Category Archives: การท่องเที่ยว การบัญชี ธุรกิจบันเทิง และคหกรรมศาสตร์

ประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

ประเพณีการลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

Loy Krathong Tradition with Inheriting the Local Wisdom and Culture Conservation

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอมตันเจริญ


 

ชื่อผลงานทางวิชาการ ประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรม

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม เคยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ ในรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สหวิทยาการเอเชียอาคเนย์ วันที่ 25 เดือนมิถุนายน 2559

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดถนอม  ตันเจริญ

   ผลงานทางวิชาการ ประเภทบทความวิจัย เรื่องประเพณีลอยกระทงกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและการอนุรักษ์วัฒนธรรมนี้ ผู้วิจัยต้องการศึกษาถึงการตระหนักถึงความสำคัญของการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ทำกระทงจากวัสดุธรรมชาติ ระหว่างนักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนบางขันแตก ตำบลบางขันแตก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนสืบสานวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมไว้ให้ยั่งยืน จำนวน 113 คน

 

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุระดับการศึกษาและอาชีพที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นแตกต่างกัน
2. นักศึกษาชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมทำกระทงจากธรรมชาติมากที่สุด
3. คณาจารย์ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรมด้านทำนุบารุงศิลปวัฒนธรรมและด้านสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย

สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจากการเข้าร่วมกิจกรรมด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและประเพณีการลอยกระทงตามวัฒนธรรมไทยให้ยั่งยืนต่อไป

 

ประวัติผู้เขียนบทความ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุดถนอมตันเจริญ

คุณวุฒิ : ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร..) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ : การตลาด การท่องเที่ยว การบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐประศาสนศาสตร์

ตำแหน่งปัจจุบัน : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประสบการณ์ : เคยดำรงตาแหน่งรองคณบดีฝ่ายวิจัยคณะบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

งานวิจัยที่สนใจ : การท่องเที่ยวการบริหารธุรกิจการสื่อสารการตลาดพฤติกรรมผู้บริโภคการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทยและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นฤมลสุ่นสวัสดิ์ บรรณาธิการ

กฎหมายภาษีอากร (Tax Law)

กฎหมายภาษีอากร (Tax Law)

.ภัทิรา มาศมาลัย


ชื่อผลงานทางวิชาการ กฎหมายภาษีอากร (TAX LAW)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตาแหน่งทางวิชาการ อาจารย์ภัทิรามาศมาลัย

กฎหมายภาษีอากร (TAX LAW)

   หนังสือ เรื่อง กฎหมายภาษีอากร เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับภาษีที่จัดเก็บ โดยกรมสรรพกร ประกอบด้วยภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ซึ่งอาจารย์ภัทิรา มาศมาลัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาเป็นผู้เขียนและเรียบเรียงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาภาษีอากร ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้เขียนได้พยายามอธิบายหลักกฎหมายต่าง ๆ พร้อมทั้งได้แทรกข้อสังเกตและตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาและผู้สนใจที่ต้องการศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับภาษีอากรของประเทศไทย โดยรายละเอียดของเนื้อหาประกอบด้วย 7 บทพร้อมแบบฝึกหัดท้ายบทดังนี้

 

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีอากร เนื้อหาประกอบด้ว ความหมายของภาษีอากร วัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษีอากรหลักการทั่วไปของกฎหมายภาษีอากรหลักการทำรายได้หลักการบริหารภาษีอากรหลักภาระภาษีการผลักภาระภาษีโครงสร้างของภาษีอากรการจาแนกประเภทภาษีอากรประเภทภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรหน่วยงานที่จัดเก็บภาษีอากรความรับผิดของผู้มีหน้าที่เสียภาษีและการขอคืนภาษี

 

บทที่ 2 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้ที่ต้องเสียภาษี แหล่งเงินได้ที่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษี ประเภทของเงินได้พึงประเมิน เงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษีกับเงินได้ประเภทอื่น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาการหักค่าใช้จ่ายเงินได้พึงประเมิน การหักลดหย่อน ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี (มาตรา 48) วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (มาตรา 56 ทวิ) ตัวอย่างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กำหนดการยื่นแบบแสดงรายการและการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การยื่นแบบ ภ... 90 หรือ ภ... 91 ทางอินเทอร์เน็ต สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา วิธีการชำระภาษี การขอผ่อนชำระภาษี ความรับผิดกรณีไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา แบบฝึกหัดแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 90

 

บทที่ 3 ภาษีเงินได้หัก ที่จ่าย เนื้อหาประกอบด้วย ประเภทของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ( เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) กรณีทั่วไป เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) และ (2) ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) และ (6) กรณีผู้มีเงินได้มิได้อยู่ในประเทศไทย) เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4) กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) ที่ผู้จ่ายเงินได้เป็นรัฐบาล เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8)

   (กรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์อันเป็นมรดก หรือที่ได้มาจากการให้โดยเสน่หา กรณีที่ขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางอื่น) ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส แห่งประมวลรัษฎากร (หลักเกณฑ์ในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 เตรส หลักเกณฑ์การพิจารณาการจ่ายเงิน 1,000 บาท การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 การหักภาษีตามคาสั่งกรมสรรพากรที่ ท.. 4/2528 กรณีที่ไม่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ทวิ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 69 ตรี ภาษีเงินไดนิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 70 ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากการจาหน่ายเงินกำไร ตามมาตรา 70 ทวิหน้าที่ของผู้มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ณที่จ่ายความรับผิดในการหักภาษีเงินได้ณที่จ่ายแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หักณที่จ่ายและกำหนดเวลายื่นแบบ

 

บทที่ 4 ภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ฐานภาษีเงินได้นิติบุคคล อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล วิธีเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ รอบระยะเวลาบัญชี กำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณกำไรสุทธิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ตรี (รายจ่ายต้องห้าม) การคำนวณเงินได้นิติบุคคล(ตัวอย่าง การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี ภาษีเงินได้นิติบุคคลคำนวณจากยอดรายได้ก่อนหักรายจ่าย ภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย ภาษีเงินได้นิติบุคคลสาหรับการจาหน่ายกำไรไปนอกประเทศ สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ... 50 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ภ... 51

 

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่มเนื้อหาประกอบด้วยความหมายของภาษีมูลค่าเพิ่มผู้มีหน้าทีเสียภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มกิจการที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผู้ประกอบการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่า

เพิ่ม กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (TAX POINT) ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกำหนดเวลาสถานที่ยื่นแบบและการชำระภาษีใบกากับภาษรายการที่ต้องมีในใบกากับภาษีการจัดทำใบกากับภาษีการออกใบแทนใบกากับภาษีใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้การยกเลิกใบกากับภาษีฉบับเดิมแล้วออกฉบับใหม่แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีปรับปรุงภาษีซื้อที่เฉลี่ยตามส่วนของรายได้

 

บทที่ 6 ภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะฐานภาษีธุรกิจเฉพาะการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะรายรับที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหน้าที่ของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะการขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ

 

บทที่ 7 อากรแสตมป์ เนื้อหาประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ ตราสารที่ต้องเสียอากรแสตมป์ การยกเว้นและการลดอากรแสตมป์ ข้อเสียของตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์ การคำนวณค่าอากรแสตมป์ การชำระอากรแสตมป์ อัตราอากรแสตมป์ ภาคผนวก (แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 90 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 91 แบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ... 94)

 


ประวัติผู้แต่ง : อาจารย์ภัทิรามาศมาลัยอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษา : Master of Business Administration (Finance and International Business)Faculty of Business University of St. Thomas. USA.

: วิทยาศาสตร์บัณฑิต (สถิติ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนาคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สนใจติดต่อ โทร.0819089614 ราคาเล่มละ 180 บาท

การเงินธุรกิจ (Business Finance)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ การเงินธุรกิจ (Business Finance)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ 2555

ข้อมูลเพิ่มเติม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตาแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


 

การเงินธุรกิจ (Business Finance)

 

   ตำรา เรื่องการเงินธุรกิจ ผู้แต่ง คือ รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้แต่งได้ แสดงเจตนารมณ์ว่า เป็นตำราเรียนที่เหมาะสาหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โปรแกรมบริหารธุรกิจทุกแขนงและโปรแกรมบัญชี โดยได้กล่าวถึงขอบเขตอำนาจงานทางด้านการเงิน การวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงฐานะการเงินในปัจจุบัน การวางแผนทางการเงิน หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียน หลักในการบริหารและการจัดสรรเงินทุนเพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ถาวร การจัดแหล่งเงินทุนของธุรกิจ ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน การตัดสินใจเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร นโยบายการจ่ายเงินปันผลและกำไรสะสม โดยแบ่งเนื้อหาในไว้ ทั้งหมด 11บทเนื้อหาแต่ละบทประกอบด้วยข้อมูลเชิงบรรยายและการคำนวณในเนื้อหาบางส่วนพร้อมแบบฝึกหัดเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ศึกษามีความรู้และความเข้าใจหลักพื้นฐานทางด้านการเงินเพื่อนำไปสู่การบริหารการเงินในธุรกิจได้เป็นอย่างดีมีประสิทธิภาพและสามารถนำความรู้เป็นหลักในการบริหารงานการเงินธุรกิจต่อไป

   ในการดำเนินงานของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพมีองค์ประกอบหลายด้านได้แก่ด้านการตลาดด้านการเงินและบัญชีด้านการผลิตด้านบุคลากรเป็นต้นองค์ประกอบทุกด้านมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันการดำเนินงานที่สอดคล้องกันจะทำให้การบริหารงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

   การบริหารงานทางด้านการเงินธุรกิจ เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่จะนำไปสู่การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เนื่องจากหลักในการบริหารงานทางการเงิน จะทำให้ทราบถึงแหล่งที่ได้มาของเงินทุน ทั้งแหล่งภายในและแหล่งภายนอก ซึ่งไม่ว่าจะหาจากแหล่งใด ธุรกิจก็ย่อมต้องมีต้นทุนของเงินทุน (Cost of Capital) ซึ่งต้นทุนของเงินทุนนั้นต้องต่ากว่าผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนดังนั้นเงินทุนที่ได้มานั้นผู้บริหารการเงินต้องศึกษาถึงหลักในการจัดสรรเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวรเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงที่สุด

   การบริหารการเงินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพนั้นมีหน้าที่งานหลายด้านเกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่การคาดการณ์ความต้องการเงินทุนของธุรกิจการจัดหาเงินทุนการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจซึ่งหน้าที่งานดังกล่าวจะต้องเกี่ยวข้องกับหลักในการบริหารเงินสดการจัดทำงบประมาณเงินสดการบริหารลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพการบริหารสินค้าคงเหลือให้เพียงพอกับความต้องการและการจัดสรรเงินทุนไปใช้ในสินทรัพย์ถาวรโดยการจัดทำงบลงทุนเพื่อประเมินโครงการในอนาคตและ

   การศึกษามูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลาทั้งนี้เนื่องจากการตัดสินใจลงทุนในโครงการหนึ่งโครงการใดนั้นเป็นโครงการที่ใช้เงินทุนจำนวนมากและให้ผลตอบแทนในระยะยาวที่มีผลกระทบต่อเนื่องจากค่าของเงินการตัดสินใจที่ผิดพลาดจะมีผลต่อธุรกิจในระยะยาวในขณะเดียวกันการลงทุนในโครงการดังกล่าวธุรกิจมักก่อหนี้ระยะยาวเพื่อจัดหาเงินมาลงทุนซึ่งส่งผลต่อโครงสร้างของเงินทุนคือสัดส่วนหนี้สินต่อส่วนทุนที่มากเกินไปทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยง

   หลักการบริหารการเงินที่ดีนั้นผู้บริหารการเงินต้องสามารถกาหนดขนาดของเงินทุนที่ต้องการอย่างเหมาะสมเพื่อหาแหล่งเงินทุนที่ดีที่สุดต้นทุนต่าที่สุดคือหากต้องการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวอันได้แก่เงินทุนจากส่วนของผู้ถือหุ้นและเงินกู้ระยะยาวหากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนก็ควรมาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเช่นเงินกู้ยืมระยะสั้นหรือเครดิตทางการค้าดังรูปต่อไปนี้

 

การจัดหาและการจัดสรรเงินทุนของธุรกิจ งบดุล

 

   การจัดสรรเงินทุนให้มีประสิทธิภาพ ก็คือ การบริหารเงินทุนให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของเงินทุน เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจเกิดปัญหาเกี่ยวกบสภาพคล่อง (Liquidity) แต่ทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการทำกำไร (Profitability) ที่สูงที่สุดด้วย ดังนั้น การจัดการทางด้านการเงินจึงเป็น 5 หัวใจสำคัญที่จะนำธุรกิจไปสู่เป้าหมายสูงสุดได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง ในตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 11 บทดังนี้

 

บทที่ 1 ความสำคัญของการเงินในองค์กรธุรกิจ และขอบเขตอำนาจหน้าที่งานทางด้านการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับเป้าหมายของธุรกิจมูลค่าของธุรกิจวัตถุประสงค์ของการบริหารการเงินของธุรกิจหน้าที่และสายงานของฝ่ายการเงินขอบเขตงานทางการเงินในองค์กรธุรกิจและหน้าที่งานทางด้านการเงิน

   ดังนั้นขอบเขตงานที่สำคัญในการบริหารการเงินในองค์กรธุรกิจก็คือการวางแผนคาดคะเนความต้องการเงินทุนของธุรกิจการตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดหาทุนการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆซึ่งถือเป็นการบริหารเงินทุนที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดคือต้องมีทั้งสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไรที่สมดุลกันภายใต้ความเสี่ยงที่ธุรกิจยอมรับได้อนึ่งเงินทุนที่ธุรกิจจัดหามานั้นควรมีต้นทุนของเงินทุนที่ต่าที่สุด

   ในการบริหารการเงินของธุรกิจนั้น จุดมุ่งหมายหลักก็คือ พยายามทำให้มูลค่าของธุรกิจมีค่าสูงที่สุด ซึ่งจะมีผลให้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การตัดสินใจทางการเงินที่ดีที่สุด การตัดสินใจทางการเงินจะนำไปสู่การวัดมูลค่าของธุรกิจว่ามีมูลค่าสูงสุดหรือไม่ จะพิจารณาได้จากราคาหุ้นที่สูงที่สุด ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการคือความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรปัจจัยทั้งสองจะแตกต่างกันในแต่ละธุรกิจอันถูกกำหนดขึ้นจากประเภทของธุรกิจขนาดของธุรกิจชนิดของเครื่องจักรการใช้ประโยชน์จากหนี้และสภาพคล่องของแต่ละธุรกิจนั่นเอง

   หน้าที่งานด้านการเงินของธุรกิจโดยทั่วไปก็คือการรักษาสภาพคล่องของธุรกิจการเพิ่มสมรรถภาพในการทำกำไรการจัดการและบริหารสินทรัพย์และการจัดการและบริหารเงินทุนเพื่อให้ธุรกิจบรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด

 

บทที่ 2 การวิเคราะห์งบการเงิน เนื้อหาในบทนี้ประกอบด้วยความหมายของการวิเคราะห์ทางการเงินขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงินเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินประเภทของอัตราส่วนทางการเงินข้อจำกัดในการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินการวิเคราะห์แนวโน้มและการวิเคราะห์โดยการย่อส่วน

   ดังนั้นการวิเคราะห์ทางการเงินเป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการวิเคราะห์ฐานะการเงินที่แท้จริงของธุรกิจซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้จะทำให้ผู้บริหารการเงินประเมินผลการดำเนินงานและเป็นแนวทางในการวางแผนและตัดสินใจทางการเงินนอกจากนี้การวิเคราะห์ทางการเงินยังเป็นประโยชน์ต่อบุคคลต่างๆได้แก่ผู้ลงทุนเจ้าหนี้ผู้สนใจลงทุนผู้สอบบัญชีรัฐบาลและผู้สนใจอื่นๆ

เทคนิคและเครื่องมือทางการเงินที่ใช้ในการวิเคราะห์มี 3 ลักษณะ

1. การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินเป็นการวิเคราะห์โดยใช้สูตรทางการเงินซึ่ง

แบ่งเป็น 4 ประเภทคือ

1.1 อัตราส่วนวิเคราะห์ความคล่องตัวทางการเงิน

1.2 อัตราส่วนวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์

1.3 อัตราส่วนวิเคราะห์สภาพหนี้สิน

1.4 อัตราส่วนวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรหรือประสิทธิภาพในการบริหารงานของฝ่ายบริหาร

2. การวิเคราะห์แนวโน้ม เป็นการศึกษาข้อมูลในอดีต จนกระทั่งถึงปัจจุบันของอัตราส่วนทางการเงินที่ได้จากการวิเคราะห์

3. การวิเคราะห์โดยการย่อส่วน เป็นการย่อส่วนงบการเงิน คืองบดุลและงบกำไรขาดทุนเป็นอัตราร้อยละเพื่อให้ขนาดเล็กลงง่ายต่อการเปรียบเทียบ

   การวิเคราะห์ทางการเงิน ดังกล่าว เป็นกระจกเงาที่สะท้อนให้เห็นถึง ผลการดำเนินงานอย่างละเอียดทุกแง่ทุกมุมของธุรกิจ อันจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาและแนวโน้มในการดำเนินงานขั้นต่อไปของธุรกิจนั่นเอง

 

บทที่ 3 การวางแผนทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของการวางแผนทางการเงินงบประมาณเงินสดวิธีการจัดทำงบประมาณเงินสดงบประมาณเงินสดสุทธิการพยากรณ์กระแสเงินสดสุทธิหรืองบประมาณเงินสดสุทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดทำงบประมาณเงินสด

   การวางแผนทางการเงิน คือการจัดเตรียมข้อมูลทางการเงินไว้ล่วงหน้าด้วยการพยากรณ์ยอดขายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต และจากยอดขายที่พยากรณ์ ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถคาดคะเนปริมาณสินค้าที่ต้องซื้อเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ หรือหากเป็นธุรกิจ อุตสาหกรรม ก็จะต้องคาดคะเนปริมาณการผลิตปริมาณวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายใน การผลิต อันจะนำไปสู่การจัดทำงบประมาณเงินสดในแต่ละงวดเวลา

   การจัดทำงบประมาณเงินสดเป็นการวางแผนการรับเงินสดและการจ่ายเงินสดระหว่างงวด เพื่อการจัดทำงบประมาณเงินสดรับ(จ่าย)สุทธิ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารการเงินสามารถพยากรณ์ปริมาณเงินสดที่ต้องหามาในกรณีที่กิจการมีเงินสดขาดมือ และวางแผนเพื่อการนำเงินสดไปลงทุนในกรณีที่เงินสดมากเกินความต้องการ การจัดเตรียมการจัดหาแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมจะทำให้ธุรกิจจัดหาเงินทุนได้ทันและเสียดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่า การดำเนินงานก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น

   นอกจากนี้การวางแผนทางการเงินก็จะเป็นเครื่องมือในการควบคุมการเงินได้โดยนำไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงความแตกต่างจะชี้ให้เห็นถึงการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดและชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการแก้ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดปัญหานั้นๆ

 

บทที่ 4 การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินทุนหมุนเวียนวัตถุประสงค์ของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนการพิจารณาระดับเงินทุนหมุนเวียนที่เหมาะสมประเภทของเงินทุนหมุนเวียนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียนทัศนคติผู้บริหารต่อระดับความเสี่ยงและการวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนหมายถึงเงินลงทุนที่ธุรกิจลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนได้แก่

เงินสดหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาดลูกหนี้สินค้าคงเหลือ

เงินทุนหมุนเวียนสุทธิ = สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน

เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้นเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่จะขายเสียมิได้แต่หากมีมากเกินไปก็จะสูญเสียกำไรผลตอบแทนที่ควรจะได้รับ

เงินทุนหมุนเวียน แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ

เงินทุนหมุนเวียนถาวรคือสินทรัพย์หมุนเวียนขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้เช่นเงินสดขั้นต่ำ

เงินทุนหมุนเวียนชั่วคราวคือสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีเพิ่มเติมจากส่วนถาวร

   ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดปริมาณและขนาดของเงินทุนหมุนเวียนมีหลายประการได้แก่ประเภทของธุรกิจปริมาณขายนโยบายธุรกิจการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีฤดูกาลฯลฯ

   แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ควรเป็นไปตามหลักการบริหารการเงิน กล่าวคือ เงินทุนหมุนเวียนแบบชั่วคราวควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเงินทุนหมุนเวียนแบบถาวรควรจัดมาจากแหล่งเงินทุนระยะยาวแต่ในทางปฏิบัติอาจพบว่าไม่เป็นไปตามหลักดังกล่าวเนื่องจากทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อระดับความเสี่ยงนั้นแตกต่างกัน

   สิ่งที่ผู้บริหารการเงินจำเป็นต้องศึกษาอีกประการหนึ่งก็คือการได้มาและใช้ไปของเงินทุนหรืองบแสดงแหล่งที่ได้มาและใช้ไปของเงินทุนซึ่งแสดงให้เห็นถึงเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจ

   นอกจากนี้ การศึกษางบกระแสเงินสด จะทำให้ผู้บริหารทราบถึงกระแสเงินสดรับและกระแสเงินสดจ่ายจากกิจกรรมต่างๆ เป็นการแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดในแต่ละงวด เงินสด

   รับของงวดนั้นมาจากไหนและเงินสดจ่ายนั้นจ่ายเพื่อการใดบ้างทำให้รู้ถึงการเคลื่อนไหวของเงินสดที่เป็นเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ

บทที่ 5 การบริหารเงินสดและหลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของเงินสดสาเหตุของการถือเงินสดประโยชน์ของการถือเงินสดเพียงพอการบริหารเงินสดต้นทุนที่เกิดขึ้นจากระบบการจัดเก็บเงินการจุดเก็บเงินจากเช็คที่ส่งทางไปรษณีย์การตั้งศูนย์จัดเก็บเงินระบบเช่าตู้ไปรษณีย์การควบคุมการจ่ายชำระหนี้และการบริหารหลักทรัพย์และความต้องบการของตลาด

   ดังนั้น เงินสด เป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ธุรกิจจำเป็นต้องมีไว้ ตามแนวความคิดของ John Maynard Keynes คือ

– เพื่อการดำเนินงานตาม

– เพื่อเหตุฉุกเฉิน

– เพื่อการเก็งกำไร

   การมีเงินสดให้เพียงพอจะทำให้การดำเนินงานของธุรกิจเป็นไปอย่างราบรื่นไม่หยุดชะงักสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ในระยะเวลาที่กำหนดและอาจได้รับโอกาสหรือประโยชน์จากการชำระหนี้โดยเอาส่วนลด

   การบริหารเงินสดคือการบริหารให้กิจการมีเงินสดในปริมาณที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคล่องและผลตอบแทนที่ควรจะได้รับหากมีเงินสดมากเกินความจำเป็นซึ่งหลักในการบริหารเงินสดที่ดีจะมีผลทำให้

– ธุรกิจมีสภาพคล่อง

– ดำเนินงานได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ

– มีโอกาสในการลงทุนหาผลประโยชน์ได้มากขึ้น

การบริหารเงินสดให้มีประสิทธิภาพนั้น มีอยู่ 3 วิธีด้วยกันคือ

1. การบริหารเงินสดรับและเงินสดจ่ายให้สอดคล้องกัน

2. การบริหารวงจรกระแสเงินสดให้มีประสิทธิภาพ

3. การกำหนดปริมาณเงินสดขั้นต่ำให้เหมาะสม

   ระบบการจัดเก็บเงิน และการเร่งรัดชำระหนี้ จะทำให้ธุรกิจสามารถลดต้นทุนค่าเสียโอกาสของเงินที่ลอยตัว ที่เกิดจากการดำเนินงานตามขั้นตอนต่างๆ อันจะทำให้ธุรกิจได้รับเงินกลับเข้าสู่กิจการได้เร็วขึ้น ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้ก็คือ การตั้งศูนย์จัดเก็บเงิน ระบบการเช่าตู้ไปรษณีย์

ส่วนการควบคุมการจ่ายชำระหนี้ก็คือการชะลอการจ่ายชำระหนี้ให้ช้าที่สุดโดยไม่กระทบต่อเครดิตทางการเงินของกิจการ

 

บทที่ 6 การบริหารลูกหนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับสาเหตุของการบัญชีลูกหนี้การค้าค่าใช้จ่ายของการมีบัญชีลูกหนี้การค้าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อขนาดของบัญชีลูกหนี้การค้านโยบายการให้สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้การวิเคราะห์สินเชื่อและการจัดเก็บหนี้เฉพาะรายและประสิทธิภาพในการบริหารลูกหนี้

   การทวงถามหนี้ไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดล้วนแต่เป็นปัญหาของเจ้าหนี้ทั้งสิ้นวิธีการที่ดีที่สุดก็คือการป้องกันไว้แต่แรกด้วยการพิจารณาให้การให้สินเชื่อก่อนที่จะปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้แต่ละราย

 

บทที่ 7 การบริหารสินค้าคงเหลือ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารสินค้าคงเหลือวัตถุประสงค์การบริหารสินค้าคงเหลือค่าใช้จ่ายในการมีสินค้าคงเหลือหลักในการบริหารสินค้าคงเหลือและส่วนลดเงินสดที่ได้จากกการซื้อสินค้าครั้งละมากๆ

   สินค้าคงเหลือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนที่ต้องมีการวางแผนและควบคุมทั้งนี้เนื่องจากปริมาณสินค้าที่ไม่เหมาะสมคือมากไปหรือน้อยเกินไปย่อมมีผลเสียต่อกิจการ

   ดังนั้นการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือ ก็คือ การให้มีสินค้าคงเหลือในปริมาณที่เพียงพอแก่ความต้องการ ไม่มากหรือน้อยเกินไป ซึ่งในการบริหารและควบคุมสินค้าคงเหลือนั้น มีด้วยกัน 4 กรณีคือ

1. การกำหนดปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสม, ประหยัดที่สุด = EOQ ซึ่งสามารถคำนวณได้ 3 วิธีคือ

1.1 การทดลองจากปริมาการสั่งซื้อที่แตกต่างกัน

1.2 การพล๊อตกราฟค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ

1.3 การใช้สูตรคณิตศาสตร์ (EOQ)

จุดสั่งซื้อสินค้า (Reoder Point) คือการสั่งซื้อสินค้าครั้งถัดไปเมื่อมีระยะเวลาในการรอคอยสินค้า (Lead time) และปริมาณสินค้าเพื่อความปลอดภัย (Safety stock)

สูตร Reorder point = จำนวนวันที่ใช้ในการผลิต x ปริมาณสินค้าที่ต้องการใช้ต่อวัน + ปริมาณสินค้าที่ปลอดภัย

3. ส่วนลดเงินสดที่ได้รับจากการซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก (quantity discount) คือการพิจารณาเพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ขายเสนอให้ส่วนลดหากซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณที่ EOQ

หาก ส่วนลดที่ได้ > ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น   ตัดสินใจซื้อมากขึ้นเพื่อเอาส่วนลด

หากส่วนลดที่ได้ < ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ไม่ควรตัดสินใจซื้อเพิ่มขึ้น

4. ระดับสินค้าคงเหลือเพื่อความปลอดภัยเป็นการคำนวณหาปริมาณสินค้าขั้นต่ำเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดมือโดยศึกษาความน่าจะเป็นของโอกาสที่สินค้าจะขาดมือกับค่าใช้จ่ายรวมที่ต่ำที่สุดเป็นเกณฑ์

บทที่ 8 การจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุนภายในกิจการแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการแหล่งเงินทุนระยะสั้นระยะกลางระยะยาวและภายนอกกิจการ ดังนั้นการจัดหาเงินทุนระยะยาวของธุรกิจสามารถหาได้จากแหล่งเงินทุนภายในและแหล่งเงินทุนภายนอกกิจการ

* แหล่งเงินทุนภายในเป็นแหล่งเงินทุนที่ได้จากค่าเสื่อมราคาและกำไรสะสม
* แหล่งเงินทุนภายนอกเป็นแหล่งเงินทุนที่หาได้จากตลาดทุนที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์ได้แก่หุ้นสามัญหุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้พันธบัตรธุรกิจหุ้นกู้แปลงสภาพและใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ

หุ้นสามัญ เป็นหุ้นที่นิยมซื้อขายกัน เพราะผู้ถือหุ้นเข้าไปมีส่วนเป็นเจ้าของ ผลการดำเนินงานของบริษัทมีผลต่อราคาตลาดของหุ้นสามัญโดยตรง โดยเฉพาะกำไรต่อหุ้น(EPS) ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล

หุ้นบุริมสิทธิ เป็นหุ้นกึ่งหนี้สินและกึ่งหุ้นสามัญเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับจะกำหนดตายตัวในรูปของจำนวนเงินต่อหุ้นหรืออัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้

หุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวต่างกันที่หลักประกันมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาการชำระคืนเงินต้นไว้แน่นอนนอกจากนี้ก็อาจมีการกำหนดการไถ่ถอนหุ้นกู้โดยการตั้งกองทุนไถ่ถอนและการเรียกคืนหุ้น

หลักทรัพย์แปลงสภาพได้ เป็นหุ้นกู้หรือหุ้นบุริมสิทธิ ที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของบริษัทได้ตามราคาและระยะเวลาที่กำหนด

ใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น เป็นสิทธิที่ผู้ออกหุ้นกู้ หรือหุ้นบุริมสิทธิให้กับผู้ถือหุ้น ชนิดมีใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญของกิจการตามราคาที่กำหนด โดยผู้ซื้อต้องใช้สิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนดเช่นกัน

   การจัดหาเงินทุนระยะยาวนั้นสามารถกระทำได้ทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ซึ่งจะช่วยระดมเงินออมจากสาธารณชนให้กับธุรกิจที่ต้องการเงินทุน

บทที่ 9 ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมูลค่าทบต้นและมูลค่าปัจจุบัน

   ปัจจัยดอกเบี้ยทางการเงิน มีผลกระทบทำให้ค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ดังนั้น ผู้บริหารการเงินจึงจา เป็นต้องศึกษาผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อค่าของเงิน เพื่อใช้ผลกระทบ ดังกล่าวศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เพื่อการลงทุนในระยะยาวของธุรกิจ การพิจารณา ดังกล่าวจา แนกได้เป็น 2 ประเภทคือ

มูลค่าทบต้น คือจำนวนเงินรวมที่ธุรกิจจะได้รับจากการลงทุนจากโครงการ โดยผลตอบแทน ที่ได้รับจากการลงทุนนั้นเป็นแบบต่อเนื่องภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถจำแนกการพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียว เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าของเงินทบต้นซึ่งได้จ่ายลงทุนครั้งแรกเพียงครั้งเดียวเป็นระยะเวลาหนึ่งด้วยผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ Bn = A x IFn,i (Table A)

มูลค่าทบต้นของเงินจ่ายลงทุนเป็นงวดรายปีต่อเนื่องกัน เป็นลักษณะของการคำนวณหามูลค่าทบต้นของเงินที่ได้จ่ายลงทุนเป็นงวดๆละเท่าๆกันเป็นระยะเวลาต่อเนื่องด้วยอัตราผลตอบแทนที่ได้ตกลงกัน

สูตรการคำนวณ
หรือ

แต่เปิดตำราง n+1 ได้ค่าเท่าใด ลบด้วย 1 เสมอ จึง จะได้ค่าเท่ากับ Table A

มูลค่าปัจจุบัน คือจำนวนที่จ่ายลงทุนในปัจจุบัน เพื่อให้ได้จำนวนเงินรวมกลับมาใน ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ภายใต้ระยะเวลาการลงทุนที่แน่นอน และปัจจัยลดค่าที่กำหนด สามารถจา แนก การพิจารณาเป็น 2 กรณีคือ

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิที่เข้ามาเพียงครั้งเดียว เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของ จำนวนเงินที่จ่ายลงทุนเพื่อให้ได้เงินรวม (เงินรับสุทธิ) คือเงินต้นบวกดอกเบี้ยกลับมาในช่วงเวลาหนึ่งในอนาคตเพียงครั้งเดียว

สูตรในการคำนวณ A(PV) = Bn x DFn,I (Table C)

มูลค่าปัจจุบันของเงินรับสุทธิรายปี แบบต่อเนื่อง เป็นการคำนวณหามูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่ได้รับเป็นรายปี แบบต่อเนื่อง ด้วยจำนวนเงินรับสุทธิเท่ากัน

จากการคำนวณดังกล่าวสามารถนำไปพิจารณาเพื่อหาปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น

– อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน

– จำนวนเงินผ่อนชาระในแต่ละงวด

– ระยะเวลาในการผ่อนชำระ ฯลฯ

 

บทที่ 10 งบลงทุน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ ลักษณะสำคัญของงบจ่ายลงทุน ขั้นตอน ในการจัดทำ งบจ่ายลงทุน ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการตัดสินใจเลือกโครงการจ่ายลงทุน วิธีการ ประเมินผลเพื่อวิเคราะห์งบจ่ายลงทุน

   งบจ่ายลงทุนเป็นลักษณะการบริหารเงินทุนของธุรกิจที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนในงบจ่ายลงทุนใดที่จะให้ประโยชน์สูงสุดกับกิจการซึ่งในการพิจารณาเลือกโครงการจ่ายลงทุนนั้นต้องใช้จำนวนเงินลงทุนมากในขณะที่ผลตอบแทนหรือประโยชน์ที่จะได้รับนั้นจะทยอยได้รับในอนาคตข้างหน้านอกจากนี้มูลค่าของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาก็จะมีผลเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องนามาพิจารณาควบคู่กันไป

   การวิเคราะห์งบจ่ายลงทุนนั้นจะต้องอาศัยข้อมูลจากการประมาณการกระแสเงินสดเข้ากระแสเงินสดออกของโครงการและผลตอบแทนขั้นต่ำของโครงการเพื่อนามาเป็นปัจจัยในการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน

วิธีการวิเคราะห์โครงการจ่ายลงทุน ที่นิยมใช้กันมี 5 วิธี

1. วิธีจ่ายคืนทุนสุทธิ (PB) เป็นการหาระยะเวลาคืนทุนของโครงการหรือระยะเวลาที่กิจการได้รับผลตอบแทนเท่ากับเงินที่จ่ายลงทุน

2. วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) เป็นการหามูลค่าปัจจุบันสุทธิของโครงการจากผลต่างของมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดเข้าและมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดออก

NPV = PV ของเงินสดเข้า – PV ของเงินสดออก
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นบวก (+) แสดงว่าโครงการดังกล่าวมีกำไรจากการลงทุน
หากโครงการจ่ายลงทุนมีค่าเป็นลบ (-) แสดงว่าโครงการดังกล่าว ขาดทุนจากการ ลงทุน

3. วิธีอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของ โครงการ หรือการหา i, IRR ที่ทำให้ PV ของเงินเข้า = PV ของเงินออก

หาก IRR ที่ได้มีค่ามากกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำจึงควรลงทุน
หาก IRR ที่ได้มีค่าน้อยกว่าอัตราผลตอบแทนขั้นต่ำไม่ควรลงทุน

4. วิธีดัชนีกำไร (PI) เป็นการหา Profitability Index ของโครงการจากสูตร

หาก PI มีค่ามากว่า 1 แสดงว่ากิจการมีกำไรจากการลงทุนในโครงการ
หาก PI มีค่าน้อยว่า 1 แสดงว่ากิจการมีผลขาดทุนจากการลงทุนในโครงการ

5. อัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ย (ARR) เป็นการหาอัตราผลตอบแทนถัวเฉลี่ยของโครงการจากสูตร

วิธีการวิเคราะห์ทั้ง 5 วิธี พบว่า วิธีที่ 2,3,4 คือวิธี NPV, IRR, PI เป็นวิธีที่นำเอา มูลค่า ของเงินที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เข้ามาพิจารณาด้วย จึงทำให้ทั้ง 3 วิธีดังกล่าวข้างต้น เป็นวิธี ที่มีเหตุผลในการวิเคราะห์โครงการมากกว่าวิธีที่ 1 และ 5

 

บทที่ 11 กำไรสะสมและนโยบายการจ่ายเงินปันผล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมายของกำไรสะสมกำไรสะสมจัดสรรความหมายของเงินปันผลปัจจัยที่ต้องคำนึงในการกำหนดนโยบายการจ่ายเงินปันผลนโยบายการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลและชนิดของเงินปันผล

   กำไรสะสมคือส่วนเกินที่เกิดจากรายได้หักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดหลังจากจ่ายเงินปันผลและสะสมจนกระทั่งถึงปัจจุบันการคำนวณกำไรสะสมนั้นจะคำนวณได้จาก

กำไรสะสมปลายงวด = กำไรสะสมต้นงวด + กำไร(ขาดทุน)สุทธิระหว่างงวดเงินปันผล

กำไรสะสมถือเป็นแหล่งเงินทุนภายในที่สำคัญที่สุดของธุรกิจ โดยถูกจัดสรรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1202 กำหนดไว้ว่า ทุกครั้งที่กิจการจะจ่ายเงินปันผล ต้อง จัดสรรเงินไว้เป็นทุนสำรองอย่างน้อย 5% ของกำไรสุทธิประจำปี จนกว่าทุนสำรองจะเท่ากับ 10% ของทุนเรือนหุ้นหรือมากกว่านั้นแล้วแต่จะตกลงกันไว้ในข้อบังคับของบริษัทนอกจากนั้นธุรกิจก็จะจัดสรรกำไรสะสมตามข้อผูกพันที่ทำไว้เช่นการไถ่ถอนหุ้นกู้ที่ถึงกำหนดหรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เช่นการขยายกิจการ

   การจ่ายเงินปันผลของธุรกิจต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการเช่น

– ข้อจำกัดทางกฎหมายสภาพคล่องของกิจการ

– ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจผลกระทบของภาษีต่อผู้ถือหุ้น

– อัตราการขยายตัวของธุรกิจข้อจำกัดของสัญญากู้ยืม

นโยบายการจ่ายเงินปันผล แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ

1. จำนวนเงินปันผลคงที่ต่อหุ้น

2. อัตราการจ่ายเงินปันผลคงที่

3. เงินปันผลขั้นต่ำบวกเงินปันผลพิเศษ

ชนิดของเงินปันผลที่จ่าย

1. จ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด
2. จ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น
3. การแบ่งหุ้น
4. การจ่ายเงินปันผลอื่นๆ


 

ประวัติผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ปรียานุชกิจรุ่งโรจน์เจริญ

: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: อาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมเป็นต้น

: หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ

: รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ

: รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา การศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: บช.. บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชีต้นทุน) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 089-1258379 ราคาเล่มละ 180. บาท

การบัญชีเพื่อการจัดการ (Accounting Management)

ชื่อผลงานทางวิชาการ การบัญชีเพื่อการจัดการ(Accounting Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ ปรับปรุง ปี 2557

มูลเพิ่มเติม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ
รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


 

การบัญชีเพื่อการจัดการ

 

   หนังสือ การบัญชีเพื่อการจัดการ เล่มนี้ ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาบัญชี หรือบริหารธุรกิจและการจัดการทั่วไป ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านบัญชีมาก่อนได้เรียนและศึกษา โดยผู้เขียนได้เขียนถึงแนวคิดพื้นฐานทางบัญชีต้นทุน ต้นทุนการผลิตสินค้า การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต การวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจเกี่ยวกับการวางแผนกำไร ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับบัญชีเพื่อการจัดการที่สมบูรณ์ โดยมีรายละเอียดเนื้อหา 9 บท ซึ่งแต่ละบทจะมีแบบฝึกหัด เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้ฝึกปฏิบัติ มีทักษะเพิ่มมากขึ้น ดังนี้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชีเพื่อการจัดการ

   ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่เต็มไปด้วยความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนโยบายการค้าแบบเสรี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและการลงทุน เกิดการขยายตัวของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม ธุรกิจซื้อมาขายไปหรือธุรกิจที่ให้บริการ ธุรกิจต่างๆ เหล่านี้ต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขัน และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยี ด้วยเหตุนี้ธุรกิจจึงจำเป็นต้องพัฒนาและวิจัยเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ธุรกิจจำเป็นต้องพัฒนาการดำเนินงานทั้งด้านการผลิตและการขาย โดยอาศัยเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศที่เข้ามามีบทบาทต่อประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธุรกิจ

   ผู้บริหารของธุรกิจซึ่งมีหน้าที่หลักในการวางแผนควบคุมและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจในการกำหนดแนวทางในการใช้ทรัพยากรของธุรกิจให้เกิดประโยชน์สูงสุด การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด การกำหนดราคาของสินค้าและบริการ การตัดสินใจผลิตหรือไม่ผลิตสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใด รวมทั้งการกำหนดระดับการผลิตที่เหมาะสม ฯลฯ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องพยายามช่วงชิงความได้เปรียบในการตัดสินใจในปัญหาต่างๆ ของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและด้วยความรวดเร็ว โดยต้องอาศัยข้อมูลที่ผู้บริหารทุกฝ่ายได้รับมาทั้งภายในและภายนอกเพื่อประกอบการพิจารณาเพื่อการตัดสินใจดังกล่าว

   ดังนั้น การตัดสินใจปัญหาต่างๆ ของผู้บริหาร จึงจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เหมาะสม และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจ ข้อมูลทางบัญชีในยุคปัจจุบันจึงได้ถูกปรับปรุงและพัฒนาให้สอดคล้องกับความจำเป็นในการใช้ข้อมูล โดยมุ่งเน้นถึงการจัดทำข้อมูล

   เพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหาร เพื่อที่ฝ่ายบริหารจะสามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทนี้มีหัวข้อรายละเอียดประกอบด้วย ผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี ประเภทของข้อมูลทางบัญชี ความแตกต่างของการบัญชีการเงินและการบัญชีเพื่อการจัดการ คุณสมบัติของข้อมูลการบัญชีเพื่อการจัดการ ข้อมูลทางการบัญชีกับกระบวนการจัดการ การบริหารและการจัดการยุคใหม่

บทที่ 2 แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุน

   ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectives) นั้น การมีความรู้เรื่องของต้นทุน (Cost) เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะละเลยเสียไม่ได้ เนื่องจากข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนจะเป็นข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ การวางแผน ควบคุมและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร กิจการที่ให้ความสำคัญและสนใจในการบริหารต้นทุน เพื่อคำนวณหาต้นทุนที่แท้จริง การพิจารณาและบริหารต้นทุนในแง่ของการลดต้นทุนถือเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ เนื่องจากสามารถใช้เป็นข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ของฝ่ายบริหาร ได้แก่ การตั้งราคาขาย การให้ส่วนลดแก่ลูกค้า การลดราคา การแจกของแถม การพิจารณารับคำสั่งซื้อพิเศษ การยกเลิกผลิตสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใด การปิดโรงงานชั่วคราว ฯลฯ เหล่านี้เป็นการวางแผนและตัดสินใจของฝ่ายบริหารที่ต้องอาศัยต้นทุนที่เกี่ยวข้อง (Relevant Costs) มาเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจดังกล่าว ดังนั้น การนำความรู้ทางด้านบัญชีต้นทุนมาช่วยในการจัดทำรายงานข้อมูลทางบัญชี เพื่อการบริหารจึงเป็นสิ่งจำเป็น

   ด้วยเหตุนี้ นักบัญชีเพื่อการจัดการหรือฝ่ายบริหาร จึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับประเภทต้นทุน การจำแนกต้นทุน ลักษณะและความแตกต่างของต้นทุน การคำนวณต้นทุน การพิจารณาเพื่อจำแนกและรายงานข้อมูลต้นทุนที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถวางแผนตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ในบทนี้ ยังมีหัวข้อเกี่ยวกับ ความหมายของต้นทุน ลักษณะการดำเนินงานของกิจการ การจำแนกประเภทต้นทุน ส่วนประกอบของต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิตทางบัญชี วิธีการทางบัญชีต้นทุนและต้นทุนการผลิตในงบกำไรขาดทุน

บทที่ 3 การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ

ในการผลิตสินค้านั้น การคำนวณต้นทุนของสินค้าเป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารต้องเข้าใจถึงระบบบัญชีต้นทุน (Cost Accounting System)” ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมต้นทุน (Cost Control) ให้มีประสิทธิภาพและสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานของแต่ละแผนกได้ว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่

ระบบบัญชีต้นทุน เป็นวิธีการรวบรวม จดบันทึก และสะสมต้นทุน เพื่อคำนวณหาต้นทุนของสินค้า (Product Costing) และต้นทุนต่อหน่วย ซึ่งจะช่วยให้สามารถกำหนดราคาขายของสินค้าได้อย่างมีเหตุผล นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถตัดสินใจในการผลิตหรือยกเลิกสินค้าชนิดหนึ่งชนิดใด

ในการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรมโดยทั่วไป สามารถแบ่งลักษณะการผลิตได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. การผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้า (Job-order) เป็นการผลิตที่ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าที่มีลักษณะ รูปแบบ ตามที่ลูกค้าต้องการหรือที่สั่งให้ผลิต ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าสินค้าที่ผลิตแต่ละชนิดหรือแต่ละงาน (Job) มีต้นทุนเท่าไร ลักษณะการบันทึกข้อมูลต้นทุนที่แยกงานแต่ละงานนี้ เรียกว่า ระบบต้นทุนงานหรือ ระบบต้นทุนงานสั่งทำ(Job-order Costing System)”

2. การผลิตสินค้าแบบต่อเนื่อง (Process Cost) เป็นการผลิตสินค้าชนิดเดียวหรือหลายชนิด ด้วยปริมาณครั้งละมากๆ โดยผลิตต่อเนื่องกันตามมาตรฐานการผลิต ซึ่งอาจผ่านกระบวนการผลิตแผนกเดียวหรือหลายแผนก สินค้าที่ผลิตจะมีต้นทุนต่อหน่วยเท่ากัน เนื่องจากสินค้าทุกหน่วยจะมีส่วนประกอบการผลิต ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบทางตรง แรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิตที่เหมือนกันและเท่ากัน เหตุนี้การรวบรวมและบันทึกต้นทุนจึงไม่จำเป็นต้องแยกบันทึกต้นทุนต่อหน่วย แต่สามารถทราบต้นทุนต่อหน่วยได้จาก การนำต้นทุนรวมของสินค้าสำเร็จรูปหารด้วยจำนวนหน่วยที่ผลิตได้ทั้งหมด วิธีการบันทึกบัญชีสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้าแบบต่อเนื่องนี้ เรียกว่า ระบบต้นทุนงานช่วง (Process Costing System)”

รูปที่ 3.1 ระบบบัญชีต้นทุน

 

บทที่ 4 การบัญชีต้นทุนช่วงการผลิต

ประกอบด้วยหัวข้อ คือ ระบบต้นทุนช่วงการผลิตลักษณะของการผลิตที่ควรใช้ระบบต้นทุนช่วงการผลิต ชนิดของระบบต้นทุนช่วงการผลิต การสะสมต้นทุนตามระบบต้นทุนช่วงการผลิส่วนประกอบต้นทุนช่วงการผลิต หน่วยเทียบสำเร็จรูป การจัดทำรายงานต้นทุนช่วงการผลิต

บทที่ 5 การบัญชีต้นทุนมาตรฐาน

ต้นทุนมาตรฐาน(Standard Costs) คือ ต้นทุนในการผลิตสินค้าซึ่งประมาณขึ้นก่อนที่จะทำการผลิตจริง การประมาณขึ้นก่อนที่จะทำการผลิตจริงนั้น จะทำขึ้นอย่างมีเหตุผล ณ ระดับการผลิตหนึ่ง ภายใต้สภาพการณ์ที่คาดคะเนไว้ ทั้งนี้เพื่อนำไปเปรียบเทียบกับต้นทุนที่จ่ายจริง

เนื่องจากระบบบัญชีต้นทุนจ่ายจริง (Normal Accounting System) ที่นิยมใช้และยอมรับโดยทั่วไปนั้นจะมีการคำนวณต้นทุนได้ก็ต่อเมื่อการผลิตสิ้นสุดลงแล้ว ดังนั้นฝ่ายบริหารจะทราบถึงความไม่มีประสิทธิภาพก็เมื่อต้นทุนนั้นๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว ทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้ การจะควบคุมต้นทุนหรือการแก้ไขปัญหาความไม่มีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากการผลิตนั้น จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีการเปรียบเทียบต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงกับต้นทุนในอดีต หรือต้นทุนที่ประมาณการขึ้น จากสถานการณ์ทำงานจริง เหตุนี้จึงมีการประมาณการต้นทุนมาตรฐานขึ้น ซึ่งก็คือต้นทุนที่กำหนดขึ้นล่วงหน้าอย่างรอบคอบและมีเหตุผลภายใต้สภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริง โดยวิศวกรโรงงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะทำให้ต้นทุนมาตรฐานนั้นเชื่อถือได้ สามารถใช้ในการวางแผนการผลิตและควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทนี้ยังมีหัวข้อที่สำคัญ คือ ชนิดของต้นทุนมาตรฐาน ประโยชน์ของต้นทุนมาตรฐานหน่วยมาตรฐาน การตั้งมาตรฐาน การวิเคราะห์ผลแตกต่างเกี่ยวกับวัตถุทางตรง การวิเคราะห์ผลแตกต่างเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตทางตรง

บทที่ 6 ต้นทุนเต็มและต้นทุนแปรผัน

ในการคำนวณหาต้นทุนของสินค้าโดยทั่วไป จะถือเอาต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นเป็นหลักในการคำนวณต้นทุนของสินค้า กล่าวคือ ต้นทุนเหล่านี้จะถูกเฉลี่ยเข้าเป็นต้นทุนของสินค้า ตามปริมาณการผลิต วิธีเช่นนี้เราเรียกว่า ระบบต้นทุนเต็ม (Full Costing หรือ Absorption Costing) ซึ่งมีลักษณะโดยสรุปก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดคือต้นทุนคงที่และต้นทุนแปรผัน จะคิดเข้าเป็นต้นทุนสินค้าที่ผลิตในงวดนั้น สินค้าที่ขายก็จะถูกปันส่วนตามปริมาณขาย และสินค้าคงเหลือก็จะถูกเฉลี่ยต้นทุนตามส่วนและจะเป็นต้นทุนของสินค้านั้นตลอดไป

วิธีการคิดต้นทุนของสินค้าอีกชนิดหนึ่งคือระบบต้นทุนแปรผัน (Variable Costing / Direct Costing / Marginal Costing) เป็นวิธีคิดต้นทุนสินค้าเฉพาะต้นทุนแปรผันหรือต้นทุนทางตรงเท่านั้น ส่วนต้นทุนคงที่ที่เกิดขึ้นในงวดใดให้ตัดจ่ายเป็นรายจ่ายทั้งหมดในงวดนั้นๆ ซึ่งหมายความว่าต้นทุนแปรผันหรือต้นทุนทางตรงเท่านั้นที่ถือเป็นต้นทุนของสินค้า ส่วนต้นทุนคงที่ให้ถือเป็นต้นทุนสำหรับงวด (Period Cost) โดยโอนเข้ากำไรขาดทุนทั้งหมด

มีปัญหาที่เกิดขึ้นในการคำนวณต้นทุนของสินค้าตามวิธี Full Costing ก็คือ ต้นทุนบางประเภทไม่อาจระบุได้ว่า เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้าชนิดใด หรือเป็นของสินค้าแต่ละชนิดจำนวนเท่าใด จึงต้องมีการปันส่วนหรือจัดสรรต้นทุนบางอย่างเข้าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยการกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นมา แต่ก็เป็นการยากว่าหลักเกณฑ์ใดจะเป็นหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่ก่อให้เกิดปัญหาในการแบ่งต้นทุน เนื่องจากเป็นต้นทุนที่ขึ้นอยู่กับขนาดหรือ ปริมาณการผลิต การจัดสรรต้นทุนซึ่งขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต ทำให้การคำนวณต้นทุนการผลิตตามวิธีนี้ กระทบกระเทือนต่องบกำไรขาดทุนในงวดนั้นๆ เพราะนอกจากกำไรขาดทุนจะผันแปรตามปริมาณขาย ราคาขายแล้ว ยังขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิตด้วย ในบทนี้ ยังมีหัวข้อที่สำคัญ คือ ระบบต้นทุนเต็ม

ระบบต้นทุนแปรผัน การเปรียบเทียบการคิดต้นทุนของสินค้าตามระบบต้นทุนเต็มและต้นทุนแปรผัน การเปรียบเทียบงบกำไรขาดทุนตามระบบต้นทุนเต็มและต้นทุนแปรผัน และผลดีของการคิดต้นทุนของสินค้าต้นทุนแปรผัน

บทที่ 7 การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและการวางแผนกำไร

การดำเนินงานของฝ่ายบริหารในระยะเริ่มดำเนินธุรกิจ มักจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนปริมาณการผลิตและปริมาณขาย เพื่อให้ได้กำไรตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ ผู้บริหารจึงต้องสนใจในเรื่องของค่าใช้จ่ายและรายได้ ค่าใช้จ่ายมีความสัมพันธ์กับปริมาณอยู่ 2 ลักษณะคือ ค่าใช้จ่ายผันแปรซึ่งจะผันแปรไปตามกิจกรรมการผลิตและขาย และค่าใช้จ่ายคงที่ ซึ่งจะไม่เปลี่ยนตามระดับกิจกรรม ดังนั้นจะเห็นว่าถ้ากิจการผลิตและขายสินค้ามาก ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากตามสัดส่วนคือค่าใช้จ่ายผันแปร ส่วนค่าใช้จ่ายคงที่จะไม่เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าปริมาณสินค้าที่ผลิตและขายมากกำไรจะยิ่งมากในอัตราส่วนที่สูง ถ้าปริมาณสินค้าที่ผลิตและขายต่า กำไรจะลดลงในอัตราส่วนที่ค่อนข้างสูง เพราะต้นทุนคงที่ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อยก็ยังคงต้องจ่ายเท่าเดิม

ดังนั้นผู้บริหารซึ่งทำการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไรของกิจการ จะต้องมีข้อมูล 5 ประการ คือ ราคาขาย หรือรายได้ จำนวนหน่วยที่ผลิตและขาย ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่รวมจำนวนสินค้าแต่ละชนิด ในบทนี้ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ คือ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน วิธีการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การวางแผนกำไร และการคำนวณจุดคุ้มทุนเมื่อขายสินค้าหลายชนิด

 

บทที่ 8 การวิเคราะห์ ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ

การดำเนินงานของฝ่ายบริหารมักเผชิญปัญหาต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่น ปัญหาในการยกเลิกการผลิต และขายผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งหรือไม่ จะกำหนดราคาขายสินค้าอย่างไร การตัดสินใจเลือกชนิด ขนาด และคุณภาพของวัตถุดิบอย่างไรเป็นต้น ฝ่ายบริหารจะนำข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจ แก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

การนำข้อมูลทางการบัญชีมาช่วยในการตัดสินใจ จะต้องนำช้อมูลนั้นมาปรับปรุงให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น จึงจะนำไปใช้อย่างได้ผล ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจก็คือ ข้อมูลต้นทุนที่ได้ปรับปรุงและนำไปใช้ให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น

ข้อมูลต้นทุนเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต และเป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมอย่างหนึ่ง แต่ข้อมูลที่ใช้ในการตัดสินใจเป็นข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ข้อมูลทางการบัญชีอาจแสดงให้เห็นต้นทุนการผลิตเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ต้นทุนที่ใช้ในการตัดสินใจอาจคำนวณเพื่อแสดงให้เห็นถึงต้นทุนการผลิตที่ควรจะเป็น หากใช้วิธีการผลิตอย่างหนึ่ง ในบทนี้มีหัวข้อที่สำคัญ คือ ต้นทุนที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ประเภทของต้นทุนที่ใช้ในการตัดสินใจ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลต้นทุน (1. การตัดสินใจซื้อจากบุคคลภายนอกหรือผลิตเอง 2. การตัดสินใจจะขายหรือผลิตต่อ 3. การตัดสินใจยกเลิกหรือไม่ยกเลิกผลิตภัณฑ์ชนิดหนึ่งชนิดใด 4. การตัดสินใจปิดโรงงานชั่วคราว)

บทที่ 9 การงบประมาณ

ในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จบรรลุตามเป้าหมาย (Objective) ที่วางไว้นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนตามโครงการต่าง ๆ (Project Planning) การวางแผนโดยทั่วไปนั้น มีทั้งการวางแผนระยะสั้นและการวางแผนระยะยาว การวางแผนระยะสั้นหรือการวางแผนประจำงวดเป็นเครื่องมือที่ฝ่ายบริหารใช้ในการพิจารณาและตัดสินใจ ว่าจะทำอะไรบ้างในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งมักจะเป็นการวางแผนในรูปของงบประมาณ (Budgeting) ของระยะเวลาในปีหน้า ส่วนการวางแผนระยะยาวมักจะเป็นการจัดทำแผนในอนาคตของฝ่ายบริหารสำหรับ 3 – 5 ปี ข้างหน้าหรือนานกว่านั้น ดังนั้น งบประมาณประจำปี ก็คือ แผนงานปีแรกของแผนระยะยาว ซึ่งมีลักษณะการทาเหมือนกัน จะแตกต่างกันที่รายละเอียดของข้อมูลเท่านั้น ในบทนี้มีหัวข้อที่สำคัญ คือ ประโยชน์ของการจัดทำงบประมาณ ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณ และหลักในการจัดทำงบประมาณ

ประวัติผู้แต่ง: รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ

: อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

: อาจารย์พิเศษในสถาบันอุดมศึกษาได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นต้น

: หัวหน้าภาควิชาบริหารธุรกิจ

: รองคณบดีคณะวิทยาการจัดการ

: รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาการศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: บช.. บัญชีมหาบัณฑิต (บัญชีต้นทุน) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 089-1258379 ราคาเล่มละ 170 บาท

การภาษีอากร ๒

การภาษีอากร 2 (Taxation 2)

         การภาษีอากร 2 (TAXATION 2) เป็นหนังสือที่เขียนขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนในวิชาการภาษีอากร 2 และผู้ที่สนใจศึกษาเพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร เนื้อหาในหนังสือ ประกอบด้วย 8 บท แต่ละบทจะกล่าวถึง  เนื้อหา บทสรุป พร้อมทั้งแบบฝึกหัดอย่างครบถ้วน เกี่ยวกับหลักการและโครงความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีภาษีอากร การบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย การบัญชีภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเน้นเนื้อหาความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้ รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีและหลักการภาษีอากร เพื่อปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีให้กำไรสุทธิทางภาษีอากรและคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากร   ซึ่งผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ มีความสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวิชาชีพบัญชีและด้านภาษีอากร ดังรายละเอียด ดังนี้

บทที่ 1 เป็นเรื่อง หลักการและโครงสร้างของภาษีอากร ประกอบด้วย ความหมายของภาษีอากร วัตถุประสงค์ โครงสร้าง การจำแนกประเภทของภาษีอากร หลักการจัดเก็บภาษีอากรที่ดี  ภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร หน้าที่ของผู้เสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร รวมทั้งผลกระทบของการจัดเก็บภาษีอากร การหลบหนีและการหลบหลีกภาษี หน่วยงานของรัฐทีทำหน้าที่จัดเก็บภาษี เป็นต้น

บทที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบัญชีภาษีอากร ประกอบด้วย ความรู้ทั่วไป ความหมายของการบัญชีและการบัญชีการเงินและการบัญชีภาษีอากร การจัดทำบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี การจัดทำบัญชีตามประมวลรัษฎากรและตามกฎหมายอื่น เป็นต้น

บทที่ 3 การบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย  ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ หน้าที่ ประเภท การคำนวณภาษี ณ ที่จ่าย การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายและการจัดทำบัญชีพิเศษ เป็นต้น

บทที่ 4 การบัญชีภาษีธุรกิจเฉพาะ ประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ฐานภาษี การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ รวมทั้งหน้าที่ของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ และการขอคืนภาษี การบันทึกรายการ  เป็นต้น

บทที่ 5 ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ประกอบด้วย ความหมาย กิจการที่ต้องเสียภาษีและไม่ต้องเสียภาษี ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ใบกำกับภาษี  รายการที่ต้องมีในใบกำกับภาษี  การจัดทำใบกำกับภาษี รวมทั้งภาษาซื้อต้องห้าม เป็นต้น

บทที่ 6 การบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย ฐานภาษี อัตราภาษี การคำนวณ การบันทึกรายการที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดทำรายการ แบบแสดงรายการ ระยะเวลาที่ต้องจัดเก็บรายงาน รวมทั้งตัวอย่างการบันทึกบัญชี เป็นต้น

บทที่ 7 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ประกอบด้วย ผู้มีหน้าที่เสียภาษี ฐานภาษี อัตราภาษี รอบระยะเวลาบัญชีของนิติบุคคล การคำนวณภาษีเงินได้ฯ การคำนวณกำไรสุทธิฯ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการจำหน่ายหนี้สูญ และการคำนวณรายจ่ายอื่นๆ เป็นต้น

บทที่ 8 การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล  ประกอบด้วย ฐานกำไรสุทธิครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีฯ การยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี สถานที่ยื่นแบบฯ การปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีฯ หลักเกณฑ์การตีราคาทรัพย์สินและหนี้สิน เงื่อนไขรายได้และรายจ่าย รวมทั้งตัวอย่างการปรับปรุงกำไรสุทธิทางบัญชีฯ เป็นต้น


ผู้แต่ง

  อาจารย์วรางคนางค์ สกุลวงศ์ ลี หยาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา พิมพ์ครั้งที่ 1 (สิงหาคม 2558) พิมพ์ครั้งที่ 2 (ปรับปรุง กรกฎาคม 2559)   มี 254 หน้า  ราคาเล่มละ 250 บาท    

  สำนักพิมพ์   PROTEXTS.COM   บริษัท แดเน็กซ์   อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด

  ISBN : 978-616-413-899-5   สนใจติดต่อ โทร.084-8603919    02-4737000 ต่อ 4107

ปัจจุบัน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Certificate of English, Proficiency in English Language (PEL). Mauritius.

Certificate of French, Basic in French Language, Mauritius.

ประสบการณ์

อาจารย์ประจำคณะการบัญชี สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน

Management Accountant, Mauritours, Mauritius


การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management)

       บทความทางวิชาการ เรื่อง  การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ของรองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา นี้ เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น  ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้ หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาสภาพคล่อง ระดับของความเสี่ยงและกำไรในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ ซึ่งหลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งด้านส่วนประกอบและปริมาณที่เหมาะสม โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยง (risk) และผลตอบแทนหรือกำไร(profit) ในระดับที่เหมาะสม กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นการบริหารให้มีประสิทธิภาพในประเภทและขนาดที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะหากมีมากเกินไปก็จะทำให้กิจการสูญเสียกำไรจากการลงทุน   ในขณะเดียวกัน หากธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยเกินไป ก็จะทำให้ธุรกิจมีปัญหาด้านการดำเนินงาน  ดังนั้น การบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้   ในขณะที่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ คือเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position)  เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  และเงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  เเต่ละลักษณะจะมีผลต่อสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไร ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   ประเภทของธุรกิจขนาดและปริมาณขายของนโยบายของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดและ สภาวะแวดล้อม การจัดการและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้บริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive)และผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average)ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยงจะทีผลทำให้กิจการแต่ละแห่งมีการจัดการหรือการบริหารเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป   นอกจากนี้กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ ดังรายละเอียดของบทความที่ปรากฏ


รศ.ปรียานุช  กิจรุ่งโรจน์เจริญ*

บทนำ

       การที่ธุรกิจจะสามารถดำเนินงานและอยู่รอดได้ในยุคปัจจุบันนั้น  จําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากเงินทุนหมุนเวียนของกิจการเปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องจักรที่จะช่วยให้ธุรกิจดําเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ติดขัด มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสําหรับการใช้จ่ายในแต่ละวัน และสามารถชําระหนี้ได้เมื่อถึงกําหนด  ผู้บริหารการเงินต้องให้ความสนใจและควบคุมและติดตามการบริหารเงินทุนหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง    เนี่องจากการจัดการหรือการบริหารเงินทุนหมุนเวียน  จะมีผลต่อสภาพคล่อง ความเสี่ยงและความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ

       เงินทุนหมุนเวียน (Working capital) หมายถึง เงินทุนที่ธุรกิจจัดสรรไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดหักด้วยหนี้สินหมุนเวียนทั้งหมด หรือเรียกว่าเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ  (Net working capital)    ซึ่งผู้เขียนขออธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจกับ สินทรัพย์หมุนเวียน และหนี้สินหมุนเวียนดังนี้

       สินทรัพย์หมุนเวียน (Current assets) หมายถึง สินทรัพย์ที่ธุรกิจสามารถเปลี่ยนให้เป็นเงินสดได้ภายในรอบระยะเวลาการดำเนินงานปกติหรือภายในระยะเวลา 1 ปี ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ตั๋วเงินรับ หรือที่นักบัญชีเรียกว่าสินทรัพย์สภาพคล่อง

       หนี้สินหมุนเวียน (Current liability)  หมายถึง หนี้สินที่มีระยะเวลาการชําระคืนภายใน 1 ปี ได้แก่ เงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร   เงินกู้ยืมระยะสั้น   เจ้าหนี้การค้า  ตั๋วเงินจ่าย   ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายและรายได้รับล่วงหน้า

       การที่สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูง มีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทําให้ผู้บริหารจำเป็นต้องใส่ใจและดูแลอย่างใกล้ชิด หากเพิกเฉยหรือละเลยอาจส่งผลกระทบถึงสภาพคล่องของกิจการ และกำไรจนอาจทําให้ธุรกิจล้มละลายได้การบริหารเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital Management) จึงเป็น การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยทั่วไปกิจการจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียนไม่น้อย กว่าครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ทั้งหมด  นอกจากนี้ยังพบว่า  การขยายตัวและการเจริญเติบโตของธุรกิจ  ทำให้ความต้องการในจำนวนเงินลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น

       หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งด้านส่วนประกอบและปริมาณที่เหมาะสม โดยพิจารณาระดับของความเสี่ยง (risk) และผลตอบแทนหรือกำไร(Profit) ในระดับที่เหมาะสม กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นการบริหารให้มีประสิทธิภาพในประเภทและขนาดที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป เพราะหากมีมากเกินไปก็จะทำให้กิจการสูญเสียกำไรจากการลงทุน เช่น การถือเงินสดมากเกินความจำเป็นจะทำให้ธุรกิจเสียโอกาสในการลงทุนที่ให้กำไรสูงกว่า   หรือการมีลูกหนี้ที่เก็บไม่ได้จำนวนมาก  ก็จะทำให้เกิดเงินทุนจมในตัวลูกหนี้และความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้สูญมากขึ้น เกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บหนี้มากขึ้น  และหากกิจการมีสินค้าคงเหลือมาก  ก็จะทำให้เกิดเงินทุนจมในสินค้า สินค้าอาจเสื่อมสภาพหรือล้าสมัยจนไม่สามารถขายได้ และเกิดค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสินค้ามากขึ้นในขณะเดียวกัน หากธุรกิจมีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยเกินไป ก็จะทำให้ธุรกิจมีปัญหาด้านการดำเนินงาน เช่น การถือเงินสดน้อยเกินไป ก็จะมีผลทำให้การดำเนินงานติดขัดไม่ราบรื่น เพราะมีเงินสดไม่เพียงพอในการจ่ายชำระหนี้  ไม่เพียงพอต่อการจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือหากกิจการเก็บหนี้ให้เร็วขึ้นด้วยการเร่งรัดชำระหนี้ อาจมีผลทำให้ทำให้ยอดขายลดลง เพราะลูกค้าเปลี่ยนการตัดสินใจไปซื้อสินค้าจากรายอื่นที่ให้เครดิตนานกว่า  และหากมีสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปอาจทำให้สินค้าขาดมือจนทำให้ส่วนแบ่งตลาดลดลง

       ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไรและสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้  และโดยทั่วไปพบว่า ปัญหาในเรื่องของการขาดเงินทุนหมุนเวียน หรือสภาพคล่องของธุรกิจ เกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ เช่น การไม่สามารถเก็บหนี้จากลูกหนี้ได้ตามกำหนดเวลา สินค้าจำหน่ายไม่ได้ ทำให้เงินจมในสินค้า ผลกระทบตามมาก็คือกิจการขาดเงินทุนหมุนเวียนที่จะชำระหนี้สินและใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งธุรกิจอาจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการหาแหล่งเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาจ่ายชำระหนี้ให้ทันกำหนด เช่น การหาแหล่งเงินทุนระยะสั้น เช่น การกู้ยืมเงินจากธนาคาร วิธีการดังกล่าวสามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันตามกำหนดก็จริง  แต่จะไม่สามารถทำให้สภาพคล่องของกิจการดีขึ้นแต่อย่างใด แต่ในทางกลับกันจะทำให้กิจการมีปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นกว่าเดิม  ทั้งนี้เพราะการหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาชำระหนี้นั้น จะมีผลทำให้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน(Current Ratio)เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ลดลง ดังตัวอย่างบริษัท ก.

       จากข้างต้น  หากกิจการมีหนี้สินระยะสั้นที่ถึงกำหนดชำระ (เจ้าหนี้การค้า) 200 บาท และกิจการจัดหาเงินทุนจากการก่อหนี้ระยะสั้นจำนวน 400 บาท เพื่อนำไปชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าเดิม จะมีผลทำให้งบดุล และ Current ratio ปรากฏดังนี้

       แต่ถ้ากิจการสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน (เงินสด) ด้วยวิธีการเร่งรัดชำระหนี้ และนำเงินที่ได้ไปจ่ายชำระหนี้แทน จะมีผลทำให้งบดุลและ Current ratio ปรากฏดังนี้

       จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า การก่อหนี้ใหม่เพื่อนำไปจ่ายชำระหนี้เดิมนั้น จะมีผลทำให้สภาพคล่องของกิจการลดลง วิธีที่จะทำให้อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียนดีขึ้นก็คือ พยายามเปลี่ยนสภาพสินทรัพย์หมุนเวียนคือลูกหนี้การค้าด้วยการเร่งรัดชำระหนี้ และพยายามขายสินค้าที่มีอยู่ให้เร็วขึ้น ก็จะทำให้กิจการได้เงินสด และนำไปจ่ายชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้การค้าให้ทันตามกำหนดเวลา  เช่นนี้จึงจะทำให้กิจการมีสภาพคล่องที่แท้จริง ซึ่งแหล่งเงินทุนหมุนเวียนที่สำคัญที่ผู้บริหารของธุรกิจมักจะไม่ได้พิจารณาก็คือ เครดิตการค้า ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนอัตโนมัติที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย เพราะเป็นแหล่งเงินทุนที่เกิดจากธรรมเนียมปกติทางการค้า  เครดิตการค้า จึงเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้นที่สามารถลดภาระในการจัดหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจได้อย่างมาก นอกจากนี้หากผู้ขายสามารถเร่งรัดชำระหนี้และเก็บหนี้ได้ทันกับระยะเวลาที่ถึงกำหนดการชำระหนี้ของเจ้าหนี้ที่ตกลงกันไว้  ก็จะทำให้กิจการมีเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มขึ้น

       จะเห็นได้ว่า การบริหารเงินทุนหมุนเวียน ก็คือการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินหมุนเวียน ให้เกิดความสมดุลกันระหว่าง สภาพคล่อง ความสามารถในการทำกำไร และความเสี่ยงซึ่งจากการบริหารดังกล่าว สามารถจำแนกการบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

       1. เงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position) เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่สินทรัพย์หมุนเวียนเท่ากับหนี้สินหมุนเวียน  ผลคือ จะทำให้กิจการมีสภาพคล่อง กำไรและความเสี่ยงในระดับปานกลาง

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  = 

       2. เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position) เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าหนี้สินหมุนเวียน มีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไรลดลง

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  =  +(บวก)

       3. เงินทุนหมุนเวียนเป็นลบ(negative position)เป็นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่มีสินทรัพย์หมุนเวียนน้อยกว่าหนี้สินหมุนเวียน  มีผลทำให้กิจการมีสภาพคล่องต่ำ  ความเสี่ยงสูงขึ้น  แต่กำไรสูงกว่า

เงินทุนหมุนเวียน(สุทธิ) =   สินทรัพย์หมุนเวียนหนี้สินหมุนเวียน  =  -(ลบ)

ตัวอย่าง งบดุลของบริษัท  การจัดการธุรกิจ จำกัด เพื่อแสดงให้เห็นถึงการบริหารเงินทุนของกิจการ

การจัดทำงบดุลตามวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เงินทุนที่ธุรกิจจัดหามาจากแหล่งต่าง ๆ

งบดุล

บริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2557

       จากตัวอย่างเป็นการจัดทำงบดุลให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการตามวัตถุประสงค์ คือเป็นการจัดวางรายการทางการเงิน ให้อยู่ในรูปที่สามารถวิเคราะห์เงินทุนหมุนเวียน ที่ธุรกิจจัดหามาจากแหล่งต่างๆ เพื่อนำมาลงทุนในสินทรัพย์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นั่นคือแหล่งเงินทุนของธุรกิจ จะมาจาก 2 แหล่ง ด้วยกัน

1. แหล่งเงินทุนภายใน อันได้แก่ กำไรสะสม ซึ่งเป็นผลกำไรที่สะสมมาหลังจากจ่ายเงินปันผล

2. แหล่งเงินทุนจากภายนอก ได้แก่ แหล่งเงินทุนที่ธุรกิจยืมจากภายนอก หรือแหล่งเงินทุนที่ระดมจากภายนอก ซึ่งอาจเป็นแหล่งเงินทุนระยะสั้น, แหล่งเงินทุนระยะปานกลาง และแหล่งเงินทุนระยะยาว

       จากการวิเคราะห์งบดุลของบริษัทจัดการธุรกิจ เงินทุนที่ธุรกิจหามาจากแหล่งเงินทุนต่างๆ ก็จะถูกจัดสรรเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ของธุรกิจตามความจำเป็นและเหมาะสม  โยกิจการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น จำนวน 73,000 บาท เพื่อจัดสรรไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางส่วน ฉะนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนที่เหลือจำนวน 145,000 – 73,000 = 72,000 บาท คือเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ ที่ต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว เนื่องจากแหล่งเงินทุนที่หามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นนั้นไม่เพียงพอ  อีกทั้งสินทรัพย์ถาวรและเงินลงทุนระยะยาวที่เหลืออีก  354,000 บาท  ที่กิจการต้องจัดหาเงินทุนมาเพื่อลงทุนนั้น ก็จัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะยาว  คือ เงินทุนระยะยาว +  ส่วนของผู้ถือหุ้น

      ดังนั้น สินทรัพย์ส่วนที่ต้องลงทุนโดยการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาว = สินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 72,000 บาท + เงินลงทุนระยะยาวและสินทรัพย์ถาวร จำนวน 354,000 บาท = 72,000 + 354,000  =426,000  บาทซึ่งจะเห็นได้ว่า กิจการได้จัดหาแหล่งเงินทุนระยะยาว คือ เงินกู้ยืม  ระยะยาว และส่วนของผู้ถือหุ้น =77,000 + 349,000 =  426,000 บาท เท่ากับสินทรัพย์ที่ต้องลงทุนพอดี

       จะเห็นได้ว่าบริษัท การจัดการธุรกิจ จำกัด  บริหารเงินทุนในลักษณะเป็นบวก(positive position) มีลักษณะการบริหารเงินทุนที่ค่อนข้างมีความระมัดระวัง คือการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่จัดหาเงินจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น เพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนเพียงบางส่วน และจะนำเงินทุนระยะยาวไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนบางส่วนด้วย อันจะทำให้ธุรกิจมีสภาพคล่องสูง ความเสี่ยงต่ำ กำไรก็จะลดลง

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อปริมาณและส่วนประกอบของเงินทุนหมุนเวียน

       ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายและความต้องการในการรักษาสภาพคล่องและความสามารถในการทำกำไร  นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อันได้แก่

       1. ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   การจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้บริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) จะมองว่า การลงทุน ด้วยการก่อหนี้ทําให้กิจการมีต้นทุนทางการเงิน และมีความเสี่ยงที่จะทําให้กิจการ ขาดสภาพคล่องได้ หากไม่สามารถชําระหนี้ได้ตามกําหนด ในขณะที่ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive) กลับมองว่า การลงทุนด้วยการก่อหนี้เป็นโอกาสในการสร้างกำไรให้กับกิจการได้มากกว่า  เพราะต้นทุน ทางการเงินที่เกิดจากการจ่ายดอกเบี้ยนั้น สามารถนําไปลดหย่อนภาษีได้เมื่อกิจการมีกําไร

       2. ประเภทของธุรกิจ ธุรกิจแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม ธุรกิจให้บริการ มีวิธีการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ทำให้ความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจแตกต่างกัน หรือแม้กระทั่งธุรกิจประเภทเดียวกันที่มีลักษณะต่างกัน ก็ยังมีความต้องการในเงินทุนหมุนเวียนต่างกัน เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมรถยนต์กับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ธุรกิจอุตสาหกรรมผู้ผลิตย่อมใช้เงินทุนหมุนเวียนจำนวนมากกว่าสำหรับสินค้าและลูกหนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับตัวแทนจำหน่ายซึ่งใช้เงินทุนหมุนเวียนไม่มากนัก หรือธุรกิจที่ให้บริการจะใช้เงินทุนหมุนเวียนลูกหนี้เท่านั้น ไม่ต้องลงทุนในสินค้าคงเหลือ เนื่องจากไม่มีสินค้าที่ต้องจำหน่าย

       3. ขนาดและปริมาณขายของธุรกิจ โดยปกติแล้วพบว่าปริมาณความต้องการเงินทุนหมุนเวียนของแต่ละธุรกิจ มักเป็นสัดส่วนเดียวกับยอดขาย ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มียอดขายมากย่อมมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนมาก ไม่ว่าจะเป็นเงินสด ลูกหนี้ หรือสินค้าคงเหลือ ส่วนธุรกิจขนาดเล็กที่มีปริมาณขายน้อยกว่า ก็ย่อมมีความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่า เว้นแต่จะมีผลกระทบจากภายนอกที่ทำให้ยอดขายสูงขึ้น เช่นฤดูกาลที่ทำให้ยอดขายสินค้าสูงขึ้น ก็ย่อมต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงขึ้น

       4. นโยบายของธุรกิจ นโยบายของธุรกิจที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนไม่เท่ากัน เช่น นโยบายการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า นโยบายการเก็บสินค้าขั้นต่ำเพื่อความปลอดภัย (Safety stock) นโยบายการเก็บเงินสดขั้นต่ำ เป็นต้น นโยบายของแต่ละธุรกิจอาจแตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียนและส่วนประกอบสินทรัพย์หมุนเวียน เช่น ธุรกิจที่กำหนดระยะเวลาการให้สินเชื่อแตกต่างกัน ย่อมมีเงินทุนหมุนเวียนในลูกหนี้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น

       5. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี่ย่อมมีผลต่อระดับการผลิตของแต่ละอุตสาหกรรม การผลิตโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ย่อมสามารถผลิตสินค้าได้ในปริมาณมากกว่าอุตสาหกรรมที่ใช้กรรมวิธีการผลิตแบบเดิม ดังนั้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ ย่อมกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบและปริมาณสินค้า  ซึ่งเป็นเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องการใช้มากขึ้น

       6. ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ภาวะการแข่งขันทางการตลาด ทำให้ผู้ผลิตและผู้ขายต้องมีนโยบายในการเพิ่มยอดขาย เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาด เช่น การให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจาก 30 วันเป็น 45 วัน ซึ่งมีผลทำให้ต้องใช้เงินลงทุนในลูกหนี้เพิ่มขึ้น การแจกของแถมแก่ลูกค้าก็มีผลทำให้กิจการต้องลงทุนในสินค้าที่จะเป็นของแถมเพิ่มขึ้น

       7. สภาวะแวดล้อม สภาวะแวดล้อมอันได้แก่เศรษฐกิจ การเมือง นโยบายและข้อบังคับของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไป ย่อมมีผลกระทบต่อความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียนของ กิจการ เช่นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชนขาดอำนาจซื้อ

       การจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ จะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินทุนหมุนเวียน ของผู้บริหารแต่ละคน     เนื่องจากทัศนคติของฝ่ายบริหารต่อระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันย่อมมีผลต่อการจัดโครงสร้างเงินทุนหมุนเวียนของกิจการ(ปริมาณและส่วนประกอบ) ดั้งนั้น ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงลักษณะทัศนคติของฝ่ายบริหารต่อระดับความเสี่ยง ซึ่งจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะคือ

       1. ผู้บริหารที่ชอบความเสี่ยง (aggressive) ผู้บริหารลักษณะนี้มักจะใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวทั้งหมด และบางส่วนก็จะลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวรด้วย ทั้งนี้เพราะแหล่งเงินทุนระยะสั้นมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการจัดหาต่ำกว่าแหล่งเงินทุนระยะยาว  แต่แหล่งเงินทุนระยะสั้นมีข้อจำกัด ในเรื่องของระยะเวลาในการชำระหนี้ ที่ต้องชำระหนี้ภายในระยะเวลา 1 ปี ซึ่งหากธุรกิจไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทัน  ก็จะทำให้ธุรกิจเกิดความเสี่ยงในการรักษาสภาพคล่อง ที่จะต้องจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะยาวมาจ่ายชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้นกว่าเดิมดังนั้น หากผู้บริหารมีระดับความเสี่ยงสูง ก็มักจะนำเงินทุนระยะสั้นบางส่วนไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนถาวร โดยคาดว่าจะมีผลทำให้กำไรสูงขึ้น แต่กิจการก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นด้วย เนื่องจากสภาพคล่องต่ำ

       2. ผู้บริหารที่ยึดหลักความปลอดภัย (conservative) เป็นผู้บริหารที่ระมัดระวัง ไม่ค่อยกล้าเสี่ยง ยึดความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะแหล่งเงินทุนระยะสั้นแม้ว่าต้นทุนของเงินทุนจะต่ำ แต่มีความเสี่ยงสูงหากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามระยะเวลา ดังนั้น ผู้บริหารลักษณะนี้มักจะนำเงินทุนที่ได้จากแหล่งเงินทุนระยะยาวมาลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร และในสินทรัพย์หมุนเวียนชั่วคราวบางส่วนด้วย วิธีการนี้จะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำมากหรืออาจไม่มีเลย เนื่องจากแหล่งเงินทุนระยะยาวมีระยะเวลาการชำระหนี้ที่นานกว่า

       3. ผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average) เป็นผู้บริหารที่ยึดหลักของการจัดทำกำไรและระดับความเสี่ยงที่สมดุลกัน คือเงินทุนที่จะจัดหามาเพื่อลงทุนในสินทรัพย์แต่ละประเภท ควรจัดหามาจากแหล่งเงินทุนที่สอดคล้องกัน กับระยะเวลาการใช้งานของสินทรัพย์นั้นๆ โดยผู้บริหารจะจัดหาเงินทุนระยะยาว เพื่อลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนถาวร และจัดหาเงินทุนระยะสั้นสำหรับลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนส่วนชั่วคราว  ผู้บริหารที่ยึดสายกลางจะทำให้ธุรกิจมีความเสี่ยงปานกลาง และกำไรที่ได้รับก็จะอยู่ในระดับปานกลาง

       สิ่งที่จะต้องพิจารณาในการเงินทุนของกิจการ ก็คือ เงินทุนได้มาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นและระยะยาวปริมาณมากน้อยเพียงใด และมีการจัดสรรเพื่อนำไปลงทุนในสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่ โดยทั่วไป เงินทุนที่จัดหามาจากแหล่งเงินทุนระยะสั้น เช่น เงินกู้ระยะสั้น เจ้าหนี้การค้า ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน ได้แก่ ลูกหนี้การค้า สินค้าคงเหลือ ในขณะที่เงินทุนที่ได้มา จากแหล่งเงินทุนระยะยาว เช่น เงินกู้ระยะยาว การออกจำหน่ายหุ้นทุนก็ควรนำไปลงทุนในสินทรัพย์ถาวรได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักรและอุปกรณ์ให้สอดคล้องกับหลักการบริหารการเงิน อย่างไก็ดีในทางปฏิบัติ การบริหารสัดส่วนเงินทุนของกิจการมักขึ้นอยู่กับการคาดคะเนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในช่วงนั้นๆ และทัศนคติของผู้บริหารระดับความเสี่ยง หลักของการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับการกําหนดระดับของเงินทุนหมุนเวียนและการเลือกที่จะนําเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อมาใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม  โดยจะต้องพิจารณาให้สอดคล้องกันระหว่าง ระยะเวลาในการชําระคืนกับระยะเวลาที่ต้องการในการใช้เงินลงทุนในสินทรัพย์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับนโยบายในการดําเนินงานของแต่ละกิจการว่า ต้องการได้รับกำไรและยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับใด   นอกจากนี้ กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่ รวมถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หากผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้  กิจการจําเป็นต้องกลับไปทบทวน เพื่อพิจารณาถึงแนวทางในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนที่ดําเนินอยู่ และอาจต้องปรับเปลี่ยนการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีความเหมาะสม มากยิ่งขึ้น

บทสรุป

       เงินทุนหมุนเวียนของธุรกิจนั้น เปรียบเสมือนน้ำมันหล่อลื่น  ที่มีความจำเป็นต่อการดำเนินงานของธุรกิจที่ผู้บริหารจะละเลยไม่ได้ หลักในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนนั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยพิจารณาสภาพคล่อง ระดับของความเสี่ยงและกำไรในระดับที่ยอมรับได้ กล่าวคือการจัดสรรเงินเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ใดก็ตาม  โดยหลักทางการเงิน พบว่า หากลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน จะมีผลทำให้สภาพคล่องต่ำ ความเสี่ยงสูง  กำไรสูง  แต่หากลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์ถาวร จะมีผลทำให้สภาพคล่องสูง  ความเสี่ยงต่ำ กำไรต่ำ

       ดังนั้นการบริหารเงินทุนหมุนเวียนให้มีประสิทธิภาพนั้น จะต้องอาศัยดุลยพินิจในการบริหารเงินทุนหมุนเวียนว่าจะอยู่ในระดับใดที่เหมาะสม จึงจะทำให้ธุรกิจมีกำไร และสภาพคล่อง ภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้   ในขณะที่การบริหารเงินทุนหมุนเวียนได้ 3 ลักษณะ คือเงินทุนหมุนเวียนเป็นศูนย์ (zero position)  เงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  และเงินทุนหมุนเวียนเป็นบวก (positive position)  เเต่ละลักษณะจะมีผลต่อสภาพคล่องสูง   ความเสี่ยงต่ำ และความสามารถในการทำกำไร ที่แตกต่างกัน ในขณะที่ธุรกิจแต่ละประเภท จะมีความต้องการในการใช้เงินทุนหมุนเวียน และส่วนประกอบของสินทรัพย์หมุนเวียนแตกต่างขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยง   ประเภทของธุรกิจ ขนาดและปริมาณขายของ นโยบายของธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ภาวการณ์แข่งขันทางการตลาดและ สภาวะแวดล้อม การจัดการและการบริหารเงินทุนหมุนเวียนของกิจการจะขึ้นอยู่กับนโยบายการบริหารการเงินของผู้ริหารแต่ละคน โดยผู้บริหารที่ระมัดระวัง (Conservative) ผู้บริหารที่กล้าเสี่ยง (Aggressive)และผู้บริหารที่ยึดสายกลาง (average)ทัศนคติของผู้บริหารที่มีต่อความเสี่ยงจะทีผลทำให้กิจการแต่ละแห่งมีการจัดการหรือการบริหารเงินทุนที่แตกต่างกันออกไป   นอกจากนี้กิจการควรมีการวิเคราะห์ระดับเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะๆ เพื่อให้ทราบว่ามีกำไร จากการลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่

……………………………………………………….

บรรณานุกรม

คณาจารย์คณะพาณิชยศาสตร์การบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(2532).การเงินธุรกิจ.พิมพ์ครั้งที่2.  กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชนะใจ   เดชวิทยาพร.  (2540). การจัดการด้านการเงิน.  กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์.

ธงชัย  สันติวงษ์และชัยยศ  สันติวงษ์. ( 2541). การเงินธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

นภาพร   นิลาภรณ์กุล. (2551). การบริหารการเงิน. กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

นภาพร   นิลาภรณ์กุลและคณะ. (2551). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

เบญจวรรณ   รักษ์สุธี. (2540).  การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

ปรียานุช  กิจรุ่งโรจน์เจริญ. (2557). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :  สหายบล็อก.

เพชรี ขุมทรัพย์.วิเคราะห์งบการเงิน.(2540).กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เริงรัก  จำปาเงิน. (2543). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : บุ๊คเน็ท.

ศิริพร เพชรคง .  การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เรื่องง่ายที่ไม่ควรมองข้าม ค้นเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2558. http://202.183.190.2/FTPiWebAdmin/knw_pworld/image_content.

สุมาลี   จิวมิตร.  การบริหารการเงิน. (2549) .กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร   เที่ยงตระกูล. (2548). การเงินธุรกิจ.  กรุงเทพฯ : ภาควิชาการเงินและการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

Prinches, George E.(1996). Essentials of Financial Management.  5 th ed.  New York : Harper Collins College Publishers.

Van Horne James.(2001). Financial Management and Policy.12 th.ed.New Delhi: Prentice – Hall.

Weston, J. Fred and Copeland, Thomas. E.(1992).Managerial Finance)  9 th ed.  Fort Worth TX : The Dryden Press.

ผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวเหนียว กข๖ กรณีศึกษาตำบลงิ้ว อ.เมือง จังหวัดเชียงราย

งานวิจัย เรื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวเหนียว กข 6 ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

(The return of investment from Glutinous Rice RD 6 of farmers in Ngew sud-district Thoeng district, Chiang Rai Province)

       งานวิจัย เรื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวเหนียว กข 6 ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย The return of investment from Glutinous Rice RD 6 of farmers in Ngew sud-district. Thoeng district, Chiang Rai Province  โดย สมาพร ปัญญาวรายุทธ  ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เสนอผลงานวิจัยระดับชาติในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ครั้งที่ 2 (เล่มที่ 4) ร่วมกับสมาคมนักวิจัย  การกีฬาแห่งประเทศไทย มรภ.จันทรเกษม มรภ.สวนสุนันทา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา “สหวิทยางานวิจัย เพื่อพัฒนาสู่อาเซียน The symposium on Interdisciplinary Research for Development toward ASEAN : BTU-SIREA  เรื่อง “งานวิจัยเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่วิถีประชาคมอาเซียน” The Innovation-Creating Research for the ASEAN Ways of Living    เมื่อวันที่ 10  พฤษภาคม 2557  ณ อาคาร 14 มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี   

ประโยชน์ของการวิจัยฉบับนี้ เกษตรกรสามารถนำผลการวิจัย ในการคำนวณอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวเหนียว  กข 6  อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุกน อัตราส่วนยอดขายต่อการลงทุนความสามารถในการทำกำไร และกำไรส่วนที่เหลือ ไปใช้ในการประกอบอาชีพ เสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้นต่อไป ดังรายละเอียดของบทคัดย่อ ดังนี้

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง ผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกข้าวเหนียว กข 6 ตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยถึงอัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน วิจัยโดยการ แบบสอบถามและสัมภาษณ์เกษตรกร จำนวน 82 ครัวเรือน

       ผลวิเคราะห์ทางการเงินของการลงทุนปลูกข้าวเหนียว กข 6 ซึ่งสินทรัพย์ที่นำมาคำนวณไม่รวมที่ดิน พบว่า อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 1-5ไร่ เท่ากับ 0.11 % อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 0.16 % อัตราส่วนยอดขายต่อการลงทุนเท่ากับ 0.81 % กำไรสุทธิเท่ากับ 8,993.48 บาท อัตราส่วนความสามารถในการหากำไรเท่ากับ 14.23 % และกำไรส่วนที่เหลือเท่ากับ -14,521.51 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุน จำนวน 6-10 ไร่ เท่ากับ 1.02 % อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 0.90 % อัตราส่วนยอดขายต่อการลงทุนเท่ากับ 2.17 % กำไรสุทธิเท่ากับ 401,845.44 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนจากการลงทุนจำนวน 10 ไร่ ขึ้นไป เท่ากับ 6.86 % อัตราส่วนผลประโยชน์ต่อต้นทุน (BCR) เท่ากับ 1.11 % อัตราส่วนยอดขายต่อการลงทุนเท่ากับ 12.99 % กำไรสุทธิเท่ากับ 2,676,642.4 บาท อัตราส่วนความสามารถในการหากำไรเท่ากับ 52.82 % และกำไรส่วนที่เหลือเท่ากับ 2,559,675.9 บาท

คำสำคัญ : ผลตอบแทนจากการลงทุน  ข้าวเหนียว กข6

Abstract

       The objective of this research was to study the return of investment from Glutinous Rice RE 6 of farmers in Ngew sud-district, Thoeng district, Chiang Rai province.  The date for research was collected from questionnaires and interviews with farmers 82 households.

       The financial analysis of the investment Glutinous Rice RE 6 which asset calculated excluding land.  The farmers size 1-5 rai was found the return on investment rations 0.11 %, benefit – Cost Ratio (BCR) 0.16 %, investment turnover 0.81% , profit 8,993.48 baht, profitability ratio 14.23% and residual income -14,521.51 baht.  The farmers size 6- 10 rai was the return on investment 1.02%, benefit – Cost Ratio (BCR) 0.90%, rate, investment turnover 2.17%, profit 401,845.44 baht, profitability ratio 47.38% and residual Income 284,604.84 baht and the return on investment of farmers size more than 10 rai was 6.86%, benefit – Cost Ratio (BCR) 1.11% , investment turnover 12.99%, profit 2,676,642.4 baht profitability ratio 52.82% and residual income 2,559,675.9 baht.

Keyword : return of investment, Glutinous Rice RD 6

การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก

ชื่อผลงานทางวิชาการ : “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวนเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก”

คำสำคัญ : การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

ประเภท : วิจัยเพื่อพัฒนา

ผู้วิจัย : อ.ดร.ลักษณา เกยุราพันธ์

ปีที่พิมพ์ : 2559

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ประวัติ สร้าง พัฒนา รูปแบบ ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรม และปรับปรุงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพหุวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน จังหวัดนครนายก

การวิเคราะห์ข้อมูล : วิเคราะห์จากเอกสาร (Documentary Analysis) โดยเน้นการวิเคราะห์จากเนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า : สภาพการณ์การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนไทยพวน มีสภาพแวด ล้อมและทรัพยากรหลากหลายพร้อมที่จะส่งเสริมการเรียนรู้และมีผู้นำชุมชนที่รับผิดชอบ ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมนั้น ได้มีการพัฒนา เรียกว่า Th CLCAPC Model สามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม เป็นการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์

จุดสำคัญที่ได้รับ : รูปแบบการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ที่พัฒนาขึ้น เรียกว่า

Th CLCAPC Model ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ

คือTh=Thai Phuan (ชาวไทยพรวน)

C=Creation (การสร้างสรรค์)

L=Learning (การเรียนรู้)

C=Conservation (การอนุรักษ์)

A=Awareness (ความตระหนัก)

P=Participation of Community (การมีส่วนร่วมของชุมชน)

C=Cutural Tourism Activity (กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิง

วัฒนธรรม)

ประโยชน์ที่ได้รับ : ผลจากการวิจัยพบว่า

1. มหาวิทยาลัยควรสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประชาชน ชุมชน นิสิต นักศึกษา มีการจัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะประชาคมอาเซียน เพราะรอบๆ มหาวิทยาลัย ประกอบด้วยหลายชนชาติ อาทิเช่น มอญ ลาว อาหรับ(แขก) จีน ฯลฯ ตั้งแต่บรรพบุรุษ

2. คณาจารย์ทั้ง 4 คณะ โดยเฉพาะคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ และคณะครุศาสตร์ ควรจัดการวิจัยสังคมศาสตร์เชิงคุณภาพ เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเน้น “ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ” หรือ “ ชุมชนบางไส้ไก่ ” โดยใช้รูปแบบ Th CLCAPC Model

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร

รูปแบบการจัดการความรู้ในเชิงธุรกิจขนาดใหญ่ ศึกษากรณีโรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลขนาดใหญ่ในจังหวัดสมุทรสาคร

ชื่อผลงานทางวิชาการ : “รูปแบบการจัดความรู้ในเชิงธุรกิจขนาดใหญ่ ศึกษากรณีโรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเลขนาดใหญ่ ในจังหวัดสมุทรสาคร”

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่พิมพ์ : 2559

ข้อมูลเพิ่มเติม : ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารสมาคมนักวิจัย ปีที่ 21 ฉบับที่ 1  มกราคม – เมษายน 2559

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ / ตำแหน่งทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช อุณอนันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   

e-mail : nuch3774@gmail.com  Tel. 089 – 0117258

บทนำของผลงาน : วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบตัวแปรของปัจจัยที่เอื้อต่อ

การจัดกระบวนการความรู้ความสำเร็จ อิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อม

และค้นหารูปแบบธุรกิจขนาดใหญ่ ในจังหวัดสมุทรสาคร

กลุ่มตัวอย่าง : จำนวน 300 ใช้สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ประกอบด้วยค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงอนุมาน

การวิเคราะห์ : วิเคราะห์จากอิทธิพลเชิงสาเหตุและโมเดลสมการโครงสร้าง

สรุปสาระสำคัญของผลงานวิจัย พบว่า : การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ ด้านภาวะผู้นำและกลยุทธ์มีมากที่สุด มีการเผยแพร่ความรู้มากที่สุดและประสบความสำเร็จต่อการจัดความรู้ โดยพนักงานพัฒนามากที่สุด สำหรับอิทธิพลความรู้ทางอ้อมสูงมากและโมลเดลสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกันมาก

คำสำคัญ : การจัดการความรู้ธุรกิจขนาดใหญ่ โรงงานผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารทะเล

จุดเด่น / ความน่าสนใจจากผลของผลการวิจัยและการนำไปใช้ประโยชน์ : พบว่า

1. การประกอบธุรกิจต่างๆ ต้องมีการแข่งขันสูงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้ทันสถานการณ์ และต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์

2. การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มีเป้าหมายรวมตัวกันเพื่อสร้างตลาดและฐานการผลิต จึงมีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตตลอดจน การลงทุน แรงงานฝีมืออย่างเสรี

3. ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยสามารถใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ดี โดยเฉพาะทฤษฎีต่างๆ ในการจัดความรู้ อาทิเช่น ทฤษฎีเกลียวแห่งความรู้ SECI Model หรือ ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็งแห่งความรู้

อื่น ๆ (ตามความเหมาะสม) : จากผลการวิจัย / จุดเด่น พบว่า

1. มหาวิทยาลัยเป็นองค์การที่ประกอบด้วยบุคลากรหลายฝ่ายหลายตำแหน่งงาน ที่มีภาระกิจการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ผลสำเร็จของงานจึงมีคุณภาพไม่เหมือนกัน ซึ่งสิ่งเหล่านั้นขึ้นอยู่กับ “ ผู้ปฏิบัติ ” เพราะมหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนกิจการอย่างหนึ่ง จำเป็นเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้แสดงความคิดเห็นด้วย เพื่อจะได้รับรู้ปัญหาและเรียนรู้ร่วมกัน จึงควรพิจารณารูปแบบพัฒนาบุคลากรที่เหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบ โดยพิจารณาจากพื้นฐานทักษะความรู้ของบุคลากรและวัฒนธรรม องค์การ จะช่วยเกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงานและเกิดความพึงพอใจในการปฏิบัติ

2. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการทำงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

3. ควรสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสร้างสรรค์ด้านวัตกรรม เพราะทุนทางปัญญาของมนุษย์เกิดจากความรู้นำมาพัฒนางานและพัฒนาตน

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณูบรรณกร

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การจัดการความรู้ (Knowledge Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำราประกอบการเรียนวิชาการจัดการความรู้และองค์การแห่งการเรียนรู้

ปีที่พิมพ์ : 2558

ข้อมูลเพิ่มเติม : พิมพ์ที่โรงพิมพ์สหธรรมิก ถนนจรัญสนิทวงศ์ กทม. พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2557 ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2558 ใช้เป็นผลงานขอกำหนดตำแหน่ง รองศาสตราจารย์

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์นงนุช อุณอนันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   

สรุปสาระสำคัญของผลงานทางวิชาการ : ตำราประกอบด้วยความรู้ 9 บท ซึ่งมีเนื้อหาเรียงลำดับตั้งแต่แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในองค์การที่มีการจัดการความรู้ ปัจจัยที่เอื้อต่อการจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ องค์การแห่งการเรียนรู้ ทฤษฎีที่นำมาใช้ในองค์การแห่งการเรียนรู้และกรณีศึกษาการจัดการความรู้ในองค์กร

จุดเด่น / ความน่าสนใจ / การนำไปใช้ประโยชน์ : ตำราเล่มนี้ใช้สำหรับการเรียนวิชาการจัดการความรู้และองค์แห่งการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ไปประโยชน์ในการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานในองค์การหรือมหาวิทยาลัยได้ดี เพราะ

1. มหาวิทยาลัยประกอบด้วยบุคลากรที่มีพลัง เป็นผู้ใฝ่รู้ทั้งด้านความคิด วิทยาการใหม่ๆ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่องานจะได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง

2. บุคลากรของมหาวิทยาลัย คือ ผู้เรียนรู้ จึงสามารถสร้างความรู้ได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานที่ได้จากการปฏิบัติงานด้วยตนเอง

3. ประสบการณ์เดิมของผู้ปฏิบัติงานและความรู้นั้นจะเกิดได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติงานทุกๆ ด้านด้วยกันเอง

4. การทำงานของทุกส่วนในมหาวิทยาลัย มีความเชื่อมโยงจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ ต้องใช้การคิดอย่างมีเหตุมีผล เป็นการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด เพื่อความถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว องค์การจะประสบความสำเร็จอย่างสูง

จากทั้งจุดเด่นทั้ง 4 ประการ มหาวิทยาลัยสามารถนำมาเป็นกรอบความคิดเกี่ยวกับบุคลากรได้ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยควรมีโครงการสัมมนาผู้ปฏิบัติงานทุกภาคส่วน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเกี่ยวกับ “ การปฏิบัติงาน ” จะได้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน

2. มหาวิทยาลัยควรนำกระบวนการคิด (ทักษะการคิด) อย่างเป็นระบบมาใช้กับการปฏิบัติงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมได้ จะได้ช่วยกันป้องกัน และจะช่วยให้บุคลากรมีความผูกพันกันสูง เกิดความร่วมมืออย่างพร้อมเพียง นำสู่ไปสู่ผลสำเร็จตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้

3. ผู้บังคับบัญชาต้องเปิดใจกว้าง สร้างบรรยากาศการทำงานเป็นทีม ให้ทีมงานสนใจ สนุกกับการทำงานและต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีลักษณะการเรียนรู้เป็นทีม พยายามกระตุ้นผู้ใต้บังคับบัญชาให้ตื่นตัว แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้

4. ผู้บริหารต้องแสดงพฤติกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีที่สังคมยอมรับให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา พยายามส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยเป็นองค์การแห่งมีความสุขและสร้างความสุขให้เกิดขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจของทุกคนในองค์การ

รองศาสตราจารย์ศรีมงคล เทพเรณู บรรณากร