การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย

Designing  Traditional Thai  Music Teacher  Training Course toEnhance Vocal Attribute on Basic  of Traditional Thai  Music Standards

สุพัตรา   วิไลลักษณ์

                              สาขาวิชาดนตรีศึกษา  คณะครุศาสตร์   มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

           การวิจัยเรื่องการสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   เป็นการวิจัยและพัฒนา  มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  ) ศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒)  สร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   โดยมีการดำเนินการวิจัย    ขั้นตอน  คือ

            ขั้นตอนที่ ๑ การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เป็นการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   กลุ่มตัวอย่าง  คือครูสอนดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล   จำนวน  ๒๒๒  คน  (สถาบันการศึกษาละ    คน )   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  คือแบบสอบถาม  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

               ขั้นตอนที่ ๒  การสร้างหลักสูตร  เป็นการสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับผลการศึกษาคุณลักษณะปัจจุบัน  และความต้องการในการเสริมสร้างคุณลักษณะของครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ประกอบกับข้อมูลตามขอบเขตของเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  พุทธศักราช  ๒๕๕๓  นำโครงร่างหลักสูตรฝึกอบรมให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน    ท่าน ประเมินความเหมาะสม ความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร  และประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  ผลการการประเมิของผู้เชี่ยวชาญพบว่า  ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม  สอดคล้องกัน  รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝีกอบรม  มีความเหมาะสม เที่ยงตรง

              ขั้นตอนที่ ๓  การทดลองใช้หลักสูตร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง  คือครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ที่สังกัดในสถาบันการศึกษาที่มีการจัดการศึกษาถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  ในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ  และปริมณฑล จำนวน  ๑๕  คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่

  ๑)  แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทย   เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ๒) แบบประเมินคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  ก่อนและหลังการฝึกอบรม  ๓) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย  และ ๔) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทย  เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  สถิติทดสอบที  ( t – test )  2 กลุ่มสัมพันธ์กัน  ผลการทดลองพบว่า  การกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรม ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่นในแต่ละเนื้อหาของแต่ละหน่วยย่อย  ระยะเวลาสำหรับการทดลองใช้ในหน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  ควรปรับให้เหลือ ๒0  ชั่งโมง  และปรับเพิ่มกิจกรรมในการขับร้องร่วมกับวงดนตรีไทย  

              ขั้นตอนที่ ๔ การประเมินผลหลักสูตร  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ    และมีคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยเพิ่มมากขึ้นหลังจากเข้ารับการอบรม    และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมากที่สุด ( =  ๔.๖๐   SD. = .๕๔ )  รวมทั้งมีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยโดยภาพรวมในระดับมาก  ( =  ๔.๔๖   SD. = .๖๑

ผลการวิจัยพบว่า

๑. ครูดนตรีไทยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณลักษณะปัจจุบันด้านการขับร้องตามเกณฑ์

มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎี  และภาคปฏิบัติในระดับปานกลาง  ( = ๓.๑๔  SD. = .๙๓  และ  = ๒.๙๗   SD. = ๑.๐๑  ตามลำดับ) และมีความต้องการในการพัฒนาคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในระดับมาก   ( = ๓.๙๔   SD. = .๘๕  และ  = ๓.๙๕   SD. = .๘๕  ตามลำดับ )

๒)  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย   ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสภาพปัญหาและความจำเป็น  หลักการของหลักสูตร  เป้าหมายของหลักสูตร  จุดมุ่งหมายของหลักสูตร    เนื้อหาของหลักสูตร    กิจกรรมและระยะเวลา  สื่อการฝึกอบรม   ผู้เข้ารับการอบรม   แนวทางการฝึกอบรม    การประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้   หลักสูตรมี    หน่วยการเรียนรู้ คือ  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคทฤษฎี  ประกอบด้วย    หน่วยย่อย  ได้แก่  ประวัติการขับร้อง   องค์ประกอบด้านกายภาพของผู้ขับร้อง   ประวัติศิลปินต้นแบบที่สำคัญ  ระบบการขับร้อง  แบบแผนการเรียนรู้และแบบแผนกระบวนการฝึกฝน / ฝึกซ้อม  การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือเสริมสร้างพัฒนาการ   แบบแผนและจรรยาบรรณวิชาชีพ  และศัพท์สังคีต   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  หลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทยเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยภาคปฏิบัติ  ประกอบด้วย 

หน่วยย่อย  ได้แก่  การฝึกหัดขับร้องเพลงตับมโหรีเรื่องนางนาคสองชั้น การฝึกหัดขับร้องเพลงสุดสงวนเถา  และการฝึกหัดขับร้องเพลงพระอาทิตย์ชิงดวงสองชั้น    

———————————————————

  

สุพัตรา  วิไลลักษณ์. (2557).  การสร้างหลักสูตรการฝึกอบรมครูดนตรีไทย เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้อง ตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย.   ศิลปกรรมสาร.  9(1) :  171 – 192.