ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี (Biodiversity and Local Intellectuality in the Area of Amphoe U-thong, Suphanburi Province)

รหัสโครงการ 2557A13862009

จรัญ ประจันบาล

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

สนับสนุนโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัย

ในระดับอุดมศึกษาและพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

       การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นในพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี การดำเนินการวิจัยใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจ รวบรวมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) พัฒนาฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ และ 3) พัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบริเวณอำเภอ    อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการสำรวจพบว่าพื้นที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี มีสภาพเป็น ป่าเบญจพรรณพบชนิดพันธุ์พืชทั้งหมด 206 ชนิด 157 สกุล 75 วงศ์ โดยวงศ์พันธุ์ไม้ที่พบมากที่สุดคือวงศ์ PAPILIONACEAE และวงศ์ RUBIACEAE พบชนิดพันธุ์พืชทั้งสิ้นวงศ์ละ 13 ชนิด รองลงมาคือวงศ์ CAESALPINIACEAE พบ 11 ชนิด วงศ์ EUPHORBIACEAE พบ 10 ชนิด วงศ์ CAPPARIDACEAE และวงศ์ COMBRETACEAE พบวงศ์ละ 8 ชนิด และพบชนิดพันธุ์พืชที่ถูกจัดเป็นพืชหายากหรือเป็นพืชถิ่นเดียวของประเทศไทยทั้งหมด 13 ชนิด ประกอบด้วย กะเพราหินปูน เทียนกาญจน์ ผีอีค่อย พุดผา ม่วงไตรบุญ มหาพรหม มะกัก มะลิสยาม หุน อรพิม คำมอกหลวง ธนนไชย แสลงพันกระดูก และพบสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด 129 ชนิด ประกอบด้วยกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 9 ชนิด กลุ่มสัตว์เลื้อยคลานจำนวน 10 ชนิด กลุ่มสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 6 ชนิด กลุ่มสัตว์ปีกจำนวน 67 ชนิด และกลุ่มปลาพบจำนวน 37 ชนิด สำหรับผลการสำรวจ ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพพบภูมิปัญญาด้านงานจักสานและงานทอผ้าพื้นเมืองมีจำนวนมากที่สุด โดยข้อมูลทั้งหมดถูกจัดเก็บในฐานข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพที่สามารถสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นสระยายโสม

คำสำคัญ : ความหลากหลายทางชีวภาพ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, อำเภออู่ทอง

Abstract

       The aims of this study are to survey and collect the data of the biodiversity and the local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. The research processes were divided into three procedures; 1) survey and collect the data of biodiversity and the local wisdom, 2) develop and setup the database obtained from surveying, and                3) establish the local museum for learning the biodiversity and local wisdom at Amphoe U-thong, Supanburi province. In this study, we found 206 species of plant, which were the mixed deciduous forest, that further classified into 157 genus and 75 families.               The majorities of plant were PAPILIONACEAE, 13 species, and RUBIACEAE,                         13 species while the minorities of plant were CAESALPINIACEAE, 11 species, EUPHORBIACEAE, 10 species, CAPPARIDACEAE, 8 species, and COMBRETACEAE, 8 species. Remarkably, we also found 13 species of the rare plants or endemic plants, including Plectranthus albicalyx S.Suddee, Impatiens kanburiensis T. Shimizu, Boea sp., Gardenia saxatilis Geddes, Tribounia venosa (Barnett) D.J. Middleton, Mitrephora winitii Craib, Spondias bipinnata Airy Shaw & Forman, Jasminum siamense Craib, Cissus craibii Gagnep., Bauhinia winitii Craib, Gardenia sootepensis Hutch., Buchanania siamensis Miq., Bauhinia similis Craib. The vertebrate animals that discovered in this area consist of  129 species, including 9 species of mammal, 10 species of reptile,               6 species of amphibian, 67 species of poultry, and 37 species of fish. In term of the study of the local wisdom that consistent with the utilization from biodiversity resources, the wisdom of basketry and weaving have found mostly. All data from this study were collected in the biodiversity database, which could be ascertained via the internet network of the Sayaisom local museum.

Key word: Biodiversity, Local Wisdom, Amphoe U-thong

งานประกวดกล้วยไม้สกุลช้าง

ผศ.วิชัย ปทุมชาติพัฒน์

       งานประกวดกล้วยไม้ระดับชาติที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด มีขึ้นปีละหลายครั้ง โดยมีรางวัลใหญ่เป็นถ้วยรางวัลพระราชทานจากพระราชวงศ์ เป็นโอกาสที่ผู้ปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นต่างก็ส่งกล้วยไม้ที่มีอยู่เข้าประกวดจำนวนมาก มีทุกสกุลที่เจ้าภาพกำหนดขึ้น หลายสกุลที่ออกดอกตลอดปีก็จะมีเข้าประกวดทุกงาน แต่เฉพาะกล้วยไม้ที่ออกดอกตามฤดูก็จะมีข้อจำกัด อย่างเช่นกล้วยไม้สกุลช้าง ซึ่งจะออกดอกในช่วงฤดูหนาว จึงจะได้เห็น”ช้าง”ทุกชนิดที่สวยงามหลากหลายรูปแบบสีสันเข้าประกวด ที่นำมาให้ชมในครั้งนี้เป็นการประกวดกล้วยไม้ที่งานเกษตรแฟร์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และงานพฤกษาตะวันออกที่จังหวัดชลบุรี ในช่วงฤดูหนาวปี2560ที่ผ่านมา ทุกภาพที่เห็นมีรางวัลรับรองความงามมาแล้วทั้งสิ้น

กล้วยไม้สกุลช้าง  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis gigantea เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ลำต้นสั้น ใบใหญ่ หนา แผ่ออกสองด้าน ดอกเป็นช่อยาว โค้งลงข้างล่าง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกมีหลายสีตามชนิด มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกปีละครั้งในช่วงกลางถึงปลายฤดูหนาวตามชนิดพันธุ์ สามารถติดฝักเองตามธรรมชาติได้ง่าย จึงเป็นความสะดวกสำหรับนักปรับปรุงพันธุ์ ทำให้เกิดช้างพันธุ์ใหม่ออกมาจำนวนมาก มีหลากหลายสีสัน แต่ถูกแบ่งออกเป็นชนิดตามสีที่ปรากฏ เช่น  กล้วยไม้ช้างกระ กล้วยไม้ช้างชมพู กล้วยไม้ช้างชมพูม่วง กล้วยไม้ช้างแดง กล้วยไม้ช้างเผือก กล้วยไม้ช้างพลาย  กล้วยไม้ช้างมูล กล้วยไม้ช้างส้ม เป็นต้น

จุดเด่นของกล้วยไม้สกุลช้าง กล้วยไม้สกุลช้างมีรูปทรงของต้นใบและดอกได้สัดส่วนสวยงาม ดอกย่อยขนาดเล็กพอเหมาะเรียงตัวอย่างมีระเบียบสวยงามบนช่อดอกที่มีขนาดใกล้เคียงกันทุกช่อ ที่สำคัญคือมีกลิ่นหอมตลบอบอวล ส่งกลิ่นไปทั่วสวน เมื่อกล้วยไม้สกุลช้างออกดอกจึงไม่มีการตัดช่อดอกไปจากต้น ปล่อยให้สวยและส่งกลิ่มหอมบนต้นไปจนกว่าจะโรยราไป

การปลูกกล้วยไม้สกุลช้าง   กล้วยไม้สกุลช้างเป็นกล้วยไม้ที่ดูเหมือนจะปลูกง่ายเพราะเป็นรากอากาศ ไม่ต้องใช้วัสดุปลูกใดเลย แต่ตามความเป็นจริงแล้วพบว่า มีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้กล้วยไม้สกุลช้างไม่เจริญเติบโต มีโรครบกวนมาก เมื่อถึงฤดูก็ไม่ยอมออกดอก ในที่สุดก็เลิกปลูก หากรักการปลูกจริงก็ต้องสังเกตพฤติกรรมของกล้วยไม้ ศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ที่ปลูกเป็นอาชีพ และปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น วิธีปลูกกล้วยไม้สกุลช้างมี 2 วิธี คือ

  1. 1. ปลูกโดยการผูกต้นพันธุ์ติดไว้กับต้นไม้ใหญ่ในช่วงฤดูฝน ด้วยลวดหรือเชือกให้

มั่นคงในระดับ2เมตรขึ้นไป เพื่อให้ได้รับแสงแดดในสภาพเหมือนในป่า แล้วรดด้วยน้ำสะอาดอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1-2 ครั้ง กล้วยไม้ก็จะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนใบและราก  รากจะเกาะติดต้นไม้เป็นแนวยาว ฉีดพ่นปุ๋ยละลายน้ำทุก 10 วัน ในที่สุดก็จะเห็น “ช้างออกดอกให้ชื่นชม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะออกดอกไม่พร้อมกัน

  1. 2. ปลูกในวัสดุที่เป็นท่อนไม้แห้ง หรือในกระถางดินเผาทรงเตี้ยที่เจาะรูรอบกระถาง

แต่ที่นิยมมากคือปลูกในกระเช้าไม้สักรูปสี่เหลี่ยมที่มีขายทั่วไป โดยใช้เชือกหรือลวดมัดติดภาชนะปลูกให้แน่น

       แขวนไว้ในโรงเรือนที่ได้รับแสงแดดรำไร ประมาณ 50 – 60 %  จำนวน 5 ชั่วโมงต่อวัน รดน้ำสะอาด วันละ 1-2 ครั้ง ให้ปุ๋ยสมบูรณ์สูตรเสมอทุก 10 วัน  กล้วยไม้ก็จะเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนใบ และรากก็จะเกาะติดภาชนะปลูก ในที่สุดก็จะช้างออกดอกให้ชื่นชม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะออกดอกไม่พร้อมกัน


กล้วยไม้ช้างกระ


กล้วยไม้ช้างชมพู


กล้วยไม้ช้างชมพูม่วง


กล้วยไม้ช้างแดง


กล้วยไม้ช้างเผือก


กล้วยไม้ช้างพลาย


กล้วยไม้ช้างมูล


กล้วยไม้ช้างส้ม

กล้วยไม้ดินซิมบิเดียมในไต้หวัน

ผศ.วิชัย  ปทุมชาติพัฒน์

       ซิมบิเดียม (Cymbidium) เป็นกล้วยไม้ที่มีทั้งชนิดเกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งช่อดอกจะห้อยลงมา เช่น กะเรกะร่อน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbidium finlaysonianum และซิมบิเดียมชนิดที่ปลูกในดิน ซึ่งได้แก่ซิมบิเดียมที่ดอกใหญ่ช่อดอกตั้งตรง ดังที่มามาให้ชมในที่นี้

       กล้วยไม้ดินซิมบิเดียมชนิดช่อดอกตั้งตรง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cymbidium lowianum  เป็นกล้วยไม้ดินที่ช่อดอกแข็งแรง ดอกมีความสวยงามมาก และ กลีบดอกหนา มันวาวคล้ายกับเคลือบพลาสติก มีหลายสีให้เลือกใช้ ได้แก่  เขียว เหลือง และ ชมพู ซึ่งแต่ละสีก็มีหลายระดับและหลายแบบ  ซิมบิเดียมจึงเป็นชนิดของกล้วยไม้ที่นิยมมากที่สุดในไต้หวัน และซิมบิเดียมก็ติดอันดับ1ใน10 ดอกไม้ยอดนิยมของโลก  ผู้ใช้ประโยชน์ซิมบิเดียมชนิดนี้สามารถนำไปประดับได้ทั้งการตัดดอกไป หรือนำไปประดับพร้อมกระถางดังภาพประกอบ แหล่งผลิตที่สำคัญของโลกคือ  ในอเมริก ออสเตรเลีย และไต้หวัน

       การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ซิมบิเดียมสามารถทำได้ไม่ยาก ที่สำคัญคือชอบอากาศเย็น จึงมักจะพบในโครงการหลวงทางภาคเหนือ หรือจังหวัดที่มีที่สูงที่อากาศเย็นปีละหลายเดือน เช่น เขาค้อ ภูเรือ เป็นต้น ซิมบิเดียมเป็นกล้วยไม้กึ่งดินกึ่งรากอากาศ ต้องใช้วัสดุปลูกที่เป็นอินทรียวัตถุมากต้องระบายอากาศได้ดี  เกษตรกรจึงนิยมใช้กาบมะพร้าวสับหยาบๆผสมกับถ่านไม้สับเป็นชิ้นเล็กๆ ในอัตราส่วน 1:1 ปลูกในกระถางดินเผา ซึ่งจะช่วยเก็บความชื้นไว้ในตัวกระถาง ทำให้รากสัมผัสความชื้นและเย็นตลอดเวลา แล้ววางภาชนะปลูกในเรือนระแนงที่ได้รับแสงแดดประมาณ 50%  รดน้ำสะอาดวันละ 1-2 ครั้ง ใส่ปุ๋ยละลายช้า เช่น ออสโมโคทเดือนละครั้ง และเปลี่ยนวัสดุปลูกใหม่ปีละครั้ง หากจำนวนต้นแน่นกระถางก็แบ่งออกปลูกขยายพันธุ์เพื่อจำหน่ายจ่ายแจกต่อไป

นี่เป็นหลักการปลูกซึ่งดูเหมือนไม่ได้ยากเย็นอะไร เมื่อทำไปแล้วก็พยายามปรับเปลี่ยนไปสักวันคงได้รับความสำเร็จ


สีเขียว

สีชมพู

 

สีเหลือง

Selection and Spread of Artemisinin-Resistant Alleles in Thailand Prior to the Global Artemisinin Resistance Containment Campaign

Eldin Talundzic1,2*, Sheila Akinyi Okoth2, Kanungnit Congpuong3,4, Mateusz M. Plucinski1, Lindsay Morton1, Ira F. Goldman1,
Patrick S. Kachur1, Chansuda Wongsrichanalai5, Wichai Satimai3, John W. Barnwell1, Venkatachalam Udhayakumar1

1 Malaria Branch, Division of Parasitic Diseases and Malaria, Center for Global Health, Centers for Disease Control and Prevention, Atlanta, Georgia, United States of America, 2 Atlanta Research and Education Foundation, Atlanta VA Medical Center, Atlanta, Georgia, United States of America, 3 Bureau of Vector Borne Diseases, Ministry of Public Health, Nonthaburi, Thailand, 4 Bansomdej-chaopraya Rajabhat University, Bangkok, Thailand, 5 Independent Scholar, Bangkok, Thailand * [email protected]

Abstract

The recent emergence of artemisinin resistance in the Greater Mekong Subregion poses a major threat to the global effort to control malaria. Tracking the spread and evolution of artemisinin-resistant parasites is critical in aiding efforts to contain the spread of resistance. A total of 417 patient samples from the year 2007, collected during malaria surveillance studies across ten provinces in Thailand, were genotyped for the candidate Plasmodium falciparum molecular marker of artemisinin resistance K13. Parasite genotypes were examined for K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance, signatures of positive selection, and for evidence of whether artemisinin-resistant alleles arose independently across Thailand. A total of seven K13 mutant alleles were found (N458Y, R539T, E556D, P574L, R575K, C580Y, S621F). Notably, the R575K and S621F mutations have previously not been reported in Thailand. The most prevalent artemisinin resistance-associated K13 mutation, C580Y, carried two distinct haplotype profiles that were separated based on geography, along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders. It appears these two haplotypes may have independent evolutionary origins. In summary, parasites with K13 propeller mutations associated with artemisinin resistance were widely present along the Thai-Cambodia and Thai-Myanmar borders prior to the implementation of the artemisinin resistance containment project in the region.

Prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome virus detection in aborted fetuses, mummified fetuses and stillborn piglets using quantitative polymerase chain reaction

Em-on OLANRATMANEE1), Piya WONGYANIN2), Roongroje THANAWONGNUWECH3) and Padet TUMMARUK4)*

1) Faculty of Veterinary Medicine, Rajamangala University of Technology Tawan-ok, Chonburi 20110, Thailand

2) Department of Medical Technology, Faculty of Science and Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok 10600, Thailand

3) Department of Pathology, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

4) Department of Obstetrics, Gynaecology and Reproduction, Faculty of Veterinary Science, Chulalongkorn University, Bangkok 10330, Thailand

ABSTRACT

       The objective of the present study was to investigate the prevalence of porcine reproductive and respiratory syndrome (PRRS) virus detection in aborted fetuses (n=32), mummified fetuses (n=30) and stillborn piglets (n=27) from 10 swine herds in Thailand using quantitative polymerase chain reaction (qPCR). Pooled organs and umbilical cord from each fetus/piglet were homogenized and subjected to RNA extraction and cDNA synthesis. The qPCR was carried out on the ORF7 of the PRRS viral genome using fluorogenic probes for amplified product detection. The results revealed that 67.4% (60/89) of the specimens contained PRRS virus. The virus was found in 65.6% (21/32) of aborted fetuses, 63.3% (19/30) of mummified fetuses and 74.1% (20/27) of stillborn piglets (P=0.664). Genotype 1, genotype 2 and mixed genotypes of PRRS virus were detected in 19.1% (17/89), 25.8% (23/89) and 22.5% (20/89) of the specimens, respectively (P=0.316). PRRS virus antigen was retrieved from both non-PRRS-vaccinated herds (68.2%, 45/66) and PRRS-vaccinated herds (65.2%, 15/23) (P=0.794). These findings indicated that these specimens are important sources of the PRRS viral load and the viral shedding within the herd. Thus, intensive care on the routine management of dead fetuses and stillborn piglets in PRRS virus-positive herds should be emphasized.

KEY WORDS: mummy, PRRS, qPCR, reproduction, swine

J. Vet. Med. Sci. 77(9): 1071–1077, 2015

ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.

บทคัดย่อ

       เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จัดเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและไม่ถูกต่อต้านจากสังคม ทั้งที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคมากมาย นักศึกษาในมหาวิทยาลัยเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานการดื่มแอลกอฮอล์และมีแนวโน้มสูงขึ้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาความชุก ปัจจัยแวดล้อม และระดับความรุนแรงในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาจากทุกคณะและทุกชั้นปี จำนวน 450 คน พบความชุกของการบริโภคร้อยละ 62.9 โดยเพศชายพบความชุกร้อยละ 74.4 สูงกว่าเพศหญิงซึ่งพบความชุกร้อยละ 56.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value < 0.05) ปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศชายมีค่ามัธยฐานของปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เท่ากับ 42.8 กรัมต่อวัน เพศหญิงเท่ากับ 19.3 กรัมต่อวัน นักศึกษาชายที่มีปริมาณการดื่มจัดอยู่ในระดับที่เสี่ยงรุนแรงมากพบร้อยละ 36.0 ส่วนนักศึกษาหญิงพบร้อยละ 36.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการรับรู้ข้อมูลแหล่งจำหน่ายที่อยู่รอบสถานศึกษาและที่พักอาศัย และมีความเห็นว่าจะมีการบริโภคมากขึ้นในเทศกาลต่างๆ อาทิ ปีใหม่ สงกรานต์ การฉลองวันเกิด กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 67.1 ถูกเพื่อนให้บริโภคในครั้งแรก และมีเหตุผลหลักในการบริโภคคือเพื่อความสนุกสนานและการเข้าสังคม ผลจากการศึกษานี้จะเป็นข้อมูลสำคัญในการหาวิธีการรณรงค์ป้องกันเพื่อลดจำนวนการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามกลุ่มเป้าหมายต่อไป

Abstract

       Alcoholic drink has been categorized as an additive substance. In Thailand, consumption of alcohol is legal and generally socially accepted even though it has many adverse effect to consumers. The consumption in undergraduate student has been reported and tended to increase. The objectives of this study were to examine the prevalence of alcohol consumption, environmental factors and drinking behavior of students in a Rajabhat University, Bangkok. A cross-sectional survey was conducted and self-reported questionnaire was used to collect data. Four hundred and fifty samples were participated. The result indicated that the prevalence of drinking was 62.9%. The prevalence in male (74.4%) was more significant than in female (56.0%) (p value < 0.05). The median values of consumption were 42.8 and 19.3 grams per day in males and females, respectively. The proportion of male classified in a very high risk consumption level was 36.0 percent and the proportion of female was 36.1 percent. Most participants had known that there were many alcohol shops available around the university and their places. The common reasons of drinking were to have fun and to socialize with friends. 67.1 percent of consumers had first drinking experienced because of peer pressure. The number of consumption was increased during celebrating parties such as New Year and birthday. The results from this study would be very useful information to seek the appropriate anti-alcoholic program suited to undergraduate students.

นันทวดี เนียมนุ้ย, มณฑิชา เจนพานิชทรัพย์.ความชุกและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์.2557; 14(1), 178-189.

การตรวจหาเอนไซม์บีตา – แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย และแอมพ์ซี บีตา – แลคทาเมสในเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอี

พจมาน ผู้มีสัตย์, ปิยะรัตน์ จิตรภิรมย์, เกรียงศักดิ์ มีพันธ์

บทคัดย่อ

กลไกสำคัญที่เชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอีดื้อต่อสารต้านจุลชีพ ได้แก่ การสร้างเอนไซม์บีตา – แลคทาเมส ชนิดฤทธิ์ขยายและแอมพ์ซี บีตา – แลคทาเมส การศึกษานี้มี วัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอีที่สร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยายและแอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส ในเชื้อที่แยกได้จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กรุงเทพมหานคร วิธีการศึกษา: เชื้อที่ศึกษาแยกได้จากสิ่งส่งตรวจ จำนวน 400 ไอโซเลท นำมาตรวจหาการสร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย โดยวิธี double disc synergy test และตรวจหาเอนไซม์แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส โดยวิธี AmpC disc test ผลการศึกษา: พบเชื้อที่สร้างเอนไซม์บีตา-แลคทาเมส ชนิดฤทธิ์ขยาย จำนวน 170 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 42.5 เชื้อที่สร้างเอนไซม์แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส จำนวน 21 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 5.3  พบเชื้อที่สร้างทั้งเอนไซม์บีตา-แลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยายและ แอมพ์ซี บีตา-แลคทาเมส จำนวน 7 ไอโซเลท คิดเป็นร้อยละ 1.8

Detection of Extended-Spectrum beta-Lactamase and AmpC beta-Lactamase in Enterobacteriaceae

Abstract

The crucial antibiotic resistant mechanism of Enterobacteriaceae is the production of  Extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) and AmpC beta-lactamase. The aimed of this study was to investigate ESBL and AmpC beta-lactamase production in Enterobacteriaceae isolated from patients in Vajira Hospital, Bangkok. Method:  A total of 400 clinical isolates of Enterobacteriaceae were examined for ESBL production by double disc synergy test and AmpC-producing strains were detected by AmpC disc test. Results: ESBL and AmpC – producing Enterobacteriaceae were 170 isolates (42.5%) and 21 isolates (5.3%), respectively. This study also found 7 isolates (1.8%) produced both ESBL and AmpC beta-lactamase.

**************************************************************************************************

พจมาน ผู้มีสัตย์, ปิยะรัตน์ จิตรภิรมย์ และ เกรียงศักดิ์ มีพันธ์. (2558). การตรวจหาเอนไซม์บีตาแลคทาเมสชนิดฤทธิ์ขยาย และแอมพ์ซี บีตาแลคทาเมสในเชื้อกลุ่มเอนเทอโรแบคเทอริซีอี. เวชสารแพทย์ทหารบก, 68(4), 165 – 171.

การจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อ Vibrio parahaemolyticus โดยวิธีการศึกษา ทางฟีโนไทป์และจีโนไทป์

พรทิพย์ พึ่งม่วง  พจมาน ผู้มีสัตย์ สุทัศน์ บุญยงค์

วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ปีที่ 6 ฉบับที่ 11 มกราคม – มิถุนายน 2557

บทคัดย่อ

       Vibrio parahaemolyticus เป็นสาเหตุสำคัญของโรคอาหารทะเลเป็นพิษ การจำแนกสายพันธุ์ ของเชื้อจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางด้านการศึกษาระบาดวิทยา รวมถึงการควบคุมและป้องกันการ แพร่กระจายของเชื้อ การวิจัยครั้งนี้ศึกษาการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อโดยวิธีการศึกษาแบบแผนการดื้อยา (antibiotyping), arbitrarily-primed polymerase chain reaction (AP-PCR) และ enterobacterial repetitive intergenic consensus sequence-polymerase chain reaction (ERIC-PCR) พบว่าเชื้อที่แยก ได้จากผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 70 ไอโซเลท จำแนกโดยวิธี antibiotyping, AP-PCR และ ERIC-PCR ได้เป็น 1, 16 และ 24 สายพันธุ์ ตามลำดับ จากการประเมินความสามารถในการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อพบว่า antibiotyping มีความสามารถในการจำแนกต่ำที่สุด (discriminatory index เท่ากับ 0) ซึ่งไม่สามารถ จำแนกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของเชื้อได้ ขณะที่ ERIC-PCR เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูง เมื่อเปรียบเทียบกับ AP-PCR โดยมีค่า discriminatory index เท่ากับ 0.932 และ 0.901 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามวิธี AP-PCR มีข้อดีคือ PCR product ที่ได้มีจำนวนแถบน้อยกว่า ในทางปฏิบัติทำให้ง่ายต่อ การแปลผล และหากจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อโดยการแปลผลร่วมกันระหว่าง AP-PCR และ ERIC-PCR พบว่าประสิทธิภาพการจำแนกสายพันธุ์ของเชื้อสูงขึ้น (discriminatory index เท่ากับ 0.986) โดยสามารถจำแนกเชื้อได้ทั้งสิ้น 48 สายพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการจำแนกสายพันธุ์โดยใช้ เทคนิค PCR พื้นฐาน เช่น AP-PCR, ERIC-PCR และการใช้ AP-PCR ร่วมกับ ERIC-PCR เป็นวิธีที่ มีศักยภาพสูง เหมาะสำหรับนำมาใช้ประโยชน์ในงานทางด้านระบาดวิทยาได้ดี

Abstract

       Vibrio parahaemolyticus is most commonly associated with seafood-borne gastroenteritis. Several typing methods have been developed for epidemiologic investigations or controlling the spread of this pathogen. In this study, a total of 70 clinical isolates of V. parahaemolyticus were typed by antibiotyping and the PCR-based typing methods: an arbitrarily-primed polymerase chain reaction (AP-PCR) and the enterobacterial repetitive intergenic consensus sequence-polymerase chain reaction (ERIC-PCR). The seventy isolates were classified into 1, 16 and 24 types, with discriminatory indexes of 0.000, 0.901 and 0.932, by antibiotyping, AP-PCR and ERIC-PCR, respectively. The discriminatory power of antibiotyping was lowest and all clinical isolates tested were indistinguishable by this method. ERIC-PCR was preferable to AP-PCR because of the higher discriminatory power. However, AP-PCR might be a practical method because it generated fewer amplification bands and patterns than ERIC-PCR. The combination of AP-PCR and ERIC-PCR analysis allowed us to classify the isolates into 48 types with the highest discriminatory index of 0.986. These data demonstrate that AP-PCR and ERIC-PCR are useful for strain typing of V. parahaemolyticus and the combination of these two techniques is recommended for epidemiologic investigations.

หลักการบัญชีเบื้องต้น (PRINCIPLES OF ACCOUNTING)

หลักการบัญชีเบื้องต้น (PRINCIPLES OF ACCOUNTING)

       ตำรา เรื่อง “หลักการบัญชีเบื้องต้นเล่มนี้  เรียบเรียงขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา หลักการบัญชีเบื้องต้น สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาและบุคคลทั่วไปที่สนใจด้านการบัญชีเบื้องต้น เนื้อหาในหนังสือประกอบด้วย 9 บท เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี งบการเงิน หลักการบัญชีและการวิเคราะห์รายการค้า การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป การบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภท งบทดลอง รายการปรับปรุง กระดาษทำการ แลการปิดบัญชีในเนื้อหาแต่ละบทจะอธิบายเนื้อหาและมีการยกตัวอย่างประกอบให้เข้าใจง่าย พร้อมทั้งมีแบบฝึกหัดเสริมในบทเรียนและท้ายบทเรียน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่านและสามารถนำความรู้ในหนังสือเล่มนี้ ไปใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ มีรายละเอียด ดังนี้

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี ประกอบด้วย ความหมาย วัตถุประสงค์ ประโยชน์และผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี ประเภท และรูปแบบของธุรกิจ ประวัติ และแม่บทการบัญชี รวมทั้ง พ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 เป็นต้น

บทที่ 2 งบการเงิน ประกอบด้วย ความหมายงบการเงิน งบดุล งบกำไรขาดทุน งบแสดงเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ งบกระแสเงินสด  องค์ประกอบของงบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายของธุรกิจในการบริการ เป็นต้น

บทที่ 3 รายการค้าและการวิเคราะห์รายการค้า ประกอบด้วย ความหมาย หลักการบันทึกบัญชีเบื้องต้น บัญชีรูปตัวที การบันทึกบัญชีและหลักการบันทึกบัญชีคู่ฯ  รวมทั้งประเภทของการบันทึกบัญชีคู่ เป็นต้น

บทที่ 4  การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป ประกอบด้วย ผังบัญชี การกำหนดเลขที่บัญชี สมุดรายวันทั่วไป รายการบัญชีที่บันทึกในสมุดรายวันทั่วไป รายการเปิดบัญชีและรายการค้าปกติ เป็นต้น

บทที่ 5 การบันทึกรายการในบัญชีแยกประเภท ประกอบด้วย ความหมาย ประเภทของสมุดบัญชีแยกประเภท การผ่านรายการบัญชี  รวมทั้งการรายการในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป และรายการค้าปกติ เป็นต้น

บทที่ 6 งบทดลอง  ประกอบด้วย ความหมาย ประโยชน์ แบบฟอร์ม และขั้นตอนจัดทำงบทดลอง รวมทั้งยอดดุลคงเหลือของบัญชีแยกประเภทและตัวอย่าง เป็นต้น

บทที่ 7 รายการปรับปรุงบัญชี ประกอบด้วย เกณฑ์การบันทึกบัญชี ความหมายของรายการปรับปรุง ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์  วัสดุสิ้นเปลืองที่ใช้ไป หนี้สงสัยจะสูญ เป็นต้น

บทที่ 8 กระดาษทำการ  ประกอบด้วย ชนิดของกระดาษทำการ ขั้นตอนในการทำกระดาษทำการ ตัวอย่างและวิธีคำนวณรายการปรับปรุง รวมทั้งตัวอย่างงบฯ เป็นต้น

บทที่ 9  การปิดบัญชี  ประกอบด้วย ความหมาย ขั้นตอนในการปิดบัญชี การบันทึกรายการปิดบัญชีสมุดรายวันทั่วไป การปิดบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ(ทุน) งบทดลองหลังปิดบัญชี วงจรบัญชี รวมทั้งสรุปขั้นตอนการทำบัญชี เป็นต้น 


ผู้แต่ง

  อาจารย์วรางคนางค์ สกุลวงศ์ ลี หยาน อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา      สิงหาคม 2558     มี 236 หน้า      ราคาเล่มละ        บาท       

สนใจติดต่อ โทร.084-8603919    02-4737000 ต่อ 4107

ปัจจุบัน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

การศึกษา

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การบัญชี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บัญชีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Certificate of English, Proficiency in English Language (PEL). Mauritius.

Certificate of French, Basic in French Language, Mauritius.

ประสบการณ์

อาจารย์ประจำคณะการบัญชี สาขาการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน

Management Accountant, Mauritours, Mauritius


การสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ : การสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด

ชื่อผู้เขียน นางสาวประทินพร  วงษ์วรรณ์

ชื่อปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาวิชา :   เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ปีการศึกษา :   2554

คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

       1. รองศาสตราจารย์ ดร. ศักดิ์เรศ  ประกอบผล ประธานกรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร. อำนวย  เดชชัยศรี กรรมการ

       การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี. แมทเทรสจำกัด ที่มีประสิทธิภาพและเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นพนักงานขายของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด จำนวน 30 คน

       เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม(มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ0.67)ดำเนินการทดลองโดยใช้กลุ่มทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เมื่ออบรมจบให้ผู้รับการอบรมทำแบบทดสอบหลังอบรม  แล้วจึงนำผลการทดลองไปวิเคราะห์ต่อไป

       ผลการศึกษาวิจัยปรากฏว่าชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83/81 และคะแนนหลังจากการฝึกอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01

       โดยสรุป การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ทำให้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องระบบขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการฝึกอบรมได้เป็นอย่างดีจึงควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ในหลายๆรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการฝึกอบรมในชุดฝึกอบรมต่างๆให้มากยิ่งขึ้นในอนาคตต่อไป

บทนำ

       ถ้าเปรียบองค์กรหรือบริษัทหนึ่งๆ เป็นเสมือนเครื่องชิ้นใหญ่ พนักงานทุกคนในบริษัทก็คงเปรียบเสมือนกลไกทุกๆชิ้น ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์กร หรือบริษัทนั้นๆ กลไกแต่ละชิ้นส่วนมีส่วนทำให้เครื่องจักรนั้นทำงานได้ราบรื่นมีประสิทธิภาพหากกลไกชิ้นใดขัดข้องมีปัญหาการทำงานของเครื่องจักรก็จะมีปัญหาหยุดชะงักได้เช่นเดียวกับบริษัทหากพนักงานคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีปัญหาที่ไม่เข้าใจในบริษัทแล้วนั้นย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาขึ้นกับการทำงานเช่นไม่มีความสุขที่จะทำงานซึ่งจะทำให้ทำงานได้ไม่เต็มที่ไม่รู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทไม่รักในองค์กร ขาดความรู้ ทักษะ และเจตคติอันเหมาะสมในการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เครือวัลย์ ลิ่มอภิชาต. (2531:1) ได้กล่าวไว้ว่าหนทางหนึ่งที่จะแก้ไขข้อบกพร่องในการทำงานให้มีประสิทธิภาพคือ การฝึกอบรม พัฒนาบุคคล

       เสนาะ ติเยาว์และคณะ. (2534:108-109) ได้สรุปถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมคือ ทำให้ผลผลิตในการทำงานสูงขึ้นสามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานเพิ่มขวัญของพนักงานและทำให้พนักงานมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรซึ่งเป็นประโยชน์ต่อพนักงานทำให้ได้รับความรู้ความสามารถจากการฝึกอบรมด้วย

       ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ.(2539:1)ได้กล่าวว่าความสำเร็จในการบริหารงานของหน่วยงานของรัฐและเอกชนขึ้นอยู่กับความมีคุณภาพและคุณธรรมของคนในสำนักงาน ดังนั้นคนจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการบริหารในปัจจุบันหน่วยงานของรัฐและเอกชนจึงได้ให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์หรือ คนนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานในหน่วยงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และในการพัฒนาคนนั้นมีหลายวิธี แต่วิธีการที่ได้รับความนิยมสูงสุดวิธีหนึ่งรองจากการให้การศึกษาได้แก่การฝึกอบรม เพราะการฝึกอบรมเป็นกระบวนการบริหารงานบุคคลอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยให้องค์กรเพิ่มพูนประสิทธิภาพและผลสำเร็จในการดำเนินงาน นอกจากนี้การฝึกอบรมยังเป็นวิธีหนึ่งในการพัฒนาบุคคลซึ่งมีวิธีการเฉพาะของตนเอง เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539:7) ซึ่งสอดคล้องกับ เสาวลักษณ์ สุขวิรัช. (2536: 4) ได้กล่าวไว้ว่า ในการพัฒนาบุคคลในองค์กรไม่ว่าจะโดยแนวทางการพัฒนาการจัดการหรือการพัฒนาองค์กรก็ตามได้มีการนำการฝึกอบรมมาเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการพัฒนา

       เพราะการฝึกอบรมนั้นมีลักษณะเน้นเฉพาะ (Specific) และเห็นผลในระยะสั้น ซึ่งสามารถรับใช้องค์กรได้อย่างดี เพราะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด รวมทั้งการใช้เวลาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดการฝึกกอบรมควรจะกระทำควบคู่ไปกับการทำงานของบุคคลซึ่งถือเป็นเครื่องมือในการบริหารงานอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคุณภาพของบุคคล ในหน่วยงานหลายแห่งได้ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมถึงกับตั้งหน่วยฝึกอบรมขึ้นโดยเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ฝึกอบรมให้แก่คนในองค์กร และมีแนวโน้มว่าการฝึกอบรมจะพัฒนาอีกต่อไปเรื่อยๆ เพื่อเป็นวิถีทางหนึ่งในการพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถที่จะปฏิบัติงานในปัจจุบันได้ อีกทั้งเป็นการเตรียมพร้อมเพื่องานในอนาคตอีกด้วย เริงลักษณ์ โรจนพันธ์. (2539:3)

       ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันรวมทั้งนำมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบของสื่อการศึกษาประเภทต่างๆโดยเป็นตัวการในการนำความรู้ ความเข้าใจไปสู่ผู้รับการอบรมและผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนที่ใช้สื่อมาสอนประกอบมีความหมายมากขึ้นเพราะเป็นสื่อการสอนช่วยจัดประสบการณ์ ให้แก่ผู้เรียนและผู้เข้าฝึกอบรมได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง และช่วยเพิ่มพูนความเข้าใจในสิ่งที่เรียนไปแล้ว ทั้งนี้เพราะสื่อคือตัวกลางตัวที่จะนำสารจากผู้ส่งไปยังผู้รับได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด นิพนธ์ สุขปรีดี. (2537: 23)

       พิชัย  ทองดีเลิศ. (2547: 3) ได้กล่าวไว้ว่าในการฝึกอบรมมนุษย์พยายามคิดค้นหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้การฝึกอบรมบรรลุเป้าหมายมากที่สุด แต่ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นเสมอ ที่สำคัญก็คือ การบรรยายถึงวัตถุสิ่งของหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมด้วยคำพูดที่เป็นนามธรรม วิทยากรหรือนักฝึกอบรมมักใช้การพูดการบรรยายมากกว่าวิธีอื่นการที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่สามารถได้เห็นภาพสิ่งที่ได้เห็น ไม่ได้ยินเสียงตามความเป็นจริง ไม่ได้เห็นสีตามธรรมชาติ หรือไม่เห็นการทำงานหรือการเคลื่อนไหวของสิ่งที่กำลังพูดถึง ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมแปลความหมายจากสิ่งที่ได้รับฟังแตกต่างกันออกไปตามความเข้าใจของแต่ละคนอุปสรรคเหล่านี้ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องคิดค้นวิธีการและหาทางพิชิตอุปสรรคดังกล่าว ด้วยเครื่องมือและวิธีการใหม่ๆที่จะช่วยให้การบรรยายมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นสร้างความเข้าใจในสิ่งที่พูดถึงได้ตรงกัน ได้เห็นภาพ สี ที่เหมือนของจริง ขนาดการทำงาน การเคลื่อนไหว และการได้ยินเช่นเดียวกับ กิดานันท์ มลิทอง. (2536:186) ซึ่งกล่าวไว้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นสื่อการสอนที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงดั้งนั้นจึงมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการฝึกอบรมเพราะทำไห้เกิดกาปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เข้ารับการอบรมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นอกจากนี้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมยังมีความสามารถตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เข้ารับการอบรมป้อนเข้าไปทันทีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมจึงเริ่มกว้างขวางและแพร่หลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานทางราชการ รัฐวิสาหกิจหรือองค์กรธุรกิจเอกชนต่างๆ ซึ่งได้ให้ความสนใจและนำคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม พนักงานในหน่วยงานของตนเอง ทั้งนี้ก็เพื่อพัฒนาบุคลากรที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพแก่กิจการและเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะทำให้บุคลากรมีคุณภาพและใฝ่หาความรู้ได้ด้วยตนเองสำหรับสาเหตุนี้คอมพิวเตอร์จึงเป็นที่สนใจและนำมาใช้กันมากในปัจจุบันก็เนื่องจากศักยภาพของคอมพิวเตอร์ที่เหนือกว่าสื่อประเภทอื่นความจริงในปัจจุบันก็มีสื่อหลายหลายชนิดที่สามารถให้ผลกรเรียนรู้ที่ดีเช่น สิ่งพิมพ์ สไลด์ เทปเสียง โทรทัศน์หรือวีดิทัศน์ ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว มีสีสันเหมือนจริง สามารถทำเทคนิคพิเศษได้มากมายและยังมีเสียงประกอบด้วยแต่ข้อเด่นของคอมพิวเตอร์ที่เหนือสิ่งอื่นๆ ก็คือ การที่ผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับบทเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งการเรียนที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ได้มากเท่าไรเป็นที่เชื่อกันว่าจะช่วยให้บทเรียนนั้นสามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเท่านั้น และก่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นเท่านั้น

       พรเทพ  เมืองแมน.( 2544: 17) ในการสร้างคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรม Computer Based Training(CBT) นอกจากโปรแกรมต่างๆ ที่จะเสริมให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแล้วยังมีคำสั่งต่างๆ อีกมากที่เป็นส่วนประกอบ

       แต่การสร้างภาพและตัวอักษรย่อมจะมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งทุกๆส่วนถ้าได้รับการพัฒนาแล้วก็สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบสอนเสริม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเลือกศึกษาจากเนื้อหาและทำแบบฝึกหัดได้ตามความต้องการ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น ทั้งยังจะได้รับความเพลิดเพลินจากเนื้อหาและภาพประกอบที่ได้นำเสนอและในบทเรียนผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถศึกษาจากจอภาพได้นาน จนกว่าจะตอบสนองตามที่ได้กำหนดไว้ อาทิเช่นกดแป้นใดแป้นหนึ่งหรือผู้สร้างชุดฝึกอบรมอาจกำหนดระยะเวลาในการแสดงภาพแต่ละภาพให้แตกต่างกันได้หรือในรูปแบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมแบบทดสอบก็ยังเป็นอีกบทเรียนที่จะสามารถเสริมความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้เข้ารับอบรมให้ได้รับความก้าวหน้าของตนเองโดยดูได้จากผลรวมของคะแนนที่ได้อีกด้วย

       ทัศนีย์ ชื่นบาน. (2540: 31)ดังนั้น ในสภาวการณ์เช่นนี้การฝึกอบรมจึงทวีความสำคัญและมีบทบาทมากขึ้นในการพัฒนาประสิทธิภาพของพนักงานขายประจำห้างสรรพสินค้า และตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศในการให้ข้อมูลด้านการขายกับลูกค้า ซึ่งวารินทร์ สินสูงสุด และวันทิพย์ สินสูงสุด. (2548: 9) ได้ให้ความสำคัญกับลูกค้าดังวลีที่ว่า ลูกค้าคือพระเจ้าดังนั้นเป้าประสงค์ของธุรกิจก็คือ สร้างสรรค์และรักษาลูกค้าเพราะธุรกิจที่ประสบผลสำเร็จจะต้องทำการเอื้ออำนวยนั้นวางไว้ตรงการบริการที่ดี ธุรกิจที่ดีต้องมีสินค้าดี และที่ยิ่งกว่านั้นคือการบริการด้านการขายที่ดี ด้วยบริการด้านการขายที่ดีธุรกิจสามารถพัฒนาให้มีศักยภาพสูงสุด

       เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของพนักงานฝ่ายขาย ก่อนการลงปฎิบัติงานในพื้นที่ขาย และเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการฝึกอบรม ตลอดจนการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายขาย ดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยได้พิจารณาถึงความสำคัญในการเลือกวิธีฝึกอบรม จึงมีความสนใจที่จะศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการสร้างชุดฝึกอบรมเรื่อง ประวัติความเป็นมา โครงสร้างการบริหาร ลำดับการบังคับบัญชา ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายขาย และแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรสจำกัด เป็นชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ Computer Based Trainingเพื่อนำเสนอแทนการฉายสไลด์แบบเดิมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ในการสร้างสรรค์สื่อการฝึกอบรมที่ใหม่ ทันสมัย สะดวก สามารถแก้ไขปรับปรุง และเก็บรักษาได้ง่ายพร้อมทั้งปรับปรุง การนำเสนอเรื่องประวัติความเป็นมา ระเบียบข้อบังคับในการปฏิบัติงานสำหรับพนักงานฝ่ายขาย และแนะนำผลิตภัณฑ์ของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด ให้ทันเหตุการณ์ในปัจจุบันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นและนำชุดฝึกอบรมที่ได้พัฒนาขึ้นไปใช้อบรมพนักงานฝ่ายขายของบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด พร้อมทั้งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นแนวทางในการพัฒนาชุดฝึกอบรมในหลักสูตรการฝึกอบรมอื่นๆ ต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

       1.เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด80/80
       2.เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรมและหลังการอบรมของพนักงานฝ่ายขาย ที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

ขอบเขตของการวิจัย

       การวิจัยครั้งนี้เป็นทดลองหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรม เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

       1.ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

            1.1 ประชากร(Population)ในการวิจัยนี้ครั้งนี้คือ พนักงานฝ่ายขาย ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด ซึ่งเข้าทำงานเดือนระหว่างสิงหาคมธันวาคม2554 จำนวน60คน
            1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่พนักงานฝ่ายขาย ซึ่งเป็นพนักงานระดับปฏิบัติการของ บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 30 คน

       2. ตัวแปรที่ศึกษา

            2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การอบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัท ซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด
            2.2 ตัวแปรตาม
                  2.2.1.ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด
                  2.2.2.ผลสัมฤทธิ์ก่อนอบรมและหลังอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี. แมทเทรส จำกัด

       3.ระยะเวลาในการวิจัย

       ดำเนินการวิจัยภาคสนามตั้งแต่เดือน สิงหาคมธันวาคม 2554 ณ บริษัท ซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

สมมุติฐานของการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานการวิจัยไว้ดังนี้

              1.ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด มีประสิทธิภาพและความสามารถในการอบรมพนักงานฝ่ายขาย ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80
              2.
คะแนนหลังการอบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ สูงกว่าคะแนนก่อนการอบรม

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัย

       ผู้วิจัยได้รับประโยชน์จากการวิจัยครั้งนี้ คือ

       1. ได้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด สำหรับพนักงานฝ่ายขาย ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
       2.ผลการวิจัยทำให้ทราบว่า จะสามารถใช้ชุดฝึกอบรมได้บ่อยครั้ง โดยไม่จำเป็นต้องรอพนักงาน
       3.ลดภาระการเตรียมการในการอบรมช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนผู้ให้การอบรมและประหยัดเวลาในการอบรม
       4.ประหยัดงบประมาณในด้านการอบรมไม่ว่าจะเป็นการจ้างบุคลากรและการจัดอบรม เพราะพนักงานสามารถศึกษาจากชุดฝึกอบรมได้ด้วยตนเอง
       5.เป็นแนวทางในการพัฒนาชุดฝึกอบรมของหลักสูตรอื่นๆซึ่งเป็นการขยายงานด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

       1.ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ Computer Based Training เรื่องระบบการขายเบื้องต้น  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด
2.
แบบทดสอบผลความก้าวหน้าในการฝึกอบรม(แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของการฝึกอบรม)
       3. แบบประเมินคุณภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

       สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

       การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้สถิติในการวิจัยดังนี้

       1.  สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)

       2.  สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของแบบทดสอบ

          2.1  หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Validity) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเอบรม โดยใช้สูตรค่าเฉลี่ยดัชนีความสอดคล้อง IOC ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2535:60)
2.2  การหาค่าความยาก (Difficulty) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 84)
2.3  หาค่าอำนาจจำแนก (Discrimination) ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม โดยใช้สูตรดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด 2543 : 81)
2.4  การวิเคราะห์หาความเชื่อมั่น (Reliability)  ของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์โดยใช้สูตร KR-20 ของ คูเดอร์-ริชาร์ดสัน (Kuder – Richardson) (บุญชม ศรีสะอาด 2543 : 85-86)

       3.  สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานของคะแนนเฉลี่ยก่อนอบรมและหลังอบรม ใช้สูตร t-test (Dependent Samples) (บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 112)

       4.  การหาประสิทธิภาพของบทุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ตามเกณฑ์ 80/80 โดยใช้สูตร  E1/E2 ใช้สถิติ(มนต์ชัย  เทียนทอง.2543 : 225)

 

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

       ผลการวิเคราะห์หาคุณภาพชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ 

คุณภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด พบว่าภาพรวมคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี (x =4.13) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า เนื้อหามีความสอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้   ความถูกต้องของเนื้อหา   ความเหมาะสมของสีตัวอักษร และสีกราฟิก  อยู่ในระดับดีมาก  ส่วนข้ออื่นๆ อยู่ในระดับดี จากผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านเนื้อหาและด้านการผลิตสื่อ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีซึ่งสรุปได้ว่า ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของ บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัดมีคุณภาพตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ แสดงว่าชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีคุณภาพระดับดีสามารถนำไปใช้ในการอบรมได้

 

ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์

       1.หลังจากหาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมแล้วผู้วิจัยได้นำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ไปทดลองรายบุคคลกับอบรม 3 คน คน ในที่นี้ใช้ผู้อบรมที่ไม่ใช่ที่บริษัทที่ไม่ใช่กลุ่มประชากร โดยอบรมพร้อมกัน 1 คนต่อหนึ่งเครื่อง ในระหว่างการทดลองผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อหาข้อบกพร่องของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์โดยสังเกตพฤติกรรมอย่างใกล้ชิดและสัมภาษณ์ผู้อบรมซึ่งพบปัญหาที่ต้องปรับปรุงคือ เนื้อหาไม่ตรงประเด็นกับเนื้อเรื่อง สีตัวอักษรอ่อนเกินไปมองชัดเจน สีของพื้นหลังสด เกินไป การเฉลยข้อแบบฝึกหัดบางข้อไม่ตรงกับข้อถูก ผลของการทดลองกับกลุ่มทดลองกลุ่มย่อย ผู้อบรมจำนวน 15 คน หลังจากที่นำไปปรับปรุงจากการทดลองครั้งที่ 1 ผู้วิจัยนำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์แบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วจากการทดลองครั้งที่ 1 ไปทดลองใช้กับผู้อบรม ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 15 คน โดยอบรมพร้อมกัน 1 คนต่อหนึ่งเครื่อง  ให้ผู้อบรมอบรมชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์แต่ละเรื่อง เริ่มตั้งแต่หน่วยที่ 1 โดยให้ผู้อบรมอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนจนจบเนื้อหาในหน่วยที่1หลังจากนั้นจึงเริ่มหน่วยต่อไปจนครบ 4 หน่วย โดยอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรมจนจบสังเกตและสอบถามผลการใช้อบรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาข้อบกพร่องระหว่างทดลอง จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไข และนำคะแนนแบบฝึกหัดระหว่างอบรมและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังอบรมไปวิเคราะห์หาแนวโน้มของประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80/80

       จากการทดลองครั้งที่ 2 พบว่า มีค่าเป็น 74/71 แสดงว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีค่าประสิทธิภาพ ยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งพบปัญหาที่ต้องปรับปรุงแก้ไข ดังนี้

       1. ปรับปรุงภาพประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหามากขึ้น
       2. เปลี่ยนแปลงภาพเคลื่อนไหวให้เคลื่อนไหวช้าลง
       3. ปรับจังหวะการบรรยายให้ช้าลง เพิ่มคำบรรยายบางส่วนลงไปเมื่อจบแต่ละตอน

       ผลการทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ จากการทดลองกับผู้อบรมเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 30 คน การวิเคราะห์หาประสิทธิภาพชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์โดยพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการอบรม ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ไม่ต่ำกว่า 80/80 พบว่าได้ 83/81 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ แสดงว่ามีประสิทธิภาพ

 

ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอบรมก่อนอบรมกับหลังอบรม

       ผู้วิจัยนำชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน  ซึ่งเป็นพนักงานขายของ บริษัทซี.แอล.บี แมทเทรส จำกัด แบบ 1 คน ต่อคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องโดยให้ผู้รับการอบรมทำแบบทดสอบก่อนอบรมจากนั้นให้ผู้รับการอบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์เริ่มอบรมตั้งแต่หน่วยที่1โดยให้ผู้รับการอบรมอบรมเนื้อหาสลับกับการทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรมจนจบเนื้อหาในหน่วยที่ 1 จึงเริ่มเรื่องต่อไปจนครบ 4 หน่วย หลังจากนั้นให้ผู้อบรมทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังอบรม และนำผลการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมของผู้อบรมที่อบรมด้วยคอมพิวเตอร์กับผู้อบรมที่อบรมแบบปกติโดยใช้สถิติ t-test  พบว่าผลสัมฤทธิ์การอบรมของผู้รับการอบรมที่อบรมด้วยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องการระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรสจำกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

       ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เข้ารับการอบรมระหว่างการทดลองพบว่า   ผู้รับการอบรมที่อบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสนใจและตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้จากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้รับการอบรมสามารถทบทวนชุดฝึกอบรมได้ทันที    เมื่อมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย   ผู้รับการอบรมสามารถย้อนกลับมาศึกษาเนื้อหาได้ใหม่   อีกทั้งผู้รับการอบรมยังทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอบรมเพื่อประเมินผลการอบรม   ทำให้ผู้รับการอบรมมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจในชุดฝึกอบรมเพิ่มเติม   ทำให้ผู้รับการอบรมไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ  ช่วยให้ผู้รับการอบรมตั้งใจทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากยิ่งขึ้น  ส่งผลให้การอบรมมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

ผลการวิจัย

จากการทดลองชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

       1.  ได้ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ที่มีคุณภาพดีและมีประสิทธิภาพ 83/81
       2.  ผลสัมฤทธิ์การอบรมของผู้รับการอบรมก่อนอบรมและหลังอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขาย บริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

อภิปรายผล

       การพัฒนาชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด ผู้วิจัยมีประเด็น  อภิปรายจากผลการวิจัย   ดังนี้

       1.  ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด มีผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี และมีประสิทธิภาพ 83/81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549)  ทั้งนี้เนื่องจากขั้นตอนการผลิตชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  เริ่มจากผู้วิจัยได้ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาที่จะนำมาผลิตโดยการแบ่งเนื้อหาออกเป็น 4 หน่วย ตามลำดับความรู้   กำหนดจุดประสงค์ของการอบรมในแต่ละหน่วย  ทำการเขียนชุดฝึกอบรมและออกแบบลักษณะการดำเนินเรื่องของแต่ละบท   จากนั้นดำเนินการปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ   เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้ว  จึงนำไปทดลองตามขั้นตอน   เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ คือ  การทดลองครั้งที่  1   กับผู้อบรม ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 คน โดยเรียนพร้อมกัน 1 คนต่อ1เครื่อง ซึ่งผู้รับการอบรมมีความพอใจและสนใจเป็นอย่างดีในการทดลองครั้งที่  ทดลองกับผู้อบรม   จำนวน  15   คนเพื่อหาแนวโน้มของประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ได้ 74/71ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ เจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549) ชุดฝึกอบรมนี้ สร้างขึ้นตามกระบวนการวิจัยเริ่มจากการวิเคราะห์งาน  วิเคราะห์หัวข้อการฝึกอบรม  สร้างหลักสูตร การฝึกอบรม  สร้างเครื่องมือในการวิจัยคือ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินการฝึกอบรม  คู่มือการ ฝึกอบรม โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (IOC) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบ ทดสอบ  วิเคราะห์ความเหมาะสม  โดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จากนั้นนำไปทดลองใช้ ผู้วิจัยจึงทำการศึกษาปัญหาพบว่า   ปัญหาเกิดจาก สีของพื้นหลังและตัวอักษรในชุดฝึกอบรมยังไม่ค่อยชัดเจน ภาพเคลื่อนไหวเคลื่อนไหวเร็วเกินไป และการบรรยายเร็วเกินไป ผู้วิจัยจึงทำการปรับปรุงบทบรรยายและภาพประกอบให้มีความชัดเจนเข้าใจง่ายขึ้น จากนั้นทำการทดลองครั้งที่  กับนักเรียนจำนวน  30 คน   ซึ่งได้ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์  83/81 เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80  ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพัชรีพรรณ ก้องสมุทร (2541) ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง   ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 83.83/82.66

       2.ผลสัมฤทธิ์ทางการอบรมหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม สอดคล้องกับงานวิจัยของ สุรพล บุญลือ (2540) ได้ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกอบรมสำหรับพนักงานใหม่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)  พบว่าผลสัมฤทธิ์ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม หลังการอบรมของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการอบรม ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เรื่องระบบการขายเบื้องต้น เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานขายบริษัทซี.แอล.บี.แมทเทรส จำกัด  เป็นการอบรมที่สอดคล้องกับทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล   ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถในการเรียนรู้ช้าเร็วแตกต่างกันซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ  ชนะ  ภูมิประเสริฐ  (2547)  ดังนั้น  ชุดฝึกอบรมนี้จะช่วยให้ผู้รับการอบรมรู้สึกพอใจ  และไม่เกิดความกดดันขณะอบรมเมื่ออบรมไม่ทันผู้อื่น   ทำให้รู้สึกผ่อนคลายในขณะที่อบรม   ส่งผลให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้ผู้รับการอบรมมีความกระตือรือร้นในการอบรม  และให้ความสนใจในชุดฝึกอบรมเป็นพิเศษ  เนื่องจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยการออกแบบหน้าจอ  เสียงบรรยาย  ภาพกราฟิกและภาพเคลื่อนไหว   ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตระหว่างการทดลองพบว่า   ผู้อบรมที่อบรมจากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ มีความสนใจและตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้จากชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ เนื่องจากผู้รับการอบรมสามารถทบทวนชุดฝึกอบรมได้ทันที    เมื่อมีเนื้อหาที่ไม่เข้าใจหรือสงสัย   ผู้รับการอบรมสามารถย้อนกลับมาศึกษาเนื้อหาได้ใหม่   อีกทั้งผู้รับการอบรมยังทำแบบฝึกหัดระหว่างอบรม  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอบรมเพื่อประเมินผลการอบรม   ทำให้ผู้รับการอบรมมีโอกาสทบทวนทำความเข้าใจในชุดฝึกอบรมเพิ่มเติม   ทำให้ผู้รับการอบรมไม่เกิดความเบื่อหน่ายขณะทำแบบฝึกหัดหรือแบบทดสอบ  ช่วยให้ผู้รับการอบรมตั้งใจทำแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากยิ่งขึ้น

 

ข้อเสนอแนะ

ข้อเสนอแนะทั่วไป

       1.  การอบรมโดยชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ให้การอบรมต้องคำนึงถึงทักษะการใช้พื้นฐานการใช้คอมพิวเตอร์ของผู้รับการอบรม เพราะผู้รับการอบรมบางคนตื่นเต้น และมีความรู้ทักษะคอมพิวเตอร์น้อย   ผู้รับการอบรมและผู้ให้การอบรมต้องคอยสังเกตว่าผู้รับการอบรมคนใดที่มีการเรียนรู้ได้ช้า ต้องคอยช่วยเหลือเป็นพิเศษ
       2. ในการผลิตชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ผู้ให้การอบรมควรศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ   เพิ่มเติมเพื่อใช้สนับสนุนการสร้างสรรค์ชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
       3.ผู้ให้การอบรมควรส่งเสริมให้ผู้รับการอบรมได้การทบทวน หรือศึกษาด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้รับการอบรมได้มีการทบทวนความรู้อยู่เสมอ
       4.ผู้ให้การอบรมต้องจำเป็นต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์ การสร้างสื่อการอบรมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจให้กับผู้รับการอบรม

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

       1.  ควรมีการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบคอมพิวเตอร์เพื่อการฝึกอบรมในเนื้อหาอื่นๆและฝ่ายอื่นต่อไป
       2.  ควรศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ระหว่างชุดฝึกอบรมด้วยคอมพิวเตอร์การอบรมแบบปกติ