บทนำ

       เทคโนโลยีและการสื่อสารที่มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นจนปัจจุบันการเรียนรู้และการตอบรับวัฒนธรรมของต่างชาติ ถือเป็นเรื่องง่ายซึ่งตอนนี้ผู้ที่จะรับและยอมที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งรอบข้างได้อย่างรวดเร็วคงจะหนีไม่พ้นวัยรุ่น บางครั้งการเปลี่ยนแปลงและการยอมรับเอาวัฒนธรรมจากต่างชาตินั้น มีทั้งรับเอาในเรื่องของ การแต่งตัว การเล่นกีฬา การใช้ชีวิต หรือแม้กระทั่งการปฏิบัติตัว สองประเด็นหลังนี้ถือว่าเป็นการรับวัฒนธรรมที่ค่อนข้างล่อแหลมและน่าเป็นห่วงกว่าเรื่องอื่นๆ เพราะปัจจุบันวัยรุ่นของไทยมีการรับเอาวัฒนธรรมที่ผิดๆ มาเป็นแบบอย่างมากขึ้น ซึ่งนับวันการเลียนแบบในสิ่งผิดๆ ก็นำไปสู่การสร้างปัญหาที่นับวันก็จะทวีความรุ่นแรงมากยิ่งขึ้น โดยพฤติกรรมที่เรียกว่า one night stand คือการที่ผู้หญิงหรือผู้ชายออกไปเที่ยวกลางคืนตามสถานบันเทิง อาทิ เธค ผับ บาร์ และเมื่อเจอคนที่ถูกใจได้เข้าไปพูดคุยถูกคอ สุดท้ายก็จะไปจบลงที่การมีเพศสัมพันธ์กัน แม้ว่าจะเพิ่งรู้จักกันได้ไม่นาน และเมื่อผ่านพ้นคาคืนนั้นไปก็ต่างคนต่างไปไม่มีอะไรเป็นข้อผูกมัดต่อกัน พฤติกรรมแบบนี้ถ้าหากพูดแบบไทยๆ เรียกได้ว่าเป็น เซ็กส์ชั่วคืน หรือความสัมพันธ์กันเพียงชั่วคราว ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ one night stand ในสังคมไทยไม่ใช่เรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ได้มีมานานแล้วเพียงแต่ไม่ได้มีการหยิบยกเรื่องแบบนี้ขึ้นมาพูดคุยหรือหาวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้สาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะมาจากสังคมไทยรับวัฒนธรรมเกี่ยวกับเรื่องเสรีทางเพศของตะวันตกเข้ามามาก ซึ่งถือว่าพฤติกรรมเหล่านี้ถือว่าไม่เหมาะสมกับสังคมไทยอย่างยิ่ง วัยรุ่นที่เที่ยวกลางคืนแล้วมีพฤติกรรมแบบนี้จะมีคำพูดในกลุ่มว่า ถ้า want ก็ไป work ต่อกันซึ่งเป็นค่านิยมทางเพศที่เปลี่ยนไปจึงถือเป็นเรื่องที่น่าห่วงเป็นอย่างยิ่งเพราะหากวัยรุ่นกลุ่มนี้ไม่รู้จักการป้องกันในการมีเพศสัมพันธ์ก็จะก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาโดยเฉพาะโรคเอดส์การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์นำไปสู่การทำแท้งซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมาอีกมากมายสำหรับในส่วนของการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือสามารถให้ผ่านพ้นไปได้ก่อนตามค่านิยมของวัยรุ่นเมื่อมีการเที่ยวกลางคืนการดื่มสุราของมึนเมาถือเป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้วัยรุ่นเหล่านี้ขาดสติจนนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันเรื่องเซ็กส์ชั่วคืนในกลุ่มวัยรุ่นเป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมานานแล้ว

       ซึ่งปัจจุบันสังคมจะมีพฤติกรรมแบบนี้มากยิ่งขึ้นแต่เชื่อว่าเป็นเพียงบางกลุ่มเท่านั้นไม่ใช่ทั้งหมด เนื่องจากวัยรุ่นบางคนที่เที่ยวกลางคืนก็มีจุดประสงค์เพื่อไปแดนซ์ พูดคุยกับกลุ่มเพื่อนหรือไปเที่ยวคลายเครียดเท่านั้น อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าสังคมไทยมีค่านิยมเสรีเรื่องเพศมากขึ้น จนบางครั้งนำไปสู่การมีพฤติกรรมเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นที่ถือว่ายังมีวุฒิภาวะน้อย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรหรือพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมแบบ one night stand อาจก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมกันหา ทางแก้ไข เพราะหากปล่อยให้พฤติกรรมแบบนี้มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะกลายเป็นปัญหาสังคมที่ลุกลาม (เฟื่องฟ้า ภู่สวาสดิ์, 2554)

       สถานเริงรมย์ประเภทต่างๆ เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคม ธุรกิจยามราตรีในยุคนั้นที่รู้จักกันดีคือ บาร์ (Bar) และไนท์คลับ(Nightclub) การนำเสนอรูปแบบของสถานบันเทิงไม่ได้หยุดแต่เพียงเท่านี้ ธุรกิจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวประเภทคอฟฟี่ช๊อพ ดิสโกเธค คาราโอเกะ และผับ เกิดขึ้นมามากมาย ผลจากการสำรวจพบว่าวัยรุ่นที่นิยมเที่ยวกลางคืน ดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะ เหล้า เบียร์ สูงถึง ร้อยละ 58.70 ทั้งดื่มและสูบ ร้อยละ 40.74 (หรือรวมทั้งดื่มสุราอย่างเดียว และทั้งดื่มและสูบรวมกันถึง ร้อยละ 93.83 ) มีเพียงร้อยละ 6.17 ที่ไม่ดื่มและไม่สูบ (มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, 2554) โดยเฉพาะในเขตเมืองสถานบันเทิงต่างๆเป็นสถานที่มีการมั่วสุมของมึนเมาหลายครั้งหลายหนที่นำไปสู่การก่ออาชญากรรมและการติดสิ่งเสพติดและสถานบันเทิงยังเป็นสถานที่ส่งเสริมให้มีการมั่วสุมและสาส่อนทางเพศเช่นสถานที่นั่งภายในมุมมืดโดยวัยรุ่นอาจถูกชักนำโดยเพื่อนให้ทดลองทำสิ่งที่แปลกไปจากสิ่งที่เคยกระทำเช่นมั่วสุมทางเพศเสพสิ่งเสพติดฯลฯโดยไม่เกรงผู้พบเห็นเนื่องจากสภาพภายในมืดและขาดความสนใจซึ่งกันและกัน

       ในปัจจุบันจังหวัดนนทบุรีมีสถานบันเทิงกลางคืนที่เกิดขึ้นมากมาย เช่น ดิสโก้เธค, Pub& Restaurant, ร้านนั่งดื่มสุรา,คาราโอเกะโดยทั่วไปแล้วผู้ใช้บริการสถานบันเทิงกลางคืนในนนทบุรีนอกจากจะเป็นประชาชนแล้วกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ยังเป็นวัยรุ่นที่กำลังศึกษาเล่าเรียนซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็นและอยากลองสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอโดยเฉพาะวัยรุ่นที่อยู่ห่างไกลจากผู้ปกครองจะมีอิสระในการดำเนินชีวิตสูงจึงง่ายต่อการถูกชักจูงโดยเพื่อนๆให้ไปเที่ยวในสถานบันเทิงกลางคืนเมื่อวัยรุ่นเหล่านั้นเกิดความรู้สึกชอบและใช้บริการบ่อยขึ้นจะทำให้ส่งผลเสียต่อการเรียนและเกิดปัญหาการคบเพื่อนเนื่องจากสังคมวัยรุ่นที่เที่ยวสถานบันเทิงกลางคืนนั้นจะเป็นสังคมอีกประเภทหนึ่งเช่นมีการเสพสิ่งเสพย์ติดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรผู้วิจัยจึงสนใจพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นในฐานะนิสิตด้านสุขภาพเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้นำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

   1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี

   2. เพื่อศึกษาปัจจัยสาเหตุของการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี

   3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยสาเหตุของการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นกับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี

   4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศกับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรี

 

ขอบเขตของการวิจัย

1. ขอบเขตด้านประชากร

   วัยรุ่นอายุ 12 – 22 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีทั้งหมด 18 หมู่บ้าน 3,346 คน คำนวณตัวอย่างได้ 358 คน แต่เนื่องจากพฤติกรรมการเที่ยงกลางคืนเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมในสังคมไทยทำให้ยากที่จะเข้าถึงข้อมูลจึงเก็บตัวอย่างเพียง 300 ราย

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

   2.1 ปัจจัยนำได้แก่ความรู้ของวัยรุ่นเกี่ยวกับอันตรายและโทษของการเที่ยวกลางคืนในด้านสุขภาพด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยและด้านกฎหมายและความคิดเห็นของวัยรุ่นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืน

   2.2 ปัจจัยเอื้อได้แก่ด้านการเงินของวัยรุ่นราคาหรือโปรโมชั่นของสถานบันเทิงและความสะดวกในการเดินทางไปเที่ยว

   2.3 ปัจจัยเสริมได้แก่ด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนและด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว

   2.4 พฤติกรรมการเที่ยวกลางคืน ได้แก่ความถี่ของการเที่ยวกลางคืน ประเภทของสถานบันเทิงที่ไปเที่ยว ระยะเวลา วันเวลา และการกระทำขณะอยู่ในสถานบันเทิง ได้แก่ การดื่ม/เสพของมึนเมาเต้นรำฟังเพลงรับประทานอาหารดื่มน้ำอัดลมและสูบบุหรี่

 

วิธีดำเนินการวิจัย

       ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ วัยรุ่นอายุ 12 – 22 ปี ที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นาง อำเภอ บางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี มีจำนวน 18 หมู่บ้าน จำนวน 3,346 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของ ประชากรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.95 ความคลาดเคลื่อนในกลุ่มตัวอย่าง 0.05 ได้ขนาดตัวอย่าง 357.287 แต่การเข้าถึงตัวอย่างกระทำได้ยาก ผู้วิจัยจึงขอเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพียง 300 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างในแต่ละหมู่ ซึ่งมีทั้งหมด 18 หมู่ โดยการหาค่าร้อยละ และนำมาเทียบสัดส่วนหรือการเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตามสูตรคำนวณ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช, 2542) จำนวนตัวอย่างกระจายตามสัดส่วนของวัยรุ่นในแต่ละหมู่บ้านจนครบ

       ใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความเชื่อมั่น 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติ chi square

 

ผลการวิจัย

1. ข้อมูลทั่วไปของวัยรุ่น

       พบว่าเป็นเพศชายกับเพศหญิงเพศละเท่าๆกันส่วนใหญ่อายุ 20 ปี(X = 18.30 S.D. = 2.54 Min = 12.ปี Max = 22 ปี) มีระดับการศึกษาในปัจจุบันที่ไม่ได้เรียนแล้ว ร้อยละ 26.7 รองลงมามีระดับการศึกษาอยู่ในระดับ ปริญญาตรี พักอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ร้อยละ 64.7 ส่วนใหญ่พักบ้านตัวเองร้อยละ 79.7 ส่วนใหญ่พ่อแม่อยู่ด้วยกัน คิดเป็นร้อยละ 74.3 พบว่ารายรายได้ต่อเดือน(กรณีที่ประกอบอาชีพแล้ว) / เงินที่ได้รับจากผู้ปกครองต่อเดือน(กรณีที่ยังไม่ได้ประกอบอาชีพแล้ว) ของวัยรุ่นที่ส่วนใหญ่ มีรายได้ 3,001 – 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.7 ค่าใช้จ่ายในการเที่ยวกลางคืนต่อครั้งของวัยรุ่นส่วนใหญ่ ไม่เกิน 500 บาท คิดเป็นร้อยละ 66.3

2. ข้อมูลด้านปัจจัยนำ

       วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนในด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80.0 มีความรู้เกี่ยวกับการเที่ยวการเที่ยวกลางคืนในด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.0 และมีความรู้เกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนในด้านกฎหมายอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 97.3

       วัยรุ่นส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนในด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 67.7 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนในทางที่ดีในด้านสวัสดิภาพความปลอดภัยอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 51.7 และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนในด้านกฎหมายอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 183คน คิดเป็นร้อยละ 61.0

3. ข้อมูลด้านปัจจัยเอื้อ

       วัยรุ่นส่วนใหญ่มีระดับด้านการเงินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 59.0 ราคา หรือ โปรโมชั่นของสถานบันเทิงส่งผลให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ออกไปเที่ยวกลางคืน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 56.7 ความสะดวกในการเดินทางไปเที่ยวกลางคืน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.7

4. ข้อมูลด้านปัจจัยเสริม

       ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อนส่งผลให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ออกไปเที่ยวกลางคืน อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 55.3 และพบว่า ความสัมพันธ์ในครอบครัวส่งผลให้วัยรุ่นส่วนใหญ่ออกไปเที่ยวกลางคืน อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 221 คน คิดเป็นร้อยละ 73.7

5. ข้อมูลพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น

       วัยรุ่นในตำบลบางแม่นาง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 75.0 รองลงมาอยู่ในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 14.7 วัยรุ่นส่วนใหญ่ จะใช้เวลาเที่ยวกลางคืน 3-4 ชั่วโมง บ่อยครั้ง ร้อยละ 45.0 ออกไปเที่ยววันศุกร์ บ่อยครั้ง ร้อยละ 46.3 ในรอบ 3 เดือนวัยรุ่นจะเที่ยวกลางคืนเพียง 1-2 วัน ร้อยละ 40.7 สถานบันเทิงที่ไปเที่ยวก็จะเป็นผับบ่อยครั้ง ร้อยละ 41.3 ในการเที่ยวกลางคืนทุกครั้งจะมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกครั้ง ร้อยละ 54.3 และจะไปเที่ยวกับเพื่อนทุกครั้ง ร้อยละ 52.3

6. ข้อมูลด้านความสัมพันธ์ของตัวแปร

       ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่

ตารางที่ 1 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น

ตัวแปร

X2

df

p-value

ความรู้เกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนด้าน สุขภาพ

7.327*

2

0.025

ความคิดเห็นของวัยรุ่นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนด้านกฎหมาย

18.468**

4

0.001

ด้านการเงิน

29.163**

4

0.000

ราคา/โปรโมชั่น ของสถานบันเทิง

17.927**

4

0.001

ความสะดวกสบายในการเดินทางไปเที่ยวกลางคืน

25.458**

4

0.000

ความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน

65.390**

4

0.000

เพศ

10.337**

2

0.006

 

อภิปรายผล

       จากการศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในตำบลบางแม่นางอำเภอบางใหญ่จังหวัดนนทบุรีสามารถอภิปรายผลประเด็นสำคัญได้ดังนี้

1. ความรู้เกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนด้านสุขภาพ

       ความรู้จะนำไปสู่การตัดสินใจในการเที่ยวกลางคืนสอดคล้องกับ โกลเดนสัน (Golddenson, 1984, p. 90 อ้างถึงใน อารีย์ สัตยกุล, 2531) ได้ให้คำจำกัดความของพฤติกรรมไว้ว่าเป็นการกระทำหรือตอบสนองการกระทำทางจิตวิทยาของแต่ละบุคคลและเป็นปฏิสัมพันธ์ในการตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นภายในหรือภายนอกรวมทั้งเป็นกิจกรรมการกระทำต่างๆที่เป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมายสังเกตได้หรือเป็นกิจกรรมการกระทำต่างๆที่ได้ผ่านการใคร่ครวญมาแล้วหรือเป็นไปอย่างไม่รู้ตัว

2. ความคิดเห็นของวัยรุ่นเกี่ยวกับการเที่ยวกลางคืนด้านกฎหมาย

       ในเรื่องสถานที่เที่ยวกลางคืนอยู่ภายในข้อบังคับของกฏหมายหลายฉบับได้แก่พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.. 2509 และกฎกระทรวงกำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.. 2555 ซึ่งครอบคลุมความปลอดภัยของผู้ใช้บริการซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นรู้สึกปลอดภัยและน่าเที่ยว ซึ่งในความคิดเห็นเหล่านี้จะนำไปสู่การตัดสินใจในการเที่ยวกลางคืน สอดคล้องกับ นันแนลลี (Nunnally ,1959 อ้างถึงใน ประภาเพ็ญ สุวรรณ 2536 : 3) ได้ให้ความเห็นว่าทั้งความคิดเห็นและทัศนคตินั้นเป็นเรื่องของการแสดงออกของแต่ละบุคคลต่อประชาชนทั่วไปต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและการแสดงออกทางความคิดในโลกที่เกี่ยวกับตัวเขาและความคิดเห็นนั้นยังจะใช้ในเรื่องเกี่ยวกับการลงความเห็นและความรู้ในขณะที่ทัศนคตินั้นใช้กันมากในเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึกและความชอบพอ

3. ด้านการเงิน

       พบว่า ด้านการเงินของวัยรุ่น มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น สอดคล้องกับ อศัลยา คุ้มรักษ์ (2548) ได้ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนิสิตปริญญาตรีผลการวิจัยพบว่าที่มาของรายได้และค่าใช้จ่ายประจำเดือนมีผลต่อทัศนคติในการเที่ยวกลางคืนของนิสิตโดยรวมมีความสัมพันธ์กันมากที่สุด

4. ด้านราคา/โปรโมชั่น ของสถานบันเทิง

       พบว่า ราคาหรือโปรโมชั่นของสถานบันเทิง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น สอดคล้องกับ ภาคย์ เจียมกิรติชัยกุล (2552) ได้ศึกษาพฤติกรรมการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบันเทิงยามราตรีของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากการสอบถามความคิดเห็นในการเลือกใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันดับแรกสิ่งที่นักศึกษาพิจารณาคือราคาซึ่งราคาของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีราคาถูกมาพิจารณาเป็นอันดับแรกต่อการใช้จ่ายเพื่อซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และจะพิจารณาจากโปรโมชั่นต่างๆเป็นอันดับต่อไป

5. ความสะดวกสบายในการเดินทางไปเที่ยวกลางคืน

       พบว่า ความสะดวกในการเดินทางไปเที่ยว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ซึ่งสอดคล้องกับ ฐิติพร รจาสม และคณะ, (2551) ได้ศึกษาได้ศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า การเดินทางไปเที่ยวกลางคืนจะต้องมีความสะดวกสบายในการเดินทาง อันดับที่ 1 คือ ต้องมีรถแท็กซี่ให้บริการ อันดับที่ 2 คือ รถส่วนตัว ร้อยละ 41 และอันดับที่ 3 รถประจำทาง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้คลอดคล้องกับ ทฤษฎีสิ่งจูงใจ (Incentive Theory) ปัจจัยภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมที่จูงใจจะดึงดูดให้คนมุ่งไปหาสิ่งนั้น มนุษย์กระทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแสวงหาสิ่งที่พอใจ เช่น รางวัล คำยกย่อง สิทธิพิเศษ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่พอใจ เช่น ถูกลงโทษ ถูกตำหนิ ทำให้เจ็บกาย การที่คนมีพฤติกรรมแตกต่างกัน หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับความแตกต่างในคุณค่า (Values) ของสิ่งจูงใจถ้าคิดว่าการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งจะได้รับผลคุ้มค่าก็จะมีแรงจูงใจให้บุคคลกระทำอย่างนั้น

6. ด้านความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน

       พบว่าความสัมพันธ์ในกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ซึ่งสอดคล้องกับ จีราวรรณ แก้วใจ, (2550) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของกลุ่มวัยรุ่นในเมืองกรณีศึกษาสถานบันเทิงย่านรัชดากรุงเทพมหานครพบว่ากลุ่มตัวอย่างนิยมไปเที่ยวสถานบันเทิงกับเพื่อนมากที่สุดเพราะการไปเที่ยวสถานบันเทิงกับเพื่อนกลุ่มตัวอย่างมองว่าจะทำให้ได้รับความสนุกสนานมากกว่าไปกับบุคคลอื่นๆเนื่องจากเป็นบุคคลที่สนิทสนมกับกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดและเป็นบุคคลที่พูดคุยกันรู้เรื่องรวมถึงมีอิสระในการแสดงพฤติกรรมต่างๆได้อย่างเต็มที่

7. ด้านเพศ

       พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของวัยรุ่น ซึ่งสอดคล้องกับวัลภา แซ่อึ้ง (2548) ได้ศึกษาพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษาในเขตจังหวัดชลบุรีจากการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากรกับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษาในจังหวัดชลบุรีพบว่าเพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเที่ยวกลางคืนของนักศึกษา