางทั้งในการทดสอบย่อยและการสอบปลายภาค

เมื่อเป็นเช่นนี้ผู้วิจัยจึงเห็นว่า ควรมีการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเองจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและแก้ปัญหาด้วยตัวของผู้เรียนเอง ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยวิธีการที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความเข้าในเนื้อหาวิชาดังกล่าวได้ดีขึ้นนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าควรจะออกมาในรูปแบบของการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ เพราะการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) คือ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีเครือข่ายและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการสร้างสรรค์และส่งผ่านองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ไปยังผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันให้ได้รับความรู้ทักษะและประสบการณ์ร่วมกันอย่างมีชีวิตชีวา (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.58) ซึ่งผู้วิจัยคาดหวังว่าการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถใช้แก้ปัญหาดังกล่าวได้ จากงานวิจัยพบว่า การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการเรียนรู้สามารถทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีความสนใจและเกิดความเข้าใจได้ดีกว่าการสอนที่ใช้การบรรยายในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้สื่อใดๆ (ถนอมพร เลาหจรัสแสง, 2545, น.18) นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered) ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้สอนสามารถใช้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนที่ลดการบรรยายได้ โดยให้ผู้เรียนไปศึกษา ทบทวนและทำความเข้าใจด้วยตนเอง ทั้งยังสามารถใช้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Autonomous Learning) ได้ดียิ่งขึ้น

ด้วยเหตุผลและคุณสมบัติต่างๆ ของการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงคิดว่าหากนำเอาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนจะมีส่วนช่วยให้การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาของผู้เรียนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้น ผู้วิจัยจึงประสงค์จะพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา เพื่อเพิ่มโอกาสและทางเลือกในการศึกษา สร้างความน่าสนใจของบทเรียนวิชาทฤษฎี เป็นแหล่งความรู้ที่สามารถศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมนอกเหนือจากเนื้อหาในหลักสูตร หรือทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง เป็นการสนับสนุนการเรียนรู้ในลักษณะที่ผู้เรียนเป็นสำคัญและเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับวิชาอื่นๆ ของสาขาวิชาต่อไป

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

E O1 X O2

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3. วิธีการดำเนินงาน

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) ใช้แบบแผนการทดลองลักษณะ One Group Pretest – Posttest Design ตามวิธีการทดลอง ดังต่อไปนี้

โดยกำหนดให้

E หมายถึง นักศึกษากลุ่มตัวอย่าง

X หมายถึง บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

O1 หมายถึง คะแนนผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนก่อนเรียน

O2 หมายถึง คะแนนผลสัมฤทธิ์

ทางการเรียนหลังเรียน

3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 ห้องเรียน รวม 160 คน

กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 80 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)

3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้มีเครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย

1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3.5 ขั้นตอนในการสร้างเครื่องมือ

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการออกแบบระบบการสอน ADDIE Model (Generic Model) ของ Seels & Glasgow (1998 อ้างถึงใน มนต์ชัย เทียนทอง, 2545, น.131-136) มาเป็นแนวคิดในการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีขั้นตอนและรายละเอียดดังนี้

1) ขั้นวิเคราะห์ (Analysis)

1.1) วิเคราะห์สภาพปัญหา โดยศึกษาสภาพการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา การสังเกต พูดคุย กับนักศึกษา และสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนหลายๆ ท่านแล้วนำมาวิเคราะห์ปัญหา

1.2) วิเคราะห์หลักสูตร โดยวิเคราะห์หลักการ จุดประสงค์การเรียนรู้ โดยสร้างคำอธิบายรายวิชาและตัวชี้วัดที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1.3) วิเคราะห์เนื้อหารายวิชา รายละเอียดของเนื้อหา เพื่อกำหนดขอบข่ายของเนื้อหา และขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบความถูกต้องและความเหมาะสม

2) ขั้นออกแบบ (Design)

2.1) ออกแบบบทเรียน โดยนำบทเรียนที่ได้จากขั้นตอนแรกมาสร้างเป็นบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหา แบบทดสอบ กิจกรรม

2.2) ออกแบบผังงาน (Flowchart) โดยเขียนเป็นแผนภาพบทเรียนให้มีความสัมพันธ์กัน และออกแบบบทดำเนินเรื่อง (Storyboard)

2.3) ออกแบบหน้าจอภาพ (Screen) โดยแบ่งพื้นที่หน้าจอให้มีองค์ประกอบเป็นสัดส่วน

3) ขั้นพัฒนา (Development)

3.1) เตรียมวัสดุประกอบบทเรียน หรือสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ด้วยโปรแกรมเฉพาะ เช่น ภาพ ภาพเคลื่อนไหว กราฟิก เสียง ตามผังงานและบทดำเนินเรื่อง

3.2) ดำเนินการผลิตบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ออกแบบไว้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Captivate

3.3) นำบทเรียนที่สร้างขึ้นเข้าสู่ระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (LMS) ซึ่งผู้วิจัยเลือกใช้โปรแกรม Moodle

3.4) นำบทเรียนอัพโหลดขึ้น Server จริง เพื่อให้สามารถใช้งานบทเรียนได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

4) ขั้นทดลองใช้ (Implementation)

เป็นการทดลองบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้งานจริงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และตรวจสอบหาข้อผิดพลาดและปัญหาในการใช้งาน

5) ขั้นประเมินผล (Evaluation)

5.1) นำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา พร้อมทั้งแบบประเมินคุณภาพบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์เสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน

5.2) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่าเฉลี่ย พบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ซึ่งหมายถึง มีความเหมาะสมมากที่สุด

5.3) แก้ไขปรับปรุงบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ตามข้อเสนอแนะ และจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

เป็นข้อสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้

1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร รายวิชาและเนื้อหา สาระการเรียนรู้ ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้

2) กำหนดตัวชี้วัดที่ต้องการให้เกิดกับนักศึกษาตามโครงสร้างเนื้อหาที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว การให้น้ำหนักความสำคัญ การวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความจำ (Knowledge) ความเข้าใจ (Comprehend) การประยุกต์ (Application) การวิเคราะห์ (Analysis) การสังเคราะห์ (Synthesis) และการประเมินค่า (Evaluation)

3) สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนด แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

4) นำแบบทดสอบเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 3 ท่าน พิจารณาความถูกต้องตามหลักวิชาการโดยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (The Index of Item Objective Congruence; IOC) เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้

5) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามาคำนวณหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 แสดงว่าเป็นข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

6) ปรับปรุงแก้ไขแบบทดสอบ และจำทำเป็นฉบับสมบูรณ์ จำนวน 40 ข้อ

3. แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างตามขั้นตอน ดังนี้

1) ศึกษาวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ จากหนังสือ การวัดผลการศึกษา ของ สมนึก ภัททิยธนี (2544, น.36-42) และหนังสือ การวิจัยเบื้องต้น ของ บุญชม ศรีสะอาด (2545, น.63-75)

2) กำหนดกรอบการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ของลิเคิร์ท (Likert’s Five Rating Scale)

3) ดำเนินการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ และนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาตรวจสอบฉบับร่าง ปรับปรุงแก้ไข และเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรายการประเมิน (IOC)

4) นำผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมาคำนวณหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ซึ่งได้ค่าระหว่าง 0.67-1.00 แสดงว่าเป็นแบบสอบถามที่มีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้

5) ปรับปรุงแก้ไขแบบสอบถาม และจัดทำเป็นฉบับสมบูรณ์

4. ผลการวิจัย

ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูล และได้นำเสนอตามหัวข้อดังต่อไปนี้

4.1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

A แทน ค่าเฉลี่ย

S.D. แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

n แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

t แทน ค่าสถิติการแจกแจง

(t-Distribution)

p แทน ระดับนัยสำคัญของ

การทดสอบทางสถิติ

4.2 การวิเคราะห์ข้อมูล

1. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

3. การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา

4.3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

ตารางที่ 1 ประสิทธิภาพของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบ

n

คะแนนเต็ม

S.D.

ประสิทธิภาพ

ระหว่างเรียน

80

40

32.59

3.44

E1= 81.47

หลังเรียน

80

40

33.10

3.75

E2= 82.75

จากตารางที่ 1 คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียนเท่ากับ 32.59 คิดเป็นประสิทธิภาพของกระบวนการได้เท่ากับ 81.47 และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 33.10 คิดเป็นประสิทธิภาพของผลลัพธ์ได้เท่ากับ 82.75 แสดงว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

ตารางที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบ

n

คะแนนเต็ม

ร้อยละ

S.D.

t

ก่อนเรียน

80

40

11.65

29.13

3.62

39.37*

หลังเรียน

80

40

33.10

82.75

3.75

จากตารางที่ 2 คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบก่อนเรียนเท่ากับ 11.65 คิดเป็นร้อยละ 29.13 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.62 และคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 33.10 คิดเป็นร้อยละ 82.75 มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.75 โดยค่าทีจากการคำนวณมากกว่าค่าทีจากตาราง (39.37 > 1.99) แสดงว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ตารางที่ 3 ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์

รายการประเมิน

S.D.

1. เนื้อหาบทเรียนมีความครอบคลุม สอดคล้องกับ

การเรียนในชั้นเรียน

4.33

0.59

2. มีความสะดวกในการเรียนรู้และทบทวนบทเรียน

4.28

0.69

3. รูปแบบการนำเสนอมีความน่าสนใจ น่าติดตาม

4.18

0.65

4. รูปแบบการนำเสนอมีความสะดวกน่าใช้ และ

เข้าใจง่าย

4.23

0.75

5. รูปแบบการนำเสนอแปลกใหม่แตกต่างจากการ

เรียนในชั้นเรียนปกติ

4.13

0.72

6. มีความรู้สึกเหมือนเรียนอยู่ในห้องเรียนปกติ

4.15

0.75

7. สามารถติดต่อสื่อสารและแสดงความคิดเห็น

ระหว่างผู้สอนและผู้เรียนนอกเวลาสอนเพิ่มขึ้น

4.14

0.74

8. เป็นสื่อเสริมทักษะการเรียนด้วยตัวเองได้เป็น

อย่างดี

4.34

0.59

9. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้มีความกระตือรือร้น

ในการเรียนมากขึ้น

4.16

0.74

10. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ทำให้เข้าใจเนื้อหาได้

ชัดเจนขึ้น

4.21

0.71

11. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าการเรียนในห้องเรียน

เพียงอย่างเดียว

4.10

0.77

12. โดยภาพรวม ท่านมีความพึงพอใจต่อบทเรียน

อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด

4.35

0.68

13. โครงสร้างของเนื้อหาครอบคลุมจุดประสงค์

การเรียนรู้

4.24

0.62

14. ความเหมาะสมของปริมาณเนื้อหา

4.24

0.66

15. ความชัดเจนในการอธิบายเนื้อหา

4.18

0.74

16. การจัดลำดับขั้นนำเสนอเนื้อหา

4.04

0.74

17. ความชัดเจนของคำสั่งการใช้งานบทเรียน

4.21

0.67

18. สื่อมัลติมีเดียในบทเรียนสามารถสื่อให้เข้าใจ

เนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

4.06

0.77

19. ความชัดเจนของคำถามและคำตอบของ

แบบทดสอบ

4.21

0.71

20. แบบทดสอบมีความเหมาะสมกับเนื้อหา

4.25

0.82

ค่าเฉลี่ยรวม

4.20

0.71

จากตารางที่ 3 พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 12. โดยภาพรวม ท่านมีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระดับใด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68 รองลงมาได้แก่ ข้อที่ 8. เป็นสื่อเสริมทักษะการเรียนด้วยตัวเองได้เป็นอย่างดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.59 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อที่ 16. การจัดลำดับขั้นนำเสนอเนื้อหา โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74

5. สรุปผลการวิจัย

5.1 สรุปผล

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชาการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

5.2 อภิปรายผล

1. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.47/82.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในการวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการประเมินตรวจสอบคุณภาพบทเรียน โดยการตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้นจึงทำให้บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุเมธา ปานพริ้ง (2556) ซึ่งทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิง เรื่อง การสร้างวีดีทัศน์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำบทเรียนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ศิลปากร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 36 คน ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.13/91.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80 /80 เนื่องจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาตามกระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ การนำเข้าสู่เนื้อหาสาระ การจัดเนื้อหาเสริม การทบทวนความรู้เดิม การออกแบบวิธีการสอนที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมเพื่อทบทวนความรู้และเสริมความเข้าใจ การสรุปสาระสำคัญ และการประเมินผล โดยการนำเสนอเนื้อหานั้นเป็นการนำเสนอเนื้อหาแบบ step by step มีลักษณะเป็นมัลติมีเดีย (multimedia) ที่นำเสนอข้อมูลทั้งข้อความ (text) ภาพนิ่ง (image) ภาพเคลื่อนไหว (animate) ภาพวีดีทัศน์ (video) และมีเสียง (audio) อธิบายประกอบ นอกจากนั้น บทเรียนยังมีแบบทดสอบไว้ให้ผู้เรียนฝึกทำเป็นการทบทวนและเสริมการเรียนรู้ และการสรุปสาระสำคัญหลังจากเรียนจบบทเรียน จึงทำให้บทเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า นักศึกษามีความกระตือรือร้น และสนุกสนานในการเรียนและสนใจเรียนเมื่อได้เรียนรู้เนื้อหาในบทเรียน ผลการวิจัยดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดของ ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2545) กล่าวว่า สื่อคอมพิวเตอร์ สามารถนำเสนอบทเรียนด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งช่วยสร้างความเร้าใจ ทำให้ผู้เรียนสนใจบทเรียนและมีความเข้าใจบทเรียนเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนมากขึ้น

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เนื่องจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน (Pretest) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.65 และ

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33.10 ทั้งนี้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น มีการออกแบบและพัฒนาโดยเน้นให้ผู้เรียนได้มีโอกาสโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ )Interaction) กับบทเรียนตลอดเวลาและหลากหลายรูปแบบ ทำให้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นสนับสนุนการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งในบทเรียนมีแบบทดสอบที่หลากหลายให้ผู้เรียนฝึกทำ เป็นการทบทวนเนื้อหาได้ตามความต้องการของตนเองจึงทำให้บทเรียนที่พัฒนาขึ้นสามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นได้ สอดคล้องกับผลการวิจัยของ สุเมธา ปานพริ้ง (2556) ที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนแบบ อีเลิร์นนิงหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 ซึ่งถือว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้นอยู่ในระดับพึงพอใจมาก สอดคล้องกับผลการวิจัยของ อนิรุทธ์ โชติถนอม (2545) ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บไซต์สำหรับจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์ และนักศึกษาในการใช้งานเว็บไซต์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 10 คน และนักศึกษาวิชาเอกวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิชาเอกระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 100 คน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้งานเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับพึงพอใจ (ระดับ 4)

6.ข้อเสนอแนะ

6.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้

1. จากผลการวิจัยพบว่า บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงว่าวิธีการสอนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองได้ดีขึ้น ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกฝ่ายควรให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการนำบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้การจัดการเรียนการสอน เพื่อเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพมากยิ่งขึ้น

2. จากผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ได้รับการเรียนการสอนด้วยบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และมีความเห็นเกี่ยวกับบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ว่าสามารถทำให้ผู้เรียนมีความสนุกสนานกับการเรียนรู้ สามารถนำไปศึกษาได้ด้วยตนเอง และสามารถแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนโดยการทบทวนความรู้หลังจากเรียนจากห้องเรียน ทั้งนี้การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ยังไม่จำกัดเฉพาะการเรียนในห้องเรียน สามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาควรนำการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ไปใช้กับนักเรียนนักศึกษาทุกระดับ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

6.2 ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป

1. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ มีขั้นตอนการพัฒนาหลายขั้นตอน แต่ละขั้นตอนจะต้องดำเนินการอย่างประณีต ดังนั้น การวิจัยเพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้วิจัยควรวางแผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนอย่างเหมาะสมและจะต้องดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้อย่างจริงจัง เพื่อให้สามารถพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออกมาได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

2. การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ต้องอาศัยความรู้และทักษะการใช้งานโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมมาประกอบกันเพื่อสร้างสื่อมัลติมีเดีย ดังนั้น ผู้วิจัยควรศึกษาการใช้งานโปรแกรมเหล่านั้นให้ชำนาญ เพื่อให้การพัฒนาสื่อสามารถทำได้อย่างรวดเร็วและมีความสวยงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้ใช้มากยิ่งขึ้น

3. ควรสร้างบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมเนื้อหาทั้งรายวิชา ดำเนินการทดลองเรียนกับกลุ่มตัวอย่างทั้งภาคเรียน เพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมถึงการประเมินระดับความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจทำการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์กับการเรียนการสอนโดยวิธีปกติ

4. ควรสร้างแบบฝึกหัด และแบบทดสอบในบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีลักษณะที่หลากหลาย เช่น คำถามแบบอัตนัย แบบเติมคำตอบสั้นๆ แบบจับคู่ แบบถูก/ผิด แบบคำนวณ เพื่อให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น และไม่สร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้เรียน

เอกสารอ้างอิง

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). รูปแบบการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนสำหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ในระดับอุดมศึกษา. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

———-. (2545). Designing e-Learning : หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน.

กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

มนต์ชัย เทียนทอง. (2545). การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน.กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักคอมพิวเตอร์. (2552). แผนระบบสารสนเทศ (Information System Plan) พ.ศ.2552 – 2556.

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2558. จาก http://bsru.in.th/document/ISplan_BSRU52-56.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2545 – 2559. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุเมธา ปานพริ้ง. (2556). การพัฒนาบทเรียน

อีเลิร์นนิง เรื่อง การสร้างวีดิทัศน์เพื่อการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2545). การพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอนระดับรายวิชาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า

เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

Gagne, Robert, M.Z. (1985). The condition of learning and theory of instuction. (3rd ed). Forida : Saunder Pub.

Wiggins, G., & McTighe, J. (1998). Understanding by design. Alexandria, VA: Association for Supervision and Curriculum Development.

การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development of Asset Management System Via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ธรรมศักดิ์  จลาสุภ* ดร.อำนวย  เดชชัยศรี** วรุตม์  พลอยสวยงาม***

บทคัดย่อ

  การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และ 2) ประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คนสำหรับการประเมินประสิทธิภาพของระบบฯ และบุคลากรของสำนักคอมพิวเตอร์และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ จำนวน 48 คน สำหรับการประเมินประสิทธิผลของระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับและแบบตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

  1) ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์บนเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ และด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

  2) ประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ  ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ และด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

คำสำคัญ: ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the efficiency of asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University and 2) to assess the effectiveness of the asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University. The sample included three specialists for efficiency assessment and other forty-eight of Computer Office staff and asset checking staff for effectiveness assessment. Data were collected using 5-point rating scale questionnaire and checklist, and were statistically analyzed in mean and standard deviation.

* นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
** รองศาสตราจารย์พิเศษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*** อาจารย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


The findings revealed as follows.

1. The efficiency of asset management system via Intranet of Computer Office at Bansomdejchaopraya Rajabhat University was generally found at the highest level. After item analysis, analysis and design of database was rated at the highest mean followed by analysis and design of system and use of application.

2. The effectiveness of the system was generally rated at the highest level. After item analysis, data security was rated at the highest mean followed by users’ need, ) system operation based on its function, and ease of system using.

Keyword: Asset Management System via Intranet

บทนำ

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นสถาบันอุดมศึกษาระดับท้องถิ่น โดยมีนโยบายการบริหาร และพัฒนามหาวิทยาลัย ยึดหลักการในทางปฏิบัติ PPPO จุดมุ่งหมาย (Purpose) หลักการ (Principle) การมีส่วนร่วม (Participation) ส่งผลต่อการสร้างระบบงานและองค์กร (Organization) เป็นจุดมุ่งหมายในการดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายปฏิรูปการศึกษา แบ่งเป็น 9 หมวด(สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2558) ทุกหมวดจะชี้นำการปฏิบัติ ปฏิรูปของทุกสถานศึกษาโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฏ กล่าวเป็นข้อ ๆ คือ 1.มหาวิทยาลัยราชภัฏจะปฏิรูปตนเอง 2.โอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชน 3.ระบบการศึกษาในแนวปฏิรูป 4.แนวการจัดการศึกษา 5.การบริหารและการจัดการศึกษาใน พ.ร.บ.การศึกษา 6.มาตรฐานและการประกันคุณภาพ 7.คุณภาพของครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา 8.ความมีอิสระในการหาและการใช้เงิน และ 9.สิ่งอำนวยความสะดวกในการสอนการศึกษา การบริหาร

    การบริหารจัดการมหาวิทยาลัย  ในด้านการจัดการเรียนการสอน และการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน จึงมีความจำเป็นที่ต้องจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อใช้ในการบริหารงาน และการจัดการเรียนการสอน

  ปัจจุบัน การจัดหาครุภัณฑ์ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา แต่ละปีมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะครุภัณฑ์ทางคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งเคลื่อนย้ายสะดวกและ มีประสิทธิภาพเหมาะแก่การนำไปใช้เป็นเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  โดยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ กำหนดว่า หลังจากมีการดำเนินการจัดหา และได้รับมอบสิ่งของแล้ว จะต้องทำการลงบัญชีหรือทะเบียนควบคุม และเก็บรักษาให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย ปลอดภัย ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชี หรือทะเบียน และในช่วงของทุกสิ้นปีงบประมาณ จะต้องทำการสำรวจครุภัณฑ์ ว่าการรับจ่ายถูกต้อง คงเหลืออยู่ตรงตามทะเบียนหรือไม่ และ    มีสภาพเป็นอย่างไร เช่น พร้อมใช้งาน ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือสูญหาย เพราะเหตุใด และเสนอต่อหน่วยงานตามลำดับชั้น     แต่เนื่องจากครุภัณฑ์เหล่านี้ต้องมีการสำรวจข้อมูลอยู่เป็นประจำทุกปี โดยในการสำรวจแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาในการติดตาม ตรวจสอบเป็นเวลานาน อีกทั้งยังต้องใช้กำลังคนจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนมากที่สุด และไม่สามารถทราบได้ว่าครุภัณฑ์แต่ละชิ้นนั้นสิ้นสภาพการใช้งานหรือยัง มีการเคลื่อนย้ายที่ตั้ง หรือมีการเปลี่ยนผู้รับผิดชอบถือครองหรือไม่ จากความจำเป็นดังกล่าว ครุภัณฑ์ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการบริหารงาน และการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นการบริหารจัดการใช้ครุภัณฑ์ที่ดี ย่อมนำไปสู่การใช้เงินงบประมาณอย่างประหยัด คุ้มค่า  ถ้าพิจารณาจากปัญหาที่สำนักคอมพิวเตอร์พบอยู่ก็คือ ทะเบียนครุภัณฑ์จะอยู่ในรูปของกระดาษ ซึ่งปัญหาของการดำเนินการดังกล่าวมีดังต่อไปนี้ 1.การจัดสถานที่เก็บเอกสาร 2.ปริมาณกระดาษที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นเกิดการสิ้นเปลืองทรัพยากร 3.การเพิ่ม แก้ไข บันทึก และการสืบค้นเอกสารทำได้ยาก 4.การออกรายงานทำได้ยาก และ 5.การกลั่นกรองข้อมูลออกมาเป็นสารสนเทศเพื่อนำไปใช้งาน ทำได้ช้า

   เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปัญหาที่เกิดจากการทำงาน ดังปัญหาที่กล่าวแล้วข้างต้น  การพัฒนาระบบตรวจสอบสถานะครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต จะเป็นวิธีที่จะช่วยบริหารจัดการ และลดปัญหาการการติดตามตรวจสอบครุภัณฑ์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์พัฒนา เพื่อตรวจสอบสถานะครุภัณฑ์ และสามารถบันทึกข้อมูลและเก็บรายละเอียด    ต่าง ๆ เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็ว ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการจัดซื้อ การซ่อมบำรุง และการจำหน่ายครุภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน และรายงานผลการสำรวจครุภัณฑ์ประจำปีต่อไป 

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. เพื่อประเมินประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

สมมติฐานของการวิจัย

1.ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีประสิทธิภาพในระดับดี

2. ประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัย     ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ อยู่ในระดับ     ดีมาก

ขอบเขตของการวิจัย

ประชากร

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็น บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี จำนวน 200 คน รวมประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 214 คน

กลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี จำนวน 34 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น 48 คน โดยคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ตัวแปรตาม ได้แก่ ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และประสิทธิผลของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  จากการทดลองใช้โดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

 

วิธีดำเนินการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบทดลอง

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

1. แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ

2. แบบประเมินประสิทธิผลของระบบโดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ

ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมิน ที่นำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินที่นำมาใช้ประเมินประสิทธิผล ของบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุที่มีต่อระบบตามลำดับดังนี้

1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมากำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย และกำหนดนิยามศัพท์เกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. กำหนดประเด็น โครงสร้างของเครื่องมือ และขอบเขตเนื้อหาตามกรอบแนวคิดของการวิจัยที่ได้ศึกษา และร่าง  ข้อคำถามให้มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับจุดประสงค์ และนิยามศัพท์เฉพาะและประเด็นสำคัญ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างข้อคำถาม

3. ศึกษาวิธีสร้างแบบสอบถามจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดยเขียนข้อคำถามให้ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละด้านหรือแต่ละตัวแปรที่จะทำการศึกษา เพื่อให้นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบสอบถามการประเมินความเหมาะสม ที่จะนำไปใช้ในการตรวจสอบการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

4. สร้างแบบสอบถามที่นำไปใช้ประเมินประสิทธิภาพ และประเมินประสิทธิผลของการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากที่สุด  มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด แล้วนำแบบสอบถามเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้องและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

5. นำแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพที่แก้ไขแล้ว เสนอผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอความเห็นชอบและตรวจสอบความถูกต้องตามโครงสร้างเนื้อหา การใช้ภาษา และให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุงแบบสอบถามให้ถูกต้องมีความชัดเจน และสมบูรณ์ขึ้น

6. เมื่อปรับปรุงแบบสอบถามที่นำมาประเมินประสิทธิภาพตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content validity) โดยพิจารณานิยามของตัวแปร ขอบเขต และองค์ประกอบของเนื้อหาที่จะทำการวัด โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องแบบ IOC (Item – Objective Congruence Index : IOC) ในทุกข้อคำถามนั้นเท่ากับ 1.00 หากข้อคำถามที่มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 – 1.00 จัดทำการคัดเลือกไว้ และถ้าข้อคำถามที่มีค่า IOC ต่ำกว่า 0.50 จะต้องทำการพิจารณาปรับปรุงหรือไม่คัดเลือกไว้ (ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพร่ม, 2553, น.181)

7. นำแบบสอบถามที่ได้จากการวิเคราะห์ของผู้เชี่ยวชาญมาแก้ไขปรับปรุงเป็นฉบับที่มีความเที่ยงตรง

8. นำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วให้คณะกรรมการควบคุมสารนิพนธ์พิจารณาแล้วนำไปจัดพิมพ์เป็นแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิค จำนวน 3 คนบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุ จำนวน 48 คน ตอบแบบสอบถาม เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น แล้วนำมาวิเคราะห์ความเชื่อถือ (Reliability) ของแบบสอบถามเป็นรายด้านและโดยรวม

การเก็บรวบรวมข้อมูล

มีวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้

1. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เข้าพบผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเพื่อประเมินผลการทดลอง และตอบแบบประเมินประเมินประสิทธิภาพ ต่อจากนั้นให้บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปีได้ทดลองใช้ และตอบแบบประเมินประสิทธิผล

2. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นระยะเวลา 60 วัน 

3. ตรวจแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินประสิทธิผลในการใช้งานระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

4. วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและประมาณค่าสถิติจากคะแนนจากแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินประสิทธิผลในการใช้งานระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

การวิจัยครั้งนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติดังนี้

1. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้สูตรการคำนวณ ดังนี้

1.1 ค่าเฉลี่ย ใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)

1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สูตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์, 2543, น.137)

2. สถิติค่า IOC ที่ใช้กับผู้เชี่ยวชาญ (ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ลาพรม, 2553, น.181)


สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบ เพื่อหาประสิทธิภาพของระบบ และเพื่อประเมินประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ ที่มีต่อระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ จำนวน 14 คน และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ จำนวน 34 คน รวมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ทั้งสิ้น   48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย

1. ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิด ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ มีประสิทธิภาพมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งแบบสอบถามได้แบ่งประเด็นในการประเมินผลออกเป็น 3 ด้าน คือ ความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล ความเหมาะสมด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น

3. แบบประเมินประสิทธิผลของระบบโดยบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ เรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยแบบประเมินประสิทธิผลของระบบมีลักษณะเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) 5 ระดับ มีประสิทธิผลมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ซึ่งแบบสอบถามได้แบ่งประเด็นในการประเมินผลออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test) ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (Functional Test) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test)    

ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบ ผลการประเมินจากการตอบแบบสอบถามของผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิภาพของระบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.03) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล (= 4.87, S.D. = 0.32) รองลงมาคือ ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ   (= 4.64, S.D. = 0.35) และด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น (= 4.57, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านปรากฏผลดังนี้

1.1 ด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = 0.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความถูกต้องในการวิเคราะห์การศึกษา   ความเป็นไปได้ทางด้านการปฏิบัติงาน (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องของการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความถูกต้องในการวิเคราะห์การศึกษาความเป็นไปได้ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมในการเลือกแนวทางในการพัฒนาระบบ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความถูกต้องของการเขียนแผนภาพกระแสข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความสอดคล้องระหว่างกระบวนการทำงานของระบบกับแผนภาพกระแสข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของข้อมูลที่แสดงในสารสนเทศ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความสอดคล้องของสารสนเทศกับผู้ใช้ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของรูปแบบการบันทึกข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของการออกแบบสารสนเทศ (= 4.33, S.D. = 1.15) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การควบคุมความถูกต้องของข้อมูลในระดับการบันทึกข้อมูลดิบ ( = 4.00, S.D. = 0.00)

1.2 ด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.87, S.D. = 0.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ความเหมาะสมในการเลือกใช้แบบจำลองฐานข้อมูล (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องในการสร้างแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล (ER Diagram) (= 5.00, S.D. = 0.00) ความถูกต้องในการวิเคราะห์ คีย์หลักและคีย์รอง (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแฟ้มข้อมูล (= 4.67, S.D. = 0.58)  และความถูกต้องของการลดปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Normalization) (= 4.67, S.D. = 0.58)

1.3 ด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.57, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า สีพื้นหลังมีความเหมาะสมกับหน้าจอ (= 5.00, S.D. = 0.00) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ รูปแบบตัวอักษรง่ายต่อการอ่าน (= 4.67, S.D. = 0.58) ขนาดตัวอักษรมีความเหมาะสมกับหน้าจอ (= 4.67, S.D. = 0.58) สีของตัวอักษรเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม (= 4.67, S.D. = 0.58) แอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลในขั้นการออกแบบ (= 4.67, S.D. = 0.58) ความเหมาะสมของส่วนต่อประสานระหว่างแอพพลิเคชั่นกับผู้ใช้ระบบ (= 4.33, S.D. = 0.58) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมในการจัดวางองค์ประกอบภายในหน้าจอ (= 4.00, S.D. = 0.00)

2. ผลการศึกษาระดับประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่ตรวจสอบพัสดุ ที่มีต่อระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อพิจารณา   เป็นส่วน ๆ จะปรากฏผลดังนี้

2.1 ประสิทธิผล ด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ (Functional Requirement Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.69, S.D. = 0.04) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความเหมาะสมในการปรับสถานะการตรวจสอบครุภัณฑ์ (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการทำรายการเพิ่มข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ความเหมาะสมในการค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ความเหมาะสมในการลบข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.71, S.D. = 0.46) ความเหมาะสมของการทำรายการแก้ไขข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความเหมาะสมของการแสดงข้อมูลครุภัณฑ์  ( = 4.63, S.D. = 0.49) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ผลลัพธ์สามารถนำไปใช้ในระบบงานอื่น ๆ ได้  ( = 4.44, S.D. = 0.50)

2.2 ประสิทธิผล ด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชั่นงานของระบบ (Functional Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.66, S.D. = 0.06) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ความถูกต้องในการเพิ่มข้อมูลครุภัณฑ์ (= 4.88, S.D. = 0.33) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความถูกต้องในการค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ( = 4.79, S.D. = 0.41) ความถูกต้องในการแก้ไขข้อมูลครุภัณฑ์ภายในระบบ  ( = 4.71, S.D. = 0.46) ความถูกต้องในการจัดเก็บข้อมูลลงฐานข้อมูล ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความถูกต้องในการลบข้อมูลครุภัณฑ์ภายในระบบ ( = 4.54, S.D. = 0.50) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความรวดเร็วในการประมวลผลของระบบ ( = 4.52, S.D. = 0.50) และความน่าเชื่อถือได้ของระบบ (= 4.52, S.D. = 0.50)

2.3 ประสิทธิผล ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ (Usability Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.54, S.D. = 0.09) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมของโปรแกรมโดยภาพรวม (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผล  อยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้ถ้อยคำบนจอภาพสามารถสื่อสารเข้าใจง่าย ( = 4.69, S.D. = 0.47) ความง่ายต่อการใช้งานระบบ ( = 4.63, S.D. = 0.61) ความเหมาะสมของตำแหน่งช่องกรอกข้อมูล ( = 4.54, S.D. = 0.62) ความเหมาะสมของปริมาณข้อมูลที่นำเสนอในแต่ละหน้าจอ ( = 4.54, S.D. = 0.62) ความเป็นมาตรฐานเดียวกันเดียวกันในการออกแบบหน้าจอภาพ ( = 4.48, S.D. = 0.62) ความเหมาะสมในการใช้สีของตัวอักษรบนจอภาพ ( = 4.35, S.D. = 0.48)  ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมในการเลือกใช้ชนิด และขนาดตัวอักษรบนจอภาพ ( = 4.29, S.D. = 0.58)

2.4 ประสิทธิผล ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบ (Security Test) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.78, S.D. = 0.03) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่าความเหมาะสมของระบบรักษาความปลอดภัย (= 4.83, S.D. = 0.38) มีประสิทธิผลอยู่ระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสมของการกำหนดกลุ่มผู้ใช้ระบบ ( = 4.77, S.D. = 0.42) ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ความเหมาะสมการกำหนดรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่านในการตรวจสอบผู้เข้าใช้งานระบบ(= 4.75, S.D. = 0.44)

อภิปรายผลการวิจัย

จากการศึกษางานวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น

  1. ประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สรุปได้ว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ เนื่องมาจากกระบวนการที่นำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ บนระบบเครือข่ายอินทราเน็ต ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านขั้นตอนการดำเนินการหลายขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การรวบรวมความต้องการและศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาปัญหาของระบบ เสนอแนวทางและประเมินแนวทางการแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความเหมาะสมด้านเทคโนโลยี ความเหมาะสมทางด้านปฏิบัติการ ความเหมาะสมด้านการลงทุน จากนั้นจึงเลือกแนวทางที่เหมาะสมที่สุด การวิเคราะห์ระบบงานเดิม การวิเคราะห์ระบบงานใหม่ ศึกษาความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ศึกษาความเหมาะสมด้านการวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล ศึกษาความเหมาะสมด้านการใช้งานแอพพลิเคชั่น ขั้นตอนการออกแบบระบบฐานข้อมูล พัฒนาระบบให้มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้งาน และประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นจึงนำไปทดลองบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี ซึ่งผลการวิจัยมีความสอดคล้องกับงานวิจัยหลายท่าน เช่น ตะวัน  จันทร์เจริญ พลวัฒน์  วุฒิไกรมงคล (2550, น.64) อัจฉรา  ศิลปะอนันต์ (2546, น.65) อำนาจวิทย์  หมู่ศิลป์ (2555, น.50) มีการศึกษาระบบงานเดิม ความต้องการของผู้ใช้งาน ศึกษาเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้อง และนำผลมาประกอบการวิเคราะห์ระบบใหม่ โดยใช้แผนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นเครื่องมือในการออกแบบระบบงาน       สร้างแผนผังความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (ER-Diagram) เพื่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตาราง ใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ โดยเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ปรากฏว่าสามารถช่วยลดเวลา ลดขั้นตอน และเอกสาร ได้มีประสิทธิภาพที่ดี

  นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับผลการวิจัยของ ธนวัฒน์  จงอุษากุล (2553, น.90) ได้ทำวิจัยเรื่อง ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยสนับสนุนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ฝ่ายการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทำการพัฒนาระบบตามกระบวนการพัฒนาระบบ SDLC (System Development Life Cycle)        6 ขั้นตอน ศึกษาระบบฐานข้อมูล (Database System) กิตติศักดิ์  ศรีบุตตะ หทัยรัตน์  พงษ์ศิริศักดิ์ (2551, น.93-94) ได้ทำวิจัยเรื่อง การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด มีการศึกษาระบบงานเดิม รวบรวมความต้องการของผู้ใช้งาน ออกแบบระบบงานใหม่โดยใช้แผนผังการไหลของข้อมูล (Data Flow Diagram) เป็นเครื่องมือในการออกแบบระบบงาน สร้างแผนผังความสัมพันธ์ระหว่างเอ็นทิตี้ (ER-Diagram) และใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ โดยเชื่อมต่อฐานข้อมูล MySQL ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดี

  2. ประสิทธิผล จากบุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุ  ที่มีต่อการใช้ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าผู้ที่ได้ทำการทดลองใช้งานเห็นว่าระบบสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการใช้งาน และนำไปใช้ในการแก้ปัญหาที่เกิดจากการทำงานได้  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ศิกานต์  ประถมบูรณ์ (2549, น.89-90) ระบบสารสนเทศที่พัฒนาได้ตรงความต้องการใช้งาน สามารถทำงานร่วมกันผ่านระบบได้ทันที จะมีประสิทธิผลอยู่ในระดับดีมาก

  ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ให้มีความน่าสนใจในด้าน ต่าง ๆ ดังนี้

  2.1 บุคลากรสำนักคอมพิวเตอร์ และเจ้าหน้าที่สำรวจพัสดุประจำปี ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบสำรวจครุภัณฑ์ สามารถใช้ระบบดังกล่าวในการสำรวจหรือค้นหาครุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบสามารถทำงานบนระบบอินทราเน็ต ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ซึ่งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (PC) คอมพิวเตอร์ชนิดพกพา (Note Book) หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) ที่มีการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจะสามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้ตามสิทธิการเข้าถึงระบบ และสามารถทำการแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูล ได้แก่ สถานะครุภัณฑ์ สถานที่จัดเก็บ การเบิก-ยืม เป็นต้น ให้ข้อมูลมีความถูกต้องให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

  2.2 ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาถูกออกแบบการใช้งานให้สามารถรองรับการทำงานแบบร่วมกัน (Multi User) ในการปรับปรุงข้อมูลครุภัณฑ์ การตรวจสอบ และค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์ ได้เป็นอย่างดี

  2.3 ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สามารถนำข้อมูลจากระบบมาจัดทำรายงานสำหรับผู้บริหาร ได้แก่ รายงานครุภัณฑ์คงคลัง จำแนกตามรายละเอียดครุภัณฑ์ จำแนกตามกลุ่มครุภัณฑ์ จำแนกตามประเภทครุภัณฑ์ สถานะการใช้งาน เป็นต้น สามารถใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

1. การบันทึกข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นกระบวนการทำงานใหม่ที่แทนที่จากการเก็บเอกสารเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ปฏิบัติงานบางคนต้องใช้เวลาในการพิมพ์ และยังไม่เข้าใจในขั้นตอนการทำงาน เห็นควรให้มีการจัดฝึกอบรมและ       ทำความเข้าใจในส่วนคู่มือการใช้งานประกอบเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการทำงานมากยิ่งขึ้น

2. ระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ ของสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ควรคำนึงถึงระบบสำรองข้อมูล เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และเป็นการป้องกันการสูญหายของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

  3. หลังจากระบบมีการใช้งานไประยะหนึ่ง ผู้ดูแลระบบควรมีการสำรวจปัญหา หรือความต้องการใช้งานที่เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการปรับปรุงระบบ หรือการวางแผนการบำรุงรักษาระบบต่อไปในอนาคต

ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

1. ควรมีการใช้โปรแกรมที่ช่วยในการออกรายงานที่มีการจัดเรียงข้อมูลที่มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น และสามารถรายงานได้ในรูปแบบกราฟต่าง ๆ

2. ควรมีฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มเติมเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา หรือตรวจสอบครุภัณฑ์ที่มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น เครื่องอ่านบาร์โค๊ต แบบสองมิติ สามมิติ หรือเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี (Radio Frequency identification)


บรรณานุกรม

กิตติศักดิ์  ศรีบุตตะ หทัยรัตน์  พงษ์ศิริศักดิ์. (2551).*การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ กรณีศึกษา บริษัท ไวร์เออ แอนด์ ไวร์เลส จำกัด. สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ตะวัน  จันทร์เจริญ พลวัฒน์  วุฒิไกร. (2550). การพัฒนาระบบบริหารจัดการครุภัณฑ์ผ่านระบบอินทราเน็ตแบบบริการผ่านเว็บ กรณีศึกษาโรงพยาบาลสุขุมวิท. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธนวัฒน์  จงอุษากุล. (2553).*ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการฐานข้อมูลครุภัณฑ์หน่วยสนับสนุนการใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ฝ่ายการศึกษา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศบัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพร่ม. (2553). พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ศิกานต์  ประถมบูรณ์. (2549). ระบบสารสนเทศเพื่องานครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ กรณีศึกษา สำนักงานศาลปกครอง.โครงงานวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2558). นโยบายการบริหาร และพัฒนามหาวิทยาลัย.       ค้นเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2558. จาก http://www.bsru.in.th/other/historymanagement.html

อัจฉรา**ศิลปอนันต์. (2546).*การพัฒนาระบบงานวัสดุ ครุภัณฑ์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต. สารนิพนธ์วิทยาศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะเทคโนโลยี สารสนเทศบัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อำนาจวิทย์  หมู่ศิลป์. (2555). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ด้วย Quick Response Code กรณีศึกษาสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน. ปัญหาพิเศษวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมาย ทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมาย ทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

The Development Of Computer Assisted Instruction Law And Ethics Of Computer Undergraduate Faculty Of Education Degree At Bansomdejchaopraya Rajabhat University

ณัฐกฤตา แก้วคำ

สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความ พึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จานวน 30 คน ซึ่งคัดเลือกมาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา มีค่าเท่ากับ 82.10/90.33 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กาหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนหลังเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ:บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ประสิทธิภาพ, ผลสัมฤทธิ์, ความพึงพอใจ

Abstract

The purposes of this research were 1) to develop and study the efficiency of computer-assisted instruction on “Computer Ethics and Laws at Higher Education Institutes in Computer Education Program of Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University” 2) to compare students’ learning achievement between before and after using the developed CAI and 3) to study the students’satisfaction towards learning through the developed CAI. The sample included 30 students obtained through sample random sampling. The research instruments were 1) CAI 2) achievement test 3) quality assessment of the CAI and 4) questionnaire. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test.

The findings revealed as follows.

1. The efficiency of the developed CAI measured 82.10/90.33, which was higher than the 80/80 specified criteria.
2. The students’ learning achievement after using the developed CAI was higher at significance level .05.
3. The students’ satisfaction towards learning through the developed CAI was generally found at the high level.

Keyword: CAI, Efficiency, Achievement, Satisfaction


1. บทนำ

   การจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้กาหนดแนวทางการจัดการศึกษาของชาติ ในมาตรา 22 คือ ให้ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ซึ่งถือว่าผู้เรียนมีความสาคัญในการเรียนรู้กระบวนการจัดการศึกษาจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และในมาตรา 24 กาหนดให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ จะต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคานึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทาได้ คิดเป็นและทาเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง (กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ,2542,น.9) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าว จะให้เกิดประสิทธิภาพได้จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) และเทคโนโลยีทางการศึกษามาประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนในการจัดการศึกษา

   การเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้มีการนาเอาเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสนับสนุนทางการศึกษา และมีบทบาทเพิ่มมากขึ้น การนาเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการศึกษาและนามาปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนนั้น ทาให้เกิดสื่อการเรียนการสอนชนิดหนึ่งขึ้นซึ่งเรียกว่า (Computer Assisted Instruction หรือ CAI) ซึ่งเป็นวิธีการเรียนการสอนแบบการจัดโปรแกรม โดยการ ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการในการช่วยเชื่อมโยงเนื้อหาและความรู้ไปสู่ผู้เรียน (วุฒิชัย ประสารสอย ,2543, น .10) การใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อในการนาเสนอเนื้อหา เรื่องราวเพื่อสอนหรือทบทวน การทาแบบฝึกหัด เกมการศึกษา สถานการณ์จาลอง การสาธิต และการทดสอบวัดผล เป็นต้น ซึ่งการเรียนนั้นจะมีการโต้ตอบกันตลอดเวลา ระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง สามารถที่จะแสดงผลลัพธ์ให้กับผู้เรียนได้รับทราบ ทาให้ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ อยากรู้ อันจะส่งผลให้การเรียนรู้เป็นไปด้วยความสนุกสนาน (ยืน ภู่สุวรรณ,2531,น.7)

   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้วิทยาการทางด้านคอมพิวเตอร์ มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และก้าวทันเทคโนโลยีในด้านนี้ จึงถือว่ามีความจาเป็นอย่างมาก ซึ่งสังเกตได้จากการจัดการศึกษาระบบเปิด การเรียนการสอนเป็นรายบุคคลที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และได้เริ่มเข้ามาทดแทนการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ภายใต้การควบคุมคุณภาพทางวิชาการอย่างเป็นระบบทุกขั้นตอน ด้วยการนาเทคโนโลยีที่นาสมัยต่างๆ เข้ามาปรับใช้ เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีด้านการจัดการ ซึ่งจะถูกนามาประยุกต์ใช้การจัดการศึกษามากขึ้น (มนต์ชัย เทียนทอง,2545,น.3)

   รายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Compute) เป็ นวิชาที่มีความสา คัญอย่างหนึ่ง เนื่องจาก ความเข้าใจ เป็ นวิชาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรี ยนมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ความสาคัญทางกฎหมาย จริยธรรม และศีลธรรมในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และการนาความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาชีพเนื่องจากเนื้อหาของรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษานั้น เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับสาคัญๆ ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ซึ่งสามารถสังเกตได้จากการออกกฎหมายฉบับปรับปรุงต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน

   จากเหตุผลที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความสนใจไม่เบื่อหน่ายในการเรียน สามารถทบทวนและทาความเข้าใจในบทเรียนด้วยตนเองได้ทุกเวลา และเป็นสื่อที่สามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ ทาให้ผู้เรียนได้รับแรงเสริมและมีความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น

 

2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.1 เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน

2.3 เพื่อหาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

3. วิธีการดำเนินงาน

การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Computer) รหัสวิชา 1011207 จานวน 151 คน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา (Law and Ethics of Computer) รหัสวิชา 1011207 จานวน 30 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรม และกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

3. แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้แบบ

ประเมินมาตราส่วนแบบประมาณค่าตามวิธีการประมาณค่าของ Likert ซึ่งแบ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ (2531, น.43-98)

4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะ ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาโดยใช้แบบประเมินมาตราส่วนแบบประมาณค่าตามวิธีการประมาณค่าของ Likert ซึ่งแบ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) และมีการวิเคราะห์ของค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้จากแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียน ตามแบบของบุญชม ศรีสะอาด(2535,น.162)

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. กาหนดแบบแผนของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest-Posttest Design (มนต์ชัย เทียนทอง, 2545,น.315)

2. ดำเนินการทดลองใน เดือนเมษายน 2558 โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1) แจ้งกลุ่มตัวอย่างจานวน 30 คน ทราบล่วงหน้าก่อนการทดลอง
2) จัดเตรียมห้องทดลองโดยใช้คอมพิวเตอร์ 30 เครื่อง
3) ผู้วิจัยแนะนาการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และวิธีการเริ่มเรียนบทเรียน วิธีการเรียน การควบคุมบทเรียนลักษณะของ การปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน การนาเข้าสู่เนื้อหาย่อย วิธีการทาแบบทดสอบ และการคิดคะแนน
4) เริ่มการทดลองเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ผู้เรียนทาแบบทดสอบก่อนเรียนจากนั้นเริ่มเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จนจบบทเรียนและให้ผู้เรียนทาแบบทดสอบระหว่างเรียน จนครบทั้ง 3 บท ต่อจากนั้นผู้เรียนทาแบบทดสอบหลังเรียน หลังจากนั้นเป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ
5) ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
6) ผู้วิจัยนาคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบระหว่างเรียนท้ายบททุกหน่วยการเรียนรู้และแบบทดสอบหลังเรียนมาวิเคราะห์หาค่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาโดยใช้สูตร E1/E2
7) ผู้วิจัยนาคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน (Pretest) และคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) มาวิเคราะห์ หาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร T-test
8) ผู้วิจัยนาแบบสอบถามความ พึงพอใจของผู้เรียน มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

 

4. สรุปผลการวิจัย

1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาได้คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน 82.10/90.33 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ ในสถานศึกษา ที่สร้างขึ้นให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น คะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบหลังเรียน มีค่าเท่ากับ 52.45 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 27.42 ทาให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของผู้เรียน 30 คน ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาโดยมีค่าเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 4.13 แสดงว่าผู้เรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

 

5. อภิปรายผล

1. ด้านการหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กาหนดไว้ กล่าวคือ ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ผู้เรียนได้คะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบระหว่างเรียนมีค่าเท่ากับ 82.10 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนด (E1) และคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 90.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กาหนด (E2) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง จริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา คะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียนและหลังเรียนที่ผู้เรียนทาได้มีค่าเท่ากับ 82.10/90.33 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กาหนดไว้ สอดคล้องกับงานวิจัยของไพศาล ภาวสุทธิ (2556,น.80-85) ได้ทาการวิจัย การพัฒนาบทเรียนเว็บบล็อกเรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านประตูน้าพระพิมล อาเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของบทเรียนเว็บบล็อก มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.98/82.84 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้

2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการทดสอบทางสถิติ t-test ปรากฏว่าค่า t-test ที่ได้จากการคานวณมีค่าเท่ากับ 21.96 มีค่ามากกว่า t-test ที่ได้จากตารางอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีค่าเท่ากับ 1.699 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน หลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาจากผลคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 52.45 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของผู้เรียนจากการทาแบบทดสอบก่อนเรียน มีค่าเท่ากับ 27.42 สอดคล้องกับงานวิจัยของมยุลดา ทาสุรินทร์ (2545) ได้ทาการวิจัย เรื่อง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องศิลปะในการจัดแสงผลการวิจัยพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สูงกว่ากลุ่มที่เรียนจากวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

3. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.11 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าเท่ากับ 0.03 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก สอดคล้องกับงานวิจัยของ พนิดา บัวมณี (2549) ได้ทาการวิจัยเรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละอยู่ในระดับดี เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

 

6. ข้อเสนอแนะ

6.1 ข้อเสนอแนะเพื่อการนาผลการวิจัยไปใช้

1.1 ควรมีการใช้ประกอบการเรียนควบคู่ไปกับการสอนของอาจารย์
1.2 การนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา จาเป็นจะต้องมีการอธิบายวิธีการใช้ให้กับผู้เรียนเสียก่อน เพื่อผู้เรียนได้เรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษาได้อย่างถูกต้อง
1.3 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจริยธรรมและกฎหมายทางคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา สามารถนาไปใช้ในการเรียนซ่อมเสริมของผู้เรียนที่มีผลการเรียนอ่อนในรายวิชานี้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีประสิทธิผลทางการเรียนเพิ่มขึ้น หรือใช้เพื่อเป็นการทบทวนความรู้เดิม นอกจากนี้ยังช่วยลดภาระการเรียนการสอนซ่อมเสริมของผู้สอนและช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีอิสระ เหมาะสาหรับผู้เรียนที่เรียนไม่ทัน หรือขาดเรียนสามารถเรียนรู้ได้
1.4 การจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่มีผู้เรียนหลายคน ควรให้ผู้เรียนใช้หูฟังแทนการใช้ลาโพง เพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงที่อาจส่งผลกระทบต่อการเรียนของผู้เรียน อันจะส่งผลให้การเรียนไม่เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

6.2 ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

2.1 ควรพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับรายวิชาอื่น เพื่อใช้เป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
2.2 ควรมีการสร้างหรือพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีทางเลือกหลายทางเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรูปแบบที่ตัวเองต้องการได้ เช่น รูปแบบมัลติมีเดีย รูปแบบที่เน้นข้อความและรูปภาพประกอบแบบบรรยายสด เกมหรือการ์ตูนบรรยาย เนื่องจากผู้เรียนมีความแตกต่างกัน
2.3 เสียงบรรยายอาจปรับเปลี่ยนเป็นรูปแบบอื่นๆตามความเหมาะสม เช่น อาจเปลี่ยนเสียงบรรยายให้มีความน่าสนใจมากขึ้นกว่าเดิม

 

เอกสารอ้างอิง

กนก จันทร์ทอง) .2544 ,มกราคม– เมษายน.( บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน.วารสารวิทยบริการสานักวิทยบริการมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.12(1), 66 -75.

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) .2542 .( พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช2542 ( แก้ไขเพิ่ มเติม2545( . กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กิดานันท์ มลิทอง) .2535 .(เทคโนโลยีการศึกษา ร่วมสมัย .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติมา ปรีดิลก) .2532) .เอกสารประกอบการสอนการบริหารการนิเทศการศึกษาเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

กิติมา มลิทอง) .2540 .(เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม .ก รุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

———-) . 2544). สื่อการสอนและฝึกอบรม:จากสื่อพื้นฐานถึงสื่อดิจิทัล .กรุงเทพฯ :อรุณการพิมพ์.

กังวล เทียนกัณฑ์เทศน์) .2540 .(การวัด การวิเคราะห์ การประเมินผลทางการศึกษาเบื้องต้น . กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

จิรพรรณ พีรวุฒิ) .2542 .(สื่อการเรียนการสอนทาง พยาบาล .กรุงเทพฯ : โอ เอสพริ้นติ้งเฮ้าส์.

ชัยยงค์ พรหมวงค์) .2545) .สื่อการสอนระดับ ประถมศึกษา เล่มที่ 2 หน่วยที่ 8-15. ) พิมพ์ ครั้งที่ 20). นนทบุรี : สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศักดิ์ เพรสคอทท์) .2549 .(สื่อสารศึกษาพัฒนสรร . ชุดการสอนคอมพิวเตอร์ หน่วยที่9. สุโขทัยฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ) .2546) .การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์และบทเรียน บนเครือข่าย .ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม.

ณัฐกร สงคราม .(2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงเดือน สัญญะ. (2555). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกสาหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3สาขาเทคโนโลยีและการ . .สื่อสาร มหาวิทยาลัยนเรศวร

ตวงรัตน์ ศรีวงษ์คล) .2547(. การประเมินผล : เอกสารการสอนวิชาบูรณาการหลักสูตรและ การใช้สื่อ . กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2541). คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถนอมพร เลาหจรัสแสงและคณะ) .2542). คอมพิวเตอร์ช่วยสอน. กรุงเทพฯ : ดวงกมล โพรดักชัน .

———-.) 2545). รูปแบบการเรียนสาหรับการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์กระบวนวิชาภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐานในระดับอุดมศึกษา(งานวิจัย ) .เชียงใหม่ : สา นักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .

———-). 2545). designing e-Learning : หลักการ ออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการ สอน. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทักษิณา สวนานนท์) .2530) .คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

นรารัตน์ วรรธนเศรณี) .2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สาหรับปรับพื้นฐานความรู้ทางคอมพิวเตอร์ . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุญเกื้อ ควรหาเวช) .2543.(นวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพฯ : หจก . เอส อาร์ พริ้นติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด) .2537 .(การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

———-) . 2545 .(การวิจัยเบื้องต้น ) .พิมพ์ครั้งที่7) . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ) .2531). ระเบียบวิธีการ วิจัยทางสังคมศาสตร์ . กรุงเทพฯ :สามเจริญพานิช.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร . (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาณิสรา รจิตรบรรจง).2553). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเสริมแบบจาลองสถานการณ์บนอินเตอร์เน็ตในการปรับพื้นฐาน เรื่อง พื้นฐานวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

พนิดา บัวมณี) .2549). เรื่อง การพัฒนาบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สาหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 .สารนิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระพีระวัฒน์ มมเทศา) .2552). การเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง อริยสัจ 4 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรเทพ เมืองแมน) .2544.( การออกแบบและพัฒนา CAI multimedia ด้วย Auto ware. กรุงเทพฯ :เอช . เอ็น.กรุรป.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์) .2543.( สถิติทางสังคมศาสตร์ . )พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพฯ : วังใหม่บลูพริ้นต์.

ไพศาล ภาวสุทธิ) .2556) .การพัฒนาบทเรียนเว็บบล็อก เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิก สาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้าน ประตูน้าพระพิมล อาเภอบางเลน จังหวัด นครปฐม .การค้นคว้าอิสระ ปริญญาศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร .

ไพโรจน์ ตีรณธนากุลและไพบูลย์ เกียรติโกมล. (2541,พฤษภาคม). “Creating IMMCAI Package,” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. ปีที่ 1.

ภัทรา นิคมานนท์) .2532.( ผลและการสร้างการประเมินแบบทดสอบ .กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.

มนต์ชัย เทียนทอง) .2545 .(การออกแบบและพัฒนาคอร์สแวร์สาหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน .กรุงเทพฯ : ศูนย์ผลิตตาราสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

———-.) 2545(. การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนระบบมัลติมีเดีย สาหรับฝึกอบรมครู –อาจารย์ และนักฝึ กอบรมเรื่องการสร้าง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน .วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฏีีบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มยุลดา ทาสุรินทร์) .2545). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง ศิลปะในการจัดแสง . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง .

มีธี มุงคุณ) .2551) .การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

ยืน ภู่สุวรรณ) .2531. ( การใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน : ไมโครคอมพิวเตอร์ (่บับที่ 36 ) .กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยี ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .

ยุวดี มูลประเสริฐ) .2547 .(การสร้างและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี (เทคโนโลยีสารสนเทศ). กรุงเทพฯ : ม . ป.พ.

ยุภาพร พรมวารี. (2550). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4คณะศึกษาศาสตร์ . .มหาวิทยาลัยรามคาแหง

———-. ) 2554 .(การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ ) . พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ :ศูนย์ผลิตตาราสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รัตนะ บัวสนธ์ .(2544). การวิจัยและพัฒนาการศึกษา . ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ลดาวัลย์ สวัสดิ์หลง) .2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเว็บด้วยการเรียนรู้ แบบโครงงานเพื่อการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าพระนครเหนือ . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ .

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ) .2539.( เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วลัยรัตน์ หลาริ้ว และคณะ) .2552 .(การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การคานวณทางไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 . การศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเอง มหาวิทยาลัยณเรศวร.

วารินทร์ รัศมีพรหม .(2542) .การออกแบบและพัฒนาระบบการสอน . ภาควิชาเทคโนโลยี ทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ ประสานมิตร.

วาโร เพ็งสวัสดิ์ .(2551). วิธีวิทยาการวิจัย .กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.

วิทยากร เชียงกูล) .2545 ,กุมภาพันธ์). ปฏิรูปการศึกษา อย่างไร .วารสารมิตรครู, 1(2),16-18.

วีระ ไทยพาณิช ) .ม.ป.ป.(.บทบาทและปัญญาของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน , รวบรวมบทความเทคโนโลยีทางการศึกษา .ศูนย์เทคโนโลยี ทางการศึกษา กรมการศึกษานอกโรงเรียน .

วุฒิชัย ประสารสอย. (2543). บทเรียนคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน : นวัตกรรมเพื่อการศึกษา .กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วน จำกัดวี. เจ.พริ้นติ้ง.

ศิริณา จิตต์จรัส) .2542 .(การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง สัตว์ป่าและการอนุรักษ์สัตว์ป่า รายงานการวิจัย กลุ่มการวิจัยและพัฒนา สานักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม .เขตการศึกษา1.

สานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ . พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ .ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (่บับที่ 2 ) พ.ศ.2545        .กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

สมศักดิ์ คงเที่ยง และอัญชลี โพธิ์ทอง) .2542.( การบริหารบุคคลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ .กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

อัญญรัตน์ นาเมือง) .2553 ,พฤษภาคม-สิงหาคม ). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย .วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ,2(2) , 112 –121.

อรนุช ลิมตศิริ) .2546) .นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน .กรุงเทพฯ : สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

อรพันธุ์ ประสิทธิรัตน์) .2530 .(คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน . กรุงเทพฯ : คราฟแมนเพรส.

อริสรา ว่องสวัสดิ์ภักดี) .2546.( บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น . วิทยานิพนธ์ ปริญญาครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าคุณทหาร ลาดกระบัง .

อรุณี อ่อนสวัสดิ์) .2551(. ระเบียบวิธีวิจัย ) . พิมพ์ครั้งที่1 .(พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Anderson, R.C.& Pearson, D.D.)1984(. A Schema-theoretic view of basic

Process in reading comprehension.In David Peason and Other (eds.).Handbook of reading Research. New York : Lonyman.

Applewhite, Phillp B. (1965). Organization Behavior : New York : Prentice – Hall.

Gagne R,H. (1970). The Condition of Learning. Holt, New York : Rinehart and Winston Inc.

Good, Cater. (1973). Dictionary of Education : New York : McGraw-Hall.

Hall,K.A. (1982). Computer-Based Education ,Encyclopedia of Education Research. New York : Harold E.M.

Hannafin, M.J. and Peck, K.L. (1988).The Design Development and Evaluation of Instructional Software. New York : Macmillan.

Herzberg, Federick. (1959). The Motivation to Work. New York : John Wiley and Sons.Inc.

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านจำนวน ความสามารถด้านเชาวน์ปัญญากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถด้านจำนวน ความสามารถด้านเชาวน์ปัญญา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เศษส่วนของพหุนาม

(Relationships between Numerical Ability, Intelligence Ability and the Fractional Polynomial Learning Achievement)

 


 

กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ

 

 

จำนวนแบบออยเลอร์

 

จำนวนแบบออยเลอร์ (Eulerian Numbers)

 


 

กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กรุงเทพฯ

 

185-3.รศ.กำจร