ตำรา เรื่อง การบัญชีต้นทุน 1 เป็นตำราที่รองศาสตราจารย์ปรียานุช กิจรุ่งโรจน์เจริญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นผู้เรียบเรียงขึ้น เพื่อเป็นตำราสำหรับนักศึกษาสาขาบัญชี จะได้ศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุนและฝึกปฏิบัติจากแบบฝึกหัดท้ายบทโดยมุ่งเน้นในเรื่องของความคิดพื้นฐานของต้นทุนส่วนประกอบของต้นทุนระบบบัญชีและการควบคุมต้นทุนการปันส่วนต้นทุนระบบบัญชีต้นทุนจ่ายจริงระบบบัญชีต้นทุนปกติและลักษณะกระบวนการคิดต้นทุนงานสั่งทำต้นทุนช่วงการผลิตการบัญชีต้นทุนมาตรฐานการบัญชีต้นทุนผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้ซึ่งการศึกษาดังกล่าวเป็นไปตามหลักสูตรที่นักศึกษาที่จะจบไปประกอบอาชีพผู้จัดทำบัญชีผู้สอบบัญชีภาษีอากรหรือผู้สอบบัญชีรับอนุญาตซึ่งในปัจจุบันการบัญชีต้นทุนเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจและยอมรับกันโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นนักบัญชีผู้บริหารวิศวกรและบุคคลทั่วไปทั้งนี้เพราะการบัญชีต้นทุนได้ถูกพัฒนำไปใช้กับธุรกิจนอกจากนี้ตำราเล่มนี้ยังกล่าวถึงแนวความคิดหลักการวิธีการคำนวณและวิธีการบันทึกบัญชีต้นทุนโดยเน้นธุรกิจอุตสาหกรรมที่ทำการผลิตสินค้าโดยทั่วไปซึ่งผู้ศึกษาสามารถนำเอาแนวคิดและวิธีการไปประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจให้บริการเช่นธุรกิจสายการบินธุรกิจท่องเที่ยวธุรกิจสื่อสารโรงแรมโรงพยาบาลฯลฯหรือหน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการสาธารณชนได้นำเอาระบบบัญชีต้นทุนไปพัฒนาใช้กันอย่างกว้างขวาง

 

บทนำ

       ดังนั้นในการดำเนินงานของธุรกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่วางไว้นั้นผู้บริหารจำเป็นต้องทราบถึงข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในกิจการหรือภายนอกกิจการโดยเฉพาะข้อมูลภายในกิจการเป็นข้อมูลที่ผู้บริหารจำเป็นต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อการวางแผนควบคุมและการตัดสินใจในอนาคตตัวอย่างเช่นข้อมูลของฝ่ายผลิตข้อมูลทางการเงินข้อมูลของฝ่ายขายเป็นต้นข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถวางแผนการดำเนินงานควบคุมการปฏิบัติงานและปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของฝ่ายต่างๆโดยการที่ผู้บริหารจะทำการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนงานที่ได้วางไว้หากมีความแตกต่างที่อาจบังเกิดผลในทางที่ไม่ดีก็จะวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ต่อไป

       ในธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรวบรวมให้เป็นระบบ ทั้งนี้เพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นการบัญชีต้นทุน” (Cost Accounting) จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารงานของธุรกิจ อันเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีการเงิน (Financial Accounting) ซึ่งได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเทคนิคต่างๆ เกี่ยวกับต้นทุนในอันที่จะนำเอาบัญชีต้นทุนไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำงบการเงิน เพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกและผู้สนใจทั่วไป การรวบรวมและสรุปผลข้อมูลเพื่อสนองต่อบุคคลภายนอกนั้นต้องจัดทำโดยใช้หลักบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Generally accept accounting principle) จึงอาจกล่าวได้ว่าการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีการเงินและยังเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีบริหารด้วย

       การดำเนินธุรกิจทุกประเภทกำไร” (Profit) จะเป็นวัตถุประสงค์หลักที่ธุรกิจตั้งเป้าหมายไว้ การบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนั้นธุรกิจจะต้องคำนึงถึงรายได้ (Revenue) และต้นทุน (Cost) ของผลิตภัณฑ์ซึ่งจากการพิจารณาจะพบว่ารายได้เป็นผลมาจากราคาขายต่อหน่วยคูณด้วยปริมาณขายราคาขายจะถูกกำหนดจากปัจจัยภายนอกเช่นราคาขายในท้องตลาดคู่แข่งขันกลุ่มผู้ซื้อหรือลูกค้าภาวะเศรษฐกิจเป็นต้นแต่ต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายที่ธุรกิจเป็นผู้กำหนดหรือก่อให้เกิดขึ้นอาจมีปัจจัยภายนอกเป็นตัวกำหนดบ้างแต่ก็ไม่มีผลมากเท่ากับต้นทุนของผลิตภัณฑ์เนื่องจากเป็นสิ่งที่ธุรกิจก่อให้เกิดขึ้นการจะทำให้ต้นทุนที่เกิดขึ้นมากหรือน้อยนั้นเราสามารถควบคุมได้ง่ายกว่ารายได้หรือยอดขายทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยภายนอกเป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของธุรกิจ

       ดังนั้นหากธุรกิจใช้ความพยายามในการควบคุมต้นทุนการผลิตเพื่อทำให้การดำเนินงานของธุรกิจมีประสิทธิภาพและประหยัดที่สุดก็จะทำให้ธุรกิจมีผลกำไรเพิ่มขึ้นซึ่งจากข้อเท็จจริงแล้วจะพบว่าสาเหตุของต้นทุนที่สูงขึ้นนั้นมีผลเนื่องมาจาก

       1. การสูญเปล่า หรือการสิ้นเปลือง ที่เกิดจากการขาดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรอันได้แก่การสิ้นเปลืองเนื่องจากการใช้วัตถุดิบแรงงานและทรัพยากรต่างๆโดยไม่จำเป็นเช่นคุณภาพวัตถุดิบที่ใช้ต่ำกว่ามาตรฐานทำให้เกิดการชำรุดแตกหักแรงงานที่ขาดความชำนาญทำให้ผลผลิตที่ได้ลดต่ำลงเป็นต้น

       2. สภาพของเงินเฟ้อ เป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจที่มีผลทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงขึ้น

       จากสาเหตุ 2 ประการข้างต้นจะพบว่าสาเหตุประการแรกเท่านั้นที่ธุรกิจมีอำนาจพอที่จะควบคุมได้ในการควบคุมเพื่อลดต้นทุนนั้นจะต้องใช้ข้อมูลจากระบบบัญชีต้นทุนที่ละเอียดมีหลักฐานที่เชื่อถือได้คือต้องรู้ว่าต้นทุนนั้นเกิดขึ้นที่ไหนเมื่อใดและที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้ถึงต้นทุนจริงที่เกิดขึ้นเพื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนที่ควรจะเกิดขึ้นซึ่งได้วางแผนหรือประมาณการไว้

       ในการวางแผนและควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพนั้นธุรกิจจำเป็นต้องมีรูปแบบการจัดองค์กรให้มีระเบียบและแบบแผนมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบที่แน่ชัดซึ่งจะทำให้ฝ่ายปฏิบัติงานทราบถึงขอบเขตความรับผิดชอบและอำนาจหน้าที่ของตนส่งผลให้มีการติดต่อประสานงานกันอย่างเป็นระบบดังนั้นนักบัญชีจึงต้องคำนึงถึงลักษณะการจัดองค์กรของธุรกิจว่าเหมาะสมหรือไม่เพียงใดทั้งนี้เพื่อที่จะได้สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำรายงานการวัดผลการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์ที่ใช้

       จากแผนผังการจัดองค์การ (รูปที่ 1 และรูปที่ 2) จะเห็นได้ว่า การแบ่งแยกหน้าที่ในฝ่ายบัญชีและการเงินนั้น จะแบ่งเป็น 2 แผนกคือ

       – แผนกบัญชี มีผู้อำนวยการบัญชีเป็นหัวหน้าแผนก

       – แผนกการเงิน มีผู้อำนวยการการเงินหรือหัวหน้าฝ่ายการเงินเป็นหัวหน้าแผนก

       ในการบังคับบัญชาในแผนกบัญชีนั้น ผู้อำนวยการบัญชีมีอำนาจควบคุมโดยตรงต่อผู้ใต้บังคับบัญชาในแผนก กล่าวคือ ผู้อำนวยการบัญชีทำหน้าที่เป็นผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ โดยแผนกบัญชีต้นทุนจะเป็นแผนกหนึ่งที่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้อำนวยการบัญชีซึ่งก็คือฝ่ายStaff นั่นเอง

       การจัดองค์กรของธุรกิจนั้นอาจแตกต่างกันออกไปโดยหลักการแล้วพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่จัดการบัญชีต้นทุนให้อยู่ภายใต้การสั่งการของผู้อำนวยการบัญชีเนื่องจากยึดหลักว่างานบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของบัญชีการเงินควรเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้อำนวยการบัญชีซึ่งข้อมูลจากบัญชีต้นทุนต้องใช้เทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญจึงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

รูปที่ 1.1 ผังแสดงการจัดองค์การในกิจการอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง