Category Archives: การท่องเที่ยว การบัญชี ธุรกิจบันเทิง และคหกรรมศาสตร์

การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ ระหว่างไทย-ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ย่าน Red Light Districe)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างไทย-ประเทศเนเธอแลนด์ (ย่าน Red Light  Districe)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2559 ปีที่ 14

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม”   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ  เรื่อง การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ   ระหว่างไทย -ประเทศเนเธอแลนด์(ย่าน Red Light Districe) โดยอาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้กล่าวถึง ประเทศไทยประกาศให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ่งเล็งมากจากหลายๆ ประเทศ ในเรื่องเกี่ยวกับโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลของประเทศได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี แต่การค้าประเวณีเป็นการลักลอบค้าจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแอบแฝงมาในรูปแบบของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ผับบาร์ เป็นต้น แต่การค้าประเวณีในต่างประเทศสามารถประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มทวีปยุโรป ในประเทศเนเธอแลนด์

   เนื้อหาสำคัญในบทความ จะกล่าวถึงการค้าประเวณีในประเทศไทยและประเทศเนเธอแลนด์ จะมีการแสดงออกของสังคมประเทศไทยที่ยังไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่สำหรับประเทศเนเธอแลนด์ เป็นการประกอบอาชีพเปิดเผย สุจริต จดทะเบียนถูกต้อง  ซึ่งแต่ละสังคมและวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันเพียงแต่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางต่อสังคมต่อไป

   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทความนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องเพศศึกษา เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชน ครอบครัว ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน เพื่อเรียนรู้และหาวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และปัญหาโรคติดต่อที่จะตามมาจากการมีเพศพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น และบทความนี้ได้ลงตีพิมพ์แล้วในวารสาร ทีทัศน์ วัฒนธรรมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2559  ปีที่ 14


 

การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ

ระหว่างไทยประเทศเนเธอร์แลนด์ (ย่าน Red Light Districe)

สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ / Supannika Chakamrun


   อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่ประกอบไปด้วยธุรกิจมากมายหลายประเภททั้งที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ธุรกิจที่พัก ธุรกิจการขนส่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม ได้แก่ สินค้าเกษตร งานหัตถกรรม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจซักรีด เป็นต้นธุรกิจดังกล่าวทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่และทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมากแต่การได้มาซึ่งรายได้นั้นก็นับว่าส่งผลกระทบต่อประเทศชาติเช่นกัน และนอกจากนั้นแล้วสถานการณ์บ้านเมืองภายในประเทศไทยเองมีปัญหาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ทรัพยากรทางธรรมชาติ ลดน้อยลง ทุกประเทศประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับประเทศไทยปัญหาเรื่องการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก จากรายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ ในปี ๒๕๕๗พบว่าผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติฯ ทั่วราชอาณาจักรมีจำนวนคดี ๗๗ คดีมีจำนวนจำเลย ๘๔ ราย เป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ รายมีจำนวนผู้ต้องโทษ ๘๔ รายเป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ ราย (สำนักแผนงานและงบประมาณ, ๒๕๕๗ : ๑๔)จากสถิติจะเห็นว่าจำนวนคดีที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยกว่าที่เป็นอยู่จริงจำนวนมาก จึงนับได้ว่าปัญหาการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่หนักหนามาก ทั้งในแง่ของการป้องกันการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและการลงมือดำเนินการควบคุมและปราบปรามอย่างเด็ดขาดก็ตาม อีกทั้งการค้าประเวณีในปัจจุบันยังเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์ในด้านธุรกิจข้ามชาติอีกด้วย

ภาพ สรุปเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๓๙ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน (สำนักแผนงานและงบประมาณ (๒๕๕๗ : ๑๐

   การบริการทางเพศมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยกรีกและโรมันโบราณซึ่งการค้าประเวณีอยู่ในระเบียบวินัยและอยู่ภายใต้การควบคุมของกฏหมาย สำหรับในประเทศไทยการค้าประเวณีเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า เมียเช่าต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตามกฎหมายตราสามดวง มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่าหญิงนครโสเภณีและในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)สถานประกอบการจะมีโคมสีเขียวตั้งไว้ข้างหน้าร้าน เรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี หรือสำนักโคมเขียว การค้าประเวณีมีแพร่หลายมากขึ้น ก่อให้เกิดการแพร่ของกามโรคอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงทรงออกพระราชบัญญัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยให้สถานประกอบการบริการทางเพศต้องจดทะเบียนและมีชื่อโสเภณี รวมทั้งโสเภณีแต่ละคนต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน ซึ่งการค้าประเวณีในสมัยนั้นไม่ถือว่าผิดกฎหมายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางองค์การสหประชาชาติได้มีมติให้กลุ่มสมาชิกต้องปฏิบัติตามมติร่วมกันว่า การค้าประเวณีทำให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ตกต่ำและเป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทรามต่างๆ ในสังคม เช่น การค้าผู้หญิง การบังคับให้หญิงค้าประเวณีอาชญากรรม และการแพรเ่ ชือ้ กามโรค โดยการออกพระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๐๓ และในปีเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้เป็นฐานทัพของอเมริกา การบริการทางเพศจำเป็นต้องคอยให้บริการแก่ทหารที่มารบในสงครามเวียดนาม แต่เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบการให้บริการที่ไม่ดูออกไปในแนวที่ผิดกฎหมายเช่น สถานบริการอาบอบนวด บาร์อะโกโก้ โรงน้ำชา หรือเมียเช่า เป็นต้น หลังสงครามสงบการค้าประเวณีก็ยังคงอยู่เรื่อยมา

   ในปี พ.. ๒๕๓๐ ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นท่องเที่ยวไทย ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาลโดยเฉพาะการบริการทางเพศทำให้ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ็งเล็งมากเรื่องโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลจึงประเทศออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ แต่การค้าประเวณีก็ยังคงอยู่และเป็นการลักลอบค้าประเวณีจนถึงปัจจุบันนี้การค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่แอบแฝงตามร้านผับ บาร์ ร้านอาหาร ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย ธุรกิจสุขภาพสปา นวดแผนไทยโรงแรม สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานพักผ่อนทั่วไป ซึ่งจะมีรูปแบบทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยมีหลากหลายวิธี อาทิ โดยการยืนรอลูกค้าบริเวณริมถนนขายบริการทางเพศผ่านระบบสื่อสารทางอิเล็คทรอนิคส์ สถานบริการทางเพศโดยตรงโดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือกพร้อมจัดห้องรับรองให้ สถานบริการมีกระจายตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆ จะเห็นได้ว่าการค้าประเวณีในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับประเทศอื่นที่มีการจดทะเบียนธุรกิจบริการทางเพศและประกอบอาชีพโสเภณีที่ถูกต้อง อย่างกลุ่มทวีปยุโรป เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือเดิมชื่อว่าฮอนแลนด์

สำหรับเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งระบบการคมนาคมขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพทั้งรถไฟ รถราง รถเมโทร รถเมล์ และการสัญจรทางน้ำ แทบไม่ต้องแปลกใจว่าคนเมืองนี้ใช้พลังงานและทรัพยากรกันอย่างคุ้มค่าจริงๆเช่นเดียวกันกับไลฟ์สไตล์ของคนท้องถิ่นที่นี่ เน้นความเรียบง่ายและค่อนข้างติดดินมากกว่าความหรูหราฟุ่มเฟือย ที่ทำให้บรรดานักท่องเที่ยวทั่วโลกมักไม่พลาดกับการมาเยือนและเพื่อมาสัมผัสศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงามในตอนกลางวัน และสำหรับยามค่ำคืนอัมสเตอร์ดัมก็ไม่เคยหลับไหล โดยเฉพาะย่านเรดไลท์ (Red Light Districe) นั้นมาจากที่ว่าบริเวณที่มีการขายบริการนั้นจะต้องมีการติดไฟนีออนสีแดงไว้ แต่ไม่ใช่ว่าติดไว้หน้าร้านแล้วนั่งรอกันอยู่ข้างในร้านเหมือนในเมืองไทยที่อัมสเตอร์ดัมจะติดไฟไว้ในห้อง(เป็นตู้) แล้วออกมาเต้นเรียกแขกกันในตู้หน้าร้านเลย แล้วหญิงบริการจะใส่ชุดบิกินนีมีทั้งฝรั่งผิวขาว ผิวดำ แบบอ้วนลงพุง แบบอ้วนดำ หรือแบบป้าแก่ๆ มานั่งสูบบุหรี่เพื่อรอแขกใส่ชุดวาบหวิวอยู่เต็มถนนไปหมด เมื่อมีนักท่องเที่ยวคนไหนชอบและพอใจในเรือนร่างและหน้าตา เปิดประตูเจรจาตกลงค่าตอบแทนกันตามใจชอบ (สนนราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐๕๐ยูโร สำหรับระยะเวลา ๑๕๒๐ นาที) ขณะที่หลายๆ ห้องปิดม่านเอาไว้แสดงว่าไม่ว่างกำลังให้บริการลูกค้าอยู่ (Occupied) ในสภาพยุโรปกฏหมายของประเทศอนุญาตให้มีการค้าบริการทางเพศได้อย่างถูกต้อง แต่จะต้องกำหนดโซนให้ชัดเจนมีอาณาบริการ จะไปตั้งไปทำมาหากินนอกเขตไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปควบคุมและดูแล ซึ่งในย่านนี้มีอยู่ด้วยกันราว ๓๘๐ ตู้ (ห้อง) ประมาณการกันว่ามีหญิงบริการสลับหมุนเวียนกันเช่าเพื่อใช้งานราว ๑,๐๐๐,๒๐๐ คนต่อวัน (ช่วงกลางวันและตอนดึก) โดยถือเป็นพื้นที่ควบคุมที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อนุญาตให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ปี ค.. ๑๘๑๐ คำเตือนสำหรับนักท่องเที่ยวเมื่อมาในบริเวณนี้คืออย่าถ่ายภาพเหล่าบรรดาหญิงบริการโดยเด็ดขาด ด้วยการตรวจตราผ่านกล้องวงจรปิดหากถ่ายภาพอาจได้พบเจ้าหน้าที่ตำรวจในชุดเครื่องแบบสีฟ้าเดินมาหา พร้อมขอความร่วมมือให้เก็บกล้องและในพื้นที่ไม่ไกลจากนั้น ยังมีร้านค้าให้บริการสินค้าเกี่ยวกับความสุขทางเพศในรูปแบบต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นได้เปิดหูเปิดตา

ภาพ ร้าน Sex Toy Shop ในย่าน Red Light Distric ประเทศเนเธอร์แลนด์

(ที่มา : Dutch Treats. 2011 : Online)

ถึงแม้สองประเทศที่กล่าวมาดูจะแตกต่างกันในเรื่องของการแสดงออกของสังคม แต่ถ้าประเทศไทยทำแบบนี้สังคมไทยก็ยังรับไม่ได้อยู่ดี แต่จะทำยังไงที่ไม่ให้คนต่างชาติมองประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกมองในเรื่องเพศเพียงอย่างเดียว บางอย่างไม่จำเป็นต้องเรียนแบบหรือเอาแบบอย่างของประเทศอื่นมาทั้งหมด แค่นำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราได้อย่างไร บางทีทฤษฎีการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาการสอนแบบเดิมๆสอนให้เรียนรู้การใช้ถุงยางอนามัย การป้องกันยังไงไม่ให้ท้อง ท้องแล้วควรทำอย่างไรแต่ควรที่จะสอนในเรื่องของตัวบทกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติสถานบริการพ..๒๕๐๙ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องเพศเชิงกฏหมายในสถานศึกษาและรวมถึงสถาบันครอบครัวที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ปัญหาโรคติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ และปัญหาสังคม แต่ในทางอ้อมยังสามารถแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้อีกทาง เพราะการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวที่ไม่เข้มแข็งและระบบการศึกษาไม่ดีพอ บ่อยครั้งเยาวชนไทยเราถูกมองว่าเป็นวัตถุทางเพศที่นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ง่ายพอๆ กับการซื้อกับข้าวที่เปิดขายกันทั้งวันทั้งคืนทั่วทุกมุมของประเทศแต่ยังมีอะไรที่ให้นึกถึงอีกตั้งเยอะไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

นิศา ชัชกุล. (๒๕๕๔). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักแผนงานและงบประมาณ. (๒๕๕๗). รายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.. ๒๕๓๙ระหว่างเดือนมกราคมมิถุนายน ๒๕๕๗. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑

พฤศจิกายน .. ๒๕๕๗ จาก http://www.m-society.go.th/article_attach/12115/16365.pdf

Traipsing Chronicles. (2011) Dutch Treats. [ออนไลน์]. httpp://sojournersol.blogspot.com/2011/03/dutch-treats.html

การบัญชีต้นทุน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การบัญชีต้นทุน (Costs Accounting I)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์ : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (2557)

มูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


หลักการบัญชีเบื้องต้น (PRINCIPLES OF ACCOUNTING)

หลักการบัญชีเบื้องต้น (PRINCIPLES OF ACCOUNTING)

       ตำรา เรื่อง “หลักการบัญชีเบื้องต้นเล่มนี้  เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการบัญชีเบื้องต้น เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย 9 บท เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี งบการเงิน หลักการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป การบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุง กระดาษทำการ แลการปิดบัญชีในเนื้อหาแต่ละบทจะอธิบายเนื้อหาและมีการยกตัวอย่างประกอบให้เข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีแบบฝึกหัดเสริมในบทเรียนและท้ายบทเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านและสามารถนำความรู้ในหนังสือเล่มนี้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ มีรายละเอียด ดังนี้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี ประกอบด้วย ความหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์และผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี ประเภท และรูปแบบของธุรกิจ ประวัติ และแม่บทการบัญชี รวมทั้ง พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 เป็นต้น

บทที่ 2 งบการเงิน ประกอบด้วย ความหมายงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด  องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายของธุรกิจในการบริการ เป็นต้น

บทที่ 3 รายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า ประกอบด้วย ความหมาย หลักการบันทึกบัญชีเบื้องต้น บัญชีรูปตัวที การบันทึกบัญชีและหลักการบันทึกบัญชีคู่ฯ  รวมทั้งประเภทของการบันทึกบัญชีคู่ เป็นต้น

บทที่ 4  การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป ประกอบด้วย ผังบัญชี การกำหนดเลขที่บัญชี สมุดรายวันทั่วไป รายการบัญชีที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไป รายการเปิดบัญชีและรายการค้าปกติ เป็นต้น

บทที่ 5 การบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภท ประกอบด้วย ความหมาย ประเภทของสมุดบัญชีแยกประเภท การผ่านรายการบัญชี  รวมทั้งการรายการในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และรายการค้าปกติ เป็นต้น

บทที่ 6 งบทดลอง  ประกอบด้วย ความหมาย ประโยชน์ แบบฟอร์ม และขั้นตอนจัดทำงบทดลอง รวมทั้งยอดดุลคงเหลือของบัญชีแยกประเภทและตัวอย่าง เป็นต้น

บทที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ประกอบด้วย เกณฑ์การบันทึกบัญชี ความหมายของรายการปรับปรุง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์  วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ไป หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น

บทที่ 8 กระดาษทำการ  ประกอบด้วย ชนิดของกระดาษทำการ ขั้นตอนในการทำกระดาษทำการ ตัวอย่างและวิธีคำนวณรายการปรับปรุง รวมทั้งตัวอย่างงบฯ เป็นต้น

บทที่ 9  การปิดบัญชี  ประกอบด้วย ความหมาย ขั้นตอนในการปิดบัญชี การบันทึกรายการปิดบัญชีสมุดรายวันทั่วไป การปิดบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ(ทุน) งบทดลองหลังปิดบัญชี วงจรบัญชี รวมทั้งสรุปขั้นตอนการทำบัญชี เป็นต้น 


ผู้แต่ง

  อาจารย์วรางคนางค์ สกุลวงศ์ ลี หยาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา      สิงหาคม 2558     มี 236 หน้า      ราคาเล่มละ        บาท       

สนใจติดต่อ โทร.084-8603919    02-4737000 ต่อ 4107

ปัจจุบัน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Certificate of English, Proficiency in English Language (PEL). Mauritius.

Certificate of French, Basic in French Language, Mauritius.

ประสบการณ์

อาจารย์ประจำคณะการบัญชี สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน

Management Accountant, Mauritours, Mauritius


การบัญชีขั้นต้น๑ (Accounting Principle I)

การบัญชีขั้นต้น ๑

Accounting Principle I

ผศ.นพพร ลิ้มสุขวัฒน์


View Fullscreen

หลักการบัญชีขั้นต้น (Principle of Accounting)

หลักการบัญชีขั้นต้น 

Principle of Accounting

รศ.รวงพร อิ่มผล


View Fullscreen

ตำราเรื่อง หลักการบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

ตำราเรื่อง หลักการบัญชีชั้นกลาง ๑

(Intermediate Accounting)

รศ.รวงพร อิ่มผล


ชื่อผลงานทางวิชาการ การบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

ประเภทผลงานทางวิชาการ ตำรา

ปีที่พิมพ์ ฉบับปรับปรุง 2558

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการบัญชีคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล

 

การบัญชีชั้นกลาง 1 (Intermediate Accounting)

   ตำรา เรื่อง การบัญชีชั้นกลาง 1 เล่มนี้ เป็นฉบับปรับปรุง 2558 รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการเป็นผู้เขียนได้ปรับปรุงตำรา เพื่อใช้ในการเรียนการสอน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี โปรแกรมวิชาบัญชีและโปรแกรมบริหารธุรกิจแขนงวิชาการบัญชี โดยเนื้อหาประกอบด้วย การแสดงรายการในงบการเงิน สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน กำหนดราคาสินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน การด้อยค่าสินทรัพย์ และหนี้สิน โดยผู้เขียนอาศัยประสบการณ์จากการปฏิบัติงาน และการสอนเป็นระยะเวลาหลายปี โดยตำราเล่มนี้ได้พิมพ์เผยแพร่แล้วในปี 2556 และเพื่อให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญ ในส่วนที่เกี่ยวกับสินทรัพย์และหนี้สิน เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่ออกใหม่ที่ประกาศใช้ และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำวามรู้ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง ซึ่งรายละเอียดของตำราเล่มนี้ประกอบด้วย 10 บทเรียนแต่ละบทเรียนจะประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้

บทที่ 1 งบการเงิน ประกอบด้วยกรอบแนวคิดสำหรับการรายงานทางการเงินวัตถุประสงค์ของการรายงานทางการเงินลักษณะเชิงคุณภาพของข้อมูลทางการเงินคำนิยามการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าองค์ประกอบของโครงสร้างงบการเงินแนวคิดเรื่องทุนและการรักษาระดับทุนการนำเสนองบการเงินสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 2 เงินสดและเงินลุงทุน ประกอบด้วยเงินสดเงินสดย่อยเงินฝากธนาคารงบประมาณเงินสดเงินลงทุนต้นทุนของเงินลงทุนการจัดประเภทเงินลงทุนการบัญชีสำหรับเงินลงทุนราคาตามบัญชีของเงินลงทุนการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนการจำหน่ายเงินลงทุนการเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 3 ลูกหนี้และตั๋วเงินรับ ประกอบด้วย ลูกหนี้ การนำบัญชีลูกหนี้ไปหาผลประโยชน์ ตั๋วเงินรับ การบัญชีเกี่ยวกับตั้งเงินรับ การนำตั๋วเงินไปแสวงหาผลประโยชน์ ตั้งเงินรับที่มีอายุเกินกว่า 1 ปี สรุป คำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 4 สินค้าคงเหลือและการวัดมูลค่าด้วยราคาทุน ประกอบด้วย ความหมายของสินค้าคงเหลือ รายการที่ควรถือเป็นสินค้าคงเหลือ การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับสินค้า การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือ วิธีถัวเฉลี่ย(อย่างง่าย ถ่วงน้าหนัก เคลื่อนที่) วิธีเข้าก่อนออกก่อน วิธีเข้าหลังออกก่อน วิธีรวมกลุ่มสินค้าเข้าหลังออกก่อนวิธีสินค้ามูลฐานวิธีราคาทุนอื่นๆเปรียบเทียบผลการคานวณราคาสินค้าคงเหลือสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 5 สินค้าคงเหลือและการวัดมูลค่าด้วยวิธีอื่น ประกอบด้วยการวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนและมูลค่าสุทธิที่จะได้รับผลของการใช้ราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับที่ต่ากว่าการบันทึกราคาที่ต่ากว่าลงในบัญชีวิธีอัตรากาหรขั้นต้นวิธีราคาขายปลีกการคานวณสินค้าคงเหลือตามวิธีขายปลีกในกรณีต่างๆการเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 6 เงินลงทุนระยะยาว ประกอบด้วยเงินลงทุนระยะยาวในหุ้นทุนการซื้อหุ้นเป็นหน่วยรวมการบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนระยะยาวเงินปันผลการแบ่งแยกหุ้นและสิทธิซื้อหุ้นที่ออกใหม่การไถ่ถอนหุ้นและการแปลงสภาพหุ้นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดการบันทึกบัญชีตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดการไถ่ถอนหุ้นกู้การแปลงสภาพหุ้นกู้การด้อยค่าของเงินลงทุนสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 7 ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ประกอบด้วย ความหมายของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ การวัดมูลค่าเริ่มแรกของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ต้นทุนการกู้ยืมที่อนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ ราคาทุน( ของที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์) ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังการบันทึกบัญชีเมื่อได้รับสินทรัพย์การซื้อสินทรัพย์การนาสินทรัพย์ที่มีอยู่ไปแลกการสร้างสินทรัพย์ขึ้นใช้เองสินทรัพย์ที่ได้มาจากการบริจาคและการค้นพบการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้มูลค่าเริ่มแรกสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 8 สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ประกอบด้วยคำนิยามการรับรู้รายการและการวัดมูลค่าการวัดมูลค่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเมื่อเริ่มแรกการวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการอายุการให้ประโยชน์การเปิดเผยข้อมูลสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 9 การด้อยค่าของสินทรัพย์ ประกอบด้วยความหมายของคาศัพท์การระบุสินทรัพย์ที่อาจเกิดจากการด้อยค่าการวัดมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับรับคืนหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดและค่าความนิยมการขาดทุนจากการด้อยค่าของหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดการพิจารณาลักษณะของสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดการคานวณมูลค่าจากการใช้และการรับรู้รายการขาดทุนจากการด้อยค่าการกลับบัญชีรายการขาดทุนจากการด้อยค่าการปฏิบัติสำหรับการปรับโครงสร้างในอนาคตการปฏิบัติเกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุนที่จะเกิดขึ้นแนวทางทาการทดสอบแบบวิธีปันส่วนให้หน่วยเล็กที่สุดและแบบวิธีปันส่วนให้หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาปฏิบัติกับค่าความนิยมสรุปคำถามและแบบฝึกหัด

บทที่ 10 หนี้สิน ประกอบด้วย ความหมายของหนี้สิน การแบ่งประเภทหนี้สิน การกำหนดมูลค่าของหนี้สิน หนี้สินหมุนเวียน หนี้สินโดยประมาณและหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น การแสดงรายการหนี้สินหมุนเวียน หนี้สินโดยประมาณ หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หนี้สินระยะยาว การบัญชีเกี่ยวกับหุ้นกู้ การตัดส่วนเกินหรือส่วนลดมูลค่าหุ้นกู้โดยวิธีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง การแสดงรายการหนี้สินระยะยาวและการเปิดเผยในงบการเงิน สรุป คำถามและแบบฝึกหัด 


ประวัติผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์รวงพร อิ่มผล

การศึกษา : บช.. บัญชีบัณฑิต (บัญชีการเงิน) คณะบัญชีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

: ศศ.. เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประสบการณ์การทำงาน

: รองศาสตราจารย์ ระดับ 9 สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (2555-2559)

: คณบดีคณะวิทยาการจัดการ (2550-2554)

หมายเหตุ : สนใจ ติดต่อ โทร. 081-3084300 ราคาเล่มละ 180. บาท

หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

อาจารย์ ภัทรนันท์ ไวทยะสิน


ชื่อผลงานทางวิชาการ หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์”

ประเภทผลงานทางวิชาการ หนังสั้น

ปีที่พิมพ์ 2559

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์ภัทรนันท์ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง


มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างชื่อเสียงอีกแล้ว

   นิสิตสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สร้างชื่อเสียงโดยการคว้ารางวัล จำนวน ๒ รางวัล ได้แก่ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ได้รับทุนการศึกษามูลค่า ๓๐,๐๐๐ บาท และรางวัลชมเชย ได้รับทุนการศึกษามูลค่า ๑๐,๐๐๐ บาท จากโครงการประกวดหนังสั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “Shortfilm of Parliament ๒๐๑๖” ซึ่งจัดกิจกรรมต่อเนื่องเป็นครั้งที่ ๓ สำหรับโจทย์ในการสร้างสรรค์หนังสั้นคือ ขอ-รับ-ท่าน Corruption โดยรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ ๑ นั้น นิสิตทั้ง ๓ คน ได้แก่ นายภูริทัติ แก้วทับทอง นายอภิวิชญ์พงษ์ วุฒิประพันธ์ นิสิตชั้นปีที่ ๔ และนางสาวอัญชิษฐา อัครศรีประไพ นิสิตชั้นปีที่ ๒ หรือ ทีม ๖๕ Room ร่วมกันสร้างสรรค์หนังสั้นเรื่อง “มไหสวรรย์” เป็นการวิพากษ์สถานการณ์ปัจจุบันแนวกึ่งสารคดี นำเสนอวิถีชีวิตของคนฝั่งธนที่ต้องเดินทางผ่านแยกทุกวัน ผลกระทบของการก่อสร้างอุโมงค์ที่ยาวนานและยังไม่มีวี่แววจะเสร็จ และรางวัลชมเชย คือ ทีมมดตะนอย ของนายกิตติศักดิ์ ถุงพลอย นิสิตชั้นปีที่ ๓ ที่ได้สร้างสรรค์หนังสั้นเรื่อง เรา” งานนี้ต้องชื่นชมอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ พิมพ์พิไล ไทพิทักษ์ และคณะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง ได้ให้คำปรึกษาจนประสบความสาเร็จ สร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัย คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชา นับว่าเป็นตัวอย่างที่ทุกคนควรยกย่อง และเป็นตัวอย่างในการพัฒนาความรู้จากการเรียนการสอน สู่อาชีพ สังคม และชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยสืบไป


 

ผลการประกวดหนังสั้น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร “Shortfilm of Parliament 2016”

นิสิตสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1

 

สามารถโหลดข้อมูลและรายเอียดได้จาก You Tube และ Facebook

ลิ้งค์จาก facebook – https://www.facebook.com/shortfilmofparliament

จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ


ชื่อผลงานทางวิชาการ จะเข้ : ความเป็นมาและการบรรเลง

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2555

มูลเพิ่มเติม สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ

 

View Fullscreen

การใช้ภูมิปัญญาท้องถื่นพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของตำบลพลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

พัฒนาตำบลพลูตาหลวง จังหวัดชลบุรี ในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

.วนิดา ชื่นชัน


View Fullscreen

กิจกรรมการสื่อสารการแสดงละครเพื่อเด็กและเยาวชน

กิจกรรมการสื่อสารการแสดงละครเพื่อเด็กและเยาวชน

ภัทรนันท์ ไวทยะสิน และคณะฯ


ชื่อผลงานทางวิชาการ การสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชนการบัญชีเพื่อการจัดการ (Accounting Management)

ประเภทผลงานทางวิชาการ โครงการบริการวิชาการแก่สังคม

ปีที่พิมพ์ 2557

ข้อมูลเพิ่มเติม จัดกิจกรรม มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (ศูนย์ดวงแข)

แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 ธันวาคม 2557 (เป็นชุมชนแออัด)

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ

อาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ

โครงการสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน

   โครงการสื่อสารการแสดงเพื่อเด็กและเยาวชน เป็นโครงการบริการทางวิชาการแก่สังคม ของสาขาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ จัดทำขึ้นร่วมกับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่กาลังศึกษาในรายวิชาการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิงและรายวิชาการกากับการแสดงเพื่อธุรกิจบันเทิง โดยมีการจัดกิจกรรมสื่อสาร การแสดงเพื่อมอบความสนุกสนาน ความบันเทิง และข้อคิดสอดแทรกการสอน ผ่านกิจกรรมต่างๆ คือ กิจกรรมสันทนาการ ดนตรี และการแสดงละครเด็ก จัดกิจกรรม ณ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (ศูนย์ดวงแข) แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 6 ธันวาคม 2557 (เป็นชุมชนแออัด)

   ซึ่งโครงการนี้ เป็นโครงการตัวอย่างที่ดี เป็นตัวอย่างที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้จากการเรียนในชั้นเรียนของนิสิต สู่สังคมและชุมชน และเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย โดยการนำของอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ ที่มุ่งมั่น เสียสละ ในการดำเนินงานเพื่อคิด สร้างสรรค์ ผลิตสื่อสารการแสดงแบบง่ายๆ และการฝึกซ้อมไปสู่กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กอายุ 6 -12 ปี ถือว่าเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งในการสร้างสรรค์สังคม ให้ความสุขแก่สังคม เด็กและเยาวชน นอกจากโครงการนี้ จะมอบความบันเทิงแล้ว ยังมีการสอดแทรกข้อคิด คติสอนใจ ให้ความรู้แก่เด็กในชุมชน โดยเฉพาะในส่วนของการแสดงบทละคร เรื่องเบลล่า หนูน้อยเกเรตะลุยแดนเทพนิยายเป็นบทละครที่แสดงโดยนิสิต นอกจากจะได้รับความสนุกสนานแล้ว ยังได้ข้อคิด สอนใจ ในการอยู่ร่วมกับสังคมแล้ว ถ้าคนเรามีนิสัยเกเร เป็นนักเลง ก็จะไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย ไม่มีเพื่อน ต้องปฏิบัติตนเป็นคนดี จึงจะทำให้สังคมมีแต่ความสุข และยั่งยืนต่อไป ในส่วนของนิสิตเองนั้น สิ่งที่ได้จากการนำองค์ความรู้ที่เรียนภายในห้องเรียนไปปฏิบัตินอกสถานที่ นิสิตได้เห็นสภาพของสังคม ชุมชน ว่ามุมชีวิตของคนที่อยู่ในชุมชนแออัด (สลัม)เหล่านั้น ลาบาก ยากแค้นเพียงใด โอกาสของเด็กๆ ในชุมชนต้องได้รับการพัฒนาและแก้ไข นอกจากนั้น ยังสามารถสร้างแรงขับดัน บันดาลใจให้นิสิตมีความรู้สึกว่า ตัวเองต้องให้ความร่วมมือ มีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม และชุมชน (แออัด) ต่อไป

   ทั้งนี้ ในฐานะที่โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี เป็นตัวอย่างกับทุกๆ คน ต้องขอขอบคุณอาจารย์ภัทรนันท์ ไวทยะสิน อาจารย์ประจำสาขาโฆษณาและธุรกิจบันเทิงและคณะ และนิสิตชั้นปีที่ 3 คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ได้สร้างสรรค์สิ่งดีๆให้แก่ชุมชนและสังคม

 

หมายเหตุ ชมรูปภาพประกอบ และบทละคร เรื่องเบลล่า หนูน้อยเกเรตะลุยแดนเทพนิยาย

บทละครเด็ก Acting อ.ภัทรนันท์