เพลงและทำนองดนตรี

เพลงสิงโต เพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น ทำนองเก่า (ณรงชัย ปิฎกรัชต์.มปป.หน้า284)

เพลงกราวใน กราวในเป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยาจัดทัพ เดินทัพของยักษ์ และยังใช้กับยักษ์ที่ไปมาเพียงตนเดียว นอกจากนี้ยังนิยมบรรเลงในตอนจบของการเทศน์หรือสวดมนต์ของพระสงฆ์ (ราชบัณฑิตยสถาน.2550.หน้า171)

เพลงเชิด เพลงหน้าพาทย์ใช้บรรเลงประกอบกิริยา  เช่น การเดินทางระยะไกลๆ รีบเร่ง สู้รบกัน (ราชบัณฑิตยสถาน.2550.หน้า173)

แขกต่อยหม้อ เพลงอัตราจังหวะ 2 ชั้น ทำนองเก่าสมัยอยุธยา จัดเป็นระเภทเพลงสองไม้ นิยมนำเพลงนี้ไปบรรเลงขับร้องประกอบการแสดงโขน ละครมาแต่โบราณ นอกจากนี้เพลงแขกต่อยหม้อในอัตราจังหวะชั้นเดียว โบราณได้นำไปเรียบเรียงเป็นเพลงเร็ว สำหรับออกท้ายเพลงช้า เพลงช้าเรื่องมอญแปลง ในการบรรเลงประกอบการแสดงโขน ละคร มักจะใช้ตอนที่ตัวละครเริ่มจะเปลี่ยนหรือเคลื่อนไหวอิริยบทอย่างใดอย่างหนึ่ง (ณรงชัย ปิฎกรัชต์.มปป.หน้า35 – 36)

เพลงฉิ่ง เพลงหน้าพาทย์ประกอบเรื่องเพลงฉิ่ง ใช้บรรเลงระกอบกิริยามาแบบไม่เร่งรีบ หรือสนุกสนาน เช่น ชมสวน ชมป่า เก็บดอกไม้ เล่นน้ำ โดยทั่วไปใช้กับตัวพระ และตัวนาง

(ราชบัณฑิตยสถาน.2550.หน้า172)

ต้นบรเทศ เพลงอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว เป็นทำนองเก่าสมัยอยุธยาอยู่ในเพลงประกอบสองไม้และเพลงเร็วเรื่องเต่ากินผักบุ้ง นายกล้วย ณ บางช้าง นักดนตรีจากจังหวัดสมุทรสงคราม ได้นำเพลง ต้นบรเทศสองชั้นมาขยาย โดยดัดแปลงทำนองให้มีจังหวะทิ้งท้ายทั้งสามชั้นและสองชั้น เพลงนี้บางทีเรียกว่า เพลงต้นวรเชษฐ์(ณรงชัย ปิฎกรัชต์.มปป.หน้า97)

เครื่องดนตรี

วงปี่พาทย์เครื่องห้า  การผสมวงปี่พาทย์แต่เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่กล่าวไว้ใน “ พระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน ”  มิได้ระบุคนประจำเครื่อง นอกจากกล่าวถึงขุนไฉนยไพเราะห์  ซึ่งคงจะเป็นคนเป่าปี่ และที่ว่า นายวงสี่คน ในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนนั้น อาจหมายถึงคนบรรเลงระจำเครื่องอีก 4 คน  ในวงปัญจดุริยางค์  คือเครื่อง 5 ก็ได้ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายถึงเครื่องบรรเลงไว้  ว่า ปี่พาทย์เครื่องห้าที่ใช้ในกันมาแต่โบราณมาแต่ เบญจดุริยางค์ที่กล่าวมา แต่มีต่างกันเป็น 2 แบบ คือ เป็นเครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นบ้าน (เช่น ละครชาตรีทางหัวเมืองใต้ ยังใช้จนทุกวันนี้ ) ชนิด 1  เครื่องอย่างหนัก สำหรับเล่นโขน ชนิด 1 ปี่พาทย์ 2 ชนิดที่กล่าวมานี้คนทำวงละ 5 คนเหมือนกัน แต่ใช้เครื่องผิดกัน  ส่วนปี่พาทย์เครื่องหนัก นั้น วงปี่พาทย์มี ปี่ 1 ระนาด 1 ฆ้องวง 1 กลอง 1 โทน (ตะโพน)  1 โดยใช้โทนเป็นเครื่องทำเพลงและจังหวะไปด้วยกัน ถ้าทำลำนำที่ไม่ใช้โทน ก็จะให้คนโทนตีฉิ่งให้จังหวะ (กรมศิลปากร.2528.หน้า89-90)

ภาพที่ 7 วงปี่พาทย์เครื่องห้า
ที่มา ศิลปวัฒนธรรม เล่มที่ 7 กรมศิลปากร

       นอกจากจากวงปี่พาทย์เครื่องห้าแล้ว ยังสามารถใช้วงปี่พาทย์เครื่องคู่และวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่มาบรรเลงได้ตามความเหมาะสม

ฉาก และ แสง

ในการแสดงโขน ชุด นางสำมนักขาก่อศึก จะใช้เป็นการแสดงโขนประเภทโขนฉากคือ ต้องมีฉากท้องเรื่องคือ มีฉากป่าเป็นหลัก จะประกอบต้นไม้ แท่นหิน ที่ทำให้ดูสมจริง และผู้แสดงจะใช้สีลักษณะของแสงแดดอ่อนๆ ไม่สว่างมากจนเกินไป ในการแสดงโขนหน้าจอเช่นเดียวกันจะใช้ไฟชนิดคือ ไฟราวอยู่ด้านบนของเวที และจะไม่มีฉากประกอบมากจะใช้เพียงเดียวให้ฝ่ายพระรามนั่ง และใช้จอของหนังใหญ่มาจึงอยู่ด้านหลังของเวที โดยจะกำหนดให้พระรามนั้นอยู่ทางด้านขวามือของผู้ชม และฝ่ายของยักษ์หรือนางสามนักขานั้นอยู่ทางซ้ายมือของผู้ชม

ภาพที่ 8 การจัดฉาก แสง และตำแหน่งตัวละคร
ที่มา  โขนแห่งสยาม กรมศิลปากร

ภาพที่ 9 สายการสืบทอดกระบวนท่ารำ สำมนักขาชมไพร