ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือและการหาคุณภาพของเครื่องมือ

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตวิชาภาษาไทย

1.1 ศึกษาเนื้อหาวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ซึ่งเป็นหนังสือที่วิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประถมสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ใช้ในการประกอบการเรียนการสอน โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 หน่วยการเรียนรู้ ดังนี้

มาตรฐาน ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน

มาตรฐาน ท 4.1 เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทยการเปลี่ยนแปลงและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

1.2 วิเคราะห์เนื้อหา และทำการกำหนดจุดประสงค์ให้สอดคล้องและครอบคลุมเนื้อหาวิชา และนำเนื้อหาวิชามาสร้างความสัมพันธ์ โดยใช้วิธีแบบแผนภูมิปะการัง (Coral Pattern)

1.3 การออกแบบเนื้อหามีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้

1) นำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์เนื้อหามาประเมินความสำคัญของเนื้อหาโดยใช้แบบฟอร์มการประเมินความสำคัญของหัวข้อเนื้อหา (Topic Evaluation Sheet) เพื่อพิจารณาตัดสินใจยอมรับหรือตัดทิ้งหัวเรื่องเป็นรายข้อ

2) ทำการจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหา (Network Diagram) เพื่อแสดงลำดับความต่อเนื่องและความสัมพันธ์ของเนื้อหาและความสัมพันธ์ของเนื้อหาแต่ละส่วน

3) ทำการวิเคราะห์วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ลงในแบบฟอร์มวิเคราะห์จุดประสงค์ (Objective Analysis Listing Form) เพื่อจำแนกระดับของวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ทั้ง 3 ด้าน

4) นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เหมาะสมก่อนนำไปสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

1.4 สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีขั้นตอน ดังนี้

1) ออกแบบเค้าโครงร่างของหน้าจอภาพของบทเรียน

2) ออกแบบผังงานของบทเรียน (Flowchart)

3) เขียนบทดำเนินเรื่อง (Story board) ในการทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยจัดทำเป็นรายละเอียดเป็นสคริปต์เนื้อหา ตามหัวข้อที่กำหนดของหน่วยการเรียนรู้

1.5 นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบ และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง เหมาะสม

1.6 นำเสนอผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค และนำมาปรับแก้ไขให้ถูกต้องเหมาะสม

1.7 นำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะเพื่อหาประสิทธิภาพต่อไปโดยทำการทดลอง 3ครั้ง ช่วงเวลา ธันวาคม 2557 – มกราคม 2558 มีการทดลอง 3 รอบ ก่อนนำไปใช้

1) การทดลองครั้งที่ 1 รายบุคคล จำนวน 3 คน (เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 1 คน)

2) การทดลองครั้งที่ 2 กลุ่มย่อย จำนวน 15 คน (เก่ง ปานกลาง อ่อน อย่างละ 5 คน)

3) การทดลองครั้งที่ 3 ภาคสนาม จำนวน 30 คน (ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง)