การประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
The Curriculum Evaluation on Bachelor Degree of Education Program in Music Education Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University
สุพัตรา วิไลลักษณ์*
วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตกูล**
*สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
**สาขาวิชาบริหารการจัดการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
*Corresponding author. E- mail: [email protected]
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการประเมินผลหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ๑) เพื่อประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้รูปแบบซิปป์ ( CIPP Model ) ในด้านบริบท ( Context Evaluation ) ด้านปัจจัยนำเข้า ( Input Evaluation ) ด้านกระบวนการ ( Process Evaluation ) และด้านผลผลิต ( Product Evaluation ) ๒) เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยใช้การสอบถามและสัมภาษณ์ความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยอาจารย์สาขาสาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน ๑๕ คน นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่๒/๒๕๕๘ จำนวน ๓๓๗ คน และผู้ใช้บัณฑิตซึ่งเป็นครูพี่เลี้ยงในสถานศึกษาที่นิสิตหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘ จำนวน ๕๖ คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ผลการประเมินหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา คณะครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในภาพรวม อาจารย์ นิสิตและผู้ใช้บัณฑิตมีความคิดเห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินด้านบริบท มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การกำหนดวิชาเอกเป็น “ วิชาเอกดนตรีไทย ” และ “ วิชาเอกดนตรีตะวันตก ” มีความเหมาะสม ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อาจารย์มีความรู้ความสามารถในเนื้อหาวิชาที่สอน ผลการประเมินด้านกระบวนการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การวัดและประเมินผลมีความเหมาะสม กับเนื้อหาวิชา ผลการประเมินด้านผลผลิตมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก รายการที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผลการปฏิบัติงานของบัณฑิต/ ผู้เรียนมีคุณภาพ
๒. ผลการศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี
ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มีดังนี้
๒.๑ ด้านบริบทพบว่า จำนวนหน่วยกิตในหลักสูตรมีมากเกินไป รายวิชาบางวิชามีการกำหนดรายวิชา จำนวนวิชา เนื้อหาวิชาไม่เหมาะสม การกำหนดแผนการศึกษาไม่เหมาะสม จึงควรปรับลดจำนวนหน่วยกิต และพัฒนา /ปรับปรุงรายวิชา รวมทั้งแผนการศึกษาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า เครื่องดนตรีมีไม่เพียงพอต่อจำนวนนิสิต ห้องซ้อมและห้องปฏิบัติการดนตรีมีไม่เพียงพอ อาจารย์ผู้สอนควรมีความเฉพาะทางและหลากหลาย เพื่อการเรียนปฏิบัติแบบตัวต่อตัว จึงมีการสร้างความร่วมมือกับวิทยาลัยการดนตรี เพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งในส่วนของเครื่องดนตรี ห้องซ้อมห้องปฏิบัติการดนตรี และอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และจัดซื้อจัดหาเครื่องดนตรีให้มีความเพียงพอต่อจำนวนนิสิต รวมทั้งจัดจ้างอาจารย์พิเศษ หรือวิทยากรที่มีความเฉพาะทางเพิ่มขึ้น ด้านกระบวนการพบว่า การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูไม่เป็นระบบ ขาดความชัดเจนในการปกิบัติ จึงควรมีการกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติของนิสิตที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู รวมทั้งชี้แจงขั้นตอนการดำเนินงานให้นิสิตทราบล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่การปฏิบัติ ด้านผลผลิตพบว่า นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา จึงควรมีการจัดแผนการศึกษา และชี้แนวทางการศึกษาให้แก่นิสิตทราบล่วงหน้า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมแก่นิสิต รวมทั้งควรมีการศึกษาปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้นิสิตไม่สำเร็จการศึกษาตามกำหนดเวลา เพื่อการแก้ปัญหาได้อย่าตรงประเด็น
คำสำคัญ: การประเมินหลักสูตร หลักสูตรครุศาตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา
Abstract
The purpose of this research were to evaluate bachelor of Education Curriculum in Music Education Program of Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University through CIPP Model in four components: context, input, process and product, and to investigate the problems and approach to development of the assessed were . The data were collected by using questionnaire and interview the people who involved in the curriculum using for their opinions on the matter. They were 15 teaching staff in Music Education , Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, 337 undergraduate students majoring in Music Education, Faculty of Education, Bansomdejchaopraya Rajabhat University and 56 employers, or mentors at the school where pre –service teachers were working in the 2nd semester of academic year 2015. Data was statistically analyzed in percentage, mean, and standard deviation. Also, content analysis was employed in this study. The findings revealed as follows.
1. In the overview, the Bachelor of Education Curriculum in Music Education Program of Faculty of Education at Bansomdejchaopraya Rajabhat University was evaluated by teaching staff, students, and employer at the high level.
1.1 Context was found at the high level. The highest mean was reported in specification of majoring program as “Thai Music” and “Western Music”.
1.2 Input was found at the high level. The highest mean was reported in the teachers’ knowledge and proficiency related to their capacity.
1.3 Process was found at the high level. The highest mean was reported in congruence among measurement, evaluation, and course contents.
1.4 Product was found at the high level. The highest mean was reported in outcome of pre – service performance/ learners’ quality
2. The problems and approach to development of the assessed curriculum involved the followings.
2.1 Regarding context, the course credits were exceeding: the specification of some courses,
in terms of numbers and contents, as well as the educational plan was inappropriate. Henceforth, these domains, including credits, courses, and educational plan should be revised for better appropriateness.
2.2 Regarding input, the music instruments, music rehearsal room, and laboratory were insufficient, compared to the existing numbers of learners. Teachers’ areas of specialization should be ing the music College for resource sharing, e.g., music instruments, music rehearsal room, laboratory,
music instruments, and employment of equivalent teaching staff, or specialists were suggested.
2.3 Regarding process, pre-service teacher training was not systematic and lacked clarity in implementation. The suggestions included specification of requirements and qualifications of pre-service teachers, and explanation of training processes in advance for practical preparation.
2.4 Regarding product, the students’ graduation was delayed. The educational plan should be provided, including the explanation to the students in advance for their preparation. Also, the causes of delayed graduation should be examined for accurate problem solving.
Keyword: The Curriculum Evaluation, Bachelor Degree of Education, Program in Music Education