วิเคราะห์ลีลาท่าทางของผู้แสดงนางสำมนักขา
จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่านางสำมนักขาเป็นนางยักษ์กษัตริย์ที่มีความเกรียวกราดจริต ทางด้านลีลาท่าทางเหมือนนางตลาด ซึ่งจะถ่ายทอดอารมณ์ผ่านทางกระบวนท่ารำ โดยผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนศีรษะ
-การกล่อมศีรษะด้วยความรวดเร็ว ซึ่งจะแสดงออกถึงอารมณ์ที่มีความเกียวกราว กระวนกระวาย สับสน ของตัวผู้แสดง
-การควักค้อนใบหน้า ซึ่งจะแสดงถึงอารมณ์การงอน การไม่พบสิ่งที่ต้องการ การปฏิเสธ รวมทั้งการโมโห ของผู้แสดง
-การสะอึก ซึ่งจะเป็นลีลาเฉพาะ แสดงถึงความหลงตัวเอง หรือเป็นไปตามที่ตนเองต้องการ
ภาพที่ 2 การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนศีรษะ
ประกอบบทร้อง “มีความพิศวงสงสัย”
การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนมือ
– การฟาดนิ้วอย่างรวดเร็ว เป็นการแสดงอารมณ์โกรธ โมโห อย่างมาก
-การตะหวัดมืออย่างรวดเร็ว แสดงถึง อารมณ์หุนหัน โมโห และอาจหมายถึงการเข้าใจของตัวละคร
– การเท้าสะเอว เป็นการแสดงออกถึงการมองดูอย่างสงสัย งงงวย กับสิ่งที่พบเห็น
ภาพที่ 3 การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนมือ
ประกอบการตีบท “ที่นี่ไม่มีหนุ่มรูปงาม” ในทำนองเพลงฉิ่ง
การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนเท้า
-การเก็บเท้าอย่างรวดเร็ว แสดงถึงความเกรียวกราดของตัวนางสำมนักขา
-การสืบเท้า แสดงถึงความสงสัย โมโห การเคลื่อนที่ด้วยอารมณ์ฉุนเฉี่ยว ของนางสำมนักขา
ภาพที่ 4 การแสดงลีลาท่าทางผ่านท่ารำส่วนเท้า
ประกอบบทร้อง “ยิ่งกำหนัดกลัดกลุ้ม”
จากที่กล่าวมาข้างต้นพบว่าอารมณ์ส่วนใหญ่ของนางสามนักขา จะมีความเกียวกราดโมโหร้าย กระวนกระวาย และสับสน โดยผู้แสดงนั้นจะต้องถ่ายทอดอารมณ์ต่างๆ ผ่านท่ารา เพื่อให้ผู้ชมเข้าถึงตัวนางสามนักขา