ชื่อผลงานทางวิชาการ : การประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย” ครั้งที่ 3” วันที่ 20 22 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

 

       ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่องการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  (The Competency Needs Assessment of the Art Directors in Advertising Agencies modified) นี้ ผู้ศึกษา คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบัน และศึกษาระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา  ที่คาดหวังให้มีการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าของกิจการ ผู้บริหารระดับสูง ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ หัวหน้างานและผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา จำนวน 410 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที (t-test) และทำการประเมินความต้องการจำเป็นโดยใช้สูตรการคำนวณค่าดัชนีจัดเรียงลำกับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI modified)

ผลการศึกษา พบว่า สมรรถะของผู้กำกับศิลป์ มี 3 ด้าน รวม 16 สมรรถนะ ดังนี้

       ด้านที่ 1 สมรรถนะด้านความรู้ ประกอบด้วย 1)ความรู้ด้านการออกแบบ 2)ความรู้ด้านการตลาด 3)ความรู้ด้านภาษาอังกฤษ และ 4)ความรู้รอบตัว

       ด้านที่ 2สมรรถนะด้านทักษา ประกอบด้วย 1)ทักษะในการออกแบบสื่อ 2)ทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 3)ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 4) ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า 5) ทักษะการนำเสนอ 6)ทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ 7)ทักษะการควบคุมกระบวนการผลิต 8)ทักษะการควบคุมตรวจสอบการออกแบบของทีมงาน

       ด้านที่ 3 สมรรถนะด้านคุณลักษณะ ประกอบด้วย 1)ความคิดสร้างสรรค์ 2)รสนิยม 3)การมุ่งผลสำเร็จ และ 4)คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ

ผลการวิจัยพบว่า

       1. ระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันที่มีค่ามากที่สุดและต่ำที่สุด ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ในปัจจุบันมากที่สุด คือ ความรู้ด้านการตลาด น้อยที่สุด คือ ความรู้รอบตัว

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะในปัจจุบันมากที่สุด คือ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ น้อยที่สุดคือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

          ด้านที่ 3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะในปัจจุบันมากที่สุด คือ คุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพ น้อยที่สุด คือรสนิยม

       2. ผลการวิจัยระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาที่คาดหวังให้มี ที่มีค่ามากสุดและต่ำสุดในแต่ละด้านมี ดังนี้

          ด้านที่ 1 ระดับสมรรถนะด้านความรู้ที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความรู้รอบตัว    น้อยที่สุด  คือความรู้ด้านการออกแบบ

          ด้านที่ 2 ระดับสมรรถนะด้านทักษะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือ ทักษะการออกแบบสื่อน้อยที่สุด คือทักษะการควบคุมเวลาและงบประมาณ

          ด้านที่3 ระดับสมรรถนะด้านคุณลักษณะที่คาดหวังให้มีมากที่สุด คือความคิดสร้างสรรค์น้อยที่สุด คือการมุ่งผลสำเร็จ

       3. ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ด้วยค่าดังนี้ จัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Nedds : PNI modified)ที่มีระดับสมรรถนะต่ำและมีลำดับความต้องการจำเป็นสูง จำนวน 6 สมรรถนะ เรียงลำดับดังนี้ คือ 1) ความรู้รอบตัว    2)รสนิยม 3)ความคิดสร้างสรรค์ 4)ทักษะการออกแบบสื่อ 5)ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และ 6)ความรู้ภาษาอังกฤษ

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

1.   ทราบระดับสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาในปัจจุบันและที่คาดหวังให้มี และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเป็นสมรรถนะของผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณา

2.   บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผู้กำกับศิลป์ในบริษัทตัวแทนโฆษณาเพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในการเปิดประชาคมอาเซียน

3. บริษัทตัวแทนโฆษณา   สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการสรรหาและคัดเลือกผู้กำกับศิลบริษัท

4. ตัวแทนโฆษณา รวมถึงจัดทำโครงการร่วมกับสถาบันการศึกษาเพื่อรับนิสิตนักศึกษามาฝึกประสบการณ์วิชาชีพในโครงการสหกิจศึกษา เป็นต้น

5. บริษัทตัวแทนโฆษณาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตั้งแต่การตั้งเกณฑ์การประเมิน ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กร 

6. สถาบันการศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตร สาขาวิชาการโฆษณา ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน เพื่อการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาให้มีความสามารถตามความต้องการของตลาดแรงงานเพื่อให้เกิดโอกาสการได้งานทำมากขึ้นในสภาวการณ์การแข่งขันที่สูงของตลาดแรงงานในปัจจุบัน