ภายพยนตร์ เรื่อง “ธุดงควัตร”
อ.ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ยะรา
ชื่อผลงานทางวิชาการ ธุดงควัตร
ประเภทผลงานทางวิชาการ ภาพยนตร์
ปีที่พิมพ์ 2559
มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ
อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ยะรา
อาจารย์วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์
อาจารย์พิเชฐ วงษ์จ้อย
อาจารย์ไซนิล สมบูรณ์
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 วันแห่งประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา คณะวิทยาการจัดการ สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม ครั้งที่ 26 จากภาพยนตร์ เรื่อง ธุดงควัตร
ณ โรงละครเคแบงค์ สยามพิฆเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน กรุงเทพมหานคร 5 มีนาคม 2560
|
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-11.59.37.png)
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.00.52.png)
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.07.30-300x248.png)
ภาพยนตร์ที่ชนะเลิศการประกวด ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ สาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม กำกับภาพโดยคุณอุรุกพงศ์ รักษาสัตย์ จากเรื่อง ธุดงควัตร (Wandering) ณ โรงละครเคแบงค์ สยามพิฒเนศ ศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน 5 มีนาคม 2560 เป็นโครงการ พัฒนาบัณฑิต “การบูรณาการความรู้ทางด้านการผลิตภาพยนตร์สู่งานวิจัยระยะที่ 2 ของสาขาวิชาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย โดย อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย ประกอบด้วยอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ยะรา อาจารย์วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์ อาจารย์พิเชฐ วงษ์จ้อย อาจารย์ไซนิล สมบูรณ์ และทีมงาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำองค์ความรู้ จากการเรียนการสอน สู่การปฏิบัติ และยึดหลักของยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล จึงได้ดำเนินการผลิตภาพยนตร์เรื่อง“ธุดงควัตร” ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและเสริมสร้างทักษะของนิสิตที่จะร่วมเรียนรู้กระบวนการจัดฉายภาพยนตร์ขนาดยาวเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบทำงานจริงของนิสิตในศตวรรษที่๒๑
ภาพยนตร์เรื่อง“ธุดงควัตร” เป็นการถ่ายทอดเรื่องราวด้านธรรมะในพระพุทธศาสนาอันเป็นแก่นและรากฐานของสังคมไทยผ่านเรื่องราวที่เรียบง่ายทางภาคใต้อันจะขยายฐานความรู้ด้านศิลปะภาพยนตร์ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านธรรมะและการดำรงชีวิตแบบทำเพื่อผู้อื่นส่งเสริมรากฐานคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่นิสิต
ทั้งนี้การถ่ายทอดภาพยนตร์ขนาดยาวอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเชิงศีลธรรมตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์พ.ศ. 2551 ในมุมมองการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์อิสระที่ลงทุนต่ำแต่ได้ผลสูงสุดและสามารถเข้าถึงบุคคลในวงกว้าง อันจะส่งผลให้ผู้ชมนิสิตนักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจจะได้เรียนรู้และนำประโยชน์จากภาพยนตร์ ไปต่อยอดพัฒนาองค์ความรู้และหันมาตระหนักในคุณค่าของงานศิลปะยกระดับจิตใจของผู้ชมในการนำเสนอแบบภาพยนตร์โดยผ่านการถ่ายทอดแบบเรียบง่าย แต่ลุ่มลึกขยายกว้างขวางต่อไป โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.เพื่อพัฒนาคณาจารย์ด้านองค์ความรู้กระบวนการผลิตภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์แบบสะท้อนปัญหารากฐานของสังคมด้านคุณธรรมและจริยธรรมในยุคปัจจุบันอย่างลึกซึ้ง
2.เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพแบบลงพื้นที่ปฏิบัติจริงเน้นกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์และแก้ปัญหาเชิงพุทธธรรม
3.เพื่อพัฒนาองค์ความรู้เฉพาะด้านของคณาจารย์ให้เชี่ยวชาญในศาสตร์ภาพยนตร์มากยิ่งขึ้น
4.เพื่อเผยแพร่ผลงานภาพยนตร์ของสาขาและมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวางทั้งในระดับชุมชนประเทศและระดับนานาชาติ
การสนับสนุน ส่งเสริม การพัฒนาหลักสูตรและระบบการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ
วิจัย สร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์
พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอน และทักษะการเรียนรู้สร้างองค์คามรู้ นวัตกรรมและงานสร้างสรรค์
มีผู้เข้าร่วมโครงการผลิตภาพยนตร์ เรื่องนี้ จำนวน 90 คน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 150,000 บาท
นักศึกษา และการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ที่สอดรับกับสังคมในยุคปัจจุบันที่เน้นด้านคุณธรรมและจริยธรรมเป็นหลัก
ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างภาพยนตร์ เรื่อง ธุดงควัตร
1.นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิตภาพยนตร์เชิงสร้างสรรค์ และมุมมองการเล่าเรื่องแบบใหม่ที่สะท้อนปัญหารากฐานสังคมในยุคปัจจุบัน
2. นักศึกษาได้พัฒนาทักษะ การใช้อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆในกระบวนการผลิตภาพยนตร์
3. นักศึกษาเรียนรู้การทำงานเป็นทีมอย่างมืออาชีพและเข้าใจโครงสร้างการทำงานที่ต้องที่แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ
4. นักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะการจัดการแบบองค์รวมด้านภาพยนตร์ อันเป็นผลสืบเนื่องต่อการผลิตบัณฑิตสู่วงการภาพยนตร์ในภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาประเทศในระยะอันใกล้
5. นักศึกษาได้เข้าใจหลักดำเนินชีวิตเชิงวิถีพุทธมากยิ่งขึ้น พร้อมกระบวนการคิดเชิงคุณธรรมและจริยธรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
จากผลงานที่คณาจารย์และนักศึกษาร่วมกันจัดทำภาพยนตร์ เรื่อง ธุดงควัตร จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลสาขาการกำกับภาพยอดเยี่ยม ถือเป็นเกียรติประวัติของทุกคนที่ร่วมมือ ร่วมใจ สามารถนำองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง เป็นผลงานที่ยอดเยี่ยม นำชื่อเสียงมาสู่สาขาวิชา คณะ และมหาวิทยาลัย จึงสมควรได้รับการยกย่อง และเป็นตัวอย่างที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรนำไปปฏิบัติต่อไป
ประมวลภาพกิจกรรม
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.00.png)
ภาพที่ 1 อธิการบดี และคณบดีคณะวิทยาการจัดการ ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.28.png)
ภาพที่ 2 อธิการบดีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนถึงนโยบายในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.35.png)
ภาพที่ 3 คณบดีคณะวิทยาการจัดการให้สัมภาษณ์กระบวนการถ่ายทำและนโยบายงานวิจัย
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.42.png)
ภาพที่ 4 อาจารย์บุญส่ง นาคภู่ ให้สัมภาษณ์เรื่องการบวนการถ่ายทำในงานวิจัย
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.48.png)
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.10.55.png)
ภาพที่ 5 คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/Screen-Shot-2560-08-30-at-12.11.11.png)
ภาพที่ 6 ภาพบรรยากาศผู้เข้าร่วมโครงการ
กระบวนการเผยแพร่ภาพยนตร์ “ธุดงควัตร”
ทั้งนี้ หลังจากดำเนินการถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จสิ้นทางทีมงานและคณาจารย์มีการนำภาพยนตร์ออกเผยแพร่หลังจากดำเนินการถ่ายทำและตัดต่อเสร็จสิ้นในเบื้องต้น ดังพื้นที่ต่อไปนี้
1. ดำเนินการจัดฉายยังพื้นที่ชุมชนบ้านถ้ำธารน้ำลอด อ.สวี จ.ชุมพร เพื่อเป็นการเผยแพร่ภาพยนตร์ให้กับชุมชนสังคม ตระหนักรู้ถึงแก่นทางพุทธธรรม และการยอมรับผลสะท้อนจากภาพยนตร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงแนวคิดเรื่องการแก้ปัญหาในท้องถิ่น อันจะทำให้ผู้ชมสามารถนำไปปรับใช้เพื่อพัฒนา ชุมชน และสังคมต่อไป
ทั้งนี้การจัดฉายภาพยนตร์ถือได้ว่าเป็นเสียงสะท้อนที่เห็นภาพชัดในเรื่องการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้ยังคงอยู่ และเป็นภาพสะท้อนให้ผู้ชมได้เคารพสิทธิ์และสัมผัสวิถีชีวิตแบบหนังกลางแปลงที่กำลังจะสูญสลายไป
2. ดำเนินการจัดฉาย ณ ชมรมพุทธศาสตร์ ศาลายา เพื่อเป็นการทดสอบผลตอบรับจากผู้ชม (Feedback) รวมถึงข้อท้วงติงนำมาปรับแก้ไขก่อนจะออกฉายจริงนวันที่ 7 กรกฎาคม 2559 ที่โรงภาพยนตร์ เฮ้าส์ อาร์ ซี เอ (House RCA) เป็นการทั่วไป
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/ธุดงควัตร_5-300x216.jpg)
![](http://www.bsru.ac.th/identity/wp-content/uploads/2017/08/ธุดงควัตร_4-203x300.jpg)
จัดทำโดย
อาจารย์คณาจารย์สาขาภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย
อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ วงศ์ยะรา
อาจารย์วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์
อาจารย์พิเชฐ วงษ์จ้อย
อาจารย์ไซนิล สมบูรณ์
สามารถดูรายละเอียดได้ ดังนี้
![](http://identity.bsru.ac.th/wp-content/plugins/page-views-count/ajax-loader.gif)