บทนำ

       โขนเป็นศิลปะการแสดงที่บ่งบอกถึงความเป็นไทย โดยเนื้อเรื่องที่ใช้แสดงในโขนนั้นเป็นเรื่องราวที่แฝงไปด้วยคติความเชื่อ จารีตประเพณี รวมทั้งข้อคิดในการดาเนินชีวิตประจาวัน ในการแสดงโขนนั้นมีองค์ประกอบแห่งความงามทางด้านศิลปะครบทุกรูปแบบ อาทิเช่น วรรณศิลป์ คีตศิลป์ นาฏศิลป์ และหัตถศิลป์ เป็นต้น ถ้ากล่าวถึงความเป็นมาของรูปแบบการแสดงโขนโดยเกิดจากมหรสพโบราณ 3 ประเภท คือ การแสดงชักนาคดึกดาบรรพ์ การแสดงหนังใหญ่ การแสดงกระบี่กระบอง การแสดงโขนจะเป็นการสื่อสารกับผู้ชมด้วยการราและการพากย์-เจราจา โดยผู้แสดงจะสวมหน้ากากหรือหัวโขนปิดหน้าไว้ โดยการแสดงโขนนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ โขนกลางแปลง โขนนั่งราว โขนหน้าจอ โขนโรงใน และโขนฉาก เรื่องที่ใช้ในการแสดงโขนคือเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งการแสดงโขนนั้นสามารถจำแนกตัวละครที่มีกระบวนท่ารำอ่อนช้อยงดงาม ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1.ตัวพระ คือ ตัวละครที่เป็นนายโรง พระเอกที่เป็นมนุษย์และเทพเจ้าทั้งหลาย

2.ตัวนาง คือตัวละครที่เป็นนางเอง นางรอง และนางกำนัลที่เป็นมนุษย์และอมนุษย์

3.ตัวยักษ์ คือตัวละครทั้งผู้ชายและผู้หญิงที่อยู่ฝ่ายอสูร

4.ตัวลิง คือตัวละครฝ่ายวานร

       รามเกียรติ์ เป็นบทวรรณคดีที่มีต้นกำนิดมาจาก “รามายณะ” ของประเทศอินเดีย โดยในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงสงครามระหว่างมนุษย์นั้นก็คือพระราม กับ ยักษ์ โดยต้นเหตุหรือฉนวนเหตุของการทำสงครามนั้นมาจากนางสำมนักขาซึ่งเป็นน้องสาวของพญายักษ์ทศกัณฐ์ ที่ต้องการได้พระรามมาเป็นสามีแต่นางกับถูกทำร้าย นางจึงคับแค้นใจกลับมาฟ้องพี่ชายให้ไปแก้แค้น จนทำให้เกิดความสูญเสียแก่วงศ์ยักษ์

       นางสำมนักขา คือ นางยักษ์ที่มีบทบาทหน้าที่เป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ พญายักษ์ แห่งกรุงลงกา เป็นลูกของท้าวลัสเตียนกับนางรัชดา ซึ่งมีพี่ชายร่วมท้องเดียวกันอีก 5 ตน ได้แก่ กุมภกรรณ พิเภก พญาทูษณ์ พญาขร และพญาตรีเศียร อีกทั้งยังมีสามีชื่อว่า ชิวหา มีบุตรด้วยกัน 3 ตน คือ กุมภกาศ วรณีสูร และนางอดูลนางสำมนักขานั้น มีกายสีเขียว ลักษณะหัวโขน ตาจระเข้ ปากแสยะ ผมปีก บทบาทที่เด่นชัดของนางสำมนักขา ในการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์นั้น คือ การเป็นฉนวนเหตุสงครามระหว่างพระรามและทศกัณฐ์ จากความกำหนัดและความใคร่อยากได้พระรามมาเป็นคู่ แล้วกลับต้องเสียใจเมื่อพระรามมีนางสีดาเป็นคู่ครองอยู่แล้ว นางจึงโกรธและเข้าทำร้ายนางสีดาด้วยความโกรธ แต่ถูกพระลักษมณ์ขัดขวางแล้วทำร้ายร่างกายด้วยการตัดหู จมูก แขน และขา ด้วยความทรมานและความอับอายจึงเกิดเป็นความแค้น นางสามนักขาจึงกลับเข้าลงกาแล้วทูลฟ้องทศกัณฐ์ให้มาแก้แค้น จนกลายเป็นสงครามที่นำมาแก่ความสูญเสียของญาติวงศายักษ์

       ซึ่งกระบวนท่ารำของนางสำมนักขานั้น ใช้กระบวนท่าราตามแม่ท่ายักษ์ ในเพลงหน้าพาทย์ ที่เรียกว่า กราวใน แต่มีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างจากยักษ์ทั่วไปคือ การหลบเข่าแบบตัวนาง ซึ่งเป็นการผสมลีลาท่ารำของนางยักษ์กษัตริย์ ที่มีความสง่างาม มีภูมิฐาน และนางยักษ์ตลาด ที่มีถ่วงท่ากระบิดกระบวนแสดงถึงความกำหนัด ในเพลง ต้นวรเชษฐ์ ซึ่งเนื้อความกล่าวถึงความง่างามของพระรามที่ทำให้นางสามนักขาเกิดความใคร่และอยากได้มาเป็นคู่ครอง

       ผู้วิจัยได้เห็นถึงความสำคัญของนางสำมนักขาที่มีต่อการแสดงโขนเรื่องรามเกียรติ์ จึงได้รวบรวมข้อมูลและศึกษากระบวนท่าราที่มีลีลาของนางยักษ์ที่มีความงดงามตามแบบแผนในราชสานัก และอีกทั้งยังเป็นการสืบทอดการราชุด สำมนักขาชมไพร เพื่อเป็นการอนุรักษ์กระบวนท่าราสำมนักขาชมไพร ให้คงไว้เป็นหลักฐานทางวิชาการในการค้นคว้าวิจัยเป็นองค์ความรู้ต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษากระบวนท่ารำของนางสำมนักขา ชุดสำมนักขาชมไพร

2. เพื่อศึกษาลีลาอารมณ์ของผู้แสดงนางสำมนักขาในการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์

ขอบเขตของการวิจัย

       ผู้วิจัยมุ่งศึกษากระบวนท่ารำ นางสำมนักขาชมไพร จากการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ ตอน สำมนักขาก่อศึก ถ่ายทอดท่ารำโดย ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก ภาคีราชบัณฑิต สาขานาฏกรรม สานักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน และ นักวิชาการละครและดนตรีชำนาญการ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

นิยามศัพท์เฉพาะ

นางสำมนักขา  หมายถึง   นางสำมนักขาเป็นธิดาของท้าวลัสเตียนกับนางรัชดา ซึ่งเป็นน้องสาวของทศกัณฐ์ นางสำมนักขาเป็นนางยักษ์ที่ก่อให้เกิดสงครามระหว่างทศกัณฐ์ผู้เป็นพี่ชายกับพระราม ชายหนุ่มที่ตนเองหลงรัก

ภาษาท่า  หมายถึง  การใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก ผ่านหัวโขนและกระบวนท่ารำแม่ท่าของยักษ์และการหลบเข่าของตัวนางที่ถ่ายทอดออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบธรรมชาติ

กราวใน  หมายถึง  เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขนที่ใช้สาหรับการเดินทางของยักษ์

ชมไพร  หมายถึง  การเดินทางไปเที่ยวป่าของนางสำมนักขา เพื่อหาคู่ครอง

วิเคราะห์บทบาทนางสำมนักขา

       จากการศึกษาผู้วิจัยพบว่า นางสำมนักขามีบทบาทในโขน เรื่อง รามเกียรติ์ เป็นอย่างมาก เพราะกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในฉนวนเหตุของการทาสงครามระหว่าง พระราม กับ ทศกัณฐ์

ภาพที่ 1 นางสำมนักขา จิตกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ที่มา  :  หนังสือโขนศาลาเฉลิมกรุง

สำมนักขาชื่ออ้าง
นางขนิษฐ์ทศกัณฐ์
ฉวีกายสกลวรรณ
เป็นเอกชาเยศได้
อสุรพันธุ์
แก่นไท้
เขียวสด สะอาดนอ
อยู่ด้วย ชิวหา

ขุนมหาสิทธิโวหาร
(นาคะประทีป.2510.หน้า 119)

       โดยเกิดจาก นิสัยของนางสำมนักขาที่ใคร่อยากจะได้พระรามมาเป็นคู่ครอง และถูกการเอาใจจากพี่ๆ รวมทั้งทศกัณฐ์ ด้วยสาเหตุที่ นางสำมนักขานั้นเป็นน้องสาวคนสุดท้อง จึงเป็นที่รักของพี่ๆ นางจึงเอาแต่ใจ อยากได้อะไรก็ต้องได้มาครอบครอง มีความกำหนัด จิตใจอิจฉาริษยา อาฆาตแค้น โมโห เกรียวกราด เป็นต้น ด้วยเอาแต่ใจของนางสำมนักขาที่ใคร่อยากได้พระรามมาเป็นคู่ครอง จึงก่อให้เกิดความสูญเสียแก่ญาติวงศ์ของนางสำมนักขาเอง ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดปรากฏอยู่ในคำทำนาย ความฝันของทศกัณฐ์ ดังบทเจรจาที่ว่า

ทศกัณฐ์ – เออว่ากระไรพระศรีอนุชาสุดสายใจตำราบ่งบอกอย่างไร ในเรื่องดรจงเร่งทานายทายให้พี่        สิ้นกังขา

พิเภก- ขอพระบารมีคุ้มเกศาข้าพระบาทพระสุบินนิมิตของพระเชษฐาธิราช บอกลางร้ายไม่สถาวร อันกะลาในพระกรได้แก่ลงกา อุปมาสายชนวนไส้ได้แก่พระองค์น้ำมันยางได้แก่ พระญาติวงศ์ทั้งน้อยใหญ่ ความร้อนเริงพิษไหม้ได้แก่นางสีดา หญิงที่วิ่งมาจุดไฟได้แก่ สำมนักขากาลีร้าย ส่วนแร้งดำทำนายหมายเจาะจงคือพระองค์พระเจ้าพี่ แร้งขาวราวสำลีคือพระรามตามมารบขอพระองค์ดารงภพโปรดทรงยับยั้งชั่งพระพระฤทัยรุสุบินนิมิตบอกเหตุเป็นเภทภัยควรระไวระวัง

       จากบทเจรจาจะพบว่านางสำมนักขานั้นมีรูปร่างอัปลักษณ์ เปรียบเสมือนตัวกาลกิณี เป็นชนวนแก่การสูญเสีย (เสรี หวังในธรรม , กรมศิลปากร )