Category Archives: การท่องเที่ยว การบัญชี ธุรกิจบันเทิง และคหกรรมศาสตร์

ภายพยนตร์ เรื่อง “ธุดงควัตร” ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม ครั้งที่  26

ภายพยนตร์ เรื่องธุดงควัตร

.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ยะรา


ชื่อผลงานทางวิชาการ ธุดงควัตร

ประเภทผลงานทางวิชาการ ภาพยนตร์

ปีที่พิมพ์ 2559

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ   

อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย

อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์  วงศ์ยะรา

อาจารย์วรรณลักษณ์  อินทร์จันทร์

อาจารย์พิเชฐ  วงษ์จ้อย

อาจารย์ไซนิล  สมบูรณ์


 

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559    วันแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย

ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม ครั้งที่  26 จากภาพยนตร์     เรื่อง ธุดงควัตร

  โรงละครเคแบงค์ สยามพิฆเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพมหานคร 5 มีนาคม 2560

 

ภาพยนตร์ที่ชนะเลิศการประกวด ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม กำกับภาพโดยคุณอุรุกพงศ์ รักษาสัตย์ จากเรื่อง ธุดงควัตร (Wandering)   โรงละครเคแบงค์ สยามพิฒเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน  5 มีนาคม 2560       เป็นโครงการ พัฒนาบัณฑิตการบูรณาการความรู้ทางด้านการผลิตภาพยนตร์สู่งานวิจัยระยะที่  2 ของสาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย  โดย อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย ประกอบด้วยอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์  วงศ์ยะรา  อาจารย์วรรณลักษณ์  อินทร์จันทร์  อาจารย์พิเชฐ  วงษ์จ้อย อาจารย์ไซนิล  สมบูรณ์ และทีมงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้ จากการเรียนการสอน สู่การปฏิบัติ และยึดหลักของยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล จึงได้ดำเนินการผลิตภาพยนตร์เรื่องธุดงควัตรให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเสริมสร้างทักษะของนิสิตที่จะร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาวเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบทำงานจริงของนิสิตในศตวรรษที่๒๑

ภาพยนตร์เรื่องธุดงควัตรเป็นการถ่ายทอดเรื่องราวด้านธรรมะในพระพุทธศาสนาอันเป็นแก่นและรากฐานของสังคมไทยผ่านเรื่องราวที่เรียบง่ายทางภาคใต้อันจะขยายฐานความรู้ด้านศิลปะภาพยนตร์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านธรรมะและการดำรงชีวิตแบบทำเพื่อผู้อื่นส่งเสริมรากฐานคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นิสิต

ทั้งนี้การถ่ายทอดภาพยนตร์ขนาดยาวอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเชิงศีลธรรมตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์พ.ศ. 2551 ในมุมมองการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์อิสระที่ลงทุนต่ำแต่ได้ผลสูงสุดและสามารถเข้าถึงบุคคลในวงกว้าง อันจะส่งผลให้ผู้ชมนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจจะได้เรียนรู้และนำประโยชน์จากภาพยนตร์ ไปต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้และหันมาตระหนักในคุณค่าของงานศิลปะยกระดับจิตใจของผู้ชมในการนำเสนอแบบภาพยนตร์โดยผ่านการถ่ายทอดแบบเรียบง่าย แต่ลุ่มลึกขยายกว้างขวางต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

  1.เพื่อพัฒนาคณาจารย์ด้านองค์ความรู้กระบวนการผลิตภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์แบบสะท้อนปัญหารากฐานของสังคมด้านคุณธรรมและจริยธรรมในยุคปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง

    2.เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพแบบลงพื้นที่ปฏิบัติจริงเน้นกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และแก้ปัญหาเชิงพุทธธรรม

    3.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้านของคณาจารย์ให้เชี่ยวชาญในศาสตร์ภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น

4.เพื่อเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ของสาขาและมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชุมชนประเทศและระดับนานาชาติ

การสนับสนุน ส่งเสริม การพัฒนาหลักสูตรและระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ

วิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์

พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และทักษะการเรียนรู้สร้างองค์คามรู้ นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์

มีผู้เข้าร่วมโครงการผลิตภาพยนตร์ เรื่องนี้ จำนวน 90 คน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 150,000 บาท

นักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สอดรับกับสังคมในยุคปัจจุบันที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง ธุดงควัตร

1.นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์ และมุมมองการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่สะท้อนปัญหารากฐานสังคมในยุคปัจจุบัน

2. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะ การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆในกระบวนการผลิตภาพยนตร์

3. นักศึกษาเรียนรู้การทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพและเข้าใจโครงสร้างการทำงานที่ต้องที่แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

4. นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการจัดการแบบองค์รวมด้านภาพยนตร์ อันเป็นผลสืบเนื่องต่อการผลิตบัณฑิตสู่วงการภาพยนตร์ในภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาประเทศในระยะอันใกล้

5. นักศึกษาได้เข้าใจหลักดำเนินชีวิตเชิงวิถีพุทธมากยิ่งขึ้น พร้อมกระบวนการคิดเชิงคุณธรรมและจริยธรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต

จากผลงานที่คณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันจัดทำภาพยนตร์ เรื่อง ธุดงควัตร  จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลสาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม  ถือเป็นเกียรติประวัติของทุกคนที่ร่วมมือ ร่วมใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม นำชื่อเสียงมาสู่สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย จึงสมควรได้รับการยกย่อง และเป็นตัวอย่างที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรนำไปปฏิบัติต่อไป


ประมวลภาพกิจกรรม

ภาพที่ 1 อธิการบดี  และคณบดีคณะวิทยาการจัดการ  ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ภาพที่ 2 อธิการบดีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงนโยบายในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

 

ภาพที่ 3 คณบดีคณะวิทยาการจัดการให้สัมภาษณ์กระบวนการถ่ายทำและนโยบายงานวิจัย

 

ภาพที่ 4 อาจารย์บุญส่ง  นาคภู่  ให้สัมภาษณ์เรื่องการบวนการถ่ายทำในงานวิจัย

 

ภาพที่ 5 คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

ภาพที่ 6  ภาพบรรยากาศผู้เข้าร่วมโครงการ

 


 

กระบวนการเผยแพร่ภาพยนตร์ “ธุดงควัตร”

ทั้งนี้ หลังจากดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จสิ้นทางทีมงานและคณาจารย์มีการนำภาพยนตร์ออกเผยแพร่หลังจากดำเนินการถ่ายทำและตัดต่อเสร็จสิ้นในเบื้องต้น ดังพื้นที่ต่อไปนี้

1. ดำเนินการจัดฉายยังพื้นที่ชุมชนบ้านถ้ำธารน้ำลอด อ.สวี จ.ชุมพร เพื่อเป็นการเผยแพร่ภาพยนตร์ให้กับชุมชนสังคม ตระหนักรู้ถึงแก่นทางพุทธธรรม และการยอมรับผลสะท้อนจากภาพยนตร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาในท้องถิ่น อันจะทำให้ผู้ชมสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนา ชุมชน และสังคมต่อไป

ทั้งนี้การจัดฉายภาพยนตร์ถือได้ว่าเป็นเสียงสะท้อนที่เห็นภาพชัดในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ และเป็นภาพสะท้อนให้ผู้ชมได้เคารพสิทธิ์และสัมผัสวิถีชีวิตแบบหนังกลางแปลงที่กำลังจะสูญสลายไป

2. ดำเนินการจัดฉาย ณ ชมรมพุทธศาสตร์ ศาลายา  เพื่อเป็นการทดสอบผลตอบรับจากผู้ชม (Feedback) รวมถึงข้อท้วงติงนำมาปรับแก้ไขก่อนจะออกฉายจริงนวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ที่โรงภาพยนตร์ เฮ้าส์ อาร์ ซี เอ (House RCA) เป็นการทั่วไป

 


 

จัดทำโดย

อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย

อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์  วงศ์ยะรา

อาจารย์วรรณลักษณ์  อินทร์จันทร์

อาจารย์พิเชฐ  วงษ์จ้อย

อาจารย์ไซนิล  สมบูรณ์

 

สามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้

การบัญชีชั้นต้น 2 (Accounting Principles II)

การบัญชีชั้นต้น 2 (Accounting Principles II)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร ลิ้มสุขวัฒน์


ชื่อผลงานทางวิชาการ   การบัญชีชั้นต้น 2 (Accounting Principles II)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ ฉบับปรับปรุง  2555

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร ลิ้มสุขวัฒน์

ตำราการบัญชีขั้นต้น 2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์นพพร ลิ้มสุขวัฒน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้เขียนและได้ปรับปรุง ตำราเล่มนี้ เมื่อ พ.ศ. 2555  เพื่อใช้ประกอบการบรรยาย วิชาการบัญชีขั้นต้น 2 (Accounting Principles 2) สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  โดยเฉพาะการเขียนตำราเล่มนี้ได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาสาระของหลักการบัญชีเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานการบัญชีที่เกิดขึ้น รวมทั้งได้พิจารณาปรับปรุงเนื้อหาที่สอดคล้องกับแม่บทการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

   ตำราเล่มนี้ประกอบด้วยเนื้อหาหลัก 10 เรื่อง ประกอบด้วย (1)เงินสดและการควบคุมภายใน  (2)ระบบใบสำคัญจ่าย  (3)เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาด (4)ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ (5)สินค้าคงเหลือ (6)ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  (7)ทรัพยากรธรรมชาติและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  (8)หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว  (9)ส่วนของเจ้าของ  และ(10)การบัญชีกิจการผลิตสินค้า  ผู้เขียนได้พยายามเรียงลำดับเนื้อหาจากความรู้พื้นฐานไปสู่เนื้อหาที่สลับซับซ้อน  โดยมีแบบฝึกทักษะท้ายบทเรียนในแต่ละเรื่องสำหรับฝึกการนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้  เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่ได้ศึกษามา  และจะเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการบัญชีสำหรับใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิชาการบัญชีระดับสูงต่อไปในอนาคต  สามารถสรุปเนื้อหาแต่ละบทย่อๆ ดังนี้

 

สรุปบทที่ 1  เงินสดและการควบคุมภายใน

เงินสด  หมายถึง  จำนวนเงินที่กิจการสามารถนำมาใช้ได้ทันทีโดยไม่มีข้อจำกัดในการใช้เงินใดๆ ทั้งสิ้น  เช่น  ธนบัตร  เงินเหรียญ  เอกสารทางการเงินที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทันทีตามที่ต้องการ

การควบคุมดูแลรักษาเงินสด  สรุปได้ดังนี้

1. แบ่งแยกหน้าที่การรับ-จ่ายเงินสด  และการบันทึกบัญชีออกจากกัน
2. เงินสดที่กิจการได้รับควรนำฝากธนาคาร  และบันทึกบัญชีทันที
3. เงินสดที่กิจการได้รับไม่ควรนำมาจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายแต่ควรจ่ายเป็นเช็ค  หรือจ่ายจากวงเงินสดย่อยของกิจการ
4. ควรจัดให้มีการตรวจสอบเงินสดเป็นครั้งคราว  โดยพนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรับ-จ่ายเงินสดและการบันทึกบัญชี

งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  เป็นงบที่แสดงสาเหตุความแตกต่างระหว่างยอดคงเหลือ

ตามรายงานของธนาคารและยอดคงเหลือตามสมุดบัญชีของกิจการ  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1. รายการที่กิจการได้บันทึกไว้แล้วแต่ธนาคารยังไม่ได้บันทึก  เช่น เงินฝากระหว่างทางเช็คค้างจ่าย  เป็นต้น
2. รายการที่ธนาคารได้บันทึกไว้แล้ว  แต่กิจการยังไม่ได้บันทึก เช่น ค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าดอกเบี้ย  เช็คคืน  และค่าใช้จ่ายที่กิจการขอให้ทางธนาคารจ่ายแทนกิจการ เป็นต้น
3.  รายการที่ทั้งกิจการ และธนาคารบันทึกไว้ผิดพลาด

การจัดทำงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร  สามารถทำได้  3  วิธี  ดังนี้

1.งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือจากกิจการไปหาธนาคาร
2.งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารคงเหลือจากธนาคารไปหากิจการ
3.งบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคารที่ถูกต้อง

เงินสดย่อย  หมายถึง  จำนวนเงินที่กิจการตั้งไว้สำหรับค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ  ที่ต้องจ่าย

ทันทีไม่สะดวกที่จะใช้เช็ค  ระบบเงินสดย่อยที่นิยมใช้กันมาก คือ Impress System  โดยกำหนดวงเงินจำนวนหนึ่งคงที่  เพื่อให้เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายช่วงระยะเวลาหนึ่ง  โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้รักษาเงินสดย่อย  การบันทึกรายการเกี่ยวกับเงินสดย่อย  มีดังนี้

  1. การตั้งเงินสดย่อย  ให้เดบิต บัญชีเงินสดย่อย และเครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร
  2. การจ่ายเงินสดย่อย  ไม่มีการบันทึกบัญชีเพียงแต่ผู้รักษาเงินสดย่อยบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับการจ่ายเงินสดย่อยในสมุดเงินสดย่อย
  3. การเบิกชดเชยเงินสดย่อย  ให้เดบิต บัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น  และเครดิต บัญชีเงินฝากธนาคาร

 

สรุปบทที่ 2 ระบบใบสำคัญจ่าย

ระบบใบสำคัญ  เป็นวิธีการควบคุมภายในเกี่ยวกับการจ่ายเงินสดวิธีหนึ่ง  ปกติใช้กับธุรกิจขนาดใหญ่  ตามระบบนี้ใหถือว่ารายการที่จะต้องจ่ายเงินทุกรายการจะต้องบันทึกไว้เป็นหนี้สินก่อน  ด้วยการจัดทำใบสำคัญจ่าย

วิธีการบัญชีตามระบบใบสำคัญจ่ายมีดังนี้

1. เมื่อได้รับหลักฐานที่เกี่ยวกับการจ่ายเงินทั้งหมด  เช่น  ใบแจ้งหนี้ ใบส่งของ ใบเสร็จรับเงิน  ใบกำกับภาษี  เป็นต้น    ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องจัดทำหลักฐานการจ่ายเงินทุกครั้ง เรียกว่า ใบสำคัญจ่าย

2. บันทึกใบสำคัญจ่ายลงในทะเบียนใบสำคัญจ่าย  ซึ่งจัดได้ว่าเป็นสมุดรายวันขั้นต้นที่ใช้แทนสมุดรายวันซื้อ  สำหรับบันทึกรายการเกี่ยวกับการซื้อสินค้า  วัตถุดิบ  สินทรัพย์อื่นๆ  การจ่ายชำระหนี้  รวมทั้งรายการค่าใช้จ่ายค้างจ่ายทุกประเภท กำหนดให้นำบัญชีช่องอื่นให้ผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททุกครั้งที่เกิดรายการ    สำหรับช่องบัญชีเฉพาะให้ผ่านรายการทุกวันสิ้นเดือน

3. การจ่ายเงินตามใบสำคัญจ่ายต้องจ่ายเป็นเช็คเท่านั้น  และบันทึกการจ่ายนั้นในทะเบียนเช็คซึ่งเป็นสมุดรายการขั้นต้นที่ใช้แทนสมุดเงินสดจ่าย แต่ถ้าเป็นรายจ่ายจำนวนไม่มากให้จ่ายจากเงินสดย่อย

4.  ใช้บัญชีใบสำคัญจ่ายซึ่งเป็นบัญชีคุมยอดแทนบัญชีเจ้าหนี้ทุกประเภท

5. ใบสำคัญค้างจ่ายแต่ละฉบับใช้แทนบัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้รายตัว  และเก็บในแฟ้มเรียก ว่า แฟ้มใบสำคัญค้างจ่าย

6. สามารถจัดทำรายละเอียดหนี้สิน  และสามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้จากบัญชีใบสำคัญจ่าย โดยยอดคงเหลือในบัญชีใบสำคัญจ่ายจะเท่ากับจำนวนเงินของใบสำคัญจ่ายที่ยังไม่ได้จ่ายเงินแต่ละฉบับรวมกันหรือพิสูจน์จากทะเบียนใบสำคัญจ่ายกับใบสำคัญค้างจ่าย

 

สรุปบทที่ 3  เงินลงทุนในหลักทรัพย์ตามความต้องการของตลาด

เงินลงทุนในที่นี้  หมายถึง  เงินลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ที่เป็นหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด  ที่กิจการตั้งใจจะถือไว้ไม่เกิน 1 ปี  นับแต่วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน

ต้นทุนของเงินลงทุน  คือ เงินสดที่จ่ายซื้อ  หรือราคาตลาดของหุ้นทุน  หรือมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลก  รวมรายจ่ายโดยตรงทั้งสิ้นที่กิจการได้จ่ายเงินไปเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินทุนนั้น เช่น ราคาซื้อเงินลงทุน  ค่านายหน้า  ค่าธรรมเนียม  ค่าภาษี   ทั้งนี้  ต้นทุนของการจัดทำรายการไม่รวมถึงส่วนเกินหรือส่วนลดของตราสารหนี้  ต้นทุนทางการเงิน  ต้นทุนของการบริหารและต้นทุนภายในที่ได้รับการแบ่งปันมา

ในวันที่กิจการได้รับเงินลงทุนมา จะต้องจัดประเภทตราสารทุนและตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า   หรือหลักทรัพย์เผื่อขาย  หรือตราสารหนี้ที่จะถือไว้จนครบกำหนด ณ วันสิ้นงวดบัญชี  กิจการจะต้องแสดงราคาเงินลงทุนชั่วคราวไว้ดังนี้

1. ตราสารทุนและตราสารหนี้ในความต้องการของตลาด  ทั้งที่เป็นหลักทรัพย์เพื่อค้าและหลักทรัพย์เผื่อขาย  จะต้องแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยมูลค่ายุติธรรม

      ผลต่างระหว่างราคาตามบัญชีกับมูลค่ายุติธรรมให้บันทึกเป็นรายการกำไรหรือ

ขาดทุนที่ยังไม่เกิดขึ้น  และให้แสดงไว้ในงบการเงินดังนี้

  • หลักทรัพย์เพื่อค้า ให้รับรู้เป็นรายได้หรือขาดทุนในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวดบัญชีนั้น
  • หลักทรัพย์เผื่อขาย ให้แสดงเป็นรายการแยกต่างหากไว้ในส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงฐานะการเงิน  และบัญชีนี้จะโอนปิดไปกำไรขาดทุนเมื่อมีการขายเงินลงทุน

 ตราสารหนี้ที่จะครบกำหนดชำระภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน ให้ถือเป็นเงินลงทุนชั่วคราว และแสดงในงบแสดงฐานะการเงินด้วยราคาทุนตัดจำหน่าย

    การตัดส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าของตราสารหนี้  ให้ใช้วิธีดอกเบี้ยแท้จริงหรือวิธีอื่นที่ให้ ผลไม่แตกต่างจากวิธีดอกเบี้ยแท้จริงอย่างมีนัยสำคัญสำหรับการจำหน่ายเงินลงทุน

  1. ให้รับรู้ผลกำไรหรือขาทุนจากการขายเงินลงทุนในงบกำไรขาดทุนในงวดนั้นทันที
  2. ให้ใช้ราคาตามบัญชีที่คำนวณโดยวิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก

 

สรุปบทที่ 4  ลูกหนี้การค้าและตั๋วเงินรับ

ลูกหนี้  หมายถึง  สิทธิเรียกร้องของกิจการที่มีต่อบุคคลอื่น  ไม่ว่าจะเป็นในรูปของเงิสด สินค้า หรือบริการ  ลูกหนี้ของกิจการแบ่งได้ 3 ประเภท  คือ (1) ลูกหนี้การค้า  (2) ลูกหนี้อื่นๆ  และ (3) รายได้ค้างรับ

การประมาณการหนี้สงสัยจะสูญ  คือ การประมาณจำนวนลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้  ซึ่งมีวิธีปฏิบัติ  ดังนี้

1. ประมาณเป็นร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ  วิธีนี้ไม่ต้องนำยอดคงเหลือของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในวันสิ้นงวดมาประกอบการพิจารณา

2. ประมาณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้ค้างชำระในวันสิ้นงวดบัญชี  วิธีนี้จะต้องนำยอดคงเหลือของบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญในวันสิ้นงวดมาประกอบการพิจารณา

    • ถ้ายอดคงเหลือทางด้านเครดิต ให้นำไปหักออกจากจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่คำนวณได้จากยอดลูกหนี้
    • ถ้ายอดคงเหลือทางด้านเดบิต  ให้นำไปบวกกับจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่คำนวณได้จากยอดลูกหนี้

3. ประมาณเป็นร้อยละของยอดลูกหนี้ค้างชำระในวันสิ้นงวดบัญชี โดยจำแนกตามอายุลูกหนี้ที่ค้างชำระวิธีนี้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีที่ 2  แต่จำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ต้องการจะคำนวณจากกลุ่มลูกหนี้ตามระยะเวลาค้างชำระ

การบันทึกบัญชี เมื่อคำนวณหนี้สงสัยจะสูญได้แล้ว ให้บันทึกเดบิตหนี้สงสัยจะสูญ   ซึ่งเป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย    และเครดิตค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่า

การจำหน่ายหนี้สูญ  เมื่อกิจการได้ตัดจำหน่ายลูกหนี้ที่เก็บเงินไม่ได้  จะบันทึกบัญชีดังนี้

1. กรณีที่กฎหมายภาษีอากรยอมรับ  โดยเดบิตหนี้สูญ  และเครดิตลูกหนี้  พร้อมทั้งโอนกลับค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ตั้งไว้

2. กรณีที่ไม่เข้าข่ายการยอมรับตามกฎหมายภาษีอากร  โดยเดบิตค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและเครดิตลูกหนี้

หนี้สูญรับคืน ในกรณีที่กิจการได้รับชำระเงินจากลูกหนี้ที่ได้ตัดจำหน่ายเป็นหนี้สูญแล้วกิจการจะบันทึกลูกหนี้นั้นกลับเป็นลูกหนี้ใหม่ดังนี้

1. กรณีที่กฎหมายภาษีอากรยอมรับ  โดยเดบิตลูกหนี้     และเครดิตหนี้สูญรับคืน  และบันทึกการรับชำระเงินตามปกติ โดยเดบิตเงินสด และเครดิตลูกหนี้

2. กรณีที่ไม่เข้าข่ายการยอมรับตามกฎหมายภาษีอากร โดยเดบิตลูกหนี้  และเครดิตค่า เผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  และบันทึกการรับชำระเงิน  โดยเดบิตเงินสด  และเครดิตลูกหนี้

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเกินความต้องการ หมายถึง   ยอดคงเหลือทางด้านเครดิตของบัญชี

ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีมากกว่าจำนวนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่คำนวณได้  ในกรณีนี้ ให้ลดยอดบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญโดยเดบิตค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ  และเครดิตหนี้สงสัยจะสูญ  และแสดงรายการหนี้สงสัยจะสูญเป็นรายการเครดิตในหัวข้อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในงบกำไรขาดทุน

ตั๋วเงินรับ  คือ  ตราสารแสดงสิทธิที่ผู้ทรงตั๋วจะได้รับเงินจำนวนเงินที่แน่นอนภายในเวลาที่กำหนด  ตั๋วเงินรับประกอบด้วย  (1) ตั๋วสัญญาใช้เงิน  (2) ตั๋วแลกเงิน  และ (3) เช็คลงวันที่ล่วงหน้า

การบันทึกบัญชี  การบันทึกบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

1. เมื่อรับตั๋วเงิน  ให้บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ในบัญชีตั๋วเงินรับตามมูลค่าที่ปรากฏในหน้าตั๋ว
2. เมื่อตั๋วถึงกำหนด  ให้บันทึกรับเงินสดตามมูลค่าในหน้าตั๋ว บวก ดอกเบี้ย(ถ้ามี)
3. เมื่อสิ้นงวดบัญชี  ถ้าตั๋วเงินชนิดที่มีดอกเบี้ยถึงกำหนดชำระในงวดบัญชีถัดไปให้ปรับปรุงดอกเบี้ยเป็นรายได้ในงวดปัจจุบัน
4. เมื่อนำตั๋วเงินรับไปขายลด  ให้บันทึกในบัญชีตั๋วเงินรับขายลดเท่ากับมูลค่าในหน้าตั๋ว แทนการบันทึกลดยอดบัญชีตั๋วเงินรับ  จำนวนเงินที่กิจการได้รับจากการขายลดให้บันทึกตามมูลค่าที่จะได้รับเมื่อตั๋วถึงกำหนดหักด้วยส่วนลดที่ผู้ซื้อได้หักไว้ล่วงหน้า  ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับสูงกว่ามูลค่าในหน้าตั๋วให้บันทึกไว้ในบัญชีดอกเบี้ยรับ  ถ้าจำนวนเงินที่ได้รับต่ำกว่าให้บันทึกไว้ในบัญชีดอกเบี้ยจ่าย
5. เมื่อตั๋วเงินขาดความเชื่อถือ  ให้บันทึกผู้จ่ายเงินกลับมาเป็นลูกหนี้  และบันทึกลดยอดตั๋วเงินรับ  พร้อมบันทึกดอกเบี้ยรับ(ถ้ามี)  ถ้าเป็นตั๋วเงินรับขายลดขาดความเชื่อถือให้บันทึกผู้จ่ายกลับมาเป็นลูกหนี้  เท่ากับจำนวนเงินที่กิจการจะต้องจ่ายให้กับธนาคาร  พร้อมทั้งให้โอนปิดบัญชีตั๋วเงินรับขายลด

การแสดงตั๋วเงินรับในงบแสดงฐานะการเงิน ตั๋วเงินรับให้แสดงรวมกับลูกหนี้การค้า หรือแสดงแยกเป็นรายการต่างหาก  สำหรับตั๋วเงินรับขายลดให้แสดงเป็นรายการหักจากตั๋วเงินรับ  หรือแสดงเป็นหมายเหตุประกอบงบแสดงฐานะการเงิน

 

สรุปบทที่  5  สินค้าคงเหลือ

สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินค้าสำเร็จรูปที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรือใช้ในการผลิตหรือบริการ  รวมถึงสินค้าระหว่างผลิต  วัตถุดิบ และวัสดุโรงงาน  ทั้งนี้เป็นการประกอบการสร้างรายได้จากการค้าขายตามปกติของกิจการ  ระบบบัญชีที่ใช้บันทึกรายการสินค้าคงเหลือมี 2 ระบบ คือ  ระบบบัญชีสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง  และระบบบัญชีสินค้าคงเหลือแบบสิ้นงวด  กรณีตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดผิดพลาดจะทำให้งบการเงินแสดงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง  กล่าวคือ  ถ้ากิจการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดสูงไปจะทำให้กำไรสุทธิประจำงวดสูง  งบแสดงฐานะการเงินก็จะแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของสูง  ตรงกันข้ามถ้ากิจการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดต่ำไปจะทำให้ กำไรสุทธิประจำงวดต่ำในขณะที่การแสดงรายการสินทรัพย์หมุนเวียนและส่วนของเจ้าของต่ำตามไปด้วย

การตีราคาสินค้าคงเหลือในราคาทุน  มี  4  วิธี คือ

1. วิธีเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)  วิธีนี้สมมติว่าราคาสินค้าที่ซื้อมาก่อนจะขายออกไปก่อน  ในขณะราคาสินค้าคงเหลือจะเป็นราคาที่ซื้อเข้ามาทีหลัง
2. วิธีเข้าหลังออกก่อน (LIFO)  วิธีนี้สมมติว่าราคาสินค้าที่ซื้อมาที่หลังจะขายออกไปก่อน  ในขณะที่ราคาสินค้าคงเหลือจะเป็นราคาที่ซื้อมาก่อน
3. วิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average method)  วิธีนี้สมมติว่าราคาสินค้าคงเหลือ คือ ราคาทุนถัวเฉลี่ยของสินค้าที่มีไว้ขายระหว่างงวดบัญชี
4. วิธีต้นทุนด้วยคอมพิวเตอร์ (Computerized perpetual inventory method) วิธีนี้นำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึกบัญชีสินค้าโดยการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลสินค้าคงเหลือและต้นทุนสินค้าขายได้รวบเร็วและเป็นปัจจุบัน

การตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ำกว่า  วิธีนี้สมมติว่าถ้ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับต่ำกว่าราคาทุนให้ใช้มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ  ซึ่งเป็นการยอมรับผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากราคาลดลงเนื่องจากสินค้านั้นล้าสมัยหรือมีตำหนิ  แต่ถ้าราคาทุนต่ำกว่าก็ให้ใช้ราคาทุนโดยถือว่าไม่มีกำไร เกิดขึ้น

การตีราคาสินค้าคงเหลือโดยประมาณ  วิธีนี้จะใช้ในกรณีไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับราคาทุนที่จะนำมาใช้ในการคำนวณสินค้าคงเหลือได้  เช่น  กรณีสินค้าถูกไฟไหม้ เป็นต้น

 

สรุปบทที่ 6  ที่ดิน  อาคาร  และอุปกรณ์

สินทรัพย์ถาวร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี  ซึ่งกิจการจัดหามาเพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการมิได้มีไว้เพื่อจำหน่าย   สินทรัพย์ถาวรแบ่งเป็นสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตน เช่น ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์  และสินทรัพย์ถาวรที่ไม่มีตัวตน  เช่น สิทธิบัตร สัมปทาน เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยม เป็นต้น

ราคาทุนของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์  คือ  ประกอบด้วยราคาซื้อที่หักส่วนลดแล้ว และรวมต้นทุนทางตรงอื่นๆ  ที่ทำให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพร้อมที่จะใช้งานตามวัตถุประสงค์  สำหรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นภายหลังที่ได้สินทรัพย์มาใช้งานทำให้กิจการได้รับผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคตเพิ่มขึ้นนั้น  การบันทึกรายการให้บันทึกเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์นั้น

การวัดมูลค่า การวัดมูลค่าเริ่มแรกให้แสดงในราคาทุน สำหรับการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรกให้รับรู้ด้วยราคาทุนหักค่าเสื่อมราคาสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์  สำหรับทางเลือกปฏิบัติอาจแสดงด้วยราคาที่ตีใหม่  ราคาที่ตีใหม่  หมายถึง มูลค่ายุติธรรม ณ วันที่มีการตีราคาใหม่หักด้วย ค่าเสื่อมราคาสะสมที่คำนวณจากมูลค่ายุติธรรมนั้นและค่าเผื่อการด้อยค่าของสินทรัพย์

ค่าเสื่อมราคา  คือ การปันส่วนมูลค่าเสื่อมสภาพของสินทรัพย์อย่างมีระบบตลอดอายุการใช้งาน  ปัจจัยในการคิดค่าเสื่อมราคาประกอบด้วย  ราคาทุน  ราคาซาก(ถ้ามี)  และอายุการใช้งาน  ค่าเสื่อมราคาสามารถบันทึกบัญชีได้โดย เดบิตบัญชีค่าเสื่อมราคา  และเครดิตบัญชีค่าเสื่อมราคาสะสม  สำหรับวิธีการคิดค่าเสื่อมราคาที่นิยม  แยกได้เป็น 3 วิธี  คือ (1) วิธีคิดค่าเสื่อมราคาแบบเส้นตรง  (2)  วิธีคิดค่าเสื่อมราคาตามจำนวนผลผลิตหรือชั่วโมงการทำงาน  และ (3) วิธีคิดค่าเสื่อมราคาในอัตราลดลง  ซึ่งแยกย่อยได้ 3 วิธี  คือ  วิธีผลรวมจำนวนปี  วิธียอดลดลงทวีคูณ  และวิธีอัตราคงที่ของราคาตามบัญชีที่ลดลง

การจำหน่ายสินทรัพย์ หมายถึง การเลิกใช้  การขาย และการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์  ซึ่งการจำหน่ายสินทรัพย์มีขั้นตอนดังนี้

1. คำนวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันต้นงวดบัญชีของปี     ที่มีการจำหน่ายสินทรัพย์จนถึงวันจำหน่ายพร้อมทั้งบันทึกบัญชี
2. โอนปิดบัญชีค่าเสื่อมสะสมของสินทรัพย์      ที่จำหน่ายตั้งแต่วันที่เริ่มใช้งาน  จนถึงวันจำหน่าย
3.  บันทึกการจำหน่ายสินทรัพย์   พร้อมบันทึกรายการกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ จากการเปรียบเทียบระหว่างราคาสุทธิตามบัญชีกับราคาจำหน่ายสินทรัพย์ถาวร หรือมูลค่ายุติธรรม

   สำหรับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีลักษณะไม่คล้ายคลึงกัน ให้บันทึกราคาทุนของสินทรัพย์ที่ได้มาด้วย มูลค่ายุติธรรม ซึ่งมีมูลค่าเทียบเท่ากับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลกปรับปรุงด้วยเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสด ที่กิจการจะต้องโอนหรือรับโอนอันเนื่องมาจากการแลกเปลี่ยนจะมีรายการกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้น

   สำหรับการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายคลึง  การบันทึกราคาทุนของสินทรัพย์ใหม่ให้ใช้ราคาตามบัญชีที่ปรับปรุงการด้อยค่าของสินทรัพย์แล้ว(ถ้ามี)  ดังนั้น จึงไม่มีรายการกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยน

 

สรุปบทที่ 7  ทรัพยากรธรรมชาติและสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง  ทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจัดเป็นสินทรัพย์ถาวรที่มีตัวตนประเภทหนึ่ง ตัวอย่างเช่น  ป่าไม้  เหมืองแร่ ถ่านหิน น้ำมัน เป็นต้น  แต่มีลักษณะเป็นสินทรัพย์ สิ้นเปลือง เนื่องจากถ้านำมาใช้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแล้วจะทำให้สินทรัพย์นั้นลดปริมาณลงหรือหมดไป ต้นทุนของทรัพยากรธรรม ชาติ เช่น ค่าทุนที่ซื้อ และรวมค่าใช้จ่ายที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ เช่น ค่าสัมปทาน  ค่าสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ  ค่าปรับปรุงพื้นที่  เป็นต้น  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้ทรัพยากรนั้นสามารถใช้ได้ตามวัตถุประสงค์

แต่ละปีที่กิจการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ จะทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีปริมาณ ลดลง  ดังนั้น กิจการจะต้องปันส่วนต้นทุนของทรัพยากรธรรมชาติเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละงวด เรียกว่า การตัดค่าสูญสิ้น   โดยทั่วไปการคำนวณมูลค่าสูญสิ้นจะใช้วิธีตามหน่วยผลผลิตดังนี้

      • ค่าสูญสิ้นต่อหน่วย  =  (ราคาทุน ราคาซาก) ÷  จำนวนผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับทั้งหมด
      • ค่าสูญสิ้นสำหรับงวด  =  ค่าสูญสิ้นต่อหน่วย X ปริมาณที่ได้รับจริงในแต่ละงวดสำหรับการบันทึกบัญชี  โดย เดบิตค่าสูญสิ้น  และเครดิตค่าสูญสิ้นสะสม

สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงินที่สามารถระบุได้และไม่มีรูปธรรม จับต้องไม่ได้แต่ให้ประโยชน์เกินกว่า 1 ปี   เป็นสินทรัพย์ที่กิจการมีไว้เพื่อใช้ในการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการ  เพื่อให้ผู้อื่นเช่า  หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน  เช่น สิทธิบัตร  ลิขสิทธิ์  เครื่องหมายการค้า  ค่าความนิยม  สิทธิการเช่า  รายจ่ายรอการตัดบัญชี เป็นต้น  ต้นทุนของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนประกอบด้วยราคาที่จ่ายซื้อ  รวมถึงค่าใช้จ่ายโดยตรงที่จะทำให้สินทรัพย์นั้นอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานได้  สินทรัพย์ไม่มีตัวตนแบ่งได้เป็น  2  ประเภท  คือ

1. สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุการใช้งานจำกัด    อายุการใช้งานถูกกำหนดโดยสภาพของสินทรัพย์  ข้อตกลง  ข้อบังคับ  หรือข้อกฎหมาย  เช่น  สิทธิบัตร  สัมปทาน  เป็นต้น  สินทรัพย์ประเภทนี้จะต้องตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่ายประจำปีที่ได้รับผลประโยชน์  โดยคำนวณจากอายุการใช้งานหรือระยะเวลาที่กำหนด  และบันทึกบัญชี  โดยเดบิตค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  และเครดิตสินทรัพย์ไม่มีตัวตน

2.  สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมีอายุการใช้งานไม่จำกัด เช่น เครื่องหมายการค้า ค่าความนิยมเป็นต้น สินทรัพย์เหล่านี้ไม่ต้องตัดจำหน่ายเป็นค่าใช้จ่าย เว้นแต่ถ้าปรากฏในภายหลังว่าประโยชน์ที่จะได้รับเกิดการเปลี่ยนแปลงลดลง  ก็ให้ตัดจำหน่ายให้หมดไปภายในระยะเวลาที่กำหนด

 

สรุปบทที่ 8  หนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินระยะยาว

หนี้สิน หมายถึง  ภาระผูกพันในปัจจุบันของกิจการอันเป็นผลของเหตุการณ์ในอดีตที่จะ

ทำให้กิจการจะต้องเสียทรัพยากรที่มีประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อปลดเปลื้องภาระผูกพันนั้นโดยจ่ายเงินสด  โอนสินทรัพย์ให้บริการ ก่อหนี้ทดแทน และการแปลงสภาพหนี้เป็นทุน  หนี้สินอาจสามารถจำแนกได้  2  ประเภท  ดังนี้

1. หนี้สินหมุนเวียน  หมายถึง  ภาระผูกพันที่กิจการจะต้องจ่ายชำระคืนภายใน 1 ปี  นับจากวันที่งบแสดงฐานะการเงิน  หรือภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานตามปกติของกิจการและรวมถึงส่วนของภาระผูกพันระยะยาวที่คาดว่าจะต้องชำระภายใน 1 ปี  นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน  มูลค่าของหนี้สินหมุนเวียนจะบันทึกบัญชีด้วยจำนวนเงินสดหรือต้นทุนของสินค้าหรือบริการที่ได้รับโดยไม่คำนึงถึงมูลค่าปัจจุบัน  นอกจากนี้  หนี้สินหมุนเวียนอาจจำแนกตามลักษณะความแน่นอนของหนี้สินได้  3  ประเภท  ดังนี้

1.1  หนี้สินหมุนเวียนที่แน่นอน  หมายถึง  หนี้สินที่เกิดขึ้นแล้ว  สามารถกำหนดมูลค่าที่เป็นหนี้และวันครบกำหนดชำระได้ถูกต้องแน่นอน  ตัวอย่างเช่น  เงินเบิกเกินบัญชี  เจ้าหนี้การค้า ตั๋วเงินจ่าย  ส่วนของหนี้สินระยะยาวมี่ครบกำหนดชำระในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไป  ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย  รายได้รับล่วงหน้า  เป็นต้น

1.2  หนี้สินหมุนเวียนโดยประมาณ  หมายถึง  หนี้สินที่เกิดขึ้นแน่นอนแต่ไม่ทราบมูลค่าและกำหนดระยะเวลาที่ต้องชำระอย่างแน่นอน  จำเป็นต้องประมาณมูลค่าที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบันอย่างสมเหตุสมผล  ตัวอย่างเช่น  หนี้ค่าสมนาคุณลูกค้า  หนี้ค่าประกันคุณภาพสินค้า  หนี้ค่าบัตรกำนัลหรือบัตรของขวัญ  เป็นต้น

1.3  หนี้สินหมุนเวียนที่อาจเกิดขึ้น  หมายถึง     หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ในอดีตแต่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้  ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต  ตัวอย่างเช่น  การขายลดตั๋วเงินให้กับธนาคาร  ถ้าผู้ออกตั๋วเงินไม่จ่ายเงินตามตั๋วเงิน  ผู้ขายลดตั๋วเงินจะต้องรับผิดชอบชดใช้เงินให้กับธนาคารแทน  ในกรณีนี้ถือว่ากิจการมีหนี้สินเกิดขึ้น  แต่ถ้าผู้ออกตั๋วเงินได้จ่ายเงินตามตั๋วเงิน  ในกรณีนี้หนี้สินก็ไม่เกิดขึ้น  หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นไม่ต้องรับรู้รายการ  แต่ให้เปิดเผยเป็นหมายเหตุประกอบงบการเงิน

2. หนี้สินไม่หมุนเวียน   หมายถึง  หนี้สินซึ่งมีระยะเวลาการชำระเกินกว่า 1 ปี  นับจากวันที่ในงบแสดงฐานะการเงิน  หรือเกินกว่ารอบระยะเวลาดำเนินงานตามปกติของกิจการ  กิจการจะบันทึกมูลค่าของหนี้สินด้วยมูลค่าปัจจุบัน  พิจารณาแยกได้เป็น  2  ประเภท คือ

2.1  เงินกู้ยืมระยะยาว  หมายถึง  กิจการที่ต้องการเงินทุนระยะยาว อาจขอกู้ยืมเงินระยะยาวจากสถาบันการเงิน  บริษัทในเครือ หรือบริษัทร่วม  หรือขอกู้ยืมจากกรรมการและลูกจ้างของกิจการ

2.2  ตราสารหนี้ : หุ้นกู้ เป็นสัญญาขอกู้ยืมเงินระยะยาวจากประชาชนโดยทั่วไป กิจการที่จะออกหุ้นกู้ได้ในปัจจุบันต้องเป็นบริษัทมหาชนเท่านั้น  หุ้นกู้ราคาจำหน่ายอาจสูงหรือต่ำกว่ามูลค่า  ขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดกับดอกเบี้ยหุ้นกู้  ถ้าอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดในวันจำหน่าย  ราคาหุ้นกู้จะสูงกว่ามูลค่าและเพื่อให้ดอกเบี้ยหุ้นกู้เป็นดอกเบี้ยที่แท้จริงจึงปรับบัญชีส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้กับบัญชีดอกเบี้ยจ่าย

การแสดงรายการหนี้สินในงบการเงิน  จะพิจารณาแยกหนี้สินหมุนเวียน  และหนี้สินไม่หมุนเวียน โดยหนี้สินหมุนเวียนจะเรียงตามอายุของหนี้ที่ครบกำหนดชำระก่อนขึ้นก่อน  แต่ถ้าระยะเวลาของหนี้ใกล้เคียงกัน  ให้เรียงตามมูลค่าของหนี้จากมากไปยังน้อย  ส่วนหนี้สินไม่หมุนเวียนมีไม่มากรายการจะมีเงินกู้ระยะยาวและหุ้นกู้

 

สรุปบทที่ 9  ส่วนของเจ้าของกิจการ

รูปแบบของธุรกิจ  มี  3 รูปแบบ  คือ

1. เจ้าของคนเดียว  เป็นกิจการที่บุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของ  การจัดตั้งทำได้ง่าย  เจ้าของเข้าดำเนินงานเองและต้องรับผิดชอบในหนี้สินของร้านโดยไม่จำกัดจำนวน

 

 

2. ห้างหุ้นส่วน   เป็นกิจการที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป        ร่วมกันเป็นเจ้าของโดยมีสัญญาตกลงรวมทุนกันเป็นหุ้นส่วนประกอบการค้าเพื่อหวังผลกำไร  ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนช่วยกันบริหารงานหรือให้     ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งรับมอบบริหารงานแต่ผู้เดียวก็ได้   ห้างหุ้นส่วนแบ่งเป็น  2 ประเภท   คือ

 

2.1 ห้างหุ้นส่วนสามัญ      ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินร่วมกัน  โดยไม่จำกัดจำนวน  ห้างหุ้นส่วนประเภทนี้จะจดทะเบียนหรือไม่จดทะเบียนก็ได้

2.2  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  เป็นกิจการที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประกอบด้วยผู้เป็นหุ้นส่วน  2  ประเภทคือ (1) หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดชอบ  คือ  หุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับว่าจะลงทุนในห้างหุ้นส่วน (2)  หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ  คือ  หุ้นส่วนที่รับผิดชอบในหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน  หุ้นส่วนประเภทนี้มีสิทธิเป็นผู้บริหาร

3. บริษัทจำกัด   คือ  กิจการที่จัดตั้งขึ้นในรูปของนิติบุคคล   ด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้น  แต่ละหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน  ผู้ที่ลงทุนซื้อหุ้นของกิจการเรียกว่าผู้ถือหุ้น  ผู้ถือหุ้นทุกคนต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบตามมูลค่าหุ้นที่ตนถืออยู่  ผู้ถือหุ้นแต่ละคนคือเจ้าของกิจการส่วนหนึ่งในจำนวนที่แน่นอนและได้รับส่วนแบ่งกำไรในรูปของเงินปันผล

ส่วนของเจ้าของ  หมายถึง  ส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์สุทธิทั้งสิ้นของกิจการ   ส่วนประกอบในส่วนของเจ้าของพิจารณาแยกตามประเภทของธุรกิจได้ดังนี้

    • กิจการเจ้าของคนเดียว   ส่วนของเจ้าของประกอบด้วยบัญชีทุน   ใช้บันทึกการเปลี่ยนแปลงเงินทุน  และบัญชีเงินถอน   สำหรับบันทึกการถอนเงินหรือสินทรัพย์ไปใช้ส่วนตัว
    • กิจการห้างหุ้นส่วน  กิจการที่ใช้วิธีทุนคงที่  ส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนประกอบด้วยบัญชีทุน ใช้บันทึกการลงทุน  ถอนทุน  เพิ่มทุน  ของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน  บัญชีกระแสทุนหรือบัญชีเดินสะพัด  ใช้บันทึกสิทธิส่วนได้เสียของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน  เช่น  เงินเดือน  ดอกเบี้ยเงินทุน  ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม  โบนัส  และผลตอบแทนการลงทุน   สำหรับกิจการที่ใช้วิธีทุนเปลี่ยนแปลง  มีบัญชีทุนและบัญชีเงินถอน  ใช้บันทึกเช่นเดียวกับกิจการเจ้าของคนเดียว  แต่แยกบัญชีเป็นของหุ้นส่วนแต่ละคน
    • กิจการบริษัทจำกัด ส่วนของผู้ถือหุ้นประกอบด้วย  ทุนเรือนหุ้น  อาจประกอบไปด้วยหุ้นสามัญ  หรือหุ้นบุริมสิทธิที่จดทะเบียนและออกจำหน่ายแล้ว  ส่วนเกินมูลค่าหุ้นหรือส่วนลดมูลค่าหุ้น  จะแสดงถึงจำนวนเงินที่ขายสูงหรือต่ำกว่ามูลค่าของหุ้นทุน  และกำไรสะสม  จะบันทึกผลกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินงานจนถึงปัจจุบันและนำมาพิจารณาจัดสรรเป็นเงินสำรองต่างๆ  เช่น สำรองตามกฎหมาย  สำรองเพื่อไถ่ถอนหุ้นกู้  สำรองเพื่อขยายกิจการ  รวมถึงนำมาจัดสรรเงินปันผลและเงินโบนัส

 

สรุปบทที่ 10  การบัญชีกิจการผลิตสินค้า กิจการการผลิต  คือ กิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย  รายได้จากการดำเนินงานก็คือรายได้จากการ

ขายสินค้าที่ผลิตได้  ส่วนต้นทุนขายจะประกอบด้วยต้นทุนการผลิต  ต้นทุนการผลิต (Cost of goods Manufactured)  จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ  ดังนี้ 1. วัตถุดิบทางตรง (Direct Material)  หมายถึง วัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญของสินค้า  สามารถคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิตได้ง่าย 2.  ค่าแรงงานทางตรง (Direct Labor)  หมายถึง  ค่าแรงงานที่จ่ายให้กับผู้ที่ทำการแปรสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าโดยตรง  ซึ่งสามารถคิดเข้าเป็นต้นทุนของสินค้าที่ผลิตได้ง่าย 3.  ค่าใช้จ่ายในการผลิต (Manufacturing Overhead)  หมายถึง  ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าที่เกิดขึ้นในโรงงาน  ซึ่งประกอบด้วยรายการ 3 กลุ่ม  คือ  วัตถุดิบทางอ้อมหรือ วัสดุโรงงาน (Indirect Material or Factory Supplies)  ค่าแรงงานทางอ้อม(Indirect Labor)  และค่าใช้จ่ายการผลิตในโรงงาน(Manufacturing Overhead Factory) สินค้าคงเหลือ (Inventory)   สำหรับสินค้าคงเหลือของกิจการการผลิตสินค้า  จะประกอบด้วย

   1. วัตถุดิบทางตรง (Direct Materials)  ก็คือ  วัตถุดิบที่กิจการจัดหามาเพื่อผลิตสินค้าที่ป้อนเข้ากระบวนการผลิตแล้ว  แต่ยังคงเหลืออยู่สามารถนำไปใช้ในการผลิตงวดต่อไป 2.  วัตถุดิบทางอ้อม หรือ วัสดุโรงงาน (Indirect Material or Factory Supplies) คือ สิ่งของที่กิจการจัดมาสนับสนุนการผลิตให้สมบูรณ์ขึ้น  ซึ่งยังใช้ไม่หมด 3.  สินค้าระหว่างผลิต (Work in Process)  หรืองานระหว่างทำ  คือ สินค้าที่ผ่านกระบวนการผลิตแล้วแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ไม่สมารถนำออกจำหน่ายได้  จำเป็นต้องดำเนินการผลิตต่อให้เสร็จต่อไป 4.  สินค้าสำเร็จรูป (Finished Goods) คือ  สินค้าที่ผลิตเสร็จสมบูรณ์แล้ว  พร้อมที่จะนำออกจำหน่ายได้  แต่ในงวดบัญชีนี้ยังนำออกจำหน่ายได้ไม่หมด            หลักการบัญชีสำหรับกิจการการผลิต  สามารถบันทึกบัญชีได้  2  ระบบ  คือ 1.  ระบบทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง (Perpetual Inventory Method)  วิธีนี้จะมีบัญชีคุมวัตถุดิบ  บัญชีคุมงานระหว่างทำ  บัญชีคุมสินค้าสำเร็จรูป  บัญชีต้นทุนขาย  ใช้บันทึกแสดงการเคลื่อนไหวของวัตถุดิบ  งานระหว่างทำ  สินค้าสำเร็จรูป  และต้นทุนขาย

   2.  ระบบบัญชีสินค้าแบบสิ้นงวด (Periodic Inventory Method)  วิธีนี้ในวันสิ้นงวดจะทำการตรวจนับวัตถุดิบ  งานระหว่างทำ  สินค้าสำเร็จรูป  เพื่อคำนวณต้นทุนสินค้าที่ผลิต  และต้นทุนขาย

ข้อแตกต่างระหว่างกิจการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขายกับกิจการการผลิต

กิจการซื้อสินค้าสำเร็จรูปมาขาย

กิจการการผลิต

1.  ซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้ผลิตหรือพ่อค้าขาย ส่งมาขาย

1.  ผลิตสินค้าโดยการซื้อวัตถุดิบมาแปรสภาพ เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย

2.  ต้นทุนขาย คือ สินค้าสำเร็จรูปที่ซื้อมา

2.  ต้นทุนขาย  ประกอบด้วย  วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง  ค่าใช้จ่ายในการผลิต

3.   สินค้าคงเหลือ  คือ สินค้าสำเร็จรูปที่ซื้อมา

3. สินค้าคงเหลือ  ประกอบด้วย  วัตถุดิบ  งานระหว่างทำ และสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตเสร็จ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

พิมพ์ที่ บริษัท สหธรรมิก จำกัด

๕๔๑๖๗-๖๘, ๗๑-๗๒  ซอย จรัญสนิทวงศ์ ๑๒  ถ.จรัญสนิทวงศ์ แขวงท่าพระ  เขตบางกอกใหญ่  กรุงเทพฯ 10600สนใจติดต่อ  โทร. 080-9501234

รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม

ชื่อผลงานทางวิชาการ  : รูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม

ประเภทผลงานทางวิชาการ : งานวิจัย

ปีที่พิมพ์ : ปี 2556  ลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (บัณฑิตวิทยาลัย)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ดร.ตุลยราศรี  ประเทพ  สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       งานวิจัย เรื่องรูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยว เชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม” เป็นงานวิจัยของ  ดร.ตุลยราศรี  ประเทพ ดุษฎีนิพนธ์ สาขาการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยราชภักบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ซึ่งในปัจจุบัน การท่องเที่ยว ถือว่าเป็นหัวใจของการได้มาซึ่งรายได้ ของแทบทุกประเทศ จึงต้องมีการพัฒนา และฟื้นฟู สภาพภูมิประเทศ แหล่งท่องเที่ยว การให้บริการอาหาร ที่พัก มัคคุเทศก์ สภาพแวดล้อม ความปลอดภัย และอื่นๆ  ซึ่งทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญ  เพราะการท่องเที่ยวเป็นเป็นแหล่งรายได้ คนมีงานทำ ความเจริญเข้ามาแทนที่  ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีก็จะทำให้แหล่งท่องเที่ยวนั้นอยู่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต้องให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้วย ดังนั้นงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม 2) ประเมินผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วมของระบบองค์กรการบริหารจัดการ สมาชิกในชุมชน ผู้ประกอบการ และนักท่องเที่ยว 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และ 4) ศึกษารูปแบบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้นำชุมชนคณะกรรมการชุมชน ผู้ประกอบการ ชาวบ้าน จำนวน 337 คน เครื่องมือที่ใช้ในดำเนินการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบประเมินตนเอง 2) การสังเกต และ 3) การสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพัทธ์และการวิเคราะห์ปัจจัยอิทธิพลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างโมเดลเชิงสาเหตุ

  ผลการวิจัยพบว่า

       1) สภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเรียงลำดับ ดังนี้ ด้านระบบองค์กรการบริหารจัดการ  ด้านผู้ประกอบการ ด้านนักท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และด้านสมาชิกในชุมชนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

       2)   ผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม ในภาพรวมไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย ปรากฏว่าผลสัมฤทธิ์ความพร้อมผ่านเกณฑ์การประเมิน

       3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยภาพรวม ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า ปัจจัยด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และ ปัจจัยด้านกระบวนการบริหารจัดการ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

       4) รูปแบบผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ปัจจัย 4 ด้าน คือ ด้านระบบองค์การบริหารจัดการ ด้านผู้ประกอบ ด้านนักท่องเที่ยว ด้านชุมชน ซึ่งปัจจัยด้านผู้ประกอบการ ส่งผลต่อ ผลสัมฤทธิ์มากที่สุด รองมาเป็น ด้านนักท่องเที่ยว โดยด้านระบบองค์การบริหารจัดการ จะส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทั้งทางตรง และทางอ้อม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

       1. ทราบสภาพปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม

       2.  ทราบผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม

       3.  ทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบมีส่วนร่วม

       4. ได้รูปแบบผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการการบริหารจัดการการท่องเที่ยว แบบมีส่วนร่วม

       5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง    สามารถนำผลการวิจัย ปรับปรุงและพัฒนาให้การท่องเที่ยวอยู่ได้อย่างยั่งยืน

เสียงของพ่อ 

ชื่อผลงานทางวิชาการ : เสียงของพ่อ 

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ละครเวที

ปีที่พิมพ์ 2560

มูลเพิ่มเติม : ละครเรื่องนี้ ได้จัดแสดง ณ หอประชุม อาคาร 1 ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (22-24 มี.ค.60)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ :  อาจารย์ภัทรนันท์ไวทยะสิน  อาจารย์เพียรพิลาส พิริยาโภคานนท์ และคณะ  อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


       บ้านสมเด็จฯ ร่วมใจรวมพลัง ถวายความจงรักภักดีจัดแสดงละครเวที เพื่อน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณ  “เสียงของพ่อ”ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       สืบเนื่องด้วยรัฐบาลโดยสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้กำหนดจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระมหากษัตริย์รัชการที่ 9) เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 ภายใต้ชื่อโครงการ “ปลูกไทย ในแบบพ่อ” ขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในการดำเนินงาน จึงจัดให้มีการจัดกิจกรรมละครเวทีเทิดพระเกียรติขึ้น ในชื่อโครงการ “ละครเวทีเทิดพระเกียรติ เสียงแห่งความจงรักภักดี  Sounds of Love” โดยมีวัตถุประสงค์ให้สถาบันระดับอุดมศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐ และเอกชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้นิสิต-นักศึกษา ที่เป็นเยาวชนของชาติได้ค้นคว้า เรียนรู้ และซาบซื้งในพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจและพระปรีชาสามารถที่พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงปฏิบัติมาตลอดระยะเวลา 70 ปี แล้วนำมาสื่อสารแก่ประชาชนและบุคคลทั่วไป เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจงรักภักดี และความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ในรูปแบบของละครเวที

       สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ และวิทยาลัยการดนตรี    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการดำเนินโครงการ “ละครเวทีเทิดพระเกียรติเสียงแห่งความจงรักภักดี : Sounds of Love เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยจัดแสดงละครเวที เรื่อง “เสียงของพ่อ” โดยเน้นกระบวนการของการผลิตละครเวทีแบบมีส่วนร่วมของนิสิต นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ

เรื่องย่อ

เพื่อนสนิททั้ง 4 คน คือ ฝน กัส เป็ด ปุ๋ย เดินทางเข้ามาเรียนที่กรุงเทพมหานคร แต่ด้วยปัญหาของทางครอบครัว จึงทำให้ เป็ดกับปุ๋ย ต้อยหยุดเรียนและกลับบ้านต่างจังหวัด ไปช่วยพ่อและแม่ทำไร่ ทำสวน จึงทำให้ฝนและกัสเรียนจบอย่างที่ตั้งใจเอาไว้ เพียงแค่สองคน หลังจากนั้น กัสตัดสินใจกลับบ้านเพื่อไปช่วยพ่อและแม่ทำงาน มีแต่เพียงฝนที่หางานทำในกรุงเทพฯ และกลับไปเยี่ยมพ่อและแม่ของตนเองเป็นครั้งคราว

เมื่อตัวละครเอกทั้ง 4 คน เติบโตขึ้นเรื่องราวในละครเวทีเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนเมืองและคนชนบทที่คู่ขนานกันไป สังคมเกษตรกรรม การทำไร่ทำนาทำสวน ปัญหาเรื่องดินทำกิน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณของ “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช(พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9) โดยทรงมอบที่ดินพระราชทานให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ให้มีที่ดินทำกิน สร้างงาน สร้างอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ความขัดแย้งและความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันระหว่างฝนกับพ่อ ทำให้พ่อและลูกไม่พูดคุยกัน ฝนต้องการให้พ่อและแม่ย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ กับฝนเพื่อความสะดวกสบาย และไม่ต้อการให้พ่อและแม่ลำบาก หากแต่ฝนไม่รู้ถึงความสำคัญของฝืนดินแห่งนี้ ที่พ่อไม่สามารถละทิ้งไปได้ เนื่องจากเป็นผืนดินของพ่อที่ยังคงกึกก้องไปด้วยพระราชดำรับของพระองค์ท่านที่พร่ำสอนแก่พวกเราเสมอมา

       จากผลงาน  ละครเวทีเทิดพระเกียรติเสียงแห่งความจงรักภักดี : Sounds of Love เรื่อง เสียงของพ่อที่จัดแสดง ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เมื่อวันที่ 22-24 มีนาคม 2560 ได้รับคำชมเชย และประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม ตามเจตนาของรัฐบาลโดยสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเน้นกระบวนการของการผลิตละครเวทีแบบมีส่วนร่วมของนิสิต นักศึกษาเข้าร่วมโครงการ ด้วยความมุ่งมั่น ความสามารถ และศักยภาพของสาขาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ       โดยการนำ ของอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน  อาจารย์เพียรพิลาส พิริยาโภคานนท์และทีมงาน รวมทั้งวิทยาลัยการดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาต้องขอปรบมือให้กับผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องทุกคน ที่ได้สร้างชื่อเสียงมาสู่สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย สมควรได้รับการยกย่องและเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติงานต่อไป


ประมวลภาพกิจกรรมลงพื้นที่เก็บข้อมูลสร้างบทละคร 

ณ โครงการพระราชดำริ หุบกะพง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี


ประมวลภาพกิจกรรมงานแถลงข่าวโครงการปลูกไทยในแบบพ่อ

ณ หอประชุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร วันที่ 1 กรกฎาคม 2559


ประมวลภาพกิจกรรมการซ้อมละครเวทีเทิดพระเกียรติ เรื่อง เสียงของพ่อ

ตลอดระยะ เวลา 6 เดือน (ตุลาคม 2559 ถึง มีนาคม 2560)


ประมวลภาพกิจกรรมการการผลิตงานฉาก

ละครเวทีเทิดพระเกียรติ เรื่อง เสียงของพ่อ


ประมวลภาพกิจกรรมการจัดแสดงละครเวทีเทิดพระเกียรติ เรื่อง เสียงของพ่อ

วันที่ 22-24 มีนาคม 2560 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จฯเจ้าพระยา


ประมวลภาพกิจกรรมการจัดแสดงละครเวทีเทิดพระเกียรติ เรื่อง เสียงของพ่อ

วันที่ 22-24 มีนาคม 2560 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ประมวลภาพกิจกรรมเสวนาถอดบทเรียนการผลิตละครเวทีแบบมีส่วนร่วม จากต้นสู่ปลาย

วันที่ 8 เมษายน 2560 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


 

สามารถรับชม  บันทึกการแสดงสดได้ที่

วงมโหรี

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วงมโหรี

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความ

ปีที่พิมพ์ : 2555

มูลเพิ่มเติม : ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง  กรมส่งเสริมวัฒนธรรมกระทรวงวัฒนธรรม

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

วงมโหรี      เป็นบทความที่   ผศ.สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ ผู้สอนในรายวิชาดนตรีปฏิบัติเพื่อธุรกิจบันเทิง    สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และเป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง    ของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ได้เรียบเรียงบทความนี้ ให้กับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อใช้ในการพิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดง โดยผศ.สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสาขาศิลปะการแสดง ตั้งแต่ปี พ.. 2554 จนถึงปัจจุบัน จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ซึ่ง วงมโหรีได้ประกาศขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ใน ปี พ..2555 อีกทั้งยังเป็นประโยชน์ในการสืบค้นข้อมูลด้านวงเครื่องสายไทย ให้กับผู้สนใจ (นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน)  ได้สืบค้นและนำเป็นอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการต่อไป  โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับ  คำนิยามของคำว่า วง มโหรี   ลักษณะสำคัญของวงมโหรี  ประเภทของวงมโหรี โอกาสในการบรรเลง  บทเพลงที่นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี  ประกอบด้วย  เพลงโหมโรง เพลงเถา เพลงตับ เพลงใหญ่ เพลงลูกล้อลูกขัด  เพลงเกร็ด เพลงลา  วิวัฒนาการ  สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวงมโหรี  บุคคลที่มีชื่อเสียงและเกี่ยวข้องกับวงมโหรีของประเทศไทย


 

วงมโหรี

        สิทธิศักดิ์    จรรยาวุฒิ

    มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

       วงมโหรี เป็นมรดกวัฒนธรรมไทย ที่สำคัญและทรงคุณค่ายิ่ง มีโครงสร้าง องค์ประกอบ แบบแผน การพัฒนา การสืบทอด มาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน   ในการนำเสนอเนื้อหาสาระของวงมโหรีเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกทางวัฒนธรรม สาขาศิลปะการแสดงในครั้งนี้ จะครอบคลุม นิยามลักษณะสำคัญของวงมโหรี ประเภทของวงมโหรี โอกาสในการบรรเลง หน้าที่และความหมายทางสังคมวัฒนธรรม การสืบทอดองค์ความรู้ สภาพการในอดีตจนปัจจุบัน การอ้างอิงนามองค์ศิลปิน และศิลปิน บางพระองค์บางท่านทั้งที่ล่วงลับไปแล้ว รวมถึงบางท่านที่ยังคงมีชีวิตและยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลในลักษณะภาพรวมที่สำคัญและจำเป็นเพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมการดนตรีของไทยที่มีการสั่งสมและพัฒนาจนมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นไม่แพ้ชนชาติใด แสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณและวิถีความเป็นไทยที่จำเป็นต้องอนุรักษ์และพัฒนาต่อไปให้คงอยู่คู่สังคมไทยได้ในยุคกระแสโลกาภิวัฒน์เฉกเช่นในปัจจุบัน

นิยาม

       วงมโหรีหมายถึงวงดนตรีที่แสดงถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทางการแสดงดนตรีของไทยที่ทรงคุณค่ามีความโดดเด่นด้วยขนบประเพณีวิธีคิดวิธีปฏิบัติมีการดำเนินวิถีทางวัฒนธรรมดนตรีที่หล่อหลอมสืบทอดมาหลายยุคหลายสมัยนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบันมีขอบเขตครอบคลุมถึงการประสมวงดนตรีเครื่องดนตรีรูปแบบการบรรเลงบทเพลงศิลปินผู้บรรเลงขับร้องนักประพันธ์เพลง  โอกาสการนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆและบริบทที่เกี่ยวข้อง สำหรับวงมโหรีที่กำหนดในนิยามนี้ ได้แก่ วงมโหรีเครื่องสาม วงมโหรีเครื่องสี่ วงมโหรีเครื่องหก วงมโหรีเครื่องแปด วงมโหรีเครื่องเก้า วงมโหรีเครื่องสิบ วงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่ และวงมโหรีเครื่องใหญ่

ลักษณะสำคัญของวงมโหรี    

       วงมโหรีจัดเป็นวงดนตรีวงหนึ่งของไทยที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องดังปรากฏในงานจิตรกรรมประติมากรรมเช่นภาพปูนปั้นภาพแกะสลัก  ภาพเขียนลายทองบนตู้หนังสือ ฯลฯ ตั้งแต่ครั้งโบราณกาล  สาระจากงานจิตรกรรม ประติมากรรมเหล่านี้เป็นร่องรอยหลักฐานที่ใช้สืบค้นความเป็นมาเป็นไปอันเกิดมีขึ้นในวัฒนธรรมดนตรีของไทยที่ เป็นวิวัฒนาการของวงมโหรีของไทยได้   จิตรกรรมฝาผนังสมัยอยุธยามีภาพพุทธประวัติตอนที่ทรงฉัน ปัจฉิมบิณฑบาตรที่บ้านนายจุนทะกัมมารบุตร เมืองปาวา มีภาพเครื่องดนตรีคือ กระจับปี่ ซอสามสาย และทับ (โทน) ปัจจุบันอยู่ที่วังสวนผักกาด กรุงเทพฯ จากภาพจิตรกรรมนี้แสดงให้เห็นว่า เป็นวงมโหรีเครื่องสาม   นอกจากนี้ยังพบภาพแกะสลักวงมโหรีเครื่องสี่อันประกอบด้วย คนสีซอสามสาย คนดีดกระจับปี่ คนตีทับหรือโทน และคนตีกรับที่เป็นผู้ขับลำนำ   ปรากฏอยู่บนฝาตู้ไม้จำหลักสมัยอยุธยา   ตรงกับที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายไว้ว่า มโหรีนั้นเดิมวงหนึ่งมีคนเล่นเพียงสี่คน เป็นคนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้จังหวะเองคนหนึ่ง คนสีซอสามสายประสานเสียงคนหนึ่ง คนดีดกระจับปี่ให้ลำนำคนหนึ่ง คนตีทับ (โทน) ประสานจังหวะกับลำนำคนหนึ่ง สังเกตเห็นได้ชัดว่ามิใช่อื่นคือการเครื่องบรรเลงพิณกับเครื่องขับไม้มารวมกันนั่นเอง เป็นแต่ใช้กระจับปี่ดีดแทนพิณ ตีทับแทนไกวบัณเฑาะว์ และเติมกรับพวงสำหรับให้จังหวะเข้าอีกอย่างหนึ่ง  ในหนังสือจินดามณีเล่ม 1 – 2 หน้า 45 ได้กล่าวถึงวงมโหรีไว้ว่า

นางขับขานเสียงแจ้ว      พึงใจ

  ตามเพลงกลอนกลใน     ภาพพร้อง

  มโหรีบรรเลงไฉน          ซอพาทย์

  ทับกระจับปี่ก้อง             เร่งเร้ารัญจวน

       พิจารณาตามโคลงบทนี้ วงมโหรีนี้มีห้าคนคือ นางขับร้องซึ่งน่าจะตีกรับด้วยคนหนึ่ง คนเป่าปี่หรือขลุ่ยคนหนึ่ง คนสีซอสามสายคนหนึ่ง คนตีทับคนหนึ่ง คนดีดกระจับปี่คนหนึ่ง จึงนับเป็นมโหรีเครื่องห้า จากภาพจิตรกรรมฝาผนังด้านทิศตะวันตกในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลของพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 มีภาพของวงมโหรีเครื่องหก   มีผู้เล่น 6 คนประกอบไปด้วย ซอสามสาย กระจับปี่ โทน รำมะนา ขลุ่ย และคนขับลำนำ   สำหรับมโหรีเครื่องแปดนั้นมีการกล่าวว่าในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีผู้คิดเพิ่มเครื่องดนตรีอีกสองชนิดคือ ระนาดไม้และระนาดแก้ว   จากหลักฐานที่ปรากฏบนตู้ไม้ลายจำหลักเรื่อง ภูริทัตตชาดก สมัยกรุงศรีอยุธยา มีคนเป่าขลุ่ยสองคน และมีคนตีฆ้องวงอีก 1 คน ฆ้องวงที่เพิ่มมานี้ภายหลังปี่พาทย์นำไปผสมในวงปี่พาทย์   อาจสันนิฐานได้ว่าวงมโหรีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายจะมีวงมโหรีเครื่องเก้าแล้ว    มีหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังวิหารพระนอนตรงเบื้องพระเศียรพระพุทธไสยาสน์ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีผู้เล่นดนตรีสิบคนและบทเพลงยาวไหว้ครูมโหรีครั้งกรุงศรีอยุธยากล่าวว่า (patakorn, 2554 : ระบบออนไลน์)

ขอพระเดชาภูวนาท พระบาทปกเกล้าเกศี

  ข้าผู้จำเรียงเครื่องมโหรี ซอกรับกระจับปี่รำมะนา

  โทนขลุ่ยฉิ่งฉาบระนาดฆ้อง ประลองเพลงขับกล่อมพร้อมหน้า

  จลเจริญศรีสวัสดิ์ ทุกเวลา ให้ปรีชาชาญเชี่ยวในเชิงพิณ

       ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่ามีมโหรีเครื่องเก้าและมโหรีเครื่องสิบในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว

ประเภทของวงวงมโหรี

       วงมโหรีที่นิยมบรรเลงในปัจจุบันนี้ คือวงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่  และวงมโหรีเครื่องใหญ่   ส่วนวงมโหรีโบราณนั้นไม่ค่อยจะได้มีโอกาสพบเห็นกันแล้วด้วยหาผู้ดีดกระจับปี่ไม่ได้ แต่ก็มีบางโอกาสที่วงมโหรีเครื่องสี่และวงมโหรีเครื่องหก จะมีการนำมาบรรเลงในวาระพิเศษสำคัญต่างๆ

1.   วงมโหรีเครื่องสี่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน กระจับปี่ 1 ตัว
โทน 1 ใบ กรับพวง 1 พวง

2.   วงมโหรีเครื่องหก   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน กระจับปี่ 1 ตัว
โทน 1 ใบ รำมะนา 1 ใบ
ขลุ่ยเพียงออ 1  เลา กรับพวง 1 พวง

3.   วงมโหรีเครื่องแปด   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน กระจับปี่ 1 ตัว
ระนาดไม้ 1 ราง ระนาดแก้ว 1 ราง
โทน 1 ใบ รำมะนา 1 ใบ
ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา กรับพวง 1 พวง

4.   วงมโหรีวงเล็ก   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน ซอด้วง 1 คัน
ซออู้ 1 คัน จะเข้ 1 ตัว
ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ระนาดเอก 1 ราง
ฆ้องวงใหญ่ 1 วง โทน   รำมะนา 1 คู่
ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่
กรับ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ

5.   วงมโหรีเครื่องคู่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน ซอสามสายหลิบ 1 คัน
ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน
จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
ขลุ่ยหลิบ 1 เลา ระนาดเอก 1 ราง
ระนาดทุ้ม 1 ราง ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
ฆ้องวงเล็ก 1 วง โทน 1 คู่
ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่
กรับ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ

6.   วงมโหรีเครื่องใหญ่   จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้

ซอสามสาย 1 คัน ซอสามสายหลิบ 1 คัน
ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน
จะเข้ 2 ตัว ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา
ขลุ่ยหลิบ 1 เลา ระนาดเอก 1 ราง
ระนาดทุ้ม 1 ราง ระนาดเอกเหล็ก 1 ราง
ระนาดทุ้มเหล็ก 1 ราง ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
ฆ้องวงเล็ก 1 วง โทน   รำมะนา 1 คู่
ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่
กรับ 1 คู่ โหม่ง 1 ใบ


โอกาสในการบรรเลง

       การนำเครื่องดนตรีทั้งเครื่องดีด สี ตี เป่า ที่มีการปรับขนาดของเครื่องตีให้เล็กกว่าที่ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นั้นเป็นความเหมาะสมลงตัวที่ทำให้การบรรเลงเครื่องดนตรีทุกชิ้นร่วมกันร่วมกันในวงมโหรี   มีสุ้มเสียงนุ่มนวลไพเราะอ่อนหวานน่าฟังประดุจเสียงทิพย์จากสรวงสวรรค์   เพราะมีความดังของเสียงที่พอเหมาะไม่ดังจนเกินไป   เหมาะที่จะใช้บรรเลงภายในอาคารบ้านเรือน หรือสามารถบรรเลงในบริเวณริมอาคารที่เป็นบริเวณโล่งแจ้งก็ทำได้   เหมาะสมกับในการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคลต่างๆ   จึงมักพบวงมโหรีได้ตามงานมงคลต่างๆทั่วไป อาทิ งานมงคลสมรส งานขึ้นบ้านใหม่ งานวันเกิด งานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ  เป็นต้น   

 

บทเพลงที่นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี

       เพลงโหมโรง

โหมโรงไอยเรศ
โหมโรงปฐมดุสิต
โหมโรงครอบจักรวาล
โหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง
โหมโรงเจิญศรีอยุธยา
โหมโรงแปดบท
โหมโรงมหาฤกษ์
โหมโรงสามม้า (ม้ารำ, ม้าสะบัดกีบ, ม้าย่อง)
โหมโรงขับไม้บัณเฑาะว์
โหมโรงต้องตลิ่ง
โหมโรงกระแตไต่ไม้
โหมโรงจอมสุรางค์
โหมโรงเยี่ยมวิมาน
โหมโรงรัตนโกสินทร์
โหมโรงมหาราช
โหมโรงนางกราย
โหมโรงราโค
.
โหมโรงมะลิเลื้อย
โหมโรงเพลงเรื่องชมสมุทร

      เพลงเถา

นกเขาขะแมร์  มอญอ้อยอิ่ง แขกมอญบางขุนพรม
เขมรพวง ลาวเสียงเทียน สร้อยมยุรา
สุรินทราหู แขกกุลิต โสมส่องแสง
แขกอาหวัง โยสลัม ราตรีประดับดาว
มอญรำดาบ แสนคำนึงแป๊ะ สารถี
แขกมอญ  เขมรปากท่อ สร้อยลำปาง
แขกขาว สุดสงวน นางครวญ
มอญขว้างดาบ อาถรรพ์ เขมรพายเรือ
แขกต่อยหม้อ จีนเลือกคู่ เขมรโพธิสัตว์
เงี้ยวรำลึก โลนอนงค์ ไส้พระจันทร์
ยอเร แขกสาย อาหนู
เหราเล่นน้ำ ครวญหา แขกมอญบางช้าง
จระเข้หางยาว ขอมทรงเครื่อง ญวนเคล้า
เขมรพายเรือ ขอมเงิน มอญชมจันทร์
สาวเวียงเหนือ พราหมณ์ดีดน้ำเต้า แขกแดง
อะแซหวุ่นกี้ พม่าเห่ จีนขิมเล็ก
มะลิซ้อน สี่บท หกบท
แปดบท เขมรลออองค์ ล่องลม
กล่อมนารี ชมแสงจันทร์ เทพรัญจวน
พันธ์ฝรั่ง ลาวกระแซ กาเรียนทอง
ลาวสวยรวย สาวน้อยเล่นน้ำ เขมรเลียบพระนคร
แขกเล่นกล แขกสาหร่าย การะเวก
ทองกวาว หวนคำนึง ลมพัดชายเขา
ขอมใหญ่ วายุบุตรยาตรา มุล่ง
ขอมโบราณ ทองย่อน ล่องเรือ
พม่าชมเดือน กัลยาเยี่ยมห้อง ช้างประสานงา
แขกเชิญเจ้า ลาวสมเด็จ เขมรชนบท
นกจาก แขกบรเทศ นาคบริพัตร
ลงสรงลาว หงส์ทอง ระหกระเหิน
ยโสธร กล่อมพญา คู่มอญรำดาบ
บุหลัน พญาสี่เสา ครุ่นคิด
พราหมณ์เข้าโบสถ์ เทพชาตรี แขกไทร
สาลิกาชมเดือน ตวงพระธาตุ สาริกาเขมร
ต้อยตลิ่ง เขมรเหลือง เพชรน้อย
ลาวเลียบค่าย เต่าเห่ พม่าแปลง
เทพบรรทม มังกรทอง สาวสอดแหวน
ฝรั่งควง ลาวลำปางใหญ่ เขมรใหญ่
สาลิกาแก้ว แสนเสนาะ สาวสุดสวย
จินตะหราวาตี มอญโยนดาบ จระเข้ขวางคลอง
นารายณ์แปลงรูป จีนขิมใหญ่ ใฝ่คนึง
กระต่ายเต้น พัดชา ภิรมย์สุรางค์
ผกากาญจน์ เขมรชมดง วิเวกเวหา
ทักษิณราชนิเวศน์ ขอมระทม ขอมกล่อมลูก
องเชียงสือ สุดสายใจ น้ำลอดใต้ทราย
ลมหวน ตามกวาง กำสรวลสุรางค์
เขมรภูมิประสาท สมิงทอง กราวรำ
สีนวล จีนนำเสด็จ ฝรั่งกลาย
อนงค์สุชาดา นาคเกี้ยว ดาวกระจ่าง
เทพสร้อยสน มหาราชาอศิรวาท ชื่มชุมนุมกลุ่มดนตรี
นางหงส์

เพลงตับ

วิวาห์พระสมุทร ลาวเจริญศรี อะบูหะซัน
ต้นเพลงฉิ่ง เย็นย่ำ ขะแมร์กอฮอม
สมิงทอง นางซิน ราชาธิราช
มอญคละ แม่ศรีทรงเครื่อง ภุมริน
จูล่ง พระลอคลั่ง  ตับมโหรี

 

เพลงใหญ่ เพลงลูกล้อลูกขัด

พม่าห้าท่อน เชิดจีน โอ้ลาว
ใบ้คลั่ง บังใบ แขกโอด
แขกลพบุรี ทยอยเขมร ทยอยลาว
เขมรราชบุรี จีนลั่นถัน ทยอยใน
ทยอยนอก

 

เพลงเกร็ด

ลาวคำหอม เขมรปี่แก้ว เขมรปี่แก้วน้อย
ลาวสมเด็จ จระเข้หางยาวทางสักวา จระเข้หางยาวทาง
ดอกสร้อย ลาวดวงดอกไม้ เขมรอมตึ๊ก
มอญมอบเรือ ลาวดำเนินทราย มยุราภิรมย์
จีนเก็บบุปผา จีนรำพัด บุหลันลอยเลื่อน
มหาฤกษ์ มหาชัย นางนาค
แขกภารตะ แขกฉิ่งญวน  ทีโห่

เพลงลา

เต่ากินผักบุ้ง ปลาทอง พระอาทิตย์ชิงดวง
นกขมิ้น อกทะเล

วิวัฒนาการ  สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวงมโหรี

       ความนิยมในการบรรเลงมโหรีนั้นมีมานานมาก ดังมีบันทึกปรากฏในงานจิตรกรรม ประติมากรรม เช่น ภาพปูนปั้น ภาพแกะสลัก  ภาพเขียนลายทองบนตู้หนังสือ ฯลฯ   องค์ความรู้ต่างๆที่ได้จากงานจิตรกรรม ประติมากรรมเหล่านี้เป็นร่องรอยหลักฐานที่บ่งชี้ถึงความเจริญและวิวัฒนาการทางการดนตรีของไทยได้เป็นอย่างดี   ด้วยการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นไม่เป็นวิถีปฏิบัติของบรรพบุรุษไทยสักเพียงใดด้วยนิยมใช้การสืบทอดในเชิงมุขปาฐะเป็นสำคัญ   ดังนั้นในการสืบค้นร่องรอยหลักฐานในภายหลัง จึงมีการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเข้ามาเป็นเครื่องมือสนับสนุนการทำงาน   ความนิยมในการขับร้องบรรเลงมีปรากฏเด่นชัดมาแต่ครั้งในอดีตก่อนกรุงสุโขทัย  แม้ในกฏมณเฑียรบาลในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ แผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ประมาณ ปี พ.. 1991 – 2031 ก็มีบันทึกไว้ว่า ห้ามร้องเพลงเรือ เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดจะเข้ ดีดกระจับปี่ ตีโทนตีทับ ในเขตพระราชฐาน” (อุทิศ นาคสวัสดิ์, 2525: 4) แสดงให้เห็นว่าการบรรเลงเครื่องดนตรีต่างๆนั้นได้รับความนิยมกันมากมายจนต้องห้ามไว้ในเขตพระราชฐาน  ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ก็มีการนำเครื่องสายมาจัดให้บรรเลงประสมเข้าด้วยกันกับวงปี่พาทย์ที่มีการลดขนาดสัดส่วนของเครื่องดนตรีลง  เพื่อให้มีเสียงที่เหมาะสมที่จะบรรเลงร่วมกัน   จนเกิดเป็นรากฐานของการพัฒนาวงมโหรีของไทยมาจนปัจจุบันนี้   ทั้งวงมโหรีวงเล็ก วงมโหรีเครื่องคู่  วงมโหรีเครื่องใหญ่ ประเทศไทยนั้นได้มีการสืบทอดและบรรเลงวงมโหรีกันอยู่แม้จะไม่ได้มีการนำมารับใช้ในวิถีชีวิตทั่วๆไปของชาวไทยอย่างในอดีตที่ผ่านมา   แต่การเรียนดนตรีของเยาวชนไทยในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาก็ยังคงมีความชัดเจนอยู่ในทุกๆภูมิภาคของประเทศไทย   ด้วยความสนับสนุนอันดีของภาครัฐและเอกชน   และจะยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปตราบที่แผ่นดินไทยยังยืนหยัดอยู่ได้ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ในปัจจุบันนี้   และตราบที่ชาวไทยกลุ่มหนึ่ง  ที่ยังคงรักและหวงแหนในมรดกภูมิปัญญาไทยทางการแสดงดนตรีมโหรีของบรรพบุรุษไทย   แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังมีผู้คนที่จะไม่ยอมตกเป็นเมืองขึ้นทางวัฒนธรรมให้กับชาติใด   แม้จะมีทีท่าส่อเค้าทวีความรุนแรงอย่างยิ่ง 

 

บุคคลอ้างอิง

1. บุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับวงการวงมโหรีในอดีต   เช่น

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชชายา เจ้าดารารัศมี
สมเด็จฯเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
เจ้าเทพกัญญา ณ เชียงใหม่
พระยาประสานดุริยศัพท์
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
พระสรรเพลงสรวง
จางวางทั่ว พาทยโกศล
ขุนสนิทบรรเลงการ
ครูปลั่ง วนเขจร
ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล
ครูคงศักดิ์   คำศิริ
ครูเทียบ  คงลายทอง
ครูอุษา สุคันธมาลัย
ครูท้วม  ประสิทธิกุล
ครูบรรเลง สาคริก
ครูแสวง อภัยวงศ์
ครูทองดี  สุจริตกุล
ครูระตี  วิเศษสุรการ
ครูเฉลิม  บัวทั่ง
ครูจันทร์  โตวิสุทธิ์
ครูชิต  แฉ่งฉวี
ครูประเวช  กุมุท
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี
พระสุจริตสุดา
.
พระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก)
พระยาภูมีเสวิน
หลวงว่องจะเข้รับ
หลวงเสนาะเสียงกรรณ
หลวงไพเราะเสียงซอ
ครูชุ่ม กมลวาทิน
ครูไป  ล่ วนเขจร
คุณหญิงไพฑูรย์ กิติวรรณ
ครูมนตรี  ตราโมท
ครูละเมียด  จิตตเสวี
ครูชิ้น ศิลปบรรเลง
ครูศรีนาฏ  เสริมศิริ
ครูสุมิตรา สุจริตกุล
ครูนิภา  อภัยวงศ์
ครูฉลวย  จิยะจันทร์
ครูลิ้ม  ชีวสวัสดิ์
ครูจำเนียร  ศรีไทยพันธ์
ครูสุวิทย์   บวรวัฒนา
ดร.อุทิศ  นาคสวัสดิ์
ครูเจริญใจ  สุนรวาทิน

2.   บุคคลอ้างอิงเกี่ยวกับวงการวงมโหรีในปัจจุบัน

.เบ็ญจรงค์  ธนโกเศศ
อ.สุรางค์  ดุริยพันธ์
.ระวิวรรณ  ทับทิมศรี
.ปกรณ์  รอดช้างเผื่อน
.วิเชียร  จันทร์เกษม
.ชนก  สาคริก
.สุวัฒน์  อรรถกฤษณ์
.สุดจิตต์  ดุริยประณีต
อ.เฉลิม  ม่วงแพรศรี
.สุวัฒนา  แสงทับทิม
.ประสิทธิ์ คุ้มทรัพย์
.ชยุดี  วสวานนท์
.ปิ๊ป  คงลายทอง

เอกสารอ้างอิง

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2542). สังคีตนิยมว่าด้วยดนตรีไทย. กรุงทพฯ :โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ปัญญา รุ่งเรือง. (2533). อ่านและฟังดนตรีไทยประกอบเสียง.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ. (2551). ย้อนรอยคีตังวังพญาไท.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา..

จุธาทิพย์ ดาศรี. (2551). ย้อนรอยคีตังวังพญาไท.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

อนุชา ทีรคานนท์, บรรณาธิการ.(2552). เล่าเรื่องเครื่องดนตรีชิ้นเอก.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,

พูนพิศ อมายกุลและคณะ. (2550). จดหมายเหตุดนตรี 5 รัชกาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

www.patakorn.com/modules.php/Bangkok

www.krudontri.com/artietes /111 music_men

การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว (An Evaluation of Attraction Site in Thonburi Area, Bangkok for Travelling Route of Physically Disabled)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม : ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจากสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ  อาจารย์สุพรรณิการ์  ชาคำรุณ สาขาวิชาการท่องเที่ยว  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่อง การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานครเพื่อจัดทำเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ)สำรวจและประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เพื่อนำมาจัดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว กลุ่มตัวอย่าง คือ ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนท้องถิ่น จำนวน 22 คนและนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว จำนวน 18 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว จำนวน 5 ด้าน คือ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการมีส่วนร่วม ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการบริหารและจัดการ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

       1. แหล่งท่องเที่ยวโดยภาพรวมมีศักยภาพในระดับมาก   โดยด้านที่มีความคิดเห็นต่อศักยภาพที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านศิลปวัฒนธรรม รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมและด้านการบริหารและจัดการ ตามลำดับ และเมื่อศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวจำแนกตามสถานที่ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก ซึ่งแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ พิพิธภัณฑ์ศิริราช รองลงมา คือ อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี ตามลำดับ

       2. การประเมินศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในเขตธนบุรีฯnพบว่า สามารถจัดเส้นทางท่องเที่ยวได้เป็น 3 เส้นทาง คือ

          2.1 เส้นทางที่ 1 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี   พิพิธภัณฑ์ศิริราชวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า

          2.2 เส้นทางที่ 2 อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จย่า ชุมชนกุฏีจีน ป้อมวิไชยประสิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ศิริราช

          2.3 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ป้อมวิไชยประสิทธิ์ วัดกัลยาณมิตรวรวิหารชุมชนกุฏีจีน

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

       1. ได้ทราบศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ที่สามารถจัดเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

       2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการทางการเคลื่อนไหว

วงเครื่องสายไทย

ชื่อผลงานทางวิชาการ : วงเครื่องสายไทย
ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความ
ปีที่พิมพ์ : 2555
มูลเพิ่มเติม : ลงในเอกสารรวบรวมบทความ มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรม กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ    สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง  คณะวิทยาการจัดการ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


View Fullscreen

การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย” ครั้งที่ 3” วันที่ 20 22 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

 

       ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่องการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies modified) นี้ ผู้ศึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบัน และศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  ที่คาดหวังให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้างานและผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 410 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test) และทำการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตรการคำนวณค่าดัชนีจัดเรียงลำกับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI modified)

ผลการศึกษา พบว่า สมรรถะของผู้กำกับศิลป์ มี 3 ด้าน รวม 16 สมรรถนะ ดังนี้

       ด้านที่ 1 สมรรถนะด้านความรู้ ประกอบด้วย 1)ความรู้ด้านการออกแบบ 2)ความรู้ด้านการตลาด 3)ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และ 4)ความรู้รอบตัว

       ด้านที่ 2สมรรถนะด้านทักษา ประกอบด้วย 1)ทักษะในการออกแบบสื่อ 2)ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3)ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 5) ทักษะการนำเสนอ 6)ทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ 7)ทักษะการควบคุมกระบวนการผลิต 8)ทักษะการควบคุมตรวจสอบการออกแบบของทีมงาน

       ด้านที่ 3 สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 1)ความคิดสร้างสรรค์ 2)รสนิยม 3)การมุ่งผลสำเร็จ และ 4)คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

ผลการวิจัยพบว่า

       1. ระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันที่มีค่ามากที่สุดและต่ำที่สุด ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ในปัจจุบันมากที่สุด คือ ความรู้ด้านการตลาด น้อยที่สุด คือ ความรู้รอบตัว

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะในปัจจุบันมากที่สุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ น้อยที่สุดคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

          ด้านที่ 3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะในปัจจุบันมากที่สุด คือ คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ น้อยที่สุด คือรสนิยม

       2. ผลการวิจัยระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาที่คาดหวังให้มี ที่มีค่ามากสุดและต่ำสุดในแต่ละด้านมี ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความรู้รอบตัว    น้อยที่สุด  คือความรู้ด้านการออกแบบ

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือ ทักษะการออกแบบสื่อน้อยที่สุด คือทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ

          ด้านที่3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความคิดสร้างสรรค์น้อยที่สุด คือการมุ่งผลสำเร็จ

       3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ด้วยค่าดังนี้ จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Nedds : PNI modified)ที่มีระดับสมรรถนะต่ำและมีลำดับความต้องการจำเป็นสูง จำนวน 6 สมรรถนะ เรียงลำดับดังนี้ คือ 1) ความรู้รอบตัว    2)รสนิยม 3)ความคิดสร้างสรรค์ 4)ทักษะการออกแบบสื่อ 5)ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และ 6)ความรู้ภาษาอังกฤษ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

1.   ทราบระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันและที่คาดหวังให้มี และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา

2.   บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาเพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในการเปิดประชาคมอาเซียน

3. บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการสรรหาและคัดเลือกผู้กำกับศิลบริษัท

4. ตัวแทนโฆษณา รวมถึงจัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อรับนิสิตนักศึกษามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโครงการสหกิจศึกษา เป็นต้น

5. บริษัทตัวแทนโฆษณาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การตั้งเกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร 

6. สถาบันการศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร สาขาวิชาการโฆษณา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน เพื่อการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้มีความสามารถตามความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อให้เกิดโอกาสการได้งานทำมากขึ้นในสภาวการณ์การแข่งขันที่สูงของตลาดแรงงานในปัจจุบัน

มายกรีซ (My Greece)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             มายกรีซ (My Greece)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์  2556 ปีที่ 12

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ
สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ เรื่อง มายกรีซ (My Greece) นี้ อาจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   ได้รับเชิญไปบรรยาย เรื่องศิลปะในงานภาพยนตร์และวีดีโอ  (The Art of Film & V.D.O.) การกำกับการแสดง (Directing)  มีซานซัน ให้มูลนิธิเพื่อศิลปะของเกาะสโคพิลอส  (The Skopelos Foundation for the Arts) ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 2012 ของเกาะสโคพิลอส  (SIFFY/Skopelos International Film Festival for Youth)     ระหว่างวันที่ 3-7 สิงหาคม 2555 ซึ่งได้รับการแนะนำจากสถาบันดีมาร์  (DIMA/Dong.Ah Institute of Medias and Arts) ประเทศเกาหลี ซึ่งเคยเชิญ อาจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ ไปบรรยายและเป็นกรรมการตัดสินภาพยนตร์สั้น ในงานภาพยนตร์ดินเฟค 2010     (DINFEC/DIMA International Film making and Acting Camp for Youth) ซึ่งเคยได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทย รายสัปดาห์ ฉบับที่ 2937 ประจำวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 หน้า 32-35

   การบรรยายเรื่องศิลปะในงานภาพยนตร์และวิดีโอ  (The Art of Film & V.D.O.)     และกำกับการแสดง โดยเนื้อหาจะเน้นเรื่อง “มีซานซัน” (Mise-en-Scene) ซึ่งเป็นเรื่องการสร้าง การรับรู้และการสื่อสารไปยังผู้ชม โดยใช้องค์ประกอบ ดังนี้

1. จาก (Setting)
2. แสงสี (Lighting)
3. บุคลิกและทางทางของตัวละคร (Character Movement)
4. เสื้อผ้าและการแต่งหน้า (Make-up and Costume)
5. เสียงประกอบและดนตรี (Sound and Music)

ซึ่งมีการถ่ายทำ ตัดต่อ จนเป็นภาพยนตร์สั้น อันเป็นผลงานของเยาวชน ที่มาจากทั้งเอเชียและยุโรปจุดเด่นของบทความนี้ ผู้เขียนได้รับเชิญให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ในประเทศกรีก เกาหลี ฮังการี่ฯลฯ ในเรื่อง ศิลปะในงานภาพยนตร์และวีดีโอ   (The Art of Film & V.D.O.)  และการกำกับการแสดง(Directing) ตลอดจนการควบคุมการถ่ายทำ ตัดต่อจนเป็นภาพยนตร์สั้น ซึ่งเป็นผลงานของเยาวชนที่มาจากทั้งเอเชียและยุโรป    ซึ่กิจกรรมในครั้งนี้ ได้แสดงถึงศักยภาพของอาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง ที่สมควรได้รับการยกย่องอันนำมาซึ่งชื่อเสียงของสาขาฯ   คณะวิทยาการจัดการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ซึ่งบทความนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2556  ปีที่ 12

 

มายกรีซ (My Greece)

สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ


View Fullscreen

ณ เมียนมาร์ (Myanmar)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ           ณ เมียนมาร์ (Myanmar)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2556 ปีที่ 12

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม”   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ เรื่อง ณ เมียนมาร์  ( Myanmar) เป็นบทความที่ อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ)สาขาวิชาการท่องเที่ยว  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เขียนขึ้น  จากโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกิจกรรมนิสิตศึกษาภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาเมียนมาร์ โดยในการไปศึกษาดุงานในครั้งนี้ เดินทางในวันที่ 27-30 กันยายน 2553  ผู้เขียนในสายของมุมมองทางสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้นำมุมมองของการท่องเที่ยวของสหภาพเมียนมาร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะทางด้านงานมัคคุเทศก์และที่สำคัญได้นำประสบการณ์และเรื่องราวต่างๆ จากมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ในประเทศพม่ามาถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ได้เข้าถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณีของประเทศนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ซึ่งทุกๆคน ควรได้รับรู้และศึกษาเพื่อประโยชน์ในเรื่องต่างๆ ต่อไป และบทความนี้ ได้ลงตีพิมพ์แล้วในวารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2556  ปีที่ 12

 

เมียนมาร์ (Myanmar)

สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ


View Fullscreen