Category Archives: วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้น เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง

ชื่อผลงานทางวิชาการ :พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาการจัดการข้อมูลเบื้องต้นเรื่อง  การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์เเอกเซส  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมวัดดาวคนอง

ประเภทผลงานทางวิชาการ  : งานวิจัย

ปีที่ทำวิจัย : ๒๕๕๑

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ปราณี  วิศวพิพัฒน์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง การสร้างฟอร์มโดยใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์แอกเซส   มีการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนมัธยมศึกษาวัดดาวคนอง  ใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓  จำนวน  ๓๕  คน  ปรากฏประสิทธิภาพของบทเรียนอยู่ในระดับ  ๘๑ .๓๓ / ๘๓.๘๙  สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ๘๐ / ๘๐   สรุปได้ว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

       งานวิจัยมีความละเอียดละออและดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการวิจัยอย่างชัดเจน  สามารถศึกษาเพิ่มเติมในรายละเอียดได้ที่  Web-Online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร    MST : คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ : การสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด

ชื่อผู้เขียน นางสาวประทินพร  วงษ์วรรณ์

ชื่อปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชา :   เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีการศึกษา :   2554

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

       1. รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์เรศ  ประกอบผล ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร. อำนวย  เดชชัยศรี กรรมการ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี. แมทเทรสจำกัด ที่มีประสิทธิภาพและเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานขายของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด จำนวน 30 คน

       เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม(มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.67)ดำเนินการทดลองโดยใช้กลุ่มทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่ออบรมจบให้ผู้รับการอบรมทำแบบทดสอบหลังอบรม  แล้วจึงนำผลการทดลองไปวิเคราะห์ต่อไป

       ผลการศึกษาวิจัยปรากฏว่าชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83/81 และคะแนนหลังจากการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01

       โดยสรุป การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ทำให้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องระบบขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้เป็นอย่างดีจึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ในหลายๆรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการฝึกอบรมในชุดฝึกอบรมต่างๆให้มากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

บทนำ

       ถ้าเปรียบองค์กรหรือบริษัทหนึ่งๆ เป็นเสมือนเครื่องชิ้นใหญ่ พนักงานทุกคนในบริษัทก็คงเปรียบเสมือนกลไกทุกๆชิ้น ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์กร หรือบริษัทนั้นๆ กลไกแต่ละชิ้นส่วนมีส่วนทำให้เครื่องจักรนั้นทำงานได้ราบรื่นมีประสิทธิภาพหากกลไกชิ้นใดขัดข้องมีปัญหาการทำงานของเครื่องจักรก็จะมีปัญหาหยุดชะงักได้เช่นเดียวกับบริษัทหากพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีปัญหาที่ไม่เข้าใจในบริษัทแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นกับการทำงานเช่นไม่มีความสุขที่จะทำงานซึ่งจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ไม่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทไม่รักในองค์กร ขาดความรู้ ทักษะ และเจตคติอันเหมาะสมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาต. (2531:1) ได้กล่าวไว้ว่าหนทางหนึ่งที่จะแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานให้มีประสิทธิภาพคือ การฝึกอบรม พัฒนาบุคคล

       เสนาะ ติเยาว์และคณะ. (2534:108-109) ได้สรุปถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมคือ ทำให้ผลผลิตในการทำงานสูงขึ้นสามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานเพิ่มขวัญของพนักงานและทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพนักงานทำให้ได้รับความรู้ความสามารถจากการฝึกอบรมด้วย

       ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ.(2539:1)ได้กล่าวว่าความสำเร็จในการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐและเอกชนขึ้นอยู่กับความมีคุณภาพและคุณธรรมของคนในสำนักงาน ดังนั้นคนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐและเอกชนจึงได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ คนนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน่วยงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในการพัฒนาคนนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการที่ได้รับความนิยมสูงสุดวิธีหนึ่งรองจากการให้การศึกษาได้แก่การฝึกอบรม เพราะการฝึกอบรมเป็นกระบวนการบริหารงานบุคคลอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยให้องค์กรเพิ่มพูนประสิทธิภาพและผลสำเร็จในการดำเนินงาน นอกจากนี้การฝึกอบรมยังเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาบุคคลซึ่งมีวิธีการเฉพาะของตนเอง เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539:7) ซึ่งสอดคล้องกับ เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2536: 4) ได้กล่าวไว้ว่า ในการพัฒนาบุคคลในองค์กรไม่ว่าจะโดยแนวทางการพัฒนาการจัดการหรือการพัฒนาองค์กรก็ตามได้มีการนำการฝึกอบรมมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการพัฒนา

       เพราะการฝึกอบรมนั้นมีลักษณะเน้นเฉพาะ (Specific) และเห็นผลในระยะสั้น ซึ่งสามารถรับใช้องค์กรได้อย่างดี เพราะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดการฝึกกอบรมควรจะกระทำควบคู่ไปกับการทำงานของบุคคลซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการบริหารงานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพของบุคคล ในหน่วยงานหลายแห่งได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมถึงกับตั้งหน่วยฝึกอบรมขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ฝึกอบรมให้แก่คนในองค์กร และมีแนวโน้มว่าการฝึกอบรมจะพัฒนาอีกต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเป็นวิถีทางหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานในปัจจุบันได้ อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่องานในอนาคตอีกด้วย เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539:3)

       ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันรวมทั้งนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของสื่อการศึกษาประเภทต่างๆโดยเป็นตัวการในการนำความรู้ ความเข้าใจไปสู่ผู้รับการอบรมและผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนที่ใช้สื่อมาสอนประกอบมีความหมายมากขึ้นเพราะเป็นสื่อการสอนช่วยจัดประสบการณ์ ให้แก่ผู้เรียนและผู้เข้าฝึกอบรมได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปแล้ว ทั้งนี้เพราะสื่อคือตัวกลางตัวที่จะนำสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด นิพนธ์ สุขปรีดี. (2537: 23)

       พิชัย  ทองดีเลิศ. (2547: 3) ได้กล่าวไว้ว่าในการฝึกอบรมมนุษย์พยายามคิดค้นหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายมากที่สุด แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ที่สำคัญก็คือ การบรรยายถึงวัตถุสิ่งของหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมด้วยคำพูดที่เป็นนามธรรม วิทยากรหรือนักฝึกอบรมมักใช้การพูดการบรรยายมากกว่าวิธีอื่นการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่สามารถได้เห็นภาพสิ่งที่ได้เห็น ไม่ได้ยินเสียงตามความเป็นจริง ไม่ได้เห็นสีตามธรรมชาติ หรือไม่เห็นการทำงานหรือการเคลื่อนไหวของสิ่งที่กำลังพูดถึง ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟังแตกต่างกันออกไปตามความเข้าใจของแต่ละคนอุปสรรคเหล่านี้ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องคิดค้นวิธีการและหาทางพิชิตอุปสรรคดังกล่าว ด้วยเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆที่จะช่วยให้การบรรยายมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นสร้างความเข้าใจในสิ่งที่พูดถึงได้ตรงกัน ได้เห็นภาพ สี ที่เหมือนของจริง ขนาดการทำงาน การเคลื่อนไหว และการได้ยินเช่นเดียวกับ กิดานันท์ มลิทอง. (2536:186) ซึ่งกล่าวไว้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงดั้งนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการฝึกอบรมเพราะทำไห้เกิดกาปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมยังมีความสามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เข้ารับการอบรมป้อนเข้าไปทันทีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมจึงเริ่มกว้างขวางและแพร่หลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรธุรกิจเอกชนต่างๆ ซึ่งได้ให้ความสนใจและนำคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม พนักงานในหน่วยงานของตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพแก่กิจการและเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะทำให้บุคลากรมีคุณภาพและใฝ่หาความรู้ได้ด้วยตนเองสำหรับสาเหตุนี้คอมพิวเตอร์จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้กันมากในปัจจุบันก็เนื่องจากศักยภาพของคอมพิวเตอร์ที่เหนือกว่าสื่อประเภทอื่นความจริงในปัจจุบันก็มีสื่อหลายหลายชนิดที่สามารถให้ผลกรเรียนรู้ที่ดีเช่น สิ่งพิมพ์ สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์หรือวีดิทัศน์ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีสีสันเหมือนจริง สามารถทำเทคนิคพิเศษได้มากมายและยังมีเสียงประกอบด้วยแต่ข้อเด่นของคอมพิวเตอร์ที่เหนือสิ่งอื่นๆ ก็คือ การที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับบทเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเรียนที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ได้มากเท่าไรเป็นที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้บทเรียนนั้นสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเท่านั้น และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเท่านั้น

       พรเทพ  เมืองแมน.( 2544: 17) ในการสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม Computer Based Training(CBT) นอกจากโปรแกรมต่างๆ ที่จะเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีคำสั่งต่างๆ อีกมากที่เป็นส่วนประกอบ

       แต่การสร้างภาพและตัวอักษรย่อมจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งทุกๆส่วนถ้าได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเสริม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกศึกษาจากเนื้อหาและทำแบบฝึกหัดได้ตามความต้องการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น ทั้งยังจะได้รับความเพลิดเพลินจากเนื้อหาและภาพประกอบที่ได้นำเสนอและในบทเรียนผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถศึกษาจากจอภาพได้นาน จนกว่าจะตอบสนองตามที่ได้กำหนดไว้ อาทิเช่นกดแป้นใดแป้นหนึ่งหรือผู้สร้างชุดฝึกอบรมอาจกำหนดระยะเวลาในการแสดงภาพแต่ละภาพให้แตกต่างกันได้หรือในรูปแบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมแบบทดสอบก็ยังเป็นอีกบทเรียนที่จะสามารถเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับอบรมให้ได้รับความก้าวหน้าของตนเองโดยดูได้จากผลรวมของคะแนนที่ได้อีกด้วย

       ทัศนีย์ ชื่นบาน. (2540: 31)ดังนั้น ในสภาวการณ์เช่นนี้การฝึกอบรมจึงทวีความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานขายประจำห้างสรรพสินค้า และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศในการให้ข้อมูลด้านการขายกับลูกค้า ซึ่งวารินทร์ สินสูงสุด และวันทิพย์ สินสูงสุด. (2548: 9) ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าดังวลีที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้าดังนั้นเป้าประสงค์ของธุรกิจก็คือ สร้างสรรค์และรักษาลูกค้าเพราะธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจะต้องทำการเอื้ออำนวยนั้นวางไว้ตรงการบริการที่ดี ธุรกิจที่ดีต้องมีสินค้าดี และที่ยิ่งกว่านั้นคือการบริการด้านการขายที่ดี ด้วยบริการด้านการขายที่ดีธุรกิจสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุด

       เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของพนักงานฝ่ายขาย ก่อนการลงปฎิบัติงานในพื้นที่ขาย และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการฝึกอบรม ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขาย ดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยได้พิจารณาถึงความสำคัญในการเลือกวิธีฝึกอบรม จึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสร้างชุดฝึกอบรมเรื่อง ประวัติความเป็นมา โครงสร้างการบริหาร ลำดับการบังคับบัญชา ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายขาย และแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรสจำกัด เป็นชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ Computer Based Trainingเพื่อนำเสนอแทนการฉายสไลด์แบบเดิมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์สื่อการฝึกอบรมที่ใหม่ ทันสมัย สะดวก สามารถแก้ไขปรับปรุง และเก็บรักษาได้ง่ายพร้อมทั้งปรับปรุง การนำเสนอเรื่องประวัติความเป็นมา ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายขาย และแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด ให้ทันเหตุการณ์ในปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นและนำชุดฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้อบรมพนักงานฝ่ายขายของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด พร้อมทั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาชุดฝึกอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมอื่นๆ ต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       1.เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด80/80
       2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรมและหลังการอบรมของพนักงานฝ่ายขาย ที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

ขอบเขตของการวิจัย

       การวิจัยครั้งนี้เป็นทดลองหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

       1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

            1.1 ประชากร(Population)ในการวิจัยนี้ครั้งนี้คือ พนักงานฝ่ายขาย ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด ซึ่งเข้าทำงานเดือนระหว่างสิงหาคมธันวาคม2554 จำนวน60คน
            1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่พนักงานฝ่ายขาย ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของ บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน

       2. ตัวแปรที่ศึกษา

            2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด
            2.2 ตัวแปรตาม
                  2.2.1.ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด
                  2.2.2.ผลสัมฤทธิ์ก่อนอบรมและหลังอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด

       3.ระยะเวลาในการวิจัย

       ดำเนินการวิจัยภาคสนามตั้งแต่เดือน สิงหาคมธันวาคม 2554 ณ บริษัท ซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

สมมุติฐานของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานการวิจัยไว้ดังนี้

              1.ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด มีประสิทธิภาพและความสามารถในการอบรมพนักงานฝ่ายขาย ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80
              2.
คะแนนหลังการอบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

       ผู้วิจัยได้รับประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ คือ

       1. ได้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด สำหรับพนักงานฝ่ายขาย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
       2.ผลการวิจัยทำให้ทราบว่า จะสามารถใช้ชุดฝึกอบรมได้บ่อยครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องรอพนักงาน
       3.ลดภาระการเตรียมการในการอบรมช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ให้การอบรมและประหยัดเวลาในการอบรม
       4.ประหยัดงบประมาณในด้านการอบรมไม่ว่าจะเป็นการจ้างบุคลากรและการจัดอบรม เพราะพนักงานสามารถศึกษาจากชุดฝึกอบรมได้ด้วยตนเอง
       5.เป็นแนวทางในการพัฒนาชุดฝึกอบรมของหลักสูตรอื่นๆซึ่งเป็นการขยายงานด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

       1.ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ Computer Based Training เรื่องระบบการขายเบื้องต้น  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด
2.
แบบทดสอบผลความก้าวหน้าในการฝึกอบรม(แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม)
       3. แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

       สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

       การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิจัยดังนี้

       1.  สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)

       2.  สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ

          2.1  หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเอบรม โดยใช้สูตรค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2535:60)
2.2  การหาค่าความยาก (Difficulty) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 84)
2.3  หาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2543 : 81)
2.4  การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น (Reliability)  ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder – Richardson) (บุญชม ศรีสะอาด 2543 : 85-86)

       3.  สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานของคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมและหลังอบรม ใช้สูตร t-test (Dependent Samples) (บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 112)

       4.  การหาประสิทธิภาพของบทุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร  E1/E2 ใช้สถิติ(มนต์ชัย  เทียนทอง.2543 : 225)

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

       ผลการวิเคราะห์หาคุณภาพชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ 

คุณภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด พบว่าภาพรวมคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี (x =4.13) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้   ความถูกต้องของเนื้อหา   ความเหมาะสมของสีตัวอักษร และสีกราฟิก  อยู่ในระดับดีมาก  ส่วนข้ออื่นๆ อยู่ในระดับดี จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านเนื้อหาและด้านการผลิตสื่อ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีซึ่งสรุปได้ว่า ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของ บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัดมีคุณภาพตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แสดงว่าชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพระดับดีสามารถนำไปใช้ในการอบรมได้

 

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์

       1.หลังจากหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมแล้วผู้วิจัยได้นำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ไปทดลองรายบุคคลกับอบรม 3 คน คน ในที่นี้ใช้ผู้อบรมที่ไม่ใช่ที่บริษัทที่ไม่ใช่กลุ่มประชากร โดยอบรมพร้อมกัน 1 คนต่อหนึ่งเครื่อง ในระหว่างการทดลองผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อหาข้อบกพร่องของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์โดยสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดและสัมภาษณ์ผู้อบรมซึ่งพบปัญหาที่ต้องปรับปรุงคือ เนื้อหาไม่ตรงประเด็นกับเนื้อเรื่อง สีตัวอักษรอ่อนเกินไปมองชัดเจน สีของพื้นหลังสด เกินไป การเฉลยข้อแบบฝึกหัดบางข้อไม่ตรงกับข้อถูก ผลของการทดลองกับกลุ่มทดลองกลุ่มย่อย ผู้อบรมจำนวน 15 คน หลังจากที่นำไปปรับปรุงจากการทดลองครั้งที่ 1 ผู้วิจัยนำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์แบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่ 1 ไปทดลองใช้กับผู้อบรม ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน โดยอบรมพร้อมกัน 1 คนต่อหนึ่งเครื่อง  ให้ผู้อบรมอบรมชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ละเรื่อง เริ่มตั้งแต่หน่วยที่ 1 โดยให้ผู้อบรมอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจนจบเนื้อหาในหน่วยที่1หลังจากนั้นจึงเริ่มหน่วยต่อไปจนครบ 4 หน่วย โดยอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรมจนจบสังเกตและสอบถามผลการใช้อบรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาข้อบกพร่องระหว่างทดลอง จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข และนำคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างอบรมและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังอบรมไปวิเคราะห์หาแนวโน้มของประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

       จากการทดลองครั้งที่ 2 พบว่า มีค่าเป็น 74/71 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าประสิทธิภาพ ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งพบปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้

       1. ปรับปรุงภาพประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหามากขึ้น
       2. เปลี่ยนแปลงภาพเคลื่อนไหวให้เคลื่อนไหวช้าลง
       3. ปรับจังหวะการบรรยายให้ช้าลง เพิ่มคำบรรยายบางส่วนลงไปเมื่อจบแต่ละตอน

       ผลการทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ จากการทดลองกับผู้อบรมเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์โดยพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ต่ำกว่า 80/80 พบว่าได้ 83/81 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีประสิทธิภาพ

 

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอบรมก่อนอบรมกับหลังอบรม

       ผู้วิจัยนำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน  ซึ่งเป็นพนักงานขายของ บริษัทซี.แอล.บี แมทเทรส จำกัด แบบ 1 คน ต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องโดยให้ผู้รับการอบรมทำแบบทดสอบก่อนอบรมจากนั้นให้ผู้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เริ่มอบรมตั้งแต่หน่วยที่1โดยให้ผู้รับการอบรมอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรมจนจบเนื้อหาในหน่วยที่ 1 จึงเริ่มเรื่องต่อไปจนครบ 4 หน่วย หลังจากนั้นให้ผู้อบรมทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังอบรม และนำผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมของผู้อบรมที่อบรมด้วยคอมพิวเตอร์กับผู้อบรมที่อบรมแบบปกติโดยใช้สถิติ t-test  พบว่าผลสัมฤทธิ์การอบรมของผู้รับการอบรมที่อบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องการระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

       ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมระหว่างการทดลองพบว่า   ผู้รับการอบรมที่อบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสนใจและตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้จากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้รับการอบรมสามารถทบทวนชุดฝึกอบรมได้ทันที    เมื่อมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย   ผู้รับการอบรมสามารถย้อนกลับมาศึกษาเนื้อหาได้ใหม่   อีกทั้งผู้รับการอบรมยังทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอบรมเพื่อประเมินผลการอบรม   ทำให้ผู้รับการอบรมมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจในชุดฝึกอบรมเพิ่มเติม   ทำให้ผู้รับการอบรมไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ  ช่วยให้ผู้รับการอบรมตั้งใจทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากยิ่งขึ้น  ส่งผลให้การอบรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

ผลการวิจัย

จากการทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

       1.  ได้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ที่มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพ 83/81
       2.  ผลสัมฤทธิ์การอบรมของผู้รับการอบรมก่อนอบรมและหลังอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

อภิปรายผล

       การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ผู้วิจัยมีประเด็น  อภิปรายจากผลการวิจัย   ดังนี้

       1.  ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพ 83/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549)  ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนการผลิตชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  เริ่มจากผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาผลิตโดยการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หน่วย ตามลำดับความรู้   กำหนดจุดประสงค์ของการอบรมในแต่ละหน่วย  ทำการเขียนชุดฝึกอบรมและออกแบบลักษณะการดำเนินเรื่องของแต่ละบท   จากนั้นดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ   เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้ว  จึงนำไปทดลองตามขั้นตอน   เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ คือ  การทดลองครั้งที่  1   กับผู้อบรม ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน โดยเรียนพร้อมกัน 1 คนต่อ1เครื่อง ซึ่งผู้รับการอบรมมีความพอใจและสนใจเป็นอย่างดีในการทดลองครั้งที่  ทดลองกับผู้อบรม   จำนวน  15   คนเพื่อหาแนวโน้มของประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ได้ 74/71ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549) ชุดฝึกอบรมนี้ สร้างขึ้นตามกระบวนการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์งาน  วิเคราะห์หัวข้อการฝึกอบรม  สร้างหลักสูตร การฝึกอบรม  สร้างเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการฝึกอบรม  คู่มือการ ฝึกอบรม โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบ ทดสอบ  วิเคราะห์ความเหมาะสม  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จากนั้นนำไปทดลองใช้ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาปัญหาพบว่า   ปัญหาเกิดจาก สีของพื้นหลังและตัวอักษรในชุดฝึกอบรมยังไม่ค่อยชัดเจน ภาพเคลื่อนไหวเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และการบรรยายเร็วเกินไป ผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงบทบรรยายและภาพประกอบให้มีความชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น จากนั้นทำการทดลองครั้งที่  กับนักเรียนจำนวน  30 คน   ซึ่งได้ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  83/81 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพัชรีพรรณ ก้องสมุทร (2541) ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง   ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.83/82.66

       2.ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุรพล บุญลือ (2540) ได้ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  พบว่าผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม หลังการอบรมของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการอบรม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  เป็นการอบรมที่สอดคล้องกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล   ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ช้าเร็วแตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ  ชนะ  ภูมิประเสริฐ  (2547)  ดังนั้น  ชุดฝึกอบรมนี้จะช่วยให้ผู้รับการอบรมรู้สึกพอใจ  และไม่เกิดความกดดันขณะอบรมเมื่ออบรมไม่ทันผู้อื่น   ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในขณะที่อบรม   ส่งผลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้รับการอบรมมีความกระตือรือร้นในการอบรม  และให้ความสนใจในชุดฝึกอบรมเป็นพิเศษ  เนื่องจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยการออกแบบหน้าจอ  เสียงบรรยาย  ภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว   ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตระหว่างการทดลองพบว่า   ผู้อบรมที่อบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสนใจและตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้จากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้รับการอบรมสามารถทบทวนชุดฝึกอบรมได้ทันที    เมื่อมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย   ผู้รับการอบรมสามารถย้อนกลับมาศึกษาเนื้อหาได้ใหม่   อีกทั้งผู้รับการอบรมยังทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอบรมเพื่อประเมินผลการอบรม   ทำให้ผู้รับการอบรมมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจในชุดฝึกอบรมเพิ่มเติม   ทำให้ผู้รับการอบรมไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ  ช่วยให้ผู้รับการอบรมตั้งใจทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากยิ่งขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป

       1.  การอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ให้การอบรมต้องคำนึงถึงทักษะการใช้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้รับการอบรม เพราะผู้รับการอบรมบางคนตื่นเต้น และมีความรู้ทักษะคอมพิวเตอร์น้อย   ผู้รับการอบรมและผู้ให้การอบรมต้องคอยสังเกตว่าผู้รับการอบรมคนใดที่มีการเรียนรู้ได้ช้า ต้องคอยช่วยเหลือเป็นพิเศษ
       2. ในการผลิตชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ให้การอบรมควรศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ   เพิ่มเติมเพื่อใช้สนับสนุนการสร้างสรรค์ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
       3.ผู้ให้การอบรมควรส่งเสริมให้ผู้รับการอบรมได้การทบทวน หรือศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้มีการทบทวนความรู้อยู่เสมอ
       4.ผู้ให้การอบรมต้องจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์ การสร้างสื่อการอบรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจให้กับผู้รับการอบรม

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

       1.  ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมในเนื้อหาอื่นๆและฝ่ายอื่นต่อไป
       2.  ควรศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์การอบรมแบบปกติ

 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ชีวิตและครอบครัว  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔  สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พันจ่าตรี  ศุภกร    ทิมเขียว      ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ชีวิตและครอบครัว  กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา  ชั้นประถมศึกษาที่ ๔  มีประสิทธิภาพในระดับ  ๘๕.๕๐ / ๘๙.๓๓           สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ๘๐ / ๘๐ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑

รายละเอียดของงานวิจัยสามารถค้นคว้าได้จาก web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย  เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT: วิทย์/คณิต/เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ 70 สำนักงานเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัยเครือข่ายโรงเรียนที่ ๗๐  สำนักงานเขตคลองสาน  กรุงเทพมหานคร

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ พุทธชาติ    เล็กมีมงคล  ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก  สำหรับเด็กปฐมวัย  มีประสิทธิภาพระดับ  ๘๖.๖๗ / ๘๓.๒๐ สูงกว่ามาตรฐาน ๘๐ / ๘๐      สำหรับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑     ต้องการทราบรายละเอียดสามารถติดตามได้ที่WEB-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จจเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT:  วิทย์ / คณิต / เทคโน

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง พระรัตนตรัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สำนักงานเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร มัธยมศึกษา เขต 1

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องพระรัตนตรัยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  โรงเรียนทวีธาภิเศก

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : พงษ์สร  จันลิ้ม  ครุศาสตรมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้   ๘๐.๒๖ /๘๒.๕๖   ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑สามารถติดตามรายละเอียดใน web-online ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จจเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี    บรรณากร   MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3 เขตคลองสาน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๕  กลุ่มโรงเรียนประถมศึกษา   สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน    เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๓  คลองสาน

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่ทำวิจัย : ๒๕๕๕

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : นฤมล  คงกำเหนิด  ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี   สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ผลการวิจัยพบว่า

       ๑. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าวมีประสิทธิภาพเกินกว่ามาตรฐานกำหนดอยู่ในระดับ  ๘๒ / ๘๑

       ๒. วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเรียนจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  พบว่าผลสัมฤทธ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ . ๐๑   

รายละเอียดติดตามได้จากผลงานวิจัยที่เผยแพร่ทาง 0n-line ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ร.ศ.ดร.อำนวย  เดชชัยศรี   บรรณากร   

SMT: วิทย์ / คณิต / เทคโนโลยี

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

อนุกรมเลข – เรขาคณิตที่วางนัยทั่วไป

(Generalized Arithmetic – Geometric Series)


กำจร มุณีแก้ว

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

สรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ  การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  ๕ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

ประเภทผลงานทางวิชาการ  งานวิจัย

ปีที่พิมพ์  ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ   รุจิพันธุ์  โรจนานนท์   มหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ผลการวิจัยพบว่า   ประสิทธิภาพโดยรวมของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕  โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล  มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ ๙๑.๖๐ / ๘๙.๓๐   ในกระบวนการของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ออกแบบเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นสำคัญ  และสามารถทบทวนเนื้อหาได้โดยอิสระตลอดทั้งมีสิ่งจูงใจอยู่ในบทเรียนเช่น เนื้อหากระชับ   เสียงดนตรี   คำบรรยาย ภาพประกอบ  เหมาะกับวัยผู้เรียนไม่ทำให้เบื่อหน่าย เข้าใจง่าย รายละเอียดค้นคว้าได้จาก web-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

รศ.ดร.อำนวย    เดชชัยศรี  บรรณากร     MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี


บทนำบทที่ 1บทที่ 2บทที่ 3บทที่ 4บทที่ 5บรรณานุกรมภาคผนวก ขภาคผนวก คไฟล์ประกอบ

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล

 

รุจิพันธุ์  โรจนานนท์  *

 

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80(2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่( 1)บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องการเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(3) แบบประเมินคุณภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงมาตรฐานและ t-test for Dependent  Sample

ผลการวิจัยพบว่าผลการทดลองหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวม พบว่า มีค่าเป็น 90.16 /88.10 ตอนที่ 1 ประสิทธิภาพเป็น  90.30 /89.00 ตอนที่ 2  ประสิทธิภาพเป็น  88.60 /86.00 ตอนที่ 3  ประสิทธิภาพเป็น 91.60 /89.30 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ทั้ง 3 ตอนมีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80 /80

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายพบว่าประสิทธิภาพ โดยรวมบทเรียน คือ 90.16/88.10ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80และทำให้ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนสามารถอภิปรายผลได้ว่า

1.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80เนื่องจากบทเรียนคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดลองครั้งนี้เป็นบทเรียนที่สร้างโดยผ่านขั้นตอนการสร้างที่มีระบบ ได้รับการตรวจสอบข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษา ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมถึงการดำเนินการทดลองตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา

2.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เน้นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เปิดโอกาสได้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองอย่างอิสระ ผู้เรียนสามารถทบทวนบทเรียนใหม่ได้เมื่อไม่เข้าใจ และใช้เวลาในการเรียนรู้ได้ตามความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจึงไม่มีความกดดัน หรือความเครียดในขณะเรียน

3.บทเรียนคอมพิวเตอร์มีกิจกรรมที่กำหนดให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน การนำภาพและภาพเคลื่อนไหวประกอบในบทเรียน ใช้คำบรรยายและเสียงดนตรีที่เหมาะสมกับเนื้อหาและวัยของผู้เรียน  ทำให้ผู้สนใจและไม่เกิดความเบื่อหน่าย และเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย การทำแบบฝึกหัดเมื่อทำผิดจะเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง และผู้สามารถทราบคะแนนได้ทันทีส่วนประกอบทั้งหมดนี้ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจและเหมาะสมสำหรับใช้ในการเรียนการสอน

4.ในการศึกษาครั้งนี้ผลการเฉลี่ยจากแบบฝึกหัดระหว่างเรียนโดยรวมแล้ว สูงกว่าผลของคะแนนเฉลี่ยแบบทดสอบหลังเรียน เด็กทำแบบฝึกหัด จากความจำที่เพิ่งเรียนจบ ทำได้คะแนนสูงกว่าการทำแบบทดสอบที่ต้องเรียนเนื้อหาย่อยแต่และส่วนจบก่อนแล้วจึงประมวลความรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนจนจบบทเรียน เนื้อหาที่มากขึ้นและระยะเวลาหลังเรียนนานขึ้นส่งผลต่อความจำของเด็ก ทำให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนแบบทดสอบต่ำกว่าแบบฝึกหัด ซึ่งผลที่ได้สอดคล้องกับผลการวิจัยของนุสรา ทองปอนด์ ( นุสรา ทองปอนด์, 2546 ) เรื่อง การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียวิชาภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาประกอบภาพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 94.90/91.90

 

ขั้นเสนอแนะทั่วไป

ข้อเสนอแนะ

จากการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ วิชาภาษาอังกฤษ   เรื่องเรียนรู้คำศัพท์โดยใช้ปริศนาคำทายผู้ศึกษาค้นคว้ามีข้อเสนอแนะดังนี้

1.ควรมีการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์เบื้องต้นให้แก่นักเรียนในระดับประถมศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทักษะแก่เด็กเพราะคอมพิวเตอร์มีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เด็กควรได้รู้จักอุปกรณ์พื้นฐานเพื่อสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้  เมาส์ คีบอร์ดเรียนรู้การพิมพ์การปิด เปิดเครื่อง

2.นักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 มีความสามารถในการควบคุมตนเองน้อยกว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เด็กจะขาดความสนใจเนื้อหาที่มีรายละเอียดมาก และนานเกินไปทำให้เด็กเลือกที่จะผ่านบทเรียนไปโดยไม่ตั้งใจเรียนควรสร้างบทเรียนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในบทเรียนหลากหลายกิจกรรมและแบ่งเนื้อหาเป็นตอนย่อยหลายๆตอน จะดึงความสนใจผู้เรียนได้นานทำให้ผลการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

  1. การจัดห้องเรียนเพื่อเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ควรมีระยะห่างระหว่างผู้เรียนแต่ละคนอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการรบกวนซึ่งกันและกันระหว่างเรียนและการแข่งขันกันระหว่างผู้เรียนหากเป็นไปได้ผู้เรียนรู้สึกได้ถึงความเป็นสัดส่วนที่ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว เพื่อที่จะสามารถเรียนด้วยตนเองได้อย่างอิสระ ไม่มีสิ่งแวดล้อมรบกวนสมาธิในการเรียน
  2. ผู้สอนควรนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้เสริมใน การเรียนการสอน เพราะการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 เน้นที่การฝึกทักษะการอ่าน การเขียน และการนำไปใช้ ซึ่งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่มีคุณสมบัติตอบสนองการฝึกทักษะให้แก่ผู้เรียนได้ ทั้งนี้ผู้สอนควรเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่ผู้เรียนด้วย

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาค้นคว้า

  1. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในรูปแบบอื่นๆเช่นรูปแบบเกม รูปแบบฝึกทักษะที่มีประสิทธิภาพ เพื่อศึกษาผลของการเรียนรู้
  2. ควรมีการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับรูปแบบการสอนอื่นๆ เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. ควรมีการวิจัยและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาอื่นๆ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

 

 

 

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง จักรวาลและอวกาศ วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๔ โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานวิชาการ : พิมลรัตน์ ปัทมโรจน์  มหาบัณฑิตสาชาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

      ผลการวิจัยพบว่า  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องจักรวาลและอวกาศ  วิชาวิทยาศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีประสิทธิภาพ  ๘๒.๘๙ / ๘๕.๘๖  สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งสมติฐาน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนดังกล่าว  แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .๐๑ ในการวิจัยกับกลุ่มทดลองย่อยในระยะแรกๆพบปัญหาบางประการเกิดจาก สี   ขนาดของตัวอักษรและคำบรรยายในบทเรียนบางครั้งยังไม่ค่อยชัดเจนต่อมาได้มีการปรับปรุงและทดลองกับกลุ่มใหญ่ปัญหาดังกล่าวหมดไป  และได้มีการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างได้ผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวข้างต้น สำหรับรายละเอียดสามารถสืบค้นจากweb-online ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี  บรรณากร

MST: คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนช่วงชั้นทื่ ๑  ประถมศึกษาปีที่ ๓  โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ๒๕๕๔

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : จารุวรรณ จันทร์ทรัพย์ มหาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ผลวิจัยของการออกแบบและพัฒนาพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง ส่วนประกอบหลักและการใช้งานคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพดีอยู่ในระดับ ๘๑.๘๙ / ๘๘.๔๔   เมื่อนำมาใช้กับนักเรียนช่วงชั้นที่ ๑   ประถมศึกษาปีที่ ๓โรงเรียนประถมสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ปรากฎว่ามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ระดับ  .๐๑  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้   จึงมีข้อเสนอแนะต่อไปว่าการเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   ครูต้องคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนควรมีความรู้ในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับเบื้องต้นก่อน

       สำหรับการออกแบบในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต้องคำนึงถึงเนื้อหาถูกต้องและการออกแบบต้องคำนึงถึงด้านศิลป์กับจิตวิทยาการเรียนรู้เหมาะสมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้มีการทบทวนจะทำให้บทเรียนมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับรายละเอียดสามารถติดตามใน web-onlineของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย     เดชชัยศรี   บรรณากร

MST : คณิต / วิทย์ / เทคโนโลยี