Category Archives: บ้านสมเด็จโพลล์

โพลระบุคนกรุงเทพฯ ไม่อยากให้มี ‘สุนัข-แมวจรจัด’

             บ้านสมเด็จโพลสำรวจความเห็นคน กทม. 60% อยากเห็น กทม. เป็นเมืองที่ปลอดจากสุนัข-แมวจรจัด และคิดว่าสุนัข-แมวจรจัดเป็นอันตราย และเห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว

7 เม.ย. 2561 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาสุนัข-แมวจรจัด โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,210 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 27 – 30 มี.ค. 2561  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คน ต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่าผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาสุนัข-แมวจรจัด เนื่องจากในปี 2560 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้า 11 รายและในปี 2561 มีผู้เสียชีวิตจากเชื้อพิษสุนัขบ้าแล้ว 7 ราย และสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่าพื้นที่ที่พบเชื้อพิษสุนัขบ้ามีมากถึง 40 จังหวัด รวมไปถึงกรุงเทพมหานครที่มีการตรวจพบสัตว์ติดเชื้อพิษสุนัขบ้าจำนวน 6 ตัว ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยเกี่ยวกับสุนัข-แมวจรจัด ซึ่งสาเหตุหลักในการแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้าจากสัตว์เลี้ยงไปสู่คนมาจาก ปัญหาสุนัข-แมวจรจัดซึ่งมีการคาดการณ์จำนวนสุนัข-แมวจรจัดทั่วประเทศมีจำนวนมากกว่า 1 ล้านตัว

หากมีการแก้ไขปัญหาสุนัข-แมวจรจัดก็จำทำให้ปัญหาเรื่องของเชื้อพิษสุนัขบ้า ลดลงได้ แต่กระบวนการในการแก้ไขปัญหาสุนัข-แมวจรจัดยังไม่สามารถทำให้มีการลดจำนวนสุนัข-แมวจรจัดได้ โดยกรุงเทพมหานครมีศูนย์พักพิงสุนัขจรจัด เขตประเวศ เพื่อเป็นใช้เป็นสถานที่เลี้ยงดูสุนัขและแมวจรจัด ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนสุนัขจรจัดพักพิงในพื้นที่รวม ประมาณ 1,000 ตัว และมีแมวจรจัดรวมประมาณ 200 ตัว ซึ่งไม่เพียงพอต่อสุนัขและแมวจรจัดที่มีอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในช่วงที่ผ่านมามีการถกเถียงในประเด็นปัญหาสุนัข-แมวจรจัด ว่าจะมีการแก้ไขอย่างไร โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผู้เลี้ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง การขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว การเก็บภาษีสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงประเด็นการ เซตซีโร่ (SET ZERO) หรือแนวทางการจำกัดสุนัขจรจัดที่ไม่มีเจ้าของทิ้ง ความคิดเห็นของประชาชนต่อปัญหาสุนัข-แมวจรจัด โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าสุนัข-แมวจรจัดเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งแก้ไข ร้อยละ 61.8 และเคยพบเห็นสุนัข-แมวจรจัด ในบริเวณที่อยู่อาศัย ร้อยละ 68.9 คิดว่าสุนัข-แมวจรจัด จะเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น ร้อยละ 52.6 และคิดว่าสุนัข-แมวจรจัด มีโอกาสในการแพร่เชื้อพิษสุนัขบ้า ร้อยละ 62.0 คิดว่าปัญหาสุนัข-แมวจรจัดเกิดจากความมักง่ายของผู้เลี้ยง ร้อยละ 68.4 และทราบว่าผู้ที่นำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยทิ้งหรือไม่รักษาความสะอาด หรือปล่อยให้ก่อความเดือดร้อนรำคาญแก่ชุมชน ผู้เป็นเจ้าของจะถูกปรับ 5,000 บาท กฎหมาย ร้อยละ 48.3

คิดว่าการให้อาหารสุนัข-แมวจรจัดเป็นการทำให้ปัญหาสุนัข-แมวจรจัดเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 51.2 และอยากให้ผู้ที่ให้อาหารสุนัข-แมวจรจัด ที่ไม่ได้เลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด หยุดพฤติกรรม ร้อยละ 49.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ผู้เลี้ยงสุนัข-แมวมีความรับผิดชอบในการดูแลไม่ปล่อยออกนอกบ้านโดยไม่มีผู้ดูแล ร้อยละ 65.8 และอยากให้หน่วยงานภาครัฐมีกระบวนการนำสุนัข-แมวจรจัดไปดูแลในสถานที่ที่เหมาะสม ร้อยละ 68.0

อยากให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่ปลอดจากสุนัข-แมวจรจัด เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ร้อยละ 60.1 และอยากให้หน่วยงานภาครัฐเร่งรีบดำเนินการแก้ไขปัญหาสุนัข-แมวจรจัดให้ไม่มีในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 59.8 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยในการที่หน่วยงานภาครัฐมีการขึ้นทะเบียนสุนัข-แมว โดยผู้เลี้ยงจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงของตนเอง ร้อยละ 69.5

แหล่งที่มา :
https://theworldnews.net/th-news/ophlrabukhnkrungethph-aim-yaakaihmii-sunakh-aemwcchrcchad
https://mgronline.com/uptodate/detail/9610000034618
https://www.prachatai.com/journal/2018/04/76271
http://www.naewna.com/local/331718

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยกับรัฐธรรมนูญ 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับคนไทยกับรัฐธรรมนูญ 2560 เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 28 เมษายน 2560 จำนวน 1,218 กลุ่มตัวอย่าง


 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2560 ปชช.เชื่อทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้น ลดปัญหาคอรัปชั่นส์ ได้นักการเมืองดีกว่าอดีต

       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ 2560โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,218 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

       ผศ.สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อรัฐธรรมนูญ 2560 หลังจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 เมื่อวันที่ เมษายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นับเป็นการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อย่างเป็นทางการ นับเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่20 ของประเทศไทย กำลังจะครบ1เดือนหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 นั้นประชาชนมีความคาดหวังอย่างไรต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2560 แนวโน้มของประเทศไทยนักการเมืองที่ดีการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทย ปัญหาคอรัปชั่นประโยชน์ของประชาชน

        ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อรัฐธรรมนูญ 2560 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 58.1 ทราบว่าเมื่อวันที่ 6 เมษายน2560 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 รองลงคือ ไม่ทราบร้อยละ 29.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 12.1  และทราบว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่20ของประเทศไทยร้อยละ 44.8 รองลงคือ ไม่ทราบร้อยละ 32.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 22.4

       กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าแนวโน้มประเทศไทยจะดีขึ้นหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ร้อยละ 47.0 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 27.8 และไม่แน่ใจร้อยละ 25.3 ละคิดว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 จะทำให้ชีวิตของคนไทยดีขึ้นร้อยละ 35.8 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 29.2 และไม่แน่ใจร้อยละ 35.0

       ในส่วนปัญหาการคอรัปชั่นจะลดน้อยลงหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ร้อยละ41.7 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 32.3 และไม่แน่ใจร้อยละ 25.9 ทำให้ได้นักการเมืองที่ดีมากกว่าในอดีต ร้อยละ 42.2 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 33.1 และไม่แน่ใจร้อยละ 24.7 และคิดว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ..2560 ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศไทยมากยิ่งขึ้นร้อยละ 44.9 รองลงคือไม่ใช่ร้อยละ 28.7 และไม่แน่ใจร้อยละ 26.4

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้  http://www.lokwannee.com/web2013/?p=267009

เว็บไซด์ Sanook  http://news.sanook.com/2211106/

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/politics/572363

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/275508

สถานีโทรทัศน์ช่อง 8

หนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี  เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน 2560 จำนวน  1,158 กลุ่มตัวอย่าง


เมื่อวันที่ 29 เม.ย. ที่ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล  ม.ราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า  ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการค้าประเวณี โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,158 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 26 – 28 เมษายน2560 ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี ในมุมมองต่างๆของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากปัญหาการค้าประเวณีในมุมมองของชาวต่างชาติได้มุ่งเป้าว่าประเทศไทยเป็นเมืองในระดับต้นๆที่มีชื่อในด้านการค้าประเวณี รวมไปถึงในช่วงที่ผ่านมามีข่าวคดีการค้าประเวณีที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งการค้าประเวณีในประเทศไทยนั้นมีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ 2539 และ พระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 ปัญหาการค้าประเวณีซึ่งในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต และปัญหาดังกล่าวจะมีการแก้ไขอย่างไรต่อไป ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อปัญหาการค้าประเวณี มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณี ร้อยละ 53.0 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ 31.1 และไม่แน่ใจร้อยละ 15.9 ประเภทที่พบเห็นการค้าประเวณี อันดับหนึ่งคือ ยืนรอข้างถนน รอบสวนลุมพินี วงเวียนใหญ่ วงเวียน 22 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ ร้อยละ 43.2 อันดับที่สองคือ สถานบันเทิง  คาเฟ่  ร้านคาราโอเกะ  สปา  ร้านตัดผม ร้อยละ29.7 อันดับที่สามคือ สถานบริการอาบอบนวด / นวดแผนโบราณ ร้อยละ 16.8 และอันดับที่สี่คือ อินเทอร์เน็ต /ออนไลน์ ร้อยละ 10.3

ปัจจัยทำให้เกิดการค้าประเวณี อันดับที่หนึ่งคือ เงินใช้จ่ายไม่เพียงพอ ร้อยละ 30.6 อันดับที่สองคือ ถูกหลอกถูกบังคับ ร้อยละ 24.9 อันดับที่สามคือ ครอบครัวยากจน ร้อยละ 21.5 อันดับที่สี่คือ ความฟุ้งเฟ้อตามสมัยนิยมร้อยละ 11.7 และอันดับที่ห้าคือ ประชดชีวิต ร้อยละ 11.3

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการค้าประเวณีทางอินเทอร์เน็ต ร้อยละ 61.3 รองลงมาคือ ไม่เคย ร้อยละ27.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 10.9 โดยทราบว่าต่างชาติมองประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่มีการค้าประเวณีในอันดับต้นๆของโลก ร้อยละ 58.1รองลงมาคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 29.1 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 12.8 อยากให้มีการนำ มาตรา 44 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าประเวณี ร้อยละ 52.7 ไม่อยาก ร้อยละ 28.4 และ​ไม่แน่ใจร้อยละ 18.9 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าประเทศไทยไม่พร้อมกับการเปิดให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมาย ร้อยละ49.3 คิดว่าพร้อม ร้อยละ 33.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.9​

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์SPRINGNEWS http://www.springnews.co.th/th/2017/04/41672/

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ http://manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.aspx?NewsID=9600000043336

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/267829

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้ http://www.lokwannee.com/web2013/?p=266284

หนังสือพิมพ์มติชน https://www.matichon.co.th/news/544781

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ https://www.dailynews.co.th/crime/571120

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/274208

หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1493456893

เว็บไซต์ประชาไท  https://prachatai.com/journal/2017/04/71235

เว็บไซด์TVPOOL http://www.tvpoolonline.com/content/427470

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ เก็บข้อมูลในวันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2560จำนวน 1,223 กลุ่มตัวอย่าง


       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผย คนกทม. เกินครึ่งเคยใช้ Mobile Banking App ธนาคารกสิกรไทยยอดนิยม

       ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,223 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 30 มีนาคม – 3 เมษายน 2560  พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ใช้บริการธนาคารกสิกรไทยมากที่สุด ร้อยละ 28.9 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 17.3 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 16.2 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 12.3 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร้อยละ 10.7 และมีความพึงพอใจต่อการให้บริการธนาคารพาณิชย์ มากที่สุด อันดับที่ 1 ธนาคารกสิกรไทย ร้อยละ 28.0 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ ร้อยละ 17.3 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย ร้อยละ 15.9 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ ร้อยละ 12.6 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารทหารไทย ร้อยละ 10.1

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) ร้อยละ 58.8 และ ใช้บริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) มากที่สุด อันดับที่ 1 คือ ธนาคารกสิกรไทย (K-Mobile) ร้อยละ 29.2 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 15.7 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB netbank) ร้อยละ 14.9 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 14.1 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ร้อยละ 9.5

มีความพึงพอใจต่อการบริการทางการเงินแบบออนไลน์ (Mobile Banking App) มากที่สุด อันดับที่ 1 ธนาคารกสิกรไทย (K-Mobile) ร้อยละ 28.4 อันดับที่สองคือ ธนาคารกรุงเทพ (Bualuang m Banking) ร้อยละ 18.0 อันดับที่สามคือ ธนาคารกรุงไทย (KTB netbank) ร้อยละ 15.7 อันดับที่สี่คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EASY) ร้อยละ 13.8 และอันดับที่ห้าคือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri) ร้อยละ 9.8

ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยากให้ธนาคารพาณิชย์ มีการปรับปรุงในเรื่องการเพิ่มจำนวนตู้อัตโนมัติ (ATM,CDM) ให้มีจำนวนมากขึ้น ร้อยละ 25.5

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สำนักข่าวINN http://www.innnews.co.th/shownews/show?newscode=775982

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/business/264689

เว็บไซด์ Sanook http://money.sanook.com/475801/

เว็บไซด์ MSN https://goo.gl/HMzQm1

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,305 กลุ่มตัวอย่าง


“บ้านสมเด็จโพลล์” เผย! ชาวกรุงไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0

       คน กทม เกินครึ่งไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0และคิดว่าในอนาคต แรงงานคน จะได้รับผลกระทบจากปัญญาประดิษฐ์แทนคน ร้อยละ 47.1

วันที่ 18 ก.พ.60 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,305 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย บนวิสัยทัศน์ที่ ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ในการขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ไทยแลนด์ 4.0  ถือเป็นการพัฒนาเพื่อขับเคลื่อนประเทศที่มีอยู่ 2 ด้าน คือ ความหลากหลายเชิงชีวภาพ และ ความหลากหลายเชิงวัฒนธรรม เน้น ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย

       1. กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ (Food, Agriculture & Bio-Tech)

       2. กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Health, Wellness & Bio-Med)

       3. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม (Smart Devices, Robotics & Mechatronics) 

       4. กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว (Digital, IOT, Artificial intelligence & Embedded Technology)

       5. กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง (Creative, Culture & High Value Services) ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อนโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

 

โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เข้าใจนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 53.0 อันดับที่สองคือ เข้าใจ ร้อยละ 27.7 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 19.3 และไม่ทราบว่ามี 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ร้อยละ 47.2 อันดับที่สองคือ ทราบ ร้อยละ 31.1 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมของนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยดีขึ้น อันดับที่ 1 คือ ใช่ ร้อยละ 37.5 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 31.8 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.7

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่ามีความเป็นไปได้กับการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์สามารถทำงานแทนการจ้างแรงงานคน ร้อยละ 44.9 อันดับที่สองคือ มีความเป็นไปไม่ได้ ร้อยละ 31.9และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.2 และคิดว่าในอนาคต แรงงานคน จะได้รับผลกระทบกับบริษัทหรือโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์แทนคน ร้อยละ 47.1 อันดับที่สองคือ ไม่ได้รับผลกระทบ ร้อยละ 38.4 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ต้องการเห็นการเห็นตำแหน่งงานที่ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติหรือปัญญาประดิษฐ์  อันดับที่ 1 คือ พนักงานขาย ร้อยละ 25.6 อันดับที่สองคือ พนักงานต้อนรับ ร้อยละ 25.4 อันดับที่สามคือ คนขับรถ ร้อยละ 18.4 อันดับที่สี่ คือ Call Center ร้อยละ 15.5 อันดับที่ห้า คือ ตำรวจจราจร ร้อยละ 8.4 และอันดับที่สุดท้าย คือ เจ้าหน้าที่บัญชี ร้อยละ 6.7

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์VOICETV http://news.voicetv.co.th/business/462948.html

สถานีโทรทัศน์SPRINGNEWS http://www.springnews.co.th/th/2017/02/25482/

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/257049

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ http://www.thansettakij.com/content/131096

สำนักข่าวอิศรา https://www.isranews.org/isra-news/item/54122-springnews-54122.html

หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 13 มีนาคม 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 1,305 กลุ่มตัวอย่าง


คนกทม.เกินครึ่งให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่าวันวาเลนไทน์ ไม่ทราบว่าวันมาฆบูชา ให้เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ”ร้อยละ 48.5 และคิดว่า สังคมไทยรับได้กับเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน ร้อยละ 51.7

10 ก.พ.60 ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,305 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 6 – 9 กุมภาพันธ์ 2560

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ ระบุว่า ในปี พ.ศ.2549 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นไทย เนื่องจากวันมาฆบูชา ตามปฏิทินจันทรคติในวันเพ็ญเดือนสามจะใกล้กับวันวาเลนไทน์ของทุกๆ ปี ซึ่งวัยรุ่นไทยบางกลุ่มมีค่านิยมวันแห่งความรักในวันวาเลนไทน์ในแบบผิด ๆ ส่ง ผลกระทบต่อค่านิยมทางจริยธรรมและศีลธรรมของวัยรุ่นไทย จากการสำรวจของศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ในปี 2554 ประชาชนในกรุงเทพมหานครไม่ทราบว่า วันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติ สูงถึงร้อยละ 55.4 ในปี 2560 จะมีความเปลี่ยนแปลงในการรับรู้เรื่องวันมาฆบูชาเป็นวันกตัญญูแห่งชาติหรือไม่ และในส่วนของค่านิยมในแบบผิด ๆของวันวาเลนไทน์อย่างประเด็นเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานก็เป็นประเด็นที่น่าสนใจกับความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งผลการสำรวจในครั้งนี้วันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์ มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับวันมาฆบูชามากกว่ากัน ร้อยละ 55.1 รองลงมาคือให้ความสำคัญกับวันวาเลนไทน์มากกว่า ร้อยละ 25.7 และให้ความสำคัญกับทั้งวันมาฆบูชาและวันวาเลนไทน์เท่าๆกัน ร้อยละ 19.2

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าจะไปเข้าวัดในวันมาฆบูชา ร้อยละ 46.2 รองลงมาคือไม่ไป ร้อยละ 31.6 และยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 22.2

และไม่คิดว่าเรื่องของวัดธรรมกาย ทำให้คนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับศาสนาพุทธน้อยลง ร้อยละ 50.7 รองลงมาคือใช่ ร้อยละ 34.8 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 14.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 48.5 ไม่ทราบว่ารัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันมาฆบูชา ให้เป็น “วันกตัญญูแห่งชาติ” รองลงมาคือทราบ ร้อยละ 37.9 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.6

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่คิดว่าวันวาเลนไทน์เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในสังคมไทย ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือ ใช่ ร้อยละ 31.5 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.4

และคิดว่าสังคมไทยในปัจจุบันสามารถรับได้กับเรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน ร้อยละ 51.7 รองลงมาคือ รับไม่ได้ ร้อยละ 36.9 และ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 11.4

 

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์VOICETV http://news.voicetv.co.th/thailand/460869.html

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/256071

หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/UpToDate/ViewNews.aspx?NewsID=9600000014641

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 13 กุมภาพันธ์  2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


บ้านสมเด็จโพลล์, บ้าน, สมเด็จ, โพลล์, เผย, กทม, พึงพอใจ, ผลงาน, รัฐบาล, 2559

บ้านสมเด็จโพลล์ เผยคน กทม มีความพึงพอใจผลงานของรัฐบาลในปี 2559 ระดับปานกลาง แนะอยากให้แก้ไขปัญหาคอรัปชั่นมากที่สุด รองลงมาปัญหาเศรษฐกิจ และยาเสพติด

        ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่ อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,232 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อ ความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีความพึงพอใจผลงานของรัฐบาลในปี 2559 อันดับแรกคือ พึงพอใจมากร้อยละ 28.4 อันดับที่สองคือ พึงพอใจปานกลาง ร้อยละ 60.7 และ อันดับที่สามคือ พึงพอใจน้อย ร้อยละ 10.9 และอยากให้รัฐบาล นายกรัฐมนตรี แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับแรกคือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 21.7 อันดับที่สองคือ ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ร้อยละ 20.3 และ อันดับที่สามคือ ปัญหายาเสพติดและการพนัน ร้อยละ 19.4

นอกจากนั้น อยากให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ในปี 2560 อันดับแรกคือ อยาก ร้อยละ 53.2 อันดับที่สองคือ ไม่ อยาก ร้อยละ 25.6 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.2 และ ในส่วนความพร้อมของประเทศไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ปี 2560 อันดับแรกคือ พร้อม ร้อยละ 52.8 อันดับที่สองคือ ไม่พร้อม ร้อยละ 25.4 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 21.8

สิ่งที่จะช่วยทำให้คนไทยมีความสุขมากขึ้นในปี 2560 อันดับแรกคือ อยากให้คนในชาติมีความปรองดอง ร้อยละ 39.3 อันดับที่สองคือ อยากเห็นรัฐธรรมนูญใหม่ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศที่ดีขึ้น ร้อยละ 36.2 และ อันดับที่สามคือ อยากให้รัฐบาลยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ร้อยละ 24.4

บ้านสมเด็จโพลล์เผยคนกทม.พึงพอใจผลงานรัฐบาลปี 2559

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ทราบว่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง  ร้อยละ 57.5 ไม่ทราบ ร้อยละ 25.4 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 17.1 อยากให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด อันดับแรกคือ ปัญหาการคอรัปชั่น ร้อยละ 25.6 อันดับที่สองคือ ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย ร้อยละ 15.7 และ อันดับที่สามคือ ปัญหาสถานบริการฝ่าฝืนกฎหมาย ร้อยละ 15.1


เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559 จำนวน 1,232 กลุ่มตัวอย่าง โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

สถานีโทรทัศน์ช่องhttps://www.thaich8.com/news_detail/21816

หนังสือพิมพ์คมชัดลึก http://www.komchadluek.net/news/edu-health/254503

หนังสือพิมพ์โลกวันนี้  http://www.lokwannee.com/web2013/?p=252150

หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 3 มกราคม 2560 http://www.matichon.co.th/news/413595

หนังสือพิมพ์ M2F ฉบับวันที่ 5 มกราคม 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 


คน กทม ส่งมอบความสุขปีใหม่ผ่าน Facebook 25.3% และคิดว่าประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา 54.7 %

กรุงเทพฯ–29 ธ.ค.–บ้านสมเด็จโพลล์
ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,232 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่าประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ กล่าวว่า ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อพฤติกรรมของคนกรุงเทพมหานครต่อเทศกาลปีใหม่ 2560 มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ จะไปฉลองเทศกาลปีใหม่ 2560 ร้อยละ 30.3 อันดับที่สองคือไม่ออกไปไหน / ฉลองปีใหม่อยู่ที่บ้าน ร้อยละ 27.8 อันดับที่สามคือ วัด / สวดมนต์ข้ามปี ร้อยละ 23.0 และอันดับที่สี่คือ เดินทางไปต่างจังหวัด/ต่างประเทศ ร้อยละ 18.9และจะส่งมอบความสุขปีใหม่ผ่านช่องทางการสื่อสารอันดับแรกคือส่งข้อความผ่าน Facebook ร้อยละ 25.3 อันดับที่สองคือไปพบด้วยตนเอง ร้อยละ 25.2 อันดับที่สามคือ ส่งข้อความผ่าน Line ร้อยละ 19.5

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ทราบว่า การเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) อย่างเป็นทางการจะครบ 1 ปีในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ร้อยละ 48.8 อันดับที่สองคือ ไม่ทราบ ร้อยละ 28.5 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.7และคิดว่าประเทศไทยมีความพร้อมในการเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 42.5 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 31.0 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.5

ในส่วนประเทศไทยได้รับประโยชน์จากการเปิดประชาคมด้านเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ใน 1 ปีที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่าใช่ ร้อยละ 54.7 อันดับที่สองคือ ไม่ใช่ ร้อยละ 21.6 และ อันดับที่สามคือ ไม่แน่ใจ ร้อยละ 23.7

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/prg/2577747


เก็บข้อมูลในวันที่ 23 – 27 ธันวาคม 2559  จำนวน 1,232 กลุ่มตัวอย่าง

โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2559

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนันหวยใต้ดิน

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนันหวยใต้ดิน เก็บข้อมูลในวันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2559 จำนวน 1,154 กลุ่มตัวอย่าง


โพล ระบุ คนกทม.ร้อยละ 75.5 % รู้สึกว่า การพนันหวยใต้ดินเป็นเรื่องปกติ ยอมรับเคยเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพนันหวยใต้ดิน 53.8%

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการพนันหวยใต้ดิน โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,154 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 2 – 6 ธันวาคม 2559 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ใช้เกณฑ์ตารางสำเร็จรูปของ Taro Yamane กำหนดว่า ประชากรเกิน 100,000 คนต้องการความเชื่อมั่น 95% และความผิดพลาดไม่เกิน 3% ต้องใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,111 กลุ่มตัวอย่าง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล กล่าวว่า ทางศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพล ต้องการสะท้อนความคิดเห็นในเรื่องการพนันหวยใต้ดิน ว่าในปัจจุบันสังคมมองการพนันหวยใต้ดินว่า เป็นอย่างไร ตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. และรัฐบาล มีนโยบายด้านการปราบปรามการพนัน การพนันหวยใต้ดินที่ถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ทุกคนเคยพบเจอจนกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาของประชาชน การลักลอบเล่นการพนันหวยใต้ดิน ที่เป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยมายาวนาน ผลการสำรวจในครั้งนี้ต่อการพนันหวยใต้ดิน มีข้อมูลที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เคยพบเห็นการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 79.2 ไม่เคยเห็น ร้อยละ 15.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 4.9 และรู้สึกว่าการพนันหวยใต้ดินเป็นเรื่องปกติ ร้อยละ 75.5 รู้สึกว่าไม่ปกติ ร้อยละ 15.3 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 9.2

การพนันหวยใต้ดินเป็นการกระทำผิดกฎหมาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ทราบ ร้อยละ 88.6 ไม่ทราบร้อยละ 6.3 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.1 และเคยเข้าไปมีส่วนร่วมกับการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 53.8 ไม่เคยมีส่วนร่วมกับการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 40.9 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 5.3

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ คิดว่าสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค,อินเตอร์เน็ตกระตุ้นทำให้เกิดการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 58.4 อันดับสองคือโทรทัศน์ ร้อยละ 18.9 อันดับสามคือหนังสือพิมพ์ ร้อยละ 13.7

และคิดว่าในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ของรัฐได้เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 58.8 คิดว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้เข้มงวด ร้อยละ 14.3 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 26.9

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ อยากให้ทางรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้มีการพนันหวยใต้ดิน ร้อยละ 56.2 และไม่อยากให้เข้มงวด ร้อยละ 21.9


โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/810352

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/view/highlight/248645

Today Line https://today.line.me/…/d388bb6236c90fbaf0e559b21f8833ce0d6…

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร

โครงการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลในวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2559  จำนวน 1,116 กลุ่มตัวอย่าง


6 ธ.ค.59 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์สิงห์ สิงห์ขจร ประธานคณะกรรมการศูนย์สำรวจความคิดเห็นบ้านสมเด็จโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,116 กลุ่มตัวอย่าง เก็บข้อมูลในวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2559 เป็นดังนี้

ในหนึ่งสัปดาห์ท่านมีการใช้บริการรถแท็กซี่มิเตอร์ โดยเฉลี่ยกี่ครั้งต่อสัปดาห์
ร้อยละ 30.6 จำนวน 1 – 2 ครั้ง
ร้อยละ 21.6 จำนวน 3 – 4 ครั้ง
ร้อยละ 13.2 จำนวน 5 – 6 ครั้ง
ร้อยละ 12.6 จำนวน 7 – 8 ครั้ง
ร้อยละ 10.3 ไม่เคยใช้
ร้อยละ 6.5 จำนวนมากกว่า 10 ครั้งขึ้นไป
ร้อยละ 5.2 จำนวน 9 – 10 ครั้ง

เมื่อท่านพบปัญหาจากรถแท็กซี่มิเตอร์ ท่านจะร้องเรียนผ่านช่องทางใด
ร้อยละ 41.9 ร้องเรียนกรมการขนส่งทางบกเบอร์ 1584
ร้อยละ 22.3 โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย/เฟสบุ๊ค
ร้อยละ 19.8 ไม่ทราบช่องทางการร้องเรียน
ร้อยละ 10.4 ร้องเรียนผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
ร้อยละ 04.6 ร้องเรียนผ่านสื่อมวลชน
ร้อยละ 01.0 อื่นๆ

ในปัจจุบันท่านใช้งานรถแท็กซี่มิเตอร์เพราะเหตุผลใด
ร้อยละ 46.8 เพื่อความสะดวกสบาย
ร้อยละ 22.9 ลดปัญหาการหาที่จอดรถ
ร้อยละ 21.2 เพื่อความรวดเร็ว
ร้อยละ 09.1 เมาไม่ขับ

ในปัจจุบันท่านพบปัญหาใดจากการให้บริการของรถแท็กซี่มิเตอร์ในเขตกรุงเทพมหานคร มากที่สุด
ร้อยละ 41.9 ไม่จอดรับผู้โดยสาร/ปฏิเสธผู้โดยสาร
ร้อยละ 21.2 พาอ้อมขับในเส้นทางไกลขึ้น
ร้อยละ 10.8 มารยาทของคนขับ
ร้อยละ 10.1 ขับรถเร็ว/ผิดกฎจราจร
ร้อยละ 07.3 เรียกเก็บค่าโดยสารเกินอัตรา
ร้อยละ 05.6 โกงค่ามิเตอร์/ไม่กดมิเตอร์
ร้อยละ 03.1 ส่งไม่ถึงจุดหมายปลายทาง

ท่านเคยถูกรถแท็กซี่มิเตอร์ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสารหรือไม่
ร้อยละ 77.8 เคย
ร้อยละ 18.2 ไม่เคย
ร้อยละ 04.0 ไม่แน่ใจ

ท่านคิดอยากให้รถแท็กซี่มิเตอร์มีการปรับปรุงในเรื่องใดมากที่สุด
ร้อยละ 54.4 มารยาทของคนขับแท็กซี่มิเตอร์
ร้อยละ 29.6 สภาพรถยนต์แท็กซี่มิเตอร์
ร้อยละ 13.2 การแต่งกายของคนขับแท็กซี่มิเตอร์
ร้อยละ 02.8 อื่นๆ

ท่านเคยใช้บริการการเรียกรถแท็กซี่มิเตอร์ผ่านทางโทรศัพท์ หรือไม่
ร้อยละ 49.0 เคย
ร้อยละ 47.5 ไม่เคย
ร้อยละ 03.5 ไม่แน่ใจ

ท่านเคยใช้บริการการเรียกรถแท็กซี่มิเตอร์ผ่านทางแอปพลิเคชั่น หรือไม่
ร้อยละ 51.6 เคย
ร้อยละ 44.4 ไม่เคย
ร้อยละ 04.0 ไม่แน่ใจ

หากท่านเคยใช้บริการการเรียกรถแท็กซี่มิเตอร์ผ่านทางแอปพลิเคชั่น ท่านใช้บริการผ่านทางแอปพลิเคชั่นใด
ร้อยละ 54.4 แกร็บแท็กซี่ (Grab Taxi)
ร้อยละ 14.3 อีซี่แท็กซี่ (Easy Taxi)
ร้อยละ 14.9 อูเบอร์ (Uber)
ร้อยละ 16.4 ออลไทยแท็กซี่ (All Thai Taxi)


โดยได้รับการเผยแพร่จากสื่อมวลชนดังต่อไปนี้

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ http://www.thairath.co.th/content/803722

หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ http://www.thansettakij.com/2016/12/06/118382

หนังสือพิมพ์แนวหน้า http://www.naewna.com/local/247779