สิริพิมพ์ พุ่มไสว และ ณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ นิสิตสาขาวิชาศิลปกรรมศึกษา

แขนงวิชานาฏศิลป์ สารนิพนธ์เชิงวิจัย

โดยการควบคุมของ

อาจารย์ ดร. ปัทมา วัฒนพานิช และอาจารย์เตชสิทธิ์ รัศมีวงศ์พร 

ที่ปรึกษาพิเศษได้แก่

ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และอาจารย์ประพัฒน์พงศ์ ภูวธน

ใน

“กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร”

 


 

กระบวนท่ารำ ชุด สำมนักขาชมไพร

The Study of Dancing Postures on Surpanakha Praising Forest

สิริพิมพ์  พุ่มไสว / Siripim Pumsawai

และณัฏฐดนัย  ห้องสวัสดิ์ / Nutthatadhanai Hongsawat

บทคัดย่อ

       การวิจัยเรื่อง กระบวนท่ารำนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุด สำมนักขาชมไพร กรณีศึกษาท่ารำของดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ในครั้งนี้ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อมุ่งเน้นให้เห็นถึงความสำคัญของกระบวนท่ารำของนางสำมนักขา ในการแสดงโขน ชุดสำมนักขาชมไพร การนำไปใช้ องค์ประกอบทางการแสดง ตลอดจนวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ หลักและกลวิธีในการรำตีบทของนางสำมนักขา โดยมุ่งเน้นกระบวนท่ารำของ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก เป็นหลักในการวิเคราะห์ ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร คำบอกเล่า บุคคล งานศิลปะ โดยใช้วิธีค้นคว้าข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ การสนทนา การสังเกตการณ์รวมทั้งการฝึกปฏิบัติด้วยตนเองซึ่งมีขั้นตอนและวิธีการดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2556 ถึง เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ จึงได้เห็นถึงความสำคัญของนางสำมนักขาที่มีต่อการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์จึงได้รวบรวมข้อมูลและศึกษากระบวนท่ารำที่มีลีลาของนางยักษ์ที่มีความงดงามตามแบบแผนในราชสำนักและอีกทั้งยังเป็นการสืบทอดการรำ ชุด สำมนักขาชมไพร เพื่อเป็นการอนุรักษ์กระบวนท่ารำสำมนักขาชมไพร ให้คงไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการในการค้นคว้าวิจัยเป็นองค์ความรู้ต่อไป

       จากการวิจัยสามารถอภิปรายผลได้ว่า มีการวิเคราะห์รูปแบบของกระบวนท่ารำ การใช้ลีลาอารมณ์ วิเคราะห์ลักษณะความแตกต่างของเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ประกอบการแสดง รวมทั้งการใช้พื้นที่ในการแสดง ชุดสำมนักขาชมไพร และพบว่ามีข้อมูลที่ต้องการจะเสนอแนะให้ผู้อื่นทำการศึกษาเพื่อเติม เช่น กระบวนท่ารำของนางอดูลปิศาจ นางผีเสื้อสมุทร นางวรณี และนางกากนาสูร เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูล โขนตัวนาง ในรามเกียรติ์

 

Abstract

       The study of Dancing Postures on Surpanakha in the Khon performance, the episode of Surpanakha Praising Forest: A case study of dancing postures according to Dr. Pairot Thongkhamsuk is qualitative research aimed at realising the importance of dancing postures of Surpanakha in the Khon performance in the episode of Surpanakha Praising Forest; applying components of performance; as well as analyse the styles of dancing postures. The principles and strategies of the dance of Surpanakha are focused on dancing postures of Dr. Pairot Thongkhamsuk for analysis. Furthermore, the researcher also studied and searched for information from many different sources, such as documents, anecdata, people, art work by searching, interviewing, having conversation, observing, and self-practising. The procedure and methodology starts from June 2013 to October 2014, and the data show the importance of Surpanakha towards the Khon performance in Ramakian. Therefore, the researcher had collected the data and studied the dancing postures that consist the styles of Demon that is magnificent with regard to the Royal tradition, and also carry on the dance on Surpanakha Praising Forest in order to maintain the dancing postures of Surpanakha Praising Forest and to be academic evidence for the next research.

       From the research, it can be discussed that there was the analysis of dancing postures, style and emotion, the differences of costumes, props of the performance, and area used for performing Surpanakha Praising Forest. It found that there is some useful information needed to suggest other people who are interested in to study further to be a guideline of the study of female Khon in Ramakian, such as dancing postures of Devil Adul, Nang Phisua Samut (Ocean Giant), Nang Vorani, and Nang Kaknasul.