Category Archives: วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณสุขศาสตร์ และอาชีวอนามัย และความปลอดภัย

ชื่อเรื่อง “ Application of natural colorant from black rice bran for fermented Thai pork sausage – Sai Krok Isan ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิวิทย์ ลอยพิมายและคณะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

         บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้สีธรรมชาติจากรำข้าวดำ เพื่อทำการหมักไส้กรอกหมูไทย  การหมักจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันไขมันตลอดจนเกิดสารประกอบชีวภาพหลายชนิดและทำให้เกิดสารต้านอนุมูลอิสระขึ้นในไส้กรอกหมูไทย ผลจากการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่าสาร BCF เป็นแหล่งของแอนโธไซยานินที่ยอดเยี่ยมและสามารถแทนที่ไนไตรล์ในผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหมักได้บางส่วน ซึ่งไนไตรล์เป็นสารก่อมะเร็ง นับว่าเป็นการนำรำข้าวดำที่ไม่ค่อยมีราคามาประยุกต์และพัฒนาไส้กรอกหมักด้วยรำข้าวเป็นการถนอมอาหารและทำให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นได้และเป็นการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาส่งเสริมและพัฒนารำข้าวในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย

View Fullscreen

ชื่อเรื่อง “ Extraction solvents affecting phytochemicals in food colorant prepared from purple glutinous rice bran ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิวิทย์ ลอยพิมายและคณะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ:-

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการสกัดด้วยตัวทำละลายที่มีผลต่อสารเคมีและปิโตรเคมี  ในสารปรุงแต่งอาหารที่ทำจากรำข้าวสีม่วงและการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาผลของตัวทำละลายการสกัดต่อความเข้มข้นของสาร ที่ไม่ใช้งานในสารสีที่ได้จากรำข้าวสีม่วง จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่มีปริมาณเล็กน้อยของกรดไฮโดรคลอริก เป็นตัวทำลายที่มีประสิทธิภาพสำหรับการสกัดรำข้าวสีม่วงและการเตรียมสารประกอบที่สำคัญของสี  ตัวทำละลายตัวนี้มีศักยภาพ ที่เป็นตัวทำละลายชีวภาพทางเลือก สำหรับการสกัดสีได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นได้และเป็นการนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาส่งเสริมและพัฒนารำข้าวในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้อีกด้วย

View Fullscreen

ชื่อเรื่อง “ Utilization of pregelatinized banana flour as a functional ingredient in instant porridge ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิวิทย์ ลอยพิมายและคณะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

             บทความวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้แป้งกล้วยที่ผ่านการหมักด้วย pregelatinizedไปผสมในการทำโจ๊กได้เป็นอย่างดี สำหรับแป้งข้าวกล้องช่วยเพิ่มปริมาณใยอาหาร RS และทำให้สามารถต้านอนุมูลอิสระได้เพิ่มขึ้น  กระบวนการวิจัยนี้เป็นการนำเอากล้วยมาแปรรูป เพื่อใช้ในการเพิ่มปริมาณใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี เป็นการพัฒนาคุณค่าอาหารให้ประชากรได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นการนำมาประยุกต์เข้าทางวิทยาศาสตร์สุขภาพได้เป็นอย่างดี ตลอดจนเป็นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์และสามารถนำไปพัฒนาท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี งานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดทำ Business Unit ได้เป็นอย่างดี

View Fullscreen

ชื่อเรื่อง “ Influence of sodium chloride and vacuum impregnation on the quality and bioactive compounds of parboiled glutinous rice ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิวิทย์ ลอยพิมายและคณะ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

          บทความวิจัยนี้ได้ศึกษาถึงโซเดียมคลอไรด์ มีผลต่อการเคลือบสุญญากาศ ต่อคุณภาพและสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพของข้าวเหนียวนึ่ง เป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง เพราะหลายประเทศยังนิยมรับประทานข้าวเหนียวนึ่ง ผลการวิจัยนี้จะช่วยรักษาคุณภาพของข้าวเหนียวนึ่งได้เป็นอย่างดี ตลอดจนสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้เป็นอย่างดี กระบวนการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางการพัฒนาการวิจัยในพันธุ์ข้าวชนิดต่างๆได้อีกด้วย

View Fullscreen

การศึกษาสมบัติเชิงหน้าที่ของแป้งรากบัวและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เค้ก

ชื่อเรื่อง “ การศึกษาสมบัติเชิงหน้าที่ของแป้งรากบัวและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เค้ก ”

โดย อาจารย์กุหลาบ  สิทธิสวนจิกและคณะ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

   ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง           

             จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

   บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา:-

  1. สมบัติเชิงหน้าที่ของแป้งรากบัวและการประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เค้ก
  2. การศึกษาการทดแทนข้าวสาลีด้วยแป้งรากบัวพบว่าส่งผลต่อลักษณะทางเคมีกายภาพและคุณภาพทางด้านประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์เค้ก
  3. บทความวิจัยนี้เป็นการประยุกต์นำเอารากบัวที่มีอยู่ในท้องถิ่นจำนวนมากมาแปรรูปทำอาหารเสริมสุขภาพได้เป็นอย่างดี
  4. บทความวิจัยนี้สามารถนำความรู้ไปสู่ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ท้องถิ่นจะได้นำความรู้ไปแปรรูปรากพืชชนิดต่างๆให้มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถนำไปจำหน่ายได้ งานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดทำ Business Unit ได้เป็นอย่างดี
View Fullscreen

ผลของการทดแทนอะซีซัลเฟม-เค ต่อคุณภาพของแยมผลไม้รวม

ชื่อเรื่อง “ ผลของการทดแทนอะซีซัลเฟม-เค ต่อคุณภาพของแยม  ผลไม้รวม”    

โดย อาจารย์กุหลาบ  สิทธิสวนจิกและคณะ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา:-

  1. การตรวจสอบลักษณะทางด้านเคมีกายภาพและประสาทสัมผัสของแยมผลไม้รวม แยมทุกตัวอย่างเตรียมจากตะลิงปลิงและสับปะรด
  2. บทความวิจัยนี้เป็นการนำผลไม้มาแปรรูปจะทำให้ผู้บริโภคมุ่งเน้นอาหารเพื่อสุขภาพให้พลังงานต่ำ เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน
  3. ในการผลิตแยมผลไม้รวมทดแทนน้ำตาลซูโครสด้วยอะซีซัลเฟม-เคที่ระดับร้อยละ10 ผลิตภัณฑ์มีปริมาณกรด ปริมาณของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด ค่าpHเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคในด้านลักษณะปรากฏ สี การกระจายตัว กลิ่น เนื้อสัมผัส รสเปรี้ยว รสหวานและความชอบโดยรวมสูงไม่แตกต่างจากสูตรควบคุม ตลอดจนผลิตภัณฑ์มีค่าพลังงานลดลง
  4. บทความวิจัยนี้สามารถนำความรู้ไปสู่ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ท้องถิ่นจะได้นำความรู้ไปแปรรูปผลไม้ต่างๆให้มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถนำไปจำหน่ายได้
  5. งานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดทำ Business Unit ได้เป็นอย่างดี
View Fullscreen

การประยุกต์ใช้แป้งกล้วยพรีเจลาทิไนซ์ทดแทนมันหมูในผลิตภัณฑ์หมูยอ

ชื่อเรื่อง “ การประยุกต์ใช้แป้งกล้วยพรีเจลาทิไนซ์ทดแทนมันหมูในผลิตภัณฑ์หมูยอ ”

โดย อาจารย์สุดา  ชูถิ่นและคณะ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา:-

  1. ผลของการใช้แป้งกล้วยพรีเจลาทิไนซ์ในผลิตภัณฑ์หมูยอ
  2. หาปริมาณที่เหมาะสมของการทดแทนไขมันหมูโดยการใช้แป้ง กล้วยพรีเจลาทิไนซ์ในผลิตภัณฑ์หมูยอ
  3. วิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ  ทางเคมีและประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์
  4. ผลการวิจัยสามารถช่วยลดปริมาณของไขมันในผลิตภัณฑ์หมูยอลงได้ โดยหมูยอสูตร B20 ได้การยอมรับจากผู้บริโภคมากที่สุด
  5. บทความวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด ในการใช้ประโยชน์จากแป้ง กล้วยน้ำว้าในผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆได้และสามารถนำความรู้ไปพัฒนา  ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
View Fullscreen

ผลของการแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ต่อสมบัติทางเคมี กายภาพและคุณภาพการหุงสุกของข้าวเหนียวนึ่ง

ชื่อเรื่อง “  ผลของการแช่ในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ต่อสมบัติทางเคมี กายภาพและคุณภาพการหุงสุกของข้าวเหนียวนึ่ง ”

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปฏิวิทย์  ลอยพิมายและคณะ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

   ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง              

            จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

                              บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา:-

  1. สารละลายโซเดียมคลอไรด์มีผลต่อสมบัติทางเคมี ทางกายภาพและคุณภาพการหุงสุกของข้าวเหนียวนึ่ง
  2. โซเดียมคลอไรด์ มีสมบัติเป็นสารทำให้เปียกและนิยมมา ใช้ถนอมอาหาร    ในอุตสาหกรรมอาหาร
  3. กระบวนการในบทความงานวิจัยนี้สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้เป็นอย่างดีและสามรถนำความรู้ไปพัฒนาท้องถิ่นได้ ตลอดจนให้รู้จักการประยุกต์การถนอมอาหาร เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและเพิ่มรายได้ให้ประชากรในท้องถิ่น
  4. ควรมีการศึกษาผลกระทบของการใช้โซเดียมคลอไรด์ต่อคุณค่าสารอาหารอื่นๆที่สำคัญ เช่น วิตามินอี รวมทั้งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่นภาวะความดันโลหิตสูงและอื่นๆ
  5. บทความวิจัยนี้เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับปัจจุบัน
View Fullscreen

ชื่อเรื่อง “ The Evaluation of Potential Skin Sensitization and Collagen Synthesis of Rats Receiving Proteoglycan Serum ” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรณรา ชื่นวัฒนาและคณะ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ

จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

บทความวิจัยนี้เป็นการประเมินศักยภาพของผิวหนังและการสังเคราะห์คอลลาเจน จะมีประโยชน์มากในวงการเครื่องสำอาง เพราะคอลลาเจนนั้น เป็นส่วนประกอบที่อยู่ในเครื่องสำอางและอาหารเสริมเกือบทุกประเภท คอลลาเจนเป็นโปรตีนที่มีอยู่เต็มไปหมดในร่างกายของมนุษย์เราโดยเฉพาะคอลลาเจนประเภทที่ 1(Collagen Type1) ซึ่งคอลลาเจนชนิดนี้จะพบได้ใน กล้ามเนื้อ กระดูก ผิวหนัง หลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร และข้อต่อต่างๆ ซึ่งคอลลาเจนนั้นเป็นตัวช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง ควบคู่ไปกับการช่วยทำหน้าที่เป็นตัวทดแทนผิวหนังที่ตายแล้ว และในส่วนของ ข้อต่อ และ เอ็นต่างๆนั้น คอลลาเจนทำหน้าที่เหมือนเป็นกาวช่วยให้ต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่มีปัญหาเกิดขึ้น

View Fullscreen

การผลิตน้ำนมหมักจากน้ำนมข้าวเจ้าหอมนิล

ชื่อเรื่อง“ การผลิตน้ำนมหมักจากน้ำนมข้าวเจ้าหอมนิล  ”

โดย อาจารย์ทิพรักษ์  วงษาดีและคณะ
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

ความเป็นเลิศด้านการผลิตบัณฑิตทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

               จุดเด่นของบทความวิจัยนี้คือ :-

     บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา:-

  1. การผลิตน้ำนมหมักจากน้ำนมข้าวเจ้าหอมนิล
  2. กระบวนการผลิตที่เหมาะสมในการผลิตน้ำนมหมักจากข้าวหอมนิลได้แก่ อัตราส่วนข้าวหอมนิลต่อน้ำ 1 : 5 เหมาะสมในการทำเป็นน้ำนมหมักมากที่สุด
  3. น้ำนมหมักจากน้ำนมข้าวเจ้าหอมนิลที่ใช้น้ำผึ้งเป็นสารให้ความหวานมีผลทำให้จุลินทรีย์ผลิตกรดแลกทิกได้มากกว่าการใช้น้ำเชื่อมซูโครสและไม่เติมสารให้ความหวานที่ระยะเวลาการหมักเดียวกัน
  4. การเติมน้ำผึ้งในน้ำนมหมักข้าวเจ้าหอมนิลสามารถปรับปรุงคุณภาพทางประสาทสัมผัสของน้ำนมหมักข้าวเจ้าหอมนิลได้ โดยได้รับการยอมรับมากกว่าการเติมน้ำเชื่อมซูโครส
  5. บทความวิจัยนี้สามารถนำความรู้ไปสู่ท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ท้องถิ่นจะได้นำความรู้ไปแปรรูปทำน้ำนมจากข้าวต่างๆให้มีคุณค่าทางโภชนาการและสามารถนำไปจำหน่ายได้ งานวิจัยนี้สามารถนำไปต่อยอดทำ Business Unit ได้เป็นอย่างดี
View Fullscreen