พวงทอง : ไม้สวยชื่อดีมีสามอย่าง

พวงทอง : ไม้สวยชื่อดีมีสามอย่าง

ความนำ

พวงทอง” พรรณไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลสำหรับความเชื่อของคนไทย เมื่อจะปลูกต้นไม้ประดับสวนในบ้านก็มองหาต้นไม้ที่มีชื่อไพเราะและเป็นมงคล พวงทองเป็นชื่อดั้งเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อจากผู้ค้าต้นไม้เพื่อให้ขายได้แต่อย่างใด ปัญหาที่ผู้รักต้นไม้มักจะพบคือผู้ค้าต้นไม้จะถามว่า จะรับพวงพวงแบบไหน ก็จะตอบไม่ถูก เพราะพวงทองมี 3 ชนิด คือ พวงทองต้น พวงทองเครือ และ พวงทองปีกผีเสื้อ ทั้ง3ชนิดนี้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์เดียวกัน คือวงศ์ MALPIGHIACEAE พวงทองแต่ละชนิดก็มีความสวยงามและมีลักษณะเด่นแตกต่างกัน จึงขอเสนอรายละเอียดของแต่ละชนิดพร้อมภาพประกอบที่เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน จนสามารถแยกชนิดได้ด้วยตนเอง

  

พวงทองต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์  Thryallis glauca;

ชื่อสามัญ Galphimia ,  Gold Shower

ชื่ออื่น  พวงทอง ดอกน้ำผึ้ง

ชื่อวงศ์ MALPIGHIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-1.5 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม กิ่งก้านบอบบาง ใบยาวรีแหลม ยาวประมาณ 3 ซม. ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจะที่ปลายยอด ช่อยาว 10-12 ซม. กลีบดอก 5 กลีบสีเหลืองสด เกสรผู้ 10 อัน อยู่เป็นกระจุกกลางดอก ขนาดดอกบานเต็มที่ 1.0 ซม. จะบานไล่ขึ้นไปจากโคนช่อ ออกดอกตลอดปี ผลค่อนข้างกลม มี 3 พู เมื่อแก่แตกได้ แต่ไม่ค่อยติดผล ชอบแดดจัด ต้องการน้ำปานกลาง ปลูกได้ดีในดินร่วนซุย

การขยายพันธุ์ การเพาะเมล็ด ปักชำกิ่งและ ตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์ นิยมปลูกเป็นแปลง ตัดเป็นพุ่มเพื่อบังกำแพง ปลูกเป็นแนวรั้ว ในการแต่งสวนหย่อม สวนสาธารณะ


 

พวงทองเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์    Tristellateia australasiae   A. Rich

ชื่อสามัญ       Siam Vine

ชื่ออื่นๆ พวงทองเถา

วงศ์                MALPIGHIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย อายุหลายปี  มีลำต้นเป็นเถาขนาดเล็ก สามารถเลื้อยเกาะพันสิ่งอื่น ๆ หรือต้นไม้อื่นที่อยู่ใกล้เคียงได้ยาวประมาณ 3 เมตร ลักษณะของเถาจะเป็นสีน้ำตาล ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบเรียบเกลี้ยง หนาและแข็ง รูปใบมน เกือบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมน และขนานไปตามลำต้น ใบกว้าง 4- 5ซม. ยาว 4-6 ซม. ดอกออกเป็นช่อกระจะ ห้อยลง ช่อยาวประมาณ 12 ซม. ช่อละ 5-10 ดอก ดอกเล็ก มี 5 กลีบ กลีบดอกสีเหลือง โคนสอบแคบ ก้านสั้น  ขอบกลีบหยักเป็นริ้วตื้น เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม. ออกดอกตลอดปี มีกลิ่นหอมเล็กน้อย บางต้นก็ติดผล เป็นผลแห้งสีน้ำตาลเมื่อแก่ มีปีกแบนตามยาว 1 ปีก เมล็ดมักลีบ หมายเหตุ ถ้ากล่าวถึงพวงทอง” แบบสั้นๆ ก็เป็นที่รู้กันว่าหมายถึงพวงทองเครือต้นนี้

การขยายพันธุ์ ปักชำกิ่ง และการตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับขึ้นซุ้มหรือทำค้างเป็นเอกเทศไม่ปะปนกับพรรณไม้อื่น


 

พวงทองปีกผีเสื้อ

ชื่อวิทยาศาสตร์  Mascagnia macroptera (Moc. & Sessé ex DC.) Nied

ชื่อสามัญ Yellow Butterfly Bush / Yellow Orchid Vine

ชื่ออื่นๆ ทองนพคุณ
ชื่อวงศ์  MALPIGHIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อยขนาดกลาง อายุหลายปี  ยอดเลื้อยพาดไปได้ไกลประมาณ 2-5 เมตร ใบเดี่ยว รูปใบหอกแกมรูปรี ขนาด 2-3.5 x 5-8 ซม. ปลายและโคนแหลม ขอบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้ม ผิวใบเกลี้ยงดอกออกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อละ 5-15 ดอก ดอกทรงกลม กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 5 กลีบ บางกลีบมีต่อมขนาดใหญ่ 1-2 ต่อม กลีบดอกสีเหลืองสด 5 กลีบ มีก้านกลีบ ขอบกลีบหยักเป็นริ้วตื้น เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2-3 ซม.ออกดอกตลอดปี ผลสดสีเขียว เมื่อแก่จะแห้งเป็นสีน้ำตาล ไม่แตก มีปีกตามยาว 3 ปีก ปีกด้านข้างทั้งสองมีขนาดใหญ่กว่าปีกกลาง กว้าง 1ซม. ผลสดสีเขียวอ่อน เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม ไม่แตก มักไม่ติดเมล็ด

การขยายพันธุ์  เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง และการตอน

การใช้ประโยชน์  ปลูกเป็นซุ้มไม้เลื้อย มีดอกสีเหลืองสดและผลเหมือนผีเสื้อกางปีก สวยงามแปลกตา

หางนกยูงสีทอง : พรรณไม้กลายพันธุ์

หางนกยูงสีทอง : พรรณไม้กลายพันธุ์

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์


ความนำ

   คนทั่วไปจะรู้จักต้นหางนกยูง ซึ่งหมายถึงหางนกยูงฝรั่ง เป็นอย่างดีที่เป็นชนิดออกดอกสีแดงทั้งต้นในช่วงปลายฤดูร้อนต่อต้นฤดูฝน ช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของทุกปี นอกจากจะมีดอกสีแดงเข้มสวยงามไปทั้งต้นแล้ว ยังมีหางนกยูงฝรั่งสีแดงที่ลดความเข้มลงหลายระดับสี จนถึงสีส้มสวยงามหลายแบบเช่นกัน บางครั้งอาจพบต้นที่มีเหลือบสีบนกลีบใหญ่ของดอกด้วย ทั้งหมดนี้ก็มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์เหมือนกัน จะติดฝักจำนวนมาก และมีเมล็ดที่สมบูรณ์สามารถนำไปขยายพันธุ์ปลูกได้อย่างแพร่หลาย

   ส่วน “หางนกยูงสีทอง”นั้นเป็นไม้กลายพันธุ์ มีความสวยงามโดดเด่นเป็นพิเศษ แปลกตามากสำหรับผู้พบเห็นเป็นครั้งแรก แต่ที่แตกต่างไปจากหางนกยูงฝรั่งชนิดเดิมที่กล่าวมาแล้วก็คือ “หางนกยูงสีทอง”จะติดฝักจำนวนน้อยมาก หรืออาจไม่ติดฝักเลย ฝักที่ติดก็มีขนาดเล็กและสั้นกว่าปกติ เมล็ดในฝักเป็นอาหารอันโอชะของกระรอก ที่เหลือรอดมาก็มักจะเป็นเมล็ดลีบเป็นส่วนใหญ่ จึงเหลือเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สามารถงอกได้จำนวนน้อยมาก “หางนกยูงสีทอง”จึงไม่แพร่หลาย หาดูได้ยาก ต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นแทนการเพาะกล้าจากเมล็ด  ต้นพันธุ์“หางนกยูงสีทอง”จึงมีราคาสูงสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปปลูก

 

หางนกยูงสีทอง

ชื่อสามัญ  Golden Flame Tree

ชื่ออื่นๆ นกยูงทอง นกยูงเหลือง หางนกยูงฝรั่งสีทอง หางนกยูงสีเหลือง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Delonix regia (Bojer ex Hook) Raf.

ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE – CAESALPINIACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 8 – 12 เมตร ทรงพุ่มแผ่กว้างคล้ายร่ม ลำต้นเกลี้ยง เปลือกสีน้ำตาลอ่อน สีครีมถึงสีน้ำตาลเข้ม โคนต้นเป็นพูพอนรอบโคนต้น ใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงเวียนสลับและมีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน ใบย่อยขนาดเล็กเรียวยาวรูปขอบขนานออกตรงข้าม ดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง และซอกกิ่งใกล้ยอด กลีบดอก 5 กลีบ สีเหลืองทอง เฉพาะกลีบใหญ่ของดอกจะมีเหลือบสีขาวเป็นลายเส้นตามยาวทำให้เพิ่มความสวยงามให้ดอกได้อีก เกสรผู้ยาวโค้งขึ้นมาเหนือกลีบดอก ฝักเป็นลักษณะแบนยาว แห้งแล้วแตก กว้าง 3.54.5 ซม. ยาว 25-35 ซม. สีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มถึงดำ ปกติหางนกยูงสีทองจะติดฝักจำนวนน้อยมาก หรืออาจไม่ติดฝักเลย ฝักที่ติดก็มีขนาดเล็กและสั้นกว่าปกติ เมล็ดในฝักก็มักจะลีบเป็นส่วนใหญ่ จึงเหลือเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สามารถงอกได้จำนวนน้อยมาก

หมายเหตุ

1.“หางนกยูงสีทอง”เป็นพรรณไม้กลายพันธุ์ จึงติดฝักจำนวนน้อยมาก หรืออาจไม่ติดฝักเลย ฝักที่ติดก็มีขนาดเล็กและสั้นกว่าปกติ เมล็ดในฝักก็มักจะลีบเป็นส่วนใหญ่ จึงเหลือเมล็ดที่สมบูรณ์ที่สามารถงอกได้จำนวนน้อยมาก “หางนกยูงสีทอง”จึงไม่แพร่หลาย จึงต้องขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่น

2. การขยายพันธุ์“หางนกยูงสีทอง”  ทำได้ 2 วิธี คือ การเสียบยอด และทาบกิ่ง โดยใช้ต้นกล้าหางนกยูงฝั่งชนิดเดิมมาเป็นต้นตอ (root stock)  ส่วนการตอนกิ่งนั้นจะไม่ออกราก

3. ประโยชน์ของหางนกยูงฝรั่ง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และปลูกให้ร่มเงาเมล็ดหางนกยูงที่แก่จัดนำมาต้มให้สุกรับประทานได้ ปรุงเป็นอาหารคาวหวานได้ เป็นที่นิยมในสาธารณรัฐประชาชนลาว

4. ผู้สนใจจะไปชม“หางนกยูงสีทอง” ในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถไปชมได้ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มี 6 ต้นหลายขนาด ที่สวนหลวงร.9  มีต้นขนาดเล็กเพียงต้นเดียว ที่วัดมะพร้าวเตี้ย มี 1 ต้นซึ่งมีขนาดเล็กไม่ติดฝักเลย

ขอบคุณ วิกิพีเดีย

มายกรีซ (My Greece)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             มายกรีซ (My Greece)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์  2556 ปีที่ 12

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สิทธิศักดิ์  จรรยาวุฒิ
สาขาวิชาการโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ เรื่อง มายกรีซ (My Greece) นี้ อาจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ อาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา   ได้รับเชิญไปบรรยาย เรื่องศิลปะในงานภาพยนตร์และวีดีโอ  (The Art of Film & V.D.O.) การกำกับการแสดง (Directing)  มีซานซัน ให้มูลนิธิเพื่อศิลปะของเกาะสโคพิลอส  (The Skopelos Foundation for the Arts) ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ 2012 ของเกาะสโคพิลอส  (SIFFY/Skopelos International Film Festival for Youth)     ระหว่างวันที่ 3-7 สิงหาคม 2555 ซึ่งได้รับการแนะนำจากสถาบันดีมาร์  (DIMA/Dong.Ah Institute of Medias and Arts) ประเทศเกาหลี ซึ่งเคยเชิญ อาจารย์สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ ไปบรรยายและเป็นกรรมการตัดสินภาพยนตร์สั้น ในงานภาพยนตร์ดินเฟค 2010     (DINFEC/DIMA International Film making and Acting Camp for Youth) ซึ่งเคยได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสารสกุลไทย รายสัปดาห์ ฉบับที่ 2937 ประจำวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 หน้า 32-35

   การบรรยายเรื่องศิลปะในงานภาพยนตร์และวิดีโอ  (The Art of Film & V.D.O.)     และกำกับการแสดง โดยเนื้อหาจะเน้นเรื่อง “มีซานซัน” (Mise-en-Scene) ซึ่งเป็นเรื่องการสร้าง การรับรู้และการสื่อสารไปยังผู้ชม โดยใช้องค์ประกอบ ดังนี้

1. จาก (Setting)
2. แสงสี (Lighting)
3. บุคลิกและทางทางของตัวละคร (Character Movement)
4. เสื้อผ้าและการแต่งหน้า (Make-up and Costume)
5. เสียงประกอบและดนตรี (Sound and Music)

ซึ่งมีการถ่ายทำ ตัดต่อ จนเป็นภาพยนตร์สั้น อันเป็นผลงานของเยาวชน ที่มาจากทั้งเอเชียและยุโรปจุดเด่นของบทความนี้ ผู้เขียนได้รับเชิญให้บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ในประเทศกรีก เกาหลี ฮังการี่ฯลฯ ในเรื่อง ศิลปะในงานภาพยนตร์และวีดีโอ   (The Art of Film & V.D.O.)  และการกำกับการแสดง(Directing) ตลอดจนการควบคุมการถ่ายทำ ตัดต่อจนเป็นภาพยนตร์สั้น ซึ่งเป็นผลงานของเยาวชนที่มาจากทั้งเอเชียและยุโรป    ซึ่กิจกรรมในครั้งนี้ ได้แสดงถึงศักยภาพของอาจารย์สาขาวิชาโฆษณาและธุรกิจบันเทิง ที่สมควรได้รับการยกย่องอันนำมาซึ่งชื่อเสียงของสาขาฯ   คณะวิทยาการจัดการ และมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา  ซึ่งบทความนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วในวารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2556  ปีที่ 12

 

มายกรีซ (My Greece)

สิทธิศักดิ์ จรรยาวุฒิ


View Fullscreen

ณ เมียนมาร์ (Myanmar)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ           ณ เมียนมาร์ (Myanmar)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2556 ปีที่ 12

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม”   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ เรื่อง ณ เมียนมาร์  ( Myanmar) เป็นบทความที่ อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ)สาขาวิชาการท่องเที่ยว  คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้เขียนขึ้น  จากโครงการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนกิจกรรมนิสิตศึกษาภาษาเพื่อนบ้าน ภาษาเมียนมาร์ โดยในการไปศึกษาดุงานในครั้งนี้ เดินทางในวันที่ 27-30 กันยายน 2553  ผู้เขียนในสายของมุมมองทางสาขาวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ได้นำมุมมองของการท่องเที่ยวของสหภาพเมียนมาร์มาใช้ในการเรียนการสอนโดยเฉพาะทางด้านงานมัคคุเทศก์และที่สำคัญได้นำประสบการณ์และเรื่องราวต่างๆ จากมัคคุเทศก์ท้องถิ่นและสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ในประเทศพม่ามาถ่ายทอดและเล่าเรื่องราวให้แก่นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ได้เข้าถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมถึงวัฒนธรรม ประเพณีของประเทศนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศอาเซียนที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ซึ่งทุกๆคน ควรได้รับรู้และศึกษาเพื่อประโยชน์ในเรื่องต่างๆ ต่อไป และบทความนี้ ได้ลงตีพิมพ์แล้วในวารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม” สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2556  ปีที่ 12

 

เมียนมาร์ (Myanmar)

สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ


View Fullscreen

การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ ระหว่างไทย-ประเทศเนเธอร์แลนด์ (ย่าน Red Light Districe)

การนำเสนอบทสรุปผลงานทางวิชาการ

ชื่อผลงานทางวิชาการ             การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบระหว่างไทย-ประเทศเนเธอแลนด์ (ย่าน Red Light  Districe)

ประเภทผลงานทางวิชาการ บทความ

ปีที่พิมพ์ 2559 ปีที่ 14

มูลเพิ่มเติม วารสาร “ทีทัศน์ วัฒนธรรม”   สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ชื่อเจ้าของผลงานทางวิชาการ/ตำแหน่งทางวิชาการ                                       

อาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

   บทความ  เรื่อง การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ   ระหว่างไทย -ประเทศเนเธอแลนด์(ย่าน Red Light Districe) โดยอาจารย์สุพรรณิการ์ ชาคำรณ (ผ้ายคำ) สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้กล่าวถึง ประเทศไทยประกาศให้เป็นเมืองท่องเที่ยว ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ่งเล็งมากจากหลายๆ ประเทศ ในเรื่องเกี่ยวกับโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลของประเทศได้ออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี แต่การค้าประเวณีเป็นการลักลอบค้าจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแอบแฝงมาในรูปแบบของธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ผับบาร์ เป็นต้น แต่การค้าประเวณีในต่างประเทศสามารถประกอบอาชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนถูกต้อง โดยเฉพาะกลุ่มทวีปยุโรป ในประเทศเนเธอแลนด์

   เนื้อหาสำคัญในบทความ จะกล่าวถึงการค้าประเวณีในประเทศไทยและประเทศเนเธอแลนด์ จะมีการแสดงออกของสังคมประเทศไทยที่ยังไม่ยอมรับอาชีพนี้ แต่สำหรับประเทศเนเธอแลนด์ เป็นการประกอบอาชีพเปิดเผย สุจริต จดทะเบียนถูกต้อง  ซึ่งแต่ละสังคมและวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันเพียงแต่จะนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสังคมและวัฒนธรรมของเราได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางต่อสังคมต่อไป

   ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทความนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องเพศศึกษา เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเยาวชน ครอบครัว ได้ตระหนักถึงการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน เพื่อเรียนรู้และหาวิธีการป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม และปัญหาโรคติดต่อที่จะตามมาจากการมีเพศพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นต้น และบทความนี้ได้ลงตีพิมพ์แล้วในวารสาร ทีทัศน์ วัฒนธรรมสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ปีที่พิมพ์ 2559  ปีที่ 14


 

การค้าประเวณีกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเปรียบเทียบ

ระหว่างไทยประเทศเนเธอร์แลนด์ (ย่าน Red Light Districe)

สุพรรณิการ์ ชาคำรุณ / Supannika Chakamrun


   อุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นธุรกิจหนึ่งที่ประกอบไปด้วยธุรกิจมากมายหลายประเภททั้งที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง เช่น ธุรกิจที่พัก ธุรกิจการขนส่งธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม ได้แก่ สินค้าเกษตร งานหัตถกรรม ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจซักรีด เป็นต้นธุรกิจดังกล่าวทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีขนาดใหญ่และทำรายได้ให้กับประเทศเป็นอย่างมากแต่การได้มาซึ่งรายได้นั้นก็นับว่าส่งผลกระทบต่อประเทศชาติเช่นกัน และนอกจากนั้นแล้วสถานการณ์บ้านเมืองภายในประเทศไทยเองมีปัญหาในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ทรัพยากรทางธรรมชาติ ลดน้อยลง ทุกประเทศประสบปัญหาที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับประเทศไทยปัญหาเรื่องการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก จากรายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ ในปี ๒๕๕๗พบว่าผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติฯ ทั่วราชอาณาจักรมีจำนวนคดี ๗๗ คดีมีจำนวนจำเลย ๘๔ ราย เป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ รายมีจำนวนผู้ต้องโทษ ๘๔ รายเป็นชาย ๓๐ ราย หญิง ๕๔ ราย (สำนักแผนงานและงบประมาณ, ๒๕๕๗ : ๑๔)จากสถิติจะเห็นว่าจำนวนคดีที่เกิดขึ้นมีจำนวนน้อยกว่าที่เป็นอยู่จริงจำนวนมาก จึงนับได้ว่าปัญหาการค้าประเวณีเป็นปัญหาที่หนักหนามาก ทั้งในแง่ของการป้องกันการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาและการลงมือดำเนินการควบคุมและปราบปรามอย่างเด็ดขาดก็ตาม อีกทั้งการค้าประเวณีในปัจจุบันยังเป็นไปในรูปแบบของเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์ในด้านธุรกิจข้ามชาติอีกด้วย

ภาพ สรุปเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๓๙ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง มิถุนายน (สำนักแผนงานและงบประมาณ (๒๕๕๗ : ๑๐

   การบริการทางเพศมีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยกรีกและโรมันโบราณซึ่งการค้าประเวณีอยู่ในระเบียบวินัยและอยู่ภายใต้การควบคุมของกฏหมาย สำหรับในประเทศไทยการค้าประเวณีเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกว่า เมียเช่าต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตามกฎหมายตราสามดวง มีการบัญญัติผู้ค้าประเวณีว่าหญิงนครโสเภณีและในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)สถานประกอบการจะมีโคมสีเขียวตั้งไว้ข้างหน้าร้าน เรียกว่า โรงหญิงนครโสเภณี หรือสำนักโคมเขียว การค้าประเวณีมีแพร่หลายมากขึ้น ก่อให้เกิดการแพร่ของกามโรคอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงทรงออกพระราชบัญญัติเพื่อป้องกันและควบคุมโรค โดยให้สถานประกอบการบริการทางเพศต้องจดทะเบียนและมีชื่อโสเภณี รวมทั้งโสเภณีแต่ละคนต้องไปจดทะเบียนกับเจ้าพนักงาน ซึ่งการค้าประเวณีในสมัยนั้นไม่ถือว่าผิดกฎหมายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทางองค์การสหประชาชาติได้มีมติให้กลุ่มสมาชิกต้องปฏิบัติตามมติร่วมกันว่า การค้าประเวณีทำให้ศักดิ์ศรีของมนุษย์ตกต่ำและเป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทรามต่างๆ ในสังคม เช่น การค้าผู้หญิง การบังคับให้หญิงค้าประเวณีอาชญากรรม และการแพรเ่ ชือ้ กามโรค โดยการออกพระราชบัญญัติ ปรามการค้าประเวณีพ.. ๒๕๐๓ และในปีเดียวกันซึ่งอยู่ในช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศไทยได้เป็นฐานทัพของอเมริกา การบริการทางเพศจำเป็นต้องคอยให้บริการแก่ทหารที่มารบในสงครามเวียดนาม แต่เปลี่ยนแปลงไปในรูปแบบการให้บริการที่ไม่ดูออกไปในแนวที่ผิดกฎหมายเช่น สถานบริการอาบอบนวด บาร์อะโกโก้ โรงน้ำชา หรือเมียเช่า เป็นต้น หลังสงครามสงบการค้าประเวณีก็ยังคงอยู่เรื่อยมา

   ในปี พ.. ๒๕๓๐ ประเทศไทยได้ประกาศให้เป็นท่องเที่ยวไทย ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาลโดยเฉพาะการบริการทางเพศทำให้ได้รับสมญานามใหม่ว่า สยามเมืองเซ็กซ์ ประเทศไทยถูกเพ็งเล็งมากเรื่องโสเภณีและการค้ามนุษย์ รัฐบาลจึงประเทศออกพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ..๒๕๓๙ แต่การค้าประเวณีก็ยังคงอยู่และเป็นการลักลอบค้าประเวณีจนถึงปัจจุบันนี้การค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นธุรกิจที่แอบแฝงตามร้านผับ บาร์ ร้านอาหาร ธุรกิจศูนย์ออกกำลังกาย ธุรกิจสุขภาพสปา นวดแผนไทยโรงแรม สวนสาธารณะ แหล่งท่องเที่ยวหรือสถานพักผ่อนทั่วไป ซึ่งจะมีรูปแบบทำเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล โดยมีหลากหลายวิธี อาทิ โดยการยืนรอลูกค้าบริเวณริมถนนขายบริการทางเพศผ่านระบบสื่อสารทางอิเล็คทรอนิคส์ สถานบริการทางเพศโดยตรงโดยผู้ขายบริการจะนั่งรอภายในสถานบริการและรอลูกค้าเข้ามาเลือกพร้อมจัดห้องรับรองให้ สถานบริการมีกระจายตามแหล่งท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครและจังหวัดอื่นๆ จะเห็นได้ว่าการค้าประเวณีในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับประเทศอื่นที่มีการจดทะเบียนธุรกิจบริการทางเพศและประกอบอาชีพโสเภณีที่ถูกต้อง อย่างกลุ่มทวีปยุโรป เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ หรือเดิมชื่อว่าฮอนแลนด์

สำหรับเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ คือ อัมสเตอร์ดัม ซึ่งระบบการคมนาคมขนส่งนั้นมีประสิทธิภาพทั้งรถไฟ รถราง รถเมโทร รถเมล์ และการสัญจรทางน้ำ แทบไม่ต้องแปลกใจว่าคนเมืองนี้ใช้พลังงานและทรัพยากรกันอย่างคุ้มค่าจริงๆเช่นเดียวกันกับไลฟ์สไตล์ของคนท้องถิ่นที่นี่ เน้นความเรียบง่ายและค่อนข้างติดดินมากกว่าความหรูหราฟุ่มเฟือย ที่ทำให้บรรดานักท่องเที่ยวทั่วโลกมักไม่พลาดกับการมาเยือนและเพื่อมาสัมผัสศิลปะและสถาปัตยกรรมที่งดงามในตอนกลางวัน และสำหรับยามค่ำคืนอัมสเตอร์ดัมก็ไม่เคยหลับไหล โดยเฉพาะย่านเรดไลท์ (Red Light Districe) นั้นมาจากที่ว่าบริเวณที่มีการขายบริการนั้นจะต้องมีการติดไฟนีออนสีแดงไว้ แต่ไม่ใช่ว่าติดไว้หน้าร้านแล้วนั่งรอกันอยู่ข้างในร้านเหมือนในเมืองไทยที่อัมสเตอร์ดัมจะติดไฟไว้ในห้อง(เป็นตู้) แล้วออกมาเต้นเรียกแขกกันในตู้หน้าร้านเลย แล้วหญิงบริการจะใส่ชุดบิกินนีมีทั้งฝรั่งผิวขาว ผิวดำ แบบอ้วนลงพุง แบบอ้วนดำ หรือแบบป้าแก่ๆ มานั่งสูบบุหรี่เพื่อรอแขกใส่ชุดวาบหวิวอยู่เต็มถนนไปหมด เมื่อมีนักท่องเที่ยวคนไหนชอบและพอใจในเรือนร่างและหน้าตา เปิดประตูเจรจาตกลงค่าตอบแทนกันตามใจชอบ (สนนราคาโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ๔๐๕๐ยูโร สำหรับระยะเวลา ๑๕๒๐ นาที) ขณะที่หลายๆ ห้องปิดม่านเอาไว้แสดงว่าไม่ว่างกำลังให้บริการลูกค้าอยู่ (Occupied) ในสภาพยุโรปกฏหมายของประเทศอนุญาตให้มีการค้าบริการทางเพศได้อย่างถูกต้อง แต่จะต้องกำหนดโซนให้ชัดเจนมีอาณาบริการ จะไปตั้งไปทำมาหากินนอกเขตไม่ได้ มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าไปควบคุมและดูแล ซึ่งในย่านนี้มีอยู่ด้วยกันราว ๓๘๐ ตู้ (ห้อง) ประมาณการกันว่ามีหญิงบริการสลับหมุนเวียนกันเช่าเพื่อใช้งานราว ๑,๐๐๐,๒๐๐ คนต่อวัน (ช่วงกลางวันและตอนดึก) โดยถือเป็นพื้นที่ควบคุมที่รัฐบาลเนเธอร์แลนด์อนุญาตให้มีการค้าประเวณีอย่างถูกกฎหมายมาตั้งแต่ปี ค.. ๑๘๑๐ คำเตือนสำหรับนักท่องเที่ยวเมื่อมาในบริเวณนี้คืออย่าถ่ายภาพเหล่าบรรดาหญิงบริการโดยเด็ดขาด ด้วยการตรวจตราผ่านกล้องวงจรปิดหากถ่ายภาพอาจได้พบเจ้าหน้าที่ตำรวจในชุดเครื่องแบบสีฟ้าเดินมาหา พร้อมขอความร่วมมือให้เก็บกล้องและในพื้นที่ไม่ไกลจากนั้น ยังมีร้านค้าให้บริการสินค้าเกี่ยวกับความสุขทางเพศในรูปแบบต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นได้เปิดหูเปิดตา

ภาพ ร้าน Sex Toy Shop ในย่าน Red Light Distric ประเทศเนเธอร์แลนด์

(ที่มา : Dutch Treats. 2011 : Online)

ถึงแม้สองประเทศที่กล่าวมาดูจะแตกต่างกันในเรื่องของการแสดงออกของสังคม แต่ถ้าประเทศไทยทำแบบนี้สังคมไทยก็ยังรับไม่ได้อยู่ดี แต่จะทำยังไงที่ไม่ให้คนต่างชาติมองประเทศไทยเป็นประเทศที่ถูกมองในเรื่องเพศเพียงอย่างเดียว บางอย่างไม่จำเป็นต้องเรียนแบบหรือเอาแบบอย่างของประเทศอื่นมาทั้งหมด แค่นำมาประยุกต์ใช้กับบ้านเราได้อย่างไร บางทีทฤษฎีการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาการสอนแบบเดิมๆสอนให้เรียนรู้การใช้ถุงยางอนามัย การป้องกันยังไงไม่ให้ท้อง ท้องแล้วควรทำอย่างไรแต่ควรที่จะสอนในเรื่องของตัวบทกฎหมาย เช่น พระราชบัญญัติสถานบริการพ..๒๕๐๙ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องเพศเชิงกฏหมายในสถานศึกษาและรวมถึงสถาบันครอบครัวที่ต้องปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีกับสมาชิกในครอบครัว นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม ปัญหาโรคติดต่อโดยการมีเพศสัมพันธ์ และปัญหาสังคม แต่ในทางอ้อมยังสามารถแก้ปัญหาภาพลักษณ์ของประเทศไทยได้อีกทาง เพราะการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยๆ ส่งผลต่อสถาบันครอบครัวที่ไม่เข้มแข็งและระบบการศึกษาไม่ดีพอ บ่อยครั้งเยาวชนไทยเราถูกมองว่าเป็นวัตถุทางเพศที่นักท่องเที่ยวสามารถหาซื้อได้ง่ายพอๆ กับการซื้อกับข้าวที่เปิดขายกันทั้งวันทั้งคืนทั่วทุกมุมของประเทศแต่ยังมีอะไรที่ให้นึกถึงอีกตั้งเยอะไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

 

นิศา ชัชกุล. (๒๕๕๔). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. (พิมพ์ครั้งที่ ๓). กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักแผนงานและงบประมาณ. (๒๕๕๗). รายงานสถิติคดีเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.. ๒๕๓๙ระหว่างเดือนมกราคมมิถุนายน ๒๕๕๗. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ ๑

พฤศจิกายน .. ๒๕๕๗ จาก http://www.m-society.go.th/article_attach/12115/16365.pdf

Traipsing Chronicles. (2011) Dutch Treats. [ออนไลน์]. httpp://sojournersol.blogspot.com/2011/03/dutch-treats.html

พืชสมุนไพร: กรณีศึกษาภูมิปัญญาของชุมชนชายทะเลบางขุนเทียน สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร

 

รศ.ดร.วันทนี สว่างอารมณ์


 

CONCEPTS AND FUNCTION OF COURT RITUAL DANCE AND FOLK DANCE IN THAILAND

CONCEPTS AND FUNCTION OF COURT RITUAL DANCE AND FOLK DANCE IN THAILAND
by
Chawarote Valyamedhi, Dance Education Programme, Bansomdejchaopraya Rajabhat University

The Ritual Dance of Mainstream culture in Thailand is highly influenced by Buddhism and Hinduism in order to serve the philosophical concepts of these two major religions in the cultural area, while it still serves original beliefs of Thai people: Animism and Ancesterialism etc. Not only does the ritual serves existense of Religious and supernatural powers but also the political power Thai monarchy. In addition to the roles of the Ritual Dance of  Mainstream culture investigated, the Ritual Dance of subcultural groups in Thailand has other functions such as healing practises, and other lifecycle ceremonies.

 

CONCEPTS AND FUNCTION OF COURT RITUAL DANCE AND FOLK DANCE IN THAILAND

Panel: TRADITIONAL PERFORMANCE IN THE CHANGING WORLD

Chawarote Valyamedhi, Dance Education Programme, Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Email: chawarote@yahoo.com

 

ABSTRACT

This article aims at the phenomenon of Thai Ritual Dance primarily by following the concepts in Anthropological theories of Mainstream Culture and Subcultre which mainly relate with the majority and minority people in a particular cultural group classified by linguistic methodology. The people in modern state of Thailand comprises the majority of those speaking Thai and the minority speaking other language families. The studies are hypothesized that the ritual dance of any race shares similarities in terms of functions and differ from the dance of other cultural groups in the artistic forms, as Ritual Dance is the dance which has ceremonial function.

The Ritual Dance of Mainstream culture in Thailand is highly influenced by Buddhism and Hinduism in order to serve the philosophical concepts of these two major religions in the cultural area, while it still serves original beliefs of Thai people: Animism and Ancesterialism etc. Not only does the ritual serves existense of Religious and supernatural powers but also the political power Thai monarchy. In addition to the roles of the Ritual Dance of  Mainstream culture investigated, the Ritual Dance of subcultural groups in Thailand has other functions such as healing practises, and other lifecycle ceremonies.

 

A: Court Ritual Dance

       1) Inaos Dance Drama Performance: Auspicious Celebration

Inao is an Javanese old tale coming to court of Ayudhaya. Based on the original tale, Inao was recomposed by King Rama II to have Thai dramatic property. Says the final part of the book:

อันอิเหนาเอามาทําเป็นคําร้อง       สําหรับงานการฉลอกองกุศล

ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์       แต่เรื่อต้นตกหายพลัดพรายไป

หากพระอค์ทรงภพปรารภเล่น       ให้รํเต้นเล่นละครคิดกลอนใหม่

เติมแต้มต่อติดประดิษฐ์ไว้       บํารุงใจไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน

Inao (newly) made to words of song for auspicious celebration,

For, in the old city, princess(es) composed but the work disappeared.

The kings will to make play the story occurs the new poem,

For this work of well ornamentation is to cherish the people of the land;

Inao is like other Thai literary works, the story is based in court life and the leading characters are always royal family members. More oever, Inao is the work composed by the great Thai King, all the Thai court traditions and ceremonies were well notable. Portraying Thai life in the ancient Javanese story, Inao can be regarded as a very good ensemble of the story and the composing method.

Although the composer is said to be King Rama II, Inao and other literature in the same class are the work in collaboration of famous poets of the time. As it was Thai tradition and the greatest honor to poets to be working under the king supervision and for the work to be sealed as one of works by His Majesties. Among those poets who work on Inao there were Prince Maha Chetsadabodin(later King Rama III) and Sunthornphu.

As reading ability was limited to the learners in society, we can say that, at the time, more Thai people perceived the word or the concept of Botlakhorn, plays/dramatic literature, as the literature itself. It is record very clearly in the time King Rama I that Inao, along with other three stories Ramakien, Unnarudh and Dalang, was composed for the dramatic sake as it is called Botlakhorn Sarap Phranakhorn, dramatic literature for the royal city.

In one aspect it is interesting to note that these literary works convey philosophical values to the people. Enculturation is the main duty of these literary works.

All the Worlds a Stage,

And All the Men and Women Merely Players:

They Have Their Exits and Their Entrances;

And One Man In His Time Plays Many Parts

As You Like It

William Shakespeare

Philosophy mainly deals with the activity of well knowing of the surroundings and value of the knowing, whether it is valid, whether it is truth. In one aspect, philosophy will portray truth of life.

Inaos story is of the reality of life, especially love life. Love in Inao is not unconditional love but the love full emotion and desire or bodily relation. One of the composers, Sunthornphu, mentioned in Phra Abhaimanee, Sunthornphuus most famous work, his opinion on love and bodily relation;

ประเวณีมีทั่วทุกตัวสัตว์       ไม่ข้อขัดเข็ดขามตามวิสัย

ทั้งมนุษย์ครุฑาสุราลัย       สุดแต่ใจปรองดอจะครอกัน

All beings have bodily relation naturally and regardless of anything,

Human, birds or angels, it is their hearts to say.

Inaos behavior appearing in the story, being a womanizer and bad boy, is criticized by Thai Folklore as appearing in Thai aphorism with the close translation in English of The pot calling the kettle black which is an idiom used to accuse a person of being guilty of the very thing they are pointing out. The pot is Inao himself who despite the leading character in the story coming from heavenly family, he still does things criticized of nonmerrit.

We can say that Inao is not a teaching literature as it does not have the leading character in such a way that Ramakien has. From this point it is worth considering Inao as works with the other purpose, the purpose of love with valuing nature. The collection of Thai literary works of the similar class is known as Nirat. With the same theme of love and special reference to the nature reviewed by the characters, Nirat and Inao share the same method of admiring the nature. The method called in Thai as chom nok chom may, admiring the birds and admiring the woods. Inao is very rich in portraying such beautiful picture to the readers and to the audiences. This more or less in parallel with Asian philosophy that respect to nature is of utmost important.

Inaos Mural Painting, painted in the reign of King Mongkut(Rama IV), at Sommanas Temple, Bangkok

Portraying the beautiful nature based on the literature

2) Concept of Apsaras and Gandharvas and Supernaturalism in Thailand Situated in the mainland Southeast Asia, Thailand has been highly influenced by Hinduism and Buddhism since their arrivals in the region. The two religions well merged with the indigenous beliefs i.e. Animism and Ancestralism. It is well accepted by scholars that Hinduism has special characteristic here and Buddhism has better flourished in the region than in the Indian subcontinent.

One of the identical concepts Hinduism and Buddhism discuss is the idea of beings. The two religions divide beings into categories including those heavenly ones. Among various kinds of beings noted in the canonical literature and the commentaries, found a class of the performers, Apsaras and Gandharvas.

Apsaras, nymphs, are those mentioned, in Natsasastra, of being taught the art of dancing by Bharat, the mythic author of the textbook while Gandharvas, male celestial beings,were repeated many times during the chapters concerning life of the historical Buddha in the Tipitaka. As a society valuing both Hindu and Buddhist culture, Thai society has reflected the reverence of the concepts of philosophy and the practices of the two religions in various ways, as well as in the performing arts.

Concerning Hinduism and Buddhism a mainstream culture influencing Thai culture, performing arts are partly supernatural activity. This is more or less similar to etymology of the word music, it is the adjective of Muses.

3) Ritual Dance and Beliefs in the court of Siam

The idea of dance to satisfy or glorify Hindu gods or indigenous gods is found in the royal court For the god Sayamdevadhiraj in particular, the practice has been  continued since the image was created since the reign of King Rama IV (Mongkut) (ruling 18511868). This special event is annually held in early April, the exact date is the 1st day of the 5th month according to Thai lunar calendar.

The Phaisanthaksin Throne hall housing Sayamdevadhiraj Image (from http://th.wikipedia.org)

In the reign of King Rama IX, the king annually presides over this ceremony at 10:00 a.m. there are 3 sets of performance i.e. 1) Sadhukarn dance at Chakrabartibimarn Throne hall 2) Berk Rong dance of Jayajestha from the Wandering to the Forest episode, these first 2 sets follow the royal court tradition, the third set not only can be a dance drama originally either Lakorn Nai or Lakorn Nok, but also other types of newly invented Thai dance dramas.

Since dance is believed to have special power to communicate to supernatural being, in some ritual and ceremonial practice the use of dance is observed. In March 2012, when the royal chariots were to be moved for duty in the cremation of Princess Bajraratana Rajasuda, the only daughter of King Rama XI, angel dancers were dancing to give blessings for the event.

Angel dancers giving blessings during the move of chariots used in royal cremation 2012 in Bangkok (www.mculture.go.th)

Apart from courtrelated ceremony it is royal duty to sponsor supreme Thai traditional dance pedagogy of Phra Phirap. The king will preside over the related ceremony.

King Bhumiphol presiding over the pedagogical ceremony of Thai dance in October 1984 at Dusidalai Hall, Chitralada Royal Villa, Dusit Palace. (http://student.swu.ac.th/hm471010506/culture.htm)

 

B: Folk Dance

Folk dances as investigated in this dissertation are of two characteristics i.e. a religious function in Buddhism and other functions in society and culture.

       1.) Function in Buddhism
One of a very good examples is dances from Phra That Phanom Temple. Phra That Phanom is the sacred precinct in Nakhon Phanom Province, northeastern Thailand. Concerned as one of the most important Theravada Buddhist structures in the region, this structure is believed to contain Buddha’s breast bone. It was originally built in the 16th century by the Laotian King Jesthadhiraj of Lanxang.

Each year, at the festival held in That Phanom to honor the temple for one week, thousands of people make pilgrimages to honor the temple; folk dancers from various tribes bring 6 dances with different themes mainly on their cultural identities but the themes on prosperity of Lanxang kingdom and history of the Temple are also included.

One of the dances in front of Phra That Phanom precinct during the festival (http://wiki.moohin.com)

       2.) Other functions in society and culture
Phi Khon Nam or waterbringing ghost dance is a ritual dance in Na Sao village Loey province, Northeastern Thailand. This tradition has animism and ancestralism origin. The villagers believe that good offerings will bring back good thing to their lives. This rite in particular believes in the existence of the spirits of livestock which will help bringing water to villagers agricultural areas. Phi Khon Nam is held in early May for 3 three days. The rite is merged into Buddhist event of Visakha.

Phi Khon Nam in Loey.(http://touronthai.com)

 

References

Geertz, Clifford. The Interpretation of Cultures (1973), Basic Books 2000 paperback

Geertz, Clifford. Local Knowledge: Further Essays in Interpretive Anthropology (1983), BasicBooks 2000 paperback

Madison, D. Soyini. The Sage handbook of performance studies. Thousand Oaks, Cau : Sage, c2006

Schechner, Richard. By means of performance : intercultural studies of theatre and ritualCambridge : Cambridge University Press, 1990

โทรทัศน์กับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ประชาคมอาเซียน

“คนไทยเข้าใจประชาคมอาเซียนมากเพียงพอหรือยัง”

   สรรพัชญ์ เจียระนานนท์ เสนอแนวคิดในการที่จะก้าวขึ้นมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียวกันนั้น จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนในภูมิภาคนี้ ให้เกิดความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์อันดีต่อการสานสัมพันธ์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และการสร้างสันติวัฒนธรรม ในรูปแบบของความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม การสื่อสารข้ามวัฒนธรรมนับเป็นความสำคัญยิ่ง

   ปัจจัยที่จะเสริมสร้างการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ที่กะทัดรัด น่าสนใจ และน่าติดตามอย่างเป็นรูปธรรมในบทความฉบับนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ควรติดตาม

 

โทรทัศน์กับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม : กรณีศึกษา ประชาคมอาเซียน

Cross-cultural communication on Television : Case Study ASEAN Communities

 

สรรพัชญ์ เจียระนานนท์

 

อาจารย์ประจำสาขาวิชาสื่อสารมวลชน

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทนำ

       การสื่อสารเป็นกระบวนการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการส่งสาร การรับสาร การรับรู้และการตีความ องค์ประกอบของการสื่อสารได้แก่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร และช่องทาง ดังที่แบบจำลองของเบอร์โล ได้แสดงให้เห็นเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ในปัจจุบัน การสื่อสาร ทำได้กว้างไกลและไร้ขีดจำกัด เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว จากสมัยก่อนที่การสื่อสารระหว่างคนสองคนจากแดนไกลต้องใช้ระยะเวลาหลายวัน สมัยปัจจุบันใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที จากสมัยก่อนที่การสื่อสารมวลชน การแพร่ภาพกระจายเสียงของสื่อมวลชนจะถ่ายทอดไปยังประชาชน ต้องมีเครื่องมืออุปกรณ์จำนวนมาก และใช้ระยะเวลาในการเชื่อมต่อสัญญาณ แต่ปัจจุบัน ใช้เพียงโทรศัพท์มือถือประเภทสมาร์ทโฟนผนวกกับระบบอินเทอร์เน็ต ก็สามารถเชื่อมต่อสัญญาณถ่ายทอดผ่านสื่อมวลชนต่างๆ รายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกได้แบบวินาทีต่อวินาที

       ในปีพ.ศ.2558 จะเป็นปีที่มีความสำคัญต่อประเทศในกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม ไทย บรูไน สิงคโปร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย และลาว เพราะจะเป็นปีที่ทั้ง 10 ประเทศก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนอย่างสมบูรณ์แบบ แม้ว่าเราจะเป็นประเทศที่ประชาชนไปมาหาสู่กันเป็นประจำ แต่การก้าวขึ้นมาเป็นประชาคมเศรษฐกิจเดียวกันนั้น ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในภูมิภาคอาเซียนจะมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น มีการสื่อสาร ติดต่อ ปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ในแง่ปัจเจกบุคคลและในแง่ของมวลชนมากขึ้น มีการเปิดเสรีทางการค้าการลงทุนและการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานวิชาชีพ ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น และทำให้การสื่อสารของคนในภูมิภาคเดียวกันนี้มีความใกล้ชิดและสื่อสารต่อกันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อมวลชน ในช่วงภาวะที่มีความตึงเครียดระหว่างแนวชายแดน เราจะเห็นข่าวที่นำเสนอว่า ประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยเช่น ประเทศกัมพูชานั้น สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ของประเทศไทยและติดตามรับชมข่าวสารบ้านเราอยู่เป็นประจำ สอดคล้องกับงานวิจัยของ อำพา แก้วกำกง (2551) ซึ่งศึกษาทัศนคติด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวกัมพูชาในประเทศไทยที่มีต่อความสัมพันธ์ไทยกัมพูชาพบว่าชาวกัมพูชาเริ่มเห็นความสำคัญของการศึกษาและมีค่านิยมให้ลูกหลายเรียนสูงๆ เรียนภาษาไทยและต้องการให้คนไทยเรียนภาษาเขมรเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันมากขึ้น

       ในขณะนี้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนกำลังจะผนึกรวมกันเป็นหนึ่งเดียว จากเดิมที่อยู่แยกกันอย่างหลวมๆ มาวันนี้ 10 ประเทศดังกล่าวซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแง่ของการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ คล้ายคลึงกันในบางอย่าง เช่น ศิลปวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ กำลังจะมีการเชื่อมต่อทางวัฒนธรรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแง่มุมมองด้านวัฒนธรรมทั้งจากตัวบุคคลและจากสื่อสารมวลชน ถึงแม้ว่าเวลาที่คนสองคนมาสื่อสารกัน มักจะเป็นการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมอยู่แล้ว โดยอาจจะเป็นวัฒนธรรมระหว่างเพศ อายุ ระดับการศึกษา ฉะนั้น ในความเป็นระหว่างวัฒนธรรม (Intercultural ness) นั้นจึงมีขอบเขตได้หลายแบบ โดยในที่นี้จะได้กล่าวถึงวัฒนธรรมที่มีจุดร่วมกันบางประการในสถานะที่มีพื้นแผ่นดินใกล้ชิดกัน และจุดต่างกันอย่างสิ้นเชิงในบางสถานะตามลักษณะความเป็นอยู่ของคนในแต่ละสังคม เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ

ทำไมต้องเป็นประชาคมอาเซียน

       ประชาชนหลายคนในสังคมยังสับสน และอาจจะไม่เข้าใจว่า การเป็นประชาคมอาเซียน คืออะไรจะส่งผลอย่างไรต่อการดำเนินชีวิตต่อไปในอีก2ปี ข้างหน้า และอีกหลายๆปีถัดจากนั้น ถึงแม้ว่าจะมีเวทีสัมมนาหลายๆเวทีในขณะนี้ที่เป็นการสัมมนาให้ความรู้ วิเคราะห์เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้เข้าร่วมงานจะเข้าใจประชาคมอาเซียนมากกว่าเดิมหรือไม่ และถึงแม้ว่าจะมีหนังสือที่อธิบายความเป็นอาเซียน ประชาคมอาเซียนที่วางขายอยู่เป็นจำนวนมากในร้านหนังสือ ก็ยังไม่มีอะไรที่จะยืนยันได้ว่า ประชาชนคนไทยเข้าใจประชาคมอาเซียนมากเพียงพอ จากงานวิจัยของ     ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล เรื่อง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในระหว่างเดือนสิงหาคมกันยายน 2555 พบว่า ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครมีระดับทัศนคติต่อประชาคมอาเซียนอยู่ในระดับปานกลางและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมอาเซียน คือ ปัจจัยด้านสาเหตุการรับรู้ ระดับการรับรู้ ประโยชน์การพัฒนา แสดงให้เห็นว่าไทยแม้กระทั่งคนในกรุงเทพมหานครที่ส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลาง มีการศึกษาที่ค่อนข้างสูง มีสื่อมวลชน มีข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายแต่ก็ยังมีการรับรู้ที่น้อยมากแล้วถ้าหากเป็นคนชนบทห่างไกลที่ขาดการรับรู้ข่าวสาร ขาดเทคโนโลยีในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพคงจะยิ่งลดน้อยลงไปอีก

       ดังนั้นเราลองมาทำความเข้าใจกันเบื้องต้นก่อนว่า ประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศอยู่แล้ว เราเป็นอาเซียนกันมานาน ติดต่อค้าขายลงทุน มีการจัดการประชุมหลายต่อหลายครั้งทั้งในประเทศไทยของเราเองและในกลุ่มประเทศสมาชิกด้วยกัน

       การเป็นประชาคม หมายถึง การมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของร่วมกัน ต่างจากการเป็นบริษัทหรือสมาคม ประชาคมมีความหมายลึกซึ้งกว่า  เพราะมีมิติทางมนุษยธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ถูกต้อง มีความห่วงใย ความภาคภูมิใจแฝงอยู่ อย่างมีนัยสำคัญอยู่ในคำคำนี้ ซึ่งเราควรทำให้เกิดขึ้น (สุรินทร์ พิศสุวรรณ, 24-25)

       ทั้งนี้ในปี 2558 นั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของกฎบัตรอาเซียน ที่ว่า การสร้างประชมคมอาเซียนที่สมบูรณ์นั้น ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน หรือ เอพีเอสซี (ASEAN Political-Security Community: APSC) 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ เออีซี (SAEAN Economic Community : AEC) และสุดท้าย 3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หรือเอเอสซีซี (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)

       หลังจากนี้เมื่อประเทศไทยเป็นเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมอาเซียน ในแง่ของการติดต่อสื่อสาร การค้าขาย การเป็นประชาคมเดียวกัน ที่ไม่ได้แบ่งแยกกันแล้ว การทำความเข้าใจในข่าวสาร สภาพบ้านเมือง วัฒนธรรม ความคิด ของคนในประเทศต่างๆทั้ง10 ประเทศ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เราจะเริ่มเห็นการทำข่าว การนำเสนอสารคดี และรายการ ที่พูดถึงประเด็นต่างๆเหล่านี้ในจอโทรทัศน์มากขึ้น

 

การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

       ในการศึกษาเรื่องการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมนั้น มีแนวคิดสำคัญที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 แนวคิด คือ 1. เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Culture Identity) 2. การศึกษาองค์ประกอบทางวัฒนธรรม และ 3. การเปลี่ยนแปลงหรือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural change/exchange)

       1. เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม  (Culture Identity)

       มีผู้ให้ความสนใจศึกษาเรื่อง เอกลักษณ์ กล่าวไว้ว่า เอกลักษณ์เป็นความต้องการของมนุษย์ที่จะไม่เหมือนคนอื่นและต้องการที่จะแตกต่าง (Need to be Difference) ซึ่งก็แล้วแต่บุคคลในสังคมนั้นๆว่าต้องการมีความแตกต่างมากน้อยเพียงใด เช่น หากเป็นผู้หญิงไทย จะต้องมีกิริยามารยาทที่เรียบร้อย นุ่งห่มสไบ เวลาที่เราจะแสดงเอกลักษณ์ความเป็นไทยให้คนต่างชาติดูก็จะใช้สัญลักษณ์เช่น วัดพระแก้ว เรือสุพรรณหงส์ ลายผ้าไหมไทย อาหารไทย มวยไทย รถตุ๊กๆเป็นต้น  หรือถ้าหากหมายถึงคนพม่าจะนุ่งโสร่ง สาวพม่าจะมีผิวพรรณที่งดงาม ดังสำนวนไทยที่ว่า “ผิวพม่า นัยน์ตาแขก” 

       2. การศึกษาองค์ประกอบทางวัฒนธรรม

       ในแง่มุมขององค์ประกอบทางวัฒนธรรม “อำนาจ” ของผู้นำจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการแสดงออกของคนในชาติ ในแง่นี้ผู้ทำสื่อมวลชน องค์กรสื่อต่างๆ สามารถนำเสนอให้เราได้เห็นว่า การเข้าไปทำข่าวในประเทศของสมาชิกกลุ่มอาเซียนนั้นจะมีมากขึ้น โดยมีสิ่งที่น่าจับตามองคือ การทำข่าวนั้นมีสิ่งที่สื่อมวลชนยึดหลักหนึ่งก็คือเรื่องของ เสรีภาพของการ นำเสนอ แต่เราจะพบว่าในบางประเทศ เช่น ประเทศพม่า ซึ่งมีการปกครองแบบเผด็จการทหาร และรัฐบาลยังมีบทบาทในการควบคุมสื่ออยู่มาก การรับรู้ก็เพียงแต่ข่าวที่ออกมาจากสื่อของรัฐเท่านั้น ในขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงในพม่าเพียงแค่หนังสือพิมพ์ของเอกชนที่เคยเป็นสิ่งต้องห้าม เพิ่งจะได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ได้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ประชาชนต่างตื่นเต้นและดีใจที่จะได้รับรู้ข่าวสารอย่างอิสระ ไม่มีการเซ็นเซอร์จากรัฐบาลพม่าอีกต่อไป

       ระบบค่านิยมทางวัฒนธรรม ศาสนา ของคนในอาเซียนในบางประเทศก็ยังมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังเช่น ชาวกัมพูชาเห็นว่าศาสนาพุทธ มีความใกล้เคียงกันระหว่างของไทยและกัมพูชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเพณีที่จะเชื่อมความสัมพันธ์อันดีกันได้ อาทิ การทอดผ้าป่า ทอดกฐิน การจัดงานบุญร่วมกัน อีกทั้งในเรื่องของการแต่งกาย ไทยและกัมพูชามีลักษณะการแต่งกายคล้ายกัน แม้แต่ภาษาก็มีรากศัพท์มาจากภาษาบาลีสันสกฤตเหมือนกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ กัมพูชายังรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้ ในขณะที่ไทยปรับเปลี่ยนและเพี้ยนไปจากเดิมค่อนข้างมาก เนื่องจากการยอมรับกระแส         โลกาภิวัตน์ ที่มากกว่าชาวกัมพูชา

       3. การเปลี่ยนแปลงหรือการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม

       นักวิชาการกลุ่มหนึ่งนำโดยฟรานส์ โบแอส (Franz Boas) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย เชื่อในเรื่องการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม จากจุดศูนย์กลางของสังคมหนึ่ง และขยายวงกว้างออกไปยังชุมชนอื่นหรือสังคมอื่น วัฒนธรรมที่แผ่ขยายออกไปยังชุมชนอื่นนี้ อาจเป็นวัฒนธรรมย่อย ส่วนใดส่วนหนึ่งในลักษณะขนบธรรมเนียมประเพณี หรือความเชื่อ หรือประติมากรรมและสถาปัตยกรรมก็ได้ (อมรา พงศาพิชญ์, 2553)

       การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมภายในสื่อโทรทัศน์ ในอดีตเราเคยรับเอาภาพยนตร์ฮ่องกง ภาพยนตร์จีน ภาพยนตร์ฝรั่ง หรือภาพยนตร์เกาหลีเข้ามาฉายทางโทรทัศน์ของไทย อย่างเช่น เรื่อง แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง3 นับเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมเกาหลีผ่านสื่อละครโทรทัศน์โดยผูกวัฒนธรรมเข้ากับการดำเนินเรื่องราว ซึ่งจากการวิเคราะห์เนื้อหาทางวัฒนธรรมทั้ง 3 ด้าน คือ 1 วัฒนธรรมด้านการบริโภค 2 วัฒนธรรมด้านการแต่งกาย และ 3 วัฒนธรรมด้านการท่องเที่ยว เมื่อละครได้รับความนิยมจากผู้ชม ผู้ชมก็จะเกิดการเรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมจากประเทศเกาหลีไปโดยปริยาย

       หากเราได้ยินข่าวว่า มีการห้ามมิให้ผู้ที่มีหางเสียงทองแดงแบบคนใต้ไปอ่านข่าวโทรทัศน์ เพราะคนอ่านข่าวโทรทัศน์จะต้องอ่านด้วยสำเนียงแบบคนกรุงเทพ ข่าวนี้ได้แสดงว่าผู้ที่ออกกฎนั้นมีความคิดว่า “ภาษาไทยนั้นเป็นวัฒนธรรมที่ต้องมีเพียงแบบเดียว คือ แบบกรุงเทพ” และไม่ยอมรับภาษาในสำเนียงอื่นๆ เมื่อเรามีการเปิดเสรีทางการค้า เศรษฐกิจ ในอาเซียน ไม่ได้มีเพียงแค่ภาษากลางแบบกรุงเทพ แต่ยังมีภาษาอื่นๆ เช่น ภาษาลาว ภาษามาเลย์หรือภาษามลายู ภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาสากล ที่จะเริ่มมีบทบาทในหน้าสื่อโทรทัศน์มากยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งกลุ่มวัฒนธรรมย่อย (Subculture) เหล่านี้ เราเริ่มได้เห็นจากโทรทัศน์หลายๆช่องที่เริ่มมีการสอนภาษาต่างๆของกลุ่มประเทศในอาเซียน เช่น คำทักทายง่ายๆ ซึ่งเป็นภาษาแบบเบื้องต้นที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้คนไทยเริ่มรับรู้ภาษาเพื่อไว้ใช้สื่อสารกับเพื่อนบ้านของเรา ทำให้สำเนียงที่จะเกิดในโทรทัศน์ต่อไป คงไม่ใช่เพียงสำนวนคนกรุงเทพ หรือสำนวนแบบภาคกลางในสื่อโทรทัศน์เพียงอย่างเดียวในอนาคต

       เสรีภาพในการนำเสนอที่แตกต่างกันตามระบอบการปกครองที่ต่างกันของประเทศในกลุ่มอาเซียนที่สื่อผ่านสื่อโทรทัศน์ เราจะได้เห็นวัฒนธรรมที่แปลกแตกต่างกันนอกจากสภาพหน้าตาของบ้านเมืองที่แตกต่างกัน เห็นการนับถือศาสนา ที่แตกต่างกัน พิธีกรรม การทำบุญตักบาตร การไหว้พระ การสวดมนต์ มีอยู่หลายๆรายการตามโทรทัศน์ที่นำเสนอมุมของพิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา เช่น ในประเทศพม่า ลาว หรือกัมพูชา ที่นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับของเรา แต่ความเคร่งครัดและความนับถือ แตกต่างกันค่อนข้างมาก คนพม่ายังไม่รับวัฒนธรรมอื่นๆเข้ามามากอย่างไทย ประเทศยังปิดรับในบางเรื่องทำให้ ในมุมของศาสนา ประชาชนยังเลื่อมใสศรัทธาและเคร่งครัดในการนับถือปฏิบัติ หรือเคารพสักการะพระสงฆ์อยู่มาก

       ปลายปี 2558 ประเทศไทยและอีก 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะจับมือกันก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่อสร้างประชาคมที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ประชาคมอาเซียนจะทำให้ความสัมพันธ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมภายในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ประชาชนในภูมิภาคอาเซียนมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้นและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้นทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมมากขึ้น อาจเกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมเกิดขึ้น เพราะถึงแม้บางประเทศจะอยู่ใกล้ชิดกับเรา แต่วัฒนธรรม ความคิด ความเป็นอยู่นั้นแตกต่างกัน คนใน 10 ชาติอาเซียนมีความเหมือนกันแค่บางส่วน คนไทยเรียนรู้วิถีวัฒนธรรมอเมริกันกันมานาน และเราก็เข้าใจหลายอย่างเราก็ซึมซับมาแบบไม่รู้ตัว เรารู้จักญี่ปุ่นและเกาหลี วัฒนธรรม อาหาร ตอนนี้เราคงต้องเริ่มหันมาสนใจวิถีและเรื่องราวของผู้คนที่กำลังจะรวมตัวกัน 550 ล้านคนนี้ว่าเขาเป็นใคร มาจากไหนกันบ้าง และจะเกิดการกลืนกินของวัฒนธรรมหรือไม่

บทสรุป

       ปัญหาที่เราอาจจะพบในอนาคตในเรื่องของการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม น่าจะแบ่งได้ออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ 1.การรับวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาในสังคมของตนเอง และ 2.การส่ง วัฒนธรรมไทยออกสู่โลกภายนอก  ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลไปอย่างไม่หยุดยั้งของสื่อ โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ ที่สามารถส่งต่อวัฒนธรรมต่างๆ ถ่ายทอด นำมาเผยแพร่มาสู่คนไทย ซึ่งเป็นคนที่รับวัฒนธรรมต่างชาติได้ง่าย ก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมผสม การปรับเปลี่ยนทางสังคมดังเช่นการเปิดประชาคมอาเซียน ย่อมทำให้การสื่อสารเรื่องราวต่างๆผ่านสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลเช่นโทรทัศน์ที่จะเผยแพร่ความเชื่อของคนในแต่ละชนชาติให้ส่งผ่านเพื่อสร้างความรับรู้ร่วมกัน ผู้คนมากหน้า หลากหลายภาษา หลากหลายวัฒนธรรมจะเดินทางไปมาหาสู่กัน มีการสื่อสารระหว่างกัน คนไทย ลาว พม่า เขมร เวียดนาม ฯลฯ จะมีการสื่อสารผ่านสื่อสารมวลชน ซึ่งทำให้เกิดการซึมซับวัฒนธรรม ดังเช่นที่อดีต คนจีนอพยพมาเมืองไทย มาอาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย ทำให้เรามีวัฒนธรรมการให้แต๊ะเอีย การไหว้พระจันทร์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของคนในสังคมไทยและวัฒนธรรมนี้ยังปรากฏเนื้อหาบนหน้าจอโทรทัศน์ในทุกๆปีเมื่อถึงวันเวลาของเทศกาลนั้นๆ ทำให้เรา ซึมซับและปฏิบัติสืบทอดต่อๆกันมาจนถึงปัจจุบัน หลังจากการเปิดประชาคมอาเซียน เราอาจจะมีวัฒนธรรมอาเซียน เกิดขึ้น โดยเป็นการผสมผสานความเป็นเอเชียเข้าไว้ด้วยกัน

       เมื่อโทรทัศน์สามารถสื่อสารข้ามพรมแดนระหว่างประเทศได้ซึ่งภูมิประเทศของคนในอาเซียนที่มีความแตกต่างในเชิงภูมิศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และศาสนา ฯลฯ ผู้ผลิตที่ส่งข่าวสารผ่านโทรทัศน์ จึงต้องศึกษาวัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง ถูกต้อง เพราะมีผลต่อการสร้างและสื่อสารวัฒนธรรมไปสู่ประชาชนต่อไปในอนาคต

 

บรรณานุกรม

หนังสือ

กาญจนา แก้วเทพ. (2542). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______________. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์

เกษม ศิริสัมพันธ์. (2551). ทฤษฎีสื่อสารมวลชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.

อมรา พงศาพิชญ์. (2553). “บทที่ 2 มนุษย์กับวัฒนธรรม” ใน สังคมและวัฒนธรรม เอกสารประกอบการศึกษา วิชา 313-183. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

 

วิทยานิพนธ์

ดุริยางค์ คมขำ. (2553). การผลิต การเผยแพร่ และการบริโภคละครซีรี่ส์เกาหลี กรณีศึกษา เรื่อง แดจังกึมและเจ้าหญิงวุ่นวายกับเจ้าชายเย็นชา วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาสื่อสารมวลชน คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

 

บทความวิจัย

ทิพย์พาพร มหาสินไพศาล. (2555). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนวารสารปัญญาภิวัฒน์ 4, 1 (กรกฎาคมธันวาคม) : 1-10

อำพา แก้วกำกง. (2551). “ทัศนคติด้านสังคมและวัฒนธรรมของชาวกัมพูชาในประเทศไทยที่มีต่อความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา วารสารเอเชียตะวันออกศึกษา : 7-32

 

เว็บไซต์

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556). ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน?. [ออนไลน์]. ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2556. จาก http://bit.ly/YggnrN.

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์. (2556). มิติใหม่เสรีภาพสื่อมวลชนพม่า. [ออนไลน์] ค้นคืนวันที่ 12 พฤษภาคม 2556 จาก http://www.dailynews.co.th/article/84/194104.

เพลงนา : การปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านศิลปะการแสดง เพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว จังหวัดชุมพร

อธิป จันทร์สุริย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาดนตรีไทยเพื่อการอาชีพ ใช้ความอุตสาหะพยายามที่จะขุดค้นสาระของภูมิปัญญาไทยที่สืบทอดกันมาจนเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่กำลังจะสูญหายไปเพราะสภาพการณ์ที่ผันแปรไปตามกาลเวลาและค่านิยม ให้กลับมามีชีวิตชีวา และมีคุณค่าในทางสร้างเศรษฐทรัพย์ ให้กับท้องถิ่น และยังบังเกิดความชื่นชมต่อชื่อเสียงของ “ประเทศไทย” สู่ประชาคมโลกอย่างภาคภูมิ

เรื่องราวอันเป็นสาระที่น่าสนใจที่ “อธิป จันทร์สุริย์” พูมใจ เสนอ เสนอ ในบทความนี้ คือ…. “เพลงนา” มรดกตกทอดทางภูมิปัญญาของบรรพชนชาวจังหวัดชุมพร ด้วยสาระอันละเอียดละออที่ผ่านการปรับประยุกต์ให้เป็น….

 

เพลงนา : การปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านศิลปะการแสดง เพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว จังหวัดชุมพร

Plaeng Na : Adaptive Uses The Folk Wisdoms through Performing Arts for Tourism Interpretation

 

โดย

อธิป จันทร์สุริย์

ATHIP JANSURI

 

อาจารย์ประจำสาขาดนตรีไทยเพื่อการอาชีพ

วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

บทคัดย่อ

       เพลงนาเป็นการละเล่นที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในจังหวัดชุมพรเป็นครั้งแรก ดังคำกล่าวที่ว่า เพลงนาชุมพรกาพย์กลอนนครศรีธรรมราช นับว่าเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีขับร้องกันอย่างแพร่หลายเมื่อครั้งในอดีตมีการสืบทอดกันมาอย่างช้านาน และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ปัจจุบันเพลงนากำลังจะสูญหายไป เนื่องจากประชาชนในจังหวัดชุมพรได้มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำนาเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นแทน และในอดีตผู้ที่ร้องเพลงนาได้มีจำนวนไม่มาก อีกทั้งยังขาดผู้สืบทอดศิลปะการแสดงเพลงนา ทั้งนี้แนวทางหนึ่งในการอนุรักษ์ให้การเล่นเพลงนายังคงอยู่ คือ การปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเพลงนาผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว โดยต้องอาศัยองค์ประกอบในการปรับใช้ศิลปะการแสดงเพลงนา อันได้แก่ 1. การคิดให้มีนาฏยประดิษฐ์   2. การกำหนดความคิดหลัก 3. การประมวลข้อมูล การรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ 4. การกำหนดขอบเขต 5. การกำหนดรูปแบบ 6. การกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ เช่น เพลงและดนตรีที่ใช้ในการแสดงการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายนักแสดงที่ใช้ในการแสดงฉากที่ใช้ในการแสดง และเวลาที่ใช้ในการแสดง 7. การออกแบบนาฏยประดิษฐ์ ซึ่งการปรับใช้เพลงนาผ่านศิลปะการแสดง จะสามารถดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวได้ และเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรอีกทางหนึ่งซึ่ง ทำให้จังหวัดชุมพรเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเกิดความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของตนเอง

คำสำคัญ : เพลงนา การปรับใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ศิลปะการแสดง การสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว

 

Abstract

       Pleang Na is the performing art firstly found in Chumphon in accordance with the words “ Pleang Na Chumphon, Poem and Verse Nakhon Si Thammarat”. Pleang Na was a kind of folk song widely sung in the past, and it has been inherited continually with its uniqueness. Nowadays Pleang Na is going to be lost because the ways of life of people in Chumphon have changed. They do not do rice paddy anymore. They plant other agricultural plants instead. In addition, people who can sing Pleang Na were rare in the past, and they lacked of their successors for the performing arts in Pleang Na. However, the way to conserve Pleang Na is adaptively used the folk wisdoms through performing arts for tourism interpretation. The elements of adaptive usage of Pleang Na performing arts are 1) creating invented performance 2) determining principle objective 3) processing information and collecting various sources for creativity 4) scoping the setting 5) formulating the format and pattern 6) considering other aspects such as song and music, costume, actor, time in the performance 7) inventing dancing and performance. The adaptively usage of Pleng Na via performing arts can attract the attention of tourists and it will be another tool to promote tourism of Chumphon province. In this way, Chumphon will be the interesting destination for tourists increasingly. However, this will not accomplish without the cooperation from every sector, and all sectors should have their roles for creating the folk wisdoms; moreover, they will be proud of their art and culture.        

Keywords: Pleang Na, Adaptive usage of the folk wisdoms, Performing arts, Tourism interpretation

       การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ทำรายได้ให้กับประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันมนุษย์มักใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ในการเดินทางท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ และผ่อนคลายความตึงเครียดจากการทำงาน เหตุที่มีการเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้นทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเพราะประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายทั้งทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่มีส่วนสำคัญในการดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทั้งศิลปวัฒนธรรม เทศกาลงานประเพณี การละเล่น วิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญาพื้นบ้านซึ่งกำลังได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ นอกจากนี้การท่องเที่ยวยังทำให้ศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่ในท้องถิ่นได้รับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบทอดจากคนในท้องถิ่น เพราะศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาตินั้นๆ ด้วยเหตุนี้ทำให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศ (ททท) ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการตลาดด้านการท่องเที่ยวมักนำศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์และสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยว ยกตัวอย่างเช่น คลิปวีดีโอที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ชุด The Colour Of Thailand ซึ่งนอกจากจะมีการนำเสนอเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวแล้วยังมีการนำศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทย มวยไทย การรำแก้บน หุ่นละครเล็กโจหลุยส์ และการแสดงคาบาเร่ต์ คลิปวีดีโอชุด Welcome To Thailand Dreams For All seasons ที่นำเสนอศิลปะการแสดงโขน ฟ้อนเล็บ การเต้นรำของชาวเขา ฟ้อนเทียน เป็นต้น นอกจากการนำเสนอศิลปะการแสดงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านการทำเป็นคลิปวีดีโอเพื่อเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์แล้ว การจัดการแสดงแสง สี เสียง ก็เป็นอีกหนึ่งศิลปะการแสดงที่ถูกจัดขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยว รูปแบบการแสดงแสงเสียงประกอบด้วยจินตภาพ เป็นการผสานศาสตร์แห่งศิลปะการแสดง ทั้งการละครและนาฏกรรมเข้าด้วยกันสู่ความเป็นเอกภาพของการแสดง เป็นการเล่าเรื่องความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง โดยการจินตนาการและจำลองตัวละครพิเศษขึ้นมาเพื่อเล่าย้อนรำลึกถึงอดีตกาล และเพื่อเชื่อมสถานการณ์ ผสมผสานยุคสมัยแห่งการพัฒนาของบ้านเมือง เน้นวิถีชีวิตของชาวอีสาน ขนบประเพณี และเอกลักษณ์จำเพาะของท้องถิ่นโดยการดำเนินเรื่องมีหลายรสหลากอารมณ์ (พีรพงศ์ เสนไสย 2546) การแสดงแสง สี เสียง เป็นการแสดงซึ่งเน้นความตระการตาของระบบแสงสี และดนตรี เสียงประกอบ โดยอาศัยบทประพันธ์และมีผู้บรรยายทำให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงความจริงผสานกับความฝันและจินตนาการจากอดีตกาลได้อย่างมีอรรถรส ยกตัวอย่างเช่น งานแสงสีเสียง 5 ธันวามหาราช ภายใต้แนวคิด ความสุขของคนไทยใต้แสงพระบารมี บริเวณถนนราชดำเนินวันที่ 3 – 7 ธันวาคม 2552 จัดให้มีการแสดงของหน่วยงานต่าง ๆ การแสดงวัฒนธรรมประเพณี การละเล่นต่าง ๆ การแสดงดนตรีคอนเสิร์ต งานแสงสีเสียงยอยศยิ่งฟ้าอยุธยามรดกโลก 2556 ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา และงานแสงสีเสียงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของจังหวัดกาญจนบุรี ให้ยิ่งใหญ่ในระดับชาติ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชาวจังหวัดกาญจนบุรี การแสดงแสง สี เสียง จัดเป็นศิลปะการแสดงประเภทหนึ่งที่จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ ประวัติความเป็นมา ให้ผู้ที่รับชมหรือนักท่องเที่ยวสามารถรับรู้เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นผ่านการแสดงเพื่อที่จะสามารถสื่อความหมายให้เห็นเป็นภาพซึ่งง่ายต่อการทำความเข้าใจและศึกษาอีกด้วย

       อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจำเป็นต้องอาศัยการสื่อความหมายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูล โดยเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริงหรือความคิดเห็นระหว่างนักท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเพิ่มความสนใจในการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว การสื่อความหมายหรือการแปลความหมายมาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Interpretation” คือ การให้บริการอย่างหนึ่งแก่ผู้มาเยือนหรือนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ซึ่ง  Freeman  Tilden (1997) อธิบายว่าการสื่อความหมาย หมายถึง  กิจกรรมการศึกษาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปิดเผยความหมายและความสัมพันธ์โดยการใช้สิ่งของหรือวัตถุดั้งเดิม สิ่งที่ประสบด้วยตนเองและตัวกลางที่แสดงไว้มากกว่าการสื่อสารข้อเท็จจริงโดยวิธีธรรมดา มนุษย์มีความสัมพันธ์กับการสื่อความหมายมาตั้งแต่เมื่อครั้งอดีตกาลผ่านทางการคิดสร้างสรรค์ระบบหรือเครื่องมือบางอย่างขึ้นทั้งนี้เพื่อต้องการสื่อความหมายทางความคิด อารมณ์ หรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้ที่ได้รับชม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การประดิษฐ์ภาษาขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารถึงความหมายบางอย่างระหว่างมนุษย์ในสังคมเดียวกันหรือต่างสังคมก็ตาม

       การสื่อความหมายเป็นกระบวนการที่สอดคล้องกับกระบวนการสื่อสารมีองค์ประกอบเหมือนกัน คือ ผู้ส่งสาร สาร สื่อหรือตัวกลางและผู้รับสารองค์ประกอบเหล่านี้มีความสำคัญต่อความสำเร็จของการสื่อสารทำให้ผู้รับสารเกิดความรู้ความเข้าใจ มีเจตคติ และพฤติกรรมไปในแนวทางที่ผู้ส่งสารปรารถนาเพื่อให้นักท่องเที่ยวเกิดความเพลิดเพลิน เกิดความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม เห็นความสำคัญของการเดินทางท่องเที่ยว โดยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวมีการเรียนรู้และเข้าใจด้วยสื่อที่ผู้สื่อหรือผู้นำเที่ยวต้องการสื่อ การสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวสามารถแบ่งได้ด้วยหลายวิธีการ เช่น การจัดศูนย์บริการนักท่องเที่ยว  การจัดนิทรรศการ  การจัดเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ  การจัดทำอุปกรณ์โสต  แผ่นป้าย แผ่นพับ โปสเตอร์  โฆษณา  และคู่มือสื่อความหมาย ซึ่งการสื่อความหมายไปยังนักท่องเที่ยวสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

       1. การสื่อความหมายที่ใช้บุคคล เป็นการสื่อความหมายที่นักท่องเที่ยวสามารถรับข้อมูลข่าวสารกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรง และนักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อสงสัยที่เกิดขึ้นได้ ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเดินทางท่องเที่ยว

       2. การสื่อความหมายที่ไม่ใช้บุคคล เป็นการสื่อความหมายที่อาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆในการส่งข้อมูลข่าวสารให้กับนักท่องเที่ยวหรือผู้รับชม ซึ่งสื่อต่างๆ เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายที่มีความน่าสนใจทั้งเสียง สี รูปภาพต่างๆ ซึ่งการสื่อความหมายที่ไม่ใช้บุคคลจะสามารถเข้าถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวได้ง่ายและทั่วถึง และเป็นสื่อที่นักท่องเที่ยวจะเกิดการตัดสินใจในการเลือกเดินทางท่องเที่ยว นอกจากนี้การสื่อความหมายยังมีการนำเสนอรูปแบบการสื่อความหมายหรือการสื่อสาร ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสื่อความหมายที่ดีและมีประสิทธิภาพอีกด้วย เบอร์โล (Berlo) (อ้างถึงใน เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2532) เป็นผู้คิดค้นกระบวนการของการสื่อความหมายไว้ เรียกว่า รูปแบบจำลองนี้ว่า“S M C R Model” ซึ่งประกอบด้วย

              ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถในการเข้ารหัส (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีเจตคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสารมีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนมีพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย

              ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์และวิธีการส่งข่าวสาร

              ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึงการส่งข่าวสาร โดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสาร ข้อมูลผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้าหรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น

              ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะในการสื่อสาร โดยมีความสามารถในการถอดรหัสสาร (decode) เป็นผู้ที่มีเจตคติ ระดับความรู้และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกับผู้ส่งสารจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล

              ซึ่งถ้าหากสรุป ตามลักษณะของ S M C R Model ของเบอร์โล สามารถนำมาประกอบเข้ากับกระบวน       การสื่อความหมายโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านศิลปะการแสดงได้ดังนี้

              ผู้ส่ง (Source) หมายถึง ตัวผู้แสดงที่เป็นผู้ถ่ายทอดเรื่องราวการแสดงไปยังผู้รับ เพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจเรื่องราวที่ถ่ายทอดได้อย่างเข้าใจ

              ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา นั้นก็คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้านในท้องถิ่นนั้นๆ ได้แก่ เพลงนา

              ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง การนำเสนอศิลปะการแสดงโดยการเล่าเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้นักท่องเที่ยวชมหรือผ่านช่องทางโทรทัศน์ อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

              ผู้รับ (Receiver) หมายถึง ผู้ชมเมื่อผู้ชมได้รับชมการแสดงเกิดก็ความเพลิดเพลินเกิด ความเข้าใจในเนื้อหาที่ผู้ส่งหรือนักแสดงถ่ายทอดมายังผู้ชม ซึ่งสามารถนำเสนอในรูปแบบของแผนภาพได้ดังนี้

 

 

       จะเห็นได้ว่า การสื่อความหมายนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการอธิบาย ให้ความรู้หรือข้อมูลแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งถ้าหากรูปแบบการสื่อความหมายมีความน่าสนใจทั้งศิลปะการแสดง การเล่าเรื่องโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ก็จะทำให้การสื่อความหมายประสบความสำเร็จ ซึ่งภูมิปัญญาพื้นบ้านก็นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญในการสื่อความหมายทาง การท่องเที่ยว เพราะนอกจากจะสามารถทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความเข้าใจแล้ว ยังทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลินอีกด้วย

       การสื่อความหมายโดยนำศิลปะการแสดงมาใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อความหมาย เนื่องจากศิลปะการแสดงสามารถถ่ายทอดเรื่องราว เหตุการณ์ วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เพื่อให้ผู้ชมหรือนักท่องเที่ยวสามารถเข้าใจในเรื่องราวที่ต้องการจะนำเสนอได้ อีกทั้งศิลปะการแสดงยังทำให้สามารถมองเห็นภาพจริงโดยการนำเสนอผ่านจินตนาการ หรือเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้น หลายๆประเทศได้นำเอาศิลปะการแสดงของแต่ละชนชาติออกมานำเสนอเพื่อใช้ในสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากสามารถสื่อความหมาย และให้ผู้ที่รับชมเกิดความประทับใจ จะเห็นได้ว่าศิลปะการแสดงเป็นทั้งทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวและเป็นเครื่องมือในการสื่อความหมายซึ่งสอดคล้องกับการให้ความหมายของสดใส พันธุมโกมล (2524 : 1) (ออนไลน์, 2556) ศิลปะการแสดง คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์ และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่อง และจัดเสนอในรูปแบบของการแสดงโดย มีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม ซึ่งในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ก็มีศิลปวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ซึ่งจังหวัดชุมพรนับว่าเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ทีมีประวัติเก่าแก่ นับว่าเป็นจังหวัดแรกที่เป็นประตูเข้าสู่ภาคใต้ ดังคำขวัญที่ว่า ชุมพรประตูภาคใต้ ไหว้เสด็จในกรม ชมไร่กาแฟ แลหาดทรายรี ดีกล้วยเล็บมือขึ้นชื่อรังนก

       จังหวัดชุมพรนับว่ามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดให้นักท่องเที่ยวหลงใหลในเสน่ห์ของทรัพยากรการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น หาดทรายรี หาดทรายสีขาวสะอาดตาแนวชายหาดเป็นที่ตั้งของอนุสรณ์สถานของพลเรือเอกพระบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผู้ทรงสถาปนากองทัพเรือให้กับประเทศไทย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะชุมพร มีจุดเด่นที่น่าสนใจทั้งในเรื่องของระบบนิเวศป่าชายหาด ป่าชายเลน พื้นที่ชุมน้ำที่อุดมด้วยนกนานาชนิด และแนวปะการังที่สมบูรณ์และสวยงามตามเกาะและกองหินต่างๆ นับเป็นแหล่งดำน้ำที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในอ่าวไทย และทรัพยากรการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ประเพณีแห่พระแข่งเรือ เป็นประเพณีเก่าแก่ของอำเภอหลังสวน ซึ่งมีมากว่า 100 ปี จะเริ่มงานตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี งานส่งเสริมประเพณีขึ้นเบญจา จัดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานประเพณีท้องถิ่นจังหวัดชุมพร และส่งเสริมการท่องเที่ยว ของอำเภอเมืองจังหวัดชุมพร ซึ่งวัฒนธรรมของจังหวัดชุมพรจะเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมภาคกลางและภาคใต้ เนื่องจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เป็นจังหวัดแรกในการเดินทางเข้าสู่ภาคใต้ ซึ่งศิลปวัฒนธรรมหนึ่งที่เป็นเอกลักษณ์และเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดชุมพรอย่างแท้จริงนั่นก็คือ เพลงนา

       เพลงนา ในอดีตจากการคำนวณของพ่อเพลงแม่เพลงรุ่นเก่า เท่าที่สืบค้นได้พบว่าเพลงนามีมาก่อนรัชกาลที่ 5 และเป็นที่นิยมกันมากจนกระทั่งมีการจัดประกวดเพื่อชิงรางวัล ดังที่ ภิญโญ จิตต์ธรรม (2516) กล่าวไว้ว่า “เพลงนาเป็นของดีที่ตายายเรารักษาไว้นานแสนนาน จนยายเราในสมัยรัชกาลที่ 5 เล่ากันว่าประมาณ พ.ศ. 2426 มีคหบดีผู้หนึ่งอยู่ที่อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ได้จัดประกวดการร้องเพลงเพื่อชิงรางวัลกันขึ้นทุกปี”

       อีกหนึ่งข้อสันนิษฐานเพลงนาน่าจะเกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากมีการเล่าขานกันต่อมาว่า ในสมัยนั้นเมือง ไชยา ประชาชนทั่วไปชอบการต่อสู้ จึงมีการฝึกการต่อสู้ด้วยอาวุธต่าง ๆ รวมทั้งการต่อสู้มือเปล่า จึงมีคำว่า มวยไชยาเกิดขึ้นจนกระทั่งบัดนี้ ส่วนเมืองชุมพร ประชาชนชอบสนุกสนาน ชอบร้องรำทำเพลง เมื่อมีการประลองฝีมือทางอาวุธหรือการต่อสู้คนไชยาจะชนะทุกครั้ง แต่ถ้ามีการประชันการขับร้อง คนชุมพรจะชนะทุกครั้งเช่นกัน มีการเล่าขานกันว่า ก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 พระยาเพชรกำแหง ซึ่งมีที่นา 5,000 ไร่ ใช้คันไถ จอบและคราดเป็นเครื่องมือในการทำนา ใช้ควายและทาสเป็นแรงงาน เมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยวจะมีการคลายร้อนหรือความเมื่อยล้าด้วยการร้องรำทำเพลงจึงได้มีการนำบทกลอนซึ่งเรียกว่า เพลงนา มาใช้

       โอกาสในการแสดงเพลงนา สมัยก่อนเพลงนาใช้ในฤดูเก็บเกี่ยว เป็นการละเล่นกลอนโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวในท้องนา ต่อมามีการใช้ทั่วไป เช่น งานอุปสมบท งานขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานฉลองต่างๆ แม้กระทั่งงานศพ เพื่อใช้เป็นสื่อความรัก การเกี้ยวพาราสีระหว่างหนุ่มสาวหรือเป็นการบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ หรือใช้ประกวดในโอกาสต่างๆ ปัจจุบันส่วนใหญ่มักจะเป็นการแสดงในลักษณะการสาธิตหรือการสอนในสถานศึกษาเพื่องานอนุรักษ์ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร 2551)

       เพลงนาสามารถแบ่งได้ตามความสั้นยาวของเนื้อเพลงได้ 2 ชนิด ได้แก่ เพลงนาขนาดสั้นและเพลงนาขนาดยาว เพลงนาขนาดสั้น เป็นเพลงนาที่มีความยาวเพียง 3 วรรค หรือ 6 วรรค เป็นเพลงร้องโต้ตอบขณะที่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่กลางนาหรือตามสถานที่ต่างๆ เพื่อถามข่าว เพื่อผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยในการทำงานและเพื่อความสนุกสนาน ตัวอย่างเช่น

ถาม        เพื่อนของพี่ทีรัก       เราขอถามทักว่าเพื่อไปไหนมา

ตอบ       เพื่อนรักเพื่อนรัก       ช่วยเจ็บท้องอย่างหนักจะไปหาพี่สา

               ให้มาประคองครรภ์ของแม่กัลยา

(จาง ดำคำ : บทสนทนา หน้า 252) ( อ้างใน สุปรียา สุวรรณรัตน์ 2539 )

       เพลงนาขนาดยาว เป็นเพลงนาที่เล่นเป็นชุด ต้องใช้พ่อเพลงแม่เพลงโดยเฉพาะเป็นผู้ร้องในฤดูเกี่ยวข้าว ชาวนาบางคนจะบนบานศาลกล่าวว่า ถ้านาปีนี้ให้ผลผลิตดีจะจัดให้มีการเล่นเพลงนากันขึ้นในช่วงเก็บเกี่ยวข้าว ลำดับขั้นตอนในการเล่นมีตั้งแต่ บทไหว้ครู บทชมโฉมหรือเกี้ยวสาว บทฝากรัก บทลา ตามลำดับ ถ้ามีการเทียบคู่ก็จะมีบทฉะฟันด้วย ตัวอย่างเช่น

หญิง       สีมานั้นมีกี่ทิศ   ลูกนิมิตมีอยู่กี่ใบ

               ตรงไหนนะพ่อร้อยชั่งที่เขาฝังพัทธ์ชัย

ชาย       สีมาหมันมีแปดทิศ   ลูกนิมิตมีอยู่เก้าใบ

              หน้าพระประธานที่นั่งนั่นแหละเขาฝังพัทธ์ชัย

ชาย       (ตอบเชิงสังวาส)

              สีมาหมันมีแปดทิศ   ลูกนิมิตมีอยู่สามใบ

              ลูกหนึ่งเขาฝังไว้มิดสองลูกหมันปิดตูชัย

(อบ ศรียาภัย : บทฉะพัน หน้า 204) ( อ้างใน สุปรียา สุวรรณรัตน์ 2539 )

       อุปกรณ์ประกอบและวิธีการเล่น ในการเล่นเพลงนา  ใช้ผู้เล่น 1 คู่  ถ้าจะมีมากกว่านี้ ก็ต้องเป็นจำนวนคู่ แต่ที่นิยมกันมักไม่เกิน 2 คู่ แต่ละคู่จะมีแม่เพลงคนหนึ่งทำหน้าที่ร้องนำ เรียกว่า แม่คู่ หรือ หัวไฟมีผู้รับหรือ ทอยคนหนึ่งเรียกว่า ท้ายไฟ ถ้าผู้เล่นมีคู่เดียว บทที่ร้องมักเป็นบทชม บทเกี้ยว และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ แต่ถ้าเล่น 2 คู่ มักจะเป็น กลอนรบหรือบท ฉะฟัน คือร้องเพลงโต้ตอบกัน โดยต่างฝ่ายต่างหยิบยกเอาปมด้อยของฝ่ายตรงข้ามขึ้นมาว่าและว่ากันอย่างเจ็บแสบ การร้องโต้ตอบนี้ ท้ายไฟของฝ่ายใดก็จะทำหน้าที่รับทอยของฝ่ายนั้น การเล่นเพลงนาจะเล่นกันเป็นกลอนสดหรือกลอนปฏิภาณ ผู้เล่นจะต้องมีสติปัญญาและไหวพริบดี การเล่นไม่มีดนตรีใดๆ ประกอบ ลักษณะบทกลอนที่ใช้เป็นกลอนสิบ คือ วรรคหนึ่งๆ นิยมบรรจุให้ได้   10 คำ แต่อาจยืดหยุ่นเป็น 8 / 11 คำก็ได้ กลองเพลงนาจะบังคับคณะ โดยให้กลอนสามวรรคเป็น หนึ่งลง กลอนหกลงเป็น หนึ่งลา  คือจบ 1 กระทู้ เว้นแต่บทไหว้พระ ซึ่งจะจบเพียงสามลงเท่านั้น คือ ไหว้พระพุทธ พระธรรม  พระสงฆ์

       สำหรับการรับทอยของท้ายไฟ เมื่อแม่คู่ร้องส่งกลอนวรรคที่ 1 จบแล้ว ท้ายไฟก็จะรับทอย โดยร้องซ้ำวรรคแรกอีกครั้งหนึ่ง เพื่อเปิดโอกาสให้แม่คู่คิดผูกกลอนวรรคที่ 2 และที่ 3 ต่อไป และการทอยก็จะรับเพียงวรรค ที่ 1 เพียงวรรคเดียวเท่านั้น การร้องเพลงนาจะมีทั้งแม่เพลงและลูกคู่หรือคนคอยเสริม จะช่วยทำให้เพลงนาน่าฟังยิ่งขึ้น ซึ่งมีแบบแผน ดังนี้

(ลงที่ 1) ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ (เสียงสูง)

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐  (เสียงต่ำ)

(ลงที่ 2) ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ (เสียงสูง)

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐  (เสียงต่ำ)

(ลงที่ 3) ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ (เสียงสูง)

๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐ ๐  (เสียงต่ำ)

(ลงที่ 4) ฯลฯ

       การร้องเพลงนาในฤดูเก็บเกี่ยว ยามเช้ามักจะร้องบทไหว้ ยามสายมักจะร้องบทชมโฉม ยามเที่ยงมักจะร้องบทรัก  ยามบ่ายมักจะร้องบทลา  เป็นต้น

 

       ตัวอย่างเพลงนา

บทไหว้ เป็นบทกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเป็นบทแรกที่ใช้ร้องก่อนที่จะเล่นเพลงนา เนื้อหาเป็นการกล่าวบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ไหว้พระภูมิเจ้าที่นา

หัตถัง (มือ) ทั้งสองประคองไหว้ พระภูมิเจ้าไร่ พระภูมิเจ้านา

บรรดาศักดิ์สิทธิ์ไปทั้งแปดทิศา  ขอไหว้ไม่หลงไปทุกองค์เทวดา

ออ..  บรรดาศักดิ์สิทธิ์ในที่นี้  ได้เบิกสร้างที่นาแต่ไหรมา

วันนี้ตำเหนิน (ผู้ร้อง)  ขอเชิญพ่อมา

ยอไหว้พระภูมิเจ้านา  ข้างตีน (ทิศเหนือ) ไหว้ไปจบที่ชุมพร

ข้างหัวนอน (ทิศใต้)  ไหว้จบที่สงขลา  วันนี้ลูกชายขอไหว้วันทา

ออ…. ท่านอย่าได้ขัดข้องในทำนิทำนองนะท่านหนา

อย่าให้เจ็บหัวหรือปวดท้อง ลูกจะร้องเพลงนา (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร, 2551)

 

บทชมโฉม

จะดูไหนวิไลนั่น  พี่ดูสารพัดไม่ขัดไม่ขวาง

น้องแขวนสร้อยหรือเพชร  งามเหมือนสมเด็จนาง

ออ..  เมื่อเดินจะย่างงามไปสิ้น  เหมือนหงส์ทองล่องบินไปขัดไม่ขวาง

ช่างงามบริสุทธิ์  เหมือนพระพุทธคยาง

สองกรอ้อนแอ้นดังงวงคชวัน (งวงช้าง) ดูพระพักตร์จอมเจ้าขวัญเหมือนพระจันทร์กระจ่าง

(สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร, 2551)

 

บทรัก

สงขลาพี่จะสร้างสวนฝ้าย  พัทลุงนั้นไซร้พี่ไว้สร้างสวนพลู

สุราษฎร์ธานี  พี่จะปลูกเรือนอยู่

ให้แม่ทอฝ้าย เจ้านั่งขายพลู

ออ…..เมื่อยามว่างขายของ  พี่คอยประคับประคองเล้าโลมโฉมตรู

ความที่รักบุญลือ  เหมือนจะใส่ฝ่ามือชู

ถ้าเปรียบเหมือนรามสูรประยูรศักดิ์  รูปหงส์นงลักษณ์เหมือนองค์เอกเมขลา

รามสูรอ้อนวอน  เจ้าก็งอนหนักหนา

เหมือนพี่วอนเจ้า ไปทุกเช้าเวลา

ออ…รักแต่ข้างเดียว คิดไปใจเปลี่ยวเป็นหนักหนา

เหมือนพี่วอนเจ้า ไปทุกเช้าเวลา

ออ…รักแต่ข้างเดียว  คิดไปใจเปลี่ยวเป็นหนักหนา

ใจฉวยขวานขว้างให้ถูกนางสักครา…  (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร, 2551)

 

บทรัก

เคี้ยวข้าวเหมือนเคี้ยวแป้ง  พี่เคี้ยวปลาแห้งเหมือนเคี้ยวไม้พุก

นับว่าชีวิตไม่มีความสุข  ไม่ได้เห็นบังอรพี่ชายนอนเป็นทุกข์

ออ… นับว่าในโลกนี้  หาใครไม่มีจะมาให้ความสุข

ไม่ได้บังอร พี่ยิ่งร้อนยิ่งทุกข์

มารับรักกับพี่ ทุกเดือนทุกปีไม่ให้ทำไหร่

ให้เจ้าผัดแต่หน้า ให้เจ้าทาแต่แป้ง

ให้น้องนั่งแต่ง  แต่งตามชอบใจ

ตัดผมรองทรงอ่อนอ่อนให้เจ้านั่งถอนไร…

มารับรักกับพี่ไปข้างเหนือจะให้เข (ขี่) ช้าง ไปข้างล่างพี่จะให้เข (ขี่) เรือพอ

พี่ไม่ให้เจ้าพาย พี่ไม่ให้เจ้าถ่อ

ให้แม่งามงอน เจ้านั่งอ่อนคอ

มารักรักกับพี่ ให้ใจดีเจ้านอนเตียงเรียงหมอน

ให้คนอยู่งานพัด  ยามกำดัดหลับนอน (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร, 2551)

 

ตัวอย่างบทร้องเกี้ยวชมสาว

บรรดาหญิงสาวสาวมาเก็บเกี่ยวข้าวนานี้  สาวคนโน้นอยู่ดีผิวฉวีสดใส

ขาวตลอดมือตีน (เท้า) เหมือนพ่อจีนแม่ไทย

แม่หญิงสาวขาวสวยที่มาทั้งไกลแค่ (ไกลใกล้) น้องคนโน้นสวยแท้พี่เหลียวแลตะลึงไหล

ตาต่อตามองกันเกิดสัมพันธ์ถึงใจ

ผิวเนื้อสาวขาวแล้วยังไม่แคล้วทาแป้ง  สวยแล้วยังชั่งแต่งต้องตามแบบสมัย

บรรดาสาวชาวนาน้องสวยกว่าใครใคร ฯลฯ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร, 2551)

 

       จะเห็นได้ว่า เพลงนา นับว่าเป็นเพลงพื้นบ้านที่มีขับร้องกันอย่างแพร่หลายเมื่อครั้งในอดีต และมีสืบทอดกันมาอย่างช้านาน และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง เนื่องจากเพลงนาเป็นการละเล่นที่เชื่อกันว่าเกิดขึ้นในจังหวัดชุมพรเป็นครั้งแรก ดังคำกล่าวที่ว่า เพลงนาชุมพรกาพย์กลอนนครศรีธรรมราช และจากบทกลอนเพลงนาที่ว่า

มวยดีไชยา เพลงนาชุมพร

ขึ้นชื่อลือกระฉ่อนมานานนักหนา

ชุมพรต้นฉบับตำรับเพลงนา

       เพลงนามีท่วงทำนองช้าเนิบนาบ ไม่มีดนตรีประกอบ มีผู้ขับร้องเป็นคู่ 2 คน คนหนึ่งเป็นแม่เพลงร้องนำ เรียกว่า ต้นไฟ แม่คู่หรือแม่เพลงมีคนรับทอดอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ท้ายไฟ เป็นการผลัดเปลี่ยนช่วยกันขับร้องนำ และรับข้อความ การรับอย่างกลมกลืน เรียกว่า ทอย เพื่อกันลืมและช่วยกันขัดเกลาสำนวนด้วย (พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาจังหวัดชุมพร 2542) เพลงนา มักนิยมเล่นในฤดูเก็บเกี่ยวข้าวเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน จนลืมความเหน็ดเหนื่อยจากการเก็บเกี่ยว ในระยะแรกจะเล่นในท้องนา ต่อมาภายหลังร้องเล่นไม่จำกัดสถานที่และโอกาส เช่น งานสงกรานต์ งานบวชนาค งานขึ้นบ้านใหม่ วันขึ้นปีใหม่ งานมงคลสมรส และงานศพ สมัยก่อนนิยมร้องกันมากในตำบลหาดพันไกร ตำบลนาชะอัง ตำบลวังไผ่ ตำบลบางลึก ตำบลนาทุ่ง อำเภอเมืองชุมพร อำเภอปะทิว และอำเภอสวี แต่ปัจจุบันมีให้เห็นอยู่บ้างในพื้นที่อำเภอสวี และอยู่ในสถานภาพที่กำลังจะสูญหาย เนื่องจากผู้รู้ ปราชญ์ชาวบ้านที่ขับร้องเพลงนาชราภาพและเสียชีวิตไป (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร 2551)

       ปัจจุบันเพลงนากำลังจะสูญหายไป เนื่องจากประชาชนในจังหวัดชุมพรได้มีการเปลี่ยนแปลงอาชีพจากการทำนาเป็นการปลูกพืชชนิดอื่นแทน เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และสวนผลไม้ต่างๆ เป็นต้น จึงทำให้การเล่นเพลงนาเริ่มหายไป และในอดีตผู้ที่ร้องเพลงนาได้มีจำนวนไม่มากเมื่อผู้ที่ร้องเพลงนาเสียชีวิตไปก็เสมือนว่าเพลงนาได้หมดไปด้วย อีกทั้งยังขาดผู้สืบทอดและสืบสานศิลปะการแสดงเพลงนา ทั้งเยาวชนรุ่นหลัง ขาดความสนใจ และไม่ให้ความสำคัญที่จะสืบสาน การร้องเพลงนา รวมทั้งการเล่นเพลงนาไม่มีดนตรีใด ๆ ประกอบ จึงไม่เป็นที่ดึงดูดความสนใจของเยาวชนรุ่นหลัง ซึ่งสอดคล้องกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร (2551) ปัจจุบันศิลปะการแสดงเพลงนาอยู่ในสถานภาพที่กำลังจะสูญหาย อันเนื่องจาก ในอดีตเพลงนานิยมเล่นในฤดูเกี่ยวข้าวในท้องทุ่งนา แต่ในปัจจุบันการประกอบอาชีพทำนาลดน้อยลง ชาวบ้านหันไปปลูกพืชเศรษฐกิจอื่นแทน การเล่นเพลงนาจึงค่อยๆเริ่มหายไป กับท้องทุ่งนาที่กลายเป็นสวนปาล์ม

       การเล่นเพลงนาในอดีตสะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมที่บรรพบุรุษใช้เวลาหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในการประกอบกิจกรรมเพื่อความบันเทิงเริงใจ ผ่อนคลายความเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบการเล่นเพลงนาของจังหวัดชุมพรจะมีส่วนคล้ายคลึงกับการละเล่นหลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวในภาคกลางซึ่งมีท่วงทำนองคล้ายคลึงกัน ส่วนใหญ่เป็นเพลงที่ร้องง่าย ร้องช้า มีการซ้ำวรรคเดิมบ่อยๆ จึงทำให้ทุกคนส่วนมีส่วนร่วมในการร้อง ผลัดกันทำหน้าที่เป็นผู้รับและลูกคู่ และการร้องรับลูกคู่ก็จะสัมพันธ์กับกิจกรรมที่ทำในขณะนั้น เช่น เพลงเกี่ยวข้าว เพลงเต้นกำรำเคียว เพลงสงฟาง เป็นต้น

       เพราะฉะนั้น หากมีการนำเพลงนาซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมของจังหวัดชุมพร มาปรับใช้ผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวนั้น จะเป็นส่วนช่วยอนุรักษ์ ฟื้นฟู การเล่นเพลงนาชุมพรให้กลับมาเป็นศิลปะการแสดงที่ยังคงมีอยู่ท้องถิ่น สามารถเป็นการเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมของเยาวชนในท้องถิ่นซึ่งการปรับใช้ผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวนั้น จำเป็นมีต้องการศึกษาข้อมูลก่อนนำมาใช้อย่างแท้จริง เพื่อให้สามารถนำเพลงนามาปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานด้านการท่องเที่ยว สถานศึกษา ผู้มีส่วนร่วมในศิลปะการแสดงท้องถิ่น ประชาชนในท้องถิ่น เป็นต้น เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีบทบาทในการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว ของชุมชนอีกด้วย โดยต้องอาศัยทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ชุดระบำขึ้นใหม่ ซึ่งสุรพล วิรุฬห์รักษ์ (2544) ได้ให้ความหมายของคำว่า นาฏยประดิษฐ์ หมายถึง การคิด การออกแบบและสร้างสรรค์แนวคิด รูปแบบ กลวิธีของนาฏยศิลป์ชุดหนึ่งที่แสดงผู้แสดงคนเดียวหรือหลายคน ทั้งนี้รวมถึงการปรับปรุงผลงานในอดีต นาฏยประดิษฐ์จึงเป็น              การทำงานที่ครอบคลุมปรัชญา เนื้อหา ความหมาย ท่ารำ ท่าเดิน การแปรแถว การตั้งซุ้ม การแสดงเดี่ยว การแสดงหมู่ การกำหนดดนตรี เพลง เครื่องแต่งกาย  ฉากและส่วนประกอบอื่นๆที่สำคัญ ในการทำให้นาฏยศิลป์ชุดหนึ่งสมบูรณ์ตามที่ตั้งไว้ ผู้ออกแบบนาฏยศิลป์ เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผู้อำนวยการฝึกซ้อมหรือผู้ประดิษฐ์ท่ารำ แต่ในที่นี้ได้เสนอคำใหม่ว่า นักนาฏยประดิษฐ์ ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า Choreographer และยังได้กล่าวถึงขั้นตอนในการประดิษฐ์นาฏยศิลป์ ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการปรับใช้เพลงนาผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย

1. การคิดให้มีนาฏยประดิษฐ์ คือ เหตุผลที่เกิดการประดิษฐ์นาฏยศิลป์ในโอกาสต่างๆ ได้แก่ ซึ่งการปรับใช้เพลงนาผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว เป็นการคิดประดิษฐ์ชุดระบำขึ้นจากการละเล่นกลอนโต้ตอบระหว่างหนุ่มสาวในท้องนาหลังฤดูการเก็บเกี่ยว ซึ่งการแสดงชุดดังกล่าวจะสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของสังคมเกษตรกรรมและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น

2. การกำหนดความคิดหลัก เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์งานด้านนาฏยศิลป์ เพื่อให้ผลงานเป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งการประดิษฐ์ชุดระบำขึ้นเพื่อเป็นการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหายนั่นคือ เพลงนา นำมาใช้ในการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวและเป็นการอนุรักษ์ สืบทอดการเล่นเพลงนาให้คงอยู่ต่อไป

3. การประมวลข้อมูล การรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นปัจจัยในการสร้างสรรค์ ซึ่งข้อมูลจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรวบรวมข้อมูลด้านเอกสาร ทั้งงานวิจัย เอกสารสำรวจข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม เป็นต้น และการรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องเพลงนา 

4. การกำหนดขอบเขต คือ การกำหนดว่านาฏยศิลป์ชุดนั้นจะครอบคลุมเนื้อหาสาระอะไรบ้างและอย่างไรบ้าง ซึ่งจะต้องมีการวางแผนว่าต้องการที่จะนำเสนออะไรบ้าง และเลือกรูปแบบการนำเสนอที่ชวนติดตาม ใช้เวลาในการแสดงที่มีความเหมาะสมไม่นานจนเกินไป มีการนำอุปกรณ์เข้ามาใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับชุดการแสดง ซึ่งศิลปะการแสดงจะต้องอยู่บนพื้นฐานความเป็นดั้งเดิม

5. การกำหนดรูปแบบ โดยจะต้องเลือกบทของเพลงนาที่จะมีการนำเสนอ เช่น บทชมโฉม บทรัก บทเกี้ยวสาว โดยต้องมีการศึกษาหาข้อมูลและคำนึงถึงฉันทลักษณ์ในบทเพลงนาแต่ละบทอย่างถ่องแท้ เพื่อให้การนำเสนอไม่ทำให้บทของเพลงนาเกิดการสูญเสียอัตลักษณ์ ซึ่งในการเลือกบทเพลงนาควรเลือกบทที่ผู้ชมหรือนักท่องเที่ยวชมสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่มีความสลับซับซ้อน เลือกใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย

6. การกำหนดองค์ประกอบอื่นๆ คือ การกำหนดแนวคิดหรือรูปแบบขององค์ประกอบอื่นๆ ที่ใช้ในการแสดง เช่น

6.1 เพลงและดนตรีที่ใช้ในการแสดง ในอดีตการเล่นเพลงนามีท่วงทำนองช้าเนิบนาบ ไม่มีดนตรีประกอบ หากจะต้องนำมาปรับใช้เพื่อสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยว อาจมีการนำดนตรีมาใช้ประกอบในการร้องเพลงนาหรือมีการเลือกใช้ดนตรีที่มีความเหมาะสมและสามารถถ่ายทอดความรู้สึกให้กับผู้ฟังเหมือนได้รับบรรยากาศเสมือนจริง ในการเล่นเพลงนาหลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าว

  6.2 การประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย เครื่องแต่งกายนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการแสดง เพราะการแต่งกายจะช่วยสร้างความงดงาม บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และบุคลิกภาพที่ดีให้กับนักแสดง การเลือกใช้สีสันที่มีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง หรือฉากที่ใช้แสดง เช่น เรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติ อาจเลือกใช้สีเขียว หรือในการเล่นเพลงนาผู้ที่แสดงอาจนำการแต่งกายเลียนแบบชาวนา ในการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายให้กับผู้แสดง เป็นต้น รวมทั้งรูปร่างที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการแสดง

  6.3 นักแสดง นักแสดงที่ใช้ในการแสดงควรมีความเหมาะสมกับบทบาทของตัวละครแต่ละประเภท รวมทั้งรูปร่าง สัดส่วน หน้าตา และทักษะทางด้านการแสดง ควรมีการใช้นักแสดงทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เพื่อให้ง่ายต่อการแสดงเพลงนา ซึ่งต้องมีบทร้องตอบโต้กัน โดยเฉพาะบทเกี้ยวชมสาวที่ต้องอาศัยผู้ชายในการทำท่าทางในการจีบสาว

  6.4 ฉากที่ใช้ในการแสดงควรมีความเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง และมีขนาดที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ที่ใช้ในการแสดง อาจมีการจัดทำฉากในการแสดงเพลงนาให้เป็นทุ่งนาเพื่อให้เกิดความกลมกลืนกับผู้ชมเหมือนได้รับชมการเล่นเพลงนาในบรรยากาศเสมือนจริง

  6.5 เวลาที่ใช้ในการแสดง เวลาที่ใช้ในการแสดงควรมีความเหมาะสม ไม่นานเกินไปจนทำให้ผู้ชมหรือนักท่องเที่ยวเกิดความเบื่อหน่าย ควรมีความกะทัดรัด หรือเลือกนำเสนอเพียงบางส่วนที่สำคัญเท่านั้น

7. การออกแบบนาฏยประดิษฐ์ มีลักษณะคล้ายกับการออกแบบทัศนศิลป์ซึ่งสามารถนำทฤษฎีต่างๆ   มาใช้ ดังนี้

7.1. ทฤษฎีทัศนศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ องค์ประกอบทัศนศิลป์ ได้แก่ จุด เส้น รูปทรง สี พื้นผิว และการจัดองค์ประกอบทัศนศิลป์ ซึ่งมีหลัก 4 ประการ คือ ความมีเอกภาพ ความสมดุล ความกลมกลืน และความแตกต่าง

7.2. ทฤษฎีแห่งการเคลื่อนไหว หลักการที่มนุษย์ใช้ร่างกายเคลื่อนไหวให้เกิดอิริยาบถต่างๆโดยการออกแบบท่าทางในการแสดง การออกแบบท่าทางจะต้องสามารถสื่อถึงเนื้อหาในการแสดงได้อย่างชัดเจน ซึ่งการออกแบบท่าทางอาจมีการเลียนแบบท่าทางการเคลื่อนไหวในระหว่างที่มีการร้องเพลงนา หรืออาจทำการออกแบบท่าทางในการแสดงเพื่อเล่าขั้นตอนในการร้องเพลงนา โดยเริ่มตั้งแต่การร้องเพลงนาในช่วงเช้า มักจะร้องบทไหว้ ยามสายมักจะร้องบทชมโฉม ยามเที่ยงมักจะร้องบทรัก ยามบ่ายมักจะร้องบทลา เป็นต้น เพื่อเป็นการนำเสนอเรื่อวงราวระหว่างบทร้องที่สอดคล้องกับช่วงเวลา และสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของคนในท้องถิ่น

7.3. ขั้นตอนในการออกแบบนาฏยศิลป์ ประกอบด้วย กำหนดโครงสร้างรวม คือ การร่างภาพให้เห็นองค์ประกอบต่างๆของภาพตามจินตนาการของการประดิษฐ์ชุดระบำ การแบ่งช่วงอารมณ์ การออกแบบในแต่ละช่วงบทร้องเช่น บทชมโฉม บทรัก บทเกี้ยวสาว อาจใช้จำนวนนักแสดงและท่าทางที่แตกต่างกันเพื่อสะท้อนอารมณ์ที่ต้องการในช่วงนั้นๆ รวมทั้งการจัดรูปแบบแถว ทิศทาง การเข้าออก และการเคลื่อนที่ของผู้แสดงแต่ละช่วงบนเวทีเพื่อให้ได้ความหมายตามต้องการและเกิดความสวยงาม เหมาะสม

       ดังนั้น การปรับใช้เพลงนาซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านศิลปะการแสดงเพื่อสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการปรับใช้ผ่านศิลปะการแสดง เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย และตรงกับความต้องการของผู้ชม โดยรูปแบบหรือลักษณะของการแสดงบางส่วนอาจปรับเปลี่ยนไปบ้างตามความเหมาะสม แต่การปรับใช้เพลงนาซึ่งเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านผ่านศิลปะการแสดงก็ยังคงต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เป็นการทำลายตำนานพื้นบ้านและศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ทั้งนี้ยังเป็นการเชื่อมโยงบุคคลในท้องถิ่น และทุกภาคส่วนของการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งผลต่อความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ความรัก ความสามัคคี และความเข้มแข็งของคนในชุมชน และถ้าสามารถนำมาปรับใช้โดยการนำเสนอในรูปแบบของศิลปะการแสดงเพื่อใช้สื่อความหมายทางการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรได้จริง นอกเหนือจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่ แผ่นพับ และโบรชัวร์ต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งอาจทำให้การสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชุมพรมีประสิทธิภาพมากขึ้น ที่จะช่วยให้ปัญหาด้านการสื่อความหมายด้านการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรลดน้อยลง ทำให้ผู้ที่รับชมหรือนักท่องเที่ยวสามารถรับรู้ และเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น และการปรับใช้เพลงนาผ่านศิลปะการแสดง ยังเป็นเครื่องมือสื่อความหมายที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามอันเป็นทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ และเป็นการรักษา สืบทอดการเล่นเพลงนาจังหวัดชุมพรให้กลับมาเป็นศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์ของตนเอง สามารถสร้างความตระหนักให้กับคนรุ่นหลังให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และดึงดูดใจให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวจังหวัดชุมพรเพิ่มมากขึ้น ก่อนที่การเล่นเพลงนาจะสูญหายไปพร้อมกับบุคคลรุ่นสุดท้ายที่ยังคงสืบทอดการเล่นเพลงนาจากบรรพบุรุษ

 

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุวัฒนธรรม. (2542).  พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดชุมพร . จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542.

ภิญโญ จิตต์ธรรม. (2516). เพลงนา เพลงเรือ เพลงบอก และลำตัด. สงขลา : โรงพิมพ์เมืองสงขลา.

พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). ความงามในนาฏยศิลป์. สาขานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สดใส พันธุมโกมล. (2524). ศิลปะการแสดง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2556. จาก : http://www.viewrpr.ob.tc/p1.html.

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2532). การสื่อความหมายเพื่อการเรียนรู้. โรงพิมพ์ วัฒนาพานิช.

สุปรียา สุวรรณรัตน์. (2539). วิเคราะห์เพลงนาจังหวัดชุมพร. การศึกษาตามหลักสูตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาเอกภาษาไทย. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สุรเชษฎ์ เชษฐมาส. (2543). ปรัชญาของการสื่อความหมายธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดชุมพร. (2551). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายวัฒนธรรมและชุมชนในการบริหารจัดการวัฒนธรรม กรณีศึกษา เพลงนา อำเภอสวี จังหวัดชุมพร. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2544). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. ภาควิชานาฏยศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         

ภาษาอังกฤษ

Tilden, F. (1977). Interpreting our heritage. Chapel Hill: University North Carolina Press.

บริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี

บริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี

Local Wisdom of Local Rice in Prachinburi Province

 

ภัทรภร เอื้อรักสกุล1, วันทนี สว่างอารมณ์, Ph.D. 2,นายจรัญ ประจันบาล 3

1อาจารย์ สาขาวิชาชีววิทยา, 2รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาชีววิทยา, 3อาจารย์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Pataraporn Uaraksakul1, Wantanee Sawangarom, Ph.D.2, Jaran Prajanban 3

1Lecturer, Biology Program, E-mail: [email protected]

2 Associate Professor, Biology Program, E-mail: [email protected]

3Lecturer, Microbiology Program, E-mail: [email protected], Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya  Rajabhat University

 

บทคัดย่อ

       การศึกษาภูมิปัญญาของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2557 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาเกี่ยวกับการปลูกข้าวพื้นเมืองในจังหวัดปราจีนบุรี วิธีการศึกษาใช้การสืบค้น การสำรวจพื้นที่เพาะปลูกและการสัมภาษณ์เกษตรกรเพื่อศึกษาบริบทและภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองของจังหวัดปราจีนบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบข้าวพื้นเมืองจำนวน 6 สายพันธุ์ คือพลายงามปราจีนบุรี เหลืองอ่อน เขียวใหญ่ จินตหรา ขาวบ้านนา และเหลืองทอง ทั้งหมดเป็นข้าวเจ้านาปีที่ชาวนาเลือกปลูกอย่างต่อเนื่องมานานจากข้อดีคือ เป็นข้าวขึ้นน้ำ ทนโรค ทนแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อม และมีลักษณะที่เหมาะสมกับพื้นที่ตามธรรมชาติ ปลูกและดูแลง่าย ผลผลิตดี มีตลาดรองรับ ราคารับซื้อมาตรฐาน อีกทั้งชาวนาส่วนใหญ่ปลูกบนพื้นที่ที่ตนเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ต้องเช่าทำกินต้นทุนโดยรวมจึงไม่สูง ขายได้กำไร  ข้าวพลายงามปราจีนบุรี และข้าวเขียวใหญ่ ซึ่งเป็นข้าวขึ้นน้ำได้มากและยืดตัวหนีน้ำได้เร็ว แต่เนื้อข้าวแข็งจึงนิยมส่งอุตสาหกรรมเพื่อแปรรูปทำแป้งเพื่อทำเส้นก๋วยจั๊บ เส้นขนมจีน และเส้นก๋วยเตี๋ยว ส่งขายนอกพื้นที่  ข้าวเหลืองอ่อนเป็นข้าวขึ้นน้ำแต่หนีน้ำได้ไม่ดีเท่าข้าวพลายงามปราจีนบุรี  ข้าวจินตหราเป็นข้าวนิ่ม รสชาติอร่อยคล้ายข้าวหอมมะลิ ที่สำคัญพบชาวนาผู้ปลูกข้าวขาวบ้านนาและข้าวเหลืองทองที่ใช้ภูมิปัญญาในการปลูก ดูแล และเก็บรักษาจนได้สายพันธุ์ที่ไม่กลายเพื่อใช้ปลูกต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 30 ปี  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีที่มีการสืบทอดกันมาได้แก่การทำขวัญข้าว การหว่านสำรวยคือหว่านแห้งให้เมล็ดข้าวรอฝน และหุ่นไล่กา อย่างไรก็ตามจากการปรับตัวของชาวนา เช่น การยกเลิกปลูกข้าวพื้นเมืองที่ไม่เหมาะสมหรือไม่เป็นที่นิยม ประกอบกับที่ปัจจุบันลูกหลานชาวนาส่วนใหญ่ไม่สนใจสานต่ออาชีพทำนา  ทำให้ข้าวพื้นเมืองหลายสายพันธุ์ที่เคยมีการบันทึกสูญหายไปจากพื้นที่

คำสำคัญ (Keywords):   ข้าวพื้นเมือง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Local Rice, Local Wisdom

 

บทนำ

       ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญทั้งต่อการบริโภคภายในประเทศ และส่งออกสู่ตลาดโลก ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีที่ให้ผลผลิตแล้วประมาณ 54 ล้านไร่ และข้าวนาปรัง 9 ล้านไร่ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ยปีละ 23 ล้านตัน และ 6 ล้านตันตามลำดับ พันธุ์ข้าวที่ปลูกมีทั้งพันธุ์ที่ทางราชการส่งเสริมและข้าวพื้นเมือง (กรมการข้าว, 2551)

       ข้าวพื้นเมือง (Local Rice) หมายถึง พันธุ์ข้าวตามธรรมชาติที่กำเนิดจากการเพาะและคัดเลือกพันธุ์ข้าวที่ทนและเหมาะสมกับท้องที่โดยการคัดเลือกในท้องถิ่นเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีที่ปลูกแล้วเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อเพาะปลูกต่อ

       ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Wisdom) หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้ หรือองค์ความรู้ ความเชื่อ ความสามารถของคนในท้องถิ่นหรือชุมชนในเขตจังหวัดปราจีนบุรีที่เกี่ยวข้องกับข้าวพื้นเมืองบางสายพันธุ์ที่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์และการเรียนรู้สืบต่อมากันเป็นระยะเวลายาวนาน มีลักษณะเป็นองค์รวมและมีคุณค่าทางวัฒนธรรมสำหรับการดำรงชีวิต

       พันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญอันดับแรกในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว โดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต หากมีพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ ทั้งข้าวคุณภาพดี ข้าวคุณภาพปานกลาง ข้าวคุณภาพต่ำ และข้าวคุณภาพพิเศษที่ตรงกับความต้องการของตลาดและเพื่อทำผลิตภัณฑ์ พันธุ์ข้าวที่มีความต้านทานต่อโรคแมลงและมีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละท้องถิ่นจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการผลิตข้าวหรือเป็นการลดต้นทุนการผลิตข้าวได้เป็นอย่างดีจากอดีตถึงปัจจุบัน สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ได้ดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวมาอย่างต่อเนื่องจนได้ข้าวพันธุ์รับรอง พันธุ์แนะนำ และพันธุ์ทั่วไป ให้เกษตรกรปลูกในระบบนิเวศน์ต่างๆ ซึ่งมีทั้งพันธุ์ข้าวนาสวน ข้าวไร่ ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวน้ำลึก ข้าวญี่ปุ่น และธัญพืชเมืองหนาว จำนวน 118 พันธุ์ เช่น พันธุ์ข้าวนาสวนไวต่อช่วงแสง 44 พันธุ์ พันธุ์ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง 38 พันธุ์ พันธุ์ข้าวขึ้นน้ำไวต่อช่วงแสง 6 พันธุ์ เป็นต้น พันธุ์ข้าวเหล่านี้มีทั้งชนิดข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มีทั้งพันธุ์ที่ปลูกเฉพาะนาปีและปลูกได้ตลอดปี และมีบางพันธุ์เป็นข้าวหอม พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานต่อโรคและแมลงที่สำคัญ มีคุณภาพการหุงต้มตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาสำคัญ อย่างไรก็ตามงานปรับปรุงพันธุ์ข้าวยังคงต้องดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง เพราะพันธุ์ที่ออกแนะนำแล้วปัจจุบันบางพันธุ์เกษตรกรอาจจะยังคงนิยมปลูกอยู่ แต่บางพันธุ์เกษตรกรอาจเลิกปลูก เนื่องจากมีข้อด้อยบางประการ การที่เกษตรกรนำพันธุ์ข้าวเหล่านั้นไปใช้จึงเป็นไปในลักษณะของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในระยะที่ออกพันธุ์ข้าวนั้นเท่านั้น รวมทั้งบางพันธุ์เมื่อแนะนำให้ปลูกไปในช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วอาจไม่มีความเหมาะสมในระยะเวลาต่อมา เนื่องจากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลง หรือโรคและแมลงศัตรูข้าวมีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องหาพันธุ์ที่มีคุณภาพดีตามความต้องการของตลาดโลก และมีศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกได้ จึงต้องดำเนินงานปรับปรุงพันธุ์โดยไม่มีที่สิ้นสุด (สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, 2551) ซึ่งการพัฒนาเพื่อให้ได้สายพันธุ์ข้าวที่ดี มีประสิทธิภาพ ให้ผลผลิตมากและมีคุณภาพเมล็ดที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีแหล่งพันธุกรรมข้าวที่ดี ซึ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองนับเป็นแหล่งพันธุกรรมที่ดีเนื่องจากมีความหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของไทยที่ผ่านการพัฒนามาเป็นระยะเวลายาวนาน สามารถเจริญเติบโตได้อย่างเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ของประเทศ ทั้งยังมีคุณสมบัติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะเหมาะแก่การอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อเป็นแหล่งพันธุกรรมในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เนื่องจากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองมีบางลักษณะเหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นเป็นระยะเวลายาวนาน (www.brrd.in.th, 2557) จึงนับเป็นสิ่งที่น่าเสียดายอย่างยิ่งหากพันธุ์ข้าวพื้นเมืองสูญพันธุ์ไปโดยไม่มีการเก็บรักษาหรืออนุรักษ์พันธุกรรมไว้

       ดังนั้นนักวิจัยจึงมีความสนใจศึกษาวิจัยเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ข้าวพื้นเมืองอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยต่อไป  โดยในขั้นต้นผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะศึกษาข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นของพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่พบในเขตจังหวัดปราจีนบุรี

 

วิธีดำเนินการวิจัย

       เครื่องมือวิจัย

       แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทและภูมิปัญญาข้าวพื้นเมือง (เสถียร ฉันทะ. 2558) ประกอบด้วยประเด็นคำถาม ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลบริบทชุมชน การอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง การใช้ประโยชน์จากข้าวพันธุ์พื้นเมือง เศรษฐกิจ ภูมิปัญญาด้านการปลูกการดูแลรักษา และวิถีชีวิตชาวนา

       วิธีการวิจัย

       สืบค้น สำรวจ และสอบถามเพื่อศึกษาบริบทและภูมิปัญญาเกี่ยวกับข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี

       การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา(content analysis)

 

ผลการวิจัย

       ผลการลงพื้นที่ศึกษาในช่วงปลายพฤศจิกายน พ.ศ.2557 ถึงต้นธันวาคม พ.ศ.2558 พบพันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ชาวนายังคงเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อเตรียมเพาะปลูกในกลางปี พ.ศ.2558 รวม 6 สายพันธุ์ คือ ข้าวพลายงามปราจีนบุรี ข้าวเหลืองอ่อน ข้าวเขียวใหญ่ ข้าวจินตหรา ข้าวขาวบ้านนา และข้าวเหลืองทอง ส่วนข้าวเหลืองรวย ข้าวขาวตาแห้ง รวมถึงข้าวอีกหลายพันธุ์ที่เคยพบมีการปลูกแต่ปัจจุบันพบว่ามีการเลิกปลูกหรือปลูกน้อยลงเนื่องจากความเหมาะสมต่อสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการคาดการณ์ปัจจัยทางธรรมชาติ เช่นปริมาณน้ำฝน เป็นต้น

       1. ข้าวพลายงามปราจีนบุรี  มีการปลูกในพื้นที่เป็นบริเวณกว้างของอำเภอประจันตคาม เป็นข้าวเจ้านาปี และเป็นข้าวหนัก มีคุณสมบัติการขึ้นน้ำได้มากและเร็ว สามารถยืดตัวหนีน้ำได้ 1.5 – 5 เมตร ไม่ต้องดูแลรักษามาก ทนโรคและแมลง ทนแล้งได้ จึงเหมาะกับพื้นที่ซึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขังสูงในฤดูน้ำหลาก นิยมปลูกแพร่หลายในหลายพื้นที่ของจังหวัดปราจีนบุรี  ชาวนาจะมีเมล็ดพันธุ์ทั้งที่เพาะขยายพันธุ์เอง และซื้อพันธุ์มาจากผู้ค้าพันธุ์ข้าว

       การเก็บรักษาพันธุ์ข้าวกระทำโดยเก็บไว้ในกระสอบป่านวางบนแผ่นไม้ยกสูงจากพื้นดินในโรงเรือนหลังบ้านที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นโรงเรือนที่ไม่อับชื้น แสงแดดไม่มาก โดยผู้วิจัยได้รับพันธุ์ข้าวพลายงามปราจีนบุรีและพันธุ์ข้าวเหลืองอ่อนเพื่อใช้ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ในปี พ.ศ.2558 ชาวนาดังกล่าวได้ตัดสินใจปลูกแต่ข้าวพลายงามปราจีนบุรี ไม่ปลูกข้าวเหลืองอ่อน เนื่องจากการคาดการณ์ระดับน้ำที่อาจสูงซึ่งข้าวเหลืองอ่อนมีคุณสมบัติยืดตัวหนีน้ำไม่ดีเท่าข้าวพลายงามปราจีนบุรี

       ขั้นตอนการปลูกข้าวนี้จะทำการหว่านแบบน้ำตมกล่าวคือ เตรียมเมล็ดด้วยการนำพันธุ์ข้าวห่อด้วยผ้านำไปแช่น้ำหนึ่งคืน จากนั้นนำห่อผ้าไปผึ่งลม 2 วัน โดยไม่ให้ผ้าแห้ง ซึ่งข้าวจะเริ่มงอกตั้งแต่วันที่สอง การเตรียมดินก่อนหว่านควรให้เป็นดินเลนจะดีมาก จากการช่วงกลางพฤษภาคมถึงกลางมิถุนายนในปี พ.ศ.2558 ฝนทิ้งช่วง หรือที่ชาวนาเรียกว่าฝนหลอก เนื่องจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ คือฝนตกมาระยะหนึ่งแต่เมื่อชาวนาหว่านข้าวจนข้าวเริ่มงอก ฝนกลับหายไปจนกระทั่งข้าวที่งอกแห้งตาย กระทบต่อการงอกของข้าวหลังหว่านไปแล้ว จึงต้องสูญเสียต้นทุนการหว่านในครั้งแรก และจำเป็นต้องมีการหว่านแก้เป็นรอบที่ 2 โดยการหว่านครั้งที่ช่วงก่อนพืชมงคลจำนวน 3 ถัง/ ไร่ และ ครั้งที่ 2 หลังพืชมงคลอีก 3 ถัง/ ไร่ ทำให้ต้องเสียต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากข่าวการคาดการณ์สถานการณ์น้ำฝนที่พลาดทำให้มีการงดการปลูกข้าวเหลืองอ่อนซึ่งขึ้นน้ำไม่ดีเมื่อเทียบกับข้าวพลายงามปราจีนบุรี

       2. ข้าวเหลืองอ่อน  มีการปลูกในบางพื้นที่ของอำเภอประจันตคาม เป็นข้าวเจ้า ข้าวนาปี ขึ้นน้ำไม่มาก ชาวนาในเขตจังหวัดปราจีนบุรีปลูกมาแต่ดั้งเดิม ปัจจุบันระดับน้ำสูง แต่ข้าวเหลืองอ่อนไม่หนีน้ำ จึงมีคนปลูกน้อยลงมาก และเนื่องจากสภาพดินฟ้าอากาศไม่เป็นดังที่คาดการณ์ไว้ ในปี 2558 จึงพบว่าไม่มีการปลูกข้าวพันธุ์เหลืองอ่อนในพื้นที่เดิมที่เคยปลูกมา ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากกับที่เกษตรกรอธิบาย ว่าข้าวเหลืองอ่อน สู้แล้งและขึ้นน้ำไม่ดีเท่าข้าวพลายงามปราจีนบุรี ประกอบกับการคาดการณ์สภาวะอากาศของต้นปี พ.ศ.2558 พบว่าอาจมีความไม่แน่นอนของน้ำฝนชาวนาบางส่วนในพื้นที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพันธุ์ข้าวตามสถานการณ์จึงตัดสินใจเลิกปลูกข้าวเหลืองอ่อนเช่นกัน คงเหลือแต่ปลูกข้าวพลายงามปราจีนบุรีเต็มทั้งพื้นที่ ปัจจุบันพบว่าข้าวพื้นเมืองมีจำนวนลดน้อยลงเนื่องจากข้าวพื้นเมืองบางพันธุ์ไม่สามารถทนต่อแมลงศัตรูพืชได้ และปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเพื่อให้ได้ลักษณะของข้าวที่สามารถทนต่อแมลงศัตรูพืชได้ รวมถึงการปรับปรุงให้ได้เมล็ดข้าวที่มีสารอาหารตามที่ผู้บริโภคต้องการ เป็นต้น

       3.ข้าวเขียวใหญ่  เป็นข้าวเจ้า นาปี พบมีการปลูกบนพื้นที่กว้างในหลายอำเภอ เช่น อำเภอกบินทร์บุรี อำเภอประจันตคาม ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ทำนาเป็นอาชีพ ปลูกข้าวพันธุ์นี้มาตั้งแต่ดั้งเดิม ชาวนาในตำบลลาดตะเคียนเริ่มมีการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวเขียวใหญ่โดยเก็บไว้ในส่วนกลาง โดยเริ่มมีการลงทะเบียนเกษตรกรที่ที่ว่าการตำบลลาดตะเคียนเพื่อขึ้นชื่อเป็นเกษตรกรข้าวพื้นเมือง และเริ่มมีโครงการเก็บพันธุ์ข้าวพื้นเมืองชนิดต่างๆเอาไว้ที่เกษตรอำเภอของตำบลลาดตะเคียน  รวมทั้งเริ่มมีการทดลองคัดพันธุ์ข้าวเขียวใหญ่ที่ทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น  ข้อดีของข้าวเขียวใหญ่คือเป็นข้าวขึ้นน้ำ ที่ทนต่อสภาพแห้งแล้ง มีลักษณะทรงกอแบะ  จากการสอบถามชาวนาต่างพื้นที่ได้รับข้อมูลที่ต่างกันคือ บางรายว่าเมล็ดข้าวเขียวใหญ่มีหาง แต่บางรายว่าไม่มีหางด้วยเหตุผลคือ หางนั้นเกิดจากการกลาย(mutation) ซึ่งพันธุ์ที่มีหางนี้ทนต่อสภาพแห้งแล้ง และยากต่อการกำจัดให้หมดจากพื้นที่ปลูก การมีหางนี้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชาวบ้านทำการเพาะปลูกลดน้อยลงเนื่องจากหางของเมล็ดข้าวติดตะแกรงในขั้นตอนการเก็บเกี่ยว  อีกทั้งหากนำไปเป็นอาหารให้ไก่ หางของเมล็ดข้าวอาจติดคอเป็นเหตุให้ไก่ตายได้  อย่างไรก็ตาม พันธุ์ข้าวที่ได้รับจากชาวนาเพื่อนำมาทดลองปลูกในระดับปฏิบัติการนั้นเป็นข้าวเขียวใหญ่ชนิดที่เมล็ดมีหาง มีลักษณะการแตกกอประมาณ 5-6 กอ  ลักษณะของยอดแผ่นใบเป็นลักษณะตก

       การพัฒนาข้าวสายพันธุ์อื่นๆ ที่ทนต่อสภาพแวดล้อม อาจส่งผลให้มีแนวโน้มปลูกข้าวเขียวใหญ่ลดลงเนื่องจากคุณลักษณะเมล็ดข้าวกล้องมีสีน้ำตาลอ่อน และเป็นข้าวที่ค่อนข้างแข็งชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่นิยมนำมารับประทาน ต้องผสมกับข้าวเจ้าชนิดอื่นๆ เพื่อรับประทาน ดังนั้นส่วนใหญ่จะส่งขายเพื่อทำการแปรรูป เช่น ทำเป็นแป้งเพื่อส่งทำเส้นก๋วยจั๊บ  เส้นขนมจีน  เส้นก๋วยเตี๋ยว โดยส่งขายนอกพื้นที่ปลูก

       4.ข้าวจินตหรา  พบมีการปลูกในบางพื้นที่ของอำเภอประจันตคาม เป็นข้าวนิ่มรสชาติอร่อยคล้ายข้าวหอมมะลิ แต่ไม่หอมเท่าข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวอีกพันธุ์หนึ่งที่นิยมรับประทาน แต่ไม่นิยมนำไปทำเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นขนมจีนดังเช่นข้าวอื่นที่ปลูกในพื้นที่ใกล้เคียง แม้ว่ามีปัจจัยต่างๆไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการทำนา ความทนได้ของข้าวต่อสภาพแวดล้อมที่ผันผวนจากเดิม ประกอบกับที่ปัจจุบันมีข้าวสายพันธุ์ใหม่ๆ ที่ได้จากการปรับปรุงพันธุกรรมเข้ามาให้เลือกตามสภาวการณ์อย่างหลากหลาย  อย่างไรก็ตามชาวนาในพื้นที่ศึกษายังคงมีฐานะที่ไม่ลำบากเนื่องจากทำนาบนพื้นที่กรรมสิทธิ์ของตนเองไม่ต้องเช่า  มีรายได้จากพืชที่ปลูกแซมตามคันนาเช่น มันเทศ มันสำปะหลัง กระถินณรงค์ กระถินเทพา รวมทั้งต้นยูคาลิปตัสที่ส่งทำเยื่อกระดาษ  รวมถึงการทำจักรสานเป็นอาชีพเสริมยามว่าง

       ปีพ.ศ.2558 พบมีการปลูกข้าวจินตหราน้อยลง เนื่องจากในแต่ละปีที่ผ่านมาทำการปลุกพันธุ์นี้แบบซ้ำๆ ทำให้ข้าวเกิดการกลาย มีข้าวปน เกิดปัญหาตามมาคือ ข้าวขาดความสมบรูณ์ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดจึงทำให้ข้าวจินตหราราคาถูก ได้ผลผลิตต่ำลง เกษตรกรบางรายจึงหาข้าวสายพันธุ์อื่นมาปลูกทั้งนี้ การปลูกข้าวในเขตพื้นที่นี้ปัจจุบันอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานเกษตรอำเภอ และสำนักงานเกษตรจังหวัด

       5. ข้าวขาวบ้านนา  พบมีการปลูกในพื้นที่ของอำเภอบ้านสร้าง เป็นข้าวเจ้านาปี  ยืดตัวหนีน้ำได้  พบชาวนาที่ปลูกข้าวขาวบ้านนาต่อเนื่องบนพื้นที่เดิมมาตลอด 30 ปี ด้วยพันธุ์ข้าวที่ปลูกและเก็บรักษาพันธุ์เองเพื่อให้ได้พันธุ์ที่บริสุทธิ์ ไม่กลาย ไม่ปน โดยวิธี  การปล่อยให้ข้าวปนที่หลงเหลือในพื้นที่งอกไประยะหนึ่งก่อน แล้วกำจัด จากนั้นจึงหว่านข้าวที่ต้องการปลูก รวมทั้งการเลือกพันธุ์ข้าวที่ดี เก็บพันธุ์เอง ปลูกข้าวพันธุ์เดิมนั้นในพื้นที่เดิม รวมถึงการมีระยะห่างจากข้าวพันธุ์อื่นเพื่อป้องกันการปนของละอองเรณูระหว่างพันธุ์  ดังวิธีที่ชาวนาเรียกว่า “เก็บรวงขาว ทิ้งรวงแดง” หมายถึง การกำจัดข้าวปน ข้าวดัด หญ้ารวงขาว และวัชพืชทิ้งเสมอ และข้าวที่จะเก็บทำพันธุ์ปีต่อไปจะเก็บช่วงท้ายๆของการสีข้าว เพื่อไม่ให้มีข้าวอื่นปน  จากนั้นนำมากองตากแดด 2-3 แดด เพื่อลดความชื้นและกันผุเสีย ใส่ในกระสอบป่าน เก็บในยุ้งโดยมีไม้รองพื้นกันชื้น สามารถใช้หว่านปลูกปีหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องตากแดดอีก โดยเก็บเกี่ยวช่วงต้น ม.ค. และหว่านต้น พ.ค คือช่วงวันพืชมงคล พิธีแรกนาขวัญจะทำเมื่อฝนแรก จะทำการะไถคราดดินแห้ง หว่านแห้ง ไถกลบ เพื่อรอฝนอีกครั้ง จากนั้นจะกักน้ำและคอยคุมประตูน้ำ รวมทั้งคอยสื่อสารกับนายด่านที่ควบคุมการปล่อยน้ำชลประทานเพื่อสำรองน้ำจากเขื่อนขุนด่านประการชลวันต่อวัน เพื่อปรับระดับน้ำที่ปล่อยมาตามเส้นทางชลประทาน  “หน้าดินต้องไม่เป็นหนัง หมายถึง ถ้ารอจนฝนมามากแล้ว หน้าดินจะเรียบเกินไป เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวจะไม่จม และไม่งอกติดดิน รากจะลอย หรืออาจถูกนกกินก่อนจะงอกเป็นต้น  ใส่ปุ๋ยสูตรกลางๆ 2 ครั้งคือ ระยะที่ “ข้าวขึ้นต้น” มีน้ำในนา และระยะที่ “ข้าวกำลังจะท้อง” คือช่วงออกพรรษา มีน้ำในนา สิ่งที่ต้องระวังคือ ระวังเกสรร่วงก่อนติดเมล็ด ในกรณีที่ฝนหรือลมแรงเกินไป  ด้านพิธีกรรมนั้นพบเพียงชาวนาที่อายุค่อนข้างมากที่ยังคงรักษาพิธีกรรมเดิมอยู่ คือ เมื่อเริ่มหว่าน จะจุดธูป 5 ดอก ไหว้เจ้าที่ พร้อมกล่าว “ฝากแม่นางธรณี อย่าให้มดแมงกวน ขอให้หญ้าเน่า ข้าวงาม ถ้าได้เกวียนจะเลี้ยงหัวหมูและเหล้า เลี้ยงเจ้าที่เจ้าทาง  เมื่อแม่โพสพจะแพ้ท้อง จะจุดธูป 5 ดอก พร้อมถวายส้ม กล้วย อ้อย พร้อมตาแหลวปัก ผูกผ้า3สี เมื่อจะเก็บเกี่ยว จะจุดธูป 5 ดอก กล่าวคำขออนุญาตบาปกรรมแม่โพสพ ขอตัดต้นตัดกอ ขออนุญาตแม่นางธรณี และเชิญแม่โพสพเข้าอยู่ในร่มในเงา

       6.ข้าวเหลืองทอง  พบมีการปลูกในพื้นที่อำเภอบ้านสร้าง เป็นข้าวเจ้านาปี ขึ้นน้ำ วิธีการในการเก็บรักษาพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคล้ายคลึงกับชาวนาผู้ปลูกข้าวขาวบ้านนา ซึ่งมีพื้นที่ใกล้เคียงกัน

 

ภูมิปัญญาเกี่ยวกับพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าว

       พิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ พิธีกรรมก่อนการเพาะปลูก พิธีช่วงเพาะปลูก พิธีกรรมเพื่อการบำรุงรักษา และพิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว โดยพิธีกรรมก่อนการเพาะปลูกมีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวง บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือบรรพบุรุษ พิธีช่วงเพาะปลูก มีเป้าหมายเพื่อบวงสรวงบนบาน บอกกล่าว ฝากฝังสิ่งที่เกี่ยวข้องกับข้าวหรือการเพาะปลูกแก่เทพเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอให้การเพาะปลูกข้าวดำเนินไปได้ด้วยดี ปราศจากอันตรายต่างๆ พิธีแรกไถนา พิธีเลี้ยงผีตาแฮก ตกกล้า พิธีแรกดำนา และพิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยวฉลองผลผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตมาก และเพื่อแสดงความอ่อนน้อมกตัญญูต่อข้าว การปลูกข้าวจินตหรานี้จะทำการหว่านแห้ง โดยใส่ปุ๋ยพร้อมกับการหว่านเมล็ดพันธุ์ แต่จะไม่ใส่ปุ๋ยมากเกินไปเพราะจะทำให้ข้าวไม่ออกรวง ของการเก็บเกี่ยวจะเริ่มช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป โดยใช้รถเกี่ยว จากนั้นนำข้าวเก็บไว้ในยุ้งฉาง และทำการทำขวัญข้าว

 

ข้อค้นพบของการวิจัย

       1. ชาวบ้านรับข้าวสายพันธุ์อื่นเข้ามา โดยหวังผลผลิตที่มาก และเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก จึงทำให้ข้าวสายพันธุ์พื้นเมืองค่อยๆ หายไป การอนุรักษ์พันธุ์ข้าวที่ทำมาตลอดคือการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ และคอยกำจัดข้าวปน คัดเลือกเมล็ดพันธุ์ที่สมบรูณ์  เพื่อจำหน่ายแก่ชาวบ้านที่ต้องการเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการสืบทอดการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมือง

       2. ในระดับผู้นำชุมชน หรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจะช่วยนำสายพันธุ์ข้าวเก็บไว้ เพื่อนำไปศึกษาต่อไป

       3. คติ ความเชื่อ ประเพณี หรือพิธีกรรมที่เกี่ยวกับการปลูกข้าวของชาวนาในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรีส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะไม่มีดังเช่นในอดีต เนื่องจากยุคสมัยและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  ประกอบกับมีการจัดระบบชลประทานมิได้อาศัยเพียงน้ำฝนหรือแหล่งน้ำจากธรรมชาติ จึงไม่มียึดติดกับข้าวสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง แต่พร้อมปรับเปลี่ยนการปลูกตามความรู้และข้อแนะนำด้านวิชาการใหม่ๆ ที่มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันเป็นระยะในองค์กรท้องถิ่น มีการรับรู้ข้อมูลทางการเกษตรที่รวดเร็วขึ้น มีการใช้เครื่องจักรในการเพาะปลูกเป็นหลักทั้งจากการซื้อเองหรือการเช่าเครื่องจักร การปลูกข้าวบนพื้นที่ขนาดใหญ่เพื่อส่งขายต่อให้อุตสาหกรรมการทำเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือขนมจีน ยกเว้นในบางพื้นที่

       4. ชาวนาส่วนมากทำนาด้วยตนเองเป็นหลัก ยกเว้นงานบางส่วนจะจ้างคนมาช่วยทำบ้าง มีการใช้เครื่องจักรช่วยในการไถและเก็บเกี่ยว

       5. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชาวนา เช่น นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับราคารับซื้อข้าวซึ่งแตกต่างกันมากในแต่ละยุคการบริหารของภาครัฐ รวมถึงราคาเมล็ดพันธุ์และปุ๋ยเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อชาวนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากรายได้ในแต่ละปีที่ได้จากการทำนาไม่แน่นอน การเกิดภาวะน้ำท่วมในฤดูน้ำหลากที่ป้องกันได้ยากเพราะพื้นที่ทำนาในจังหวัดปราจีนบุรีมีขอบเขตกว้างขวางมาก ในทางกลับกันส่วนที่อยู่นอกเขตชลประทานหรือที่ดอนก็ประสบปัญหาความแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ทำให้ได้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอและรายได้ไม่มั่นคง ดังนั้น ชาวนาจึงมีวิธีการรวมกลุ่มช่วยเหลือ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้คือ ในแต่ละเดือนจะมีการประชุมที่จังหวัด โดยมีตัวแทนจากหมู่บ้าน หมู่บ้านละอย่างน้อย 1 คน เข้าร่วมประชุมเพื่อสื่อสารข้อมูลของแต่ละหมู่บ้านเกี่ยวกับเรื่องราคาปุ๋ย ราคาข้าว ค่าคนงาน เป็นต้น รวมถึงเพื่อรับทราบปัญหาต่างๆ ที่พบเจอในการทำนา

       6. เศรษฐกิจและวิถีชีวิตของเกษตรกร  ผู้ปลูกข้าว ข้าวขาวบ้านนาซึ่งเป็นข้าวขึ้นน้ำมาตลอด 30 ปี บนพื้นที่เดิมนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ดินเหนียว ผลผลิต 50-60 ถึง 80 ถังต่อไร่  หรือ 5 เกวียนต่อ 10 ไร่ ขายได้ราคา 5,000-8,500 บาท ถึง 13,000 บาทต่อเกวียน ขึ้นกับบางปี โดยโรงสีจะนำรถมารอรับซื้อริมคันนาทันทีที่เก็บเกี่ยวผลผลิต จึงไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่เพื่อเก็บข้าวเพื่อรอขาย โดยเก็บพันธุ์ข้าวเพื่อทำพันธุ์ต่อเองทุกปี ยกเว้นบางปีหากต้องซื้อพันธุ์จากเกษตร จะซื้อในราคาประมาณ 200 บาทต่อถัง การ “เก็บรวงขาว ทิ้งรวงแดง” หมายถึง จะคอยกำจัดข้าวปน ข้าวดัด หญ้ารวงขาว และวัชพืชทิ้งเสมอ ข้าวที่จะเก็บทำพันธุ์ปีต่อไป จะเก็บช่วงท้ายๆของการสีข้าว เพื่อไม่ให้มีข้าวปนซึ่งอาจมีข้าวของแปลงอื่นตกค้างที่คอสี  จากนั้นนำมากองตากแดด 2-3 แดด เพื่อลดความชื้นและกันผุเสีย ใส่ในกระสอบป่าน เก็บในยุ้งโดยมีไม้รองพื้นกันชื้น สามารถใช้หว่านปลูกปีหน้าได้โดยไม่จำเป็นต้องตากแดดอีก โดยเก็บเกี่ยวช่วงต้น ม.ค. และหว่านต้น พ.ค คือช่วงวันพืชมงคล ทั้งนี้ ที่ทำเช่นนี้ได้แม้จะทำนาเพียงคนเดียว เนื่องจากทำนาเพียง 10 ไร่ อย่างไรก็ตาม ด้วยวัยที่มากแล้ว เริ่มมีปัญหาสุขภาพ และลูกๆมีอาชีพรับราชการที่จังหวัดอื่น จึงไม่ทราบว่าในอนาคตพื้นที่ที่ติดถนนคอนกรีตนี้จะถูกใช้ทำประโยชน์ใดต่อไป มีเครื่องสูบน้ำเป็นของตนเอง เพื่อใช้สูบน้ำขึ้นนา พิธีแรกนาขวัญเมื่อฝนมา เมื่อหน้าดินแห้ง จะไถคราด หว่านแห้ง ไถกลบ เพื่อรอฝนอีกครั้ง จากนั้นจะกักน้ำ และคอยคุมประตูน้ำ รวมทั้งคอยสื่อสารกับนายด่านที่ควบคุมการปล่อยน้ำชลประทานเพื่อสำรองน้ำจากเขื่อนขุนด่านประการชลวันต่อวัน เพื่อปรับระดับน้ำที่ปล่อยมาตามเส้นทางชลประทาน “หน้าดินต้องไม่เป็นหนัง หมายถึง ถ้ารอจนฝนมามากแล้ว หน้าดินจะเรียบเกินไป เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวจะไม่จม และไม่งอกติดดิน รากจะลอย หรืออาจถูกนกกินก่อนจะงอกเป็นต้น การให้ปุ๋ย จะใช้ปุ๋ยสูตรกลางๆ เช่น 14-14-14 หรือ 15-15-15 ให้ 2 ครั้งคือ ครั้งที่1 ให้ปุ๋ยระยะที่ “ข้าวขึ้นต้น” และมีน้ำในนา ปริมาณ 2ไร่ต่อลูก คือ ปุ๋ย 1 กระสอบต่อพื้นที่ 2 ไร่ ครั้งที่2 ให้ปุ๋ยระยะที่ “ข้าวกำลังจะท้อง” คือช่วงออกพรรษา มีน้ำในนา ปริมาณ 2ไร่ต่อลูก คือ ปุ๋ย 1 กระสอบต่อพื้นที่ 2 ไร่ เช่นกัน การที่ชาวนาไม่นิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจาก งานเยอะ คือ ต้องใช้แรงงานมาก ให้ผลช้า สิ่งที่ต้องระวังคือ ระวังเกสรร่วงก่อนติดเมล็ด ในกรณีที่ฝนหรือลมแรงเกินไป พิธีกรรม ชาวนารุ่นใหม่ไม่ค่อยมีพิธีเหล่านี้แล้ว เหลือแต่ชาวนาที่อายุค่อนข้างมากจึงจะยังคงรักษาพิธีกรรมเดิมอยู่ คือ เมื่อเริ่มหว่าน จะจุดธูป 5 ดอก ไหว้เจ้าที่ พร้อมกล่าว “ฝากแม่นางธรณี อย่าให้มดแมงกวน ขอให้หญ้าเน่า ข้าวงาม ถ้าได้เกวียนจะเลี้ยงหัวหมูและเหล้า เลี้ยงเจ้าที่เจ้าทาง…. ” เมื่อแม่โพสพจะแพ้ท้อง จะจุดธูป 5 ดอก พร้อมถวายส้ม กล้วย อ้อย พร้อมตาแหลวปัก ผูกผ้า 3สี เมื่อจะเก็บเกี่ยว จะจุดธูป 5 ดอก กล่าวคำขออนุญาตบาปกรรมแม่โพสพ ขอตัดต้นตัดกอ ขออนุญาตแม่นางธรณี และเชิญแม่โพสพเข้าอยู่ในร่มในเงา ข้าวที่มีปลูกช่วงพื้นที่รอยต่อระหว่าง จ.ปราจีนบุรี กับ จ.นครนายก เช่น ข้าวขาวหลง ข้าวทองมาเอง ข้าวอยุธยา ข้าวเหลืองใหญ่ ข้าวขาวพวง แม้เป็นข้าวที่ให้ผลผลิตดี แต่ข้าวที่กล่าวนี้เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ใช่ที่ลุ่ม คือค่อนข้างเป็นที่ดอน น้ำไม่มาก ดังนั้นที่ชาวนาในเขตปราจีนบุรีส่วนใหญ่ไม่ปลูกข้าวเหล่านี้ เนื่องจาก ไม่ทนโรค ไม่ทนต่อสิ่งแวดล้อม น้ำขึ้นหรือน้ำท่วมแล้วหนีไม่ทัน

       7. ปัญหาเรื่องข้าวปน มักเกิดจากการใช้เครื่องเกี่ยวรวมกัน จึงปนที่คอเกี่ยวข้าว ที่เช่าต่อกันมา นายชด คำแหง ป้องกันข้าวปนโดยจะให้เครื่องเกี่ยวข้าวเกี่ยวไประยะหนึ่งก่อน เพื่อให้ข้าวอื่นที่ค้างอยู่ในคอเกี่ยวข้าวออกหมดก่อน จึงเก็บเมล็ดข้าวที่จะใช้เป็นข้าวพันธุ์ต่อไป ข้าวปน เกิดได้จากการที่มีข้าวนกหรือข้าวแดงซึ่งหลุดร่วงจากรวงง่าย จึงยากต่อการกำจัดออกจากพื้นที่เพาะปลูก และการปล่อยให้ข้าวปนที่หลงเหลือในพื้นที่งอกไประยะหนึ่งก่อน แล้วกำจัด จากนั้นจึงหว่านข้าวที่ต้องการปลูก รวมทั้งการเลือกพันธุ์ข้าวที่ดี เก็บพันธุ์เอง ปลูกข้าวพันธุ์เดิมนั้นในพื้นที่เดิม รวมถึงการมีระยะห่างจากข้าวพันธุ์อื่นเพื่อป้องกันการปนของละอองเรณูระหว่างพันธุ์

 

สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผล

       โดยสรุปข้อดีของข้าวพื้นเมืองในเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นข้าวนาปีคือ เหมาะสมกับธรรมชาติของพื้นที่เพาะปลูกที่น้ำลึกมาก  ไม่ต้องดูแลมาก วัชพืชมีน้อยมาก เพราะข้าวพื้นเมืองยืดตัวหนีน้ำได้ดีกว่า ต้นเอนบังแสงวัชพืช ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก หรืออาจใส่ครั้งเดียว คือ ใส่พร้อมกับช่วงหว่านข้าว หรือ ช่วงข้าวใกล้ตั้งท้องจะออกรวง  และเนื่องจากศัตรูพืชไม่มาก ไม่มีศัตรูพืชระบาด จึงไม่ต้องฉีดยาฆ่าแมลง ต้นทุนโดยรวมจึงไม่มาก ไม่ว่าปลูกเร็วช้าแต่เมื่อถึงฤดูกาลน้ำถึงแดดดีก็จะออกดอกออกรวงตามเวลาปกติ และเนื่องจากการคมนาคมสะดวก ถนนหนทางพัฒนาดีเข้าถึงพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงการที่ข้าวส่วนใหญ่จะมีโรงสีมารับซื้อทำเป็นแป้งเพื่อส่งทำก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นขนมจีนส่งขายในหลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานครด้วย นับว่ามีตลาดที่ดีรองรับ  บางพื้นที่จึงมีการจองรับซื้อ และในหลายพื้นที่จะมีโรงสีจัดรถมารอรับซื้อถึงริมคันนาเพื่ออำนวยสะดวกต่อชาวนาด้วย จึงไม่ต้องจัดหาพื้นที่ หรือ ยุ้งฉาง รองรับข้าวที่เก็บเกี่ยวรอคนมาซื้อหรือส่งขาย จึงนับว่าเป็นการอำนวยความสะดวก ลดต้นทุนการขนส่ง แม้ราคาขายไม่สูง แต่คำนวณกับต้นทุนซึ่งน้อยแล้ว จึงมีกำไรค่อนข้างดี จากการสัมภาษณ์พบว่าชาวนาส่วนใหญ่เป็นเจ้าของพื้นที่เพาะปลูกไม่ต้องเช่าทำกิน ส่งผลให้ชาวนาในพื้นที่ดังกล่าวมีชีวิตที่มีความสุขดี ชาวนาจึงยังนิยมปลูกข้าวพื้นเมืองอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม พบว่า ลูกหลานชาวนาไม่นิยมทำนาเป็นอาชีพ และเริ่มมีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินจำนวนมากเพื่อปล่อยเช่าทำนา หรือนำพื้นที่ไปทำรายได้อื่น ในอนาคตสถานการณ์การทำนาปลูกข้าวในบางพื้นที่จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากก็น้อย รวมถึงการปรับตัวของชาวนา โดยการยกเลิกปลูกข้าวพื้นเมืองที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นที่นิยมด้วยสาเหตุหลายประการ ทำให้ข้าวพื้นเมืองหลายสายพันธุ์ที่เคยมีผู้ศึกษาและบันทึกไว้ได้มีผู้ปลูกลดลง และหายไปจากพื้นที่ที่เคยพบ

 

กิตติกรรมประกาศ

งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ”ชุดโครงการข้าวพื้นเมือง” ประจำปีงบประมาณ 2558

นายมงคล  งามหาญ อยู่ที่หมู่ 6 ตำบลเกาะลอย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี

นางอารีรัตน์ มาลา ตัวแทนเกษตรหมู่บ้านและเป็นสมาชิกสภาเกษตรของหมู่บ้าน  อยู่ที่ 95 หมู่ 1 ตำบลบ้านหอย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี (พิกัดบ้าน 47P 0775022   UTM 1551321) (พิกัดบ้าน 47P 0775022 UTM 1551321) เป็นชาวนาผู้ปลูกข้าวพันธุ์พลายงามปราจีนบุรี บนพื้นที่กรรมสิทธิ์ตนเองปีละ 80 ไร่ (พิกัดที่นา 47P 0774064 UTM 1550450)

นายมนตรี ซ้อยจำปา บ้านโคกกระท้อน  ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี (GPS :47P  0784117   UTM 1543579)

นายประดิษฐ์ พามั่น  บ้านโคกมะม่วง ตำบลลาดตะเคียน อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี (GPS :47 P 0788107    UTM 1543413) 

นายจำปี เข้าคลอง ผู้ใหญ่บ้านหนองคุ้มเบอร์  หมู่11 .คำโตนด  อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี ศูนย์ดำรงธรรม (ศดธ..) (GPS :47 P0782264 UTM 1565774) ชาวนาผู้ปลูกข้าวจินตหราบนพื้นที่ 40 ไร่

นายฉลาง บัวดอก เจ้าของพื้นที่และผู้ให้พันธุ์ข้าวจินตหราเพื่อการศึกษาวิจัยอยู่ที่ 55 ม.11 ต.คำโตนด อ.ประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี

นายชด คำแหง อยู่ที่ 3/1 หมู่ 10 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี (Location  ±76ft       UTM 47      0739154  , 1553980) ทำนาบนพื้นที่นาของตนเอง 10 ไร่ (Location  ±12tf       UTM  47      P 0739144 ,1553959)

นายวิมล เนื่องจากอวน อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ 10 ตำบลบ้านสร้าง อำเภอบ้านสร้าง  จังหวัดปราจีนบุรี(Location ±18ft UTM 47  P 0739326, 1554225) ชาวนาผู้ปลูกข้าวเหลืองทอง

 

เอกสารอ้างอิง

กรมการข้าว. 2551. ข่าวเศรษฐกิจการเกษตร. แหล่งที่มา : http//human.rru.ac.th/icon/local-infor/rice.doc, 30 ตุลาคม 2551.

รัติกา ยาหอม และคณะ. (2548). ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงหอยแมลงภู่แบบปักหลักในชุมชนปากคลอพันท้ายนรสิงห์. กรุงเทพมหานคร: โปรแกรมวิทยาศาสตร์ทั่วไปมหาวิทยาลัย ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

วิชิต นันทสุวรรณ. (2528).ภูมิปัญญาชาวบ้านในงานพัฒนา วารสารสังคมพัฒนา.(5):6-11.

วีระพงษ์ แสงชูโต. (2544). การวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีพื้นบ้านในทางวิทยาศาสตร์ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธวัช ปุณโณทก. (2531). ภูมิปัญญาชาวบ้านอีสาน : ทัศนะของอาจารย์ปรีชา พิณทอง. ทิศทางหมู่บ้านไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์หมู่บ้าน.

เสถียร ฉันทะ. 2558. เอกสารประกอบการบรรยายการประชุมเชิงปฏิบัติการการสร้างเครื่องมือวิจัย

กลุ่มความหลากหลายทางชีวภาพ”ชุดโครงการข้าวพื้นเมือง”.10-11 ก.พ.2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย