บทที่ 4 การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ (OB ORDER COST ACCOUNTING)

       เนื้อหาของบทนี้ ประกอบด้วย ระบบต้นทุนงานสั่งทำ (JOB ORDER COST SYSTEM) ซึ่งเป็นระบบบัญชีที่ใช้ในการเก็บสะสมต้นทุนการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าแต่ละราย ดังนั้นสินค้าที่ผลิตจะมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกันตามคำสั่งผลิตของลูกค้าและใช้ต้นทุนวัตถุทางตรง (Direct material) แรงงานทางตรง (Direct labour) และค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing overhead) ไม่เท่ากันโดยที่การผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นจะถูกกำหนดลักษณะขนาดและรูปแบบของการผลิตต่อเมื่อได้รับคำสั่งให้ผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆซึ่งเป็นการผลิตที่มีแบบและราคาที่ตกลงกันไว้แน่นอน

       ระบบต้นทุนงานสั่งทำในอุตสาหกรรมทั่วไปได้แก่การผลิตเฟอร์นิเจอร์ การรับเหมาก่อสร้าง การต่อเรือ การผลิตรถยนต์ การผลิตเครื่องบิน ฯลฯ และเนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละรุ่นมีลักษณะไม่เหมือนกัน วัตถุที่ใช้ ความประณีต ความยากง่ายของงานที่ลูกค้าสั่งย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นระบบดังกล่าวจึงพยายามสะสมต้นทุนแยกกันสำหรับงานสั่งทำแต่ละรุ่น โดยการบันทึกสะสมต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นของงานแต่ละงานแยกจากกัน ตั้งแต่เริ่มทำการผลิตจนกระทั่งงานนั้นๆ ผลิตสำเร็จ โดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการผลิต ต้นทุนการผลิต จะถูกเก็บสะสมในแผ่นต้นทุนงานสั่งทำ (Job order cost sheet) ตั้งแต่เริ่มทำการผลิตจนกระทั่งงานสำเร็จดังนั้นการถัวเฉลี่ยเพื่อคำนวณหาต้นทุนต่อหน่วยก็สามารถทำได้โดยการถัวเฉลี่ยต้นทุนระหว่างงานแต่ละรุ่นเมื่อผลิตสำเร็จนอกจากนั้นเนื้อหาในบทนี้ยังกล่าวถึงลักษณะของระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำขั้นตอนและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานสั่งทำแผ่นต้นทุนงานสั่งทำและการสะสมข้อมูลและการบันทึกบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ