2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

2.1 ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ประเภทพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย หรือจิตพิสัย

2.2 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับร่าง เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก แบบทดสอบทั้งหมดที่ร่างมีจำนวน 30 ข้อ

2.3 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับร่างเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาเพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำมาหาความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยใช้สูตรหาค่าความสอดคล้อง IOC ซึ่งต้องมีค่าตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปกรณีที่แบบทดสอบ บางข้อมีค่าต่ำว่า 0.5 จะทำการปรับเปลี่ยนตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เกณฑ์คัดเลือกตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป กำหนดค่าคะแนนให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่านดังนี้

+1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อสอบวัดได้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อสอบวัดได้ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้
– 1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อสอบวัดได้ไม่ตรงกับจุดประสงค์การเรียนรู้

2.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผ่านการประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญ ไปทดลองใช้ (Try-out) กับผู้เรียนที่เคยเรียนวิชาภาษาไทย

2.5 นำผลการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมาวิเคราะห์หาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนก แล้วคัดเลือกข้อสอบที่มีระดับค่าความยากง่าย 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป จำนวน 30 ข้อ จากการวิเคราะห์พบว่า แบบทดสอบมีค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.54-0.69 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.38-069

2.6 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ไปคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder – Richardson จากการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น จำนวน 30 ข้อ มีค่าเท่ากับ 0.90 แสดงว่าคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบนี้เชื่อถือได้

2.7 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ใช้ได้ ไปใช้ในเครื่องมือบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่สร้างขึ้น เพื่อใช้ทดสอบหาประสิทธิภาพของเครื่องมือต่อไป