4. แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาภาษาไทย

4.1 ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจกำหนดรูปแบบของแบบสอบถามเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ตามแบบของลิเคอร์ท (Likert) มีเกณฑ์ดังนี้

ระดับ 5 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง พึงพอใจมาก
ระดับ 3 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง พึงพอใจน้อย
ระดับ 1 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด

การวิเคราะห์ของค่าเฉลี่ยเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้จากแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ตามแบบของบุญชม ศรีสะอาด ( 2535,.162) มีเกณฑ์ดังนี้

4.51 – 5.00 หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด
3.51 – 4.50 หมายถึง พึงพอใจมาก
2.51 – 3.50 หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
1.51 – 2.50 หมายถึง พึงพอใจน้อย
1.00 – 1.50 หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด

4.2 ร่างแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน โดยมีเกณฑ์การประเมิน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหาและการดำเนินเรื่อง ด้านภาพ ภาษา และเสียง ด้านตัวอักษรและสี ด้านแบบทดสอบ และด้านการจัดการบทเรียน

4.3 นำแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ โดยพิจารณาความเหมาะสมของการเขียนข้อคำถามความครอบคลุมของเนื้อหา สิ่งที่ต้องการวัด ใช้ แล้วนำไปแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องตามที่ได้รับคำแนะนำ

4.4 พิมพ์แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนฉบับสมบูรณ์เพื่อนำไปใช้สอบถามความพึงพอใจสำหรับผู้เรียน