วิเคราะห์อารมณ์ของผู้แสดงนางสำมนักขา
จากการศึกษาผู้วิจัยได้เปรียบเทียบความหมายทางด้านอารมณ์ของนางสามนักขา กับหลักการทางพจนานุกรมไทย ซึ่งได้ศึกษามาดังนี้
ความหมายของอารมณ์
อารมณ์ น. สิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิต โดยผ่านทางหู จมูก ลิ้น กายและใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู , เครื่องยึดเหนี่ยวถือเป็นจริงเป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย ; ความรู้สึกทางใจที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ; อัธยาศัย , ปรกตินิสัย , เช่นอารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน;ความรู้สึกเช่นอารมณ์ค้างใส่อารมณ์,ความรู้สึกซึ่งมักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่นอารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. อัธยาศัย,มีปรกตินิสัย เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคนอารมณ์ร้อน. (ป.อารมฺมณ) อารมณ์ขัน น. ลักษณะนิสัยที่มักเห็นเรื่องต่างๆเป็นเรื่องชวนขัน (พจนานุกรมไทย2555 , ราชบัณฑิตยสถาน,หน้า 572)
วิเคราะห์อารมณ์ตามรสวรรณคดีสันสกฤต
ในการศึกษาข้อมูลรสวรรณคดีสันสกฤตเมื่อนามาวิเคราะห์กับอารมณ์ของนางสำมนักขา ทางผู้วิจัยได้จำแนกอารมณ์ได้ดังนี้
– หาสยรส เป็นช่วงความรู้สึกหรืออารมณ์ร่าเริงมีความสุขของตัวละครซึ่งสอดคล้องกับนางสำมนักขา เมื่อครั้งที่นางสำมนักขานั้นไปขออนุญาตทศกัณฐ์ เพื่ออกไปเที่ยวป่า เพื่อลดความกลัดกลุ้มใจในเรื่องที่นางต้องสูญเสียสามีและลูกไป นางสำมนักขาก็ได้ชมความสวยความงาม เที่ยวเตร่ในป่า และพบกับพระราม นางจึงเกิดความสุข ดังบทประพันธ์ในรัชกาลที่ 1 ความว่า
เมื่อนั้น แอบอยู่ปากถ้ำสรุกานต์ มีความโสมนัสชื่นชม คิดแล้วร่ายเวทวิทยา |
นางสามนักขาขายอดสงสาร เห็นพระอวตารเสด็จมา วันนี้จะสมปรารถนา อสุรนิมิตอินทรีย์ |
– อัทภูตรส เป็นอารมณ์ที่แปลกใจ อัศจรรย์ไม่ พิศวง งงงวย ไม่น่าเป็นไปได้ ซึ่งสอดคล้องกับอารมณ์ของนางสำมนักขา ในครั้งแรกที่พบเห็นพระรามและตะลึงในรูปลักษณ์ที่น่าหลงใหลจนจินตนาการ คิดไปเองต่างๆ นานาอยู่ในช่วงอารมณ์เพ้อ ซึ่งปรากฏในบทโขนกรมศิลปากร ความว่า
พินิจพิศทั่วทั้งองค์ จะว่าเป็นพระอิศวรทรงชัย จะว่าพระนารายณ์ฤทธิรอน จะว่าท้าวธาดาธิบดี แม้นจะว่าองค์ท้าวสหัสนัยน์ จะว่าพระสุริยาวรารักษ์ ครั้นจะว่าเป็นองค์พระจันทร ชะรอยเป็นจักรพรรดิกษัตรา |
มีความพิศวงสงสัย ก็ไม่มีสังวาลย์นาคี ก็ไม่เห็นพระกรเป็นสี่ เหตุใดไม่มีสี่พักตร์ ไยจึงไม่ทรงมีวิเชียรจักร ไยไม่ชักรถจากฟากเมฆา ก็ผิดที่ไม่จรอยู่เวหา ทิ้งสมบัติพลัดมาเป็นชีไพร |
– ศฤงคารรส สอดคล้องกับความรักที่นางสำมนักขามีให้แก่พระราม รักโดยที่เขาผู้นั้นไม่รักตอบ แต่ก็ยังรัก ถึงขนาดยอมพลีเรือนร่างให้ตั้งแต่ครั้งแรกที่พบ ซึ่งอารมณ์ดังกล่าวตรงกับบทของนางสำมนักขาที่ปรากฏในบทโขนกรมศิลปากร ความว่า
“ ดูเอาซี๊ ช่างเทศนาว่าเคร่งครัด อันโยคีมีศีลสัตย์อยู่กลางป่า ทั่วทุกถิ่นที่มีภริยากันทั้งนั้น บางนักธรรม์ท่านสมสู่อยู่ด้วยกินรี หม่อมฉันนี้ดีเสียกว่าเป็นไหนไหน ถือศีลเหนื่อยเมื่อยหลังไหล่จะได้นวดเคล้น จงเลิกสำรวมมาร่วมเล่นประลองรัก ทั้งพระองค์จะได้ดารงศักดิ์ เป็นน้องเขยเจ้าลงกา ปวงธชีจะมีแต่อิจฉาหาที่ไหนได้”
– รุทรรส เป็นอารมณ์โกรธ โมโหร้าย อาฆาตแค้นของตัวละครที่มีต่อตัวละครอีกตัวหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับนางสำมนักขาที่มีความโมโหร้ายที่จะเข้าไปทำร้ายนางสีดาแล้วเอาพระราม มาเป็นเป็นสามี ดังบทโขนกรมศิลปากร ความว่า
อ้อกระนี้นี่เล่าพระยอดฟ้า มึงตายเสียเถิดอีตัวดี |
จึงตัดรอนตัวข้าผู้ยักษี กูจะชิงธชีไปพารา |
และนางสำมนักขานั้นยังมีความอาฆาตแค้น ในพระราม พระลักษมณ์และนางสีดา จนทำให้เกิดสงครามระหว่างยักษ์และมนุษย์ ดังบทประพันธ์ ความว่า
ดีละ ธชี อีกัญญา กูขอ อาฆาต มึงนี้ |
มึงทา แก่ข้า น่าบัดสี จนกว่า ชีวี มรณา |
– กรุณารส สอดคล้องกับอารมณ์ของนางสามนักขาที่น่าสงสารจากการที่ตนเองต้องสูญเสียชิวหา ผู้เป็นสามีและกุมภกาศ ผู้เป็นบุตรชาย และอีกทั้งยังโดยพระลักษมณ์ทำร้ายจึงทำให้นางโศกเศร้า เสียใจซึ่งอารมณ์ดังกล่าว ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 1 ความว่า
เมื่อนั้น เสด็จออกหน้าพระลานรจนา แลเห็นนางน้องร่วมอุทร หูปากจมูกขาดแหว่งไป หนึ่งพระกาลพาลราช ก็โจนจากแท่นแก้วมณี |
ฝ่ายองค์พญาขรยักษา พร้อมหมู่มาตยาพลไกร เท้ากรด้วนขาดเลือดไหล ตกใจตะลึงทั้งอินทรีย์ มาพิฆาตตัดเกล้าเกศี อสุรีไปรับเยาวมาลย์ ฯ |
ภาพที่ 5 การแสดงอารมณ์รักในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน
ประกอบบทร้อง “รสรักรึงรุมดั่งเพลิงไหม้”
จากการศึกษา พบว่าเมื่อนำอารมณ์ของนางสำมนักขามาวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับรสวรรณคดีสันสกฤตแล้วพบว่านางสามนักขานั้นมีอารมณ์รักในสิ่งที่ไม่ใช่ของตน และอารมณ์โกรธ โมโห อาฆาตแค้นกับบุคลที่ขัดขวางไม่ให้นางได้ในสิ่งที่นางรักและต้องการได้มาครอบครอง