การพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

Development of Classroom Action Research Practice Model to Enhance Classroom Action Research Competency for Early Childhood Education Program’s Student Teachers

รัศมี ตันเจริญ*

*สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

*Corresponding author. Email : [email protected]

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติ การวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย โดยมีวิธี ดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) สร้างรูปแบบ และทดลองประเมินโครงร่างรูปแบบ 2) สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ 3) ทดลองนำร่องและตรวจสอบคุณภาพ รูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ 4) ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างในมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 4 แห่ง และ 5) ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบให้เป็นฉบับสมบูรณ์

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            1. ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1) ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการ ในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เป็นรูปแบบที่ประกอบ ด้วยสาระซึ่งจัดเป็นชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุด คือ ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรม

            สำหรับการแก้ปัญหา ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียน โครงร่างการวิจัย ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล และชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือ ปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I) ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (Research Plan = R) ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P) ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบ ให้คำชี้แนะ (Coaching=C) ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P) ซึ่งผลการตรวจสอบคุณภาพโดยการทดลองนำร่อง พบว่า เป็นไปตามสภาพบ่งชี้การ บรรลุเป้าหมาย และผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ ประกอบของโครงร่างรูปแบบว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและสอดคล้องกัน และประเมิน ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน ว่าอยู่ในระดับเหมาะสมมากและมีองค์ประกอบ สอดคล้องกัน

            2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ และด้านเจตคติที่มี ต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่า เกณฑ์ที่ก􀄬ำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อ การใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

คำสำคัญ: พัฒนาสมรรถนะ วิจัยในชั้นเรียน การศึกษาปฐมวัย

 

Abstract

            The purposes of this research were to develop a model and study the outcome of a classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers. The research procedures were composed of 5 steps; namely, 1)construct the framework and evaluate the constructed model 2) construct the instrument incorporated with the model usage, 3) conduct a pilot study and have the model validated by the experts, 4) try out the constructed model with the samples from 149 4 Rajabhat University student teachers, and 5) revise and finalize the complete model. The findings were as follows:

            1. The gained classroom action research practice model to enhance classroom action research competency for Early Childhood Education Program’s student teachers developed the student teachers in 3 areas: 1) knowledge in a classroom action research, 2) skills in conducting a classroom action research, and 3) the attitudes towards a classroom action research. The model was composed of 7 practice modules for a classroom action research. The first module : an introduction to a classroom action research ; the second module : identification of a classroom action research statement problems; the third module : review of related literature and specify the innovation for problem resolution; the fourth module : planning the classroom action research and writing of the research proposal ; the fifth module : development of educational innovation and research instrument for data collection; the sixth module : data analysis and data interpretation; and the seventh module : research conclusion and research report writing. The classroom action research activities involved 5 steps classifying as stage 1 : informing (I) the teacher students with the knowledge prior to conducting the classroom action research; stage 2 : research planning (R)) ; stage 3 : peer assist (P) ; stage 4 coaching (C); and stage 5 practice (P) by putting into action of the classroom action research. Based on the quality review from the pilot project, the results indicated that the performances were in compliance with the prescribed goal attainment performance indicators. According to the model appraisal, the experts reported that the appropriateness and the model framework congruity were at a high level and were in compliance, while the evaluation result of the action research modules were as well at a high level and the components were also in consistence.

            2. The outcome of the model implementation revealed the Early Childhood Program’s student teachers possessed a higher competency of classroom action research at a statistically significant level of 0.01, while the competency of classroom action research knowledge as well as the attitudes towards the classroom action research increased at a statistically significant level of 0.01. Additionally, the Early

 

ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่าน การนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ ปรึกษาหารือ ช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและ ควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วย แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษา จะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมี ปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่ สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ตระหนักถึงความสำคัญของ กระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัย และตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัย จึงสนใจที่จะ พัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะ ทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้น เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการ วิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริง ควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา โดยนักศึกษา มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเอง ได้แลก เปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน ได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศ อย่างเหมาะสม ซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย จะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะ ทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

Keywords : Enhancing Competency, Classroom Research, Early Childhood Education

 

บทนำ

            วิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่มีบทบาทโดยตรงในการพัฒนาคนและพัฒนาชาติ บุคลากรที่เข้าสู่วิชาชีพครูจึงต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถและ คุณลักษณะที่เหมาะสม โดยเฉพาะสมรรถนะการเป็นครู ซึ่งการพัฒนาสมรรถนะครูได้รับการกำหนดแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้ไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษามาตรา 30 ที่กำหนดไว้ว่า ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ. 2546 : 14) จึงกล่าวได้ว่าพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินอกจากจะระบุให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพแล้วยังระบุให้ครูต้องทำการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

            การผลิตครูในปัจจุบันต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูครอบคลุมตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.. 2556 (2556 : 67-70) ที่กำหนดมาตรฐานความรู้จำนวน 11 เรื่องโดยมีสาระความรู้ทางด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้เป็นสาระหนึ่งที่ถูกกำหนดไว้และกำหนดมาตรฐานบัณฑิตว่าต้องผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่

น้อยกว่าหนึ่งปีโดยต้องสามารถทำวิจัยใน ชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะทางการวิจัยจึงเป็นสมรรถนะอย่างหนึ่งที่ครูจำเป็นต้องพัฒนา ซึ่งคำว่าสมรรถนะ (Competency) หมายถึง กลุ่มของความรู้ (Knowledge) ทักษะ(Skills) และคุณลักษณะ (Attributes) ที่เกี่ยวข้องกัน (พิมพันธ์ เดชะคุปต์; และพรทิพย์ แข่งขัน.2551: 2; อ้างอิงจาก Parry. 1997) โดยมีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่ 1) ความรู้ 2) ทักษะ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับ

ตนเอง 4) บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล 5) แรงจูงใจ/เจตคติ (เทื้อน ทองแก้ว. 2556: ออนไลน์; อ้างอิงจาก David C. McClelland. 1973) ดังนั้นการพัฒนาสมรรถนะทางการวิจัยจึงควรพัฒนาทั้งด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติซึ่งรวมถึงลักษณะส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

            หลักสูตรการผลิตครูปฐมวัยในประเทศไทยในปัจจุบันเป็นหลักสูตรการผลิตครู 5 ปี ที่มีการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียนฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 ปีการศึกษา สถาบันการผลิตครูจึงมีหน้าที่หลักในการเชื่อมโยงการเรียนรู้ภาคทฤษฏีสู่การปฏิบัติจริง ในสถานศึกษา โดยมีอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และทุกฝ่ายรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูผ่านการนิเทศการศึกษา เพราะการนิเทศเป็นการให้คำแนะนำช่วยเหลือ ปรึกษาหารือช่วยฝึกฝนเตรียมการดำเนินงาน ให้การสนับสนุนในภาคปฏิบัติ ตลอดถึงการจัดการและควบคุมเพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ (เยาวพา เดชะคุปต์ 2542 : 86) ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนด้วย

            การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการวิจัยซึ่งมีประโยชน์ต่อครู ซึ่งช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่จะเป็นครูในอนาคต จึงต้องฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการใน ชั้นเรียน แต่จากประสบการณ์จริง พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ถึงแม้นักศึกษาจะเรียนวิชาวิจัยมาแล้วแต่วิธีวิจัยที่นักศึกษาครูเรียนรู้ก็ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้สามารถทำวิจัยในสภาพของการปฏิบัติงานจริงได้”(สุวิมล ว่องวาณิช. 2557: 3) ซึ่งมีปัญหาที่ตามมา คือ ไม่สามารถดำเนินการทำวิจัยในชั้นเรียนได้ และหมายถึงจะไม่สามารถนำความสามารถนี้ไปใช้ได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นอาจารย์ผู้สอนซึ่งปฏิบัติหน้าที่นิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยตระหนักถึงความสำคัญของกระบวนการผลิตครูให้มีสมรรถนะทางการวิจัยและตระหนักถึงปัญหาที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีปัญหาในการดำเนินการฝึกปฏิบัติการวิจัยจึงสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาขึ้นเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนตามสภาพจริงควบคู่ไปกับการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาโดยนักศึกษา

มีโอกาสได้ศึกษาเอกสารข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียนด้วยตนเองได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนได้รับการช่วยเหลือด้วยกระบวนการฝึกปฏิบัติที่ได้รับการนิเทศอย่างเหมาะสมซึ่งผู้วิจัยเชื่อว่ารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยจะช่วยพัฒนาให้นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยมีสมรรถนะทางการวิจัยที่จะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานในหน้าที่ครูปฐมวัยในอนาคตต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

2. เพื่อศึกษาสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและความพึงพอใจจากการใช้รูปแบบของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย

วิธีการดำเนินการวิจัย

การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้เป็นการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีขั้นตอนดังนี้

           ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้วยการดำเนินการ 3 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สังเคราะห์ ข้อค้นพบที่ได้ นำมากำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัย โดยสอบถามอาจารย์และอาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 49 คน

                ขั้นที่ 2 เขียนโครงร่างรูปแบบ โดยกำหนดองค์ประกอบเป็น 8 ส่วน ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ หลักการของรูปแบบ ลักษณะสำคัญของรูปแบบ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กระบวนการจัดการเรียนรู้ การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ และสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย กำหนดเนื้อหาสาระเป็น 3 ด้านคือ

                1. สมรรถนะด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                2. สมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                3. สมรรถนะด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดขอบเขตเนื้อหาจัดลาดับความต่อเนื่องของเนื้อหาให้อยู่ในรูปแบบ

ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 7 ชุดได้แก่

                ชุดที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 2 การกำหนดปัญหาการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

                ชุดที่ 3 การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการกำหนดนวัตกรรมสำหรับการแก้ปัญหา

                ชุดที่ 4 การวางแผนการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและการเขียนโครงร่างการวิจัย

                ชุดที่ 5 การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

                ชุดที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                ชุดที่ 7 การสรุปผลการวิจัยและการเขียนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนกำหนดกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยการกำหนดวิธีการจัดกิจกรรม และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ให้สอดคล้องกับเนื้อหา ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนคือ

                ขั้นที่ 1 การให้ความรู้ก่อนการลงมือปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Informing = I)

                ขั้นที่ 2 การวางแผนการวิจัย (ResearchPlan = R)

                ขั้นที่ 3 การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Assist = P)

                ขั้นที่ 4 การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ (Coaching=C)

                ขั้นที่ 5 การฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน (Practice = P)

กำหนดวิธีการประเมินผลคือ

1) ประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

2) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้ก่อนและหลังการทดลองด้วยการทดสอบ

3) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนหลังการทดลองด้วยการประเมินจากการทำใบงานในแต่ละชุดและประเมินจากรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

4) ประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนก่อนและหลังการทดลองด้วยการประเมินตนเองของนักศึกษา

           กำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมาย คือ หลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่าง มีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านโดยมีผลการประเมิ นการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไปขั้นที่ 3 เขียนร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 และ ชุดที่ 3 โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนขั้นที่ 4 ทดลองประเมิน

โครงร่างรูปแบบด้วยการศึกษาจากนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษา

ปฐมวัย จำนวน 3 คน โดยทดลองจัดกิจกรรมตามขั้นตอนของรูปแบบ 5 ขั้นตอนและใช้

ร่างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3 ชุดที่ผู้วิจัยเขียนไว้

           ขั้นตอนที่ 2 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 สร้างเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดย 1) สร้างคู่มือการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 2) สร้างชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน 3) สร้างเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้แก่แบบประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการ

ในชั้นเรียน แบบประเมินการทำใบงานในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนแบบประเมินรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และสร้างเครื่องมือประเมินความพึงพอใจ คือ แบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย 4) สร้างเครื่องมือตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบและคุณภาพของเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ

                ขั้นที่ 2 หาคุณภาพเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบ (เครื่องมือแต่ละชุดมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.8-1.00, แบบประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนมีค่าความเชื่อมั่น ( α ) เท่ากับ .98, แบบทดสอบความรู้มีค่าความเชื่อมั่น (KR 20) เท่ากับ .98)

           ขั้นตอนที่ 3 ทดลองนำร่อง และตรวจสอบคุณภาพรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยการดำเนินการ 2 ขั้นคือ

                ขั้นที่ 1 ทดลองนำร่องเพื่อหาคุณภาพของรูปแบบกับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 20 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลอง 2 ลักษณะคือ

                1) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กำหนดแบบแผนการทดลองด้วยการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest – Posttest Design) 2) การประเมินสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนด้านทักษะการวิจัย ใช้แบบแผนการทดลองแบบวัดผลเฉพาะหลังการ ทดลอง (One – Group Posttest only Design) โดยดำเนินการทดลองตามขั้นตอนการ จัดกิจกรรมของรูปแบบ 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้จากนั้นนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะที่ได้มาแก้ไขและปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

                ขั้นที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน และชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบด้านต่าง ๆ โดยใช้เกณฑ์ในการพิจารณา 2 ลักษณะคือค่าคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสม และค่าดัชนีความสอดคล้องตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบทุกส่วนมีความเหมาะสม

อยู่ในระดับมากที่สุด ( X = 4.60–4.80) โดยมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ (IOC เท่ากับ 1.00) 2) จุดประสงค์การเรียนรู้กับเนื้อหาและการประเมินผลที่กำหนดไว้ในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนฉบับร่างมีความสอดคล้องกัน (IOC เท่ากับ 1.00)

           ขั้นตอนที่ 4 ทดลองใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นปฏิบัติการสอนในสถานศึกษา

                ขั้นที่ 1 และขั้นที่ 2 ในปีการศึกษา 2557 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จำนวน 31 คน โดยกำหนดแบบแผนการทดลองเช่นเดียวกับขั้นทดลองนำร่อง ดำเนินการทดลองตามกระบวนการจัดการเรียนรู้ของรูปแบบด้วยกิจกรรม 5 ขั้นตอนแล้วประเมินคุณภาพของรูปแบบจากการทดลองใช้

           ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงและจัดทำรูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยฉบับสมบูรณ์โดยนำข้อมูลที่ได้จากตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบในขั้นทดลองใช้รูปแบบมาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์และจัดทำรูปแบบที่ได้ปรับปรุงแล้วเพื่อใช้ในการสำเนาและเผยแพร่ต่อไป

ผลการวิจัย

           1. ผลการพัฒนารูปแบบ ได้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย 3 ด้าน คือ 1)ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน 2) ทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 3) เจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ส่วนมีขอบเขตเนื้อหาเป็นชุดฝึกปฏิบัติการ

วิจัยในชั้นเรียน จำนวน 7 ชุด ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอนและกำหนดแนวทางการประเมินสมรรถนะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนโดยกำหนดสภาพบ่งชี้การบรรลุเป้าหมายคือหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นทั้งโดยรวมและรายด้านและมีผลการประเมินการทำใบงานและรายงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอยู่ในระดับดีขึ้นไป

           ผลจากการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประเมินผลการใช้รูปแบบพบว่ามีคุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลการทดลองนำร่อง พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะทางการวิจัยสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีผลการประเมินสมรรถนะด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุด อยู่ในระดับดีมาก และมีผลคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก เมื่อให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนพบว่าทั้งสองรายการมีความเหมาะสมและความสอดคล้อง

           2. ผลการใช้รูปแบบ พบว่า นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและด้านเจตคติที่มีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสมรรถนะทางการปฏิบัติการในชั้นเรียน ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลการประเมินทักษะการวิจัยที่ประเมินจากแบบฝึกหัดใน

ใบงานแต่ละชุดวิชาอยู่ในระดับดีถึงดีมาก ( X = 72.58% – 100%) และมีค่าคะแนนเฉลี่ยรวมทุกชุดอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.96%) มีผลการประเมินสมรรถนะในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่ประเมินจากคะแนนรายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ( X = 86.83%) และมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัย อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( X = 4.51)

อภิปรายผลการวิจัย

           รูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนระดับปฐมวัยเป็นรูปแบบที่เสริมสร้างสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนสำหรับนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัยและนักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบในระดับมากที่สุดสามารถอภิปรายผลได้ว่า

           1. การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบมีกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาการศึกษาปฐมวัย ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ และอยู่ในสภาวการณ์ที่พวกเขาได้มีโอกาสเรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้วยตนเองในชั้นเรียนจริง และผลงานการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ทำให้นักศึกษาสนใจที่จะเรียนรู้และฝึกปฏิบัติการวิจัยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ที่ว่าผู้ใหญ่มีแรงจูงใจที่จะเรียนรู้จากประสบการณ์ที่จำเป็น และสนใจว่าการเรียนรู้จะทำให้เกิดความพึงพอใจอย่างไร (Knowles; Holton;&Swanson. 2005: 39) ในการออกแบบกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ขั้นตอนเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักศึกษาที่เป็นผู้ใหญ่ และอยู่ในบริบทที่ฝึกประสบการณ์ในชั้นเรียนจริง ส่งผลให้นักศึกษามีสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ 1) นักศึกษามีชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนที่สามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาที่ต้องการศึกษา 2) นักศึกษาได้

มีโอกาสเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ถ่ายโยงความรู้ เกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและวิธีการจัดกิจกรรมแบบต่าง ๆ ทำให้นักศึกษาได้รับความรู้ในบางเรื่องเพิ่มเติมจากเพื่อน 3) การวางแผนและการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียน เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง ซึ่งการดำเนินการทั้งในขั้นการวางแผนการวิจัยและขั้นการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนนักศึกษาต้องลงมือปฏิบัติด้วยตนเองต้องศึกษาค้นคว้าเพื่อดำเนินการวางแผนและปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ทำให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณตรง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ (Experiential Learning) ที่มีแนวคิดสำคัญที่ถือว่าประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นทรัพยากรหลักของการเรียนรู้ จึงเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนประสบการณ์ไปสู่ความรู้ (Kolb, 1984: 384) การนิเทศแบบให้คำชี้แนะโดยอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ให้คำปรึกษาตรวจแก้ไขงานและให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการวางแผนการวิจัยและการปฏิบัติการวิจัยในแต่ละขั้นตอนช่วยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ของรูปแบบดังที่กล่าวมาจึงเป็นกิจกรรมที่ช่วยสร้างเสริมสมรรถนะทางการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนได้

           2. ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เพราะในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกระบวนการทำวิจัยตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งนักศึกษาสามารถศึกษาได้ทุกช่วงเวลา และใบงานที่เป็นแบบฝึกหัดในแต่ละชุดก็เป็นแนวทางให้นักศึกษาทำวิจัยได้ง่ายขึ้น ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนจึงช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำวิจัยเพิ่มมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยของสุนทรา โตบัว (2554: 1) ที่ศึกษาพบว่านิสิตวิชาชีพครูที่เรียนรู้ด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองมีสมรรถนะวิจัยอยู่ในระดับดีถึงดีเยี่ยม

ข้อเสนอแนะ

           1. ข้อเสนอแนะเพื่อการปฏิบัติ

                1.1 การนำกิจกรรมการเรียนรู้ของรูปแบบไปใช้ควรมีการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนใช้กำกับดูแลให้นักศึกษาดำเนินกิจกรรมตามขั้นตอนและชี้แจงให้อาจารย์พี่เลี้ยงเข้าในบทบาทในการนิเทศแบบชี้แนะ

                1.2 การใช้ชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนควรให้นักศึกษาได้ศึกษาและทำแบบฝึกหัดในใบงานแต่ละชุดส่งตามระยะเวลาที่กำหนดแต่สามารถยืดหยุ่นได้เช่นในกรณีที่นักศึกษาบางคนทำงานเสร็จเร็วก็สามารถศึกษาเอกสารในชุดฝึกปฏิบัติการวิจัยชุดต่อไปได้ก่อนเวลาที่กำหนดไว้

                1.3 การนิเทศแบบชี้แนะอาจารย์นิเทศก์และครูพี่เลี้ยงควรศึกษาคู่มือรูปแบบและชุดฝึกปฏิบัติการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนให้เข้าใจก่อนและสามารถให้คำปรึกษาโดยใช้ช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายเช่นการเข้าพบเพื่อปรึกษาการโทรศัพท์การใช้สื่อสังคมออนไลน์

           2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

                2.1 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนกับนักศึกษาครูในสาขาอื่นๆให้หลากหลายเพิ่มมากขึ้น

                2.2 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครูด้านอื่นๆ

                2.3 ควรมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบการสอนที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในชั้นเรียนระดับปฐมวัยหรือการวิจัยทางการศึกษาปฐมวัย

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ..2542 และที่ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ..2545 พร้อมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ..2556. (2556, 4 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 130. หน้า 6

เทื้อน ทองแก้ว. (2556). สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2556 จาก http://www.competency.mju.ac.th/doc/22141.doc.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพรทิพย์ แข่งขัน. (2551). สมรรถนะครูและแนวทางการ พัฒนาครู. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาการศึกษา.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เจ้าพระยาการพิมพ์.

สุนทรา โตบัว. (2554). “การพัฒนาสมรรถนะวิจัยของนิสิตวิชาชีพครูด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง”. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา,วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2554, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2557). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 17. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Knowles, M.S., Holton, E.F., & Swanson, R.A. (2005). The adult learner: the defnitive classic in adult education and human resource development. 6 th edition, Boston: Elesvier.

Kolb, David A. (1984). Experiential learning : experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, N.J. : Pretice-Hall.