การบัญชีต้นทุน

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การบัญชีต้นทุน (Costs Accounting I)

ประเภทผลงานทางวิชาการ : ตำรา

ปีที่พิมพ์ : ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 4 (2557)

มูลเพิ่มเติม : สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ : รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ


พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา*

ณิชานาฏ สอนภักดี**

* อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

** นิสิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพ/ ผู้ป่วยเบาหวาน


 

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ประชากรเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นางและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน จำนวน 51 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและไคว์สแควร์ (Chi-Square test, χ² )

       ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองโดยรวมอยู่ในระดับสูง การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน, การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวาน, การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรค และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคล ได้แก่ แรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว, แรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้ป่วยเบาหวานด้วยกัน และแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรด้านสาธารณสุข มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Abstracts

       The purposes of this research were to study self-care behaviors of diabetic patients, and to investigate the relationship between the perception of the diabetes, social support on diabetic patients self-care behaviors. The population were the 51 of patients who took the medical care in the Diabetic Clinic Center at Bangmeanang Tambon Health Promoting Hospital and Ban-nongkangkhean Tambon Health Promoting Hospital. The data were collected by using questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistic and Chi-Square.

       The results of the study: The most diabetic patients had self- care behaviors in the high level. Perception of diabetes mellitus: risk perception of complications of diabetes mellitus, perceived severity of diabetes mellitus, benefits of their practice to controlling the disease and barriers of self- care for complication preventing from the disease that positively related to self-care behaviors of diabetes mellitus patients by statistic significance at the level of 0.05, and in part of social support: getting encouraging from family, diabetes mellitus friends and getting encouraging medical personnel that positively related to self-care behaviors of diabetes mellitus patients by statistic significance at the level of 0.05.

 

บทนำ

       โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุขของโลก เป็นภัยคุกคามที่ลุกลามอย่างรวดเร็วไปทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมาก จากข้อมูลสมาพันธ์เบาหวานนานาชาติ(international diabetes federation : IDF) ได้รายงานสถานการณ์ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกแล้ว 285 ล้านคนและได้ประมาณการว่าจะมีจำนวนผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มมากกว่า 435 ล้านคน ในปี พ.. 2573

       ในประเทศไทยพบว่าประชากรไทยทุกๆ 100 คนจะมีผู้เป็นเบาหวานถึง 8 คนโดยคนที่มีอายุเกิน 35 ปีป่วยเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 9.6 คนที่อายุเกิน 65 ปีป่วยเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 18 สำหรับประเทศไทยและประเทศทางเอเชียนั้นมีผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 99 เป็นเบาหวานประเภทที่ 2 หรือเบาหวานที่พบในผู้ใหญ่และไม่มีแนวโน้มในการเกิดภาวะกรดคั่งในเลือดจากสารคีโตน ในขณะที่ทางยุโรปและอเมริกามีผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2 เพียงร้อยละ 85 เท่านั้น(เทพ หิมะทองคา และคณะ, 2552)

       จากข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นางและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน ในปี 2554 – 2555 มีจำนวนการเพิ่มขึ้นในทุกปีคือ 34 คนและ 51 คน ตามลำดับซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละปี(โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน, 2556) และพบว่าผู้ป่วยยังไม่สามารถปฏิบัติตัวในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเกิดมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆซึ่งหากปล่อยให้มีการดำเนินโรคต่อไปอาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่ยากแก่การป้องกันและแก้ไขตามมาด้วยดังนั้นผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษาถึงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานการศึกษาครั้งนี้จะทำให้ทราบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยการปฏิบัติและการปรับตัวด้านพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี

       2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานแรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

 

วิธีดำเนินการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

       ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับการตรวจรักษาที่คลินิกโรคเบาหวาน ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นางและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 51 คนโดยเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

       เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด จากการศึกษางานวิจัยต่างๆหนังสือที่เกี่ยวข้องมาดัดแปลงการสร้างเครื่องมือโดยมีเนื้อหาที่คลอบคลุมวัตถุประสงค์ของการวิจัยและประยุกต์ใช้แบบสอบถามของมงคลชัย แก้วเอี่ยม(2550), มนต์ธิรา ไชยแขวง (2548), ชนาธิป ศรีพรหม (2550), สมจิต แซ่จึง (2547) และนำตยา คงคามี (2549)

3. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

       ใช้สถิติพรรณา ได้แก่ จำนวนความถี่ ค่าร้อยละ ทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติไคสแควร์ (Chi-Square test)

 

ผลการวิจัย

       1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.63 มีอายุสูงกว่า 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.94 มีสถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 66.67 มีการศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ร้อยละ 72.55 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 21.57 มีรายได้อยู่ในช่วง 5,001 – 10,000 บาท ร้อยละ 41.18 มีแหล่งรายได้มาจากอาชีพของตัวเอง ร้อยละ 52.95 มีระยะเวลาที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน 0 – 5 ปี ร้อยละ 62.75 มีภาวะแทรกซ้อน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 47.06

       2. การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีการรับรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 62.75 มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 76.47 มีการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 72.55 มีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 74.51 การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานภาพรวมพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานภาพรวมอยู่ในระดับสูง จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 76.47

       3. แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.67 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากเพื่อนบ้าน/เพื่อร่วมงาน/ผู้ป่วยเบาหวานด้วยกันอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 62.75 ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรด้านสาธารณสุขอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 60.78 แรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลภาพรวมพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 68.63

       4. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานพบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 50.98 พบว่า มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.86 มีพฤติกรรมการการรับประทานยาหรือฉีดยาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 52.94 มีพฤติกรรมดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.86 ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองภาพรวมอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 54.90

       5. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน แรงสนับสนุนทางสังคมกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน

ความสัมพันธ์ของการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคและการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แรงสนับสนุนทางสังคม ได้แก่ แรงสนับสนุนจากบุคคลในครอบครัว แรงสนับสนุนจากเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงานและผู้ป่วยเบาหวานด้วยกัน และแรงสนับสนุนจากบุคลากรด้านสาธารณสุขมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

อภิปรายผล

       จากการศึกษาพบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีการรับรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 62.75 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน การที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงจะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีการที่บุคคลมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงหรืออันตรายต่อการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อน บุคคลนั้น ๆ จะมีความพร้อมที่จะปฏิบัติกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนนั้น (Rosen-stock, 1974 อ้างใน จาตุรงค์ ประดิษฐ์, 2540) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของเสียงสวรรค์ ทิพยรักษ์ (2549) ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองมากขึ้นสามารถปฏิบัติตนได้เหมาะสมกับสภาวะโรคที่เป็นอยู่ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนมีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่กับโรคเบาหวานได้อย่างมีความสุข

       การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 76.47 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ที่กล่าวว่าการที่บุคคลใด ๆ เชื่อว่าโรคที่เกิดขึ้นมีผลกระทบที่รุนแรงเป็นอันตรายต่อร่างกายและบทบาททางสังคมของเขา จะเป็นแรงผลักดันให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันความรุนแรงที่เกิดจากโรคนั้น ๆ (Rosen-stock, 1974 อ้างใน จาตุรงค์ ประดิษฐ์, 2540) ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานที่มีการรับรู้ความรุนแรงของโรคสูงจะส่งให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีด้วย ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของชนาธิป ศรีพรหม (2550) การที่ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองได้ก็จะนำไปสู่การดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกวิธีก็จะทำให้ผู้ป่วยสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้และที่สำคัญยังเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขตลอดจนการปฏิบัติตัวเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขเหมือนคนปกตินั้นเป็นสิ่งสำคัญกับผู้ป่วยเบาหวานเป็นอย่างมาก

       การรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 72.55 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของมงคลชัย แก้วเอี่ยม(2550) การรับรู้ถึงประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตนเองจะส่งผลให้มีพฤติกรรมการปฏิบัติตนที่ดีการที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานรับรู้ผลดีและประสิทธิภาพของพฤติกรรมที่จะสามารถลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือช่วยลดความรุนแรงของโรคได้และวิธีการนั้นๆเป็นวิธีการที่ให้ประโยชน์แก่เขามากที่สุดจึงส่งเสริมให้เขามีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม

       การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานของผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 74.51 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของศิริพร ปาระมะ(2545)การที่ผู้ป่วยเบาหวานมีการรับรู้ว่าตนเองมีอุปสรรคในการปฏิบัติตนเป็นการรับรู้ของบุคคลเกี่ยวกับปัจจัยหรือกิจกรรมต่างๆตามสภาพเป็นจริงที่ขัดขวางการมีพฤติกรรมสุขภาพอนามัยส่งผลให้เกิดความขัดแย้งและหลีกเลี่ยงการมีพฤติกรรมอนามัยนั้นๆและบุคคลจะประเมินระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นก่อนการตัดสินใจ

การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลในครอบครัวอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 68.63 และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของกาญจนา บริสุทธิ์(2553) การที่ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับคำแนะนำข้อมูลข่าวสารกำลังใจและการกระตุ้นเตือนจากบุคคลในครอบครัวเพื่อนบ้านเพื่อนร่วมงานผู้ป่วยเบาหวานด้วยกันและบุคคลากรด้านสาธารณสุขมีพฤติกรรมการดูแลตนเองดีสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องต่อไป

       พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยรวมอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 54.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการควบคุมอาหาร ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการควบคุมอาหารอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 50.98 การเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกต้องและในปริมาณที่เหมาะสม ตามหลักอาหารผู้ป่วยเบาหวาน คือ งดอาหารประเภทของหวานรับประทานผักได้ไม่จำกัดปริมาณ จำกัดอาหารพวกข้าว แป้งเนื้อสัตว์ และอาหารที่มีที่มีไขมันมากหากปฏิบัติตนในด้านอาหารได้ถูกต้องแล้วจะส่งผลให้มีสุขภาพดีขึ้นและระดับน้ำตาลในเลือดลดลง (จรรยา ธัญน้อม, 2550)

       ด้านการออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 56.86 ผู้ป่วยเบาหวานมีการออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง มีการปรึกษาแพทย์ก่อนออกกำลังกาย บริหารเท้าด้วยการเขย่งนิ้วเท้า และออกกำลังกายครั้งละ 20 –30 นาที ช่วยทำให้การไหลเวียนเลือดทั่วร่างกายดีขึ้น ช่วยลดไขมันในเลือด ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบแข็ง และทำให้รูปร่างดี ดัชนีมวลกายอยู่ในภาวะปกติ(จรรยา ธัญน้อม, 2550)

       ด้านการรับประทานยาหรือฉีดยา ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการการรับประทานยาหรือฉีดยาอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 52.94 ผู้ป่วยส่วนใหญ่รับประทานยาหรือฉีดยาตามกำหนดเวลาปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัดไม่ลดหรือเพิ่มขนาดยาเองและมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งจึงทำให้จึงสามารถปฏิบัติตนด้านการทำนยาได้อย่างถูกต้องและรับประทานยาได้อย่างถูกวิธีจนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างดี

       ด้านการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่มีพฤติกรรมดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 56.86 การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้ป่วยเบาหวานจะช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานเกิดความห่วงใยในตนเอง ตระหนักและเอาใจใส่ตนเองมากขึ้น ส่งผลให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยทั่วไปและดูแลตนเองด้านอื่น ๆ เพิ่มสูงขึ้น(พรทิวา อินทร์พรหม, 2539) ทั้งนี้เนื่องจากผู้ป่วยโรคเบาหวานจัดเป็นผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแต่จะต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องสม่าเสมอเพื่อติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติการที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกโรคเบาหวานและมาตรวจตามนัดทุกครั้งก็จะได้รับคำแนะนำจากแพทย์พยาบาลหรือบุคลากรสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคเบาหวานสาเหตุอาการการรักษาตลอดจนการปฏิบัติตัวหรือการดูแลตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสมกับภาวะโรคได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ทำให้เกิดการรับรู้และตระหนักในปัญหาสุขภาพของตนเองอย่างสม่าเสมอมีความเชื่อมั่นในแบบแผนการรักษาของแพทย์ทำให้เกิดความห่วงใยในตนเองและเอาใจใส่ดูแลตนเองมากขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

1. ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

       1.1 การวิจัยครั้งนี้พบว่าการรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานได้แก่การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนการรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานการรับรู้ผลดีของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานและการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานจึงควรส่งเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานมีความรู้ที่เกี่ยวกับโรคเบาหวานภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นเพื่อที่จะได้นำไปพัฒนาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองให้ดียิ่งขึ้น

       1.2 การวิจัยพบว่าแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวและบุคคลในเครือข่ายต่างๆของชุมชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

       2.1 การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณทำให้ได้รับรายละเอียดไม่เพียงพอดังนั้นจึงควรมีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมด้วยเพื่อให้ได้รายละเอียดอย่างครบถ้วนและได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น

       2.2 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในพื้นที่ที่มีความแตกต่างกันเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงผลในกลุ่มประชากรต่อไป

 

กิตติกรรมประกาศ

       ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่ให้ทุนอุดหนุนการวิจัย ขอขอบคุณคุณผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง และผู้อานวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พยาบาล เจ้าหน้าที่ และ อสม.ทุกท่านที่ช่วยนาเก็บข้อมูลและอานวยความสะดวกในการทำงานขอบคุณผู้ป่วยเบาหวานทุกท่านที่ให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์และเสียสละเวลาในการตอบแบบสอบถามตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำวิจัยฉบับนี้ทุกท่านที่มิได้กล่าวนามณที่นี้

 

บรรณานุกรม

กาญจนา บริสุทธิ์. (2553). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ศูนย์แพทย์เฉลิมพระเกียตริ 80 พรรษา เทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จาตุรงค์ ประดิษฐ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการ ดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลกาแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรรยา ธัญน้อม. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนาธิป ศรีพรหม.(2550). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานใน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการ สร้างเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

เทพ หิมะทองคำและคณะ. (2552.ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

นาตยา คงคามี. (2549). การพัฒนาการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับ บริการในโรงพยาบาลสิงห์บุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พรทิวา อินทร์พรหม. (2539). ผลการดูแลสุขภาพอนามัยที่บ้านต่อการรับรู้ความสามารถใน การดูแลตนเองและภาวะสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลอายุรศาสตร์และศัลยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

มนต์ธิรา ไชยแขวง. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มงคลชัย แก้วเอี่ยม. (2550). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลหนองกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. รายงานการวิจัยโปรแกรมสุขศึกษา.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง. (2556). ทะเบียนคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลบางแม่นาง. นนทบุรี.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน. (2556). ทะเบียนคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองกางเขน. นนทบุรี.

ศิริพร ปาระมะ. (2545). ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย เบาหวานโรงพยาบาลลี้ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยา การศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมจิต แซ่จึง. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ เข้ารับการรักษาคลินิกโรคเบาหวานในโรงพยาบาลราชวิถี. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง.

เสียงสวรรค์ ทิพยรักษ์. (2549). การพัฒนาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลลานารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

 

ผศ.ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนา*

นิภาวรรณ คำแสน และ รณฤทธิ์ แก้วรากมุข**

* อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

** นิสิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

คำสำคัญ : พฤติกรรมวัยรุ่น/ การเที่ยวกลางคืน

บทคัดย่อ

       การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ปัจจัยสาเหตุของการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสาเหตุของการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นกับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็น วัยรุ่นอายุระหว่าง 12-22 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ จะใช้เวลาเที่ยวกลางคืน 3-4 ชั่วโมงนิยมออกไปเที่ยววันศุกร์ ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา วัยรุ่นจะเที่ยวกลางคืน 1-2 วัน สถานบันเทิงที่ไปเที่ยวเป็นผับ ในการเที่ยวกลางคืนทุกครั้งจะมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และจะไปเที่ยวกับเพื่อน ปัจจัยสาเหตุในการเที่ยวกลางคืน คือ ราคาหรือโปรโมมั่นของสถานบันเทิง ความสะดวกสบายในการเดินทางไปเที่ยวและความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน ปัจจัยสาเหตุที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ปัจจัยนำในส่วนของความรู้เกี่ยวกับอันตรายและโทษของการเที่ยวกลางคืน ด้านสุขภาพ ความคิดเห็นเกี่ยวกับอันตรายและโทษของการเที่ยวด้านกฎหมาย ปัจจัยเอื้อในส่วนของการเงิน ราคาหรือโปรโมชั่นของสถานบันเทิง ความสะดวกสบายในการเดินทางไปเที่ยว และปัจจัยเสริมในส่วนของความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน และพบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

       จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะคือควรจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้และให้ความตระหนักเกี่ยวกับอันตรายและโทษของการเที่ยวกลางคืนส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวการดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับวัยรุ่นให้มากยิ่งขึ้นบิดามารดาหรือผู้ปกครองควรมีการพูดคุยคอยดูแลตักเตือนให้คำปรึกษาและแนะแนวเรื่องการเที่ยวกลางคืนให้กับวัยรุ่น

Abstract

       This survey research aimed to study the nightlife behavior of teenager, factors and reasons that influence to their nightlife behavior as well as relationship between reason and their nightlife behavior. Samples were 300 teenager aged between 12-22 years old, lived at Bang Mae Nang Sub district, Bang Yai District,

Nonthburi Province for 300 persons. Colleted by questionnaire and analyze with the descriptive analysis and Chi-square test.

The result showed that most of teenagers spent their nightlife about 3-4 hrs on Friday in every 3 months for 1-2 days. They liked to spend their nightlife at pubs. Causal attributions for nightlife behavior were their financial status, promotion of pub or club, comfort ability to reach such pubs and clubs and relationship among them and friends.Causal Attributions which had the statistical significance with their nightlife behavior were knowledge about danger of nightlife behavior in term of health and legal. The supportive factors to their nightlife behavior were financial status, promotion of pub or club, comfort ability to reach such pubs and clubs. Supportive factors in term of relationship among them and friends showed that gender had relationship with nightlife behavior of teenagers with statistical significance at 0.05 level.

The suggestion from research was: there should set up some activities to provide knowledge and awareness for teenagers about danger of nightlife behavior while promoting the relationship among family‘s member. Parent should concern and care their children about suggestion, warning and consultant for nightlife behavior.

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องสีของวัตถุกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ชื่อผลงานทางวิชาการ : การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่อง  สีของวัตถุ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่    โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์

ประเภทผลงานทางวิชาการ : บทความวิจัย

ปีที่ทำการวิจัย : 2555

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ : เจษฎา  วรรณวิมลกุล  ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

       การวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เรื่องสีของวัตถุ   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕      ผลการวิจัยพบว่าบทเรียนมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับ  ๘๑ .๕๐ / ๘๐.๕๐ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐ / ๘๐    และพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนน ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑   รายละเอียดติดตามได้ทาง  web-online มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

รศ.ดร.อำนวย   เดชชัยศรี   บรรณากร

SMT: วิทย์ / คณิต / เทคโน

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยกับรัฐธรรมนูญ 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยกับรัฐธรรมนูญ 2560 เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 28 เมษายน 2560 จำนวน 1,218 กลุ่มตัวอย่าง


 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2560 ปชช.เชื่อทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้น ลดปัญหาคอรัปชั่นส์ ได้นักการเมืองดีกว่าอดีต

       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2560โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,218 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

       ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 เมื่อวันที่ เมษายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับเป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างเป็นทางการ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่20 ของประเทศไทย กำลังจะครบ1เดือนหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้นประชาชนมีความคาดหวังอย่างไรต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 แนวโน้มของประเทศไทยนักการเมืองที่ดีการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ปัญหาคอรัปชั่นประโยชน์ของประชาชน

        ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.1 ทราบว่าเมื่อวันที่ 6 เมษายน2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 รองลงคือ ไม่ทราบร้อยละ 29.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 12.1  และทราบว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่20ของประเทศไทยร้อยละ 44.8 รองลงคือ ไม่ทราบร้อยละ 32.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 22.4

       กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าแนวโน้มประเทศไทยจะดีขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ร้อยละ 47.0 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 27.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 25.3 ละคิดว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 จะทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้นร้อยละ 35.8 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 29.2 และไม่แน่ใจร้อยละ 35.0

       ในส่วนปัญหาการคอรัปชั่นจะลดน้อยลงหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ร้อยละ41.7 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 32.3 และไม่แน่ใจร้อยละ 25.9 ทำให้ได้นักการเมืองที่ดีมากกว่าในอดีต ร้อยละ 42.2 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 33.1 และไม่แน่ใจร้อยละ 24.7 และคิดว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นร้อยละ 44.9 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 28.7 และไม่แน่ใจร้อยละ 26.4

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้  http://www.lokwannee.com/web2013/?p=267009

เว็บไซด์ Sanook  http://news.sanook.com/2211106/

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/politics/572363

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/275508

สถานีโทรทัศน์ช่อง 8

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี  เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน 2560 จำนวน  1,158 กลุ่มตัวอย่าง


เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล  ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า  ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,158 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน2560 ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี ในมุมมองต่างๆของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัญหาการค้าประเวณีในมุมมองของชาวต่างชาติได้มุ่งเป้าว่าประเทศไทยเป็นเมืองในระดับต้นๆที่มีชื่อในด้านการค้าประเวณี รวมไปถึงในช่วงที่ผ่านมามีข่าวคดีการค้าประเวณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการค้าประเวณีในประเทศไทยนั้นมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ 2539 และ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ปัญหาการค้าประเวณีซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต และปัญหาดังกล่าวจะมีการแก้ไขอย่างไรต่อไป ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณี ร้อยละ 53.0 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ 31.1 และไม่แน่ใจร้อยละ 15.9 ประเภทที่พบเห็นการค้าประเวณี อันดับหนึ่งคือ ยืนรอข้างถนน รอบสวนลุมพินี วงเวียนใหญ่ วงเวียน 22 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ร้อยละ 43.2 อันดับที่สองคือ สถานบันเทิง  คาเฟ่  ร้านคาราโอเกะ  สปา  ร้านตัดผม ร้อยละ29.7 อันดับที่สามคือ สถานบริการอาบอบนวด / นวดแผนโบราณ ร้อยละ 16.8 และอันดับที่สี่คือ อินเทอร์เน็ต /ออนไลน์ ร้อยละ 10.3

ปัจจัยทำให้เกิดการค้าประเวณี อันดับที่หนึ่งคือ เงินใช้จ่ายไม่เพียงพอ ร้อยละ 30.6 อันดับที่สองคือ ถูกหลอกถูกบังคับ ร้อยละ 24.9 อันดับที่สามคือ ครอบครัวยากจน ร้อยละ 21.5 อันดับที่สี่คือ ความฟุ้งเฟ้อตามสมัยนิยมร้อยละ 11.7 และอันดับที่ห้าคือ ประชดชีวิต ร้อยละ 11.3

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 61.3 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ27.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.9 โดยทราบว่าต่างชาติมองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่มีการค้าประเวณีในอันดับต้นๆของโลก ร้อยละ 58.1รองลงมาคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 29.1 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.8 อยากให้มีการนำ มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ร้อยละ 52.7 ไม่อยาก ร้อยละ 28.4 และ​ไม่แน่ใจร้อยละ 18.9 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าประเทศไทยไม่พร้อมกับการเปิดให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมาย ร้อยละ49.3 คิดว่าพร้อม ร้อยละ 33.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.9​

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์SPRINGNEWS http://www.springnews.co.th/th/2017/04/41672/

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000043336

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/267829

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ http://www.lokwannee.com/web2013/?p=266284

หนังสือพิมพ์มติชน https://www.matichon.co.th/news/544781

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/crime/571120

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/274208

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493456893

เว็บไซต์ประชาไท  https://prachatai.com/journal/2017/04/71235

เว็บไซด์TVPOOL http://www.tvpoolonline.com/content/427470

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ เก็บข้อมูลในวันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2560จำนวน 1,223 กลุ่มตัวอย่าง


       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผย คนกทม. เกินครึ่งเคยใช้ Mobile Banking App ธนาคารกสิกรไทยยอดนิยม

       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,223 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2560  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด ร้อยละ 28.9 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 17.3 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 16.2 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 12.3 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร้อยละ 10.7 และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการธนาคารพาณิชย์ มากที่สุด อันดับที่ 1 ธนาคารกสิกรไทย ร้อยละ 28.0 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 17.3 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 15.9 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 12.6 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารทหารไทย ร้อยละ 10.1

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) ร้อยละ 58.8 และ ใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) มากที่สุด อันดับที่ 1 คือ ธนาคารกสิกรไทย (K-Mobile) ร้อยละ 29.2 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 15.7 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB netbank) ร้อยละ 14.9 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 14.1 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ร้อยละ 9.5

มีความพึงพอใจต่อการบริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) มากที่สุด อันดับที่ 1 ธนาคารกสิกรไทย (K-Mobile) ร้อยละ 28.4 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 18.0 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB netbank) ร้อยละ 15.7 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 13.8 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ร้อยละ 9.8

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ธนาคารพาณิชย์ มีการปรับปรุงในเรื่องการเพิ่มจำนวนตู้อัตโนมัติ (ATM,CDM) ให้มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 25.5

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สำนักข่าวINN http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=775982

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/business/264689

เว็บไซด์ Sanook http://money.sanook.com/475801/

เว็บไซด์ MSN https://goo.gl/HMzQm1

Effect of Ti – doped in Y 134 Superconductor

Effect of Ti – doped in Y 134 Superconductor

รัตนสุดา สุภคนัยสร


View Fullscreen

การประเมินความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารในร้านอาหารตามสั่งในตลาดคลองเตย กรุงเทพมหานคร

การประเมินความสะอาดของภาชนะสัมผัสอาหารในร้านอาหารตามสั่งในตลาดคลองเตยกรุงเทพมหานคร

ผศ.ดร.กิจจา จิตรภิรมย์


View Fullscreen

รูปแบบการดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่แยกได้จากสุขาสาธารณะ

รูปแบบการดื้อยาต่อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียที่แยกได้จากสุขาสาธารณะ

ผศ.ดร.กิจจา จิตรภิรมย์


View Fullscreen